directions_run

เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างการเรียนรู้และให้เกิดความตระหนักต่อการผลิตและบริโภคที่ปลอดภัยของสมาชิกและคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและผลกระทบที่เกิดจากผลิตและบริโภค 2. มีคนมาร่วมเรียนรู้และเข้าใจต่อผลกระทบต่อการบริโภคได้อย่างน้อย 80 คน 3. ผู้ร่วมโครงการสามารถออกแบบและสร้างแผนการปลูกข้าวปลอดภัยได้
0.00 9.00

1.มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมด43ครัวเรือนจากผู้ร่วมประชุม53คนจากพื้นที่2ตำบลคือตำบลคลองใหญ่และตำบลตะโหมด 2.มีฐานข้อมูลพื้นที่การผลิตข้าวปลอดภัยจากจากสมาชิกที่ร่วมโครงการจำนวน149ไร่ ฐานข้อมูลการบริโภคข้าวของคนในชุมชนจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นจากสมาชิกชุมชนจำนวน300ครัวเรือนมีการบริโภคข้าวสารที่3,000กิโลกรัมต่่อเดือน ที่มาของข้าวสารเกินร้อยละ70มาจากนอกชุมชน 3.แผนการปลูกมีการวางแผนการปลูกที่เป็นระบบที่เกิดจากการตกลงกันของสมาชิกเพื่อให้การปลูกเป็นไปตามความเหมาะสมตามช่วงฤดูกาลการทำนาปี รสมทั้งการกำหนดรูปแบบขั้นตอนและวิธีการรวมถึงความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ

มีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นคือเทศบาลตำบลตะโหมดในการหนุนเสริมการจัดกิจกรรม ประสานความร่วมมือกับสนง.เกษตรอำเภอตะโหมดและศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงในการให้ความรู้และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวสังหยดคุณภาพ

กลุ่มเป้าหมายอีก10ครัวเรือนที่ไม่สามารถร่วมกิจกรรมกับกลุ่มได้เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมในการทำนาข้าว พื้นที่นาข้าวยังปล่อยให้ญาติเป็นคนดำเนินการอยู่จึงไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆของกลุ่มได้

2 เพื่อร่วมกันสร้างกติกาและกลไกหนุนเสริมการผลิตข้าวที่ปลอดภัยในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีกติกาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของสมาชิก 2. มีกลไกการทำงานและกลไกการติดตามการทำงานของกลุ่ม 3. มีแปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของสมาชิกและชุมชนอย่างน้อย 3 แปลง
0.00 5.00

1.มีกติกาที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของกลุ่มสมาชิกคือ -สมาชิกทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มทุกครั้งที่กลุ่มมีการจัดกิจกรรม -แปลงนาของสมาชิกทุกคนที่นำเข้าร่วมโครงการต้องไม่ใช้สารเคมีในการบำรุงรักษาข้าวทุกขั้นตอน -ให้สมาชิกควรช่วยเหลือกันเท่าที่สมควรในกระบวนการผลิตการผลิตทุกขั้นตอน 2.กลไกการทำงานใช้กลุ่มกลไกเดิมโดยมีคณะกรรมการกลุ่มจำนวน13คนและมีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มโดยตลอด 3.พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดสามารถนำมาเป็นต้นแบบในการทำนาที่ปลอดภัยได้

กลไกการทำงานของกลุ่มนั้นมีการรวมตัวกันก่อนที่โครงการจะเข้าไปสนับสนุนจึงส่งผลให้เกิดกลไกการทำงานที่มีศักยภาพ มีการนำกติกาของกลุ่มเป็นเครื่องมือในการทำงาน ติดตามประเมินผลสมาชิกอย่างต่อเนื่องแล้วนำสู่ที่ประชุมกลุ่มในการประชุมทุกครั้ง

การใช้กติกาข้อตกลงของกลุ่มคือหัวใจของการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการยินดีทำตามและยอมรับข้อตกลงของกลุ่ม

3 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและปัจจัยหนุนเสริมการผลิตที่ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 1. สามารถผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตได้อย่างน้อย 3 อย่าง 2. สามารถนำปัจจัยหนุนเสริมการผลิตที่ปลอดภัยไปใช้ได้เต็มพื้นที่
0.00 3.00

1.การปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่เป็นไปตามธรรมชาติและวิถีการทำนาแบบดั้งเดิมของชุมชนคือการไม่ใช้สารเคมีในการปราบหญ้าศัตรูพืช การผันน้ำในการทำนาที่ชุมชนมีรูปแบบและวิธีการเดิมอยู่แล้วคือระบบชลประทานของชุมชน 2.กลุ่มเป้าหมายได้การเรียนรู้กระบวนการผลิตข้าวที่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและสามารถร่วมกันผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตในปีนี่คือ -ปุ๋ยหมัก จำนวน3,000กิโลกรัม มีการจำหน่ายให้แก่สมาชิกในในราคาต้นทุน เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในกลุ่ม -น้ำหมักจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยจำนวน 300ลิตร และสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ทุกแปลงที่เข้าร่วมโครงการ -สารทดแทนสารเคมีปราบศัตรูพืช ที่เกิดจากการหมักจากน้ำส้มสายชูจำนวน100ลิตร และสมาชิกสามารถนำไปใช้ในการป้องกันและปราบศัตรูพืชในแปลงของสมาชิกได้เกินร้อยละ90ของสมาชิก

ก่อนที่โครงการจะเข้าไปสนับสนุน กลุ่มมีการเรียนรู้เรื่องการผลิตปัจจัยหนุนเสริมอยู่ก่อนแล้ว เพียงแค่ขาดความชำนาญ ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินผล เมื่อโครงการเข้าไปสนับสนุนเท่ากับเป็นการเสริมแรงให้กลุ่มมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง และสามารถขยายผลไปสู่การปฏิบัติจริงจริง

การเรียนรู้ในกระบวนการขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะหากสมาชิกไม่สามารถผลิตปัจจัยที่หนุนเสริมการผลิตที่ปลอดภัยได้ก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะใช้วัสดุเคมีในการดูแลบำรุงรักษาต้นข้าวได้และสามารถเรียนรู้พัฒนายกระดับการผลิตข้าวปลอดภัยที่มีคุณภาพ

4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เกิดการผลิตข้าวที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นและส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1. สามารถมีพื้นที่ผลิตข้าวปลอดภัยได้อย่างน้อย 100 ไร่ 2. มีครัวเรือนที่ได้บริโภคข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100 ครัวเรือน
0.00

1.มีพื้นที่การผลิตข้าวที่ปลอดภัยของกลุ่มรวม149ไร่ ได้ผลผลิตข้าวจำนวน300กก./ไร่
2.ผลผลิตข้าวแยกออกเป็น2ส่วนคือข้าวนาปีที่เป็นข้าวสังหยดเน้นการจำหน่ายซึ่งตลาดส่วนฝหญ่อยู่นอกชุมชนเพราะมีราคาสูงส่วนข้าวนาปรังซึ่งเป็นข้าวขาวเน้นการบริโภคในครัวเรือนและขายในพื้นที่คิดเป็นร้อยละ90ของปริมาณข้าวทั้งหมด

เกษตรกรมีการแปรรูปด้้วยการสีโดยโรงสียังเป็นของเอกชนในพื้นที่ กลุ่มคนที่กินข้าวนิยมกินข้าวขาวเพราะราคาถูก มีการขายกันเองในเขตชุมชน ตำบล มีการวางขายตามตลาดนัดในชุมชนและการซื้อขายกันในเครือญาติและคนที่สนิท

กลุ่มมีแนวโน้้มที่จะสามารถเพิ่มพื้นที่การผลิตได้่พิ่มขึ้นในอนาคต และสามารุเพิ่มสมาชิกในกลุ่มเพื่อเรียนรู้การผลิตข้าวปลอดภัยในชุมชนรวมทั้งการหนุนเสริมเชิงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพะยกระดับการทำนาให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพและการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร

5 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1. มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 2. ร่วมกิจกรรมทุกครั้งตามที่หน่วยจัดการกำหนด
0.00

มีการบริหารจัดการงบประมาณที่โครงการสนับสนุนได้และสามารถตรวจสอบได้

กลุ่มมีการพูดคุยเรื่องการเงินของกลุ่มในการประชุมทุกครั้ง สามารถชี้แจงให้สมาชิกรับรู้ได้ มีการจัดทำเอกสารประกอบการใช้จ่ายของงบฯมราสนับสนุนได้ และมีประสิทธิภาพ

กรรมการกลุ่มรับรู้การใช้จายและการจัดการการเงินของกลุ่ม เป็นที่ยอมรับร่วมกันของสมาชิกและเกิดความไว้วางใจกันภายในกลุ่ม