directions_run

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 61-01856
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 300,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประพาส แก้วจำรัส
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 พ.ย. 2561 30 เม.ย. 2562 15 พ.ย. 2561 15 มิ.ย. 2562 150,000.00
2 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 16 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 120,000.00
3 1 ก.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 30,000.00
รวมงบประมาณ 300,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เล่าขานสืบต่อกันมาว่า คำว่า “ ร่มเมือง ” ซึ่งเป็นชื่อของตำบลนั้น มาจากสมญานาม ของทุเรียนต้นใหญ่ และให้ผลดกที่สุดในตำบล โดยสืบเนื่องจากเมื่อประมาณกว่าร้อยปีมาแล้ว ณ พื้นที่กลาง  กลุ่มบ้าน ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 5 ปัจจุบัน เป็นแหล่งที่หลากหลายด้วยไม้ผลนานาชนิด ได้แก่ ต้นทุเรียน ลางสาด เงาะ ฯลฯ และที่โดดเด่นที่สุด คือ มีทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองต้นหนึ่ง ที่มีลำต้นโตประมาณ 2 - 3 คนโอบ สูงประมาณ 20 - 25 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปโดยรอบ ข้างละประมาณ 10 - 15 เมตรปกแผ่ให้ความร่มเย็นเป็นบริเวณกว้างเสมือนร่มใหญ่ และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น แต่ละปีทุเรียนต้นนี้จะมีผลดกจึงทำหน้าที่เสมือนแม่พันธุ์ที่ดีของทุเรียนในย่านนี้ ประชาชนจึงพากันเรียกขานทุเรียนต้นนี้ว่า “ ไม้ร่มเมือง ” หรือ “ แม่ร่มเมือง ” ต่อมาเมื่อมีการประกาศจัดตั้งเป็นตำบล จึงนำคำว่า “ ร่มเมือง ” มาเป็นชื่อและใช้ชื่ออันเป็นมงคลนี้มา เป็นชื่อตำบลจนถึงปัจจุบันตำบลร่มเมืองอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง    ซึ่งกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่จะพัฒนาและส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีนโยบายที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในระดับพื้นฐาน คือ  “ ตำบล ” ซึ่งรูปธรรมที่ชัดเจนในนโยบายดังกล่าว คือ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งมีผลทำให้สภาตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล และยกฐานะ  สภาตำบลที่มีรายได้เข้าหลักเกณฑ์ที่จัดตั้งเป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเรียกว่า “ องค์การบริหารส่วนตำบล ” และตำบลร่มเมือง ก็ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวม 9 หมู่บ้าน และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลร่มเมือง เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 มีจำนวนประชากร 5,202 คน จำนวนครัวเรือน 1,637 ครัวเรือน การประกอบอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ อาชีพหลักคือ เกษตรกร (สวนยางพารา สวนผลไม้ ทำนา ปลูกพืชไร่ )และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอ่างทอง กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร รวม ชาย หญิง
1 บ้านโหล๊ะพันหงษ์ 218 357 381 738 2 บ้านบ่อโพธิ์ 149 213 233 446 3 บ้านหูแร่ 78 121 122 243 4 บ้านนาโอ่ 285 455 467 922 5 บ้านร่มเมือง 207 325 327 652 6 บ้านยางยายขลุย 152 225 227 452 7 บ้านลำ 212 301 336 637 8 บ้านป่าตอ 174 271 302 573 9 บ้านนาภู่ 162 257 282 539 รวม 1,637 2,525 2,677 5,202

ที่มา :จำนวนประชากรได้ยึดข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์อำเภอเมืองพัทลุง
ประวัติหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโหล๊ะพันหงส์
ประวัติของหมู่บ้านโหล๊ะพันหงส์ ตามที่ผู้เฒ่าเล่าต่อๆ กันมา แต่ก่อนบ้านนี้เป็นป่าใหญ่ดึก  ดำบรรพ์
มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย และมีฝูงช้างมาอาศัยอยู่ในที่แห่งนี้ มีแม่ช้างเชือกหนึ่งที่เป็นใหญ่ในฝูงช้างนั้น และแม่ช้างเชือกนั้นสวยงามมาก คนที่อยู่อาศัยในบริเวณแห่งนี้ได้เรียกช้างเชือกนั้นว่า  “ อีพังหงส์ ” ต่อมาช้างพังเชือกนั้นได้ล้ม(ตาย) ลงที่ในโหล๊ะริมคลองใหญ่ ต่อมาชาวบ้านเขาตั้งชื่อบ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านโหล๊ะพังหงส์ ”โหล๊ะ หมายถึง แหล่งที่ตายของช้างในที่ลุ่มริมคลอง พัง หมายถึง ช้างตัวเมีย หงส์ หมายถึง ความงามของช้าง จึงรวมเรียกว่า บ้านโหล๊ะพังหงส์ ต่อมาคนรุ่นหลัง เขาเรียกเพี้ยนไปจาก “ พังหงส์ ” เป็น “ พันหงส์ ” และเมื่อปี พ.ศ. 2531 ก็มีกรรมการหมู่บ้านได้ปรึกษา ตกลงใจกัน ได้จัดทำรูปเหมือนช้างพังขึ้นไว้ที่ศาลาอ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านโหล๊ะพันหงส์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านนี้ต่อไปในวันข้างหน้า ให้เด็กรุ่นหลังได้รู้เรื่องของช้างที่ทำไว้กับปูนว่าเป็นช้างเจ้าของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งมานานประมาณ 200 ปี และรูปปั้นช้างที่ทำไว้ได้บรรจุกระดูก ของช้างเชือกนั้นไว้ด้วย หมู่ที่ 2 บ้านบ่อโพธิ์
เมื่อประมาณ 2 ศตวรรษ (200 ปี) ที่ผ่านมาชาวบ้านสมัยนั้น เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ เกาะทวดไชยสุริ ยวงศ์ ” ตามความเชื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนกราบไหว้บูชาบนบานสานกล่าว จุดบริเวณ  ที่เป็นเกาะไชยสุริยวงศ์เป็นเนินสูง มีป่าทึบขึ้นเป็นหย่อมๆ รอบๆ เป็นที่นา ผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้น คือ  นายช่อ อินสุวรรณ ประมาณปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นประมาณ 70 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2525 มีการเปลี่ยนผู้นำตามยุคสมัย จนมาถึงสมัยของผู้ใหญ่บ้าน นายสิน ช่วยเนียม เป็นผู้นำคนรุ่นใหม่เป็นนักพัฒนา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ บ้านบ่อโพธิ์ ” ตามกรมการปกครองเดิมที่ชาวบ้านเรียก “ นาราโพ ” และเพี้ยนมาเป็นบ่อโพธิ์จนถึงปัจจุบัน หมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ บ้านหูแร่ หมูที่ 3 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีประวัติว่า ณ คุ้งน้ำจุดหนึ่ง ที่ชายฝั่ง
มีดินเป็นลูกรังที่แข็งแกร่ง ลูกรังนี้อยู่ตรงมุมของหมู่บ้านและมุมนั้นชาวบ้านสมัยก่อนเรียกว่า  “ หู ” จึงเสมือนว่าหมู่บ้านนี้มีมุมหรือหูของหมู่บ้านเรียกว่า “ หน้าท่าหรัง ” ตามความเข้าใจของชาวบ้านถือว่า “ ลูกรัง ” หรือ “ หรัง ” เป็นแร่ชนิดหนึ่ง และเหตุที่จุดบริเวณนี้เป็นหูที่มีแร่ ผู้ที่สัญจรไปมา  จึงเรียกว่า “ บ้านหูแร่ ” และเพี้ยนมาเป็นหูแร่จนถึงทุกวันนี้ หมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่ เมื่อประมาณ 100 ปี ที่ผ่านมาได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ได้เข้ามาบุกเบิก หักร้างถางพงเพื่อปรับสภาพพื้นที่ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ โดยมีครอบครัว “ นางทองโอ่ ” เป็นครอบครัวแรกที่บุกเบิกเพื่อใช้เป็นที่นา ต่อมาได้มีคนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น โดยประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ประชาชนจึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ ที่นาแม่ทองโอ่ ” ต่อมาชื่อ “ ที่นาแม่ทองโอ่ ” ก็ได้เรียกชื่อเพี้ยนไป และได้เรียกสั้นๆ จนติดปากว่า “ นาโอ่ ” จนมาถึงในปัจจุบัน หมู่ที่ 5 บ้านร่มเมือง เหตุผลที่เรียกว่า “ บ้านร่มเมือง ” เมื่อประมาณ 300 ปี ที่ผ่านมา ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือต้น
“ทุเรียน” ซึ่งเป็นต้นทุเรียนพื้นเมือง มีกิ่งก้านสาขา ต้นใหญ่โตมีใบปกคลุมเป็นจำนวนมาก สามารถออกดอกออกผล ทำให้คนในหมู่บ้านละแวกนั้น ใช้เป็นที่พักผ่อนและใช้เก็บไม้นั้นเกือบทั้งหมู่บ้าน ซึ่งสมัยนั้นตรงกับ “ ท่านขุนร่มเมืองมัยกิจ ” เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลร่มเมืองเป็นคนแรก และต่อมาได้รับเกียรติให้เป็นกำนันตำบลร่มเมืองในเวลาถัดมา และได้ตั้งชื่อหมู่ที่ 5 ว่า “ บ้านร่มเมือง” จำนวนพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลร่มเมือง มีพื้นที่จำนวนมากและต่อมาได้แบ่งแยกออกไปเป็นตำบลอ่างทอง ยังคงเหลือพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลร่มเมือง ซึ่งมีพื้นที่ในปัจจุบันทั้งหมด ประมาณ 1,032 ไร่ ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก มีภูมิประเทศติดกับสายน้ำกั้นกลางระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า “คลองลำ” เป็นสายน้ำที่พี่น้องประชาชนได้อาศัยในชีวิตประจำวันตลอดมา หมู่ที่ 6 บ้านยางยายขลุย คำว่า มาบยาง ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านนั้น เนื่องจากมีพื้นที่ในหมู่บ้านนั้นมีลำธารไหลผ่านและบริเวณที่ใกล้ ลำธาร จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้นานาชนิด มีต้นไม้ชนิดที่โดดเด่นและเห็นอย่างชัดเจน คือ ต้นยาง จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านมาบยาง และบางครั้งจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บ้านยางยายขลุย เขียนโดย อาจารย์สุชิต ศรีราชยา พิมพ์แจกแก่บุคคลที่มางานพิธีแลองค์ของรูปปั้น “ ยายขลุย ” เมื่อ วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ณ โรงเรียนบ้านยางยายขลุย ซึ่งเขียนเป็นบทกลอน ดังนี้ ศรีศรีขอเขียนสาสน์ ตามตำราสาสน์เล่ามา เลื่องฤอหลายเพลา รุ่นปู่ย่าเคยได้ยิน ตำนานยางยายขลุย ค้นขุดคุ้ยไม่สูญสิ้น ก่อนการมานานนิล อนุชนควรสนใจ ยังมียายกับตา ครองรักมาผุดผ่องใส ถิ่นฐานของท่านไซร้ บ้าน “ ตาลก ”ใช่หกเลย ตาลกแอบมีชู้ ยายขลุ่ยรู้เรื่องเปิดเผย อย่าอยู่ต่อไปเลย โอ้อกเอ๋ยจำจากไกล เสียทองสักเท่าหัว ไม่เท่าผัวมีเมียใหม่ ดับห่อช่อพานไว มุ่งดงยางเดินทางมา ปลูกขนำทำนากิน มีอาสินธ์แน่นหนักหนา กลางดงมีธารา กุ้งปูปลามากมายกิน “ มาบยาง ” น้ำสดใส ชื่อปรากฏ จนบัดนี้ ยายอยู่สบายดี สุขสดชื่นทุกคืนวัน ตาลกตกพุ่มหม้าย คิดถึงยายรีบผายผัน งอนง้อขอดีพลัน กลับเคหาเถิดยาใจ เมียจ่าอย่าเพิงโกรธ พี่ขอโทษโปรดอภัย ที่แล้วให้แล้วไป คิดว่าฝันอันตธาน พี่ยังรักน้องอยู่ ไม่เจ้าชู้ขอสาบาน ฝ่ายยายตลีตลาน เฒ่าตาลกตลบแตลง ไม่อยากจะคืนดี ดังวจีถ้อยแถลง โลเลรักเสแสร้ง สิ้นสุดกันวันนี้หนา ตาลกสุดจะคิด หักห้ามจิตดับโทสา โมโหและโกรธา กระโจนคว้าฉุดครายาย ยายขลุยตกใจตื่น ฉันไม่ไปร้องวี๊ดว้าย ตาลกไม่ไม่วางยาย ฉุดกระชากลากเดินทาง ดั้นด้นลากแนวไพร ถึงป่าใหญ่ใกล้วัดกลาง เห็นยายไม่ขัดขวาง “ เกาะตาวาง ” จึงวางมือ ยายขลุยไม่รีรอ รีบวิ่งปร๋อรวดเร็วปรี๋อ ตาลกครวญครางหือ กล้วยหลุดมือเข้าปากลิง ชาตินี้หมดแล้วหนอ จะร่วมหอกับยอดหญิง อนิจจังสังเวชจริง ช้ำใจนักรักเป็นหมัน ฝ่ายยายวิ่งยกย่าง มาถึงทางสองแพรกพลัน เหลียวหลังหลัวตาทัน “ เกาะยายหัน” ชื่อบ้านมี ตะวันก็โพล้เพล้ ยาชวนเซตั้งหน้าหนี ไม่คิดถึงชีวี จนเป็นลมล้มลงไป “ ยายล้ม”นามหมู่บ้าน กล่าวเรียกขานชื่อบ้านใหม่ ครั้นฟื้นขึ้นมาไว จึงเดินทางกลับยางเดิม อาศัยป่ายางนี้ ชุ่มชีวีช่วยส่งเสริม คนแรกผู้ริเริ่ม “ ยางยายขลุย ” ตามเล่ามา ลูกหลานคิดคำนึง ระลึกถึงทุกเวลา จึงปั้นรูปบูชา ดวงวิญญายายขลุยเอย ปัจจุบัน จึงมีคนเรียกหมู่ที่ 6 ตำบลร่มเมือง ว่าบ้านมาบยางและบ้านยางยายขลุย ใครจะเรียกใดก็ไม่ผิด เพราะทั้งสองชื่อเรียกหมู่ที่ 6 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง หมู่ที่ 7 บ้านลำ “ ลำ ” หมายถึง หน่วยนับของเรือ “ มาบ” หมายถึง ทางน้ำไหลเชื่อมระหว่างแหล่งน้ำขนาดใหญ่เข้าด้วยกันมีน้ำไหลผ่านเฉพาะหน้าฝนที่มี น้ำหลาก “ หาน ” หมายถึง แหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี “ ท่า ” หมายถึง ท่าน้ำ มีสำหรับให้ยานพาหนะทางน้ำ จอดรับส่งบุคคลหรือสิ่งของ “ ท่า ” เป็นภาษาท้องถิ่นชาวใต้ หมายถึง พบหรือเจอ บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ บ้านลำ ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวาง ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนถูกแยกไปขึ้นกับเขตการปกครองตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์บางส่วน และเขตการปกครองของหมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมืองบางส่วน บ้านลำ มีลำคลองไหลผ่าน มีน้ำตลอดปี ในอดีตการคมนาคมไม่สะดวก ประชาชนสัญจรโดยใช้เรือในลำคลอง เพื่อไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันในสมัยก่อนมีเรื่องเล่ากันว่า ในหานเคียน มีเรือโบราณลำหนึ่งจมอยู่ และภายในเรือมีอ่างบรรจุทองคำ เล่ากันว่า มีผู้ชำนาญด้านไสยเวทย์ สามารถใช้เวทมนต์เรียกเรือลำดังกล่าว ให้ขึ้นมาปรากฏเหนือน้ำ และใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกลำเรือ แล้วให้ผู้คนช่วยกันลากจนใกล้จะพ้นขอบเรือจนเห็นเรือทั้งลำ ขณะที่ลากจูงอยู่นั้น มายังท่าที่เด็กเล่นน้ำอยู่ เด็กๆ เห็นเรือแปลก ที่มีคนลากจูงเรือลำนั้นด้วยเส้นด้าย เส้นเล็ก ๆ จึงร้องทักขึ้น จึงทำให้เรือขาดจากด้าย (ขาดจากการควบคุมด้วยเวทย์มนต์) เรือลำดังกล่าวถอยหลังกลับไปจมอยู่ในหานเคียนตราบเท่าทุกวันนี้ คำว่า “ ลำ ” สันนิษฐานมาจากคำว่า “ ท่าเรือหนึ่งลำ ” ที่เด็กๆ เห็น แล้วร้องทัก ต่อมาเรียกสั้นๆว่า  “ ท่าลำ ” และเหลือเพียงคำว่า “ ลำ ” ในที่สุดบ้านลำ ประกอบด้วยกลุ่มบ้านย่อยๆ 4 กลุ่มบ้าน ประกอบด้วย - กลุ่มบ้านโพธิ์ - กลุ่มบ้านกลาง - กลุ่มบ้านโคกดันหมี - กลุ่มบ้านมาบยาง หมู่ที่ 8 บ้านป่าตอ บ้านป่าตอ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่หมู่บ้านหนึ่ง มีอายุนานถึง 200 ปี เหตุที่ชื่อบ้านป่าตอเนื่องจาก พื้นที่แห่งนี้ สมัยก่อนมีต้นตอมากมายขึ้นอยู่ทั่วไป (ต้นสะตอ ชาวปักษ์ใต้เรียกสั้นๆว่า ต้นตอ ) เมื่อมีต้นตอมาก ๆ เรียกว่าป่าตอ เลยนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “ บ้านป่าตอ ” จนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 9 บ้านนาภู่ บ้านนาภู่ หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง เป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากหมู่ที่ 7 บ้านลำ ตำบลร่มเมือง  เมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อ นายปรีชา เพชรสง ชาวบ้านเรียกติดปากว่า บ้านนาภู่ จากตำนานที่เล่าต่อกันมาว่า มีน้ำพุไหลพุ่งออกมาที่กลางทุ่งนา จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้ชาวบ้านเรียกทุ่งนาบริเวณนี้ว่า “ ทุ่งนาพุ ” ต่อมาเรียกเพี้ยนว่า “ ทุ่งนาภู่ ” แต่ชื่อหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ยังใช้ชื่อเรียกว่า บ้านลำบ้านนาภู่ หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง เป็นพื้นที่เหมาะกับการทำการเกษตร มีทั้งที่นา ที่สวน ที่เลี้ยงสัตว์ และยังมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ชาวบ้านอาศัยอยู่ดีมีสุขตลอดมา แม้ในสมัยก่อน บ้านลำการเดินทางโดยทางเรือการเดินทางลำบากมาก แต่ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นญาติพี่น้อง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2528 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของเส้นทางถนนหัวถนนท่านช่วย - ทุ่งนาชี จึงจัดสรรงบประมาณสร้างสะพานข้ามคลองลำขึ้น ทำให้ประชาชนในหมู่ที่ 9 มีสะพาน ไฟฟ้าใช้ การเดินทางสะดวกขึ้น ในอดีตชุมชนร่มเมืองมีคลองโอที่เป็นสายคลองหลักการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างสอดคล้องกับ ธรรมชาติในท้องถิ่นน้ำดื่มน้ำใช้ก็ใช้น้ำในลำคลอง แต่ละย่านบ้านก็จะมีท่าน้ำไม่น้อยกว่า 12ท่า ได้แก่ ท่าตรอ เป็นท่าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มของคนในชุมชน ท่าทอนมุด ท่าหลุมพอ ท่าหรั่งอยู่บริเวณวัดนาโอ่ และสายคลองแห่งนี้ยังเป็นสายคลองการเดินทางค้าขายสำคัญของคนต่างชุมชน อย่างคนชะรัดล่องเรือจะมาพักและขึ้นท่าที่ตลาดนาท่อม เรือที่ใช้สมัยก่อน เป็นเรือพายหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเรือเถาะ ซึ่งเรือที่ใช้กันจะมาจากภายนอกชุมชน ด้วยพื้นที่นาท่อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและสายน้ำการอยู่การกินของชุมชนจึงจะพึ่งพาธรรมชาติปลาก็หาในลำคลอง ปลาที่มีในอดีตมีหลายหลายชนิดและปริมาณที่มาก ได้แก่ ปลาแก้มชำ ปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลาฉลาด ปลาโสด และปลาทิง เป็นต้น พืชผักริมคลองมีหลากหลาย ได้แก่ ผักหนาม ผักกูด ย่านนาง ต้นคล้าย ไม้ไผ่หลากหลายพันธุ์ที่ดินสองฝั่งคลองได้แก่ ไผ่กำหยาน ไผ่สีสุก ไผ่ตง ไผ่รวก ซึ่งชาวบ้านจะนำหน่อไม้ไผ่มาทำอาหาร ไม้ไผ่ทำเครื่องมือเครื่องไม้ใช้สอย และไผ่บาง เป็นไผ่ที่เกี่ยวกับความเชื่อที่หมอตำแยจะนำไปใช้ตอนทำคลอดในสมัยก่อนการประกอบอาชีพมีการทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง และพืชท้องถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อและโดดเด่นมาถึงปัจจุบัน คือ พลู ในอดีตเป็นการปลูกพลูพันธุ์เบา เก็บขายเป็นกำ 5 กำ ราคา 1 สตางค์
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในอดีต.ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยการดูดทรายในลำคลอง เพื่อนำไปก่อสร้างถนนสายควนขนุน (ตาพันธุ์) เริ่มมีถนนหนทางและไฟฟ้าเข้ามามีสินค้าอุปโภคบริโภคที่เน้นความสะดวกสบายเข้ามาจำหน่ายในหมู่บ้าน ได้แก่ ผงซักผ้า ยี่ห้อแฟ้บ สบู่ยี่ห้อนกแก้ว น้ำประปาเข้ามาแทนการอาศัยน้ำในลำคลอง และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้การเร่งปริมาณการผลิต เช่นการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา ทำสวนยางพารา มีการซื้อขายกันมากขึ้นส่งผลให้มีการเร่งผลิตและหาทรัพยากรในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น มีการใช้เครื่องมือผิดกฎหมายในการหาปลา ได้แก่ การวางยาเบื่อ ช็อตปลา เป็นต้นต่างก็ส่งผลให้ทรัพยากรลดจำนวนและปริมาณอย่างรวดเร็ว น้ำในลำคลองจากแต่ก่อนใสก็คลายเป็นน้ำเสียไม่สามารถดื่มกินได้หรือบางปีหากลงไปก็จะมีอาการคัน เนื่องจากมีการทิ้งทั้งของเสีย ปฏิกูลลงสู่ลำคลอง จากคลองที่กว้างสมบูรณ์ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ กลายเป็นสายคลองที่ถูกทิ้ง มีต้นไม้กิ่งไม้กีดขวางลำคลอง พันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่คอยป้องกันการพังทลายของหน้าดินก็โดนทำลาย จากผลกระทบการดูดทราย ท้องคลองลึกและบางจุดก็มีการทับถมของตะกอนให้ตื้นเขิน  ได้มีการจัดการน้ำโดยการสร้างนบไพ เพื่อให้คนในพื้นที่ได้นำน้ำมาใช้และสร้างความชุ่มชื่นแก่พื้นที่แต่ผลที่เกิดขึ้นกลับเป็นปัญหาอีกปัญหาที่สำคัญหากการปิดนบไพจะทำให้น้ำไม่ได้ไหลผ่านส่งผลให้น้ำนิ่งหรือเรียกว่าน้ำตาย ทำให้น้ำเสีย แต่เมื่อมีการเปิดนบไพคนในชุมชนเองไม่มีโอกาสได้ใช้น้ำทางชุมชนร่มเมืองร่วมด้วยแกนนำชุมชนทั้งท้องที่และท้องถิ่นพร้อมด้วยชาวบ้านต่างตระหนักถึงความสำคัญ สาเหตุและผลกระทบของลำคลอง จึงมีการระดมความคิดเห็นที่ต้องการจะฟื้นฟูรักษาคลองนาโอให้มีชีวิตและยั่งยืน จึงเกิดปฏิญญาของคนร่มเมืองขึ้นว่า การดำเนินงานในพื้นที่จะต้องได้รับความเห็นชอบและดำเนินการเองของคนร่มเมือง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไร ในการขับเคลื่อนการดูแลสายน้ำคลองลำตลอดสายที่มีพื้นที่ครอบคลุม 9 หมู่บ้านของตำบลร่มเมือง โดยมีคณะทำงานในการดูแลที่เรียกว่า กลุ่มอนุรักษ์คลองลำ เป็นต้นทุนเดิมที่ช่วยกันฟื้นฟูการดูแลสายน้ำเบื้องต้น ผ่านการมีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้นำบางส่วน ปราชญ์ชาวบ้านบางกลุ่ม และได้รับความร่วมมือจากภาคีสายคลองลุ่มน้ำนาท่อมในการร่วมกันขับเคลื่อนมาโดยตลอด ในครั้งนี้จึงมีการก่อตัวที่เป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้นที่จะช่วยกันดูแลคลองลำจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทางที่รับผลประโยชน์จากสายน้ำโดยตรงและโดยอ้อมผ่านคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ จำนวน 13 คน คณะที่ปรึกษาจำนวน 7 คน คณะทำงานอนุรักษ์คลอง จำนวน 17 คน และมีต้นทุนเดิมของกลุ่มต่างในพื้นที่ตำบลร่มเมือง ดังนี้ มวลชนจัดตั้ง 1. ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น จำนวน 450 กลุ่ม 2. กลุ่มกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลร่มเมือง จำนวน 1 กลุ่ม 3. กลุ่ม อสม. จำนวน 9 กลุ่ม 4. ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 2 ชมรม 5. ชมรมคนรักษ์ป่า จำนวน 1 ชมรม 6. ชมรมคนรักษ์น้ำ จำนวน 1 ชมรม 7 กลุ่มกองทุนหมุนเวียนปุ๋ย จำนวน 1 กลุ่ม 8 กลุ่มผสมปุ๋ย จำนวน 1 กลุ่ม 9 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 9 กลุ่ม 10 กลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยาง จำนวน 1 กลุ่ม พื้นที่น่าท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มีสถานที่น่าท่องเที่ยว จำนวน 3แห่ง คือ
1. สวนป่านาโอ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่ ตำบลร่มเมืองซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชุมชนที่มี พื้นที่ 21 ไร่ ที่ได้รับการดูแลโดยภาคประชาชนในกลุ่มชุมชนหมู่ที่ 4 ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้และเพาะกล้าพันธุ์ไม้ 2. สวนป่าโหล๊ะเคียน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านลำ ตำบลร่มเมืองเป็นพื้นที่ที่มีต้นสายของ สายน้ำคลองลำที่ไหลผ่านตำบลร่มเมือง และเป็นพื้นที่สาธารณในการระดมคนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น งานประเพณีชักพระ ลานออกกำลังกายของชุมชน 3. น้ำตกวังหลุมพอหรือน้ำตกผีสิง กั้นกลางระหว่างหมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ และหมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่
ตำบลร่มเมืองเป็นพื้นที่การใช้สอยของการพักผ่อนหย่อนใจของคนตำบลร่มเมือง และพื้นที่ตำบลใกล้เคียงเช่นตำบลนาท่อม ตำบลท่าแค ตำบลท่ามิหรำ ที่มีความหลากหลายของคนในตำบลและนอกตำบลที่เอื้อต่อการใช้เป็นเวทีสาธารณในการสื่อสารเรื่องราวการดูแลรักษาสายน้ำ แนวทางแก้ไขปัญหา 1. การสร้างความเข้าใจ ทัศนะคติ การกำหนดความต้องการสูงสุดที่ต้องการจะดำเนินกิจกรรมให้เห็นร่วมกัน และเห็นในทิศทางเดียวกัน 2. การพัฒนาองค์ความรู้ การเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการดำเนินกิจกรรมจากผู้ที่ดำเนินการในเรื่องที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน 3. การสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ รวมพลังในจากภายในเพื่อการดำเนินการจากทุกคนในชุมชน องค์กรทุกองค์กรในชุมชน 4. การมีกระบวนการจัดการโดยชุมชนเอง 1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node
Flagship ได้อย่างไร) จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายจากการคาดหวังของโครงการในครั้งนี้ นั่นคือ การทำให้สายน้ำคลองลำ ในส่วนพิกัดของพื้นที่คลองนาโอ่ ตั้งเขตที่เรียกว่าหนูนบหลวง ถึง สะพานคตกรีตโดยไหลผ่านชุมชนในพื้นตำบลร่มเมือง ใน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ หมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่ หมู่ที่ 1 บ้านโหล๊ะพันหงส์ และหมู่ที่ 2 บ้านบ่อโพธิ์ ตามลำดับ โดยมีครัวเรือน 730 ครัวเรือน มีประชาชน 2,349 คนที่อาศัยในพื้นที่ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ รับทราบเรื่องราว และเกิดเป็นความตระหนักที่จะดูแลสายน้ำจนเกิดเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิตกลับคืนมาอีกครั้งโดยคนในชุมชนกันเอง ซึ่งเป็นการสร้างขบวนการเข้มแข็งของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่ Phatthalung Green City

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์คลอง

1.คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การอนุรักษ์ฟื้นฟูคลองไม่น้อยกว่าร้อยละ50 2.มีข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา การใช้ประโยชน์ แนวทางในการจัดการและอนุรักษ์คลอง 3.มีคณะทำงานเกิดตัวแทนหลากหลาย และมีการแบ่งบทบาท 4.มีแผนการขับเคลื่อนการทำงาน 5.คนในชุมชนร้อยละ  20 มีส่วนร่วมในการทำฝายมีชีวิต/ท่าน้ำ 6.ปลูกป่าชายคลองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,000 ต้น 7.มีครอบครัวปลูกไม้เพิ่มในเขตหัวสวน ร้อยละ  60 ของครัวเรือนที่มีพื้นที่เขตหัวสวน 8.เกิดคณะทำงานติดตามเฝ้าระวังฟื้นฟูและอนุรักษ์คลอง 9. กติกา/ข้อตกลง ปฎิญญาร่มเมืองอนุรักษ์คลอง
10.เกิดกองทุนอนุรักษ์คลองนาโอ่

0.00
2 คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิต

11.พื้นที่ป่าริมคลองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 50 12.มีพันธุ์ปลาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 5 ชนิด 13.มีพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 ชนิด 14.เกิดฝายมีชีวิตอย่างน้อย 3 ฝายและมีฟื้นท่าน้ำริมคลอง 5 ท่า 15.จุดเสี่ยงการพังทลายของดินได้รับการจัดการอย่างน้อย 2 จุด

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 500
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลร่มเม 300 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ครัวเรือนที่มีพื้นที่หัวสว 200 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 410 313,500.00 39 299,600.00
9 ม.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 1 0 1,100.00 2,400.00
23 ม.ค. 62 เวทีทำความเข้าใจโครงการ 0 18,300.00 18,300.00
23 ม.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่2 0 1,100.00 900.00
23 ม.ค. 62 ปล่อยพันธ์ุปลา ครั้งที่1 0 4,800.00 4,800.00
24 ม.ค. 62 เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 0 1,550.00 1,600.00
8 ก.พ. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 3 0 1,100.00 900.00
12 ก.พ. 62 ศึกษาดูงานการจัดการและอนุรักษ์คลอง 0 23,700.00 23,700.00
25 ก.พ. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 1 0 22,950.00 450.00
5 มี.ค. 62 จัดทำข้อมูลคลอง 0 3,400.00 3,400.00
8 มี.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 5 0 0.00 900.00
8 มี.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 4 0 1,100.00 900.00
8 มี.ค. 62 เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่ 0 18,600.00 18,600.00
15 มี.ค. 62 เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 1 0 10,000.00 13,900.00
15 มี.ค. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 2 0 450.00 450.00
20 - 22 มี.ค. 62 ทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ 0 89,300.00 89,300.00
20 มี.ค. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 3 0 450.00 10,450.00
30 มี.ค. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 4 0 450.00 450.00
15 เม.ย. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 5 0 450.00 450.00
30 เม.ย. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 6 0 450.00 450.00
8 พ.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 6 0 1,100.00 900.00
8 พ.ค. 62 เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 0 1,300.00 1,300.00
10 พ.ค. 62 ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 2 0 4,800.00 6,000.00
15 พ.ค. 62 เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 2 0 10,000.00 8,000.00
20 พ.ค. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 7 0 450.00 450.00
8 มิ.ย. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 7 0 1,100.00 900.00
20 มิ.ย. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 8 0 450.00 450.00
28 - 13 มิ.ย. 62 เวทีกำหนดกติการชุมชนในการอนุรักษ์คลอง 60 9,900.00 9,900.00
8 ก.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 8 0 1,100.00 1,400.00
9 ก.ค. 62 จัดทำกองทุนอนุรักษ์คลอง 50 1,700.00 1,700.00
9 ก.ค. 62 เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลอง ครั้งที่ 1 50 14,000.00 14,000.00
15 ก.ค. 62 เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 3 0 9,900.00 8,000.00
20 ก.ค. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 9 0 450.00 7,950.00
8 ส.ค. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 9 0 1,100.00 900.00
8 ส.ค. 62 เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3 0 1,250.00 1,200.00
12 ส.ค. 62 ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 3 0 4,800.00 3,000.00
20 ส.ค. 62 รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 10 0 450.00 5,450.00
8 ก.ย. 62 ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 10 0 1,100.00 900.00
15 - 21 ก.ย. 62 เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลองนาโอ่ 100 24,300.00 9,900.00
28 ก.ย. 62 เวทีประกาศข้อตกลง"ปฏิญญาร่มเมือง" 150 25,000.00 25,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2562 13:37 น.