directions_run

เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมบริหารจัดการ(กิจกรรมปฐมนิเทศน์) 20 มิ.ย. 2563 20 มิ.ย. 2563

 

เวลา 08.00-08.30น.  ลงทะเบียน และสแกนกลุ่มเป้าหมายตามมาตราการป้องกันไวรัส โควิด19 เวลา 08.30-08.45น.  เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) เวลา 08.45-09.00น.  ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม (นายไพฑูรย์ ทองสม) เวลา 09.00-09.30น.  คลี่บันไดผลลัพธ์ องค์ประกอบบันไดผลลัพธ์และภาคีร่วมดำเนินการ (นายอรุณ ศรีสุวรรณ) เวลา 09.30-10.15น.  แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ร่วมกันทบทวน ปรับปรุงบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย เวลา 10.15-10.45น.  การออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ (นายไพฑูรย์ ทองสม) เวลา 10.45-11.30น.  พักเบรก รับประทานอาหารว่าง เวลา 11.30-12.00น.  แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการ/พี่เลี้ยง ช่วยกันออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโครงการย่อย เวลา 12.00-13.00น.  พัก รับประทานอาหารเที่ยง เวลา 13.00-13.20น.  การออกแบบแผนดำเนินงานโครงการ (นายเสณี จ่าวิสูตร) เวลา 13.20-14.00น.  แล่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการย่อย เวลา 14.20-15.00น.  การบริหารจัดการ การเงิน (นางสาวจุรี หนูผุด/นายจำรัส รัตนอุบล) เวลา 15.00-15.20น  สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (นายสมนึก นุ่มดวง) เวลา 15.20-15.30น.  พักเบรก อาหารว่าง เวลา 15.30-16.30น.  การเขียนรายงานผ่านระบบHappy Network (นายไพฑูรย์ ทองสม)

 

1.มีกรรมการกลุ่มร่วมกิจกรรมจำนวน 4 คน 2.ได้เรียนรู้หลักการเป้าหมายการทำงานเพื่อการทำงานสู่เป้าหมายร่วมกับพื้นที่โครงการอื่น 3.ได้เรียนรู้เงื่อนไขการบริหารจัดการโครงการ 4.ได้เรียนรู้การเขียนรายงานในระบบ 5.ได้เรียนรู้เครื่องมือการทำงานโครงการที่นำไปสู่ความสำเร็จ

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 1 25 มิ.ย. 2563 10 ก.ค. 2563

 

  • เวลา 10.00 น. สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านตะโหมด มาลงทะเบียนโดยพร้อมเพรียงกัน
  • นายโกวิทย์ สักหวาน ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ชี้แจ้งถึงที่มาของ โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด ให้สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ฯ ได้รับทราบความเป็นมา พร้อมทั้งรายละเอียดโครงการฯ
  • นายอรุณ ศรีสุวรรณ (พี่เลี้ยง สสส.) ได้อธิบายให้สมาชิกกลุ่มฯ ได้รู้จักกับหน่วยงาน สสส. ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการทำโครงการฯ และโครงการพัทลุง Green City
  • สมาชิกกลุ่มฯ ร่วมกันกำหนดกติกา
  • สมาชิกกลุ่มฯ ร่วมกันคัดเลือกคณะทำงานโครงการฯ จากสมาชิกกลุ่มฯ
  • สมาชิกร่วมกันออกความคิดเห็นถึงกิจกรรมที่จะทำในครั้งต่อไป

 

  • สมาชิกกลุ่มฯ ได้รับทราบถึงความเป็นมาของโครงการฯ รวมถึงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการฯ
  • ได้คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 10 คน
  • ได้กติกากลุ่มฯ
  1. สมาชิกทุกคนต้องไม่ใช้สารเคมีในการทำนาข้าว
  2. เวลาลงมติต้องใช้เสียงข้างมากในที่ประชุม กรณีที่เสียงเท่ากันให้ "ประธาน" เป็นคนตัดสิน
  3. สมาชิกสามารถขาดประชุมได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
  4. หัวหน้าโซนแต่ละโซนต้องรับผิดชอบลูกทีมที่ได้รับมอบหมาย
  5. สมาชิกต้องให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มฯ

- ได้แผนงานที่จะดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป

 

จัดทำฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 5 ก.ค. 2563 17 ก.ค. 2563

 

  1. จัดเก็บข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา
  2. จัดทำแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด
  3. คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการทำนาของคนในชุมชน
  4. เก็บรวบรวมข้อมูล
  5. นำข้อมูลที่ได้นำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลโครงการ

 

  1. ได้ข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคเพิ่มเติม ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา
  2. ได้รับรู้ถึงปัญหา/อุปสรรคเกี่ยวกับการทำนา
  3. ได้ฐานข้อมูลของกลุ่มคนทำนาจาก 100 คน

 

กิจกรรมบริหารจัดการ(จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.) 7 ก.ค. 2563 9 ก.ค. 2563

 

  • ได้จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม

 

  • ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2 แผ่น
  • ได้ป้ายชื่อโครงการ ที่มีสัญญลักษณ์สสส.

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 2 25 ก.ค. 2563 4 ส.ค. 2563

 

เวลา 13.00 น. เริ่มประชุม... คณะกรรมการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินกิจกรรมระยะเร่งด่วนในการทำนาข้าว เรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ทันกับฤดูกาลทำนาปี 2563/2564 และเรื่องการเตรียมวิทยากรจากศูนย์วิจัยข้าวมาบรรยายให้ความรู้เรื่องของการเตรียมดิน การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว

 

  1. ได้กำหนดวันเวลาและสถานที่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
  2. ได้วิทยากรมาบรรยายในกิจกรรมอบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่ 1 ซึ่งจะเป็นกิจกรรมต่อไปจากนี้
  3. ได้แผนงานที่จะดำเนินตามกิจกรรมโครงการ

 

อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่1 7 ส.ค. 2563 6 ส.ค. 2563

 

เวลา 09.30 น. สมาชิกลงทะเบียน ณ.ศาลาตลาดต้นไทร หมู่ที่ 3 ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เวลา 10.00 น. เริ่มการประชุม โดยนายโกวิทย์ สักหวานพูดคุยถึงกิจกรรมที่ 4 ของวันนี้คือ กิจกรรมอบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัย ครั้งที่1 พร้อมกับแนะนำวิทยากรจากศูนย์วิจัยพัทลุง ซึ่งเป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้
เรื่องที่บรรยายคือ 1)เรื่องการเตรียมดิน 2)การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว และให้สมาชิกซักถามถึงเรื่องที่สงสัย หรือเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ หลังจากวิทยากรบรรยายเสร็จ นายอรุณ ศรีสุวรรณก็ได้แนะนำตัวให้สมาชิกรู้จักและพูดคุยเกี่ยวกับโครงการที่กำลังจะดำเนินการต่อไป

 

  1. สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจเรื่องขั้นตอนระยะของการเตรียมดินก่อนปลูก
  2. สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้สำหรับจะนำมาปลูกในปีต่อไป
  3. สมาชิกเกิดความตระหนักและเห็นพ้องต้องกันในการทำนาข้าวใช้พันธุ็ข้าวเดียวกันทั้งกลุ่มฯ
  4. สมาชิกทุกคนได้รับทราบแผนงานกิจกรรมครั้งต่อไป

 

เวทีเรียนรู้การทำแผนการปลูก 15 ส.ค. 2563 19 ก.ย. 2563

 

  • กิจกรรมเริ่มเวลา 13.00 น. ถึง เวลา 15.00 น.
  • มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 23 คน
  • สมาชิกกลุ่มฯ ได้กำหนดแผนการปลูกข้าวนาปี
  • แลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่ม

 

การจัดการบริหารการปลูกข้าวทั้งระบบซึ่งประกอบด้วย -การเตรียมพื้นที่ -การเตรียมต้นพันธุ์เพาะปลูก -การดูแลรักษา -การควบคุมน้ำ -การปราบศัตรูพืช -การเก็บเกี่ยว

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 3 25 ส.ค. 2563 31 ส.ค. 2563

 

1.จัดกิจกรรมประชุมประจำเดือนสิงหาคม2563 2.เพื่อทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา 3.คณะกรรมการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงข้อคิดเห็นข้อดีข้อเสียของกิจกรรม 4.เพื่อจะได้ข้อผิดพลาดไปปรับปรุงในครั้งต่อไป

 

1.ข้อมูลชุดสำรวจนาจัดทำเป็นฐานข้อมูลโครงการ 2.วางแผนกิจกรรมการดูแลรักษาข้าว 3 กันยายน 2563 การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา 3.การจดบันทึก แผนการปลูก วันเดือนปี (ไถดะ แปร คราด เพาะกล้า ปลูกข้าว) 4.แผนงานกิจกรรมต่อไป 3 กันยายน 2563 ผลิตเชื้อป้องกันโรครา โรคเน่า (Trichoderma)

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 4 25 ก.ย. 2563 3 พ.ย. 2563

 

  • สมาชิกร่วมกันพูดคุยถึงปัญหา/อุปสรรค ในการทำนาข้าวอินทรีย์
  • สมาชิกร่วมกันคัดเลือกกรรมการลงตรวจแปลงนาข้าวอินทรีย์ของสมาชิก จำนวน 10 คน
  • กำหนดรายละเอียดของการลงตรวจแปลงนาข้าวอินทรีย์

 

  • ได้ตัวแทนสมาชิกลงตรวจแปลงนาข้าวอินทรีย์ จำนวน 10 คน
  • สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนาข้าว

 

อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิตครั้งที่1 30 ก.ย. 2563 17 ส.ค. 2563

 

  1. กิจกรรมผลิตปุ๋ยหมัก ส่วนประกอบ

- ขี้ไก่
- รำละเอียด
- หินฟอสเฟต
- ปูนขาว - สารเร่ง พ.ด 1 - กากน้ำตาล - EM - น้ำ วิธีทำ - ใช้วิธีทำปุ๋ยหมักโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน - นำวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันเมื่อส่วนผสมเข้ากันได้ดีแล้ว นำปุ๋ยหมักมากำในมือ เมื่อกำแล้วลักษณะปุ๋ยหมักหมาด ๆ แสดงว่าใช้ได้ นำปุ๋ยหมักตักใส่กระสอบ โดยให้สมาชิกนำปุ๋ยหมักไปพลิกกลับกระสอบเองที่บ้าน หมักทิ้งไว้ 1 เดือนก็สามารถนำปุ๋ยหมักไปใช้ในนาข้าวได้ 2. กิจกรรมผลิตสารปราบศัตรูพืช ไล่แมลง หนอนในนาข้าว ส่วนประกอบ อัตราส่วน - กากน้ำตาล 1 ส่วน - เหล้าขาว 2 ส่วน - น้ำส้มสายชู 1 ส่วน - คลอโรฟิลล์ 1 ส่วน วิธีทำ : น้ำส่วนผสมทั้งหมดในอัตราส่วนที่บอกข้างต้นเทผสมใส่ภาชนะ แล้วใช้ไม้คนให้เข้ากัน จากหลังนั้นปิดฝาหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก็สามารถนำมาใช้ได้ วิธีใช้ :ใช้ 4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง หรือขึ้นอยู่กับการระบาดของแมลงและหนอน ประโยชน์ :ใฃ้ปราบศัตรูพืช ไล่แมลง หนอนในนาข้าว

  1. กิจกรรมทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย ส่วนผสม

- หน่อกล้วย เอาพร้อมราก เง้า ของหน่อกล้วย สูงไม่เกิน 1 เมตร 3 กิโลกรัม - กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม - สารเร่ง พ.ด 2 1 ซอง - น้ำ 5 ลิตร วิธีทำ : นำหน่อกล้วยที่ได้มาหั่นเป็นแว่นบางๆ ตำหรือบดให้ละเอียด จำนวน 3 กิโลกรัม นำมาคลุกกับกากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำใส่ถัง หมักไว้ 7 วัน คนทุกวัน เช้า - เย็น พอถึง 7 วัน นำมาคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ ใส่ถังปิดฝาให้สนิท-เก็บได้นาน วิธีใช้ :ใช้ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร อาทิตย์ละครั้ง ฉีดพ่นตอนช่วงเช้าขณะใบข้าวเปิดปากใบ ประโยชน์ :ใช้ปรับปรุงดิน ป้องกันกำจัดศัตรูพืช, ใช้ในการขยายจุลินทรีย์ต่าง ๆ

 

  1. สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนากลุ่ม
  2. สมาชิกได้เรียนรู้และปฎิบัติผลิตปัจจัยหนุนเสริมได้ 3 อย่างคือ สารไล่แมลงปราบศัตรูพืช น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย และปุ๋ยหมัก
  3. สมาชิกเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นปัจจัยหนุนเสริมในการทำงานระบบกลุ่มในระยะต่อ ๆ ไป
  4. สมาชิกลดต้นทุนในการผลิตปัจจัยหนุนเสริมในการทำนาข้าว สร้างความสุขในครอบครัว
  5. สมาชิกได้ปุ๋ยหมักคนละ 250 กิโลกรัม มีน้ำหมักชีวภาพ และมีสารกำจัดศัตรูพืชใช้ในการทำนาปี 2563/2564

 

กิจกรรมบริหารจัดการ(ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการและภาคียุทธสาสตร์) 7 ต.ค. 2563 7 ต.ค. 2563

 

08.30-09.00น. ลงทะเบียน 09.00-09.10น. กิจกรรมสันทนาการ(ไพลิน+พื้นที่โครงการชุมชนน่าอยู่) 09.10-09.20น. เปิดกล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรม(นายทวี เสนแก้ว ตัวแทนพื้นที่ดำเนินการชุมชนน่าอยู่) 09.20-09.45น.ทำความรู้จักชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ผ่านสื่อวิดีทัศน์ 09.45-11.00น. นำเสนอผลลัพธ์ชุดโครงการชุมชน่าอยู่ใน 8ประเด็น+สภาผู้นำ/สลับการแสดงความเห็นจากภาคีร่วมฯ -ประเด็นการจัดการขยะ+ประเด็นเศรษฐกิจ(นัฐพงค์) -ประเด็นลดละเลิกบุหรี่+ประเด็นลดอุบัติเหตุ(สมนึก) -ประเด็นบริโภคผัก+ประเด็นลดสารเคมีการเกษตร(ถาวร) -ประเด็นกิจกรรมทางกาย+ประเด็นทรัพยากร(ประเทือง) -ประเด็นสภาผู้นำ(ไพฑูรย์) 11.00-12.00น. ทำความรู้จักยุทธศาสตร์พัทลุงกรีนซิตีและการดำเนินที่ผ่านมาภายใต้ชุดโครงการNFS(ไพฑูรย์)/ตัวแทนภาคีนำเสนอวิสัยทัศน์แนวทางการทำงานสู่พัทลุงกรีนซิตี้ 12.00-13.00น. พักรับประทานอาหาร 13.00-13.15น. กิจกรรมสันทนาการ(ไพลิน+พื้นที่ ร.ร.ขยะตำบลชะรัด) 13.15-14.30น. แบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นดำเนินการโครงการNFS(พื้นที่ดำเนินการประเด็น+ภาคีร่วม+ชุมชนน่าอยู่)ภายใต้โจทย์ เราจะมีแนวทางทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อมุ่งไปสู่พัทลุงกรีนซิตี(ไพฑูรย์) 14.30-15.30น. นำเสนอแนวทางสร้างความร่วมมือการทำงานร่วมกันตามประเด็นโดยตัวแทนกลุ่มประเด็น 15.30-16.00น. สรุปผลภาพรวม(สมนึก)

 

ผลผลิตคือ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน3คน ผลลัพธ์คือ 1.ได้ร่วมเรียนรู้การทำงานชุดโครงการชุมชนน่าอยู่และพื้นที่โครงการอื่นภายใต้ชุดโครงการเดียวกัน 2.ได้เรียนรู้การจัดเวทีที่เน้นการเรียนรู้เชิงผลลัพธ์

 

อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่2 21 ต.ค. 2563 26 ธ.ค. 2563

 

  • สมาชิกกลุ่มฯ ช่วยกันหุงข้าวและตักข้าวที่หุงร้อน ๆ ใส่ถุง
  • สมาชิกกลุ่มฯ ร่วมกันผลิตขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า เพื่อใช้ป้องกันโรคใบไหม้ในนาข้าว วัสดุอุปกรณ์ 1.หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 2.ข้าวสาร 3.น้ำสะอาด 4.ยางวง 5.เข็มหมุด 6.หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 7.ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา
  1. หุงข้าวใช้ข้าวสาร 3 ส่วน และน้ำ 2 ส่วน กดสวิตซ์ จากนั้นเมื่อหม้อข้าวดีดให้ถอดปลั๊กทันที จะได้ข้าวกึ่งสุกกึ่งดิบ ลักษณะเมล็ดข้าวข้างนอกเมล็ดปริ ส่วนข้างในเป็นไตสีขาว ซุยข้าวให้เมล็ดข้าวร่วน หรือใช้ลังถึงนึ่ง โดยการแช่ข้าว 30 นาที และผึ่งข้าว 30 นาที จากนั้นนึ่งโดยนับจากหลังน้ำเดือนไม่น้อยกว่า 30 นาที
  2. ตักข้าวใส่ถุง ขณะยังร้อน ถุงละ ½ กิโลกรัมพับปากถุงลงด้านล่าง ทิ้งไว้ให้ข้าวอุ่น
  3. ใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา หากเป็นหัวเชื้อน้ำ ใช้ประมาณ 5 หยด หรือเป็นหัวเชื้อแห้ง ใช้ 4 – 5 เหยาะ
  4. รัดยางตรงปากถุงให้แน่นโดยให้มีพื้นที่ว่างในถุงมากกว่าพื้นที่ใส่ข้าว
  5. เขย่าหัวเชื้อให้กระจายทั่วเมล็ดข้าว
  6. เจาะรูใต้ยางที่มัดถุง โดยใช้เข็มสะอาดเจาะประมาณ 30 รู
  7. วางถุงข้าวในลักษณะแบนราบให้ข้าวแผ่กระจายทั่วถุง และไม่วางถุงข้าวซ้อนทับกัน ควรวางบริเวณที่มีแสงสว่าง อากาศถ่ายเท ไม่มีมดและสัตว์อื่น ๆ ประมาณ 5 – 7 วันเชื้อราจะเจริญปกคลุมเมล็ดข้าว

 

  • สมาชิกกลุ่มฯ ได้มีความรู้ และการมีส่วนร่วม
  • สมาชิกกลุ่มฯ ได้รู้จักเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
  • ได้รู้ถึงวัตถุดิบและขั้นตอนการผลิต การขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
  • ได้รู้จักขั้นตอนการดูแลรักษาตลอดระยะเวลาจะนำไปใช้ในนาข้าว
  • สมาชิกกลุ่มฯ ได้ลดต้นทุนในการซื้อสารเคมี

 

อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิตครั้งที่2 30 ต.ค. 2563 23 ต.ค. 2563

 

  1. กิจกรรมผลิตปุ๋ยหมัก ส่วนประกอบ

- ขี้ไก่
- รำละเอียด
- หินฟอสเฟต
- ปูนขาว - สารเร่ง พ.ด 1 - กากน้ำตาล - EM - น้ำ วิธีทำ - ใช้วิธีทำปุ๋ยหมักโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน - นำวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันเมื่อส่วนผสมเข้ากันได้ดีแล้ว นำปุ๋ยหมักมากำในมือ เมื่อกำแล้วลักษณะปุ๋ยหมักหมาด ๆ แสดงว่าใช้ได้ นำปุ๋ยหมักตักใส่กระสอบ โดยให้สมาชิกนำปุ๋ยหมักไปพลิกกลับกระสอบเองที่บ้าน หมักทิ้งไว้ 1 เดือนก็สามารถนำปุ๋ยหมักไปใช้ในนาข้าวได้ 2. กิจกรรมผลิตสารปราบศัตรูพืช ไล่แมลง หนอนในนาข้าว ส่วนประกอบ อัตราส่วน - กากน้ำตาล 1 ส่วน - เหล้าขาว 2 ส่วน - น้ำส้มสายชู 1 ส่วน - คลอโรฟิลล์ 1 ส่วน วิธีทำ : น้ำส่วนผสมทั้งหมดในอัตราส่วนที่บอกข้างต้นเทผสมใส่ภาชนะ แล้วใช้ไม้คนให้เข้ากัน จากหลังนั้นปิดฝาหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก็สามารถนำมาใช้ได้ วิธีใช้ :ใช้ 4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง หรือขึ้นอยู่กับการระบาดของแมลงและหนอน ประโยชน์ :ใฃ้ปราบศัตรูพืช ไล่แมลง หนอนในนาข้าว

  1. กิจกรรมทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย ส่วนผสม

- หน่อกล้วย เอาพร้อมราก เง้า ของหน่อกล้วย สูงไม่เกิน 1 เมตร 3 กิโลกรัม - กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม - สารเร่ง พ.ด 2 1 ซอง - น้ำ 5 ลิตร วิธีทำ : นำหน่อกล้วยที่ได้มาหั่นเป็นแว่นบางๆ ตำหรือบดให้ละเอียด จำนวน 3 กิโลกรัม นำมาคลุกกับกากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำใส่ถัง หมักไว้ 7 วัน คนทุกวัน เช้า - เย็น พอถึง 7 วัน นำมาคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ ใส่ถังปิดฝาให้สนิท-เก็บได้นาน วิธีใช้ :ใช้ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร อาทิตย์ละครั้ง ฉีดพ่นตอนช่วงเช้าขณะใบข้าวเปิดปากใบ ประโยชน์ :ใช้ปรับปรุงดิน ป้องกันกำจัดศัตรูพืช, ใช้ในการขยายจุลินทรีย์ต่าง ๆ

 

  1. สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนากลุ่ม
  2. สมาชิกได้เรียนรู้และปฎิบัติผลิตปัจจัยหนุนเสริมได้ 3 อย่างคือ สารไล่แมลงปราบศัตรูพืช น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย และปุ๋ยหมัก
  3. สมาชิกเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นปัจจัยหนุนเสริมในการทำงานระบบกลุ่มในระยะต่อ ๆ ไป
  4. สมาชิกลดต้นทุนในการผลิตปัจจัยหนุนเสริมในการทำนาข้าว สร้างความสุขในครอบครัว
  5. สมาชิกได้ปุ๋ยหมักคนละ 250 กิโลกรัม มีน้ำหมักชีวภาพ และมีสารกำจัดศัตรูพืชใช้ในการทำนาปี 2563/2564

 

ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงข้าวและคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบครั้งที่ 1 5 พ.ย. 2563 13 พ.ย. 2563

 

  1. คณะทำงานและตัวแทนสมาชิกลงเยี่ยมแปลงนา
  2. ช่วยกันคัดเลือกแปลงนาเป็นแปลงนาสำหรับการเรียนรู้

 

  1. มีการทำงานระบบกลุ่ม
  2. ได้แปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของสมาชิกและคนในชุมชน 3 แปลง แปลงต้นแบบได้แก่

- แปลงนาข้าวของนางปิยภรณ์ ชูทอง - แปลงนาข้าวของนายแดง ชนะสิทธิ์ - แปลงนาข้าวของนางสาวปนะธีร์ โอฬารวิจิตรวงศ์

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 5 24 ม.ค. 2564 24 ม.ค. 2564

 

สมาชิกกลุ่มนาอินทรีย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.หาดใหญ่) ปรึกษาหารือเรื่องการแปรรูปพืชสมุนไพรไล่แมลง การจัดหาพืชสมุนไพร เช่น บอระเพ็ด ตะไคร้หอม ข่า หนอนตายหยาก เพื่อนำไปสกัดเป็นน้ำไล่แมลงในนาข้าวและกำหนดวันเพื่อไปศึกษาดูงาน ณ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อไป

 

  1. สมาชิกได้รู้จักชื่อสมุนไพรที่สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำสมุนไพรไล่แมลงในนาข้าวได้
  2. ได้กำหนดวันเวลา ในการไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.หาดใหญ่)
  3. ได้มีการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกสมุนไพร

 

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1 30 ม.ค. 2564 29 พ.ย. 2563

 

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันบอกเล่าถึงปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทำนาข้าว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

 

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงประโยชน์ของข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมมา
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เห็นถึงฐานข้อมูลของกลุ่มในรูปแบบตัวเลขที่ชัดเจน
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เรียนรู้และตระหนักถึงประโยชน์การกินข้าวที่ผลิตด้วยตนเอง
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของดินและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์รู้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 6 9 ก.พ. 2564 9 ก.พ. 2564

 

สมาชิกกลุ่มฯเตรียมความพร้อมเรื่องเอกสารความถูกต้องเพื่อรับการตรวจแปลงนาอินทรีย์จากเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดนครศีรธรรมราชและเตรียมการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวและแปรรูป

 

  1. ได้ความพร้อมเรื่องเอกสารความถูกต้อง
  2. ได้สรุปเรื่องวันเวลาในการจัดกิจกรรมการเก็บเกี่ยวและแปรรูป
  3. ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรค

 

อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวที่ปลอดภัยครั้งที่3 13 ก.พ. 2564 13 ก.พ. 2564

 

1.เรื่องการการเก็บเกี่ยว - นับจากวันออกดอกไปอีก 28-30 วัน เป็นกำหนดวันเก็บเกี่ยวข้าวที่เหมาะสม - ระบายน้ำออกจากแปลง ก่อนถึงกำหนดเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ แปลงนาแห้งสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วยคนหรือเครื่องเกี่ยวข้าวไม่สกปรก และเปียกน้ำ - เก็บเกี่ยวข้าว เมื่อถึงระยะสุกแก่เหมาะสมคือ 28-30 วันหลังออกดอก ให้ทำการเก็บเกี่ยวความชื้นเมล็ดไม่ควรต่ำกว่า 20% การเก็บเกี่ยวข้าวก่อนหรือหลังจากระยะนี้จะทำให้ข้าวสูญเสียน้ำหนักและคุณภาพมากยิ่งขึ้น - หลังจากเก็บเกี่ยวและนวดจะต้องรีบตากหรือลดความชื้นเมล็ดให้แห้ง โดยเร็วที่สุด เพื่อลดอัตราการหายใจของเมล็ด ลดการเกิดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น 2. การแปรูรูป ข้าวสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ ขนมจีน และขนมต่างๆ ในการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ให้มีคุณภาพในการรับประทานเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของผู้บริโภคนั้น จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของเมล็ดข้าวเป็นหลักสำคัญ ปัจจัย ที่มีผลต่อคุณภาพเมล็ดข้าว ได้แก่ปริมาณอมิโลส ความคงตัวของแป้งสุก การสลายเมล็ดในด่าง อัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวต่อข้าวดิบ และปริมาณโปรตีน ปริมาณอมิโลส เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณภาพแตกต่างและมีผลต่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากที่สุด

 

  1. สมาชิกได้ความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวข้่าวและการเก็บรักษาที่ถูกต้อง
  2. สมาชิกได้ความรู้เรื่องการแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากข้าว
  3. สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

 

ประเมินผลร่วมกับหน่วยจัดการครั้งที่ 1(กิจกรรมบริหารจัดการ) 20 มี.ค. 2564 20 มี.ค. 2564

 

ก ำหนดกำรประชุมประเมินผลกำรเรียนรู้เพื่อกำรพัฒนำ ARE “หน่วยจัดกำร Node Flagship พัทลุง” วันที่ 20 มีนำคม 2564 ณ ห้องหอประชุมองค์กำรบริหำรส่วนจังหวัดพัทลุง อ ำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 8.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร ตรวจประเมิน CVD Risk โดยคุณนิรมน ทองค า และทีมสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคสงขลา 09.00 – 09.30 น. กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ โดยคุณไพลิน ทิพย์สังข์ 09.30 – 10.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย คุณไพฑูรย์ ทองสม ผู้จัดการหน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง 10.00 – 11.30 น. แบ่งกลุ่มจ านวน 9 กลุ่ม เพื่อน าเสนอผลการขับเคลื่อนงานของแต่ละพื้นที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยน าเสนอตามบันไดผลลัพธ์ของแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในบันไดขั้นไหน มีข้อมูลอะไรยืนยันว่าถึงบันได ขั้นนี้ กลุ่มที่ 1 ประเด็นสิ่งแวดล้อม (ขยะ1) โครงการขยะเทศบาลต าบลโคกม่วง โครงการขยะ อบต.เขาชัยสน โครงการขยะโรงเรียนประภัสสร โครงการขยะโรงเรียนควนพระสาครินทร์ โครงการขยะต าบลชะรัด วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณณัฐพงษ์ คงสง และ คุณประเทือง อมรวิริยะชัย กลุ่มที่ 2 ประเด็นสิ่งแวดล้อม (ขยะ2) โครงการขยะชุมชนเขาย่า โครงการการจัดการขยะแหล่งท่องเที่ยงอ าเภอกงหรา วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณนราพงษ์ สุกใส กลุ่มที่ 2 ประเด็นสิ่งแวดล้อม (น้ าเสีย) โครงการการจัดการน้ าเสียบ้านส้มตรีดออก โครงการการจัดการน้ าเสียบ้านโคกท้อน วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณอ านวย กลับสว่าง กลุ่มที่ 3 ประเด็นทรัพยากร (การจัดการน้ า) โครงการคลองส้านแดง โครงการคลองนาโอ่ วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณวิยะดา วิเชียรบุตร และ คุณอรุณ ศรีสุวรรณ กลุ่มที่ 4 ประเด็นทรัพยากร (การจัดการป่า) โครงการป่าบ้านควนเลียบ โครงการป่าชุมชนตะแพน วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณถาวร คงศรี กลุ่มที่ 5 ประเด็นทรัพยากร (การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง) โครงการคลฟื้นทะเลสาบสงขลา วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณเบญจวรรณ เพ็งหนู กลุ่มที่ 6 ประเด็นอาหารปลอดภัย (นาปลอดภัย) โครงการนาบ้านโคกแย้ม โครงการนาต าบลตะโหมด โครงการนาต าบลพนางตุง วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณสมนึก นุ่นด้วง กลุ่มที่ 7 ประเด็นอาหารปลอดภัย (ปลูกและบริโภคผักปลอดภัย) โครงการบ้านควนคง โครงการต าบลเขาปู่ โครงการบ้านลอน วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณไพลิน ทิพย์สังข์ และคุณนิรมน ทองค า กลุ่มที่ 8 ประเด็นอาหารปลอดภัย (อาหารโปรตีนปลอดภัย) โครงการปลาดุกบ้านหานโพ โครงการปลาดุกบ้านศาลาไม้ไผ่ โครงการอาหารโปรตีนปลอดภัยบ้านควนสามโพ วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณสายพิณ โปชะดา และ คุณไพฑูรย์ ทองสม กลุ่มที่ 9 ประเด็นอาหารปลอดภัย (ป่าร่วมยาง) โครงการบ้านโคกไทร โครงการป่าร่วมยางบ้านขาม วิทยากรประจ ากลุ่ม คุณจุฑาธิป ชูสง 11.30 – 12.00 น. น าเสนอผลลัพธ์ภาพรวมของแต่ละกลุ่ม โดยตัวแทนกลุ่ม ด าเนินการและเติมเต็มโดยทีมวิชาการ คุณเสนี จ่าวิสูตร 12.00 – 13.00 น. 13.00 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน สันทนาการ 13.30 – 14.30 น. แบงกลุ่มจ านวน 6 กลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบ world café ภายใต้โจทย์แต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1และ 2 ประเด็นการออกแบบเก็บข้อมูลผลลัพธ์ - โครงการของท่านมีการออกแบบและเก็บข้อมูลผลลัพธ์หรือไม่อย่างไร - ท่านเก็บข้อมูลอย่างไร โดยใคร 14.30 – 15.00 น. 15.00 – 15.30 น. 15.30 – 16.00 น. - ท่านวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร - มีปัญหาอุปสรรค์อะไรบ้างที่ต้องการความช่วยเหลือจากทีมกลาง วิทยากรประจ ากลุ่ม 1 คุณณัฐพงษ์ คงสง และ คุณประเทือง อมรวิริยะชัย วิทยากรประจ ากลุ่ม 2 คุณไพลิน ทิพย์สังข์และ คุณนิรมน ทองค า กลุ่มที่ 3 และ 4 ประเด็นการเชื่อมร้อยภาคี - โครงการของท่านมีการเชื่อมภาคีมาร่วมด าเนินโครงการหรือไม่ - ใช่เทคนิควิธีการใดในการเชื่อมภาคี - มีปัญหาอุปสรรค์อะไรบ้างที่ต้องการความช่วยเหลือจากทีมกลาง วิทยากรประจ ากลุ่ม 3 คุณอรุณ ศรีสุวรรณ และ คุณวิยะดา วิเชียรบุตร วิทยากรประจ ากลุ่ม 4 คุณถาวร คงศรี และ คุณอ านวย กลับสว่าง กลุ่มที่ 5 และ 6 ประเด็นการจัดกลไกการด าเนินงาน - โครงการของท่านมีการออกแบบกลไกการด าเนินงานอย่างไร - มีการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างไร - มีการพัฒนาศักยภาพของทีมอย่างไร และต้องการการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมบ้าง หรือไม่ วิทยากรประจ ากลุ่ม 5 คุณสายพิณ โปชะดา และ คุณจุฑาธิป ชูสง วิทยากรประจ ากลุ่ม 6 คุณสมนึก นุ่นด้วง และ คุณนราพงษ์ สุกใส น าเสนอผลการระดมความคิดเห็น ด าเนินการโดย คุณเบณจวรรณ เพ็งหนู เติมเต็ม ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาการด าเนินงานของ Node Flagship พัทลุง โดย นักวิชาการ ส านัก 6 และทีมประเมิน สรุปผลการ ARE และแนวทางการด าเนินงานในระยะต่อไปของโครงการ โดย คุณไพฑูรย์ ทองสม

 

  • สมาชิกเข้าร่วม 4 คน
  • พื้นที่ได้รับการแบ่่งกลุ่มเพื่อนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนร่วมกันจากที่ได้ดำเนินการตามแผนโครงการมาแล้ว มีการทำงานตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3
  • ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการเข้าใจร่วมกันรวมถึงพี่เลี้ยงได้เสนอเน้นกิจกรรมเก็บข้อมูลเพื่อตอบตัวชี้วัดให้ได้

 

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ละพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 8 เม.ย. 2564 8 เม.ย. 2564

 

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันบอกเล่าถึงปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทำนาข้าว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

 

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงประโยชน์ของข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมมา
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เห็นถึงฐานข้อมูลของกลุ่มในรูปแบบตัวเลขที่ชัดเจน
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เรียนรู้และตระหนักถึงประโยชน์การกินข้าวที่ผลิตด้วยตนเอง
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของดินและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์รู้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 7 10 เม.ย. 2564 10 เม.ย. 2564

 

• สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้พูดคุยถึงกำหนดการฤดูกาลทำนาปรัง • สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้พูดคุยถึงพันธุ์ข้าวที่จะใช้ เช่น หอมปทุม /กข. 79/ กข.43 • สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้พูดคุยเรื่องผลผลิตที่ได้รับจากการทำนาปีครั้งที่ผ่านมา • สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้พูดคุยถึงเรื่องการทำปุ๋ยหมัก วันเวลาที่จะทำในรอบถัดไป • สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้พูดคุยกันถึงปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขในกระบวนการทำนาที่ผ่านมา

 

• สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ และช่วยกันออกความคิดเห็นแก้ไขปัญหาการทำนาข้าว • สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้แผนการปลูกในการทำนาปรัง • สมาชิกและคณะทำงานกลุ่มฯ ได้กำหนดวันเวลาการทำปุ๋ยหมัก

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 8 25 พ.ค. 2564 25 พ.ค. 2564

 

การวางแผนงานตามโครงการฯ หลังสถานการณ์โควิด-19 รอบที่ 3 คลีคลาย... ประชุมคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์สภาชุมชนบ้านตะโหมดเพื่อปรึกษาหารือแผนงานที่ยังคงเหลือ ก่อนที่จะปิดโครงการ นายโกวิทย์ สักหวานประธานกลุ่มฯ ได้มาชี้แจงสร้างความเข้าใจถึงงบประมาณที่หน่วยงาน พอช. สนับสนุนปี 2564 และนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลตะโหมด นายสันติ ไชยลึก มาพบปะกับสมาชิกกลุ่มฯ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลตะโหมด

 

  1. ได้แนวทางในการใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ ตามกำหนดระยะเวลาที่คงเหลือ
  2. ได้แผนงานที่จะทำกิจกรรมตามโครงการ
  3. สมาชิกได้รับทราบโครงการที่ พอช. สนับสนุน เรื่องการเชื่อมโยงธุรกิจชุมชนการแปรรูปข้่าว
  4. สมาชิกได้ทราบถึงนโยบายของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลตะโหมดคนใหม่ที่มีแนวทางในการส่งเสริมผลิตอาหารปลอดภัยของชุมชน

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 9 8 มิ.ย. 2564 8 มิ.ย. 2564

 

จัดประชุมคณะทำงานและสมาชิกเพื่อการเรียนรู้แผนธุรกิจเพื่อชุมชน (ข้าว) ให้กับสมาชิกที่สนใจ ประเด็นข้าวที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน

 

  1. สมาชิกเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่มนาทำอินทรีย์ด้านต่าง ๆ เช่น ยกระดับความรู้, ทักษะ, เครือข่าย, การประกอบการแบบมีแผน
  2. ได้แผนธุรกิจ จำนวน 1 แผนงาน (CBMC)

- แบบแผนธุรกิจ 9 ข้อ - แผนการดำเนินงาน 5 ข้อ

 

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ละพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 3 12 มิ.ย. 2564 12 มิ.ย. 2564

 

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันการวางแผนงานตามโครงการฯ หลังสถานการณ์โควิด-19
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันบอกเล่าถึงปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทำนาข้าว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

 

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์รู้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เรียนรู้และตระหนักถึงประโยชน์การกินข้าวที่ผลิตด้วยตนเอง
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของดินและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้แผนงานที่จะทำกิจกรรมตามโครงการฯ
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้แนวทางในการส่งเสริมผลิตอาหารปลอดภัยของชุมชน

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 10 20 มิ.ย. 2564 20 มิ.ย. 2564

 

คณะกรรมการและสมาชิกประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลชุมชน/สรุปผลการดำเนินงาน - คัดเลือกวัน/เวลา/สถานที่ที่จะจัดกิจกรรม - ออกแบบผลผลิตข้าวที่จะแสดงในวันจัดกิจกรรม - แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ละด้าน

 

  1. ได้ข้อมูลที่จะนำเสนอในวันจัดกิจกรรม
  2. ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ละด้าน
  3. ได้วัน เวลา สถานที่ จัดกิจกรรม
  4. สมาชิกได้รับรู้ลำดับของกิจกรรมภายใต้โครงการ

 

กิจกรรมคืนข้อมูล/สรุปการดำเนินงานโครงการ 24 มิ.ย. 2564 24 มิ.ย. 2564

 

จัดนิทรรศการคืนข้อมูลสู่ชุมชน/สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ณ ตลาดเทศบาลตะโหมด

 

• ชุมชนได้รับรู้กลุ่ม, องค์กรทำงานเรื่องนาข้าวปลอดภัย • ชุมชนได้รับรู้กระบวนการทำนาข้าวปลอดภัยทั้งระบบ • ผู้นำท้องถิ่นได้รับรู้ส่งผลต่อการต่อยอดพัฒนาท้องถิ่นด้านอาชีพและเศรษฐกิจ • การทำงานเป็นทีม ส่งเสริมความร่วมมือการพัฒนาทีม • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีในระดับท้องถิ่น • ได้แนวคิดการตลาดเพื่อสร้างอาหารปลอดภัยให้กับชุมชนและเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก

 

เวทีเรียนรู้นำเสนออัตลักษณ์ของข้าวบ้านตะโหมด 27 มิ.ย. 2564 27 มิ.ย. 2564

 

เวทีค้นหารูปแบบอัตลักษณ์ของข้าวบ้านตะโหมด

 

  • อัตลักษณ์ของข้าวบ้านตะโหมดรับประทานแล้วดีต่อสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการสูง  เป็นข้าวปลอดภัยเกิดจากขบวนการผลิตที่เป็นอินทรีย์
  • ฤดูฝนน้ำหนักน้ำจะลากหน้าดินบนเขาลงมาสู่แม่น้ำ และลงสู่แปลงนา
  • เป็นพื้นที่ทุกปีมีอินทรีย์วตัถุจากป่าเขาบรรทัด
  • ช่วยกันค้นหาจุดเด่น จุดด้อยของข้าวบ้านตะโหมด
  • กลุ่มช่วยกันออกแบบบรรจุ โลโก้

 

กิจกรรมทำสื่อประชาสัมพันธ์ 21 ก.ค. 2564 21 ก.ค. 2564

 

จัดจ้างทำสื่อวิดีโอประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโครงการจำนวน1ชุด

 

ได้สื่อวิดีโอผลการดำเนินงานโครงการจำนวน1ชุดความยาว7.45นาที

 

ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงข้าวและคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบครั้งที่3 19 ส.ค. 2564 16 พ.ย. 2563

 

  1. คณะทำงานและตัวแทนสมาชิกลงเยี่ยมแปลงนา
  2. ช่วยกันคัดเลือกแปลงนาเป็นแปลงนาสำหรับการเรียนรู้

 

  1. มีการทำงานระบบกลุ่ม
  2. ได้แปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของสมาชิกและคนในชุมชน 3 แปลง แปลงต้นแบบได้แก่

- แปลงนาข้าวของนางปิยภรณ์ ชูทอง - แปลงนาข้าวของนายแดง ชนะสิทธิ์ - แปลงนาข้าวของนางสาวปนะธีร์ โอฬารวิจิตรวงศ์

 

กิจกรรมเวทีสังเคราะห์บทเรียนการทำงาน 28 ส.ค. 2564 28 ส.ค. 2564

 

10.00น. ลงทะเบียน ชั้แจงงงวัตถุประสค์กิจกรรม 10.30น ชวนพูดตุยผลการดำเนินานที่ผ่านมาของโครงการ 12.00น.พัก 13.00น.แลกเปลี่ยนความเห็นจุดเด่นจุดด้อยของการดำเนินงานปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของโครงการรวมถึงเทคนิควิธีการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินงานและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

 

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน35คน ผลลัพธ์
ผู้ร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนความเห็นจากผลการดำเนินงานและแนวทางการทำงานในอนาคต

 

จัดทำรายงานในระบบรายงาน 31 ส.ค. 2564 31 ส.ค. 2564

 

จัดทำรายงานในระบบ

 

ได้ลงรายงานกิจกรรมโครงการในระบบ

 

ติดตามเยี่ยมเยียนแปลงข้าวและคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบครั้งที่2 13 ก.ย. 2564 27 มี.ค. 2564

 

  1. คณะทำงานและตัวแทนสมาชิกลงเยี่ยมแปลงนา
  2. ช่วยกันคัดเลือกแปลงนาเป็นแปลงนาสำหรับการเรียนรู้

 

  1. มีการทำงานระบบกลุ่ม
  2. ได้แปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ของสมาชิกและคนในชุมชน 3 แปลง แปลงต้นแบบได้แก่

- แปลงนาข้าวของนางปิยภรณ์ ชูทอง - แปลงนาข้าวของนายแดง ชนะสิทธิ์ - แปลงนาข้าวของนางสาวปนะธีร์ โอฬารวิจิตรวงศ์

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 30 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564

 

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินคืนทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีแล้ว