directions_run

เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 63001690004
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 107,650.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มนาอินทรีย์สภาชุมชนตะโหมด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโกวิทย์ สักหวาน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.289569,100.052181place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 10 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 43,060.00
2 1 พ.ย. 2563 28 ก.พ. 2564 1 พ.ย. 2563 30 ก.ย. 2564 53,825.00
3 1 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564 10,765.00
รวมงบประมาณ 107,650.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนตะโหมดเป็นชุมชนที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลตะโหมดและเทศบาลเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ทั้งหมด13 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเล็กๆ ชุมชนตะโหมด มีครัวเรือนที่อาศัยอยู่จำนวน 1,512 หลังคาเรือนมีประชากรทั้งหมดจำนวน…4,396..คน อาชีพของคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้มีการทำนาเพื่อเลี้ยงบริโภคในครัวเรือน ชุมชนบ้านตะโหมดมีเนื้อที่การเกษตรทั้งหมด7,515ไร่ ที่เป็นนาข้าวประมาณ 900ไร่ทั้งหมดทำนาเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนลักษณะการทำนาส่วนใหญ่เป็นการทำนาปีและนาปลังบ้างเล็กน้อย ในรอบปีที่ผ่านมาสามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตประมาณ…24,100…..กิโลกรัม จากเนื้อที่ทำนาทั้งหมดของชุมชนมีการผลิตข้าวส่วนใหญ่เป็นการปลูกโดยใช้สารเคมีผสมอยู่ มีเนื้อที่ที่สามารถปลูกข้าวโดยกระบวนการอินทรีย์ประมาณ……100……ไร่จากเนื้อที่ปลูกข้าวทั้งหมดซึ่งทางกลุ่มเองพยายามส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวโดยการใช้สารอินทรีย์ในการผลิตเพื่อให้มีบริโภคที่ปลอดภัยของคนในชุมชนโดยการรวมตัวของกลุ่มคนที่ทำนาในพื้นที่จำนวน…42……คนใช่วงระยะเวลา2ปีที่ผ่านมาแต่ก็ยังไม่สามารถส่งเสริมให้มีการผลิตโดยการใช้สารอินทรีย์ได้ทั้งหมดอันมีสาเหตุมาจาก 1เกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อของคนที่ยังเชื่อว่าการปลูกโดยการใช้สารเคมีเป็นตัวช่วยนั้นสามารถให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกโดยการใช้สารอินทรีย์เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตโดยการใช้สารอินทรีย์ ขาดความตระหนักต่อผลกระทบที่เกิดจากการกินข้าวที่มีสารเคมีเจือปน อีกทั้งการที่ไม่นิยมบริโภคข้าวที่เกิดจากกระบวนการผลิตโดยการใช้สารอินทรีย์เพราะเห็นว่าข้าวสารมีราคาที่แพงและการหามาซึ่งการกินนั้นไม่เพียงพอรวมทั้งความคิดที่เชื่อว่าการทำงานอื่นที่ให้ได้มาเป็นเงินแล้วนำเงินนั้นไปซื้อข้าวสารกินดีกว่าลงมือเพาะปลูกข้าวเอง 2เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่คนทำนาไม่มีที่นาเป็นของตัวเองต้องเช่านาเพื่อการเพาะปลูกข้าวรวมทั้งการขาดแรงงานและทุนการทำนาการทำนามักเป็นห้าที่ของคนสูงวัยในขณะที่คนหนุ่มสาวิยมทำงานอื่นมากกว่าอีกทั้งการง่ายต่อการเข้าถึงปัจจัยการผลิตการทำนาที่เป็นสารเคมีเพราะชุมชนไม่ห่างไกลกับแหล่งจำหน่ายสารเคมีหรือปุ๋ยเคมีมากนักทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงปัจจัยเหล่านี้ 3เกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีการเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเพื่อไปทำเป็นสวนยางพาราหรือแบ่งที่ดินเพื่อขายซึ่งคุ้มค่ากว่า ปัญหาที่เกิดจากการทำการเกษตรพื้นที่รอบๆที่มีการใช้สารเคมีกันอย่างแพร่หลายอีกทั้งการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคคัวเรือนและในชุมชน จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้นที่กลุ่มได้ร่วมกันวิเคราะห์แล้วพบว่าส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆของชุมชนคือ 1ผลกระทบต่อด้านสังคม ทำให้คนมีเวลาในการทำกิจกรรมของชุมชนน้อยลงเพราะวิถีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำนานั้นน้อยลงไปส่งผลต่อวัฒนธรรมที่ดีงามเช่นการออกปากดำนา เก็บข้าว หาบข้าวเกือบหายไปด้วย อีกทั้งคนรุ่นหลังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำนา 2ผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม คือทำให้ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกนั้นปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีรวมทั้งแหล่งน้ำที่ใช้การทำการเกษตรนั้นมีการปนเปื้อนด้วยสารเคมี ระบบนิเวศน์ของชุมชนนั้นเปลี่ยนแปลงไปเพราะการการถมที่นาเพื่อการเกษตรอย่างอื่นและการสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์เดิมหายไปด้วยสัตว์น้ำที่เคยมีเป็นแหล่งอาหารของชุมชนก็ลดหายไปด้วย 3ผลกระทบต่อด้านสุขภาพ คือจากการเก็บข้อมูลของรพ.สต.บ้านคะโหมด พบว่ามีคนชุมชนที่ป่วยเป็นโรคความดันจำนวน385….คน มีคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน…141..คนและมีคนที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจำนวน…323..คน 4ผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจของชุมชนพบว่าครัวเรือนที่มีการทำนาต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีต่างๆเพื่อการเพาะปลูกข้าวจำนวน 500,000.บาทต่อปี มีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจ้างแรงงานการทำนาจำนวน……100,000.…บาทต่อปีและคนชุมชนต้องซื้อข้าวสารจากพ่อค้าคนกลางในตลาดจำนวน3,000,000บาทต่อปี จากการวิเคราะห์ร่วมกันของสมาชิกในกลุ่มจึงมีความเห็นพ้องร่วมกันการที่จะสร้างการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกของกลุ่มและคนในชุมชนร่วมกันในการทำนาข้าวไว้เพื่อเพิ่มพื้นที่การปลูกข้าวและการบริโภคที่ปลอดภัยการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีดั้งเดิมของชุมชนให้คงไว้อยู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนรวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  1. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
  2. ผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อชุมชน
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการเรียนรู้และให้เกิดความตระหนักต่อการผลิตและบริโภคที่ปลอดภัยของสมาชิกและคนในชุมชน
  1. มีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและผลกระทบที่เกิดจากผลิตและบริโภค
  2. มีคนมาร่วมเรียนรู้และเข้าใจต่อผลกระทบต่อการบริโภคได้อย่างน้อย 80 คน
  3. ผู้ร่วมโครงการสามารถออกแบบและสร้างแผนการปลูกข้าวปลอดภัยได้
0.00
2 เพื่อร่วมกันสร้างกติกาและกลไกหนุนเสริมการผลิตข้าวที่ปลอดภัยในชุมชน
  1. มีกติกาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของสมาชิก
  2. มีกลไกการทำงานและกลไกการติดตามการทำงานของกลุ่ม
  3. มีแปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของสมาชิกและชุมชนอย่างน้อย 3 แปลง
0.00
3 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและปัจจัยหนุนเสริมการผลิตที่ปลอดภัย
  1. สามารถผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตได้อย่างน้อย 3 อย่าง
  2. สามารถนำปัจจัยหนุนเสริมการผลิตที่ปลอดภัยไปใช้ได้เต็มพื้นที่
0.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เกิดการผลิตข้าวที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นและส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือน
  1. สามารถมีพื้นที่ผลิตข้าวปลอดภัยได้อย่างน้อย 100 ไร่
  2. มีครัวเรือนที่ได้บริโภคข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 100 ครัวเรือน
0.00
5 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
  1. มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  2. ร่วมกิจกรรมทุกครั้งตามที่หน่วยจัดการกำหนด
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 142
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง 100 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก 42 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 600 107,650.00 33 106,126.00
20 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมบริหารจัดการ(กิจกรรมปฐมนิเทศน์) 3 8,000.00 1,000.00
25 มิ.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 1 20 1,300.00 1,300.00
5 ก.ค. 63 จัดทำฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 20 4,000.00 4,000.00
7 ก.ค. 63 กิจกรรมบริหารจัดการ(จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.) 0 0.00 976.00
25 ก.ค. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 2 20 1,300.00 1,300.00
7 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่1 30 3,350.00 3,350.00
15 ส.ค. 63 เวทีเรียนรู้การทำแผนการปลูก 20 3,200.00 3,200.00
25 ส.ค. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 3 20 1,300.00 1,300.00
25 ก.ย. 63 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 4 20 1,300.00 1,300.00
30 ก.ย. 63 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิตครั้งที่1 20 14,300.00 14,300.00
7 ต.ค. 63 กิจกรรมบริหารจัดการ(ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการและภาคียุทธสาสตร์) 2 0.00 1,000.00
21 ต.ค. 63 อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่2 30 3,350.00 3,350.00
30 ต.ค. 63 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิตครั้งที่2 20 14,300.00 14,300.00
5 พ.ย. 63 ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงข้าวและคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบครั้งที่ 1 10 1,800.00 1,800.00
24 ม.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 5 20 1,300.00 1,300.00
30 ม.ค. 64 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1 20 3,200.00 3,200.00
9 ก.พ. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 6 20 1,300.00 1,300.00
13 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่3 30 3,350.00 3,350.00
20 มี.ค. 64 ประเมินผลร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่ 1(กิจกรรมบริหารจัดการ) 4 0.00 1,000.00
8 เม.ย. 64 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ละพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 20 3,200.00 3,200.00
10 เม.ย. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 7 20 1,300.00 1,300.00
25 พ.ค. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 8 20 1,300.00 1,300.00
8 มิ.ย. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 9 20 1,300.00 1,300.00
12 มิ.ย. 64 กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ละพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 3 20 3,200.00 3,200.00
20 มิ.ย. 64 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 10 20 1,300.00 1,300.00
24 มิ.ย. 64 กิจกรรมคืนข้อมูล/สรุปการดำเนินงานโครงการ 80 6,600.00 6,600.00
27 มิ.ย. 64 เวทีเรียนรู้นำเสนออัตลักษณ์ของข้าวบ้านตะโหมด 20 5,600.00 5,600.00
21 ก.ค. 64 กิจกรรมทำสื่อประชาสัมพันธ์ 0 6,500.00 6,500.00
19 ส.ค. 64 ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงข้าวและคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบครั้งที่3 10 1,800.00 1,800.00
28 ส.ค. 64 กิจกรรมเวทีสังเคราะห์บทเรียนการทำงาน 30 7,100.00 7,100.00
31 ส.ค. 64 จัดทำรายงานในระบบรายงาน 1 0.00 2,000.00
13 ก.ย. 64 ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงข้าวและคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบครั้งที่2 10 1,800.00 1,800.00
30 ก.ย. 64 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการเรียนรู้และเกิดความตระหนักต่อการผลิตและบริโภคที่ปลอดภัย
  2. เกิดกติกาและกลไกหนุนเสริมการผลิตข้าวที่ปลอดภัย
  3. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมและเกิดปัจจัยหนุนเสริมการผลิต
  4. เกิดการผลิตข้าวและบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือน
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 14:08 น.