directions_run

โครงการแก้ไขปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม บ้านลานช้าง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้คณะทำงานและชุมชนจัดการขยะสู่ความยั่งยืนของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1 ประชาชนในชุมชนได้เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชนไม่น้อยกว่า 50 %ของครัวเรือน 2. รับสมัครครัวเรือนต้นแบบเข้าร่วมโครงการ 60 ครัวเรือน 3.คณะทำงานมีความรู้ไม่น้อยกว่า 15 คนจาก 6 กลุ่มบ้าน 4. มีแกนนำขับเคลื่อนการจัดการขยะ 15 คน ครอบคลุม 6 กลุ่มบ้านของชุมชน 5. มีกติกาการจัดการขยะที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน 6. ครัวเรือนร่วมปฏิบัติการตามกติการ้อยละ 50% ของครัวเรือน 7.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะได้และปฏิบัติการตามกติกา ไม่น้อยกว่าร้อยละ50% 8.นำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักหมักไม่น้อยกว่า 1 กลุ่ม 9. ปริมาณขยะของครัวเรือนลดลงร้อยละ 50% ของขยะทั้งชุมชน
469.00 211.00

สถานการณ์ปัญหาขยะของบ้านลานช้าง มีปริมาณขยะจำนวน 37,695 กก./ชุมชน/เดือน มีจุดที่ชาวบ้านเอาขยะมาทิ้ง 4 จุด คือ 1.โค้งตาเหล็ก 2.หน้าโรงงานไม้ยาง
3.หน้าศาลาพักรถคลองเคี่ยม 4.หัวโค้งหน้าโรงเรียนบ้านลานช้าง บ้านลานช้างมีจำนวน395 ครัวเรือนแบ่งเป็น 6 กลุ่มบ้าน
1.บ้านทุ่งอ้อ 4.บ้านควนหญ้าคา
2.บ้านควนสัมพันธ์ 5.บ้านควนอ้ายเม่น 3.บ้านลานช้าง  6.บ้านห้วยโพรงหมี รับสมัครตัวแทนจาก 6 กลุ่มบ้านจำนวน18 คน เป็นคณะทำงานโดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความถนัดของแต่ละบุคคลปัจจุบันมีคณะทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 23 คน คณะทำงานและคนในชุมชนเกิดความรู้ความตระหนักเรื่องการคัดแยกขยะ เกิดกติกาชุมชนในเรื่องการจัดการขยะ
1.คณะทำงานมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง
2.ใช้ถุงผ้า เวลาไปจ่ายตลาด 3.มีการรณรงค์อย่างน้อยเดือนละ1 ครั้งใน 6 กลุ่มบ้าน 4.มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ทั้ง 4 ประเภท 5.มีแผนการจัดการขยะ 6.คณะทำงานติดตามการจัดการขยะในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 7.มีการขายขยะรีไซเคิลทุกวันที่ 9 ของเดือน 8.มีการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย เกิดครัวเรือนต้นแบบ 60 ครัวเรือน ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะจำนวน 132 ครัวเรือนคิดเป็น ร้อยละ 62.559 ของจำนวน 211 ครัวเรือน ปริมาณขยะลดลง จากการเก็บข้อมูลของคณะทำงานพบว่าปริมาณขยะในชุมชนลดลง 25,845 กก/เดือน คิดเป็นร้อยละ68.56 จากปริมาณขยะในชุมชนก่อนเริ่มโครงการ 37,695 กก/เดือน.คงเหลือขยะในชุมชน 11,850 กก./เดือน จุดเสี่ยงทั้ง4จุดไม่มีขยะ และ เกิดเป็นสวนดอกไม้ขึ้น2จุด

การแก้ไขปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมบ้านลานช้างส่งผลกระทบต่อ4ด้านดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ลดขยะเพิ่มรายได้ -ทำปุ๋ยหมัก,น้ำยาล้างจาน -ขายขยะรีไซเคิล -เลี้ยงไส้เดือน -ปลูกผักปลอดสารพิษ ด้านสังคม -เกิดกลไกการมีส่วนร่วม 6 บ้าน วัด โรงเรียน รพสต. อบต. อสม. ด้านสุขภาพ -ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุง,เชื้อโรค -ลดไข้เลือดออกจาก5คนเหลือ1คน -ลดภาวะเสี่ยงจากโรคNCD จากการกินผักปลอดสารพิษ ด้านสิ่งแวดล้อม -บ้านลานช้างสะอาดสวยงาม -ลดมลพิษจากการเผาขยะ -ลดการใช้สารเคมี

คณะทำงานบ้านลานช้างได้มีประชุมแลกเปลี่ยนความคิดกันว่าบริเวณจุดเสี่ยงและริมถนนจะทำอย่างไรไม่ให้คนที่สัญจรไปมาแอบทิ้งขยะจึงเกิดไอเดียขึ้นมาว่าเราจะเปลี่ยนกองขยะเป็นสวนดอกไม้และจะขยายไปหน้าบ้านทุกครัวเรือนในชุมชนด้วย