directions_run

ส่งเสริมและพัฒนาขบวนการนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 46 พฤศจิกายน 2564
6
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ซ้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ซ้ำ

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร30 กันยายน 2564
30
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินยืมทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

รายงานความก้าวหน้า/รายงานฉบับสมบูรณ์ผ่านระบบออนไลน์31 สิงหาคม 2564
31
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทีมงานสรุปผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม และนำข้อมูลการทำกิจกรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการโครงการ รายงานลงระบบออนไลน์  พร้อมกับบันทึกภาพประกอบกิจกรรม  และรายงานสรุปการเงินแต่ละกิจกรรม  จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ผ่านระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายงานฉบับสมบูรณ์ผ่านระบบออนไลน์  มีข้อมูลครบถ้วนนำเสนอผลการดำเนินโครงการฯ

12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 517 สิงหาคม 2564
17
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • หัวหน้าโครงการแจ้งเพื่อทราบ เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการฯจังหวัดพัทลุง  ทางหน่วยฯได้มีการปรับการประเมินให้เหมาะสมกับสถานการณ์โควิด ทีมหน่วยจัดการฯ ลงมาจัดเวทีประเมินผลแต่ละพื้นที่โครงการ ให้โครงการกำหนดวันเวลา สถานที่ภายในวันที่ 15 กันยายน 2564 คณะทำงานได้ตกลงกำหนดวันและเตรียมเวทีแบ่งบทบาทกัน รับผิดชอบในการนำเสนอเนื้อหาและข้อมูลผลลัพธ์/ตัวชี้วัดความเปลี่ยนแปลงของโครงการ
      - ได้มีการสรุปผลการจัดเวทีสรุปบทเรียน จัดในวันที่ 13 สิงหาคม 2564 และวางแผนงานในการสานเครือข่ายในการแก้ปัญหาสถานการณ์โควิด ที่ข้าวมีราคาถูก และการสั่งซื้อข้าวสารลดลง และชาวนาปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์โควิดสินค้าเกษตรราคาถูก ทำอย่างไรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เชื่อมโยงผู้บริโภค
      -วางแผนการดำเนินงานต่อไป ในการเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์/นาปลอดภัยเพื่อให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมดี ลดมลพิษได้ คนปลูกและคนกินข้าว(ผู้บริโภค)ได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวล ข้าวมีคุณภาพดี
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ผลลัพธ์การดำเนิดงานมีชาวนาปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทร์เพิ่มขึ้นจากเดิม 30 คน แต่ละครอบครัวสามารถเพิ่มได้รายลดรายจ่าย

12 เวทีสรุปบทเรียนและพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับท้องถิ่น13 สิงหาคม 2564
13
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนได้นำเสนอรายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้การทำนาอินทรีย์และ่แบ่งฐานการเรียนรู้และเรียนรู้จากการลงมือทำ ร่วมกันกำหนดแนวทางและการช่วยเหลือดูและกันในการส่งเสริมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนของชาวนาเข้าสู่ทำนาปลอดภัย/นาอินทรีย์ที่สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่มอาหาร ลดมลพิษ ทำให้ชาวนาและคนในชุมชนมีคุณภาพดีขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวนาที่เข้าร่วมร้อยละ 95 มีความรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร  แต่แต่กระบวนการปลูก  การดูแลรักษา เกี่่ยว เก็บและคัดพันธุ์ข้าว กินข้าวที่ชาวนาทำเอง  ส่วนที่เหลือแบ่งปัน
ชาวนาสามารถวางแผนออกแบบกระบวนการทำนาของตนเองได้  และมีความตั้งใจนำความรู้ที่ได้นำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์/นาปลอดภัย

จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ11 สิงหาคม 2564
11
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานวางแผนและออกแบบชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ชุดนิทรรศการเผยแพร่รณรงค์ให้ชาวนาปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์  ที่สามารถใช้ประกอบการเรียนรู้ให้กับชาวนาและผู้สนใจได้

11. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา9 สิงหาคม 2564
9
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำความเข้าใจที่มาของกิจกรรม ทบทวนบันไดผลลัพธ์  ระดมผลลัพธ์และตัวชี้วัด
แลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนผลลัพธ์ ปัญหาอุปสรรคการทำงาน  แนวทางแก้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ร่วมสะท้อนผลสำเร็จ  มีชาวนาทำนาเพิ่มขึ้น ข้อมูลที่เกี่ยวจากการทำนาอินทรีย์ยังไม่ถึงชาวนา ชาวนาเข้าร่วมมีความตั้งใจ  ได้ทำนาอินทรีย์ ทำข้าวกินเอง สามารกบอกเพื่อนได้ว่าทำนาอินทรีย์ทำแบบไหน  นาอินทรีย์ลดต้นทุนได้ไร่ละ  500  บาท
แนวทางชาวนา  ต้นแบบให้แลก  เรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้  สื่อสารประชาสัมพันธ์รณรงค์ทำนาอินทรีย์  ทำข้าวกินเอง

9 รณรงค์เผยแพร่ส่งเสริมการบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์จากนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง3 สิงหาคม 2564
3
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเตรียมออกแบบการรณรงค์ ทบทวนและปรับการรงค์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด จัดวงคุยคณะทำงานร่วมทีม อสม.ในตำบล ตัวแทนแลกเปลี่ยนให้ความรู้การปลูกและการบริโภคข้าวอินทรีย์เครือข่าย และตัวแทนคณะทำงานร่วมกันรณรงค์เคราะประตูบ้านชวนดูแลสุขภาพบริโภคอาหารปลอดภัย ปลูกผักกินเอง ข้าวสารที่คนในชุมชชนปลูกข้าวอินทรีย์วิถีเมืองลุง ควบคู่กับความรู้พิษภัยข้าวปลูกแบบใช้สารเคมี กระทบเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ลดพืช สัตว์น้ำที่เป็นอาหารในชุมชน ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ชวนมาดูแลสุขภาพป้องกันโควิด ให้ความรู้สมุนไพรต้านทานและป้องกันโควิด ชวนมาปลูกใช้เองในครัวเรือนสร้างภูมิต้านทางและคลังอาหารปลอดภัยให้คนในชุมชน
    รณรงค์วิถีวัฒนธรรม  ข้าวใหม่ปลามัน เทศกาลคนปลูกข้าวกลับมากินข้าวที่ปลูก มีการนำข้าวสาร มอบให้กับคนที่เคารพ โดยเฉพาะในช่วงโควิด   สอดถามความต้องการของคนในชุมชนเรื่องของการบริโภคข้าว คนในชุมชนมาช่วยกันปลูกข้าวอินทรีย์ ใช้พันธุ์หลากหลาย มีราคาเหมาะกับคนในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนที่ได้ร่วมกิจกรรมร้อยละ 100 ภูมิใจที่ได้กินข้าวในชุมชน เป็นข้าวอินทรีย์/ข้าวปลอดภัย
  • ได้ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันของคนในชุมชน
  • ได้มีแนวทางและแผนงานในการให้คนในชุมชนได้บริโภคข้าวปลอดภัยในราคาร่วมกันกำหนด
8 พัฒนาแบรนด์ ข้าวอินทรีย์ควนขนุน และตัวชี้วัดวิถีนิเวศน์เมืองลุง (ครั้งที่2)25 กรกฎาคม 2564
25
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาแบรนด์ ข้าวอินทรีย์ควนขนุน และตัวชี้วัดวิถีเวศนิเมืองลุง ได้พูดคุยกันทบทวนตามงานที่ได้มอบให้คณะทำงานได้ออกแบบให้แปลกใหม่แต่มีความทันสมัยให้เข้ากับยุคปัจจุบันเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และจะได้สะดวกต่อการโปรโมทแบรนด์ใหม่และเป็นที่จดจำได้ง่าย จากการพูดคุยได้สรุปความว่าแบรนด์ใหม่ที่ออกแบบมานั้นมีลักษณะเป็นทรงสีเหลี่ยมทรงสูงแบบกระดาษแข็งและมีที่จับด้านบนเพื่อนสะดวกต่อการพบพาและมีชื่อแบรนด์ด้านหน้าอย่างเห็นได้จัดเจนและจงจำได้ง่าย รูปแบบของแบรนด์นั้นด้านหน้าจะมีรูปรถเกี่ยวข้าวด้านซ้ายบน และมีข้อความเล็กๆที่มุนขวาบน ส่วนด้านล่างนั้นเป็นท้องข้าวที่กำลังพอสุกและมีรูปชาวนาอยู่บนท้องข้าว ส่วนด้านมุมขวาล่างนั้นจะออกแบบเป็นหมวกชาวนาทรงใส เพื่อจะให้เห็นถึงตัวชนิดข้าวด้านใน จะดูง่ายต่อกลุุ่มเป้าหมายที่จดจำสีข้าว ส่วนด้านข้างๆ นั้นจะเป็นเกี่ยวกับข้อมูลข้าว ชนิดของข้าว และวิธีขั้นตอนการหุ้งข้าวคุณประโยชน์ต่างๆร่วมถึงที่ตั้งของสถานที่ในการผลิตข้าว ทั้งนี้คือแบรนด์ชนิดข้าวขนาด1กิโล ส่วนแบบแบรนด์ที่บรรจุ5กิโลนั้นเป็นขนาดถุงที่มีความทนทานและสะดวกในการถือหรือพกพา กำหนดแผนงานร่วมกันในการนำบรรจุภัณฑ์ที่ได้ผลิตออกมาไปทดลองใช้ในการวางตลาดหรือกระจายข้าวสารให้คนในชุมชนและในจังหวัด สอบถามความคิดเห็นของคนในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มีแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ข้าวอินทรีย์วิถีเมืองลุงอำเภอควนขนุน รูปแบบที่ทำให้คนในชุมชนเข้าถึงได้ มีต้นทุนราคาถูก เช่น ถุงพลาสติกรัดด้วยยางและมีฉลากกลุ่ม มีกระสอบรรจุข้าวสารขนาด 5 กิโลกรัม มีขนาดพอเหมาะ แม่บ้านแต่ละครัวเรือนยกได้ไม่หนัก
  • คณะทำงานได้ร่วมคิดและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมก่ับคนในชุมชน
8 พัฒนาแบรนด์ ข้าวอินทรีย์ควนขนุน และตัวชี้วัดวิถีนิเวศน์เมืองลุง (ครั้งที่ 1)25 มิถุนายน 2564
25
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาแบรนด์ ข้าวอินทรีย์ควนขนุน และตัวชี้วัดวิถีเวศนิเมืองลุง ได้พูดคุยกันว่าจะออกแบบให้แปลกใหม่แต่มีความทันสมัยให้เข้ากับยุคปัจจุบันเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และจะได้สะดวกต่อการโปรโมทแบรนด์ใหม่และเป็นที่จดจำได้ง่าย จากการพูดคุยได้สรุปความว่าแบรนด์ใหม่ที่ออกแบบมานั้นมีลักษณะเป็นทรงสีเหลี่ยมทรงสูงแบบกระดาษแข็งและมีที่จับด้านบนเพื่อนสะดวกต่อการพบพาและมีชื่อแบรนด์ด้านหน้าอย่างเห็นได้จัดเจนและจงจำได้ง่าย รูปแบบของแบรนด์นั้นด้านหน้าจะมีรูปรถเกี่ยวข้าวด้านซ้ายบน และมีข้อความเล็กๆที่มุนขวาบน ส่วนด้านล่างนั้นเป็นท้องข้าวที่กำลังพอสุกและมีรูปชาวนาอยู่บนท้องข้าว ส่วนด้านมุมขวาล่างนั้นจะออกแบบเป็นหมวกชาวนาทรงใส เพื่อจะให้เห็นถึงตัวชนิดข้าวด้านใน จะดูง่ายต่อกลุุ่มเป้าหมายที่จดจำสีข้าว ส่วนด้านข้างๆ นั้นจะเป็นเกี่ยวกับข้อมูลข้าว ชนิดของข้าว และวิธีขั้นตอนการหุ้งข้าวคุณประโยชน์ต่างๆร่วมถึงที่ตั้งของสถานที่ในการผลิตข้าว ทั้งนี้คือแบรนด์ชนิดข้าวขนาด1กิโล ส่วนแบบแบรนด์ที่บรรจุ5กิโลนั้นเป็นขนาดถุงที่มีความทนทานและสะดวกในการถือหรือพกพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ร่วมกันคิด และแสดงความคิดเห็น ร่วมกันพัฒนาแบรนด์และผลิตภัณฑ์

10 ส่งเสริมการพัฒนาระบบการกระจายและรวบรวมผลผลิตวิถีนาอินทรีย์ ครั้งที่ 119 พฤษภาคม 2564
19
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ข้อมูลผลลิตรต่อไป  และเก็บเกี่ยวรวบรวม รับซื้อของสมาชิก  ทบทวนข้อตกลงในการรวบรวมรับซื้อข้าวจากสมาชิก
นัดสมาชิกทีสมัคร  ตากลดความชื้น  เก็บไว้ในโรงเก็บ  ทะยอยสีตามออร์เดอร์ ตลาดที่ได้ส่งชุมชน  ตลาดนัด สรุป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มีการรวมรวบข้าวเปลือกจากสมาชิกในกลุ่ม  เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนการแรปรูป ออกมาเป็นข้าวสารและบางส่วนนำมาแป้งจากข้าวสังข์หยด
ได้มีตลาดซื้อขายออนไลน์ และฝากว่างขายตามสถานที่ท่องเที่ยว อาทิ นาโปแก เป็นต้น และยังคงมีตลาดขายส่งตามผู้บริโภค สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นครัวเรือนละ 2000 บาท/เดือน

10 ส่งเสริมการพัฒนาระบบการกระจายและรวบรวมผลผลิตวิถีนาอินทรีย์ ครั้งที่ 29 พฤษภาคม 2564
9
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ข้อมูลผลลิตรต่อไป  และเก็บเกี่ยวรวบรวม รับซื้อของสมาชิก  ทบทวนข้อตกลงในการรวบรวมรับซื้อข้าวจากสมาชิก
นัดสมาชิกทีสมัคร  ตากลดความชื้น  เก็บไว้ในโรงเก็บ  ทะยอยสีตามออร์เดอร์ ตลาดที่ได้ส่งชุมชน  ตลาดนัด สรุป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ระบบการรวบรวมข้าวเปลือก  จากสมาชิก
ได้รายคาที่ดีขึ้น  ราคาข้าวเปลือกกลุ่มมีการกำหนดราคาเอง สูงกว่ารายคาตลาด เกียนละ 300 -  500  บาท  ได้ข้าวตามความต้องการของผํู้บริโภค
ได้มีการแบ่งคนมาช่วยในการรวบรวม  ตากข้าว  คัด  บรรจุ  มีค่าแรงให้สมาชิกที่ได้ทำจรง

ประชุมคณะทำงานครั้งที่420 กุมภาพันธ์ 2564
20
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทบททวนผลการดำเนินที่ผ่านมา ปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติงานโครงการให้สอดคล้องกับสถานาการณ์โควิด  ในการทำกิจกรรมเพิ่มมาตรการป้องกันโควิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แผนปฏิบัติการและมีการปรับรูปแบบสอดคล้องสถานการณ์ เชื่อมประสานกับทีม อสม.ในการส่งเสริมปลูกและบริโภคข้าวปลอดภัยควบคู่ไปกับการดูแลป้องกันโรคโควิด ได้มีการเพิ่มกติการข้อตกลงในการจัดกิจกรรม สวมหน้ากากอนามัย  หน้ากากผ้า  มีเจลล์แอลกอฮอล์ล้างมือในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง  เว้นระยะห่าง

5 เวทีเรียนรู้นาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่219 มกราคม 2564
19
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตัวแทนได้นำเสนอรายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้การทำนาอินทรีย์และ่แบ่งฐานการเรียนรู้และเรียนรู้จากการลงมือทำ ร่วมกันกำหนดแนวทางและการช่วยเหลือดูและกันในการส่งเสริมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนของชาวนาเข้าสู่ทำนาปลอดภัย/นาอินทรีย์ที่สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพิ่มอาหาร ลดมลพิษ ทำให้ชาวนาและคนในชุมชนมีคุณภาพดีขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวนาที่เข้าร่วมร้อยละ 95 มีความรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร  แต่แต่กระบวนการปลูก  การดูแลรักษา เกี่่ยว เก็บและคัดพันธุ์ข้าว กินข้าวที่ชาวนาทำเอง  ส่วนที่เหลือแบ่งปัน
ชาวนาสามารถวางแผนออกแบบกระบวนการทำนาของตนเองได้  และมีความตั้งใจนำความรู้ที่ได้นำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์/นาปลอดภัย

5 เวทีเรียนรู้การนาอินทรีย์ ครั้งที่ 19 มกราคม 2564
9
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หัวหน้าโครงการชี้แจงรายละเอียดที่มาของโครงการ  พร้อมกับแจ้งและแจกกำหนดการประชุมให้กับผู้เข้าร่วม  คณะทำงานแนะนำเอกสารประกอบการเรียนรู้ทำนาอินทรีย์ครบวงจร
วิทยากรให้ความรู้คู่กับการสาธิตและให้ชาวนาที่เข้าร่วมได้ลงมือทำจริง
สรุปผลการเรียนรู้และวางแผนในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้และการติดตามของคณะทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-  ชาวนาได้ความรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร  เน้นการพึ่งตนเองของชาวนา  ไม่ใช้สารเคมี  การทำปุ๋ยหมักใช้เอง  มีการคัดพันธ์ุข้าวสำหรับการปลูกต่อ    ฯลฯ  ทำให้ชาวนาลดต้นทุนในการทำนา  ลด ละเลิกสารเคมีนำมาสู่การมีระบบนิเวศน์ในนาข้าวที่ดีฟื้นธรรมชาติ  เพิ่มพืชในนาข้าว กุ้งหอยปูปลาในนาข้าวนำไปสู่การเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคเพิ่มขึ้น
-  ชาวนามีความตั้งใจมั่นใจในการปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์/นาปลอดภัย  กระบวนการวางแผนออกแบบเตรียมตัวในการทำนา นอกจากนี้ชาวนาที่เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ได้ -  ชาวนาได้มีความรักความสามัคคี และได้มีวางแผนในการช่วยเหลือดดูและกันและกันในการปรับเปลี่ยน ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีเข้าสู่การทำนาอินทรีย์ครบวงจรตั้งแต่ปลูกจนถึงสีเป็นข้าวสารไว้กินเองในครัวเรือน  แบ่งปัน ขายเพิ่มรายได้  หรือการเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูป วางแผนการตลาดเชื่อมโยงกับคนกินข้าว ผู้บริโภค

6. เวทีเชื่่อมร้อยเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง18 ธันวาคม 2563
18
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานทบทวนกิจกรรม  ได้มีการปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเครือข่ายชาวนาในอำเภอควนขนุน
  มีแผนงานร่วมกันในการช่วยเหลือหนุนเสริมซึ่งกันและกัน  เพื่อขยายเครือข่ายชาวนาอินทรีย์

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์8 ธันวาคม 2563
8
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เสนอประชุมคณะทำงาน  ตกลงร่วมกันมอบหมายให้  ตัวแทนไปจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พร้อมป้ายโครงการ  กำหนดพื้นที่ประกาศเขตฯ
จัดทำป้ายร้านป้าย  รับป้ายพร้อมกับนำป้ายมาติดห้องประชุมวิชชาลัยรวงข้าว  และโรงเรียนใต้ต้นไทร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พร้อมได้มีการติดป้ายประกาศทำให้มีเขตปลอดบุหรี่ที่ประชุมวิชชาลัยรวงข้าวและโรงเรียนใต้ต้นไทร  ได้รับการยอมรับจากสมาชิกไม่สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พื้นที่ที่ได้กำหนดร่วมกัน  ข้อตกลงร่วมของกลุ่ม  คนในชุมชนและเครือข่าย

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 317 ตุลาคม 2563
17
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทบทวนติดตามการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา หัวหน้าโครงการและตัวแทนเข้าร่วมเวทีเวทีสานพลังชุมชนน่าอยู่ phattalung Green ได้กลับมาเล่ารายละเอียด สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม และแนวทางความร่วมมือที่ได้จากเวที มาวางแผนการดำเนินงานการประสานความร่วมมือกับภาคีในการสนับสนับการดำเนินงานเพื่อได้รูปแบบการจัดการส่งเสริมและขับเคลื่อนนาอินทรีย์เป็นต้นแบบ
  • ความก้าวหน้าในการหนุนเสริมการทำนาอินทรีย์ของแต่ละพื้นที่ และทบทวนตามที่ชาวนาสมัครและกำหนดจำนวนนาปรับเปลี่ยนเข้าสู่นาอินทรีย์ ได้ตามที่กำหนดไว้ หรือมีปัญหาอุปสรรค์หรือไม่ การสนับสนุนปัจจัยการผลิตและความรู้ในการทำนาอินทรีย์ชาวนาที่ทำนำไปใช้แล้วได้
  • แลกเปลี่ยนความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้น้ำหมักและปุ๋ยหมักชีวภาพ และชีววิธีต่าง ๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปกระจายแบ่งปันความรู้ให้กับชาวนาในแต่ละกลุ่ม
  • คณะทำงานและร่วมกันออกแบบ วางแผนแก้ไขปัญหาการทำนาอินทรีย์
    -  หาวิธีการป้องกันและนัดหมายทำกิจกรรมครั้งต่อไป
    -  สอบถามรายงานความหน้าของการรายงานไนระบบออนไลน์ และหลักฐานเอกสารการเงิน พร้อมนัดในการตรวจสอบเอกสารหลักปิดงวด
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานได้มีการติดตามความก้าวหน้าพร้อมหนุนเสริม มีสมาชิกเข้าร่วมและทำนาอินทรีย์และระยะปรับเปลี่ยน อยู่ในระยะของการเตรียมดินและพันธุ์ข้าว คณะทำงานได้สนับสนุนวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก พร้อมกับความรู้ สมาชิกเข้าร่วมใหม่และสมาชิกเดิมได้มีการบันทึกและใช้วิธีธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี
  2. ได้ชุดข้อมูลกระบวนการขั้นตอนการทำนาอินทรีย์ ความรู้ในเรื่องของน้ำหมักเพื่อไลศัตรูพืบและระบบการรับรองมาตรฐานของกลุ่ม/ชุมชนที่เสริมพลังให้มีการทำนาอินทรีย์ และแนวทางในการนำไปใช้ขยายผลต่อไป โดยมีคณะทำงานนาอินทรีย์เป็นแกนหลักจำนวน ตำบลละ 3 คน ในตำบลพนางตุง และตำบลควนขนุน สร้างความเข้าใจและขยายสมาชิกภายในตำบล
  3. เกิดความรู้เรื่องการวางแผนและการคิดหาวิธีการป้องกันและแก้ไขการทำนาอินทรีย์/นาปลอดภัย ได้มีการทบทวนและปรับแผนปฏิบัติการและวางแผน ติดตามและเพิ่มเติมความรู้ จากปัญหาที่เจอในการทำนาไม่ว่าเรื่องโรคและแมลง พร้อมเตรียมการดูแลการแปรรูปและเพิ่มช่องทางการทางการตลาดในช่วงเดือนม.ค. และ กพ.ต่อไป
เวทีสานงาน เสริมพลัง ชุมชนน่าอยู่ สู่ พัทลุงกรีนซิตี้7 ตุลาคม 2563
7
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมประชุมเวทีสานพลังชุมชนน่าอยู่ phattalung Green และร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานจัดทำแผนงานโครงการ บันไดสู่ความสำเร็จวทีการเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยว พื้นที่ เข้าร่วม จำนวน 3 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้รายงานกิจกรรมรายงานความก้าวผ่าระบบออนไลน์ รับฟังการชี้แจงจุดประสงค์ในการเชื่อมร้อย จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS นาย ไพฑรูณ์ ทองสม จุดประสงค์ เพื่อการเชื่อมร้อยการดำเนินงานของพื้นที่และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน สามารถดำเนินงานและสนับสนุนหนุนเสริมการดำเนินงาน วางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันได้ มีการแนะนำหน่วยงานภาคีที่เกี่ยว ตามยุทธศาสตร์ และพื้นที่โครงการจำนวน 25 พื้นที่ แนะนำพี่เลี้ยงประจำพื้นที่ จากนั้นแบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งพื้นที่บ้านควนคงอยู่ประเด็นยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม เป็นคนชวนคุย สร้างความเข้าใจ ระหว่างพื้นที่และหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกลุ่ม พื้นที่ได้นำแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่นำเสนอช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแก่ หน่วยงานภาคีและพื้นที่ในประเด็นอาหารปลอดด้วยกัน เพื่อการเชื่อมประสานการดำเนินงาน การสนับสนุน การหนุมเสริม ในเรื่องการร่วมมือพื้นที่ประเด็นอาหารปลอดภัย หน่วยงานภาคี ได้แนะนำการวางแนวทางการดำเนินที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเชื่อมร้อยเครือข่ายภาคีที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ประเด็นทรัพยากร 2. ประเด็นสิ่งแวดล้อม 3. ประเด็นอาหารปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

25 พื้นที่ตามประเด็นยุททธศาสตร์ สามารถเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวและพื้นที่ประเด็นตามยุทธศาสตร์ เสนอแนวทางการดำเนินงานตามแผนแก่หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเชื่อมร้อยในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ คณะทำงานจำนวน 5 คนเข้าร่วม ผลที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับรู้การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุง  การส่งเสริมการสร้างพื้นที่อาหารในสวนยาง  และสิ่งที่คณะทำงานต้องกลับไปดำเนินการคือ การเชื่อมเกษตรอำเภอ  เกษตรตำบล  และพัฒนาชุมชนมาร่วมส่งเสริมการทำนาอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ชุมชนมีรายได้

4 สนับสนุนการขับเคลื่อนธนาคารน้ำหมักชุมชนและธนาคารปุ๋ยหมักชุมชน13 กันยายน 2563
13
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นัดวางแผนเตรียมความพร้อมการเรียนรู้การทำน้ำหมัก จัดเตรียมวัสดุอุปกรณฺ์ ถังหมัด ขนาด 100 ลิตรกากน้ำตาล สัปรส พด.2 โดยนางบวรลักษณ์ คงปาน นางสุทิศา เกื้อชู นายสมโชค ตุดเกื้อ มีวิทยากรนายสมโชค ตุดเกื้อ ให้ความรู้ ขั้นตอนในการปฏิบัติทำน้ำหมัก สูตรบำรุงดิน แนะนำการใช้ การะเก็บรักษา อายุการเก็บ น้ำหมีกที่ได้ก็แบ่งไปใช้ในการทำนาฤดูกาล  พร้อมทั้งวางแผนการทำน้ำหมักเพิ่มเติม มีการวางระเบียบในการหมุนเวียน การกระจาย และระดมทุนมาใช้สำหรับการทำน้ำหมักในครั้งต่อไป  พร้อมกับมีแผนในการพบกันและติดตามผลการใช้น้ำหมัก และเรียนรู้วิธีการทำน้ำหมักเพื่อการดูแลข้าว และจัดการศัตรูพืชเพิ่มเติมในครั้งต่อไป  และมีคณะทำงานรับผิดชอบติดตาม และพัฒนาสูตรน้ำหมักที่เหมาะสมในการดูแลนาข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมมีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักและสามารถกลับไปทำที่บ้านได้ จำนวน 15 คน ได้มีการวางและและกำหนดวันในการแบ่งน้ำหมักให้กับชาวนาได้นำไปใช้ พร้อมตกลงร่วมกันให้มีการนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยน เกิดกองทุนหมุนเวียนในการจัดการแบ่งปันกระจายความรู้และน้ำหมักให้กับสามาชิก/เป็นวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก และไล่แมลง ฯลฯ พร้อมทั้งมีระเบียบในการดูแลกันของกองทุนในการหนุนเสริมความรู้และวัตถุดิบให้กับสมาชิก เพื่อเสริมให้การทำนาอินทรีย์มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ส่งสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ลดรายจ่ายในครัวเรือนและชุมชน สร้างความสามัคคี มีการแบ่งปั่น มีการช่วยเหลือ

3 เวทีเปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาขบวนการนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง3 กันยายน 2563
3
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. หัวหน้าโครงการชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ  แนะนำคณะทำงานโครงการ พี่เลี้ยงโครงการ พร้อมชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์  ทบทวนสถานการปัญหา และบทเรียนที่ได้จากปีที่ 1 ได้ชุดความรู้ในการขับเคลือนนาอินทรีย์ และแนวทางและผลลัพธ์ที่ดำเนินงานให้บรรลุในปีที่ 2 และพัฒนาโมเดลนาอินทรีย์ให้ดีขึ้น และทดลองใช้เพื่อการพิสูจน์สร้างความมั่นใจเพิ่มในปีที่ 2
  2. พี่เลี้ยงแนะนำโครงการ Node flagship พัทลุง และสำนัก 6 สสส. พร้อมให้ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการฯจ.พัทลุง ระบบการติดตามและรายงาน พร้อมสร้างความเข้าใจร่วมกันในการขับเคลือนโครงการฯ สู่ยุทธศาตร์อาหารปลอดภัย เพื่อสร้างเมืองลุงสีเขียว  คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  3. แลกเปลี่ยนให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนากลไกเพื่อเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์  พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงาน และประชาสัมพันธ์ในการรับสมาชิกเข้าร่วมปรับเปลี่ยนสู่นาอินทรีย์เพิ่มในปีนี้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมมีจำนวน 30 ความรู้ความเข้าใจโครงการและพร้อมเข้าร่วมโครงการ
    คนสนใจในขบวนการแบบระบบอินทรีย์ ได้เรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์ครบวงจร
  2. ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการเสริมเสริมขบวนการส่งเสริมนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
  3. ได้ความรักความสามัคคี แบ่งปันช่วยเหลือซี่งกันและกันของเครือข่ายชาวนาและโรงเรียนชาวนา ทั้ง 2 แหล่ง คือ โรงเรียนใต้ต้นไทร และวิชชาลัยรวงข้าว
  4. ได้ความร่วมมือจากภาคีในการร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนนาอินทรีย์วิถียั่งยืน ส่วนของ สำนักงานส่งเสริมเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง
  5. ได้แนวทางและแผนงานในการดำเนินงานโดยสมาชิกได้มีส่วนร่วมเสนอแนะ ในการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงในแปลง  มีปัญหามาช่วยกัน โดยมีกลไกคณะทำงานเป็นแกนนำหลังทำเป็นตัวอย่างและสนับสนุนสมาชิกทำนาอินทรีย์ ตามระเบียบข้อตกลงที่ได้กำหนดร่วมกัน
12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 215 สิงหาคม 2563
15
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสรุปการดำเนินงาน
1. จัดกิจกรรมประชุมประจำเดือนกรกฎาคม 2563  เตรียมกำหนดรายละเอียดในการจัดเวทีพัฒนา 2. เพื่อวางแผนการดำเนินงานครีั้งต่อไป
3. คณะกรรมการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงข้อคิดเห็นข้อดีข้อเสียของกิจกรรม
4. เพื่อจะได้ข้อผิดพลาดไปปรับปรุงในครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ผลตอบรับ

7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง1 สิงหาคม 2563
1
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สมาชิกลงทะเบียนรับปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้ช่วยกัันทำของแต่ละศูนย์เรียนรู้  และได้ทบทวนให้ความรู้ในเรื่องของการใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมัก ปริมาณการใช้ ระยะเวลาที่เหมาะสม  ข้อมูลความก้าวหน้าในการทำนาอินทรีย์ตามระยะ
  • แลกเปลี่ยนความรู้และรวมกันจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวจากธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน ให้กับสมาชิก คณะทำงานได้กระจายให้กับสมาชิกตามความต้องการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจเรื่องขั้นตอนระยะของการเตรียมดินก่อนปลูก
  2. สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้สำหรับจะนำมาปลูกใน
    ปีต่อไป
  3. สมาชิกเกิดความตระหนักและเห็นพ้องต้องกันในการทำนาข้าวใช้พันธุ็ข้าวเดียวกันทั้งกลุ่มฯ
  4. สมาชิกได้ปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ในการบำรุงดิน และน้ำหมักชีวภาพสำหรับการบำรุงดิน ในการทำนาอินทรีย์
1.ส่งเสริมและพํฒนากลไกขับเคลื่อนโรงเรียนชาวนา1 สิงหาคม 2563
1
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์อำเภอควนขนุน มาลงทะเบียนโดยพร้อมเพรียงกัน
  • นายอำมร สุขวิน ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ชี้แจ้งถึงที่มาของ โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัย ให้สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ ได้รับทราบความเป็นมา พร้อมทั้งรายละเอียดโครงการ
  • สมาชิกกลุ่มฯ ร่วมกันกำหนดกติกา
  • สมาชิกกลุ่มฯ ร่วมกันคัดเลือกคณะทำงานโครงการฯ จากสมาชิกกลุ่มฯ
  • สมาชิกร่วมกันออกความคิดเห็นถึงกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกกลุ่มฯ ได้รับทราบถึงความเป็นมาของโครงการ รวมถึงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ พร้อมเข้าร่วมโครงการมีผู้สมัครเข้าร่วมเนื่องจากมีความรู้และความเข้าใจเห็นความสำคัญของนาอินทรีย์ครบวงจร ที่สามารถลดต้นทุนการผลิต มีข้าวปลอดสารพิษไว้กินเองทำให้มีสุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมดีไม่มีสารเคมีปนเปื้อนในนาข้าว ทำให้มีความตั้งใจปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์จำนวน 30 คน พื้นที่จำนวน 200 ไร่
  2. ได้คณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน มีความตั้งใจในการร่วมแกนนำในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาขบวนการนำอินทรีย์วิถีเมืองลุงให้มีความเข้มแข็ง
  3. ได้กติกากลุ่ม คือ 1. สมาชิกทุกคนไม่ใช้สารเคมีในการทำนาข้าว 2.เวลาลงมติต้องใช้เสียงข้างมากในที่ประชุม กรณีที่เสียงเท่ากันให้ "ประธาน" เป็นคนตัดสิน     3. สมาชิกสามารถขาดประชุมได้ไม่เกิน 3 ครั้ง 4. หัวหน้าโซนแต่ละโซนต้องรับผิดชอบลูกทีมที่ได้รับมอบหมาย 5. สมาชิกต้องให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม
  4. ได้แผนงานที่จะดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป
1. ส่งเสริมและพัฒนากลไกขับเคลื่อนโรงเรียนชาวนา 2 แหล่ง วิชชาลัยรวงข้าวและโรงเรียนใต้ต้นไทร12 กรกฎาคม 2563
12
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมวางแผนการทำงานแบ่งงานประสานเครือข่ายโรงเรียนชาวนาและรับสมัครชาวนามีความตั้งใจปรับเปลี่ยนมาทำนาปลอดภัย/นาอินทรีย์เพื่ออาหารปลอดภัยและลดรายจ่ายสร้างรายได้
  • ประกาศรับสมัครเครื่อข่ายที่มีความพร้อม
  • ร่วมกันกำหนดแผนงานและปฏิบัติการขับเคลื่อนโรงเรียนชาวนาและยกระดับโรงเรียนชาวนา กระบวนการถ่ายทอดความรู้ พัฒนาหลักสูตร อุปกรณ์ใช้ประกอบการเรียนรู้นาอินทรีย์ครบวงจร  สื่อประกอบการเรียนรู้
  • ทดลองใช้หลักสูตรในการประชุมคณะทำงานมีการประชุมสัญจร และนำหลักสูตรมาทดลองปฏิบัติจริง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เช่น การขยายเชื้อไซโคเดอร์มาเพื่อบำรุงดินและกำจัดเชื้อราป้องกันโรคในนาข้าว  เมื่อได้ผลได้มีการวางแผนนำไปใช้กับชาวนาที่สมัครเข้าร่วมโครงการ และกลุ่มที่มาศึกษาดูงาน
  • สรุปผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนความรู้ของโรงเรียนชาวนา 2 แหล่ง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้มีเครื่อข่ายเพิ่มชาวนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ในอำเภอควนขนุนเพิ่มขึ้น
  • ได้มีหลักสูตรและชุดความรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถี
  • โรงเรียนชาวนา 2 แหล่ง คือ 1.วิชชาลัยรวงข้าว 2. โรงเรียนใต้ต้นไทร สามารถดำเนินงานและแหล่งให้ความรู้กับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการได้มีความรู้ความเข้าใจการทำนาอินทรีย์ครบวงจร พื้นที่แลกเปลี่ยนให้ความรู้ชาวนาที่มีความสนใจ
  • มีสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนรู้ ทำให้ผู้มาเรียนรู้ได้เข้าใจง่ายขึ้น มีอุปกรณ์สาธิตปฏิบัติการจริง เช่น ชุดน้ำหมักปุ๋ยหมักบำรุงดิน  สารไล่แมลงจากพืชในท้องถิ่น การเลี้ยงไส้เดือนดิน  การแปรรูปข้าว  ฯลฯ
กิจกรรมปฐมนิเทศน์20 มิถุนายน 2563
20
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศโครงการสนับสนุนงบประมาณ การจัดการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงและขยายตัวสู่ สมาชิกที่สนใจ ปีที่ 2 จัดขึ้น ณ โรงเเรมวังโนราห์ จังหวัดพัทลุง ทีมงาน สสส สำนัก 6 เชิญตัวแทนคณะัทำงาน 4 คนเข้าร่วมรับฟังแนวทางการทำงาน ได้แก่ 1. การออกแบบตอบข้อมูลผลลัพธ์ 2.การทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์
3. การทำเอกสารเบิกจ่ายการเงินที่ถูกต้อง 4.การใช้ระบบรายงานข้อมูล Happynetwork
5. การเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน ได้แก่ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการในปีที่ 2
1. การออกแบบตอบข้อมูลผลลัพธ์ ซึ่งทำให้คณะทำงานได้ออกแบบแบบฟอร์มได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้ดียิ่งขั้นไป
2. การทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ คณะทำงานเข้าใจ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดใต้บันได และสามารถวางแผนปฏิทินกิจกรรมได้เหมาะสม การจัดให้สอดคล้องกับการอบรมให้ความรู้สมาชิก เช่น การจัดการนาก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
3. การทำเอกสารเบิกจ่ายการเงินที่ถูกต้อง คณะทำงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบิกจ่ายมากขึ้น
4. การใช้ระบบรายงานข้อมูล Happy network คณะทำงานได้ทบทวนทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นกับการรายงานข้อมูล ซึ่งง่ายและสะดวกในการติดตามกิจกรรม
5. การเปิดบัญชีธนาคาร ได้เปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย โดยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารเงินที่ใช้ตามกิจกรรมที่วางแผนจัดขึ้นตามปฏิทินเวลา โดยบริหารภายใต้งวดงบประมาณที่ได้รับ มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา

12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 114 มิถุนายน 2563
14
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประธานแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณาโครงการและแนวทางในการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ได้รับการสนับสนุนจาก สำนัก 6  สสส.
  • แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ทบทวนวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ กำหนดปฏิทินแผนการดำเนินงาน
  • แบ่งบทบาทการทำงานของคณะทำงานในการดำเนินงานโครงการ
  • ร่วมกันกำหนดวางแผนกิจกรรมและการรับสมัครชาวนาเข้าร่วมโครงการ ปรับเปลี่ยนมาทำนาปลอดภัย/นาอินทรีย์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานเข้าใจโครงการ จำนวน 20 คน มีความตั้งใจในการร่วมคิด ปรับแนวทางการทำงาน และร่วมการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งได้ข้อตกลงเพิ่มเติมในกติกา ในการพบกันแต่ละครั้งให้มีการนำความรู้ในการทำนาอินทรีย์แต่ละระยะมาถ่ายทอดให้กับคณะทำงาน ซึ่งคณะทำงานต้องสามารถทำได้เป็นตัวอย่างและนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับสมาชิก และติดตามความก้าวหน้าของสมาชิกที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและขับเคลื่อนนาอินทรีย์วิถึเมืองลุง ได้แผนการดำเนินงานโครงการ
  2. คณะทำงานได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็น เรื่องการดำเนินการการขยายนาอินทรีย์เพิ่ม
  3. ได้เตรียมความในกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนากลไกฯ คณะทำงานได้แบ่งบทบาทหน้าที่ การลงทะเบียนรับสมัครสมาชิกเพิ่ม เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำนา
  4. ได้ตัวแทนเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศโครงการพร้อมแผนปฏิบัติการดำเนินงานที่ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์