directions_run

โครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่ ปี65 -66

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้หน่วยจัดการระดับจังหวัดชุมพร (Node Flagship) มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะสู่ชุมพรเมืองน่าอยู่
ตัวชี้วัด : 1.1 ทีมงานหน่วยจัดการที่มีโครงสร้างและแบ่งบทบาทภารกิจชัดเจน มีจำนวนที่เพียงพอต่อการดำเนินงานและมีขีดความสามารถในบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หัวหน้าหน่วยจัดการ ทีมสนับสนุนวิชาการ เจ้าหน้าที่ประสานงานและการเงินบัญชี และคณะที่ปรึกษาหรืออำนวยการ 1.2 มีระบบบริหารจัดการที่สอดคล้องตามแนวปฏิบัติของ สสส. ทั้งในส่วนการบริหารจัดการงบประมาณ และบริหารจัดการโครงการย่อย (การพัฒนาแบบฟอร์ม/เครื่องมือ/คู่มือในการพัฒนาโครงการย่อย การกลั่นกรองโครงการย่อย การสนับสนุนงบประมาณและทำข้อตกลง การรายงานผลการดำเนินงาน) 1.3 มีประเด็นยุทธศาสตร์ 2 ประเด็นที่ขับเคลื่อนในระดับจังหวัด โดยเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาของจังหวัดและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้สูง ดังนี้ มีการกำหนดผลลัพธ์หรือตัวชี้วัดของประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้งผลลัพธ์ในระดับเป้าหมายจังหวัด/วาระจังหวัด และผลลัพธ์หรือเป้าหมายในการสนับสนุนโครงการย่อย มีการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่วิกฤติ หรือพื้นที่จุดคานงัดที่สามารถเป็นตัวแทนปัญหาในการเป็นต้นแบบ เพื่อคัดเลือกมาสนับสนุนโครงการเพื่อขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในประเด็นยุทธศาสตร์นั้นๆ มีกลยุทธ์/วิธีการที่จะนำโมเดลหรือรูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบไปขยายผลหรือส่งต่อความสำเร็จให้มีผลกว้างขวางขึ้นในระดับจังหวัด มีแผนภาพการเชื่อมโยงผลลัพธ์ประเด็นยุทธศาสตร์ (Outcome Alignment) ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของผลลัพธ์ในแต่ละโครงการย่อยที่ดำเนินงานว่ามีความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงหรือส่งต่อกันอย่างไรเพื่อบรรลุผลลัพธ์ในระดับเป้าหมายจังหวัด 1.4 มีภาคียุทธศาสตร์ร่วมมือดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาวะของพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อย 5 ภาคี

 

 

 

2 เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ในประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ และประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่โดยจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ที่ได้รับความร่วมมือในการขยายผลพื้นที่รูปธรรมจากภาคีหลายภาคส่วนในจังหวัดชุมพร
ตัวชี้วัด : 2.1 กลไกระดับจังหวัด ภาคียุทธศาสตร์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ มีความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ให้บรรลุผลลัพธ์จังหวัดชุมพร 2.2 เกิดการสนับสนุนพื้นที่เป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ ที่มีผลลัพธ์สอดคล้องกับผลลัพธ์ประเด็นยุทธศาสตร์ตามที่กำหนดไว้ 2.3 โครงการย่อย ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามผลลัพธ์ของโครงการกำหนดไว้ และสามารถส่งรายงานผลการดำเนินงานให้แก่หน่วยจัดการครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง 2.4 จำนวนแกนนำโครงการย่อย ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ (อย่างน้อยโครงการละ 3 คน) ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 2.5 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,250 คนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน หรือจำนวนสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและเอื้อต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายจากการดำเนินงานของ 25 โครงการ 2.6 เกิดความร่วมมือหรือการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานหรือภาคียุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็น ที่จะขยายผลโมเดล/รูปแบบการดำเนินงานของพื้นที่ต้นแบบ เพื่อขยายผลหรือส่งต่อความสำเร็จให้มีผลกว้างขวางขึ้นในระดับจังหวัด 2.7 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรจากกองทุนสุขภาพท้องถิ่น และ/หรือภาคียุทธศาสตร์ อย่างน้อย 25 พื้นที่

 

 

 

3 เพื่อให้เกิดความร่วมมือ การเชื่อมต่อทรัพยากรและแหล่งทุนจากภาคียุทธศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะของพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และขยายผลเชิงนโยบายในระดับพื้นที่เขตสุขภาพ
ตัวชี้วัด : 3.1 มีพื้นที่การผลิตผักผลไม้ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 10% ของพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่เข้าร่วม 3.2 มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ 3.3 มีการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย 3.4 เพิ่มรายได้ครัวเรือน อย่างน้อย 10 % จากรายได้เดิม 3.5 มีการพัฒนาหรือขยายผลรูปแบบการเกษตรและอาหารสุขภาพ 4 รูปแบบ/ระดับ (ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เครือข่าย) อย่างน้อย 70% ของพื้นที่โครงการย่อย