assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร10 ตุลาคม 2564
10
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย chonpadae
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนเงินยืมทดลงเปิดบัญชี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินยืมทดลงเปิดบัญชี

ชื่อกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมทำสื่อเพื่อเผยแพร่ผลงาน10 ตุลาคม 2564
10
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำสื่อเผยแพร่ผลงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีสื่อสำหรับเผยแพร่ผลงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด จำนวน 2 คลิป

กิจกรรมที่ 4 สรุปบทเรียนนำเสนอความสำเร็จโครงการ1 ตุลาคม 2564
1
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินการบันทึกการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลลัพธ์ จัดทำ ARE ซึ่งประกอบด้วย ความเป็นมาโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ การประเมินผล ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่างๆ โดยจัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่และนำเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้พิจารณาเพื่อบรรจุเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่น และจัดสรรงบประมาณเพื่อให้เกิดการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รูปเล่มรายงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ดฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1021 กันยายน 2564
21
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมประเมินผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ดที่ผ่านมา นำโดย นายพิศิษฏ์พงษ์ ปัญญาศิริพันธ์ พี่เลี้ยงโครงการ และตัวแทนจาก Node Flagship Trang ชักชวนคณะทำงานได้แลกเปลี่ยนและทบทวนการทำงานที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ด้านสุขภาพเจอผลกระทบจากการระบาดโควิดคณะทำงานได้พยายามขับเคลื่อนต่อโดยปรับรูปแบบเป็นการออกกำลังกายกลุ่มเล็ก การออกกำลังกายกันที่บ้าน ใช้กลวิธีในการสื่อสารผ่านช่องทางไลน์ มีการบันทึกคลิปการออกกำลังกายเข้ากลุ่ม และใช้การชมเชียร์เป็นการกระตุ้นซึ่งกันและกันของสมาชิก ทำให้การออกกำลังกายยังคงขับเคลื่อนต่อเนื่องแม้เจอสถานการณ์โควิด ด้านสภาพแวดล้อมที่เดิมวางเป้าให้เกิดการปรับสภาพบ้านลดจุดเสี่ยงให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุหมู่บ้านละ 1 หลัง ได้สำรวจออกแบบ 9 หลังและเริ่มปรับไปแล้ว 1 หลัง อีก 8 หลังแจ้งยืนยันการปรับแต่ติดขัดเรื่องช่างและการระบาดโควิดในพื้นที่ และแกนนำได้มีการไปถวายข้อมูลกับพระในวัดในชุมชนซึ่งเจ้าอาวาสหลายรูปให้ความสนใจ มีการเชิญ อ.ตรีชาติ ลงสำรวจและออกแบบวัด ในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง นอกจากนี้คณะทำงานและเป็นแกนนำช่างชุมชนได้ไปถ่ายทอดความรู้และแนวคิดการปรับสภาพแวดล้อมได้นำความรู้ไปแนะนำชาวบ้านที่ซ่อมบ้านให้คำนึงถึงความปลอดภัยไปอีก 3 หลังซึ่งนอกเหนือจากบ้านกลุ่มเป้าหมายโครงการฯ ด้านเศรษฐกิจการออม กลุ่มเตรียมรองรับสังคม สุงวัยที่สมัครออมโดยใช้ช่องประกันสังคมมาตรา 40 ประมาณ 40 กว่าคน ด้านสังคมทางกลุ่มเป้าหมายโครงการฯสมัครเข้าเป็นสมาชิกศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ่น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยอย่างต่อเนื่องทางฝ่ายท้องถิ่นก็มีบรรจุเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ งวด 3 (เดือนเมษายน พฤษภาคม)31 พฤษภาคม 2564
31
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการ เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2564

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการและรายงานการเบิกจ่ายพร้อมหลักฐานการเบิกจ่ายผ่านระบบออนไลน์

ประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง30 มีนาคม 2564
30
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมถอดบทเรียนประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ กับโจทย์ "วาดฝันปั้นอนาคต ความสุขของผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2574" โดยกลุ่ม 4 กลุ่ม 4 มิติ เพื่อช่วยคิดถึงอนาคตความสุขคนตรังในมิติต่าง ๆ อีก 10 ปีควรจะต้องมีอะไรบ้าง ทั้งมิติด้านสุขภาพ มิติด้านสังคม มิติด้านสภาพแวดล้อม และมิติด้านเศรษฐกิจ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน 2 ท่านเข้าร่วมกระบวนการเวทีถอดบทเรียนประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ร่วมกับตัวแทนอีก 11 พื้นที่ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาคีภาครัฐ ภาควิชาการในจังหวัดตรัง ทั้งจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง ศูนย์UDC-PSU ตัวแทนสมาคมข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข มีการทบทวนชุดประสบการณ์การดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย โดยแบ่งกลุ่มกันร่วมแลกเปลี่ยนแต่ละมิติที่มีการดำเนินการ สำหรับตำบลนาชุมเห็ดร่วมแลกเปลี่ยนในมิติด้านเศรษฐกิจ ร่วมกับตัวแทนจากตำบลบางด้วน และเทศบาลตำบลคลองปาง พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จากสำนักงานวัฒนธรรม

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ งวด 2 (เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม)29 มีนาคม 2564
29
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าโทรศัพท์แบบเติมเงิน รายเดือนๆละ 200 บาท (เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ใช้ในการประสานงานโครงการได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 929 มีนาคม 2564
29
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมสะท้อนผลลัพธ์โครงการครั้งที่ 2 โดยพี่เลี้ยง นายพิศิษฎพงค์ ปัญญาศิริพันธ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครง รับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินแต่ละกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานผลการดำเนินงานที่เพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัยที่ผ่านมา ได้มีการขับเคลื่อนการทำงานเน้นการทำงานภายใต้การมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและภาคประชาชน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ดเป็นแกนหลักในการประสานงานขับเคลื่อนการดำเนินงาน การสนับสนุนสถานที่การประชุมและจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง มีการเชื่อมต่อการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการโดยบรรจุโครงการด้านการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาชุมเห็ด และอสม.เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนด้านสุขภาพด้านการออกกำลังกาย รวมทั้งค้นหากลุ่มเป้าหมายและจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กระบวนการทำงานในช่วงต้นมีการประชุมคณะทำงานเพื่อให้ทราบถึงนโยบายรัฐบาล และการเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย ซึ่งบางครั้งคณะทำงานบางท่าน มองเป็นเรื่องไกลตัว และมองว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องให้ความช่วยเหลือ เมื่อมีการประชุมหลายๆครั้ง เริ่มมองเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากที่สุด และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้านกลไกการทำงาน มีคณะทำงานที่มีความเข้าใจและสามารถ่ายทอดแนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยสู่ชุมชน ได้จำนวน 18 คน ผลลัพธ์ด้านชุดข้อมูลมีการจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 40 -59 ปี และ กลุ่ม 60 ปีขึ้นไป จากการลงสำรวจแบบสอบถามโดยทีม อสม.จำนวน 157 ชุด ทำให้ทราบถึงปัญหาแต่ละมิติของประชาชนในตำบลนาชุมเห็ด มีการประมวลผล และรายงานผลให้คณะทำงานทราบ ผลลัพธ์ด้านนโยบายและแผนงานกิจกรรมรองรับสังคมสูงวัยสำหรับปีงบประมาณ 2565 มีการบรรจุโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในแผนพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 1 โครงการ ผลลัพธ์การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีความสุข มิดิเศรษฐกิจ (การออม) มีการออมเงินพิ่มขึ้น ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานที่ผ่านมา เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะกิจรรมส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก อมส. มีภาระกิจหลักต้องรับมือกับสถานการณ์โควิดในพื้นที่ ส่วนการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสภาพแวดล้อมพบว่าประชาชนยังมองเป็นเรื่องไกลตัว และด้วยเกิดการระบาดของโรคโควิด - 19 จึงให้ความสำคัญเรื่องปากท้องเป็นหลัก

กิจกรรมย่อยที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย26 มีนาคม 2564
26
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย ได้ประสานศูนย์ PSU-UDC คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง นำโดยอาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู พร้อมด้วยนักศึกษาลงพื้นออกแบบสำรวจและให้คำปรึกษา แนะนำให้ความรู้การปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ตามที่มีผู้สมัครเข้าร่วมปรับที่อยู่อาศัยจำนวน 11 หลัง และสำรวจออกแบบการปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่สาธารณะในตำบลนาชุมเห็ด จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ วัดหนองชุมแสง วัดควนนิมิตศิลา และวัดหนองเป็ด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีบ้านที่ได้รับการสำรวจออกแบบ จำนวน 9 หลัง มีพื้นที่สาธารณะที่ได้รับการสำรวจออกแบบ จำนวน 3 แห่ง คือวัดหนองชุมแสง วัดควนนิมิตศิลา และวัดหนองเป็ด

กิจกรรมย่อยที่ 3 กิจกรรมอบรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ใน 4 มิติ ครั้งที่ 218 มีนาคม 2564
18
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจการออม ด้านสังคม และด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 75 คน โดยมีรองศาสตราจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยากร และได้จัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้องค์ความรู้ทั้ง 4 มิติ สำหรับการส่งเสริมองค์ความรู้ในมิติการออมได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดตรังมาแนะนำและทำความรู้จักเกี่ยวกับการประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นกองทุนประกันสังคมที่คุ้มครองผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ ในกรณีที่เจ็บป่วย ทุพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต โดยผู้ประกันตน สามารถเลือกชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม มาตรา 40 ได้ 3 ทางเลือก เพื่อรับสิทธิ์ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ได้เชิญธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาย่านตาขาวมาแนะนำผลิตภัณฑ์การฝากเงินในรูปแบบต่างๆ ในส่วนมิติด้านสังคม มีนางยุพเยา นวลนิ่ม รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด ได้แนะนำให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักกับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการของตำบลนาชุมเห็ด ที่จัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนและขับเคลื่อนหลักโดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหรือคนพิการในเขตพื้นที่ตำบลนาชุมเห็ด ได้มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านต่างๆ เช่นด้านสุขภาพ มีการเต้นบาสโลบในช่วงเวลาประมาณ 16.00 น. ของทุกวัน และมีการเต้นโชว์ตามงานบุญหรือเทศกาลต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่ ด้านเศรษฐกิจ มีการอบรมฝึกอาชีพต่างๆให้กับสมาชิก เช่น ฝึกอบรมทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า ด้านสังคม ทางศูนย์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาชุมเห็ด ในการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งกิจกรรมจะจัดทุกวันศุกร์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความดีต่างๆเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้กับคนรอบข้างและสังคม อีกมากมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เกิดความตระหนักในการเตรียมวางแผนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้ง 4 มิติ โดยเกิดผลลัพธ์ดังนี้
มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) กลุ่มเป้าหมาย สมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 23 คน มิติด้านสังคม กลุ่มเป้าหมาย สมัครเป็นสมาชิกศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลนาชุมเห็ด จำนวน 20 คน และเปิดสมุดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 2 คน มิติด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมปรับแวดล้อมบ้าน โดยปรับจุดเสี่ยงภายในบ้านจำนวน 2 หลัง
มิติด้านสุขภาพ ได้ชะลอไว้ก่อนเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถรวมกลุ่มออกกำลังกายได้

กิจกรรมย่อยที่ 3 กิจกรรมอบรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ใน 4 มิติ ครั้งที่ 117 มีนาคม 2564
17
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจการออม ด้านสังคม และด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปลอดภัย ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 75 คน โดยมีรองศาสตราจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยากร และได้จัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้องค์ความรู้ทั้ง 4 มิติ สำหรับการส่งเสริมองค์ความรู้ในมิติการออมได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดตรังมาแนะนำและทำความรู้จักเกี่ยวกับการประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นกองทุนประกันสังคมที่คุ้มครองผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพอิสระ ในกรณีที่เจ็บป่วย ทุพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต โดยผู้ประกันตน สามารถเลือกชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม มาตรา 40 ได้ 3 ทางเลือก เพื่อรับสิทธิ์ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ได้เชิญธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาย่านตาขาวมาแนะนำผลิตภัณฑ์การฝากเงินในรูปแบบต่างๆ ในส่วนมิติด้านสังคม มีนางยุพเยา นวลนิ่ม รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด ได้แนะนำให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักกับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการของตำบลนาชุมเห็ด ที่จัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนและขับเคลื่อนหลักโดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหรือคนพิการในเขตพื้นที่ตำบลนาชุมเห็ด ได้มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมด้านต่างๆ เช่นด้านสุขภาพ มีการเต้นบาสโลบในช่วงเวลาประมาณ 16.00 น. ของทุกวัน และมีการเต้นโชว์ตามงานบุญหรือเทศกาลต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่ ด้านเศรษฐกิจ มีการอบรมฝึกอาชีพต่างๆให้กับสมาชิก เช่น ฝึกอบรมทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า ด้านสังคม ทางศูนย์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาชุมเห็ด ในการจัดกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งกิจกรรมจะจัดทุกวันศุกร์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความดีต่างๆเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์ให้กับคนรอบข้างและสังคม อีกมากมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เกิดความตระหนักในการเตรียมวางแผนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้ง 4 มิติ โดยเกิดผลลัพธ์ดังนี้
มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) กลุ่มเป้าหมาย สมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 15 คน มิติด้านสังคม กลุ่มเป้าหมาย สมัครเป็นสมาชิกศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลนาชุมเห็ด จำนวน 10 คน
มิติด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมปรับแวดล้อมบ้าน โดยปรับจุดเสี่ยงภายในบ้านจำนวน 9 หลัง และคณะทำงานได้ไปขยายผลสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อเข้าร่วมปรับสภาพแวดล้อม จำนวน 1 แห่ง ได้แก่วัดหนองชุมแสง มิติด้านสุขภาพ ได้ชะลอไว้ก่อนเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถรวมกลุ่มออกกำลังกายได้

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 83 มีนาคม 2564
3
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคุณะทำงานเตรียมวางแผนดำเนินกิจกรรมที่ 3 อบรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ใน 4 มิติ และปรับวิธีดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมองค์ความรู้ทั้ง 4 ด้าน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 18 คน ได้กำหนดจัดอบรมให้ความรู้ทั้ง 4 มิติ ในการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย 150 คน จากเดิมกำหนดไว้ 3 ครั้ง ปรับเหลือ 2 ครั้ง โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นครั้งละ 75 คน เพื่อรวบรัดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยกำหนดเป็นวันที่ 17และวันที่ 18 มีนาคม 2564 พร้อมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ทั้ง 4 มิติไปพร้อมในคราวเดียวกัน

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 725 กุมภาพันธ์ 2564
25
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญคณะทำงานประชุมเพื่อจัดทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ดเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่ตำบลนาชุมเห็ดต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน 18 คนเข้าร่วมประชุม ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามพฤติกรรมสำคัญในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย เพื่อจัดทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด และมีแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเพื่อบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น

ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาระบบฐานข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด23 กุมภาพันธ์ 2564
23
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ประกอบด้วย อสม. อพม. อาสาบริบาล และแกนนำชุมชนที่สนใจทั้ง 9 หมู่บ้าน เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ แอพพลิเคชั่น imed @home application เพื่อบริการทางสังคมสำหรับการพัฒนางานระบบข้อมูลกลางดูแลคนเปราะบางชุมชน เป็นกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด เพื่อพัฒนางานข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญที่ถูกออกแบบเพื่อลดช่องว่างเรื่องงานข้อมูลในระดับตำบลที่แต่ละหน่วยงานต่างมี และแยกส่วน
  • วิทยากร ประกอบด้วยนายพิศิษฏพงค์ ปัญญาศิริพันธ์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน และนางจำเนียร มานะกล้า ข้าราชการบำนาญ
  • จัดเตรียมวัสดุฝึกอบรมและคู่มือปฏิบัติการเรียนรู้ แอพพลิเคชั่น imed @home application
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 62 คน ประกอบด้วย คณะทำงาาน. อสม. อพม. อาสาบริบาล และแกนนำชุมชน ทั้ง 9 หมู่บ้านร่วมฝึกปฏิบัติการตั้งแต่การติดตั้งapp การสมัครสมาชิก และการทดลองใส่ข้อมูลการเยี่ยมบ้านตั้งแต่การบันทึกข้อมูล บันทึกภาพประกอบ บันทึกข้อมูลความต้องการ บันทึกข้อมูลสุขภาพทั่วไป และการลดลองบันทึกข้อมูลแบบประเมินสุขภาพ ร้อยละ 80 ของทีมที่มาเรียนรู้สามารถดำเนินการได้ มีติดขัดบ้างกรณีโทรศัพท์บางรุ่นที่ไม่เอื้อต่อในติดตั้งapplication พบว่าการเรียนรู้ อสม.รุ่นใหม่ ๆ ค่อนข้างเร็ว ทำได้ก่อนก็ได้ช่วยอสม.รุ่นพี่ในการฝึกทำ บรรยากาศร่วมเรียนรู้กันอย่างเป็นกันเอง และหลังจากเสร็จสิ้นจากการฝึกอบรม ได้มอบหมายให้ผู้เข้าอบรมลงพื้นที่เยียมบ้านและบันทึกข้อมูลผ่าน app imed@home โดยมีadminติดตามระดับตำบล พบว่าผู้เข้าอบรมทำงานได้ง่ายขึ้นเมื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เป็นการช่วยหนุนเสริมการทำงานในการดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ประชาชนคนยากลำบากและผู้เปราะบางทางสังคม มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสุขภาวะ บันทึกภาพถ่าย การเยี่ยมบ้าน ประเมินผลและรายงานผล และหลังจากนี้ทางคณะทำงานจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นแผนงานโครงการสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยการประสานความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เช่น อบต. กองทุนหลักประกันสุขภาพ,กองทุนสวัสดิการชุมชน,พมจ.,อบจ.ฯลฯ ต่อไป

ชื่อกิจกรรมที่ 2 สำรวจศึกษาข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเชิงลึกโดยคณะทำงานและทีมงาน อสม.1 กุมภาพันธ์ 2564
1
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สำรวจข้อมูลตามแบบสอบถามพฤติการสำคัญในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของกลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน 150 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถสำรวจข้อมูลแบบสอบถามพฤติกรรมสำคัญในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด ได้จำนวน 157 ชุด และส่งข้อมูลแบบสอบถามให้กับวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี ประมวลผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขับเคลื่อนแต่ละมิติและเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบลนาชุมเห็ดต่อไป

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 629 มกราคม 2564
29
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญประชุมคณะทำงาน จำนวน 31 คน โดยมีหัวข้อการประชุมดังนี้ 1.ทบทวนบันไดผลลัพธ์โครงการ
2.ประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 4 มิติ ซึ่งได้กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ของคณะทำงาน อยู่ที่ร้อยละ 50 ของคณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
3.เตรียมวางแผนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาระบบฐานข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ที่จะดำเนินการต่อไป 4. ให้คณะทำงานที่เป็น อสม. ดำเนินการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจพฤติกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 9 หมู่บ้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มอายุ 40-59 ปี จำนวน 120 คน และเป้าหมายรอง เป็นกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 60 คน 5. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านมิติสุขภาพ จากที่ได้มอบหมายให้คณะทำงานที่เป็น อสม. เป็นแกนในการสร้างกลุ่มออกกำลังกายแต่ละหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน
  • คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และสามารถไปถ่ายถอดและขยายผลสู่ชุมชนได้มากกว่า ร้อยละ 50
  • ไปกำหนดวันจัดกิจกรรมพัฒนาระบบฐานข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเป็น วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 โดยใช้ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลนาชุมเห็ด เป็นสถานที่ฝึกอบรม และมอบหมายให้คณะทำงาน ประสาน อสม.หรือ อพม.ของแต่ละหมู่บ้าน โดยเป็นผู้ที่สมัครใจและมีความพร้อมเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านกลุ่มเปราะบางผ่านระบบ imed@home จำนวน 50 คน
  • คณะทำงานดำเนินการจัดเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจ
  • คณะทำงานรายงานความก้าวหน้าด้านมิติสุขภาพ เกี่ยวกับการสร้างกลุ่มในการออกกำลังกายซึ่งได้มอบหมายให้คณะทำงานสร้างกลุ่มออกกำลัง หมู่บ้านละ 1 กลุ่ม ผลปรากฏว่าสามารถรวมกลุ่มออกกำลังได้ 4 กลุ่ม เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ออกกำลังกายและเครื่องขยายเสียงทีมีไม่เพียงพอ ทางคณะทำงานจึง ปรับโดยควบรวม 2ถึง3หมู่บ้านเป็น 1 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย หมู่ 1 และหมู่ 7 โดยใช้สนามโรงเรียนบ้านทอนพลาเป็นสถานที่ออกกำลังกาย กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย หมู่ 2 หมู่ 4 และหมู่ 8 ใช้สนามโรงเรียนวัดลำพิกุลเป็นสถานที่ออกกำลังกาย กลุ่มที่ 3 ประกอบ หมู่ 3 และหมู่ 9 ใช้อาคารอเนกประสงค์ อบต.นาชุมเห็ด เป็กสถานที่ ออกกำลังกาย และกลุ่มที่ 4 ประกอบด้วย หมู่ 5และหมู่ 6 ใช้สนามโรงเรียนวัดหนองเป็ดเป็นสถานที่ออกกำลังกาย
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการดำเนินงานครั้งที่ 1 เตรียมรองรับสังคมสูงวัย16 ธันวาคม 2563
16
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานครั้งที่ 1 ประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ณ วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนีตรัง ร่วมกับอีก 11 พื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้สรุปบันไดผลลัพธ์โครงการ รายงานความก้าวหน้าโครงการ ถึงจำนวนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว และกิจกรรมที่จะทำต่อไป สิ่งที่ได้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นการประเมินความรู้ความเข้าใจของคณะทำงานหลังจากที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพให้กับคณะทำงานไปแล้วควรกำหนดเครื่องมือในการประเมินคณะทำงานว่ามีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เช่น อาจจะใช้วิธีสัมภาษณ์ หรือใช้แบบทดสอบ

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 53 ธันวาคม 2563
3
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญคณะทำงานเข้าร่วมประชุม รับฟังรายผลการดำเนินงานโครงการงวดที่ 1 และทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการเพื่อกระตุ้นคณะทำงานให้มีความตื่นตัวและมีความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมที่เหลือต่อไป และได้มีการสะท้อนผลลัพธ์โครงการครั้งที่ 1 โดยทีมพี่เลี้ยง นายพิศิษฏพงค์ ปัญญาศิระพันธ์ และนางจำเนียร มานะกล้า โดยมาชี้แจงถึงบันไดผลลัพธ์และการทำงานให้บรรลุผล  และที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะทำงานที่เป็น อสม. เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนมิติสุขภาพเรื่องการออกกำลังกาย โดยให้สร้างกลุ่มออกกำลังกายทั้ง 9 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 กลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้แต่ละหมู่บ้านมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย และจัดให้มีการแข่งขันเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีรางวัลให้หมู่บ้านที่ชนะ เพื่อสร้างแรงจูงใจระหว่างหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานรับทราบความก้าวหน้าของโครงการ และมีความพร้อมในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่อไป โดยมีบันไดผลลัพธ์เป็นแนวทางในการทำงาน
ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ งวด 1 (เดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม)29 พฤศจิกายน 2563
29
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการติดต่อประสานงานกับผู้ประสานงานโครงการและทีมพี่เลี้ยงโครงการ กรณีมีปัญหา และมีการจัดทำรายงาน ส.1และการเงิน ง.1 ในระบบ www.happynetwork.org

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการและรายงานการเบิกจ่ายพร้อมส่งหลักฐานการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบออนไลน์ตรงตามงวด ที่กำหนด

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 411 พฤศจิกายน 2563
11
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุมขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ เพื่อเตรียมดำเนินกิจกรรมพัฒนาระบบฐานข้อมูลเตรียมพร้อมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ดและกิจกรรมอบรมให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของทั้งสองกิจกรรม ชี้แจงการเก็บข้อมูลตามแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมสำคัญในการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย กลุ่ม 40-59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน
  • คณะทำงานมีความเห็นพ้องกันในการเชิญกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมโดยความสมัครใจ
  • คณะทำงานมีความเข้าใจในการเก็บข้อมูลแบบสำรวจข้อมูลเรื่องพฤติกรรมสำคัญในการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย
กิจกรรมย่อย 1.1 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน26 ตุลาคม 2563
26
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย อบรมให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 ด้าน (มิติสุขภาพ,มิติสังคม,มิติเศรษฐกิจและมิติภาพแวดล้อม) และมีการนำคณะทำงานไปศึกษาดูงานด้านการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ณ ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมสภาพแวดล้อมปลอดภัยสังคมสูงวัย ประจำภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตตรัง เพื่อให้คณะทำงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ให้ได้รับความรู้และประสบการณ์จากสถานที่จริง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน
  • คณะทำงานมีความรู้ในการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและสามารถนำไปปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและคนใกล้ชิดได้
ค่าป้ายเขตปลอดบุหรีและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ค่าป้ายโครงการที่แสดงถึงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม15 ตุลาคม 2563
15
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่  ป้ายโครงการ และป้ายบันไดผลลัพธ์โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1 ป้าย ป้ายโครงการที่แสดงถึงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ 1 ป้าย และป้ายบันไดผลลัพธ์โครงการ 1 ป้าย

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรายงาน ส.1 ง.1 ผ่านระบบ www.happynetwork.org14 ตุลาคม 2563
14
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงาน ส.1 และการเงิน ง.1 ผ่านระบบ www.happynetwork.org ณ อบต.บางด้วน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด จำนวน 2 คน มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานการจัดทำรายงาน ส.1และ ง.1 ผ่านระบบwww.happynetwork.org

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 39 ตุลาคม 2563
9
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นายฟื้น แก้วพิทักษ์ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) รายงานผลการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนานโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย เมื่อวันที่ 17-19 กันยายน 2563
  • ที่ประชุมร่วมหารือเพื่อเตรียมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน การอบรมให้ความรู้เรื่องเตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงวัย ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ กำหนดวิทยากรที่จะให้ความรู้ทั้ง 4 มิติและสถานที่ศึกษาดูงานการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
  • นายพิศิษฏ์พงค์ ปัญญาศิริพันธุ์(พี่เลี้ยงโครงการ) เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการพร้อมข้อเสนอแนะในเรื่องการเก็บเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายต่างๆ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 31 คน
  • ได้กำหนดวันอบรมและศึกษาดูงานเป็นวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ได้ประสานวิทยากร 2 ท่าน คือ นายวิชาญ สายวารี ตำแหน่งรองผู้อำนวยการกลุ่มกิจการนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง ให้ความรู้ มิติสุขภาพ มิติสังคมและมิติเศรษฐกิจการออม และนายตรีชาติ เลาแก้วหนู ตำแหน่งรองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้อบรมให้ความรู้ด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยพร้อมศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมสภาพแวดล้อมสังคมสูงวัย ประจำภาคใต้ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
  • คณะทำงานมีความเข้าใจและมีความละเอียดรอบคอบในการเก็บเอกสารหลักฐานการเบิกจ่าย
กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 211 กันยายน 2563
11
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการจัดประชุมคณะทำงาน เพื่อจัดทำปฏิทินการดำเนินงานโครงการ ให้สามารถดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน เข้าร่วมประชุม จำนวน 31 คน  และมีปฏิทินการดำเนินงาน ให้สามารถดำเนินกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด

กิจกรรมย่อยที่ 1.2 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 110 สิงหาคม 2563
10
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมจัดตั้งคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด 1 คณะ จำนวน 31 คน ประกอบด้วยทุกภาคส่วนในพื้น ได้แก่ จนท.รพ.สต.บ้านต้นปรง ,จนท.รพ.สต.บ้านทอนพลา,จนท.รพ.สต.บ้านควนหิน,จนท.อบต.นาชุมเห็ด,อสม.,อพม.,ภาคปกครองท้องที่ หมู่ 1 - หมู่ 9 ,ชมรมผู้สูงอายุบ้านต้นปรง,ชมรมผู้สูงอายุบ้านทอนพลา,ชมรมผู้สูงอายุบ้านควนหิน ,กลุ่มสตรีตำบลนาชุมเห็ด,ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลนาชุมเห็ด มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และชี้แจงรายละเอียดของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด 1 คณะ จำนวน 31 คน ประกอบด้วยจนท.รพ.สต.บ้านต้นปรง ,จนท.รพ.สต.บ้านทอนพลา,จนท.รพ.สต.บ้านควนหิน,จนท.อบต.นาชุมเห็ด,อสม.,อพม.,ภาคปกครองท้องที่ หมู่ 1 - หมู่ 9 ,ชมรมผู้สูงอายุบ้านต้นปรง,ชมรมผู้สูงอายุบ้านทอนพลา,ชมรมผู้สูงอายุบ้านควนหิน ,กลุ่มสตรีตำบลนาชุมเห็ด,ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลนาชุมเห็ด

-มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน
-คณะทำงานรู้ถึงบทบาทหน้าที่และมีความรู้ความเข้าใจ และรู้ถึงความเป็นมาของโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ณ ภูผายอดรีสอร์ท อ.ห้วยยอด จ.ตรัง30 กรกฎาคม 2563
30
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย สุกัลยา เรืองโรจน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด เข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศ ในวันที่ 30 กรกฏาคม 2563 จำนวน 5 คน  เพื่อเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม  การชี้แจงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สสส.  มีการทบทวนบันได้ผลลพธ์และตัวชี้วัดโครงการ และการจัดทำปฏิทินการดำเนินงาน ตลอดโครงการ  มีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลสูงวัย (40-59) และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)  รับฟังข้อเสนอแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในเรื่องข้อควรระวังในการดำเนินงานของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด จำนวน 5 คน มีความรู้ความเข้าใจในบันไดผลลัพธ์โครงการสามารถกำหนดแนวทาง(ปฏิทินการดำเนินงาน) เพื่อให้บรรลุบันไดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่การเงิน ของโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลนาชุมเห็ด มีความเข้าใจในกระบวนการเก็บหลักฐานการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สสส.ในระดับหนึ่ง
  • คณะทำงานสามารถออกแบบสำรวจการจัดข้อมูลสูงวัยและข้อมูลผู้สูงอายุ ให้มีความสอดคล้องกับบันไดผลลัพธ์ของโครงการ