stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63-00169-0012
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 77,040.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 14 ต. ตำนาน อ.เมือง จ.พัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกระจ่าง นุ่นดำ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตำนาน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 30,816.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 38,520.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 7,704.00
รวมงบประมาณ 77,040.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านควนคงมี 86 ครัวเรือนประชากรจำนวน 267 คน มีการผลิตปลอดภัยไปแล้ว คิดเป็นร้อย43% ของครัวเรือน บริโภคปลอดภัย 214 คน คิดเป็นร้อยละ 80% เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมการผลิตและส่งผลให้เกิดการบริโภคที่ปลอดภัย ด้วย กลไกการทำงานของ คณะทำงาน และกลไกติดตามประเมินผล โดยมีหน่วยงานภาคีเข้ามาหนุนเสริมในกระบวนการ ใน ด้านความรู้ และการติดตามเสริมพลัง
ปี 2563  คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการได้มีการคืนข้อมูลผลการดำเนินงานสู่ชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบผลการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและการบริโภคที่ปลอดภัย มีมติ ที่ประชุม ขยายปฏิบัติการให้ทั่วชุมชน ตามกระบวนการแก้ไขปัญหา แนวทางปฏิบัติ ตามบันไดผลลัพธ์ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยปี2562 ผลลัพธ์ที่เกิดตามขั้นบันไดอยู่ในขั้นที่ 3 มีครอบครัวต้นแบบทำการเกษตรปลอดสารเคมี มีการผลิตและบริโภคปลอดภัย จากครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัว เกิดครัวเรือนต้นแบบในการทำเกษตรปลอดสารเคมีจากครัวเรือนปฏิบัติการ 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนรู้ 1 แหล่ง ที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอและทั่วถึง โดยมีช่องว่างในการปฏิบัติการ ในเรื่องของ จุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผัก จากครัวเรือนที่ผลิตเหลือกินแบ่งปันถึงครัวเรือนที่ผลิตพืชผักไม่พอกินไม่หลากหลายชนิดชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการผลิตและการบริโภคที่ปลอดภัย  ถึงมีความต้องการขยายการปลูกในชุมชนให้เต็มพื้นโดยกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย และการบริโภคปลอดภัย  ระดับของการผลิตผักที่บริโภคปลอดภัย มี 3 ระดับ(0-5ชนิด)ไม่พอกิน 14%(6-8 ชนิด)พอกิน 36% (9-17 ชนิด)เหลือกิน 36%จากการผลิต 43%จะเห็นได้ว่ายังมีครัวเรือน 14% ที่มีผักไม่พอกิน ไม่หลากหลายชนิด และมีการผลิตที่เหลือกินถึง 36% ไม่มีแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนผักในชุมชน และยังมีครัวเรือนขยาย หมู่บ้านข้างเคียง 30 ครัวเรือน มีความสนใจที่จะเข้าเรียนรู้กระบวนการผลิตและการบริโภคปลอดภัย โดยมีสถานการณ์ที่เหมือนกัน มีการผลิตที่ไม่ปลอดภัยมีการสารเคมีในการผลิตคิดเป็นร้อยละ24% ของครัวเรือน สาเหตุการผลิตและการบริโภคของประชาชนจึงอยู่บนกระบวนการของการขาดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และขาดหน่วยงานองค์กรที่จะส่งเสริมการเรียนรู้เหล่านั้นในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน ชุมชนได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีมาอย่างต่อเนื่อง เท่าที่รวบรวมข้อมูลได้เป็นพื้นฐานดังนี้ตรวจพบสารเคมีในเลือด50ราย พบ48ราย คิดเป็น96% โรคผิวหนัง 2 รายเจ็บปวดจากการใช้ยาฉีดหญ้า 1 ราย  ในด้านสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบจาการใช้สารตกค้างในดิน ทำให้ดินเสื่อม สารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำ อาหารทำธรรมชาติลดลงและไม่ปลอดภัย ทางด้านผลกระทบทางสังคมทำให้ เสียชื่อเสียงจากการเป็นหมู่บ้านปลูกผักใช้สารเคมี ทางด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจ ต้นทุนในการผลิตสูง/กำไรลดลงมีร้านขายของชำในชุมชน 2 ร้านขายสารเคมีในการเกษตรทั้ง 2 ร้าน คนปลูกผักเพื่อขาย 30 ครอบครัว รวมพื้นที่ 34 ไร่ ใช้เคมีทั้งหมด คนรับจ้างฉีดยาคุมหญ้า ฆ่าหญ้ามีงานทำตลอด การติดต่อจ้างต้องรอคิว จากการสังเกตพืชอาหารในสวนยางลดลง ปลาในนาลดลง และหลายชนิดสูญพันธุ์

คน (ความรู้และพฤติกรรม) มีความเชื่อเดิมๆ ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่คนรุ่นก่อน ที่ถูกปลูกฝังให้ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยากำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ในการเกษตร ไม่ตระหนักถึงโทษผลกระทบ ซึ่งทำแล้วได้ผลดีในเชิงปริมาณของผลผลิต แต่ไม่เคยได้เรียนรู้ในเชิงคุณภาพว่าสะอาด ปลอดภัยอย่างไร แค่ไหน การใช้เคมีไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด หรือคำแนะนำฉลากผลิตภัณฑ์ ขาดการป้องกันที่ถูกต้องผู้ใช้เคมี ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการดิน การผลิตใช้สารทดแทน 71 ครัวเรือน ขาดความรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ 46 ครัวเรือน

สภาพแวดล้อม(สังคมและสิ่งแวดล้อม) สารเคมีหาง่ายใกล้เมือง คนพ่นเคมีมีในหมู่บ้านรับจ้างฉีดยาฆ่าหญ้า ยาคุมหญ้าที่ทำเป็นอาชีพ การใช้สารเคมีทำง่าย สะดวก ได้ผลเร็ว จึงมีผลผลกระทบต่อดิน น้ำ พืช และสัตว์ ที่ลดความอุดมสมบูรณ์ลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ขาดแกนนำการเปลี่ยนแปลง คนกินผักนิยมผัก สวย เขียว ไม่มีรอยหนอนเจาะคนกินไม่ตระหนักในโทษผักการใช้สารเคมีมีร้านค้าซื้อผักมาขายในชุมชน

ระบบกลไก(ภายในและภายนอก)

ไม่มีการหนุนเสริมเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานใด อย่างต่อเนื่อง และ การผลิตและการบริโภคของประชาชนจึงอยู่บนกระบวนการของการทำต่อกันมา ขาดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และขาดหน่วยงานองค์กรที่จะส่งเสริมการเรียนรู้เหล่านั้นในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา คณะกรรมการโดยคณะทำงานตามโครงการจะได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้สถานการณ์ ผลกระทบจากการใช้สารเคมีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้สารเคมี และผลกระทบจากการใช้สารเคมี สถานการณ์การบริโภคผัก  ในช่วงเวลาของโครงการ สร้างกระบวนการปฏิบัติตามครัวเรือนต้นแบบ ส่งเสริมให้เรียนรู้การเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรอินทรีย์จากแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สาธิตในการทำการเกษตรปลอดสารเคมีในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเกษตรปลอดภัยหนุนเสริมกลไกการขันเคลื่อนติดตามประเมินผลจากภาคีที่เกี่ยวข้อง หนุนเสริมกติกาการผลิตบริโภคปลอดภัย สนับสนุนการผลิต การจัดการดินการทำปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุทดแทนสารเคมี ส่งเสริมการสำรวจ ตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ สนับสนุนการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนทุกกลุ่มวัย คืนข้อมูลสู่ชุมชน ส่งเสริมให้เกิดจุด ซื้อขายแลกเปลี่ยนพืชผักด้วยกระบวนการดังนี้

  1. สร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัยในระดับครัวเรือนเชิญชวนสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมปฏิบัติการ เรียนรู้ กระบวนการผลิตที่ไม่ใช่สารเคมี และการบริโภค ที่ปลอดภัย
    1.1 เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทร์ การเตรียมดิน การใช้สารเคมีชีวะภัณฑ์ 1.2 เรียนรู้การขยายพันธ์ การปลูก และการดูแลควบคุมคุณภาพ ตามกติกา     1.3 เรียนรู้การบริโภคปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง 1.4 หนุนเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ กลุ่มบ้านบ้านต้นแบบ ระดับครัวเรือน ในกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย

  2. ส่งเสริม การ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผักในครัวเรือน โดยการสนับสนุนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมี  ด้วยการปฏิบัติการของครัวเรือนต้นแบบเป็นแบบอย่าง ในการเรียนรู้และสนับสนุนการสร้างวัตกรรมที่สร้างแรงจูงใจในการผลิตที่ปลอดภัย นวัตกรรมการปลูก การขยายพันธ์ นวัตกรรมการทำสารทดแทนชีวภาพ สร้างแหล่งเรียนรู้ที่ครบวงจรในขั้นตอนผลิตที่ปลอดภัยเป็นแหล่งศึกษาข้อมูล ของชุมชนติดตามประเมินผลการใช้สารเคมี.  ด้วยกลไกขับเคลื่อน เก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการผลิต ผลกระทบของการสารเคมี ระดับพื้นที่ ระดับชุมชน ก่อนและหลังการดำเนินงาน นำมาวิเคราะห์ข้อมูล และวางแนวทางการสนับสนุน ผลักดัน ส่งเสริมกระบวนการผลิตที่ปลอดสารเคมีอย่างต่อเนื่อง

  3. ส่งเสริมให้มี จุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน พืช ผัก เป็นแหล่งกระจายพืชผักจากการผลิตของครัวเรือนปฏิบัติการที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน นำมาแลกเปลี่ยนพืชผักที่มีความหลากหลายชนิด ซื้อและขาย เป็นรายได้เสริมครัวเรือน ส่งเสริมการทำบัญชี ซื้อ ขาย พืชผัก ครัวเรือนจะได้รู้ถึง รายรับ รายจ่าย สามารถวางแผนการใช้จ่ายพืชผัก สามารถปรับเปลี่ยนการปลูกพืชผักในเหมาะกับความต้องการของตลาดเป็นรายได้เสริมให้ครัวเรือนได้

  4. กลไกคณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการจากคณะทำงานตามโครงการตัวแทนครัวเรือนขยาย และภาคีที่เกี่ยวข้อง
        4.1 การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 2 ครั้งในรอบการดำเนินงานโครงการ 5 เดือนครั้ง รอบการติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 เกิดปฏิบัติการผลิต และบริโภคผักปลอดภัย/ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผักในครัวเรือน ประเมินผลครั้งที่ 2 เกิด จุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน พืช ผัก ที่ปลอดภัย/การผลิตและบริโภคภัยปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือน 4.2 ประเมินผลการดำเนินงานของคณะทำงานโครงการเพื่อการวางแนวทางการดำเนินงาน ของโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยของชุมชนให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัยในระดับครัวเรือน

1.1ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น100% 1.2 ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น 100% 1.3 บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100

76.00
2 เพื่อส่งเสริม การ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผักในครัวเรือน

2.1 ครอบครัวต้นแบบเลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนดอย่างน้อยร้อยละ 100%

76.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มี จุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน พืช ผัก ที่ปลอดภัย

3.1. มีจุดซื้อขายผักปลอดภัยในชุมชน 3.2มีการทำบัญชีรับจ่ายค่าผัก อย่างน้อย 80% ของครัวเรือน

116.00
4 เพื่อการผลิตและบริโภคภัยปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือน

4.1. การผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% 4.2. การบริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% 4.3. รายได้เพิ่มขึ้น 80%

116.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1224 77,040.00 33 59,956.00
20 มิ.ย. 63 กิจกรรมปฐมนิเทศ 3 5,000.00 200.00
10 ก.ค. 63 กิจกรรมทำป้ายชื่อโครงการสสส. 120 0.00 500.00
11 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 14 5,500.00 1,350.00
8 ส.ค. 63 กิจกรรมที่6ติดตามประเมินผลการใช้สารเคมี ครั้ง ที่ 1 100 2,000.00 2,000.00
10 ส.ค. 63 กิจกรรมทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮออล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. 120 1,000.00 500.00
11 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 14 0.00 350.00
5 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 9เก็บข้อมูล การผลิต บริโภค ปลอดภัย ครั้งที่ 1 100 1,000.00 1,000.00
11 ก.ย. 63 กิจกรรมที่1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 14 0.00 350.00
30 ก.ย. 63 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคี 3 0.00 200.00
11 ต.ค. 63 กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 14 0.00 350.00
17 ต.ค. 63 กิจกรรมที่ 2. การเรียนรู้การการทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวะภัณฑ์ 40 11,600.00 11,600.00
14 พ.ย. 63 กิจกรรมปิดงวดโครงการงวดที่1 3 0.00 216.00
30 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 10. ติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่1 14 3,540.00 1,770.00
19 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 5.สนับสนุนการสร้างวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ 5 5,000.00 5,000.00
17 ม.ค. 64 กิจกรรมการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 14 0.00 350.00
2 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมการทำบัญชี ซื้อ ขาย ในครัวเรือน 100 1,000.00 1,000.00
11 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 6 14 0.00 350.00
18 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 7จัดการให้มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผัก ในชุมชน 120 1,500.00 1,500.00
20 มี.ค. 64 กิจกรรมติดตามประเมินผลเพื่อนการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยจัดการ 3 0.00 200.00
24 มี.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 7 14 0.00 350.00
27 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 3. ขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลการควบคุมคุณภาพตามกติกา รายละเอียดกิจกรรม 40 8,900.00 8,900.00
30 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 4.เรียนรู้การ บริโภคปลอดภัย การล้าง การปรุง 40 8,900.00 8,900.00
11 เม.ย. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 8 14 0.00 350.00
11 พ.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 9 14 0.00 350.00
27 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 9 เก็บข้อมูลการผลิต การบริโภค พืชผักในครัวเรือน ครั้งที่ 2 12 1,000.00 1,000.00
6 ก.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 ติดตามประเมินผลการใชสารเคมี ครั้งที่ 2 120 2,000.00 2,000.00
14 ส.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 10 14 0.00 350.00
26 ส.ค. 64 ติดตามประเมินผล AREครั้งที่ 2 14 0.00 1,770.00
15 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 11เวทีสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูล 120 17,100.00 5,200.00
24 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 4 1,000.00 0.00
24 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 3 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 64 ถอนเงินเปิดบัญชีคืน 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หมู่บ้านควนคงขับเคลื่อนด้านอาหารปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการผลิตและบริโภค ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ให้ครัวเรือนปฏิบัติการ สามารถเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตที่ปลอดภัย นำมาซึ่งการบริโภคที่ปลอดภัยด้วย ส่งผลต่อเรื่องสุขภาพ เป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจครัวเรือน ช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร  เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน สามารถเป็นต้นแบบในการจัดการด้านอาหารปลอดภัยในกับชุมชนอื่นๆที่มีบริบทชุมชนที่เหมือนกัน ขยายผลการผลิตและบริโภค สู่ชุมชนจัดการตนเองด้านอาหารปลอดภัย จากการดำเนินงาน ปี 2562  หมู่บ้านควนคงได้ทุน จาก Node Flagship หน่วยจัดการพื้นที่จุดเน้นสำคัญ ของหน่วยจังหวัดพัทลุง ซึ่งผลการดำเนินงาน เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน และได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนด้านวิชาการ การระดมทรัพยากรทั้งภายในภายนอกชุมชน ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน วางแผนงาน ติดตามประเมิน มีการเชื่อมประสานการทำงาน ก่อเกิดผลสำเร็จการผลิตและการบริโภคที่ปลอดภัย
ในโอกาสนี้ คณะทำงานและกลไกการขับเคลื่อน เล้งเห็นความสำคัญของการจัดระบบด้านอาหารปลอดภัย ที่มีรากฐานการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อดำเนินงานการสร้างสุขภาพ ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาพที่ดี และสิ่งแวดล้อมที่ดี

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 13:54 น.