directions_run

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 61-01856 ระยะเวลาโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
  • การสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริง การสร้างฝายมีชีวิต ณ โหล๊ะพันหงส์ เป็นออกแบบฝายจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในตำบลร่มเมืองที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านโดยเวทีประชาร่วมใจของผู้เฒ่าผู้แก่หมู่ที่ 1 ที่ได้ให้ข้อมูลทั้งเรื่องการเลือกทำเลในการสร้าง การเลือกวัสดุที่เหมาะสม และการถ่ายทอดสอนวิธีการ ขั้นตอน รายละเอียดจากประสบการณ์ในสร้างฝายมีชีวิตในวัยหนุ่มของตนเอง โดยใช้ตัวแบบที่เรียกว่าโมเดลต้นแบบและพื้นที่จริง เริ่มตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่เพื่อนำมาเหลาไม้ในแต่ละชิ้นส่วน การใช้เชือกและวิธีการผูก รัดเชือก และนำมาประกอบที่ละส่วนจนเกิดเป็นรูปฝาย ให้ทีมทำงานหลักของการสร้างโครงสร้างมีความเข้าใจและเกิดทักษะจนลงมือสร้างโครงสร้างฝายได้เสร็จสิ้นเพียงเวลาแค่ 1 วัน และอีก 1 วันของการประเมินพื้นที่ในการเลือกตำแหน่งที่ตั้งของฝาย และสุดท้าย 7 วันของกระบวนการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการตัก ใส่ ผูก รัด ขน จัด เรียง ทรายในทุกกระสอบจนสำเร็จเกิดเป็นปราชญ์ชาวบ้านในนามครูฝายมีชีวิต นายนิวัติ ด้วงอุบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านโหล๊ะพันหงส์

ครูฝาย จำนวน 1 คน คือ นายนิวัตร์ ด้วงอุบล

  • สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชน นักเรียนในพื้นที่ตำบลร่มเมือง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

เวทีทำความเข้าใจโครงการ จึงได้หยิบเอาศาสนา ความศรัทธา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนชนบทอย่างร่มเมือง มาผสมผสานกับการจัดการธรรมชาติป่าไม้ สายคลอง สิ่งมีชีวิตที่ผูกติดกัน จนเกิดเป็นการบวชป่า ณ สวนป่านาโอ่ เรียกได้ว่าเสริมแรงกำลังใจในการขับเคลื่อนงานของฝ่ายปกครองได้อย่างสวยงามที่มีประชาชนในตำบลร่มเมืองเข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลามถือเป็นการตอบรับจากภาคประชาชน

กิจกรรมบวชป่า

การเชื่อมโยงวิถีเข้าสู่ความทันสมัยของยุคปัจจุบันด้วยการสอดแทรกวิถีเข้าสู่กิจกรรมในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

ตลอดช่วงเวลา 10 เดือนของกิจกรรมผู้นำฝ่ายปกครองที่ไม่เคยได้รับงบประมาณมาดำเนินการที่เรียกว่าครบทุกขั้นตอนตั้งแต่นับ 1 ถึง 10 ทำให้ผู้นำได้เรียนรู้ตนเองและมองเห็นการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเติมเต็มให้มีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเอง ชุมชน สังคม ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การทำงานนำเสนอ การประมวลรูปภาพ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยการใช้คอมพิวเตอร์

การใช้ระบบรายงานผลของโปรแกรมคนใต้สร้างสุข

การให้ผู้นำฝ่ายปกครองเรียนรู้การใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

การเห็นร่วมของคนในตำบลที่จะช่วยดูแลสายคลองให้มีความเชื่อมโยง ต่อชุมชน สังคม และวิถีคนร่มเมือง

กองทุนอนุรักษ์คลองนาโอ่

การร่วมกันจัดการดูลคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติของตลอดสายคลองในตำบลร่มเมือง และการฟื้นคืนคำว่า สายน้ำมีชีวิต

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

การเรียนรู้การสร้าง ความสำคัญ การเชื่อมโยงของวิถีชีวิต ความสัมพันธ์เกื้อหนุนของมนุษย์ ต้นไม้ สายน้ำ และสิ่งมีชีวิตทั้งในคลองและสองฝั่งคลอง

ฝายมีชีวิตโหล๊ะพันหงส์ ม.1 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

การดูแลให้ฝายมีชิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อให้ผลประโยชน์ต่อชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่บ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำคลองตลอดสายคลองที่มีเครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การดูลักษณะกายภาพของสิ่งแวดล้อมของสองฝั่งคลอง และสายน้ำถึงการทิ้งขยะของครัวเรือนริมคลอง หรือมีขยะในสายน้ำของคลอง

-ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำที่รายงานผ่านเวทีการประชุมของคณะทำงานโครงการและการประชุมฝ่ายปกครอง -การใช้สีธงแสดงสัญลักษณ์ ณ บริเวณตรวจวัดเพื่อให้ประชาชนรับทราบ

  • การสร้างทีมในการใช้เครื่องมือตรวจวัดที่เป็นภาคีของชุมชนทดแทนเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลร่มเมือง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

กิจกรรมในโครงการมีเป้าหมายคือการมีระบบนิเวศน์ของริมคลองและคลองให้มีความอุดมสมบูรณ์และการกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจครัวเรือน ดังนั้นการปลูกต้นไม้เพิ่มมูลค่า การปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การเพิ่มปริมาณระดับน้ำในคลอง การทำให้น้ำในคลองมีคุณภาพที่ดี ล้วนแต่เป็นวัฏจักรที่จะช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้ครัวเรือนในรูปแบบวิถีชีวิตแบบชุมชนชาวบ้าน

  • รายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของดินหัวสวน เนื่องจากมีระดับน้ำเพียงพอในการทำเกษตรเพิ่มขึ้น
  • รายจ่ายลดลงจากการต้องจ่ายค่าน้ำประปาของครัวเรือน โดยการกลับมาใช้น้ำคลองเพิ่มขึ้น สังเกตุได้จากมีบันไดท่าน้ำระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้น การมีเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กสำหรับการเกษตรเพิ่มขึ้น

การสร้างคุณภาพน้ำในคลองให้มีความสะอาด ปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

เกิดกลุ่มคณะทำงานอนุรักษ์คลองนาโอ่ ที่จัดตั้งขึ้นมาของตัวแทนประชาชน ผู้นำ ที่ตกผลึกในแนวทางในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในตำบลร่มเมือง

ประกาศรายชื่อคณะทำงานอนุรักษ์คลองนาโอ่

การแสดงบทบาทของคณะทำงานต่อชุมชนตำบลร่มเมืองที่มีแผนการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับผู้นำในตำบลร่มเมือง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

การกำหนดเวทีร่างกติการ่วมกันของชุมชนผ่านเวทีหมู่บ้านในแต่ละหมู่บ้าน และนำมาเปิดวงคุยให้ได้มาตรการร่วมของตำบลในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของตำบลร่มเมือง

ปริญญาร่มเมือง

การบังคับใช้ปริญญาร่มเมืองอย่างต่อเนื่องในทุกการประชุมของฝ่ายปกครอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

ปี 2560 เทศบาลตำบลร่มเมืองได้มีการนำเอาธรรมนูญสุขภาพเข้ามาขยับจังหวะการทำงาน ด้านสิ่งแวดล้อม โดยบรรจุไว้ในหมวดที่ 11 จนมาถึงในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ธรรมนูญสุขภาพ หมวดที่ 11 รักษ์สิ่งแวดล้อม ก็มุ่งเข้าสู่ภาคีท้องที่ผ่านเวทีการประชุมประจำเดือนของฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง

ธรรมนูญสุขภาพตำบลร่มเมือง หมวดที่ 11

การขยับปริญญาร่มเมืองภายใต้ธรรมนูญสุขภาพตำบลร่มเมืองให้มีรูปธรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

กิจกรรมการระดมทุนในการสร้างฝายมีชีวิต ที่เหล่าผู้นำชุมชนได้แสดงศักยภาพของพนธมิตรต่างๆเกื้อหนุนในการดูแลชุมชนตลอดมา ทั้งในนามส่วนบุคคล และนามส่วนรวม แม้กระทั่งภาคประชาชนที่หนุนเสริมกองทัพในการร่วมมือที่หยิบยื่นด้วยตนเองและระดมจากภายนอกด้วยศักยภาพของตนเอง ที่บ่งบอกถึงความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนจนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของสาธารณชนภายนอกโดยเฉพาะในกลุ่มหน่วยงานภาครัฐภายนอก เช่น อำเภอเมืองพัทลุง

ภาพความร่วมมือของการทำฝายมีชีวิต

การคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของกลุ่มผู้นำในการจัดกิจกรรมทั้งจากภายในชุมชนและภาคีภายนอก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

กิจกรรมการจัดทำข้อมูลคลอง เป็นการสร้างมูลค่าให้กับการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการเพราะทีมสำรวจ จัดทำข้อมูลล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลภายในชุมชนที่มีการรวบรวมผู้เฒ่าผู้แก่ จนมาถึงผู้นำ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ภายในบนรากฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง และเรียนรู้วิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลง จนก่อเกิดเป็นปัญหาที่มีในปัจจุบัน แล้วค้นหาช่องว่าเหล่านั้นด้วยตนเองเพื่อวางแผนแก้ไข

การกำหนดกิจกรรมในโครงการตอนเริ่มต้น และการปรับเพิ่มกิจกรรมเสริมของกลุ่มผู้นำในระหว่างทางการทำงานโครงการ เช่นกิจกรรมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการในครั้งแรก ก็นำเอาวิถีศาสนาเข้ามาช่วยเสริม จนเป็นกิจกรรมบวชป่า

การนำกระบวนการข้อมูล ข้อเท็จจริง การวิเคราะห์สถายการณ์ของชุมชนในงานด้านอื่นของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

กิจกรรมการสร้างฝายมีชีวิต เป็นกิจกรรมบ่งชี้ชัดเจนของคำว่ามีชีวิต เพราะเป็นการแสดงออกของประชาชนในชุมชน องค์ในชุมชน ร้านค้าในชุมชน ชาวบ้านในชุมชน ด้วยการแบ่งสรรปันส่วนทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เด็กๆใช้แรงงานตนเอง ผู้สูงอายุแบ่งปันอาหารข้างบ้านมาจัดเลี้ยง แนะนำความคิดเห็น ชี้แนะจากประสบการณ์ รพ.สต.ระดม อสม.มาช่วยลงแขก ร้านค้าบริจาควัสดุ อุปกรณ์ เช่น กระสอบ เชือก ชาวบ้านบริจาคไม้ไผ่ในพื้นที่บ้านตนเอง ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่สนับสนุนกระสอบ เป็นต้น

รายนามผู้บริจาคที่ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำทะเบียน

การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันในการดูแลชุมชนของตนเอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มผู้นำฝ่ายปกครอง ร่วมด้วยกลุ่มอนุรักษ์คลองนาโอ่ และเทศบาลตำบลร่มเมือง ได้มีการดำเนินการคลองเฉลิมพระเกียรติฯ ในการจัดการคลองตลอดสายคลองนาโอ่ ด้วยการพัฒนาคลองอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งระบบคลองที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ต่อได้เริ่มดำเนินการมาจากโครงการอนุรักษ์คลองนาโอ่

การได้รับคัดเลือกให้เป็นต้นสายของคลองเฉลิมพระเกียรติฯ ของจังหวัดพัทลุง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง

การดูแล เฝ้าระวัง พัฒนาคลองอย่างต่อเนื่องผ่านงบประมาณเทศบัญญัติรายจ่ายประจำปี 2563

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

การกำหนดกิจกรรมของโครงการที่มีรูปแบบ ขั้นตอน ที่มา ที่ไป ที่คนในชุมชนในกลุ่มวัยทำงานรู้สึกได้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่พวกเขายังเยาว์วัย จนมาถึงทุกวันนี้ ผ่านกระบวนการจัดทำข้อมูลของกลุ่มเด็กนักเรียน และบอกเล่าผ่านกลุ่มวัยผู้สูงวัยในชุมชน ทำให้การสื่อสารที่ถ่ายออกไปสู่ชุมชนจึงมีภาพที่ชัดเจนในความคิดของคนในชุมชนทั้งตำบล และการจัดกระบวนการความรู้ในครั้งนี้ผ่านผู้นำส่วนท้องที่ ท้องถิ่น เป็นหลัก ทำให้ชาวบ้านมีความมั่นใจ ศรัทธาในการร่วมแรงใจ

การถ่ายทอดเรื่องราวกระบวนการกิจกรรม ข้อมูลต่างๆ ผ่านเวทีการประชุมหมู่บ้าน และเวทีการประชุมฝ่ายปกครองประจำเดือน

การดึงเอาปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนมาเป็นผู้ช่วยในการให้ข้อมูลมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

สืบเนื่องจากโครงการครั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการคือกลุ่มผู้นำฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง นั่นคือ กำนัน ผู้ใหญ๋บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นหลัก ซึ่งกลุ่มคนหล่าวนี้ล้วนแต่ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมให้กับอำเภอเป็นส่วนใหญ่ หมายถึงดำเนินการตามการสั่งการของหน่วยอำเภอ แต่การรับงบประมาณครั้งนี้พวกเขาจะต้องมาเรียนรู้กระบวนการเลือกสิ่งที่ต้องการขับเคลื่อน โดยจะต้องรู้ว่าเรื่องที่เลือกมีที่มาอย่างไร นั่นคือ ข้อมูลสถานการณ์แท้จริง และแนวโน้มในข้างหน้า ค้นหาสาเหตุ ถึงแม้จะทำให้พวกเขารู้สึกท้อถอยพราะความไม่คุ้นชินกับการทำงานในลักษณะนี้ แต่ก็เป็นโอกาสให้กลุ่มผู้นำฝ่ายปกครองเกิดความเข้าใจคำว่า ระบบ กระบวนการ แผนงาน การวิเคราะห์ ข้อมูล

การประชุมคณะทำงานโครงการในแต่ละครั้ง และการประชุมฝ่ายปกครองตำบลร่มเมืองประจำเดือน

จัดกิจกรรมเสริม พัฒนาศักยภาพผู้นำสุขภาวะตำบลร่มเมือง ตามโครงการนักจัดการสุขภาวะตำบลร่มเมือง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

การร่วมกันระดมทุนในทุกรูปแบบในการสนับสนุนการสร้างฝายมีชีวิต การสร้างความร ู้สึกความเป็นเจ้าของร่วม

ฝายมีชีวิตบ้านโหล๊ะพันหงส์

การสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของให้กับประชาชนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

การสร้างฝายมีชีวิต เป็นการสร้างบทเรียนหลายด้านให้กับชุมชน คนในตำบลร่มเมือง เรียนรู้ถึงการได้รับประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มมากในชุมชน เรียนรู้การเสียสละของกลุ่มคนที่มีสักยภาพสูงกว่าของกลุ่มคนบางคนในชุมชน โดยมองเป้าหมายร่วมกันว่าทำให้ชุมชนของตนเองมีความเข้มแข็ง น่าอยู่

การเสียสละทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชนในชุมชนแม้ตนเองจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรง เช่นการร่วมกันระดมทุนในการสร้างฝายมีชีวิตโหล๊ะพันหงส์

การสร้างความตระหนักร่วมในการมองชุมชนของตนเองคือบ้านของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆของเทศบาลและฝ่ายปกครอง เช่น การจัดการขยะในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

การสร้างคุณภาพระบบนิเวศน์ของคลองที่จะมีการฟื้นฟูวิถีชีวิตของคนร่มเมืองที่ใช้ประโยชน์จากคลอง เช่น การปลูกพืชผักริมคลอง การใช้น้ำเพื่อการเกษตร การใช้น้ำเพื่ออุปโภค เช่น อาบน้ำ ซักผ้า การมีท่าน้ำของครัวเรือนเพื่อเด็กๆเล่นน้ำ การหาสสัตว์น้ำในคลองเพื่อเป็นอาหาร

เกิดท่าน้ำเล็กๆเพิ่มขึ้น ณ ครัวเรือนที่อาศัยริมคลอง

การสร้างคุณภาพน้ำให้มีคุณภาพ และเพิ่มการเรียนรู้ของชุมชนในการดูแลบริเวณริมคลอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

กิจกรรมระดมทรัพยากรในการร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายมีชีวิต เป็นการแสดงศักยภาพของชุมชนที่เอื้ออาทรต่อกันในการให้ความช่วยเหลือที่มีหลากหลายรูป ของคนทุกเพศทุกวัย ที่มาร่วมด้วยช่วยกันทั้งบริการน้ำดื่ม ขนม ผลไม้ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะที่หยอกล้อกัน บ่งบอกถึงความมีน้ำจิตน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันของการช่วย

ภาพถ่ายกิจกรรมที่มีมากมายในการร่วมสร้างฝายมีชีวิตบ้านโหล๊ะพันหงส์

การสร้างความร่วมมือที่เกิดขึ้นโดยการมีส่วนร่วมที่ทำให้ประชาชนเห็นร่วมกันถึงความเป็นสาธารณของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่พิกัดของการสร้างฝายจากเดิม โดยคำแนะนำของผู้เฒ่าในชุมชนที่ชี้แนะจากประสบการณ์ และวิธีการเลือกพิกัดพื้นที่ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด จากพิกัดเดิมจะอยู่ ณ บริเวณตอนบนของสะพานคลองนาโอ่ แล้วย้ายลงมาพื้นที่ โหล๊ะพันหงส์

รายงานการประชุมคณะทำงานของคลองนาโอ่ ประจำเดือนเมษายน 2562

การมีที่ปรึกษาอาวุโสในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ