assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร10 ตุลาคม 2564
10
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย chonpadae
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตืนเงินยืมทดลองเปิดบัญชี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตืนเงินยืมทดลองเปิดบัญชี

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานครั้งที่ 2 ประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย9 ตุลาคม 2564
9
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมถอดบทเรียนคณะทำงานและแกนนำโครงการละ 2 คนเข้าร่วมประชุมกับพี่เลี้ยงสรุปบทเรียน และผลลัพธ์ของแต่โครงการที่ วิทยาลัยพยาบาลราชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานแต่ละโครงการได้แลกเปลี้ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานและผลลัพธ์ของแต่ละโครงการการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย เพื่อสรุปผลของระดับจังหวัด

ชื่อกิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาให้ความรู้เตรียมตัวรองรับสังคมผู้สูงวัยตำบลบางด้วน ทั้ง 4 มิติ8 ตุลาคม 2564
8
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นัดประชุมหมู่บ้านเตรียมรองรับสังคมสุงวัย มิติด้านเศรษบกิจให้ อสม.และหมุ่บ้านนำสมาชิกมาเปิดบัญชีเงินฝากทั้ง 6 หมุ่บ้านใหม่อีกรอบเนื่องจากรอบแรกไม่ได้ตามเป้าหมายมา หมู่ที่ 1 นัด วันที่ 24 สิงหาคม  2564 หมู่ที่ 2 นัด วันที่26 สิงหาคม 2564 หมู่ที่ 3 นัดวันที่ 19 สิงหาคม 2564 หมู่ที่ 4 นัดวันที่ 25 สิงหาคม 2564 หมู่ที่ 5 นัดวันที่ 17 สิงหาคม 2564 หมู่ที่ 6 นัดวันที่ 18 สิงหาคม 2564

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มีสมาชิกแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมการเปิดบัญชีใหม่กับต่อธกส.หาดเลา เพิ่มมากขึ้นเกินเป้าหมายที่ว่างไว้ หมูที่ 1 ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น  67 ราย หมูที่ 2 ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น  72 ราย หมูที่ 3 ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น  53 ราย หมูที่ 4 ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น  55 ราย หมูที่ 5 ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น  55 ราย หมูที่ 6 ได้สมาชิกเพิ่มขึ้น  49 ราย

ชื่อกิจกรรมที่ 4 พัฒนาตนเองสร้างครอบครัวต้นแบบหมู่บ้านต้นแบบ สู่การพัฒนายั่งยืนรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน7 ตุลาคม 2564
7
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เตรียมรองรับรับการศึกษาดูงานการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย จาก ตำบลนาข้าวเสีย โดยการนำเสนอผลงานการดำเนินงานขับเคลื่อนเตรียรองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 4 มิติ มีการแลกเปลียนสอบถาม โดยมีคณะทำงานงาน แกนนำ อสม. ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และประชาชนแกนนำการออกกำลังกายของแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมต้อนรับคณะศีกษาดูงานจากตำบลนาข้าวเสียราวมผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 150 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะศีกษาดูงานได้เรียนรู้การขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสุงวัยตำบลบางด้วน ทั้ง 4 มิติ มีการแลกเปลียนผลการดำเนินงานทั้ง 2 ตำบล พร้อมมีการ เต้นบาสโลปให้กับผุ้ศึกษาดูงานได้ชม

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 3(30เม.ย.-30พ.ค.64)1 ตุลาคม 2564
1
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการเบิกค่าอินเตอร์เน็ตและการโทรศัพท์ประสานงานการจัำทรายงานความก้าวผ่านระบบออนไลน์  จำนวน 10 ครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเบิกจ่ายค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคณะทำงานงานจำนวน  10 ครั้ง  ๆ ละ 200 บาท

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมทำสื่อเพื่อเผยแพร่ผลงาน1 ตุลาคม 2564
1
ตุลาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมเตรียมรองรับสังคมสุงวัยของตำบลบางด้วน โดยมีประธานนายไพบูลย์  หนูอินทร์  นางนิธิวดี  เก้าเอี้ยน และนายพิศิษฎพงค์ปัญญาสิริพันธุ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ข้อมูล และมีภาพกิจกรรมทั้ง 4 มิติ ของการขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย พร้อมมีภาพวีดีโอการประกวดเต้นบาสโลป ทั้ง 6 หมู่บ้าน การประกวดครัวเรนือนต้นแบบ และภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบลบางด้วน เพื่อใช้เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบพร้อมที่จะส่งต่อให้กับหน่วยงานภายนอกได้รับรู้การขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบลบางด้วนต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ผลิตสื่อประะชาชาสัมพันธ์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 4 มิติ ของตำบลบางด้วน เพื้อไว้ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกได้รับทราบและร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัยต่อไป

กิจกรรมที่ 4 พัฒนาตนเองสร้างครอบครัวต้นแบบหมู่บ้านต้นแบบ สู่การพัฒนายั่งยืนรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน26 กันยายน 2564
26
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบเตรียมรองรับสังคมสุงวัย โดยมีหลักเกณฑ์ต้องเป็นผุ้เข้าร่วมโครงการเตรียมรองรับสังคมสุงวัยและได้ประพฤติปฏิบัติตน ทั้ง 4 มิติ  มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการเปิดบัญชีการออมกับ ธกส. เข้าร่วเป้นสมาชิกโรงเรียนผู้สุงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ และมีการรักษาความสะอาดของบริเวณบ้านเรือน และที่อยู่อาศัยให้สะอาดปลอดภัย โดยมีคณะกรรมการผู้นำท้องที่หมู่บ้านละ 1 คน ประธาน อสม.ทุกหมูู่บ้าน ผอ.รพสต.บางด้วน รองนายก อบต. และประธานเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย เป็นคณะกรรมการลงไปประเมินตัดสินครัวเรือนต้นแบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 26 กันยายน 2564 คณะกรรมการประกอบผู้นำท้องที่หมู่บ้านละ 1 คน ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน ผอ.รพสต.บางด้วน รองนายก อบต. และประธานเตรียมรองรับสังคมสุงวัย ได้ลงไปตรวจเยี่ยมบ้านแต่ละหลัง ทั้ง 6 หมู่บ้านเพื่อตัดสินครัวเรือนต้นแบบเตรียมรองรับสังคมสูงวัย รางวัล หมู่ละ 6 รางวัล รางวัลเป็นเกียรติบัตรและของขวัญมูลค่า 500 บาท

กิจกรรมที่ 3.2 ส่งเสริมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยมิติสังคม(การออกำลังกายทุกกลุ่มวัย)24 กันยายน 2564
24
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดการประกวดการออกกำลังกายของแกนนำ ออกกำลังกายทั้ง 6 หมู่บ้าน  โดยมีวิทยากรการนำออกกำลังกายมาร่วมให้คำแนะนำและสะท้อนผลลัพธ์ของการออกกำลังกายของแต่ละหมู่บ้านเพื่อเป็นการส่งผลให้ต่อสุขภาพของตนเองและครอบครัว ลดการเป็นโรคต่าง ๆ ได้จริงหรือไม่ และสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพให้มากขึ้น นอกจากการออกำลังกาย แล้ว อาหารการกินก็มีผลต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นการที่ทุกหมู่บ้านได้ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยหันมาออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพเป้็นสิ่งที่ดี เป็นการจุดประกายให้ประชุมชนในชุมชนเกิดการตื้นตัว โดยมีโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบล งบ สปสช. เข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาพ  และประชาชนให้ความสำคัญ นอกจากสุขภาพแข็งแรงแล้วยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีของประชาชนในชุมชนด้วย และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีสมาชิกและแกนนำออกกำลังของทุกหมู่บ้านมาร่วมกิจกรรมพร้อมรับรู้ถึงกระบวนการออกกำลังของแต่ละกลุ่มหรือช่วงวัยต่าง ๆ และได้มีการจัดปรกวดการออกกำลังกาย โดยมีเงินรางวัลเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับหมู่บ้านแต่ละหมู่ จากงบกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บางด้วนเป็นงบในการสนับสนุนการออกกำลังกาย มีวิทยากรเข้าร่วมเป็นวิทยากรจำนวน 2 ท่าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 122 คน ช่วงเช้ามีวิทยากร ช่วงบ่ายประกวดการออกกำลังกาย สร้างความกระตือรือร้นและเสริมพลังให้กับทีมออกกำลังกายของแต่ละหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะมีกลุ่มออกลังกายทุกลุ่มวัย มีตั้งแต่ วัย เด็ก วัยทำงาน  และผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรมที่ 3.3 ส่งเสริมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยมิติสภาพแวดล้อม24 กันยายน 2564
24
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการประชุมคณะกรรมการและกลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน ให้ความรู้เกีี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมสำหรับการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสุูงวัย  โดยผุู้ช่วยศาสตราจาย์ตรีชาติ  เลาแก้วหนู รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขต ตรัง มาเป้นวิทยากรโดยมีกลุ่มเป้าหมายแกนนำชุมชน ช่างชุมชน กลุ่มเป้าหมายหลัก วัย 40-59 ปี เข้าร่วมประชุม ซึ่งทางวิทยากรได้นำอุปกรณ์ที่มีควาจำเป็นสำหรับผุ้สูงอายุในยุคปัจจุบัน มีตัวอย่างการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เช่น ห้องน้ำ ห้อมส้วม บันได พื้นบ้าน และสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านเป็นตัวอย่างให้กับผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับปรุงบ้านตนเองให้เกิดความเหมาะสมและประยุตใช้ในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในอนาคต มีความรู้ความเข้าใจในการปรับสภาแวดล้อมภายในบ้าน เช่น ห้องน้ำ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สูงอายุจะประสบอุบัติเหตุก่อให้เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งจะเป็นภาระให้กับลูกหลานในอนาคต ดังนั้นวันที่ถ้าทุกท่านที่มีความพร้อมด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ท่านสามารถที่จะปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เกิดความปลอดภัยเตรียมรองรับสังคมาสูงวัยในอนาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมหลายครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย

ชื่อกิจกรรมที่ 1สร้างความเข็มแข็งและองค์ความรู้ให้แกนนำในการขับเคลื่อนรองรับสังคมผู้สูงวัยตำบลบางด้วน ประชุมคณะทำงานอย่างน้อย 5 ครั้ง21 กันยายน 2564
21
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย เพื่อกำหนดกิจกรรมมิติด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยมีอาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู มาเป็นวิทยากร และมีการประกวดการออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบของหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้คณะทำงานเข้าร่วมประชุมทุกคน และให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือช่างชุมชน เข้าร่วม หมู่บ้านละ 10 คน

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 520 กรกฎาคม 2564
20
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงงานเตรียมรองรับสังคมสุงวัย เพื่อกำหนดการดำเนินกิจกรรมที่ยังคงเหลืออยู่ประกอบกับสถานการณืโควิดไม่สามารถรวมกลุ่มได้ และวางระบบการขับเคลื่อนมิติด้านเศรษฐกิจการออมเนื่องจากครั้งแรกการดำเนินการไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงประชุมแกนนำและผุ้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดวิธีการและเป้าหมายการดำนินงานใหม่อีกรอบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 30 คน ได้กำหนดกิจกรรมในการออกรณรงคืให้ประชาชนได้ออกมาเปิดบัญชีเงินฝากมาขึ้น ๙ึ่งทาง รพสต. จะให้ อสม. ดำเนินการหาสมาชิกที่ตนรับผิดให้ได้ตามเป้าหมาย

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 2 (30พ.ย.63-29เม.ย.64)29 มิถุนายน 2564
29
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย อารีรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 2 (30พ.ย.63-29เม.ย.64)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 2 (30พ.ย.63-29เม.ย.64)

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 4 (1ก.ย.64-30เม.ย.64)15 เมษายน 2564
15
เมษายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย อารีรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 4 (1ก.ย.64-30เม.ย.64)จำนวน 1 เดือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 4 (1ก.ย.64-30เม.ย.64)จำนวน 1 เดือน

เวทีถอดบทเรียนประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง30 มีนาคม 2564
30
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมถอดบทเรียนโครงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย ที่เกาะลิบง เพื่อให้คณะทำงานมีความรุ้ความเข้าเกี่ยวกับวิะีการถอดบทเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้นายไพบูลย์  หนูอินทร์  ประธานคณะทำงาน เข้าร่วมอบรมดครงการถอดบทเรียนเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย

อบรมเชิงปฏิบัติการช่างอาสาและช่างท้องถิ่นการปรับสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ4 มีนาคม 2564
4
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หน่วยจัดการจังหวัดระดับพื้นที่มีจุดเน้นสำคัญ (NODE Flagship) จังหวัดตรัง ร่วมกับศุูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมสภาพแวดล้อมสังคมสูงวัยประจำภาคใต้ (UDC -PSU) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการช่างอาสาและช่างท้องถิ่นการปรับสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้คณะทำงาน ช่างอาสา และช่างท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในโครงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการปรับสภาพแวดล้อมบ้านพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการและสามารถปฏิบัติการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผุู้สุูงอายุและคนพิการได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีช่างอาสา  จำนวน 6 คน และช่างท้องถิ่น จำนวน 1 คน เข้าร่วมรับฟังการประชุมเชิงปฏิบัติการสามารถนำความรู้มาใช้ในการออกแบบบ้านให้ผู้สูงอายุและะคนพิการในพื้นที่

กิจกรรมที่ 3.4 ส่งเสริมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยมิติเศรษฐกิจ5 กุมภาพันธ์ 2564
5
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จากผลการประชุมกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับมิติการออมทุกหมู่บ้านต้องการที่ฝากเงินกับสถาบันการเงิน เพื่อความมั้่นคง และปลอดภัย ดังนั้นจึงได้ประสานกับทางธกส.สาขา หาดเลา เพื่อมาให้คว่มรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการออม ประเภทต่าง ๆ ของธนาคาร จึงได้นัดประชุมกลุ่มเป้าหมายโดยยแยกประชุมหมู่บ้าน วันที่ 5  กุมภาพันธ์ 2564 เวลา  13.00 น. ประชุมหมู่ที่ 2 บ้านยวนโปะ มีผุู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 56  คน วันที่ 9  กุมภาพันธ์ 2564 เวลา  13.00 น. ประชุมหมู่ที่ 1 บ้านส้มเฟือง มีผุู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 85  คน วันที่ 15  กุมภาพันธ์ 2564 เวลา  13.00 น. ประชุมหมูที่ 3 บ้านไสจีนติก มีผุู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 56  คน วันที่ 19  กุมภาพันธ์ 2564 เวลา  13.00 น. ประชุมหมูที่ 5 บ้านบางด้วน มีผุู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 57  คน วันที่ 23  กุมภาพันธ์ 2564 เวลา  13.00 น. ประชุมหมูที่ 6 บ้านต้นไทร มีผุู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 80  คน วันที่ 25  กุมภาพันธ์ 2564 เวลา  13.00 น. ประชุมหมูที่ 4 บ้านป่าแก่ มีผุู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 80  คน ประชุมเกี่ยวกับการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย มิติด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญของการออมเพื่อไว้ใช้จ่ายยามเข้าสุ่ผุ้สุงวัย โดยเชิญธนาคาร  ธกส. สาขาหาดเลา มาแนะนำการฝากเงินรูปแบบต่างแก่ประชาชนในพื้นที่ และนัดวัดฝากเงินของแต่ละหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนให้ความสำคัญเกี่ยวกับมิติการฝากเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายยามชรา และแนะนำการออมเงินรูปแบบต่าง ๆ ของธกส. พร้อมแนะนำการออมโดยการปลูกต้นไม้พืชเศรษฐกิจ กรณีใครมีพื้นที่ดินว่างสามารถปลูกไม้เศรษบกิจ  เช่น เทียม ผยุง ไหลำ ไม้สัก ไว้ก็ได้เมื่อเวลาผ่านไป สิบปี เราสามารถนำไม้มาจำหน่าย เป็นรายได้ไว้ใช้จ่ายยามชราได้ด้วย

กิจกรรมที่ 3.1 ส่งเสริมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยมิติสุขภาพ29 มกราคม 2564
29
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำแบบบันทึกกิจกรรมออกกำลังกาย  จำนวน  600 เล่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้อสม.ไปแจกให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบและให้กลุ่มเป้าหมายบันทึกการออกกำลังกายแต่ละวันของตนเอง โดยให้อสม.เป็นผุ้รับผลการออกกำลังกายแต่ครั้ง

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 422 มกราคม 2564
22
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน ผุู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ อสม.เพื่อขับเคลื่อเตรีรมรองรับสังคมสูงวัย มิติด้านเศรษฐกิจ สืบเนื่องมาจากทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ประสานจะเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการออมเงินเตรีบมรองรับสังคมสุงวัย ของตำบลบางด้วน  โดยให้นัดลงประชุมทุกหมู่บ้าน ดังนั้น คณะทำงานจึงนัดประชุมแก่นนำทั้งหมดมาประชุมเพื่อเตรียมนัดกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหมู่บ้าน จึงทำความเข้าใจกับคณะทำงาน ถึงการขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และะทบทวนแบบประเมินด้านเศรษฐกิจของแต่ละหมู่  พร้อมทั้งมีพี่เลี้ยง นายพิสิษฏพงคื ปัญญาศิริพันธุ์ นางจำเนียร  มานะกล้า  ได้มาพูดชี้แจงถึงบันไดผลลัพธ์ และการทำงานให้บรรลุผล และการสร้างตัวแบบในการขับเคลื่อนรองรับสังคมสุงวัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะทำงาน ผุ้นำท้องถิ่น ผู่้นำท้องที่ อสม.  ประมาณ 120 คน  ได้กำหนดการลงพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมิติด้านเศรษบกิจ เกี่ยวกับการออม โดยให้เจ้าหน้าที่ ธกส. เข้าร่วประชุมให้คำแนะนำและสมัครเปิดบัญชีเงินฝากดังนี้ หมู่ที่ 1 กำหนดประชุม วันที่  10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. โรงเรียนวัดควนวิไล หมู่ที่ 2 กำหนดประชุม วันที่  5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. โรงเรียนบ้านยวนโปะ หมู่ที่ 3 กำหนดประชุม วันที่  15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 4 กำหนดประชุม วันที่  17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. วัดป่าแก่ หมู่ที่ 5 กำหนดประชุม วันที่  4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. โรงเรียนบ้านบางด้วน หมู่ที่ 6 กำหนดประชุม วันที่  18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. ศาาเอนกประสงค์

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานครั้งที่ 1 ประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย16 ธันวาคม 2563
16
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเตรียมรอองรับสังคมสุงวัย โดยให้ผุ้รับผิดชอบโครงการตำบลละ 3 คน เข้าร่วมประชุม พร้อมพี่เลี้ยงแต่ละพื้นที่ รายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย ของแแต่ละพื้นที่เป็นแแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทุุกพื้นที่เข้าร่วมประชุมที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนีตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการดำเนินของแต่ละพื้นที่

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 315 ธันวาคม 2563
15
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมครั้งที่ 3 มีคณะกรรมการ แกนนำหมู่บ้าน อสม. ทั้ง 6 หมู่บ้าน ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน และทำการรายงานผลจากการสำรวจแบบสอบถามให้คณะกรรมกร และแกนนำ และ ทีม อสม.ที่ลงพื้นที่สำรวจได้รับทราบผลการทำแบบสำรวจ  และได้ทำการวิเคราะห์ลการสำรวจในที่ประชุมในแต่ละมิติเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน และได้เชิญ พี่จำเนียร  มานะกล้า ร่วม ARE ของการดำเนินงานของคณะทำงาน มีความเข้าใจถึงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย มากน้อยเพียงใด พร้อมร่วมกันหาแนวงานในการขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสุูงวัยต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน แกนนำ และอสม. มีความรู้ความเข้าใจและมีกระตุ้นการทำงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทราบผลของการทำแบบสำรวจและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย และได้ทำการวิเคราะห์ผลการสำรวจในที่ประชุมในแต่ละมิติเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน และได้เชิญพี่จำเนียร  มานะกล้า (พี่เลี้ยง)ร่วม ARE ของการดำเนินงานของคณะทำงาน มีความเข้าใจถึงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย มากน้อยเพียงใด พร้อมร่วมกันหาแนวงานในการขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสุงวัยต่อไปจากการ ARE สรุปวาคณะทำงานมีความเข้าใจถึงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัยเป้นอย่างดี

กิจกรรมย่อยที่ 2.1 สำรวจศึกษาข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเชิงลึกโดยคณะทำงานและทีมงาน อสม. ครั้งที่14 ธันวาคม 2563
4
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ให้ทีม อสม.ลงพื้นที่ทำแบบสำรวจกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 6 หมู่่บ้าน  เป้าหมายหลัก 40-59 ปี  จำนวน 450  ราย และเป้าหมารอง  จำนวน 80  ราย  เมื่อลงสำรวจจริงโดยมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแบบสอบถามแต่ละข้อก่อนลงทำแบบสำรวจ โดยแบบกลุ่มเป้าหมายออกแต่ละหมู่บ้านอย่างเท่า ๆ กันให้ลงสำรวจโดยให้เขียนชื่อ ที่อยู่ เลข 13 หลัก ของแต่ละคนไว้ด้วย เพื่อให้สะดวกต่อการทำสำรวจเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ เป้าหมายหลัก แและกลบุ่มเป้าหมายรอง  ตามแบบสำรวจ จำนวน  564  ชุด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีม อสม.ลงสำรวจกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ค่าตอบแทนแบบสำรวจชุดละ 10 บาท ให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถาม และนำแบบสอบถามทั้งหมดให้ทางวิทยาลัยพยาบาลราชชนนีตรังทำการประมวลผล  เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านปัญหาที่แต่จริงทั้ง 4 มิติ ของแต่ละหมู่ และในภาพรวมทั้ง ตำบลบางด้วน ทั้ง 4 มิติ มีจุดอ่อน จุด แข็ง อย่างไรบ้างการขับเคลื่อนโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วนควรจะแก้ปัญหามิติใดเป็นสำคัญ และใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนในแต่ละมิติ และเพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ในการขับเคลื่อนโครงการเตรียมพร้อมรองรับสังคมสุูงวัยต่อไป

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 1(30ก.ค.-29พ.ย.63)29 พฤศจิกายน 2563
29
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 1(30ก.ค.-29พ.ย.63)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์งวดที่ 1(30ก.ค.-29พ.ย.63)

ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม15 ตุลาคม 2563
15
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการเเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ตำบลบางด้วน ขนาด 1.20x2.40 เมตร และป้ายโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน ขนาด 1x2 เมตร  สติกเกอร์ติดฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 40x80 ซม เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ และเมื่อมีการประชุมเตรียมรองรับสังคมสุูงวัยแกนนำ คณะทำงาน ได้รู้ถึงแนวทาง และระยะเวลาในการดำเนินงาน และกิจกรรมที่จะร่วมขับเคลือนต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ใช้ประกอบการทำงานและประชาสัมพันธ์กิจกรรมและโครงการเตรียมรองรับสังคมสุงวัยตำบลบางด้วน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ และเมื่อมีการประชุมเตรียมรองรับสังคมสุูงวัยแกนนำ คณะทำงาน ได้รู้ถึงแนวทาง และระยะเวลาในการดำเนินงาน และกิจกรรมที่จะร่วมขับเคลือนต่อไป

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 114 ตุลาคม 2563
14
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง และแกนนำของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อชี้้แจงรายละเอียดของโครงการเตรียมพร้อมรองรับสังคมสุูงวัยตำบลบางด้วน มาศึกษาถึงปัญหาของตำบลบางด้วน ทั้ง  4 มิติประกอบด้วย  มิติด้้านสุขภาพ  มิติด้านสังคม  มิติด้านสิ่งแวดล้อม  และมิติด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งทั้ง 4 มิติ มีความสำคัญยต่อการดำเนินชีวิตของผู้สุูงวัย และเป็นปัญหาอุปสรรคของสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นถ้าตำบลบางด้วนต้องการให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น คณะทำงานต้องร่วมกันขับเคลือนโครงการดังกล่าว  โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก อายุ 40-59  ปี  และกลุ่มเป้าหมายรองอายุ 60 ปีขึ้นไป ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงโครงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย  โดยกำหนดดำเนินการทั้ง 4 มิติ โดยมีบันไดผลลัพธ์ เป้็นเครือมือในการทำกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความเข้าใจในการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย และเลือกที่จะขับเคลือนโครงการเตรียมรองรับสังคมสููงวัย ทั้ง 4 มิติ  ด้านสุขภาพ ด้านสังคม  ด้านสิ่่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ เพราะต้องการให้ผู้สุูงวัย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีเงินไว้จ่ายยามชรา มีบ้านที่ปลอดภัย และเหมาะสมกับผุู้สุูงวัย มีลูกหลานดูแลยามชรา
ดังนั้น ที่ประชุมจึงร่วมหาแกนนำที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสุูงวัยทั้ง 4 มิติ  โดยมีบันไดผลลัพธ์ เป้็นแนวทางในการทำงาน และค้นหากลุ่มเป้าหมายสร้างความรู้ความเข้าใจและขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 214 ตุลาคม 2563
14
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานและแก่นนำในการทำงานเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย จำนวน 60 คน เป็นการประชุมครั้งที่ 2 หลังจากการประชุมครั้งแรกโดยตำบลบางด้วน เน้นที่จะขับเคลื่อนทั้ง 4 มิติ ดังนั้นการที่จะขับเลื่อนทั้ง 4 มิติต้องรู้ถึงปัญหาความต้องการที่แท้จริงด้านสุขภาพ ด้านสังคม  ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจของตำบลบางด้วน  โดยการทำแบบสำรวจที่ทีมงาน node ตรังได้สร้างแบบสำรวจให้ โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข อสม. ตำบลบางด้วน ซึ่งเป็นแกนนำในการลงสำรวจ ดังนั้นก่อนที่จะทำการสำรวจข้อมูล ทางผอ.รพสต.บางด้วน ได้เรียก อสม.ทั้งหมด มาประชุม เพิ่อทำความเข้าใจแบบสำรวจแต่และข้อ  เพื่อให้ อสม.มีความเข้าใจในแบบสอบถามตรงกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน เมื่อลงพื้นทีสำรวจ กลุ่มเป้าหมายหลัก และกลุ่มเป้าหมายรอง  มีการแบ่งทีมการรับผิดชอบพร้อมให้ อสม.แต่ละท่านเขียนชื่อ ที่อยู่ พร้อมเลข 13 หลัก ของผู้ตอบแบบสอบถามด้วย เพื่อใช้ในการสำรวจหลังจากสิ้นสิ้นโครงการ เพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรม ทั้ง 4 มิติว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายหลัก และกลุ่มเป้าหมายรองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่ง อสม.ได้ลงพื้นที่ทำแบบสำรวจตามที่ได้กำหนดไว้ โดยให้ค่าตอบแทนแบบสำรวจชุดละ 10 บาท  ซึ่งทั้ง 6 หมู่บ้านได้ลงสำรวจกลุ่มหมายทั้งสิ้น 561 ชุด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน รับทราบข้อมูลแบบสำรวจแต่ละข้ออย่างชัดเจนถูกต้องในรายละเอียดของแบบสำรวจ ภายใต้โครงการการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบลบางด้วน โดยขับเคลื่อนกิจกรรมทั้ง 4 มิติ ประกอบด้วยมิติด้านสุขภาพ มิติด้าน สังคม  มิติด้านปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และมิติด้านเศรษฐกิจการออม เพื่อให้มีความเข้าใจแนวคิดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเพิ่มมากขึ้น และทีม อสม. แต่ละหมู่ได้อธิบายและพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายถึงที่ไปที่มาของการดำเนินกิจกรรม และการลงทำแบบสำรวจ ตามที่ได้กำหนดไว้ เป้าหมายหลัก 450  คน เป้าหมายรอง 80 คน สรุปได้แบบสำรวจทั้งหมด 561 ชุด

กิจกรรมที่ 1.1 สร้างความเข็มแข็งและองค์ความรู้ให้แกนนำในการขับเคลื่อนรองรับสังคมผู้สูงวัยตำบลบางด้วน ประชุมคณะทำงาน13 สิงหาคม 2563
13
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย พิศิษฏพงค์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมแกนนำในตำบลบางด้วน เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานโครงการเตรียมพร้อมรองรับสังคมสุูงวัย คณะทำงานที่ได้รับการแแต่งตั้งประชุมพูดคุยถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเตรียมรองรับสังคมสุูงวัย สาเหตุและปัญหาของสังคมสุงวัย แนวทางการขับเคลือนโครงการเตรียมพร้อมรองรับสังคมสุงวัย ตามบันไดผลลัพธ์ที่วางไว้ พร้อมกำหนดกิจกรรมในการขับเคลือนและวิธีการพัฒนาความรุ้ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ถึงปัญหา อุปสรรค และนโยบายในการขับเคลือนโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย  รู้เป้าหมายหลัก เป้าหมายรอง ในการขับเคลือนโครงการ  ศึกษากิจกรรม ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ที่ช่วยให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมหาแนวทางในการสร้างทีมงานหรือเครือข่ายในการดำเนินดครงการและกิจกรรมต่อไป

เวทีปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ณ ภูผายอดรีสอร์ท อ.ห้วยยอด จ.ตรัง30 กรกฎาคม 2563
30
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีรัตน์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน เข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศ ในวันที่ 30 กรกฏาคม 2563 จำนวน 3 คน  เพื่อเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม  การชี้แจงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สสส.  มีการทบทวนบันได้ผลลพธ์และตัวชี้วัดโครงการ และการจัดทำปฏิทินการดำเนินงาน ตลอดโครงการ  มีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลสูงวัย (40-59ปี) และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)  รับฟังข้อเสนอแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในเรื่องข้อควรระวังในการดำเนินงานของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน จำนวน 3 คน มีความรู้ความเข้าใจในบันไดผลลัพธ์โครงการสามารถกำหนดแนวทาง(ปฏิทินการดำเนินงาน) เพื่อให้บรรลุบันไดผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่การเงิน ของโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางด้วน มีความเข้าใจในกระบวนการเก็บหลักฐานการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของ สสส.ในระดับหนึ่ง
  • คณะทำงานสามารถออกแบบสำรวจการจัดข้อมูลสูงวัยและข้อมูลผู้สูงอายุ ให้มีความสอดคล้องกับบันไดผลลัพธ์ของโครงการ