diversity_2

โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้

stars
1. รายละเอียดชุดโครงการ
ชื่อชุดโครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
รหัสชุดโครงการ 64-00214
ปีงบประมาณ 2564 (เฉพาะแอดมิน)
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มีนาคม 2564 - 4 เมษายน 2565
งบประมาณ 2,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมสร้างสุขชุมชน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุวิทย์ หมาดอะดำ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 มี.ค. 2564 31 ก.ค. 2564 1,275,000.00
2 1 ส.ค. 2564 31 ธ.ค. 2564 590,000.00
3 1 ม.ค. 2565 4 มี.ค. 2565 135,000.00
รวมงบประมาณ 2,000,000.00
stars
3. สถานการณ์/ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (Covid-19) ที่เริ่มมี ข่าวการแพร่ระบาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงเดือนธันวาคม 2562 และแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยพบ ผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยในเดือนมกราคม 2563 นำไปสู่การงดเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ การข้ามแดน และการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พรก. ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 โดยทุกภาคส่วนได้มีมาตรการต่าง ๆ ออกมาเพื่อรองรับการแพร่ระบาด เช่น มาตรการการ เว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) การรณรงค์“อยู่บ้าน หยุดเชื้อ ช่วยชาติ” นโยบายการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ตลอดจนประกาศคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการควบคุม การเดินทางของประชาชน และการปิดสถานบริการที่มีผู้ใช้บริการแออัด หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการสัมผัสและ แพร่กระจายโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก สถานบันเทิง สนามกีฬา เป็นต้น การระบาดรอบใหม่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อ "โควิด" ในจังหวัดสมุทรสาครในช่วงปลายปี 2563 ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว แม้มีการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. แต่การแพร่ระบาดได้ขยายวงกว้างแบบดาวกระจายไปยังจังหวัดอื่นไปแล้ว และมีข้อมูลว่าประเทศไทยมีจังหวัดที่มีการระบาดมาก ในรอบแรก 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต นนทบุรี ยะลา สมุทรปราการ ชลบุรี ปัตตานี สงขลา เชียงใหม่ และปทุมธานี และรายงานสถานการณ์ล่าสุดของกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 64 พบว่า มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นใน 1 วันเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า จำนวน 175 ราย มีผู้ป่วยสะสม 24,279 ราย แสดงให้เห็นว่า ยังมีการค้นพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น โดยใน 5 จังหวัดชายแดน ทีมยุทธศาสตร์ ศูนย์ปฏิบัติกากรตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตสุขภาพที่ 12 รายงานว่า ช่วงการระบาดระลอกที่ 2 จากวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 มีแรงงานไทยจาก 5 จังหวัดชายแดน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดสตูล และจังหวัดนราธิวาส เดินทางกลับประเทศไทย จำนวน 649 , 552 , 489 ,239 และ 74 ราย ซึ่งต้องทำการตรวจหาเชื้อและกักตัว 14 วัน ทำให้เกิดภาวะว่างงาน ขาดรายได้ ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด 19

  ด้วยความหวาดวิตกของประชาชนต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ ภาคเอกชน และพฤติกรรมของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้การ ท่องเที่ยวไทยหยุดชะงักแบบฉบับพลัน จากมาตรการของภาครัฐในมาตรการงดการเดินทางข้ามแดนระหว่าง ประเทศ การงดเที่ยวบินของสายการบินการยกเลิกโปรแกรมการท่องเที่ยว ส่งผลให้โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ขาดรายได้เพื่อสนับสนุนนโยบายการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 นับได้ว่า ยอดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเป็นศูนย์ซึ่งเป็นการสูญเสียรายได้ จากการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล รวมทั้งกิจการด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องทั้งห่วงโซ่การผลิตย่อมได้รับผลกระทบ จากการหยุดกิจการ ต้องแบกรับต้นทุนรายจ่ายประจำด้านแรงงาน ค่าเช่า ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าสัมปทานต่าง ๆ ย่อมเป็นภาระที่จะส่งผลให้กิจการด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่มากมาย แรงงานที่ทำงานในประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นแรงงานจากพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยที่เข้าไปทำงานร้านอาหารและภาคบริการ ที่เคยนำรายได้กลับมายังครอบครัวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปีละมากๆ มีบางส่วนต้องเดินทางกลับมาจากการเปิดให้มีการกลับและยังมีบางส่วนที่ยังติดค้างอยู่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่อนุญาตให้มีการเปิดร้านอาหารและยังมีการห้ามเดินทางระหว่างรัฐ การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายและมาตรการของรัฐที่จะลดการระบาดของโควิด19 นี้ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มที่ต้องทำงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในรายงานเรื่อง ภาวะสังคมไทย พบว่า อัตราการว่างงานของประชากรอยู่ในระดับสูง ชั่วโมงการทำงานลดลง กระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของครัวเรือน และปัญหาความยากจนสะสม อันส่งผลต่อสุขภาวะของประชาชน และกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบชัดเจนจากข้อมูลของของ TDRI ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติได้แบ่งกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบดังนี้ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มวัยที่กำลังจะจบการศึกษาและออกมาเป็นแรงงาน มีแนวโน้มจะหางานที่ลำบากมากยิ่งขึ้นจากภาวะการหยุดกิจการของภาคเอกชน และกลุ่มที่สองคือ กลุ่มวัยทำงานที่ต้องได้รับผลกระทบจากการปิดตัว/ลดขนาดของสถานประกอบการและต้องออกจากงาน ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับมือกับค่าใช้จ่ายประจำและหนี้สินครัวเรือนที่เป็นหนี้ระยะยาว
และข้อมูลจาก การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา และมาตรการของรัฐ โดยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 พบว่า ผลกระทบต่อประชาชนที่เห็นได้ชัดเจน คือ ด้านเศรษฐกิจซึ่งประชาชนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่มีรายได้น้อย การประกอบอาชีพและรายได้ของประชาชนได้รับผลกระทบอย่างสูงและขยายวงกว้าง โดยร้อยละ 75.6 ได้รับผลกระทบด้านอาชีพ และร้อยละ 83.6 ระบุว่ามีรายได้ลดลง ในขณะที่ร้อยละ 49.9 มีรายจ่ายของครอบครัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากร้อยละ 18.8 ไม่สามารถออกไปทำเกษตรหรือประมงได้ ส่วนร้อยละ 14.3 ถูกพักงานชั่วคราว ร้อยละ 12.8 ไม่มีใครจ้างงาน และร้อยละ 9.9 จำเป็นต้องเลิกค้าขาย ได้รับผลกระทบด้านการศึกษาของตัวเองหรือบุตรหลานมาก รวมไปถึงด้านการเดินทางออกนอกพื้นที่ การเดินทางไปประกอบอาชีพหรือทำเกษตร การไปจับจ่ายซื้อ ของในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติศาสนกิจ ซึ่งกลุ่มที่ไม่ได้อ้างในงานสำรวจคือกลุ่มแรงงานที่เข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียที่ต้องกลับมาหลังนโยบายผลักดันคนต่างด้าวออกจากประเทศของมาเลเซีย ซึ่งกลุ่มจังหวัดที่ได้รับผลกระทบนี้จะเป็นกลุ่มคนใช้แรงงานในประเทศมาเลเซียจาก 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจ กลุ่มเหล่านี้ต่างมีภูมิหลังที่ไปทำงานหารายได้ในประเทมาเลเซียส่วนใหญ่แล้วเป็นครอบครัวที่ยากจนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นการกลับถิ่นของแรงงานจึงเป็นเหมือนการเติมความยากลำบากให้ครอบครัวเพิ่มขึ้น
ลักษณะของผลกระทบจากโควิดของพื้นที่เป้าหมายของ 5 จังหวัด 1. จังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศพื้นบ้านคือ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการระบาดหนัก จนมีการล๊อคดาวน์ประเทศ แต่ก็ยังมีคนที่ลักลอบเข้าออกทางด่านธรรมชาติเพื่อเข้าไปทำงาน หรือ เดินทางกลับมายังประเทศไทย อย่างผิดกฎหมายและมีความเสี่ยงต่อการระบาด 2. เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีแรงงานเข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซียหลังมีการปิดด่านและมีการผลักดันกลับประเทศพบว่า มีเยาวชนและแรงงานว่างงาน รวมแรงงานไทยที่กลับจากมาเลเซีย จานวน 39,000 คน และ ส่งผลต่อเศรษฐกิจระดับพื้นที่ เพราะแรงงานเหล่านี้มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจเพราะจะส่งเงินกลับมายังพื้นที่และเกิดการใช้จ่ายในระดับพื้นที่ 3. เป็นจังหวัดที่มีตัวเลขความยากจนอยู่ในระดับต้นของประเทศ ผลกระทบจึงมีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น
นายสุวิทย์ หมาดอะดำ และทีม เป็นกลุ่มบุคคลที่มีภูมิลำเนาใน 5 จังหวัดชายแดน มีประสบการณ์การดำเนินเชิงรุกในพื้นที่ทั้งในภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายประชาสังคม ได้แก่ เคยเป็นหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ที่ดำเนินงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา รวมถึง ทีมสนับสนุนวิชาการเป็นผู้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและดำเนินงานในหน่วยจัดการพัฒนาศักยภาพภาคีของ สสส.พื้นที่ภาคใต้ เป็นหน่วยจัดการระดับจังหวัดหวัด ที่ได้รับการพัฒนาทักษะและความสามารถที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานมาแล้ว ดังนั้นจึงมีความประสงค์ที่จะเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากโควิทในพื้นที่ ที่ต้องออกจากระบบการจ้างงานและยังไม่มีแนวโน้มของการจ้างงานต่อในอนาคต เป็นกลุ่มที่ไม่มีทักษะในการรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องทักษะด้านการทำงานเสริม ทักษะการบริหารจัดการเงิน หรือทักษะในการปรับตัวของธุรกิจ บางชุมชนยังขาดกลไกและกระบวนการในการออกแบบและรองรับปัญหาแรงงานกลับถิ่นจึงทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆตามมา แนวทางในการแก้ไข และบรรเทาปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตดังกล่าวคือ การพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของคนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ในการรับมือกับปัญหา สุขภาพและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้สามารถดำรงชีวิตตามแนวพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ช่วยกันป้องกันการแพร่กระจายโควิท ในชุมชน มีระบบความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน และสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามแนวทางเศรษฐกิจฐานรากต่อไป

stars
4. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีความรู้และทักษะด้านการเงิน ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตวิถีใหม่(New Normal) และการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิท 19

กลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยแรงงานไม่น้อยกว่า 450 คน มีความรู้ ทักษะในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิท 19 การดูแลสุขอนามัยของตนเอง และสถานที่สาธารณะ

450.00
2 เพื่อสนับสนุนให้โครงการย่อยดำเนินการเพิ่มศักยภาพกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน และกิจกรรมเพิ่มรายได้ครัวเรือน
  1. เกิดแกนนนำชุมชนหรือแกนนำกลุ่มที่มีความสามารถในการดำเนินงานโครงการ ไม่น้อยกว่า 45 คน จาก 15 โครงการย่อย
  2. เกิดพื้นที่ชุมชนที่มีขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร จากฐานทรัพยากรในชุมชน สามารถบริหารและจัดสรรแบ่งปัน/ขาย เพื่อการบริโภคในภาวะทั่วไปและภาวะวิกฤตได้อย่างเพียงพอให้ชุมชนไม่น้อยกว่า 10 ชุมชน
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถสร้างอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ของจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ
15.00
stars
5. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมคณะทำงานหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 104,500.00 1 20,900.00
7 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 10 20,900.00 20,900.00
1 - 29 พ.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 10 20,900.00 -
1 - 31 ส.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 10 20,900.00 -
1 - 31 ต.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 10 20,900.00 -
1 - 31 ม.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 10 20,900.00 -
2 การติดตามหนุนเสริมให้โครงการสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 180,000.00 0 0.00
31 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 การติดตามหนุนเสริมให้โครงการสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ ครั้งที่ 1 10 60,000.00 -
30 ต.ค. 64 การติดตามหนุนเสริมให้โครงการสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ ครั้งที่ 2 10 60,000.00 -
1 - 31 ม.ค. 65 การสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินงาน 10 60,000.00 -
3 สนับสนุนงบดำเนินงานแก่โครงการย่อย และโครงการย่อยดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,050,000.00 0 0.00
18 เม.ย. 64 สนับสนุนงบดำเนินงานแก่โครงการย่อย และโครงการย่อยดำเนินงาน งวดที่ 1 0 600,000.00 -
16 ส.ค. 64 สนับสนุนงบดำเนินงานแก่โครงการย่อย และโครงการย่อยดำเนินงาน งวดที่ 2 0 375,000.00 -
15 ม.ค. 65 สนับสนุนงบดำเนินงานแก่โครงการย่อย และโครงการย่อยดำเนินงาน งวดที่ 3 0 75,000.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 162 665,500.00 3 99,000.00
5 มี.ค. 64 - 4 มี.ค. 65 หน่วยจัดการร่วมกิจกรรมกับ สสส. 10 39,550.00 0.00
5 มี.ค. 64 - 10 ม.ค. 65 ดำเนินงานบริหารหน่วยจัดการ สนับสนุนการทำงาน 0 360,200.00 -
6 - 7 เม.ย. 64 เวทีพิจารณาโครงการย่อย 12 23,000.00 23,000.00
11 - 12 เม.ย. 64 เวทีปฐมนิเทศโครงการรายย่อย 40 76,000.00 76,000.00
1 ก.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 50 90,750.00 -
18 - 19 ธ.ค. 64 เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 50 76,000.00 -
  1. เพื่อให้เกิดหน่วยจัดการที่มีขีดความสามารถในการสนับสนุนให้โครงการย่อยให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1.1. ประชุมคณะทำงานหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการ จำนวน 10 คน เพื่อทำความเข้าใจโครงการและเงื่อนไข และแนวทางการทำงานระดับหน่วยจัดการและการทำงานกับโครงการย่อย รวมถึงการวางกรอบการสนับสนุนโครงการย่อยให้มีความชัดเจน นำไปสู่การสามารถฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากได้ ผลผลิตของกิจกรรมคือ แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการที่มีความชัดเจนและ ผลสรุปวิธีการทำงานของทีมสนับสนุนวิชาการ 1.2. การคัดเลือกพื้นที่และลงพื้นที่พัฒนาข้อเสนอโครงการในพื้นที่เป้าหมาย 15 โครงการ โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้ คือ เป็นพื้นที่ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ได้รับผลกระทบทั้งเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพถึงลักษณะของผลกระทบในระดับกลุ่ม หรือชุมชน และมีคุณสมบัติดังนี้ 1.2.1. เป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลง ตกงาน มีความไม่มั่นคงด้านอาชีพ หรือ ชุมชนที่ไม่มีความมั่นคงทางอาหาร (มีระบบอาหารที่ไม่เพียงพอหากเกิดวิกฤต) จากผลกระทบจาก COVID-19
    1.2.2. กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหรือแกนนำชุมชนมีความมุ่งมั่น ในการรับการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของตนเองด้านอาชีพและรายได้ หรือ ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชน
    1.2.3. อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล 1.2.4. ต้องยอมรับหลักการในการบริหารจัดการโครงการ อาทิ การจัดทำรายงาน จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบันทึกข้อมูลและจัดส่งข้อมูล การบริหารจัดการด้านการเงินตามระเบียบหลักเกณฑ์ของ สสส. 1.3. กิจกรรมพิจารณาข้อเสนอโครงการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน การสร้างเสริมสุขภาพ การพัฒนาด้านอาชีพรายได้และความสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นผู้พิจารณา เพื่อช่วยเติมเต็มให้โครงการมีโอกาสที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน 15 โครงการ 1.4. สนับสนุนทุนให้โครงการย่อยให้แต่ละโครงการดำเนินงานตามแผนงาน โดยมีทีมสนับสนุนวิชาการหนุนเสริมโครงการละ 1 คน ทำหน้าที่ในการลงพื้นที่ติดตามและสนับสนุนอย่างน้อย 3 ครั้ง 1.5. กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนจำนวน 15 โครงการ โดยโครงการย่อยมีการเข้าร่วมกิจกรรม โครงการละ 2 คนได้แก่ หัวหน้าโครงการและผู้ทำหน้าที่การเงินโครงการ รวม 30 คน ร่วมกับทีมหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการ จำนวน 10 คน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจด้านการบริหารจัดการกิจกรรมในโครงการ การทำความเข้าใจแนวคิดหลักและผลลัพธ์ของโครงการ และการบริหารจัดการด้านการเงินตามระเบียบของ สสส. 1.6. สนับสนุนทีมพี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามประจำโครงการๆละ1คน เพื่อหนุนเสริมให้โครงการย่อยสามารถดำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ได้ ช่วยแนะนำการออกแบบกิจกรรมและช่วยประสานงานกับหน่วยงาน/บุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการให้สามารถบรรลุผลลัพธ์ได้ โดยการลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง โดยมีรายละเอียดการลงพื้นที่ดังนี้ 1.6.1. ครั้งที่ 1 ในเดือนที่ 1 หลังโครงการได้รับการสนับสนุน เพื่อร่วมในเวทีการประชุมครั้งแรกของคณะทำงานโครงการย่อยร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในโครงการ เพื่อช่วยชี้แจงและแนะนำร่วมกับคณะทำงานโครงการ 1.6.2. ครั้งที่ 2 ในเดือนที่ 5 ของโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้า และร่วมเวทีสะท้อนผลลัพธ์ โดยมีการจัดการข้อมูลตามแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลที่หน่วยจัดการได้ออกแบบไว้ และให้คำแนะนำแก่คณะทำงานโครงการ พร้อมจัดส่งข้อมูลให้หน่วยจัดการใช้ประกอบในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับหน่วยจัดการ 1.6.3. ครั้งที่ 3 ในเดือนที่9-10 ของโครงการเพื่อติดตามความก้าวหน้า รายงานปิดโครงการ รายงานปิดโครงการ รายงานการเงิน และสรุปบทเรียนการดำเนินงานของโครงการย่อย พร้อมจัดส่งข้อมูลให้หน่วยจัดการ ใช้ประกอบในเวทีถอดบทเรียนระดับหน่วยจัดการ 1.7. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา (ARE) โดยโครงการย่อยมีการเข้าร่วมโครงการจำนวน 2 คนได้แก่ หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน รวม จำนวน 30 ร่วมกับทีมหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการ จำนวน 10 คน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านอาชีพ และการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้คณะทำงานโครงการย่อยได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล การดำเนินงานและแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องของการนำความรู้ไปต่อยอดไปสู่การเพิ่มรายได้ และเพิ่มศักยภาพในการผลิต ไปสู่ชุมชนมีความมั่นคงทางอาการ นำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูล ความรู้ และแนวทางปรับใช้ในโครงการของตนเอง และทำให้หน่วยจัดการได้ข้อมูลความก้าวหน้าและได้รายงานเชิงผลลัพธ์ รวมถึงการส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนเพิ่มเติม 1.8. เวทีสรุปและปิดโครงการย่อย โดยโครงการย่อยมีการเข้าร่วมโครงการจำนวน 2 คนได้แก่ หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน รวม จำนวน 30 ร่วมกับทีมหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการ จำนวน 10 คน และภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้คณะทำงานโครงการย่อยได้นำเสนอข้อมูลเชิงผลลัพธ์ของโครงการย่อย
    1.9. กิจกรรมจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ และแนวทางในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถของตนเองด้านอาชีพและรายได้ หรือ ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชน สู่การมีสุขภาวะที่ดี เพื่อให้เกิดการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย ทั่วถึง นำไปปฏิบัติได้ กิจกรรมจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ แนวทางการบริหารจัดการรายรับ รายจ่าย และจัดหาสื่อกลางในการระบายผลผลิต เพื่อให้กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิทสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่าย ทั่วถึง นำไปปฏิบัติได้ โดยการจัดทำสื่อด้วยคลิปวีดีโอ และการใช้แพลทฟอร์ม แอพพลิเคชั่นกรีนสมาย(Green smile) เชื่อมโยงกลุ่มผู้ผลิต เชื่อมโยงกับผู้บริโภค และหน่วยงานผู้สนับสนุนให้มาทำงานร่วมกัน ในส่วนผู้ผลิตเน้นกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS สวนยางยั่งยืน ธนาคารต้นไม้ ปศุสัตว์ การทำงานมีการลงตรวจและรับรองแปลง โดยใช้ธรรมนูญเครือข่ายเกษตรสุขภาพ เป็นกรอบทิศทางการสนับสนุน เกษตรกรหรือกลุ่มที่ผ่านจะมีการออกคิวอาร์โคดให้ มีข้อมูลรายละเอียดผลผลิตแต่ละแปลง สามารถนำไปวางแผนการผลิต การตลาด และสามารถสั่งจองสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ โดยมี Admin ของกลุ่มดำเนินการ และจัดทำข้อมูลกลางของเกษตรกร โดยพัฒนาระบบข้อมูลกลางของเกษตรกร เพื่อให้รู้ว่ามีผลผลิตกี่ประเภท มีอะไรอยู่บ้าง



  2. เพื่อสนับสนุนโครงการย่อยดำเนินงานพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ด้วยความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ทักษะการบริหารจัดการด้านการเงิน เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่ 2.1. ประชุมคณะทำงานจัดทำแบบฟอร์ม/เครื่องมือการบันทึก และจัดเก็บข้อมูล ของโครงการย่อย เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บบันทึกข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ เกี่ยวกับตัวชี้วัดหลักของโครงการได้แก่ การได้รับความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็น ความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านการเงิน การเกิดกลุ่มในการดำเนินงานตามความเหมาะสม การมีรายได้เพิ่มของกลุ่มเป้าหมาย และแหล่งอาหารในระดับชุมชน ผลผลิตคือ แบบฟอร์มในการบันทึกข้อมูล 1 ชุด 2.2. ให้โครงการย่อย จำนวน 15 โครงการดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และสังคม สำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) 2.3. สนับสนุนโครงการย่อยจำนวน 10 โครงการดำเนินงานประเด็นเรื่องการสร้างอาชีพและรายได้ โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจฐานรากและใช้ฐานทุนทรัพยากรในชุมชน สำหรับพื้นที่ซึ่งมีกลุ่ม แรงงานตกงาน หรือรายได้ลดลง เด็กจบใหม่ กลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อพัฒนาอาชีพตามความถนัด โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กลุ่มหรือชุมชน และมีกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัยในสถานที่ซึ่งเป็นที่รวมตัวกันและพื้นที่ตลาดที่มีการซื้อขายสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและส่งผลต่อการเพิ่มรายได้ของผู้ประกอบการ 2.4. สนับสนุนโครงการย่อย จำนวน 5 โครงการดำเนินงานประเด็นการพัฒนาแหล่งอาหาร โดย หน่วยจัดการฯ มีกรอบภารกิจหลักในการจัดทำ แผนพัฒนาโครงการ/พื้นที่โครงการรายย่อย แผนพัฒนาหน่วยจัดการ แผนพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการติดตามและประเมินผลเชิงผลลัพธ์ และการจัดการความรู้และถอดบทเรียน ดังนี้
  3. แผนพัฒนาโครงการ/พื้นที่รายย่อย 1.1. การค้นหาภาคี และพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อย ภายใต้เงื่อนไข เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทั้งด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ และมีกลไกที่มีความพร้อมในการบริหารโครงการรายย่อยให้บรรลุผลลัพธ์ เช่น มีการรวมกลุ่มชัดเจน หรือ มีกลไกผู้นำชุมชนที่สร้างความร่วมมือเชิงบูรณาการงานได้ หรือ เป็นคณะกรรมการถาวรที่มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ เช่น กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พชอ. เป็นต้น ร่วมกับหน่วยจัดการพัฒนาข้อเสนอโครงการตามกรอบการสนับสนุนทุนโครงการของ สสส. เน้นความชัดเจนของปัญหา และผลกระทบที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงแนวทางกิจกรรมที่สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ได้หลังสิ้นสุดโครงการ 1.2. จัดกระบวนการพิจารณาสนับสนุนโครงการย่อย ตามระเบียบและหลักเกณฑ์การสนับสนุนทุนของ สสส. 1.3. ทำสัญญาโครงการผ่านระบบบริหารโครงการย่อย และสนับสนุนงบประมาณให้กับโครงการเพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ 1.4. จัดทำคู่มือการบริหารโครงการย่อย โดยมีรายละเอียดทั้งด้านการบริหารจัดการ การเงินบัญชีและรายงานผลการดำเนินงานให้กับ สสส.ได้รับทราบ เพื่อให้โครงการย่อยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้ถูกต้องตามระเบียบของ สสส. 1.5. จัดเวทีปฐมนิเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ การบริหารกิจกรรมให้เกิดผลลัพธ์ การบริหารจัดการการเงินการบัญชี การจัดเก็บข้อมูลการติดตามและประเมินผลลัพธ์ในระดับโครงการย่อย เป็นต้น
  4. แผนพัฒนาศักยภาพหน่วยจัดการ 2.1. พัฒนาศักยภาพหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการ เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการย่อยบรรลุผลลัพธ์ที่แผนงานได้วางไว้ ได้แก่ การบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชี การติดตามผลลัพธ์รายย่อย การจัดทำรายงานเชิงผลลัพธ์ และการสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานโครงการรายย่อยและหน่วยจัดการ
  5. แผนการพัฒนาระบบข้อมูลและการสื่อสาร 3.1. การติดตามสนับสนุนเสริมพลัง โดยมีการติดตามผลลัพธ์การดำเนินงานของโครงการรายย่อยให้บรรลุตามแผนงานที่กำหนด โดยมีการลงพื้นที่อย่างน้อย 3 ครั้ง คือ กิจกรรมเปิดตัวและชี้แจงโครงการย่อย กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา และกิจกรรมถอดบทเรียน รวมถึงการติดตามและให้การสนับสนุนผ่านเครื่องมือช่องทางต่างๆที่มีความเหมาะสมตามสถานการณ์ 3.2. การสื่อสารผลงาน มีการจัดทำข้อมูล เพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น เพจเฟสบุ๊คของโครการ/หน่วยจัดการ/สำนัก 6 สสส.
  6. การจัดการความรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงาน 4.1. การสรุปบทเรียนการดำเนินงาน โดยหน่วยจัดการและทีมสนับสนุนวิชาการจัดทำชุดข้อมูลการสรุปบทเรียนระดับโครงการย่อยและระดับหน่วยจัดการ โดยถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จและที่ไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคตต่อไป 4.2. จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอต่อสำนัก 6 ตามรูปแบบเอกสาร และวเทีการนำเสนอต่อกรรมการบริหารแผนตามที่สำนัก6 กำหนด
stars
6. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 11:39 น.