แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมปฐมนิเทศ 20 มิ.ย. 2563 20 มิ.ย. 2563

 

ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง พื้นที่บ้านควนคง มีผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ รับฟังชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม ชี้แจงของทุน สนับสนุนที่มา จาก สสส. มาสนับสนุนกับ กลุ่มองค์กร พื้นที่หมู่บ้าน ที่ต้องการแก้ไขปัญหา ในด้าน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม อาหารปลอดภัย ที่มีเป้าหมายที่ขับเคลื่อนให้สองคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อผลักดันให้พัทลุงเป็นเมืองสีเขียว
จากนัั้นเข้ากระบวนการเรียนรู้การคลี่บันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจในองค์ประกอบบันไดผลลัพธ์ ประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1 ผลลัพธ์ของโครงการ เป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโครงการ เป็นตัวบงบอกความสำเร็จในรูปแบบ ตัวปริมาณ ส่วนที่ 3 ตัวกิจกรรม เป็นการดำเนินงานให้เกิด ผลผลิต และ ผลลัพธ์ พื้นที่ได้ทบทวนบันไดบันผลลัพธ์ ทบทวนภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ มีทั้ง
ภาคีเครือนข่ายแนวราบ
- ศูนย์ภ่ายทอดเทนโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ตำบลตำนาน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ตำนาน - นักวิชาการส่งเสริมการกษตรประจำตำบล ตำนาน ภาคีเครือข่ายแนวดิ่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง - สำนักงานเกษตรอำเภอเมือลพัทลุง

เรียนรู้การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดย นายไพฑูรย์ ทองสม การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัดผลลัพธ์ โดยการนำตัวชี้วัดแต่ละบันไดที่เป็นส่วนหนึ่งของบันไดผลลัพธ์ ที่อยู่ใต้บันได นำมาออกแบบ โดยแบบฟอร์มการออกแบบ ประกอบไปด้วย ตัวชี้วัด ข้อมูล ใช้ข้อมูลอะไรตอบตัวชีวัด แหล่งข้อมูล เก็บข้อมูลจากใคร/เก็บอะไร วิธีรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือใด ผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ ระยะเวลาเก็บข้อมูล เก็บข้มูลเมื่อใด แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยตัวชี้อย่างไร การออกแบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เป็นการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่เหมาะสม การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานโครงการก่อนและหลัง จะได้รู้ถึงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่มีข้อมูลยืนยันของการดำเนินงานตลอดโครงการ

เรียนรู้การออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ โดย นายเสณี จ่าวิสูตร เรียนรู้การวางแนวทางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด พื้นที่ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรม 14 กิจกรรม ในระยะเวลา 10 เดือน เริ่ม เดือนมิถุนายน2563- เดือนมีนาคม 2564

เรียนรู้การบริหารจัดการ การเงิน การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง
ครบถ้วนประกอบไปด้วย เอกสารประกอบกิจกรรม มีครบในงบประมาณค่าใช้จ่าย สมบรูณ์ ประกอบ ไปด้วย เอกสารบิลเงินสด มี เลขที่เล่ม วันที่ นามผู้รับ รายละเอียดของการใช้จ่าย นามผู้จ่าย ถูกต้อง ประกอบไปด้วย การลงนาม ผู้รับ ผู้จ่ายถูกต้อง
การบริหารจัดการ การเงินโครงการ จัดการบริหารไปตามแผนงบประมาณการจ่ายตามตัวโครงการ รายกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีการของอนุมัติการจ่ายโดยผู้รับผิดชอบโครงการทุกครั้ง ต้องมีการทำบันทึกการจ่ายในสมุดเงินสดเพื่อการเบิกจ่ายและสามารถรู้งบประมาณที่เป็นปัจจุบัน รับมาเท่าไร จ่ายไปเท่าไร ยอดคงเหลือเท่าไร

สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง สรุปตั้งแต่กระบวนการ คลี่บันไดผลลัพธ์ ให้ยึดหลักไว้ เราอยู่ที่ไหน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดการเปลียนแปลง มีกิจกรรมอะไร มีตัวชีวัดสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำแล้วถึงหรือยัง โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อการรู้ว่าถึงผลลัพธ์หรือไม่ ระดับไหน การติดตามผลลัพธ์ระหว่างทาง ทบทวน แก้ไข ประเมิน สู่เป้าหมายปลายทาง
การบริหารโครงการ ที่มีงบประมาณ ทำตามแผนกิจกรรมโครงการ มีพี่เลี้ยงหนุมเสริม เพิ่มทักษะ การรายงานความก้าวหน้าระบบออนไลน์ ควบคู่การบริหารจัดการการเงิน มีหน่วยจัดการเสริมความรู้ความเข้าใจตามเอกสารการจ่ายตามคู่มือ

การเขียนรายงานผ่านระบบ Happy Network เรียนรู้การเข้าระบบออนไลน์ ลงรายละเอียดโครงการหน้าเวป ลงรายละเอียดงบประมาณแต่ละงวด รายละเอียดโครงการ ข้อมูลสถานการณ์ / หลักเหตุผล ลงวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ วิธีการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลงรายงานเวทีปฐมนิเทศ เสร็จสิ้นกระบวนการเวทีปฐมนิเทศ

 

  1. ผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

2.ได้เรียนรู้ การคลี่บันไดผลลัพธ์ องค์ประกอบบันไดผลลัพธ์และภาคีร่วมดำเนินการ

3.เรียนรู้การ การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ และทดลองออกแบบจัดเก็บตัวชี้วัดผลลัพธ์ สามารถออกแบบจัดข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ได้ และได้เรียนรู้การออกแผนการดำเนินงานโครงการ และออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ

4.เรียนรู้สร้างความเข้าใจ การบริหารจัดการ การเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง

5.เรียนรู้ การเขียนรายงานผ่านระบบออนไลน์ และลงมือปฏิบัติจริงในการลงรายละเอียดโครงการในระบบ รายงานกิจกรรมการปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง

 

กิจกรรมทำป้ายชื่อโครงการสสส. 10 ก.ค. 2563 10 ก.ค. 2563

 

พื้นที่บ้านควนคงได้จัดทำป้ายชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง ที่มีสัญญลักษณ์ สสส .  ติดไว้ในสถานที่ทำกิจกรรม

 

ป้ายชื่อโครงการที่มีสัญญลักษณ์ สสส. ติดไว้ในสถานที่ทำกิจกรรม

 

กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 11 ก.ค. 2563 11 ก.ค. 2563

 

ประชุมสร้างความใจคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน จำนวน 14 คน ณ ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 14 ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง  เนื่องด้วยทางชุมชนบ้านควนคง ได้มีการขอสนับสนุนทุน สสส. มีหน่วยจัดการพัทลุง NFS  เป็นทีมสนับสนุนระดับใจังหวัด  บ้านควนคงได้รับงบประมาณ การจัดการด้านอาหารปลอดภัย  ในการผลิตบริโภคพืชผักปลอดภัย เป็นปีที่ 2  ซึ่งปีที่2 มีการขยายการผลิตบริโภค ให้ครอบคุมทั่วหมู่บ้าน หมู่14 จำนวน 46 ครัวเรือน และมีการขยายไปสู่หมู่บ้านข้างเคียงอีก 3 หมู่บ้าน ในตำบลตำนาน หมู่ที่7 จำนวน 10 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 จำนวน 10 ครัวเรือน  หมู่ที่ 13 จำนวน 10 ครัวเรือน  เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตและบรโภคในระดับครัวเรือน  2. เพื่อส่งเสริม  การ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผัก  ในครัวเรือน  3. เพื่อส่งเสริมให้มี จุด ซื้อขาย แลกเปลี่ยน พืชผัก ที่ปลอดภัย  4. เพื่อการผลิตและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือน  การขับเคลื่อนในครั้งนี้  มีทีมคณะทำงานโครงการและมีกลไกจากหมู่บ้านที่เข้าร่วม ภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
กลไกขับเคลื่อนจำนวน 14 คน  ประกอบไปด้วยคณะทำงานโครงการ 3 คน  ตัวแทนบ้านควนคง จำนวน 6  คน จาก3กลุ่มบ้าน  ตัวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วม จำนวน 3 คน ภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย เจ้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโตร้ 1 คน  เกษตรตำบลประจำอำเภอ 1 คน  คณะทำงานกลไก จะมีหน้าที่
1. การวางแผนงานดำเนินงานตามโครงการ
2. ออกแบบเก็บข้อมูลรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ และผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร 3. เพื่อการติดตามประเมินผล ร่วมกับตัวแทนกลุ่มบ้านครัวเรือนปฏิบัติการ 4. เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ และจัดทำรายงาน คณะทำงานกลไก วางแนวทางการดำเนินงานโครงการในช่วงเดือน กรกฎาคม 2563
1. การออกแบบเก็บข้อมูล  การใช้สารเคมีและการผลิต การบริโภคปลอดภัย 2. การเก็บข้อมูลครัวเรือน  การใช้สารเคมี และ การผลิต การบริโภคปลดภัย 3 การวิเคราะห้ข้อมูล 4. คืนข้อมูลสู่ชุมชน
มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งงานกันทำงาน

 

  1. รับทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ 2.เกิด กลไกขับเคลื่อนจำนวน 14 คน  ประกอบไปด้วยคณะทำงานโครงการ 3 คน  ตัวแทนบ้านควนคง จำนวน 6  คน จาก3กลุ่มบ้าน  ตัวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วม จำนวน 3 คน ภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย เจ้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโตร้ 1 คน  เกษตรตำบลประจำอำเภอ 1 คน 3.กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
  2. การออกแบบเก็บข้อมูล  การใช้สารเคมีและการผลิต การบริโภคปลอดภัย
  3. การเก็บข้อมูลครัวเรือน  การใช้สารเคมี และ การผลิต การบริโภคปลดภัย 3 การวิเคราะห้ข้อมูล
  4. คืนข้อมูลสู่ชุมชน

 

กิจกรรมที่6ติดตามประเมินผลการใช้สารเคมี ครั้ง ที่ 1 8 ส.ค. 2563 8 ส.ค. 2563

 

การเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมี และผลกระทบการใช้สารเคมี โดยคณะทำงานโครงการจากครัวเรือนในชุมชนและตัวแทนครัวเรือนขยายผู้เข้าร่วมของ หมู่บ้านข้างเคียง เอกสารการเก็บข้อมูล มีรายละเอียดใน
แบบเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการเกษตร

ข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์การใช้สารเคมีในการเกษตร กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นจริงที่สุด

ข้อ 1. จำนวนสมาชิกในครอบครัว................คน

ข้อ 2. ครัวเรือนของท่านสมัครเข้าร่วม “ลดการใช้สารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง” หรือไม่ [ ] เข้าร่วมโดยสมัครใจ [ ] เข้าร่วมเพราะถูกขอร้อง [ ] ไม่เข้าร่วม

ข้อ 3. ครอบครัวของท่านทำการเกษตรหรือไม่ [ ] ไม่(ข้ามไปข้อที่) [ ] ทำตอบได้มากกว่า 1 ข้อ [ ] ทำนา .........ไร่ [ ] ทำสวนปาล์ม .............ไร่ [ ] ทำสวนยาง...........ไร่

ข้อ 4. ครอบครัวของท่านใช้สารเคมีต่อไปนี้หรือไม่ [ ] ไม่ใช้(ข้ามไปตอบข้อ 6) [ ] ใช้จำนวนเท่าไร [ ] ปุ๋ยเคมี...............กิโลกรัม/ปี [ ] ยากำจัดวัชพืช(ฆ่าหญ้า) ..........ลิตร/ปี [ ] ยากำจัดศัตรูพืช (กำจัดหนู............กก./ปี) (กำจัดปู......................กก./ปี)
(กำจัดหอย..........กก./ปี) (กำจัดแมลง................กก./ปี)

ข้อ 5. ขณะใช้สารเคมีท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากหรือไม่อย่างๆไร [ ] ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
[ ] ปฏิบัติตามบ้างเป็นบางครั้ง [ ] ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก

ข้อ 6. ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ยาฆ่าหญ้า (กรัมม็อกโซน,ไกลโฟเซ็ต) ยาฆ่าหนู ยาฆ่าปู ยาฆ่าหอย มีผลตกค้างในดิน ในน้ำ ในอาหาร [ ] ไม่เชื่อว่าสารพิษตกค้าง ไม่กลัวว่าจะมีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม [ ] เชื่อ ว่ามีพิษตกค้างและมีอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7. การทำและใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการทำเกษตร ครอบครัวของท่านได้ดำเนินการอย่างไร [ ] ทำและใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ [ ] ไม่ทำแต่ใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ [ ] ไม่ใช้ (ยังคงใช้สารเคมีตลอด)

ข้อ 8. การปลูกพืชผักสวนครัว [ ] ไม่ปลูก [ ] ปลูก พื้นที่ประมาณ.................ตารางเมตร

ข้อ 9. ท่านได้รับข่าวสารส่งเสริมการ ลด หรือเลิกใช้สารเคมีจากสื่อช่องทางไหนบ้างตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
[ ] สื่อวิทยุ โทรทัศน์ [ ] สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ [ ] สื่อในโทรศัพท์มือถือ

ข้อ 10 ท่านสนับสนุนการส่งเสริมให้เกษตรกรลด เลิก ใช้สารเคมี หรือไม่ อย่างไร [ ] ไม่สนับสนุน [ ] สนับสนุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลิกใช้สารเคมีให้เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบ [ ] สนับสนุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลิกใช้สารเคมีให้เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบและหาความรู้เพิ่มเติม [ ] สนับสนุนด้วยการแนะนำ บอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ถึงอันตรายของสารเคมี

ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ มีการแบ่งเก็บข้อมูล โดย หมู่14 บ้านควนคง แบ่งเก็บเป็นกลุ่มบ้าน 3 กลุ่มบ้าน กลุ่มบ้านทอนมุด บ้านควนตีน บ้านหน้าโรงเรียน
ส่วนหมู่บ้านขยายข้างเคียง หมู่ที่ 7 ,8 , 13 จำนวน 30 ครัวเรือน มีตัวแทนที่เป็นกลไกขับเคลื่อน เก็บข้อมูล เมื่อเก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนจะมาข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์และคืนข้อมูลสู่ชุมชน ในวันประชุมประเดือน

 

มีข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมีในการเกษตร ของครัวเรือนบ้านควนคงและหมู่บ้านขยายข้างเคียง จำนวน 116 ครัวเรือน เป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแนวทางการดำเนินงาน เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์การใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมี ในชุมชน

 

กิจกรรมทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮออล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. 10 ส.ค. 2563 10 ส.ค. 2563

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกลอฮอล์ สำหรับติดไว้ที่สถานที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง

 

ป้ายเขตปลอดบุหรีและเครื่องแอกลอฮอล์ 1 ป้าย ป้ายชื่อโครงการ สสส. 1 ป้าย

 

กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 11 ส.ค. 2563 11 ส.ค. 2563

 

คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง จำนวน 14 คน ณ ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 14 บ้านควนคง รายละเอียดการประชุม ที่ประชุมโครงการได้กำหนดขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

  1. กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงาน 10 ครั้ง ทุกวันที่ 11 ทุกเดือน เพื่อการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการ ติดตามประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมข้อมูลคืนข้อมูล สู่ชุมชนต่อไป

  2. การแบ่งบทบาทหน้าที่การดำเนินงานโครงการ มีคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนตามโครงการ จำนวน 14 คน

1.นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ

2.นายชำเนิน หนูเกลี้ยง จัดทำรายงานและบัญชี

3.สมคิด ฝ้ายทอง ประสานงานทั่วไป

4.นายเฉลิม เชนพูล ประสานงานและประชาสัมพันธ์

5.นางพัตรา บุ่ญเกลี้ยง ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(ผอ.รพ.สต.บ้าน)

6.นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน)

7.นายบุญเจือ ชูยัง เก็บข้อมูล/ติดตาม

8.นายชลิต กลับแก้ว เก็บข้อมูล/ติดตาม

9.นายคง จันสุขศรี เก็บข้อมูล/ติดตาม

10.นายวัชกร จันทร์ด้วง เก็บข้อมูล/ติดตาม

11.นางวลี หลิบแก้ว เก็บข้อมูล/ติดตาม

12.นางช่วย ชูคง ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 7)

13.นางลดารัตน์ ขำแก้ว ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 8)

14.นางสุจิต ชูคง ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 13)

3.กำหนดวางแนวทางดำเนินกิจกรรม ตามแผนงาน กำหนดการเรียนรู้การทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวะภัณฑ์ ในวันที่ 23 กันยายน 2563 วิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง กำหนดการเก็บข้อมูล การผลิต บริโภคของครัวเรือน วันที่ 3ตุลาคม 2563 โดยคณะทำงานของโครงการ รวบรวมส่งที่ผู้ใหญ่บ้าน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลกันอีกครั้ง

 

คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 14 คน กำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน กำหนดการดำเนินกิจกรรมตามแผน จำนวน  3  กิจกรรม ติดตามประเมินผลการเก็บข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบการใช้สารเคมี

 

กิจกรรมที่ 9เก็บข้อมูล การผลิต บริโภค ปลอดภัย ครั้งที่ 1 5 ก.ย. 2563 5 ก.ย. 2563

 

การเก็บข้อมูล การผลิต การบริโภค พืชผัก ในครัวเรือน บ้านควนคงหมู่14 และหมูบ้านข้างเคียง หมู่7 หมู่8 หมู่ที่13  จำนวน 126 ครัวเรือน โดยคณะทำงานของโครงการและตัวหมู่บ้านที่เข้าร่วม แบ่งเก็บข้อมูลตามกลุ่มบ้าน เมื่อนำข้อมูลสร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ ในการผลิตและบริโภคปลอดภัย  ข้อมูลในการเก็บ รายอะเอียด แบบเก็บข้อมูลโครงการประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยบ้านควนคง 1.ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน 2. ข้อมูลการปลูก และการบริโภคในครัวเรือน 3. การปลูกและขยายพันธ์พืชผักอาหารในสวน เป็นแบบเก็บข้อมูลในการผลิตและการบริโภคในครัวเรือนของชุมชนบ้านควนคงและหมู่บ้านขยายการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย  เพื่อนำข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์สถานการณ์ การผลิตการบริโภค ในช่วงก่อนเริ่มการดำเนินการโครงการ สามารถนำมาวางแนวทางการปรับเปลี่ยนสร้างความเปลี่ยนแปลงในการผลิตและการบริโภคที่ปลอดภัย

 

รู้ถึงสถานการณ์ข้อมูลการผลิตและบริโภคพืชผักในครัวเรือน จำนวน  126 ครัวเรือน

 

กิจกรรมที่1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 11 ก.ย. 2563 11 ก.ย. 2563

 

ประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักบ้านควนคง  จำนวน 14 หมู่บ้านหมู่ที่ 14
ทบทวนการดำเนินงาน ในกิจกรรม เก็บข้อมูล การผลิตและการบริโภคพืชผักในครัวเรือน  คณะทำงานที่ได้รับมอบหมายในการออกสำรวจข้อมูล ตามกลุ่มบ้าน ของหมู่ที่ 14 หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 7  ลงเก็บข้อมูลตามกลุ่มเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อย  รวมรวบเก็บที่ผู้รับผิดชอบโครงการ

แจ้งข่าวการร่วมเวทีเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 7  ตุลาคม 2563 ณ ที่โรงแรมวังโนราห์ พื้นที่ละ3 คน ในส่วนของกลไกขับเคลื่อน อนามัย และเกษตรตำบล จะมีหนังสือเชิญส่งถึงหน่วยงานอีกครั้ง

การวางแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป กำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและบริโภคปลอดภัยในครัวเรือน โดยให้ผู้รับผิดชอบโครงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาสรุปกับคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ประมาณเดือน พฤษจิกายน 2563 การเข้าร่วมเวที่เชื่อมร้อยประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง  มอบหมายให้  คณะทำงานโครงการ ซึ่งมี ผู้รับผิดชอบโครงการ  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ  ผู้รายงานกิจกรรมความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์  มี ตัวแทนเจ้าหน้าที่อานามัยบ้านโต๊ระ และเกษตรตำบลตำนาน เข้าร่วมกระบวนการในประเด็นอาหารปลอดภัย ซึ่งทั้งหน่วยงานเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการในตำบล

 

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนจำนวน 14 คน ประชุมทบทวนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน กำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนกิจกรรม มอบหมายหน้าที่ในการเข้าร่วมเวที่เชื่อมร้อยประสานกัลหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 30 ก.ย. 2563 30 ก.ย. 2564

 

ผู้รับทุนได้นำเงินสำรองจ่ายเปิดบัญชีธนาคาร

 

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินคืนจากการสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคี 7 ต.ค. 2563 7 ต.ค. 2563

 

เวทีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยว  พื้นที่ เข้าร่วม จำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน  ผู้รายงานกิจกรรมรายงานความก้าวผ่าระบบออนไลน์
รับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ในการเชื่อมร้อย จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS  นาย ไพฑรูณ์  ทองสม
จุดประสงค์ เพื่อการเชื่อมร้อยการดำเนินงานของพื้นที่และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สามารถดำเนินงานและสนับสนุนหนุนเสริมการดำเนินงาน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้
มีการแนะนำหน่วยงานภาคีที่เกี่ยว ตามยุทธศาสตร์ และพื้นที่โครงการจำนวน 25 พื้นที่  แนะนำพี่เลี้ยงประจำพื้นที่
จากนั้นแบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งพื้นที่บ้านควนคงอยู่ประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม เป็นคนชวนคุย สร้างความเข้าใจ ระหว่างพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกลุ่ม พื้นที่ได้นำแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่นำเสนอช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแก่ หน่วยงานภาคีและพื้นที่ในประเด็นอาหารปลอดด้วยกัน เพื่อการเชื่อมประสานการดำเนินงาน การสนับสนุน การหนุมเสริม ในเรื่องการร่วมมือพื้นที่ประเด็นอาหารปลอดภัย  หน่วยงานภาคี ได้แนะนำการวางแนวทางการดำเนินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ประเด็นทรัพยากร 2. ประเด็นสิ่งแวดล้อม 3. ประเด็นอาหารปลอดภัย

 

25 พื้นที่ตามประเด็นยุททธศาสตร์ สามารถเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวและพื้นที่ประเด็นตามยุทธศาสตร์ เสนอแนวทางการดำเนินงานตามแผนแก่หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเชื่อมร้อยในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์

 

กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 11 ต.ค. 2563 11 ต.ค. 2563

 

ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงส่งเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัยบ้านควนคง จำนวน 14 คน ณ ที่ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 14
ทบทวนผลการดำเนินงาน การเข้าร่วมเวที่เชื่อมร้อยประสานงานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ณ ที่โรงแรมวังโนราห์ คณะทำงานโครงการ ประกอบไปด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมความก้าวผ่านระบบออนไลน์ เข้าร่วมรับการชี้แจงการเชื่อมร้อยประสานงานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นวางแนวทางการดำเนินงานสนับสนุนหนุมเสริมวัตถุประสงค์ในเชิงประเด็นที่พื้นที่ได้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์จังหวัด พื้นที่ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการในกลุ่มประเด็นอาหารปลอดภัยแลกเปลี่ยนเรียกรู้กับพื้นที่อื่นๆในกลุ่มประเด็นอาหารปลอดภัย รับฟังการแลกเปลี่ยนในกลุ่มประเด็นอื่นที่มีวิธีการเชื่อมร้อยประสานงานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

กำหนดแนวทางการดำเนินตามแผน กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้การทำปุ๋ยการเตรียมดิน การใช้สารชีวภัณฑ์ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ณ ที่ แหล่งเรียนรู้บ้านควนคงหมู่ที่ 14 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน เป็นตัวแทนครัวเรือน
มอบหมายหน้าที่ในการประสานงาน ประสานวิทยากร ประสานกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมวัสดุดิบอุปกรณ์ในการเรียนรู้การทำปุ๋ย หมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ สารไล่แมลง

 

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนำนวน 14 คน ทบทวนการดำเนินงานติดตามประเมินผล การเข้าร่วมเวทีเชื่อมร้อยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดวางแนวทางการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมการเรียนรู้การทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวภัณฑ์ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2563

 

กิจกรรมที่ 2. การเรียนรู้การการทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวะภัณฑ์ 17 ต.ค. 2563 17 ต.ค. 2563

 

การเรียนรู้การทำปุ๋ย การจัดเตรียดิน การทำสารทดแทน การใช้สารชีวภัณฑ์ มีผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 40 คน ครัวเรือนบ้านควนคงหมู่ 14 จำนวน 10 คน หมู่บ้านขยายการเรียนรู้ หมู่ 13 คน หมู่ 8 จำนวน 10 คน หมู่ 7 จำนวน 10 คน ณ ที่แหล่งเรียนรู้บ้านควนคง วิทยากรกระบวนการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง และ วิทยากรแหล่งเรียนรู้ นายกระจ่าง นุ่นดำ กระบวนการเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมักแห้ง วัสดุอุปกรณ์ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง 1. มูลวัวแห้ง จำนวน 50 กระสอบ 2. ฟางข้าวแห้ง จำนวน 10 ก้อน
3. รำละเอียด จำนวน 30 กิโลกรัม 4. แกลบดำ จำนวน 20 กิโลกรัม
5. กากน้ำตาล จำนวน 20 กิโลกรัม 6. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง วิธการทำปุ๋ยหมักแห้ง 1. ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 1 ปีบ 20 ลิตร คนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที 2. เอากากน้ำตาลละลาย20 ก.ก. ต่อน้ำ 20 ลิตร 3. จดเรียงวัสดุ กองปุ๋ยหมักเป็น 3 ชั้น กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ตามวสดุที่เตรียมไว้ ตามอัตราส่วนที่เท่าๆกันทั้ง 3 ช้ั้น
4. แต่ละชั้นรดสารละลายซุปเปอร์ พด.1 กองปุ๋ยหมักทุกชั้นโดยเฉลี่ยให้เท่าๆกันและราดกากน้ำตาลที่ละลายน้ำไว้ทุกชั้นเช่นกัน 5. รดน้ำกองปุ๋ยหมักให้มีความชื่น 60 เปอร์เซ็น 6. เสร็จแล้วลุมด้วยพลาสติกดำ 7. กลับกองปุ๋ยหมักทุก 10 วัน พร้อมรดน้ำ 8. กลับกองปุ๋ยหมัก 3 รอบ รวมเวลา 1 เดือน ก็สามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้ คุณประโยนช์ของปุ๋ยหมักแห้ง ทำให้ดินโปร่ง รวนซุย ดินอุ้มน้ำได้ดี ช่วยดูดซับธาตุในดิน ไม่ให้ชะล้างไปโดยง่าย เป็นแหล่งธาตะอาหารพืช ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง เพื่อความต้านทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีที่เป็นประโยชน์ในดิน อัตราวิธีการนำไปใช้ 1. ใช้ 1 ตัน ต่อเนื้อที่ 1 งาน หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกรบ 2. ถ้าพื้นที่น้อยหรือปลูกในภาชนะต่างๆ เช่นกระถางให้ปรับการใช้ตามความเหมาะสม

กระบวนการทำปุ๋ยหมักน้ำ วัสดุดิบปุ๋ยหมักน้ำ 1. มะละกอสุก 20 ก.ก.  2. สัปรดสุก 20 ก.ก.
3. เศษผัก 10 ก.ก.    4. กากน้ำตาล 10 ก.ก.
5. น้ำ 10ลิตร    6. สารเร่งซุปเปอร์ พ.ด 2 1ซอง วิธีทำ 1. ละลายสารซุปเปอร์ พ.ด 2 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 2. นำมะละกอสุก สัปรดสุก และเศษผักสับเป็นชิ้นไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป 3. ผสมวัสดุดิบและกากน้ำตาลลงในถัง 50 ลิตร แล้วเทสารละลายซุปเปอร์ พ.ด 2 ที่ผสมไว้ 4. คลุกเคล้า หรือ คน ให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท 6. ใช้เวลาหมัก 7 วัน สรรพคุณของปุ๋ยหมักน้ำ เร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และใบของพืช ส่งเสริมการออกดอกและติดผล กระตุ้นการงอกของเมล็ด เพิ่มคุณภาพของผลผลิตพืช

อัตราการใช้ปุ๋ยหมักน้ำ ใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้
ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น 10 วัน/ครั้ง

การทำสารไล่แมลงและควมคุมศตรูพืช วัสดุอุปกรณ์
1. ข่า 10 ก.ก. 2. สาบเสือ 5 ก.ก. 3. ตะไคร่ 10 ก.ก. 4. ใบสะเดา 5 ก.ก. 5. กากน้ำตาล 10 ก.ก. 6. รำละเอียด 100 กรัม 7. น้ำ 30 ลิตร 8. สารเร่ง พด. 7 1 ซอง วิธีทำ
1. สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทุบหรือทำให้แตก 2. นำพืชสมุนไพรและรำข้าวใส่ลงในถังหมัก 3. ละลายกากน้ำตาลในน้ำ และสารเร่ง พ.ด 7 ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 4. เทสารละลายลงในถังหมัก คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท คนทุกวัน และวางไว้ในที่รม ใช้เวลาการหมัก 21 วัน สรรพคุณ ควบคุมเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ควบคุมหนอนกระทู้ผัก หนอนใบผัก อัตราการใช้ และระยะเวลาในการฉีกพ่น ใช้น้ำหมักไล่แมลง 1 ส่วน ต่อน้ำ 100ส่วน ฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ฉีดติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เป็นกระบวนการเรียนรู้ และทดลองทำจริง ทุกขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ได้จริงและเป็นต้นแบบถ่ายทอดการทำให้กับผู้ที่สนใจได้

 

ตัวครัวเรือน 40 คน ได้เรียนรู้กระบวนการ  การทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ การเตรียมดิน การทำสารชีวภัฑณ์  ได้ทดลองทำจริงทุกขั้นตอน

 

กิจกรรมปิดงวดโครงการงวดที่1 14 พ.ย. 2563 14 พ.ย. 2563

 

พื้นที่บ้านควนคงเข้าร่วมตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมผ่านระบบออนเวปไลน์ คณะทำงานประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานความก้าวหน้าผ่านระบบเวปไลน์ โดยเจ้าหน้าที่การเงินหน่วยตรวจความถูกเอกสารการเงินพร้อมระบบหน้าเวปไลน์ นายจำรัส รันต์อุบล การตรวจสอบความถูกต้อง เรียบร้อย ครบถ้วนสมบรูณ์ สามารถปิดงวดที่1 เป็นที่เรียบร้อย

 

คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมความก้าวผ่านระบบเวปไลน์ จำนวน 3 คน การตรวจเอกสารการเงินและรายงานความก้าวหน้าในระบบเวปไลน์สามารถออกรายงานการเงินปิดงวดที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่การเงินหน่วยจัดการ ได้เป็นที่เรียบร้อย

 

กิจกรรมที่ 10. ติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่1 30 พ.ย. 2563 30 พ.ย. 2563

 

คณะทำงาน คนและกลไกขับเคลื่อน โครงการ ส่งเสริมการผลิตและบิโภคผักปลอดภัยบ้านควนคงและแกนนำครัวเรือนพื้นที่ข้างเคียงพร้อมด้วยต้นแบบครัวเรือนสร้างนวัตกรรม ภาคีที่เกี่ยวข้อง พี่เลี้ยงโครงการ ในเวทีติมตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 21 คน ณ ที่ศาลาหมู่ที่14 บ้านควนคง คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ ได้มีการนนำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงานตามขั้นบันไดผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1 เกิดปฏิบัติการผลิตและบริโภคปลอดภัย 1. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 102ครัวเรือน จากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนเพิ่ม 62 ครัวเรือน
ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 155.6 % 2. ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น100% การผลิตผักไม่อย่างกว่า 5 ชนิด
เพิ่มขึ้น 66.66% ผลิตผักมากกว่า 5 ชนิดเพิ่มขึ้น39.21% (ปี 2562ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 40 ครัวเรือน มากกว่า5 ชนิด 20 ครัวเรือน
ปี 2563 ครัวเรือนปฎิบัตการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 60 ครัวเรือน ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี2562 20 ครัวเรือน มากกว่า 5 ชนิด 51 ครัวเรือน เพิ่ม 31 ครัวเรือน)
3. บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% กินผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน 214 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 376 คน ร้อยละ56% มีกติกาชุมชนการผลิตผักปลอดภัย 1. ไม่ใช้สารเคมึ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง 3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก 4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง มีครัวเรือนต้นแบบการผลิตผักปลอดภัย 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนการผลิตและบริโภคปลอดภัย 1 แหล่ง เกิดครัวเรือนสร้างนวัตกรรมการการปลูก การดูแลรักษา เป็นแหล่งเรียนรู้ 5 ครัวเรือน ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีและสมาชิกครัวเรือน 102 ครัวเรือน เลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนด 100%

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 เกิดจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีข้อมูล การผลิตและบริโภค การผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 102 ครัวเรือน การบริโภคผักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน 214 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 376 คน ร้อยละ56%

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 ผลิตผักและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ ครัวเรือน ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น155.6% บริโภคปลอดภัยเพิ่มขึ้น 56% รายได้เพิ่มขึ้น 80% ครัวเรือน รายได้ยังไม่เพิ่มขึ้น

จากการติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ได้มีการทบทวนการแผนการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามขั้นบันไดผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ได้วางแนวทางแผนงาน ในเรื่องของ การส่งเสริมการบริโภคผักอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน ตามข้อมูลที่เก็บมาและนำมาวิเคราะห์ พบว่ายังคงมีสมาชิกในครัวเรือนบริโภคผักน้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน พบว่าในช่วงอายุต่ำกว่า 12 ปี และอายุ60ปีขึ้นไป โดยจะมีเจ้าหน้าที่ รพสต.บ้านโตร้ ซึ่งเป็นภาคีหลักในเรื่องอาหารปลอดภัยและร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน เข้ามาให้ความรู้และส่งเสริมการบริโภคพืชผักปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง เมนูที่เหมาะสมกับช่วงวัย
ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัย และการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน จะมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ เป็นภาคีหลักและร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน เข้ามาส่งเสริมในเรื่องการ ขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแล การควบคุมคุณภาพตามกติกา มาตารฐานของผู้ผลิตและผู้บริโภค

 

  • คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน 14 คน( ภาคีที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ รพสต.และเจ้าที่เกษตรเกษตรอำเภอ ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน) ครัวเรือนต้นแบบ 5 คน พี่เลี้ยง 2 คน ติมตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
    ผลลัพธ์ของโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคปลอด ตามขั้นบันไดผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 102 ครัวเรือน จากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนเพิ่ม 62 ครัวเรือน ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 155.6%

  1. ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น100% ปี 2562ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 40 ครัวเรือน มากกว่า5 ชนิด 20 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ50% (20คณู100หาร40) ปี 2563 ครัวเรือนปฎิบัตการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 60 ครัวเรือน ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี2562 20 ครัวเรือน มากกว่า 5 ชนิด 51 ครัวเรือน เพิ่ม 31 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ155% (31คณู100หาร20) ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น 205%

  2. บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% กินผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน 214 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 376 คน ร้อยละ56%

มีกติกาชุมชนการผลิตผักปลอดภัย 1. ไม่ใช้สารเคมึ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง 3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก 4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง มีครัวเรือนต้นแบบการผลิตผักปลอดภัย 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนการผลิตและบริโภคปลอดภัย 1 แหล่ง เกิดครัวเรือนสร้างนวัตกรรมการการปลูก การดูแลรักษา เป็นแหล่งเรียนรู้ 5 ครัวเรือน ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีและสมาชิกครัวเรือน 116ครัวเรือน เลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนด 100%


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 เกิดจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีข้อมูล การผลิตและบริโภค การผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 102ครัวเรือน การบริโภคผักปลอดภัยไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน 214 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 376 คน ร้อยละ56%


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 ผลิตผักและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ ครัวเรือน ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 155.6% บริโภคปลอดภัยเพิ่มขึ้น 58% รายได้เพิ่มขึ้น 80% ครัวเรือน รายได้ยังไม่เพิ่มขึ้น


- ได้มีการทบทวนการแผนการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามขั้นบันไดผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ได้วางแนวทางแผนงาน ในเรื่องของ การส่งเสริมการบริโภคผัก และการส่งเสริมในการบริโภคปลอดภัย

 

กิจกรรมที่ 5.สนับสนุนการสร้างวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ 19 ธ.ค. 2563 19 ธ.ค. 2563

 

การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม การปลูก การขยายพันธ์ การทำสารทดแทนชีวภัณฑ์ โดยการ คัดเลือกครอบครัวที่มีความโดดเด่นในการทำเกษตรปลอดสาร จำนวน 5 ครัวเรือน
ครัวเรือนต้นแบบหมู่ 14 1. นางวลี หล่มแก้ว ได้เรียนรู้การในการทำเกษตรปลอดภัย การเตรียมดิน การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวิภาพ การทำสารทดแทนชิวภัณฑ์
มีการคิดค้นสารชีวภัณฑ์ในการไล่แมลง มีวัสดุดิบประกอบไปด้วย ยาเส้น ตะไคร้ ข่า ใบเทียบ เหล้าขาว


ครัวเรือนต้นแบบหมู่ 14

ครัวเรือนต้นแบบหมู่ที่ 7 นางช่วย อ๊ะชลี่ สร้างนวัตกรรมด้านการทำปุ๋ยหมัก วัสดุดิบประกอบด้วย ภด1 ขี้วัว แกลบ ฝางข้าว รำละเอียด กากน้ำตาล


ครัวเรือนต้นแบบหมู่ที่ 8 นางลดารัตน์ ขำแก้ว สร้างนวัตกรรมด้านการเตรียมดินปลูก วัสดุประกอบไปด้วย ดินร่วน ขุ่ยมพร้วม ขี้วัว แกลบดำ น้ำหมักหอยเชอรี


ครัวเรือนต้นแบบหมู่ที่ 13 นางสุจิต ชูคง สร้างนวัตกรรมปุ๋ยน้ำหมักผลไม้ ผลไม้ กากน้ำตาล ภด 2 1. มะละกอสุก 5 ก.ก. 2. สัปรดสุก 5 ก.ก.
3. เศษผัก 3 ก.ก. 4. กากน้ำตาล 1 ก.ก.
5. น้ำ 5ลิตร  6. สารเร่งซุปเปอร์ พ.ด 2 1ซอง วิธีทำ 1. ละลายสารซุปเปอร์ พ.ด 2 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 5 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 2. นำมะละกอสุก สัปรดสุก และเศษผักสับเป็นชิ้นไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป 3. ผสมวัสดุดิบและกากน้ำตาลลงในถัง 50 ลิตร แล้วเทสารละลายซุปเปอร์ พ.ด 2 ที่ผสมไว้ 4. คลุกเคล้า หรือ คน ให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท 6. ใช้เวลาหมัก 7 วัน สรรพคุณของปุ๋ยหมักน้ำ เร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และใบของพืช ส่งเสริมการออกดอกและติดผล กระตุ้นการงอกของเมล็ด เพิ่มคุณภาพของผลผลิตพืช

 

เกิดครัวเรือนต้นแบบในการทำเกษตรปลอดภัย ในการผลิตพืชผัก จำนวน 5 ครัวเรือน ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดนวัตกรรม การผลิตปลอดภัย  มีสูตรดินปลูก สูตรการทำสารทดแทนชีวภัณฑ์

 

กิจกรรมการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 17 ม.ค. 2564 17 ม.ค. 2564

 

ประชุมคณะทำงาน จำนวน 14 คน ณ ที่ศาลาหมู่บ้าน มีวาระการประชุม
วาระที่ 1 ติดตามงานการดำเนินงานโครงการ การสรุปเวที การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา วาระที่ 2 การปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับระยะเวลาของโครงการ วาระที่ 3 การกำหนดการดำเนินงานกิจกรรมตมแผนปรับปรุงใหม่

วาระที่ 1 ติดตามงานการดำเนินงานโครงการ การสรุปเวที การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ ดำเนินการพูดคุยเรื่อง ทบทวน ผลการ ARE ตามคณะทำงานโครงการได้ตั้งวงติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ในรอบการดำเนินงาน ระยะ 5 เดือนการดำเนินงานกิจกรรมไปตามบันไดผลลัพธ์ ทบทวนการดำเนินงานที่ยังไม่ได้ทำกิจกรรม ตามบันไดผลลัพธ์ ในเรื่องการส่งเสริมการบริโภคผักอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน ตามข้อมูลที่เก็บมาและนำมาวิเคราะห์ พบว่ายังคงมีสมาชิกในครัวเรือนบริโภคผักน้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน พบว่าในช่วงอายุต่ำกว่า 12 ปี และอายุ60ปีขึ้นไป โดยจะมีเจ้าหน้าที่ รพสต.บ้านโตร้ ซึ่งเป็นภาคีหลักในเรื่องอาหารปลอดภัยและร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน เข้ามาให้ความรู้และส่งเสริมการบริโภคพืชผักปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง เมนูที่เหมาะสมกับช่วงวัย
ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัย และการเพิ่มรายได้ในครัวเรือน จะมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ เป็นภาคีหลักและร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อน เข้ามาส่งเสริมในเรื่องการ ขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแล การควบคุมคุณภาพตามกติกา มาตารฐานของผู้ผลิตและผู้บริโภค

วาระที่ 2 การปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับระยะเวลาของโครงการ  เนื่องสถานการณ์ โควิด ไม่สามารถทำตามแผนงานโครงการที่ดำหนดไว้ จึงต้องมีการปรับแผนงานให้ทันระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งพี่เสี้ยงแจ้งข่าวสารการขยายเวลาในการดำเนินงาน ขยายเวลาไปอีก 3 เดือน สิ้นสุดโดยโครงการ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

วาระที่ 3 การกำหนดการดำเนินงานกิจกรรมตมแผนปรับปรุงใหม่  คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ ได้ร่วมกัน ปรับแผนการดำเนินงานโครงการ ให้สอดคล้องกับเวลาที่กำหนด กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการมีทั้งหมด 6 กิจกรรม


กิจกรรมที่ 3. ขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลการควบคุมคุณภาพตามกติกา รายละเอียดกิจกรรม
ปรับแผนกาทำกิจกรรม เดือน มีนาคม 2564


กิจกรรมที่ 4.เรียนรู้การ บริโภคปลอดภัย การล้าง การปรุง ปรับแผนกาทำกิจกรรม เดือน มีนาคม 2564


กิจกรรมที่ 6 ติดตามประเมินผลการใชสารเคมี ครั้งที่ 2 ปรับแผนกาทำกิจกรรม เดือน พฤภาคม 2564


กิจกรรมที่ 7จัดการให้มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผัก ในชุมชน ปรับแผนกาทำกิจกรรมในเดือน กุมภาพันธ์2564


กิจกรรมที่ 9 เก็บข้อมูลการผลิต การบริโภค พืชผักในครัวเรือน ครั้งที่ 2 ปรับแผนกาทำกิจกรรม เดือน เมษายน 2564


กิจกรรมที่ 11เวทีสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูล ปรับแผนกาทำกิจกรรม เดือน มิถุนายน 2564


ปรับแผนงานกิจกรรม ให้เหมาะสมตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ยังไม่กำหนดวันที่จะทำกิจกรรม จะร่วมกันกำหนดอีกครั้งในวันประชุมคณะทำงานครั้งต่อไป เนื่องด้วยต้องรองบประมาณในงวดที่ 2 ซึ่งทางด้วยจัดการแจ้งงบประมาณจะโอนให้ในต้นเดือน กุมภาพันธ์

 

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 14 คน  ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ปรับแผนงานกิจกรรมโครงการเพื่อให้สองคล้องกับระยะดำเนินงานที่กำหนด วางแนวทางการทำกิจกรรมจากปรับแผนงาน

 

กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมการทำบัญชี ซื้อ ขาย ในครัวเรือน 2 ก.พ. 2564 1 ก.พ. 2564

 

การส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ รายจ่าย พืชผัก ในการผลิตและบริโภคในครัวเรือน คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย บ้านควนคง ได้ ออกแบบฟอร์มการทำแบบบันทึก รายรับ รายจ่าย พืชผัก ใน ครัวเรือน มีรายละเอียด ดังนี้ วันที่ รายการซื้อ- ขายพืชผัก จำนวนปริมาณ ราคา สรุปยอด ซื้อ - ขาย จัดทำแบบบันทึกนำส่งให้ สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ จำนวน 100 ชุด เพื่อการเก็บข้อมูลการผลิตและการบริโภคพืชผักและปริมาณรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน สามารถวางแนวทางการผลิตและการปลูกเพื่อจำหน่ายสามารถลดรายจ่ายสร้างรายได้แก่ครัวเรือน

 

มีข้อมูลการผลิตและปริมาณการบริโภคพืชผักในครัวเรือน สามารถวางแนวทางการผลิตและการบริโภคพืชผักและการปลูกเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ ในครัวเรือน

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 6 11 มี.ค. 2564 11 มี.ค. 2564

 

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัย จำนวน 14 คน ประชุมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ณ ที่ ศาลาหมู่บ้านควนคง
มีวาระการประชุม ที่ 1 ติดตามประเมินผลกิจกรรม ส่งเสริมการทำบัญชี ซื้อ ขาย พืชผักในครัวเรือน คณะทำงานโครงการ การจัดทำ แบบเก็บข้อมูลการ ซื้อ ขาย พืชผักในครัวเรือน ส่งต่อในครัวเรือนได้บันทึก รายรับ รายจ่าย พืชผัก ในครัวเรือน เพื่อเก็บข้อมูล จำนวน 116ครัวเรือน ในหมู่ 14 ,13,7,8 คณะทำงานได้แนะนำวิธีการลงรายละเอียดของสมุดบันทึก เป็นที่เรียบร้อย ติดตามประเมินผลกิจกรรม จัดการให้มีจุดซื้อขายพืชผักในชุมชน มีการกำหนดจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผักในชุมชน จำนวน 4 จุด ให้ทั่วถึงกับสมาชิกในการ นำพืชผักปลอดภัยมาแลกเปลี่ยน ซื้อ ขาย และได้มี ป้าย ประชาสัมพันธ์พืชผักปลอดภัยติดแสดงไว้ ณ จุด แลกเปลี่ยนพืชผัก จำนวน 4 ป้าย เพื่อแสดงถึงพืชผักที่ผ่านการผลิตที่ปลอดภัยจากครัวเรือนสมาชิกโครงการ

วาระที่ 2 การกำหนดการจัดกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินงาน มีกิจกรรมที่ต้องเร่งการดำเนินงาน 2 กิจกรรม กิจกรรม การขายพันธ์ การปลูก และการดูแลการควบคลุมคุณภาพตามกติกา กิจกรรม เรียนรู้การบริโภคปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง คณะทำงานและกลไกได้มีการวางแนวทาง กำหนด การทำกิจกรรม ในช่วง ต้นเดือนเมษายน เพราะช่วงในเดือน ยังคงติดปัญหาของการเลือกสมาชิกเทศบาล จะมีการกำหนดการดำเนินงานกิจกรรมในวันประชุมคณะทำงานและกลไกในเดือนเมษายน

วาระที่ 3 แจ้งเพื่อทราบ การเข้าร่วมเวที่ การติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1 มีการมอบหมายหน้าที่ ในการร่วมเวที จำนวน 3 คน มีผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

 

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัย จำนวน 14 คน ประชุมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน  วางแนวทางการดำเนินงาน โครงการ  กำหนดการทำกิจกรรมที่ยังไม่ตอบตัวชี้วัดให้ชัดเจนตามขั้นบันได

 

กิจกรรมที่ 7จัดการให้มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผัก ในชุมชน 18 มี.ค. 2564 18 มี.ค. 2564

 

การทำกิจกรรมการส่งเสริมให้มีจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผัก ที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน นำกระจายให้กับครัวเรือนที่ปลูกไม่พอกิน ได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยและหลากหลายชนิด มีการกำหนดจุดแหล่ง กระจายพืชผักในชุมชน ที่เป็นร้านค้าที่มีการ ซื้อ ขาย พืชผัก ที่ร้านชำ และมีแหล่ง ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีการกำหนด ทั้งหมด 4 จุด มีป้ายประสัมพันธ์ จุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนพืชผักปลอดภัย ครอบคลุมทั่วชุมชนบ้านควนคง และหมู่บ้านขยาย 3 หมู่บ้าน

 

มีจุด ซื้อขายแลกเปลี่ยนพืชผักปลอดภัย ครอบคลุมทั่วชุมชนบ้านควนคง และหมู่บ้านขยาย 3 หมู่บ้าน มีแหล่ง ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีการกำหนด ทั้งหมด 4 จุด
มีป้ายประสัมพันธ์แสดงจุด ซื้อ ขาย แลกเลี่ยนพืชผักที่ปลอดภัย จำนวน 4 ป้าย

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลเพื่อนการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยจัดการ 20 มี.ค. 2564 20 มี.ค. 2564

 

การเข้าร่วมเวที ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการและพื้นที่รับการสนับสนุนทุน จำนวน 25 พื้นที่ ณ โรงแรมวังโนราห์ พื้นที่บ้านควนคงโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย มีผู้เข้าร่วม จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ประสานงานโครงการ

รับฟังการชี้แจงวัตถุประสงค์ การติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ร่วมกับหน่วยจัดการ พื้นที่รับการสนับสนุนทุน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนิน เกิดผลการเปลี่ยนแปลง ตามบันไดผลลัพธ์ มีปัญหา อุปสรรค์อย่างไรบ้าง วางแนวทางแก้ไขอย่างไร
จากนั้นแบ่ง เพื่อนำเสนอผลการขับเคลื่อนงานของแต่ละพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนำเสนอตามบันไดผลลัพธ์ของแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในบันไดขั้นไหน มีข้อมูลอะไรยืนยันว่าถึงบันไดขั้นนี้ พื้นที่บ้านควนคงเข้ากลุ่มประเด็นอาหารปลอดภัย ปลูกและบริโภคปลอดภัย มีพื้นที่โครงการเขาปู่ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลลัพธ์พื้นที่บ้านควนคง อยู่บันไดขั้นที่ 2 โดยมีกลไกการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 14 คน มีการเก็บข้อมูลการ การผลิตและบริโภค

บันไดขั้นที่1 เกิดปฏิบัติการผลิต และบริโภคปลอดภัย - มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 102 ครัวเรือน จากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนสมัครเข้าร่วมเป็นครัวเรือนเพิ่ม 62 ครัวเรือน  ครัวเรือน- - ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 155 % ครัวเรือน กินผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน 214 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 376 คน ร้อยละ56% - มีกติกาชุมชนการผลิตผักปลอดภัย 1. ไม่ใช้สารเคมึ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง 3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก 4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด

บันไดขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีที่ชุมชนกำหนดร้อยเปอร์เซนต์


ช่วงบ่าย มีการแบ่งกลุ่มการแลกเปลี่ยนกระบวนการทำดำเนินงานโครงการ มีการแบ่ง 3 กลุ่ม


1. ประเด็นการออกแบบเก็นข้อมูลผลลัพธ์

  • โครงการของท่านมีการออกแบบและเก็บข้อมูลผลลัพธ์อย่างไร
  • ท่านเก็บข้อมูลอย่างไรโดยใคร
  • ท่านวิเคราะห็ข้อมูลอย่างไร
  • มีปัญหาอุปสรรค์อะไรบ้างที่ต้องความช่วยเหลือจากทีมกลาง
    2.  ประเด็นเชื่อมร้อยภาคี

  • โครงการของท่านมีการเชื่อมภาคีมาร่วมดำเนินโครงการหรือม่าย

  • ใช่เทนนิควิธีการใดในการเชื่อมภาคี
  • มีปัญหาอุปสรรค์อะไรบ้างที่ต้องความช่วยเหลือจากทีมกลาง

    3.  ประเด็นการจัดกลไกการดำเนินงาน

  • โครงการของท่านมีการออกแบบกลไกการดำเนินงานอย่างไร

  • มีการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างไร
  • มีการพัฒนาศักยภาพของทีมอย่างไร และต้องการการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมบ้างหรือไม่

นำเสนอผลการระดมความคิดเห็น เติมเต็มให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของ NFS พัทลุง สรุปผลการARE และแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไปของโครงการ

 

คณะทำงานเข้าร่วมการเสนอผลการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ  ได้นำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงาน ผลลัพธ์อยู่ขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการขับเคลื่อนโครงได้ แลกเปลี่ยนการ การออกแบบเก็บข้อมูล การเชื่อมร้อยภาคี การจัดกลไกการดำเนินงาน

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 7 24 มี.ค. 2564 24 มี.ค. 2564

 

การประชุมคณะทำงานแลกกลไกขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 ต. ตำนาน คณะทำงานกลไกขับเคลื่อน 14 คน
วาระที่1 ประธาน ทบทวน การดำเนินงานที่ทำกิจกรรมที่ผ่านมา มีกิจกรรมที่ต้องเร่งการดำเนินงาน 2 กิจกรรม กิจกรรม การขายพันธ์ การปลูก และการดูแลการควบคลุมคุณภาพตามกติกา กิจกรรม เรียนรู้การบริโภคปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง คณะทำงานและกลไกได้มีการวางแนวทาง กำหนด การทำกิจกรรม การขยายพันธ์ การปลูก และการดูแลรักษาการควบคุมคุณภาพ กำหนดวันเป็นวันที่ 30 มีนาคม 2564 ณ ที่ ทำการผู้ใหญ่บ้าน แบ่งหน้าที่ในการประสานกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ทีมประสานรับหน้าที่ เชิญวิทยากร เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลตำนาน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนรู้ เรียนรู้การตอนกิ่ง การปักชำควบแน่น วางกำหนดการในการเรียนรู้ เป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเป็นการเรียนรู้การ การดูแลควบคุมคณภาพตามกติกา ช่วงบ่าย ภาคปฏิบัติ การขยายพันธุ์ การปลูก
และกำหนดการทำกิจกรรม เรียนรู้การบริโภคปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง 6 เมษายน 2564 ณ ที่ ทำการผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน แบ่งหน้าที่มอบหมายงาน
วาระที่ 2 แจ้งรายเอียดเงิน งวดที่ 2 ทางหน่วยจัดการทำการตรวจสอบเอกสารฐานการเงินและส่งตรวจความถูกต้อง กับ สสส. เป็นที่เรียบร้อย สามารถโอนเงินงวดที่2 ได้แล้ว สามารถขยับการดำเนินงานกิจกรรมให้ทันเวลาที่ได้ของขยายเวลาไว้ ตามเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ ตามบันไดผลลัพธ์

 

คณะทำงาน 14 คน ร่วมทบทวนการดำเนินงานการทำกิจกรรม ที่ผ่านมา ได้มีการวางแนวทางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน

 

กิจกรรมที่ 3. ขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลการควบคุมคุณภาพตามกติกา รายละเอียดกิจกรรม 27 มี.ค. 2564 27 มี.ค. 2564

 

กิจกรรมการขยายพันธ์ุ การปลูก การดูแลรักษา การควบคุมคุณภาพคุณภาพตามกติกา มี ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเรียนรู้ จำนวน 40 คน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่14 ต.ตำนาน อ. เมือง จ. พัทลุง โดย มี วิทยากร นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน) ให้ความรู้เรื่องการ การขยายพันธ์ุการปลูก การขยายพันธ์ุ การปลูก มีหลากหลายวิธี การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง แล้วแต่พันธ์ุพืชที่ต้องการขยายพันธุ์ พืชผักที่ใช้ในการบริโภค ส่วนมากจะขยายพันธ์เพาะเมล็ด  ในส่วนการ ตอนกิ่ง วิธีการทำให้กิ่งพืชออกรากในขณะอยู่ติดกับต้นแม่ เมื่อกิ่งตอนนั้นออกรากดีแล้ว จึงตัดไปปลูกต่อไป  การตอนกิ่งเป็นการตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชส่วนท่อน้ำยังมีอยู่ตามปกติ จึงทำให้กิ่งที่ทำการตอนได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กิ่งตอนสดอยู่เสมอจนกว่าจะออกราก การออกรากของกิ่งตอน จะขึ้นอยู่กับความชื้น การถ่ายเทอากาศ และระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่ถ้าปล่อยให้ดินหรือวัสดุหุ้มกิ่งแห้งโดยมิได้ดูแล ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดรากได้เช่นกัน ดังนั้น ฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดในการตอนกิ่ง ควรเป็นฤดูฝน การตอนกิ่ง ใช้แก้ปัญหา โดยเฉพาะพืชบางชนิดที่ไม่สามารถออกรากได้โดยใช้วิธีตัดชำ แต่ออกรากได้โดยวิธีตอนกิ่ง สามารถทำได้ง่ายทั้งกลางแจ้งและในเรือนเพาะชำ นอกจากนี้ กิ่งตอนยังมีจำนวนรากมากกว่ากิ่งตัดชำ เมื่อนำไปปลูก จึงมีโอกาสตั้งตัวได้เร็วและมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่ากิ่งตัดชำ ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ พืชต้นใหม่ที่ได้จากการตอน จะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ย จึงสะดวกต่อการดูแลปฏิบัติบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว  แต่กิ่งตอนมีข้อเสีย คือ พืชที่นำไปปลูกเมื่อโตเต็มที่จะล้มง่าย เพราะไม่มีรากแก้วเมื่อตอนกิ่งไปได้ประมาณ 30-45 วัน กิ่งตอนก็จะเริ่มออกรากและแทงผ่านวัสดุที่หุ้มภายในออกมาจนมองเห็นด้วยตาเปล่า ระยะนี้ยังตัดกิ่งตอนไม่ได้ต้องรอจนรากที่งอกออกมาเป็นสีเหลืองแก่หรือสีน้ำตาล จำนวนรากมีมากพอและปลายรากมีสีขาว จึงตัดกิ่งตอนไปชำได้

การปักชำแบบควบแน่น พืชต้องการความชื้นที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้กิ่งออกราก รวมถึงต้องใช้กิ่งที่มีใบติด เพราะใบก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดราก แต่แน่นอนว่า เมื่อมีใบก็จะเกิดการคายน้ำ และปัญหาคือ กิ่งมักจะสูญเสียน้ำมากจนตายก่อนที่จะสร้างรากขึ้นมาดูดน้ำทดแทนได้ เราจึงได้ทำการตัดใบออกครึ่งหนึ่ง รวมถึงริดให้เหลือใบ ตัดกิ่งให้แผลเป็นรูปปากฉลาม ใช้กรรไกรเจาะดินลงไป 3 ใน 4 ส่วนของดิน นำกิ่งชำมาเสียบและกดลงไปให้แน่น แล้วเอาถุงพลาสติกสวมครอบกับแก้วพลาสติก แล้วใช้หนังยางวง 2 เส้น รัดปิดปากถุงกับแก้ว ป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้า นำไปวางในที่ร่มอากาศถ่ายเท ทิ้งไว้ 15 วัน แล้วรากจะงอกมาให้เห็นเมื่อรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จัดกกิ่งปักชำออกราก และพร้อมย้ายปลูกได้ภายใน 30-45 วัน หากยังไม่สามารถนำออกปลูกได้ ควรมีการให้ปุ๋ยทางใบเสริม แต่ไม่ควรทิ้งไว้นานเกินไป เพราะรากภายในถุงจะเริ่มขดวน ทำให้พืชตั้งตัว และเติบโตไม่ดีหลังการย้ายปลูการเปิดถุง

ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการได้เรียนรู้ การตอนกิ่ง และการปักชำควบแน่น ลงมือปฏิบัติการทำการตอนกิ่ง มะนาว ตอนกิ่งชมพู  การปักชำควบแน่นต้นผักเหรียง วิทยากรให้คำแนะนำในกระบวนการทำ ตอบข้อซักถาม และให้คำปรึกษา การขยายพันธ์ุการปลูก

 

ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการ 40 คน ได้เรียนรู้การ ขยายพันธุ์ การปลูก แบบการตอนกิ่ง การปักชำควบแน่น การดูแลรักษาการควบคุมคุณภาพ ตามกติกา ได้ลงมือปฏิบัติการ การตอนกิ่งมะนาว ตอนกิ่งชมพู  การปักชำควบแน่นต้นผักเหรียง สามารถปฏิบัติได้ตามกระบวนการเรียนรู้ที่วิทยากรให้ความรู้

 

กิจกรรมที่ 4.เรียนรู้การ บริโภคปลอดภัย การล้าง การปรุง 30 มี.ค. 2564 30 มี.ค. 2564

 

การดำเนินกิจกรรม เรียนรู้ การบริโภค การล้าง การปรุง ตัวแทนคัวเรือนปฏิบัติการ จำนวน 40 คน เข้าร่วมเรียนรู้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 ต. ตำนาน อ. เมือง จ. พัทลุง โดยมีวิทยากร ให้ความรู้ นางพัตรา บุ่ญเกลี้ยง ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(ผอ.รพ.สต.บ้าน)

การเลือกซื้ออาหารประเภทผัก   ผักที่ใช้เป็นอาหาร ได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ใบ ราก ผล เมล็ด ดอก โดยมีวิธีเลือกซื้อผัก    เลือกซื้อตามฤดูกาล จะได้ผักที่มีคุณภาพดี ราคาถูก เลือกซื้อจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่ สด ไม่ช้ำ เลือกซื้อตามชนิดของผัก เช่น

    - ผักที่เป็นหัว ควรเลือกซื้อที่มีน้ำหนัก เนื้อแน่น ไม่มีตำหนิ

    - ผักที่เป็นฝัก ควรเลือกฝักอ่อนๆ เช่น ถั่วฝักยาว ต้องสีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน

    - ผักที่เป็นใบ ควรเลือกสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ ไม่มีหนอน ต้นใหญ่ อวบ ใบแน่นติดกับโคน

    - ผักที่เป็นผล ควรเลือกสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่เสีย

การเลือกซื้อผลไม้
  มีวิธีการเลือกซื้อผลไม้ ดังนี้

  - ต้องดูผิวสดใหม่

  - ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ง

  - เปลือกไม่ช้ำ ดำ

  - ขนาดของผลสม่ำเสมอ

  - หากมีมดขึ้นตามกิ่งและผล แสดงว่าไม่สารพิษตกค้าง

วิธีการล้างทำความสะอาดพืชผักผลไม้ ก่อนนำไปรับประทาน หรือการนำไปปรุงเป็นอาหาร
ให้ใช้สารละลายอย่างใดอย่างหนึ่งล้าง ดังนี้
    - น้ำยาล้างผัก
    - น้ำด่างทับทิม ประมาณ 5 เกล็ดใหญ่ต่อน้ำ 4 ลิตร
    - น้ำเกลือ 2 ช้อนโต๊ะพูนๆ ต่อน้ำ 4 ลิตร
    - น้ำซาวข้าว ใช้ข้าวสาร 2 กก. ต่อน้ำ 4 ลิตร
    - น้ำส้มสายชู โดยใช้น้ำส้มครึ่งถ้วยต่อน้ำ 4 ลิตร


การปรุงการทำอาหารให้สุกด้วยวิธีต่างๆ ทำให้อาหารพร้อมที่จะรับประทาน ได้แก่ การลวก การต้ม การผัด การทอด อาหารต้องสุกถูกหลักอนามัย ให้ เลือกเครื่องปรุงที่มีคุณภาพ พยายาม ลด หวาน มัน เค็ม อาหารที่มีรสจัด หลีกเลียงการปรุงอาหารโดยการใช้น้ำมัน ให้เลือกการปรุงแบบ การลวก การต้ม เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย และที่สำคัญการเลือก การล้างวัสดุดิบในการปรุง ช่วยให้ลดความเสี่ยงในการรับประทานอาหารที่มีสารเคมีตกค้างในเลือกอีกช่องทางหนึ่ง

 

ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการ 40 คน เรียนรู้การกระบวนการบริโภคพืชผักปลอภัย การเลือก  การล้างทำความทำคามสะอาด การปรุง

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 8 11 เม.ย. 2564 11 เม.ย. 2564

 

การประชุมคณะทำงานแลกกลไกขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 ต. ตำนาน คณะทำงานกลไกขับเคลื่อน 14 คน
วาระที่1 ประธาน ทบทวน การดำเนินงานที่ทำกิจกรรมที่ผ่านมา การดำเนินงาน 2 กิจกรรม กิจกรรม การขายพันธ์ การปลูก และการดูแลการควบคลุมคุณภาพตามกติกา กิจกรรม เรียนรู้การบริโภคปลอดภัย การเลือก การล้าง การปรุง ได้ดำเนินการเป็นที่เรียนร้อย มีผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ตาม จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ได้ลงมือปฏิบัติทำจริง ทั้ง2 กิจกรรม

วาระที่ 2 การวางแนวทางการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรม การติดตามประเมินผลการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2
กิจกรรม เก็บข้อมูล การผลิตและบริโภคปลอดภัย  ครั้งที่ 2
กิจกรรม การติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2
กิจกรรม เวทีสรุปข้อมูลคืนข้อมูล

ที่ประชุม ได้มีการแสดงความคิด เนื่องด้วยสถานการณ์โรคติดต่อ โควิด 19 สถานการณ์ยังรุนแรง มีการติดต่อเป็นวงกว้าง หลายพื้นที่ในจังหวัด พัทลุง  จึงให้เลื่อนการทำกิจกรรมไปก่อน จนกว่าสถานการณ์ผ่อนคลายลง จึงจะดำเนินการกิจกรรมต่อ

 

มีการประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน จำนวน 14 คน  ทบทวบแผนการดำเนินงานแนวทางการดำเนินงาน มีข้อ สรุปร่วมกันให้มีการเลื่อนการดำเนินกิจกรรมที่รวมตัวของสมาชิกครัวเรือนปฏิบัติที่มีจำนวนมาก ให้สถานการณ์โควิท19 ดีขึ้นแล้วดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 9 11 พ.ค. 2564 11 พ.ค. 2564

 

มีการประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดภัย 14 คน วาระที่ 1 ทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินกิจกรรม 9 กิจกรรม หลัก และมีการจัดเตรียมเอกสารหลักการเงินเป็นที่เรียนร้อย วาระที่ 2 การมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรม การเก็บข้อมูลการผลิต และบริโภคพืชผักปลอดภัย และกิจกรรมการเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมี และผลกระทบการใช้สารเคมี มีข้อสรุปให้มีการดำเนินการกิจกรรมในเดือนพฤษภาคมและเดือนกรกฎาคม 2564 โดยการมอบหมายในคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มบ้านเป็นผู้ติดตามเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน

 

ได้กำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรม 2 กิจกรรม

  1. กิจกรรมการเก็บข้อมูลการผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดภัย ครั้งที่ 2

  2. กิจกรรมการเก็บข้อมูลสถานการณืการใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2

 

กิจกรรมที่ 9 เก็บข้อมูลการผลิต การบริโภค พืชผักในครัวเรือน ครั้งที่ 2 27 พ.ค. 2564 27 พ.ค. 2564

 

คณะทำงานโครงการ ออกเก็บข้อมูลการผลิต การบริโภค พืชผักในครัวเรือน ครั้งที่ 2 โดยการแบ่งเก็บข้อมูลตามกลุ่มบ้าน หมู่ที่ 14 แบ่งเก็บ 3 กลุ่มบ้าน หมู่ที่ 13 มี1 กลุ่มบ้าน หมู่ที่ 8 มี1กลุ่มบ้าน หมู่ที่ 7 มี 1กลุ่มบ้าน จำนวน 116 ครัวเรือน

แบบเก็บข้อมูลโครงการประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยบ้านควนคง
  1. ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน

  2. ข้อมูลการปลูก และการบริโภคในครัวเรือน

  3. การปลูกและขยายพันธ์พืชผักอาหารในสวน


การเก็บข้อมูลการผลิตและการบริโภคพืชผักในครัวเรือน ในครั้งที่ 2 คณะทำงานร่วมกับกลไกการขับเคลื่อนโครงการ ลงติดตามครัวเรือนต้นแบบการสร้างนวัตกรรมการผลิตและครัวเรือนปฏิบัติกการ ร่วมด้วย ครัวเรือนสร้างนวัตกรรมการผลิต ได้มีการ ปลูกพืชผักที่ใช้ในการบริโภคในครัวเรือนและได้มีการพืชผักที่ไว้จัดจำหน่าย เช่น ข่า มะนาว ตระไคร้ เพื่อเป็นรายได้เสริม พืชผักในครัวเรือนที่เหลือจากบริโภค สามารถแบ่งปันให้เพือนบ้าน ที่เหลือก็ ขาย และมีการทำบัญชี ซื้อ- ขาย พืชผักในครัวเรือน เก็บข้อมูลในแต่ละเดือน ได้ทราบถึงสถานการณ์การ การ ซื้อ-ขาย พืชผัก ในครัวเรือน สามารถเป็นแนวทางการวางแผนการผลิตได้ การเก็บข้อมการผลิตและการบริโภคพืชผักในครัวเรือน ครั้งที่ 2 เพื่อนำมาวิเคราห์ข้อมูล การเปลี่ยนแปลง การผลิตการบริโภคในครัวเรือนของชุมชน เพื่อทราบถึงสถานการณ์ การผลิต การบริโภค เป็นแนวทางการดำเนินงานของชุมชนต่อไป

 

มีการเก็บข้อมูลการผลิต การบริโภค พืชผักในครัวเรือน จำนวน 116 ครัวเรือน ได้ข้อมูลการผลิต การบริโภคพืชผักในครัวเรือน นำมาวิเคราะห์ และคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในครั้งที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของชุมชนต่อไป

 

กิจกรรมที่ 6 ติดตามประเมินผลการใชสารเคมี ครั้งที่ 2 6 ก.ค. 2564 6 ก.ค. 2564

 

คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดภัย ติดตามประเมินผลครัวเรือนปฏิบัติการ การเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมี และผลกระทบการใช้สารเคมี แบ่งเก็บข้อมูลตามกลุ่มบ้าน ซึ่ง มี 3 กลุ่มบ้าน ในหมู่ที่ 14 จำนวน 86 ครัวเรือน กลุ่มบ้านทอนมุด บ้านควนตีน บ้านหน้าโรงเรียน และหมู่บ้านที่เข้าร่วมปฏบัติการการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย จำนวน 30 ครัวเรือน ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่ที่ 13, 8,7 เป็นหมู่บ้านขยายข้างเคียง รวมครัวเรือนปฏิบัติการการส่งเสริมการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัยจำนวน116ครัวเรือน

แบบเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการเกษตร

ข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์การใช้สารเคมีในการเกษตร กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นจริงที่สุด

ข้อ 1. จำนวนสมาชิกในครอบครัว................คน

ข้อ 2. ครัวเรือนของท่านสมัครเข้าร่วม “ลดการใช้สารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง” หรือไม่ [ ] เข้าร่วมโดยสมัครใจ [ ] เข้าร่วมเพราะถูกขอร้อง [ ] ไม่เข้าร่วม

ข้อ 3. ครอบครัวของท่านทำการเกษตรหรือไม่ [ ] ไม่(ข้ามไปข้อที่) [ ] ทำตอบได้มากกว่า 1 ข้อ [ ] ทำนา .........ไร่ [ ] ทำสวนปาล์ม .............ไร่ [ ] ทำสวนยาง...........ไร่

ข้อ 4. ครอบครัวของท่านใช้สารเคมีต่อไปนี้หรือไม่ [ ] ไม่ใช้(ข้ามไปตอบข้อ 6) [ ] ใช้จำนวนเท่าไร [ ] ปุ๋ยเคมี...............กิโลกรัม/ปี [ ] ยากำจัดวัชพืช(ฆ่าหญ้า) ..........ลิตร/ปี [ ] ยากำจัดศัตรูพืช (กำจัดหนู............กก./ปี) (กำจัดปู......................กก./ปี)
(กำจัดหอย..........กก./ปี) (กำจัดแมลง................กก./ปี)

ข้อ 5. ขณะใช้สารเคมีท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากหรือไม่อย่างๆไร [ ] ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
[ ] ปฏิบัติตามบ้างเป็นบางครั้ง [ ] ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก

ข้อ 6. ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ยาฆ่าหญ้า (กรัมม็อกโซน,ไกลโฟเซ็ต) ยาฆ่าหนู ยาฆ่าปู ยาฆ่าหอย มีผลตกค้างในดิน ในน้ำ ในอาหาร [ ] ไม่เชื่อว่าสารพิษตกค้าง ไม่กลัวว่าจะมีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม [ ] เชื่อ ว่ามีพิษตกค้างและมีอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7. การทำและใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการทำเกษตร ครอบครัวของท่านได้ดำเนินการอย่างไร [ ] ทำและใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ [ ] ไม่ทำแต่ใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ [ ] ไม่ใช้ (ยังคงใช้สารเคมีตลอด)

ข้อ 8. การปลูกพืชผักสวนครัว [ ] ไม่ปลูก [ ] ปลูก พื้นที่ประมาณ.................ตารางเมตร

ข้อ 9. ท่านได้รับข่าวสารส่งเสริมการ ลด หรือเลิกใช้สารเคมีจากสื่อช่องทางไหนบ้างตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
[ ] สื่อวิทยุ โทรทัศน์ [ ] สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ [ ] สื่อในโทรศัพท์มือถือ

ข้อ 10 ท่านสนับสนุนการส่งเสริมให้เกษตรกรลด เลิก ใช้สารเคมี หรือไม่ อย่างไร [ ] ไม่สนับสนุน [ ] สนับสนุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลิกใช้สารเคมีให้เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบ [ ] สนับสนุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลิกใช้สารเคมีให้เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบและหาความรู้เพิ่มเติม [ ] สนับสนุนด้วยการแนะนำ บอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ถึงอันตรายของสารเคมี

ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ

 

ได้ข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมี สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบข้อมูลในการเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง เพื่อนำข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงสู่การคืนข้อมูลสู่ชุมชน

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 10 14 ส.ค. 2564 14 ส.ค. 2564

 

การประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ 14 คน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีวารการประชุม 2 วาระ

วาระที่ 1 ทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา มีการดำเนินการกิจกรรม การติดตามประเมินผลการใช้สารเคมีครั้งที่2 และ กิจกรรมการเก็บข้อมูลการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย ได้นำข้อมูลในการติดตามและเก็บข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์ เป็นที่เรียนร้อย พร้อมนำเสนอในการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา

วาระที่ 2 การกำหนดการวางแผนปฏิบัติกิจกรรม ติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา และกิจกรรมเวทีสรุปคืนข้อมูล คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิด มีข้อสรุปร่วมกัน ให้มีการดำเนินกิจกรรม
- ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 กำหนดในเป็นวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สถานที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14
- กิจกรรมเวที่สรุปคืนข้อมูล กำหนด เป็นวันที่ 13 กันยายน 2546 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14
มีการมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติกิจกรรม ในการประสานงาน จัดเตรียมข้อมูลในการทำกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่

 

มีคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ 14 คน ทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา มีการดำเนินการกิจกรรม การติดตามประเมินผลการ

  • ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 กำหนดในเป็นวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สถานที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14

  • กิจกรรมเวที่สรุปคืนข้อมูล กำหนด เป็นวันที่ 13 กันยายน 2546 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14 มีการมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติกิจกรรม ในการประสานงาน จัดเตรียมข้อมูลในการทำกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่

 

ติดตามประเมินผล AREครั้งที่ 2 26 ส.ค. 2564 26 ส.ค. 2564

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ครั้งที่ 2 ณ ที่ ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 14 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 14 คน ประกอบไปด้วย คณะทำงาน กลไก ภาคี พี่เลี้ยงโครงการ มีการติดตามประเมินผลตามบันไดผลลัพธ์โครงการ ซึ่งมีการดำเนินงานตามกระบวนการ กิจกรรม ตามตัวชี้วัด และนำมาข้อมูลผลการเปลี่ยนแปลงมาประเมิน โดยมี นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ ทบทวน การดำเนินงานของโครงการ และชวนคุย ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยกระบวนดำเนินงานอะไร อย่างไร


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100%

1.1 ครัวเรือนจากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน
ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 162.5% มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 105 ครัวเรือน
1.2 ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น100% ปี 2562ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 40 ครัวเรือน มากกว่า5 ชนิด 20 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ50% (20คณู100หาร40) ครัวเรือนที่ผลิตผักมากกว่า5ชนิด 31 ครัวเรือน คิดเป็นเป็นร้อยละ155% ปี 2563 ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 9 ครัวเรือน มากกว่า 5 ชนิด 84 ครัวเรือน เพิ่ม 53 ครัวเรือน (53คณู100หาร20 ) คิดเป็นร้อยละ265% 1.3 บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100%
บริโภคผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน จำนวน 290 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 373 คน คิดเป็นร้อยละร้อยละ77.5%


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง จากเดิมมีครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมี 40 ครัวเรือน ครัวเรือนเลิกใช้สารเคมีตามกติกาชุมชนกำหนด 40 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ100% ปี2563 ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 162.5% (105ครัวเรือน)

มีกลไกขับเคลื่อนโครงการ 14 คน
1.นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.นายชำเนิน หนูเกลี้ยง จัดทำรายงานและบัญชี
3.สมคิด ฝ้ายทอง ประสานงานทั่วไป 4.นายเฉลิม เชนพูล ประสานงานและประชาสัมพันธ์ 5.นางพัตรา บุ่ญเกลี้ยง ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(ผอ.รพ.สต.บ้าน) 6.นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน) 7.นายบุญเจือ ชูยัง เก็บข้อมูล/ติดตาม 8.นายชลิต กลับแก้ว เก็บข้อมูล/ติดตาม 9.นายคง จันสุขศรี เก็บข้อมูล/ติดตาม 10.นายวัชกร จันทร์ด้วง เก็บข้อมูล/ติดตาม 11.นางวลี หลิบแก้ว เก็บข้อมูล/ติดตาม 12.นางช่วย ชูคง ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 7) 13.นางลดารัตน์ ขำแก้ว ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 8) 14.นางสุจิต ชูคง ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 13)


มีกติกาชุมชนการผลิตผักปลอดภัย

  1. ไม่ใช้สารเคมึ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  ไม่ใช้สารเคมี 84 ครัวเรือน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 73 ครัวเรือน
  2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง ไม่ใช้สารกำจัดแมลง 84 ครัวเรือน ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง 45 ครัวเรือน
  3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก  ไม่ใช้ยาฆ่าในสถานที่ปลูกผัก 105 ครัวเรือน
  4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด  จำนวน 84 ครัวเรือน

มีครัวเรือนต้นแบบการผลิตผักปลอดภัย 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนการผลิตและบริโภคปลอดภัย 1 แหล่ง เกิดครัวเรือนสร้างนวัตกรรมการการปลูก การดูแลรักษา เป็นแหล่งเรียนรู้5 ครัวเรือน


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 เกิดจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำนวน 3จุด มีการทำบัญชีครัวเรือน รับ จ่าย ค่าพืชผัก 89 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 84.7% (105 ครัวเรือน)


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 ผลิตผักและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ ครัวเรือน ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 162.5% บริโภคปลอดภัยเพิ่มขึ้น 77.7%
รายได้เพิ่มขึ้น 80% ครัวเรือน รายได้เพิ่มขึ้น425/ครัวเรือน/เดือน (รายรับจากขายพืชผัก 667.90คร/ด รายจ่ายซื้อพืชผัก242.02 คร/ด)

จากการติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้ ของโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง ผลปรากฎ เกิดการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด เห็นการเปลี่ยนแปลงในการผลิตและบริโภคผักปลอดภัย มีครัวเรือนเข้าร่วมเพิ่มขึ้น ปฏิบัติตามกติกาโดยการเลิกใช้สารเคมี มีกลไกขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล มีครัวเรือนต้นแบบ มีแหล่งเรียนรู้ ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น มีการซื้อขาย มีแหล่งแลกเปลี่ยนพืชผัก สามารถลดรายจ่ายในซื้อพืชผักได้
แต่ในการประเมินยังมีของเรื่องการบริโภคผักปลอดภัยพบว่ายังไม่ถึงเป้าตามตัวชี้วัด เนื่องด้วยการบริโภคผักปลอดภัยนำตัวชี้วัดการบริโภคผัก 400 กรัม/วัน จึงทำให้ในส่วนผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุและเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ยังบริโภคพืชผักน้อยว่า 400กรัม/ต่อวัน ทางคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนเห็นว่าเป็นช่องว่างที่ต้องส่งเสริมในมีการบริโภคพืชผักใน วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

 

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 14 คน มีได้ ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาประกอบไปด้วย คณะทำงาน กลไก ภาคี พี่เลี้ยงโครงการ
ผลลัพธ์ของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100% 1.1 ครัวเรือนจากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน
ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 162.5% มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 105 ครัวเรือน
1.2 ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น100% ปี 2562ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 40 ครัวเรือน มากกว่า5 ชนิด 20 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ50% (20คณู100หาร40) ครัวเรือนที่ผลิตผักมากกว่า5ชนิด 31 ครัวเรือน คิดเป็นเป็นร้อยละ155% ปี 2563 ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 9 ครัวเรือน มากกว่า 5 ชนิด 84 ครัวเรือน เพิ่ม 53 ครัวเรือน (53คณู100หาร20 ) คิดเป็นร้อยละ265% 1.3 บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100%
บริโภคผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน จำนวน 290 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 373 คน คิดเป็นร้อยละร้อยละ77.7%


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง จากเดิมมีครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมี 40 ครัวเรือน ครัวเรือนเลิกใช้สารเคมีตามกติกาชุมชนกำหนด 40 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ100% ปี2563 ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 162.5% (105ครัวเรือน)

มีกติกาชุมชนการผลิตผักปลอดภัย 1. ไม่ใช้สารเคมึ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง 3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก 4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด มีครัวเรือนต้นแบบการผลิตผักปลอดภัย 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนการผลิตและบริโภคปลอดภัย 1 แหล่ง เกิดครัวเรือนสร้างนวัตกรรมการการปลูก การดูแลรักษา เป็นแหล่งเรียนรู้5 ครัวเรือน


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 เกิดจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำนวน 3จุด มีการทำบัญชีครัวเรือน รับ จ่าย ค่าพืชผัก 89 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 84.7% (105 ครัวเรือน)


บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 ผลิตผักและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ ครัวเรือน ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 162.5% บริโภคปลอดภัยเพิ่มขึ้น 77.7%
รายได้เพิ่มขึ้น 80% ครัวเรือน รายได้เพิ่มขึ้น425/ครัวเรือน/เดือน (รายรับจากขายพืชผัก 667.90คร/ด รายจ่ายซื้อพืชผัก242.02 คร/ด)

 

กิจกรรมที่ 11เวทีสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูล 15 ก.ย. 2564 15 ก.ย. 2564

 

การจัดเวทีสรุปข้อมูล คืนข้อมูลสู่ชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 22 คน คณะทำงานกลไกขับเคลื่อน ครัวเรือนต้นแบบ แกนนำกลุ่มบ้าน ภาคีที่เกี่ยวข้องเกษตรตำบล พี่เลี้ยงโครงการ สถานที่แหล่งเรียนรู้การผลิตผักปลอดภัย หมู่ที่ 14 บ้านควนคง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกระจ่าง นุ่นดำ ชี้แจงวัตถุประสงค์ เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เนื่องการดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้น จึงนำข้อมูลที่ได้ดำเนินการสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ การผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดภัย โดยกระบวนการตามวิธีดำเนินงานบันไดผลพัลธ์ ที่ กิจกรรม ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด กิจกรรมดำเนินงานไปแล้ว 11 กิจกรรมหลัก เกิดผลการเปลี่ยนแปลง ตามตัวชี้วัด ดังกล่าว

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100%
1.1 ครัวเรือนจากเดิมมีครัวเรือนปฏิบัติการ 40 ครัวเรือน มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน
มีครัวเรือนเข้าร่วมการผลิตปลอดภัย 105 ครัวเรือน ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 162.5% 1.2 ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น100% เดิมปี 2562ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 40 ครัวเรือน มากกว่า5 ชนิด 20 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ50% (20คณู100หาร40) ครัวเรือนที่ผลิตผักมากกว่า5ชนิด 31 ครัวเรือน คิดเป็นเป็นร้อยละ155% ปี 2563 ครัวเรือนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 5 ชนิด 9 ครัวเรือน มากกว่า 5 ชนิด 84 ครัวเรือน เพิ่ม 53 ครัวเรือน (53คณู100หาร20 ) คิดเป็นร้อยละ265% 1.3 บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 100%
บริโภคผักไม่น้อยกว่า 400 กรัมต่อวัน จำนวน 290 คน สมาชิกครัวเรือนปฏิบัติการ 373 คน คิดเป็นร้อยละร้อยละ77.7%

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 การใช้สารเคมีลดลง จากเดิมมีครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมี 40 ครัวเรือน ครัวเรือนเลิกใช้สารเคมีตามกติกาชุมชนกำหนด 40 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ100% ปี2563 ครัวเรือนต้นแบบเลิกใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น 65 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 162.5% (105ครัวเรือน)

มีกลไกขับเคลื่อนโครงการ 14 คน
1.นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.นายชำเนิน หนูเกลี้ยง จัดทำรายงานและบัญชี
3.สมคิด ฝ้ายทอง  ประสานงานทั่วไป 4.นายเฉลิม เชนพูล  ประสานงานและประชาสัมพันธ์ 5.นางพัตรา บุ่ญเกลี้ยง ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(ผอ.รพ.สต.บ้าน) 6.นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน) 7.นายบุญเจือ ชูยัง  เก็บข้อมูล/ติดตาม 8.นายชลิต กลับแก้ว  เก็บข้อมูล/ติดตาม 9.นายคง จันสุขศรี  เก็บข้อมูล/ติดตาม 10.นายวัชกร จันทร์ด้วง เก็บข้อมูล/ติดตาม 11.นางวลี หลิบแก้ว  เก็บข้อมูล/ติดตาม 12.นางช่วย ชูคง  ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 7) 13.นางลดารัตน์ ขำแก้ว ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 8) 14.นางสุจิต ชูคง  ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 13)

มีกติกาชุมชนการผลิตผักปลอดภัย ผลลัพธ์กติกา 1. ไม่ใช้สารเคมึ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมี 84 ครัวเรือน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพ 73 ครัวเรือน

  1. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง ไม่ใช้สารกำจัดแมลง 84 ครัวเรือน ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง 45 ครัวเรือน

  2. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก ไม่ใช้ยาฆ่าในสถานที่ปลูกผัก 105 ครัวเรือน

  3. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด จำนวน 84 ครัวเรือน

    มีครัวเรือนต้นแบบการผลิตผักปลอดภัย 3 ครัวเรือน เกิดแหล่งเรียนการผลิตและบริโภคปลอดภัย 1 แหล่ง เกิดครัวเรือนสร้างนวัตกรรมการการปลูก การดูแลรักษา เป็นแหล่งเรียนรู้ 5 ครัวเรือน

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 เกิดจุด ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน มีจุดซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน จำนวน 3 จุด มีการทำบัญชีครัวเรือน รับ จ่าย ค่าพืชผัก 89 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 84.7% (105 ครัวเรือน)

บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 ผลิตผักและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ ครัวเรือน ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 162.5% บริโภคปลอดภัยเพิ่มขึ้น 77.7%
รายได้เพิ่มขึ้น 80% ครัวเรือน รายได้เพิ่มขึ้น425/ครัวเรือน/เดือน (รายรับจากขายพืชผัก 667.90ครัวเรือน/เดือน รายจ่ายซื้อพืชผัก242.02 ครัวเรือน/เดือน)

จากการติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้ ของโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง ผลปรากฎ เกิดการเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัด เห็นการเปลี่ยนแปลงในการผลิตและบริโภคผักปลอดภัย มีครัวเรือนเข้าร่วมเพิ่มขึ้น ปฏิบัติตามกติกาโดยการเลิกใช้สารเคมี มีกลไกขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล มีครัวเรือนต้นแบบ มีแหล่งเรียนรู้ ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น มีการซื้อขาย มีแหล่งแลกเปลี่ยนพืชผัก สามารถลดรายจ่ายในซื้อพืชผักได้
แต่ในการประเมินยังมีของเรื่องการบริโภคผักปลอดภัยพบว่ายังไม่ถึงเป้าตามตัวชี้วัด เนื่องด้วยการบริโภคผักปลอดภัยนำตัวชี้วัดการบริโภคผัก 400 กรัม/สัปดาห์ จึงทำให้ในส่วนของการบริโภคในวัยผู้สูงอายุและวัยเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ยังบริโภคพืชผักน้อยว่า 400กรัม/ต่อวัน ทางคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนเห็นว่าเป็นช่องว่างที่ต้องส่งเสริมในมีการบริโภคพืชผักใน วัยเด็กและวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

จากนั้น นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน) เสริมในเรื่องการรับรองมาตราฐานการทำเกษตรปลอดภัย เป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อการจัดหน่ายสินค้าทางการเกษตรเป็นการการันตีความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค จะมีการส่งเสริมให้มีการรับรองกับผู้ทำเกษตรที่ผลิตพืชผักปลอดภัยที่เป็นสมาชิกกลุ่มการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัยบ้านควนคง ต่อไป จะมีการสนับสนุนการผลิตให้ความรู้ทางด้านวิชาการหนุนเสริมเมล็ดพันธ์ให้กับสมาชิก และสนับสนุนการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย เนื่องจากที่ผ่านมาการทำโครงการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนตามกระบวนการ สามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่ ที่สนใจ ต่อไป

 

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 22 คน คณะทำงานกลไกขับเคลื่อน ครัวเรือนต้นแบบ แกนนำกลุ่มบ้าน ภาคีเกษตรตำบล พี่เลี้ยงโครงการ คืนข้อมูลการเกิดผลลัพธ์ เป้าหมาย ผลิตและบริโภคปลอดภัยเพิ่มรายได้ สู่ชุมชน
1.ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น105 ครัวเรือน
2. ชนิดการผลิตผักเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ265%
3. บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 77.5%
4. ครอบครัวต้นแบบเลิกใช้สารเคมีร้อยละ 162.5%
5.มีจุดซื้อขายผักปลอดภัยในชุมชน 3 จุด
6. มีการทำบัญชีรับจ่ายค่าผัก 84.7%
7.ผลิตผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น162%
8. บริโภคผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 77.5%
9. รายได้เพิ่มขึ้น 425บาท /ครัวเรือน/เดือน

 

กิจกรรมจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 24 ก.ย. 2564 24 ก.ย. 2564

 

การจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ ยังไม่ดำเนินการจัด

 

ยังไม่ดำเนินการจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ

 

กิจกรรมจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 24 ก.ย. 2564 24 ก.ย. 2564

 

การจัดทำรายงานกิจกรรมและการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินโครงการ โดย คณะทำงาน ตามหน้าที่ ที่มอบหมาย ตลอดโครงการ
- การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินจำนวน 25 ชุด
- การรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ 11 กิจกรรมหลัก
จัดเตรียมเอกสารการเงินพร้อมรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เป็นที่เรียนร้อยตามกิจกรรมตามงวดโครงการ

 

จัดทำรายงานและการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินตามกิจกกรมตามงวดโครงการเป็นที่เรียนร้อย

 

ถอนเงินเปิดบัญชีคืน 30 ก.ย. 2564 31 ต.ค. 2564

 

ถอนเงินคืนจากการเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท

 

ถอนเงินคืนจากการเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท