แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 สร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัยในระดับครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1.1ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น100% 1.2 ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น 100% 1.3 บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100
76.00 4.00

การสร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตและการบริโภคในระดับครัวเรือน

1.1 มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 105 ครัวเรือน ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 162.5%(จากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนเพิ่ม 65 ครัวเรือน)

1.2เดิมปี 2562ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 40 ครัวเรือน มากกว่า5 ชนิด 20 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ50%  ครัวเรือนที่ผลิตผักมากกว่า5ชนิด 31 ครัวเรือน คิดเป็นเป็นร้อยละ155% ปี 2563 ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 9 ครัวเรือน มากกว่า 5 ชนิด 84 ครัวเรือน เพิ่ม 53 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ265%


บริโภคผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน จำนวน 290 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 373 คน คิดเป็นร้อยละร้อยละ77.7%

จากการดำเนินการส่งเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัยในปีที่แล้วเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนที่เห็นเป็นเด่นชัด มีครัวเรือนปฏิบัติ 105 ครัวเรือน เลิกใช้สารเคมีในการผลิต ร้อยละ100% ส่งผลได้มีการขยายพื้นที่การผลิตไปสู่หมู่บ้านข้างเคียงอีก 3 หมู่บ้าน ที่เข้าร่วมในปีนี้ และมีภาคีเข้าร่วมปฏิบัติการอีก 2 หน่วยงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโต๊ระ เกษตรตำบลตำนาน เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อน สนับสนุนส่งเสริมความรู้การผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย

การสร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตในระดับครัวเรือน เกิดการขยายเป็นการผลิตระดับหมู่บ้าน ที่ใช้ฐานข้อมูลสถานการณ์ผลกระทบจากการใช้สารเคมี และผลการเก็บข้อมูลการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้าง ทำให้เกิดการตระหนัก ซึ่งทำให้มีครัวเรือนเข้าร่วมกระบวนการเพิ่มขึ้น และยังมีกลไกที่เป็นหน่วยงานในชุมชนเข้าร่วมขับเคลื่อนกระบวนการ ทำให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางการผลิตและบริโภคปลอดภัยในพื้นที่และระดับหมู่บ้าน

2 เพื่อส่งเสริม การ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผักในครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 2.1 ครอบครัวต้นแบบเลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 100%
76.00 2.00

ตัวชี้วัดที่ 2.1 จากเดิมมีครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมี 40 ครัวเรือน ครัวเรือนเลิกใช้สารเคมีตามกติกาชุมชนกำหนด 40 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ100% ปี2563 ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 162.5% (105ครัวเรือน)

 

การ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผักในครัวเรือน มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว มีการเก็บข้อมูล สถานการณ์การใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง มีการคืนข้อมูล ติดตามประเมิน การปฏิบัติตามกติกา
การสร้างการหนุนเสริมการผลิตและบริโภคในระดับครัวเรือน เกิดการร่วมมือการสร้างนวัตกรรมการผลิต แลกเปลี่ยนวิธีการผลิตการใช้สารทดแทนเคมีชีวภาพ เกิดเป็นกลุ่มการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่บ้านและพื้นที่

3 เพื่อส่งเสริมให้มี จุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน พืช ผัก ที่ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 3.1. มีจุดซื้อขายผักปลอดภัยในชุมชน 3.2มีการทำบัญชีรับจ่ายค่าผัก อย่างน้อย 80% ของครัวเรือน
116.00 3.00

มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำนวน 3 จุด มีการทำบัญชีครัวเรือน รับ จ่าย ค่าพืชผัก 89 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 84.7% (105 ครัวเรือน)

 

การที่มีจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผัก เป็นแหล่งกระจายพืชผักของครัวเรือนที่ผลิต เหลือจากการบริโภค สามารถนำมาแลกเปลี่ยนพืชผักที่มีความหลากหลายชนิด ซื้อและขาย เป็นรายได้เสริมครัวเรือน การทำบัญชี ซื้อขายครัวเรือนจะได้รู้ถึงรายรับ รายจ่าย สามารถวางแผนการใช้จ่ายพืชผัก และสามารถปรับเปลี่ยนการปลูกพืชผักให้เหมาะกับความต้องการของตลาด

4 เพื่อการผลิตและบริโภคภัยปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 4.1. การผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% 4.2. การบริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% 4.3. รายได้เพิ่มขึ้น 80%
116.00 2.00

ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 162.5% บริโภคปลอดภัยเพิ่มขึ้น 77.7%
รายได้เพิ่มขึ้น 80% ครัวเรือน รายได้เพิ่มขึ้น425/ครัวเรือน/เดือน (รายรับจากขายพืชผัก 667.90ครัวเรือน/เดือน รายจ่ายซื้อพืชผัก242.02 ครัวเรือน/เดือน)

 

ตามเป้าหมายที่วางไว้การผลิตมีการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนการบริโภคเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ตามเป้าหมายที่วางไว้ ตามผลจากการเก็บข้อมูล ปรากฎว่ายังมี 22.3% บริโภคไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้สูงอายุและเด็กเยาวชน