แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง

ชุมชน ตำบลตำนาน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 63-00169-0012 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2563 ถึงเดือน ตุลาคม 2563

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมปฐมนิเทศ

วันที่ 20 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

2.ได้เรียนรู้ การคลี่บันไดผลลัพธ์ องค์ประกอบบันไดผลลัพธ์และภาคีร่วมดำเนินการ

3.เรียนรู้การ การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ และทดลองออกแบบจัดเก็บตัวชี้วัดผลลัพธ์ สามารถออกแบบจัดข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ได้ และได้เรียนรู้การออกแผนการดำเนินงานโครงการ และออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ

4.เรียนรู้สร้างความเข้าใจ การบริหารจัดการ การเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง

5.เรียนรู้ การเขียนรายงานผ่านระบบออนไลน์ และลงมือปฏิบัติจริงในการลงรายละเอียดโครงการในระบบ รายงานกิจกรรมการปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการNFS จังหวัดพัทลุง พื้นที่บ้านควนคง มีผู้เข้าร่วมในเวทีการปฐมนิเทศ จำนวน 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ รับฟังชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม ชี้แจงของทุน สนับสนุนที่มา จาก สสส. มาสนับสนุนกับ กลุ่มองค์กร พื้นที่หมู่บ้าน ที่ต้องการแก้ไขปัญหา ในด้าน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม อาหารปลอดภัย ที่มีเป้าหมายที่ขับเคลื่อนให้สองคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อผลักดันให้พัทลุงเป็นเมืองสีเขียว
จากนัั้นเข้ากระบวนการเรียนรู้การคลี่บันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจในองค์ประกอบบันไดผลลัพธ์ ประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1 ผลลัพธ์ของโครงการ เป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลง ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดโครงการ เป็นตัวบงบอกความสำเร็จในรูปแบบ ตัวปริมาณ ส่วนที่ 3 ตัวกิจกรรม เป็นการดำเนินงานให้เกิด ผลผลิต และ ผลลัพธ์ พื้นที่ได้ทบทวนบันไดบันผลลัพธ์ ทบทวนภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ มีทั้ง
ภาคีเครือนข่ายแนวราบ
- ศูนย์ภ่ายทอดเทนโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ตำบลตำนาน - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ตำนาน - นักวิชาการส่งเสริมการกษตรประจำตำบล ตำนาน ภาคีเครือข่ายแนวดิ่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง - สำนักงานเกษตรอำเภอเมือลพัทลุง

เรียนรู้การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดย นายไพฑูรย์ ทองสม การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัดผลลัพธ์ โดยการนำตัวชี้วัดแต่ละบันไดที่เป็นส่วนหนึ่งของบันไดผลลัพธ์ ที่อยู่ใต้บันได นำมาออกแบบ โดยแบบฟอร์มการออกแบบ ประกอบไปด้วย ตัวชี้วัด ข้อมูล ใช้ข้อมูลอะไรตอบตัวชีวัด แหล่งข้อมูล เก็บข้อมูลจากใคร/เก็บอะไร วิธีรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือใด ผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ ระยะเวลาเก็บข้อมูล เก็บข้มูลเมื่อใด แนวทางวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยตัวชี้อย่างไร การออกแบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เป็นการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่เหมาะสม การเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานโครงการก่อนและหลัง จะได้รู้ถึงผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่มีข้อมูลยืนยันของการดำเนินงานตลอดโครงการ

เรียนรู้การออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ โดย นายเสณี จ่าวิสูตร เรียนรู้การวางแนวทางแผนการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด พื้นที่ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรม 14 กิจกรรม ในระยะเวลา 10 เดือน เริ่ม เดือนมิถุนายน2563- เดือนมีนาคม 2564

เรียนรู้การบริหารจัดการ การเงิน การจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน ที่มีหลักปฏิบัติ 3 ข้อ ครบถ้วน สมบรูณ์ ถูกต้อง
ครบถ้วนประกอบไปด้วย เอกสารประกอบกิจกรรม มีครบในงบประมาณค่าใช้จ่าย สมบรูณ์ ประกอบ ไปด้วย เอกสารบิลเงินสด มี เลขที่เล่ม วันที่ นามผู้รับ รายละเอียดของการใช้จ่าย นามผู้จ่าย ถูกต้อง ประกอบไปด้วย การลงนาม ผู้รับ ผู้จ่ายถูกต้อง
การบริหารจัดการ การเงินโครงการ จัดการบริหารไปตามแผนงบประมาณการจ่ายตามตัวโครงการ รายกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีการของอนุมัติการจ่ายโดยผู้รับผิดชอบโครงการทุกครั้ง ต้องมีการทำบันทึกการจ่ายในสมุดเงินสดเพื่อการเบิกจ่ายและสามารถรู้งบประมาณที่เป็นปัจจุบัน รับมาเท่าไร จ่ายไปเท่าไร ยอดคงเหลือเท่าไร

สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง สรุปตั้งแต่กระบวนการ คลี่บันไดผลลัพธ์ ให้ยึดหลักไว้ เราอยู่ที่ไหน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดการเปลียนแปลง มีกิจกรรมอะไร มีตัวชีวัดสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร ทำแล้วถึงหรือยัง โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อการรู้ว่าถึงผลลัพธ์หรือไม่ ระดับไหน การติดตามผลลัพธ์ระหว่างทาง ทบทวน แก้ไข ประเมิน สู่เป้าหมายปลายทาง
การบริหารโครงการ ที่มีงบประมาณ ทำตามแผนกิจกรรมโครงการ มีพี่เลี้ยงหนุมเสริม เพิ่มทักษะ การรายงานความก้าวหน้าระบบออนไลน์ ควบคู่การบริหารจัดการการเงิน มีหน่วยจัดการเสริมความรู้ความเข้าใจตามเอกสารการจ่ายตามคู่มือ

การเขียนรายงานผ่านระบบ Happy Network เรียนรู้การเข้าระบบออนไลน์ ลงรายละเอียดโครงการหน้าเวป ลงรายละเอียดงบประมาณแต่ละงวด รายละเอียดโครงการ ข้อมูลสถานการณ์ / หลักเหตุผล ลงวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการ วิธีการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลงรายงานเวทีปฐมนิเทศ เสร็จสิ้นกระบวนการเวทีปฐมนิเทศ

 

3 0

2. กิจกรรมทำป้ายชื่อโครงการสสส.

วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป้ายชื่อโครงการที่มีสัญญลักษณ์ สสส. ติดไว้ในสถานที่ทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

พื้นที่บ้านควนคงได้จัดทำป้ายชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง ที่มีสัญญลักษณ์ สสส .  ติดไว้ในสถานที่ทำกิจกรรม

 

120 0

3. กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 11 กรกฎาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. รับทราบถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ 2.เกิด กลไกขับเคลื่อนจำนวน 14 คน  ประกอบไปด้วยคณะทำงานโครงการ 3 คน  ตัวแทนบ้านควนคง จำนวน 6  คน จาก3กลุ่มบ้าน  ตัวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วม จำนวน 3 คน ภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย เจ้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโตร้ 1 คน  เกษตรตำบลประจำอำเภอ 1 คน 3.กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน
  2. การออกแบบเก็บข้อมูล  การใช้สารเคมีและการผลิต การบริโภคปลอดภัย
  3. การเก็บข้อมูลครัวเรือน  การใช้สารเคมี และ การผลิต การบริโภคปลดภัย 3 การวิเคราะห้ข้อมูล
  4. คืนข้อมูลสู่ชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมสร้างความใจคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน จำนวน 14 คน ณ ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 14 ตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง  เนื่องด้วยทางชุมชนบ้านควนคง ได้มีการขอสนับสนุนทุน สสส. มีหน่วยจัดการพัทลุง NFS  เป็นทีมสนับสนุนระดับใจังหวัด  บ้านควนคงได้รับงบประมาณ การจัดการด้านอาหารปลอดภัย  ในการผลิตบริโภคพืชผักปลอดภัย เป็นปีที่ 2  ซึ่งปีที่2 มีการขยายการผลิตบริโภค ให้ครอบคุมทั่วหมู่บ้าน หมู่14 จำนวน 46 ครัวเรือน และมีการขยายไปสู่หมู่บ้านข้างเคียงอีก 3 หมู่บ้าน ในตำบลตำนาน หมู่ที่7 จำนวน 10 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 จำนวน 10 ครัวเรือน  หมู่ที่ 13 จำนวน 10 ครัวเรือน  เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างปฏิบัติการหนุนเสริมการผลิตและบรโภคในระดับครัวเรือน  2. เพื่อส่งเสริม  การ ลด ใช้สารเคมีในการผลิตพืชผัก  ในครัวเรือน  3. เพื่อส่งเสริมให้มี จุด ซื้อขาย แลกเปลี่ยน พืชผัก ที่ปลอดภัย  4. เพื่อการผลิตและบริโภคปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือน  การขับเคลื่อนในครั้งนี้  มีทีมคณะทำงานโครงการและมีกลไกจากหมู่บ้านที่เข้าร่วม ภาคีเครือข่ายจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
กลไกขับเคลื่อนจำนวน 14 คน  ประกอบไปด้วยคณะทำงานโครงการ 3 คน  ตัวแทนบ้านควนคง จำนวน 6  คน จาก3กลุ่มบ้าน  ตัวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วม จำนวน 3 คน ภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย เจ้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโตร้ 1 คน  เกษตรตำบลประจำอำเภอ 1 คน  คณะทำงานกลไก จะมีหน้าที่
1. การวางแผนงานดำเนินงานตามโครงการ
2. ออกแบบเก็บข้อมูลรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ และผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเกษตร 3. เพื่อการติดตามประเมินผล ร่วมกับตัวแทนกลุ่มบ้านครัวเรือนปฏิบัติการ 4. เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ และจัดทำรายงาน คณะทำงานกลไก วางแนวทางการดำเนินงานโครงการในช่วงเดือน กรกฎาคม 2563
1. การออกแบบเก็บข้อมูล  การใช้สารเคมีและการผลิต การบริโภคปลอดภัย 2. การเก็บข้อมูลครัวเรือน  การใช้สารเคมี และ การผลิต การบริโภคปลดภัย 3 การวิเคราะห้ข้อมูล 4. คืนข้อมูลสู่ชุมชน
มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งงานกันทำงาน

 

14 0

4. กิจกรรมที่6ติดตามประเมินผลการใช้สารเคมี ครั้ง ที่ 1

วันที่ 8 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมีในการเกษตร ของครัวเรือนบ้านควนคงและหมู่บ้านขยายข้างเคียง จำนวน 116 ครัวเรือน เป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแนวทางการดำเนินงาน เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์การใช้สารเคมีและผลกระทบการใช้สารเคมี ในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การเก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมี และผลกระทบการใช้สารเคมี โดยคณะทำงานโครงการจากครัวเรือนในชุมชนและตัวแทนครัวเรือนขยายผู้เข้าร่วมของ หมู่บ้านข้างเคียง เอกสารการเก็บข้อมูล มีรายละเอียดใน
แบบเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการเกษตร

ข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์สถานการณ์การใช้สารเคมีในการเกษตร กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นจริงที่สุด

ข้อ 1. จำนวนสมาชิกในครอบครัว................คน

ข้อ 2. ครัวเรือนของท่านสมัครเข้าร่วม “ลดการใช้สารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง” หรือไม่ [ ] เข้าร่วมโดยสมัครใจ [ ] เข้าร่วมเพราะถูกขอร้อง [ ] ไม่เข้าร่วม

ข้อ 3. ครอบครัวของท่านทำการเกษตรหรือไม่ [ ] ไม่(ข้ามไปข้อที่) [ ] ทำตอบได้มากกว่า 1 ข้อ [ ] ทำนา .........ไร่ [ ] ทำสวนปาล์ม .............ไร่ [ ] ทำสวนยาง...........ไร่

ข้อ 4. ครอบครัวของท่านใช้สารเคมีต่อไปนี้หรือไม่ [ ] ไม่ใช้(ข้ามไปตอบข้อ 6) [ ] ใช้จำนวนเท่าไร [ ] ปุ๋ยเคมี...............กิโลกรัม/ปี [ ] ยากำจัดวัชพืช(ฆ่าหญ้า) ..........ลิตร/ปี [ ] ยากำจัดศัตรูพืช (กำจัดหนู............กก./ปี) (กำจัดปู......................กก./ปี)
(กำจัดหอย..........กก./ปี) (กำจัดแมลง................กก./ปี)

ข้อ 5. ขณะใช้สารเคมีท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากหรือไม่อย่างๆไร [ ] ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
[ ] ปฏิบัติตามบ้างเป็นบางครั้ง [ ] ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก

ข้อ 6. ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ยาฆ่าหญ้า (กรัมม็อกโซน,ไกลโฟเซ็ต) ยาฆ่าหนู ยาฆ่าปู ยาฆ่าหอย มีผลตกค้างในดิน ในน้ำ ในอาหาร [ ] ไม่เชื่อว่าสารพิษตกค้าง ไม่กลัวว่าจะมีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม [ ] เชื่อ ว่ามีพิษตกค้างและมีอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7. การทำและใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการทำเกษตร ครอบครัวของท่านได้ดำเนินการอย่างไร [ ] ทำและใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ [ ] ไม่ทำแต่ใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ [ ] ไม่ใช้ (ยังคงใช้สารเคมีตลอด)

ข้อ 8. การปลูกพืชผักสวนครัว [ ] ไม่ปลูก [ ] ปลูก พื้นที่ประมาณ.................ตารางเมตร

ข้อ 9. ท่านได้รับข่าวสารส่งเสริมการ ลด หรือเลิกใช้สารเคมีจากสื่อช่องทางไหนบ้างตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
[ ] สื่อวิทยุ โทรทัศน์ [ ] สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ [ ] สื่อในโทรศัพท์มือถือ

ข้อ 10 ท่านสนับสนุนการส่งเสริมให้เกษตรกรลด เลิก ใช้สารเคมี หรือไม่ อย่างไร [ ] ไม่สนับสนุน [ ] สนับสนุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลิกใช้สารเคมีให้เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบ [ ] สนับสนุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลิกใช้สารเคมีให้เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบและหาความรู้เพิ่มเติม [ ] สนับสนุนด้วยการแนะนำ บอกต่อให้ผู้อื่นได้รู้ถึงอันตรายของสารเคมี

ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ มีการแบ่งเก็บข้อมูล โดย หมู่14 บ้านควนคง แบ่งเก็บเป็นกลุ่มบ้าน 3 กลุ่มบ้าน กลุ่มบ้านทอนมุด บ้านควนตีน บ้านหน้าโรงเรียน
ส่วนหมู่บ้านขยายข้างเคียง หมู่ที่ 7 ,8 , 13 จำนวน 30 ครัวเรือน มีตัวแทนที่เป็นกลไกขับเคลื่อน เก็บข้อมูล เมื่อเก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนจะมาข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์และคืนข้อมูลสู่ชุมชน ในวันประชุมประเดือน

 

100 0

5. กิจกรรมทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮออล์และป้ายชื่อโครงการ สสส.

วันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป้ายเขตปลอดบุหรีและเครื่องแอกลอฮอล์ 1 ป้าย ป้ายชื่อโครงการ สสส. 1 ป้าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอกลอฮอล์ สำหรับติดไว้ที่สถานที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง

 

120 0

6. กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 14 คน กำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน กำหนดการดำเนินกิจกรรมตามแผน จำนวน  3  กิจกรรม ติดตามประเมินผลการเก็บข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบการใช้สารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านควนคง จำนวน 14 คน ณ ที่ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 14 บ้านควนคง รายละเอียดการประชุม ที่ประชุมโครงการได้กำหนดขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

  1. กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงาน 10 ครั้ง ทุกวันที่ 11 ทุกเดือน เพื่อการวางแนวทางการดำเนินงานของโครงการ ติดตามประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมข้อมูลคืนข้อมูล สู่ชุมชนต่อไป

  2. การแบ่งบทบาทหน้าที่การดำเนินงานโครงการ มีคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนตามโครงการ จำนวน 14 คน

1.นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ

2.นายชำเนิน หนูเกลี้ยง จัดทำรายงานและบัญชี

3.สมคิด ฝ้ายทอง ประสานงานทั่วไป

4.นายเฉลิม เชนพูล ประสานงานและประชาสัมพันธ์

5.นางพัตรา บุ่ญเกลี้ยง ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(ผอ.รพ.สต.บ้าน)

6.นายพงค์พันธ์ เตชนราวงค์ ที่ปรึกษา/ นักวิชาการวิเคราะห์/ ติดตามประเมินผล(เกษตรตำบลตำนาน)

7.นายบุญเจือ ชูยัง เก็บข้อมูล/ติดตาม

8.นายชลิต กลับแก้ว เก็บข้อมูล/ติดตาม

9.นายคง จันสุขศรี เก็บข้อมูล/ติดตาม

10.นายวัชกร จันทร์ด้วง เก็บข้อมูล/ติดตาม

11.นางวลี หลิบแก้ว เก็บข้อมูล/ติดตาม

12.นางช่วย ชูคง ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 7)

13.นางลดารัตน์ ขำแก้ว ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 8)

14.นางสุจิต ชูคง ประสาน/ เก็บข้อมูล/ติดตาม (ตัวแทนหมู่ที่ 13)

3.กำหนดวางแนวทางดำเนินกิจกรรม ตามแผนงาน กำหนดการเรียนรู้การทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวะภัณฑ์ ในวันที่ 23 กันยายน 2563 วิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง กำหนดการเก็บข้อมูล การผลิต บริโภคของครัวเรือน วันที่ 3ตุลาคม 2563 โดยคณะทำงานของโครงการ รวบรวมส่งที่ผู้ใหญ่บ้าน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลกันอีกครั้ง

 

14 0

7. กิจกรรมที่ 9เก็บข้อมูล การผลิต บริโภค ปลอดภัย ครั้งที่ 1

วันที่ 5 กันยายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รู้ถึงสถานการณ์ข้อมูลการผลิตและบริโภคพืชผักในครัวเรือน จำนวน  126 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การเก็บข้อมูล การผลิต การบริโภค พืชผัก ในครัวเรือน บ้านควนคงหมู่14 และหมูบ้านข้างเคียง หมู่7 หมู่8 หมู่ที่13  จำนวน 126 ครัวเรือน โดยคณะทำงานของโครงการและตัวหมู่บ้านที่เข้าร่วม แบ่งเก็บข้อมูลตามกลุ่มบ้าน เมื่อนำข้อมูลสร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ ในการผลิตและบริโภคปลอดภัย  ข้อมูลในการเก็บ รายอะเอียด แบบเก็บข้อมูลโครงการประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยบ้านควนคง 1.ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน 2. ข้อมูลการปลูก และการบริโภคในครัวเรือน 3. การปลูกและขยายพันธ์พืชผักอาหารในสวน เป็นแบบเก็บข้อมูลในการผลิตและการบริโภคในครัวเรือนของชุมชนบ้านควนคงและหมู่บ้านขยายการผลิตและบริโภคพืชผักปลอดภัย  เพื่อนำข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์สถานการณ์ การผลิตการบริโภค ในช่วงก่อนเริ่มการดำเนินการโครงการ สามารถนำมาวางแนวทางการปรับเปลี่ยนสร้างความเปลี่ยนแปลงในการผลิตและการบริโภคที่ปลอดภัย

 

100 0

8. กิจกรรมที่1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 11 กันยายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนจำนวน 14 คน ประชุมทบทวนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน กำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนกิจกรรม มอบหมายหน้าที่ในการเข้าร่วมเวที่เชื่อมร้อยประสานกัลหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักบ้านควนคง  จำนวน 14 หมู่บ้านหมู่ที่ 14
ทบทวนการดำเนินงาน ในกิจกรรม เก็บข้อมูล การผลิตและการบริโภคพืชผักในครัวเรือน  คณะทำงานที่ได้รับมอบหมายในการออกสำรวจข้อมูล ตามกลุ่มบ้าน ของหมู่ที่ 14 หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 7  ลงเก็บข้อมูลตามกลุ่มเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อย  รวมรวบเก็บที่ผู้รับผิดชอบโครงการ

แจ้งข่าวการร่วมเวทีเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 7  ตุลาคม 2563 ณ ที่โรงแรมวังโนราห์ พื้นที่ละ3 คน ในส่วนของกลไกขับเคลื่อน อนามัย และเกษตรตำบล จะมีหนังสือเชิญส่งถึงหน่วยงานอีกครั้ง

การวางแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป กำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและบริโภคปลอดภัยในครัวเรือน โดยให้ผู้รับผิดชอบโครงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาสรุปกับคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน ประมาณเดือน พฤษจิกายน 2563 การเข้าร่วมเวที่เชื่อมร้อยประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง  มอบหมายให้  คณะทำงานโครงการ ซึ่งมี ผู้รับผิดชอบโครงการ  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ  ผู้รายงานกิจกรรมความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์  มี ตัวแทนเจ้าหน้าที่อานามัยบ้านโต๊ระ และเกษตรตำบลตำนาน เข้าร่วมกระบวนการในประเด็นอาหารปลอดภัย ซึ่งทั้งหน่วยงานเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการในตำบล

 

14 0

9. กิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคี

วันที่ 7 ตุลาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

25 พื้นที่ตามประเด็นยุททธศาสตร์ สามารถเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวและพื้นที่ประเด็นตามยุทธศาสตร์ เสนอแนวทางการดำเนินงานตามแผนแก่หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเชื่อมร้อยในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยว  พื้นที่ เข้าร่วม จำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน  ผู้รายงานกิจกรรมรายงานความก้าวผ่าระบบออนไลน์
รับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ในการเชื่อมร้อย จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS  นาย ไพฑรูณ์  ทองสม
จุดประสงค์ เพื่อการเชื่อมร้อยการดำเนินงานของพื้นที่และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สามารถดำเนินงานและสนับสนุนหนุนเสริมการดำเนินงาน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้
มีการแนะนำหน่วยงานภาคีที่เกี่ยว ตามยุทธศาสตร์ และพื้นที่โครงการจำนวน 25 พื้นที่  แนะนำพี่เลี้ยงประจำพื้นที่
จากนั้นแบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งพื้นที่บ้านควนคงอยู่ประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม เป็นคนชวนคุย สร้างความเข้าใจ ระหว่างพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกลุ่ม พื้นที่ได้นำแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่นำเสนอช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแก่ หน่วยงานภาคีและพื้นที่ในประเด็นอาหารปลอดด้วยกัน เพื่อการเชื่อมประสานการดำเนินงาน การสนับสนุน การหนุมเสริม ในเรื่องการร่วมมือพื้นที่ประเด็นอาหารปลอดภัย  หน่วยงานภาคี ได้แนะนำการวางแนวทางการดำเนินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ประเด็นทรัพยากร 2. ประเด็นสิ่งแวดล้อม 3. ประเด็นอาหารปลอดภัย

 

3 0

10. กิจกรรมที่ 1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 11 ตุลาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนำนวน 14 คน ทบทวนการดำเนินงานติดตามประเมินผล การเข้าร่วมเวทีเชื่อมร้อยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดวางแนวทางการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมการเรียนรู้การทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวภัณฑ์ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนโครงส่งเสริมการผลิตและบริโภคปลอดภัยบ้านควนคง จำนวน 14 คน ณ ที่ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 14
ทบทวนผลการดำเนินงาน การเข้าร่วมเวที่เชื่อมร้อยประสานงานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ณ ที่โรงแรมวังโนราห์ คณะทำงานโครงการ ประกอบไปด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมความก้าวผ่านระบบออนไลน์ เข้าร่วมรับการชี้แจงการเชื่อมร้อยประสานงานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นวางแนวทางการดำเนินงานสนับสนุนหนุมเสริมวัตถุประสงค์ในเชิงประเด็นที่พื้นที่ได้ดำเนินการเพื่อเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์จังหวัด พื้นที่ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการในกลุ่มประเด็นอาหารปลอดภัยแลกเปลี่ยนเรียกรู้กับพื้นที่อื่นๆในกลุ่มประเด็นอาหารปลอดภัย รับฟังการแลกเปลี่ยนในกลุ่มประเด็นอื่นที่มีวิธีการเชื่อมร้อยประสานงานหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

กำหนดแนวทางการดำเนินตามแผน กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้การทำปุ๋ยการเตรียมดิน การใช้สารชีวภัณฑ์ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ณ ที่ แหล่งเรียนรู้บ้านควนคงหมู่ที่ 14 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน เป็นตัวแทนครัวเรือน
มอบหมายหน้าที่ในการประสานงาน ประสานวิทยากร ประสานกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมวัสดุดิบอุปกรณ์ในการเรียนรู้การทำปุ๋ย หมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ สารไล่แมลง

 

14 0

11. กิจกรรมที่ 2. การเรียนรู้การการทำปุ๋ย การเตรียมดิน การใช้สารชีวะภัณฑ์

วันที่ 17 ตุลาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตัวครัวเรือน 40 คน ได้เรียนรู้กระบวนการ  การทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ การเตรียมดิน การทำสารชีวภัฑณ์  ได้ทดลองทำจริงทุกขั้นตอน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การเรียนรู้การทำปุ๋ย การจัดเตรียดิน การทำสารทดแทน การใช้สารชีวภัณฑ์ มีผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 40 คน ครัวเรือนบ้านควนคงหมู่ 14 จำนวน 10 คน หมู่บ้านขยายการเรียนรู้ หมู่ 13 คน หมู่ 8 จำนวน 10 คน หมู่ 7 จำนวน 10 คน ณ ที่แหล่งเรียนรู้บ้านควนคง วิทยากรกระบวนการเรียนรู้ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง และ วิทยากรแหล่งเรียนรู้ นายกระจ่าง นุ่นดำ กระบวนการเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมักแห้ง วัสดุอุปกรณ์ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง 1. มูลวัวแห้ง จำนวน 50 กระสอบ 2. ฟางข้าวแห้ง จำนวน 10 ก้อน
3. รำละเอียด จำนวน 30 กิโลกรัม 4. แกลบดำ จำนวน 20 กิโลกรัม
5. กากน้ำตาล จำนวน 20 กิโลกรัม 6. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง วิธการทำปุ๋ยหมักแห้ง 1. ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 1 ปีบ 20 ลิตร คนให้เข้ากันประมาณ 20 นาที 2. เอากากน้ำตาลละลาย20 ก.ก. ต่อน้ำ 20 ลิตร 3. จดเรียงวัสดุ กองปุ๋ยหมักเป็น 3 ชั้น กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ตามวสดุที่เตรียมไว้ ตามอัตราส่วนที่เท่าๆกันทั้ง 3 ช้ั้น
4. แต่ละชั้นรดสารละลายซุปเปอร์ พด.1 กองปุ๋ยหมักทุกชั้นโดยเฉลี่ยให้เท่าๆกันและราดกากน้ำตาลที่ละลายน้ำไว้ทุกชั้นเช่นกัน 5. รดน้ำกองปุ๋ยหมักให้มีความชื่น 60 เปอร์เซ็น 6. เสร็จแล้วลุมด้วยพลาสติกดำ 7. กลับกองปุ๋ยหมักทุก 10 วัน พร้อมรดน้ำ 8. กลับกองปุ๋ยหมัก 3 รอบ รวมเวลา 1 เดือน ก็สามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้ คุณประโยนช์ของปุ๋ยหมักแห้ง ทำให้ดินโปร่ง รวนซุย ดินอุ้มน้ำได้ดี ช่วยดูดซับธาตุในดิน ไม่ให้ชะล้างไปโดยง่าย เป็นแหล่งธาตะอาหารพืช ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง เพื่อความต้านทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีที่เป็นประโยชน์ในดิน อัตราวิธีการนำไปใช้ 1. ใช้ 1 ตัน ต่อเนื้อที่ 1 งาน หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกรบ 2. ถ้าพื้นที่น้อยหรือปลูกในภาชนะต่างๆ เช่นกระถางให้ปรับการใช้ตามความเหมาะสม

กระบวนการทำปุ๋ยหมักน้ำ วัสดุดิบปุ๋ยหมักน้ำ 1. มะละกอสุก 20 ก.ก.  2. สัปรดสุก 20 ก.ก.
3. เศษผัก 10 ก.ก.    4. กากน้ำตาล 10 ก.ก.
5. น้ำ 10ลิตร    6. สารเร่งซุปเปอร์ พ.ด 2 1ซอง วิธีทำ 1. ละลายสารซุปเปอร์ พ.ด 2 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 2. นำมะละกอสุก สัปรดสุก และเศษผักสับเป็นชิ้นไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป 3. ผสมวัสดุดิบและกากน้ำตาลลงในถัง 50 ลิตร แล้วเทสารละลายซุปเปอร์ พ.ด 2 ที่ผสมไว้ 4. คลุกเคล้า หรือ คน ให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท 6. ใช้เวลาหมัก 7 วัน สรรพคุณของปุ๋ยหมักน้ำ เร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และใบของพืช ส่งเสริมการออกดอกและติดผล กระตุ้นการงอกของเมล็ด เพิ่มคุณภาพของผลผลิตพืช

อัตราการใช้ปุ๋ยหมักน้ำ ใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้
ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น 10 วัน/ครั้ง

การทำสารไล่แมลงและควมคุมศตรูพืช วัสดุอุปกรณ์
1. ข่า 10 ก.ก. 2. สาบเสือ 5 ก.ก. 3. ตะไคร่ 10 ก.ก. 4. ใบสะเดา 5 ก.ก. 5. กากน้ำตาล 10 ก.ก. 6. รำละเอียด 100 กรัม 7. น้ำ 30 ลิตร 8. สารเร่ง พด. 7 1 ซอง วิธีทำ
1. สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็กๆ ทุบหรือทำให้แตก 2. นำพืชสมุนไพรและรำข้าวใส่ลงในถังหมัก 3. ละลายกากน้ำตาลในน้ำ และสารเร่ง พ.ด 7 ผสมให้เข้ากัน นาน 5 นาที 4. เทสารละลายลงในถังหมัก คลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน 5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท คนทุกวัน และวางไว้ในที่รม ใช้เวลาการหมัก 21 วัน สรรพคุณ ควบคุมเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ควบคุมหนอนกระทู้ผัก หนอนใบผัก อัตราการใช้ และระยะเวลาในการฉีกพ่น ใช้น้ำหมักไล่แมลง 1 ส่วน ต่อน้ำ 100ส่วน ฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ฉีดติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เป็นกระบวนการเรียนรู้ และทดลองทำจริง ทุกขั้นตอน เพื่อนำไปใช้ได้จริงและเป็นต้นแบบถ่ายทอดการทำให้กับผู้ที่สนใจได้

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 33 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 77,040.00 18,400.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. กิจกรรมปิดงวดโครงการงวดที่1 ( 14 พ.ย. 2563 )
  2. กิจกรรมที่ 10. ติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่1 ( 30 พ.ย. 2563 )
  3. กิจกรรมที่ 5.สนับสนุนการสร้างวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ ( 19 ธ.ค. 2563 )
  4. กิจกรรมการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 ( 17 ม.ค. 2564 )
  5. กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมการทำบัญชี ซื้อ ขาย ในครัวเรือน ( 2 ก.พ. 2564 )

(................................)
นายกระจ่าง นุ่นดำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ