task_alt

สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ชุมชน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ ุ64-00214-0012 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 12 เมษายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน กันยายน 2564 ถึงเดือน มกราคม 2565

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5

วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • เกิดการทบทวนบันได้ผลลัพธ์โครงการอยู่ในขั้นบันไดที่ 3 คือ กลุ่มเป้าหมายการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  • เกิดการวางแผนกิจกรรมประจำเดือนกันยายน  พ.ศ.2564 จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ o กิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย โดยดำเนินการตามโซน และรายงานผลการดำเนินงาน โดยแต่ละโซนเป็นผู้กำหนดการดำเนินงาน o ลงพื้นทีติดตามครัวเรือนว่าด้วยการปลูกผัก การเก็บออม และการกระบวนการสร้างความั่นคงทางอาหารในครัวเรือนที่รับผิดชอบ และรายงานผลการติดตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ชื่อกิจกรรม : ประชุมคณะทำงานประจำเดือนสิงหาคม ครั้งที่ 5
วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 15 กันยายน พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 30 คน รายละเอียดกิจกรรม :
ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์
2. เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานของเดือน กันยายน พ.ศ.2564 3. เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กิจกรรมประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 เป็นการประชุมวางแผนการทำงานของกันของคณะทำงานครั้งที่ 3 มีคณะกรรมการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานจำนวน 30 คน โดยเป็นกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และวางเป้าหมายร่วมกันว่า กิจกรรมภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์ตัวชีวัดโครงการ และมีการทบทวนแผนงานให้รับคณะกรรมการได้รับฟัง เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน เริ่มต้นการประชุมด้วยการกล่าวต้อนรับคณะทำงานโครงการจำนวน 30 คน โดยนายไซลฮูดิง สาอิ ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวคือ ประธานที่ประชุมได้กล่าวตอนรับทุกคนที่เข้าประชุม ที่ได้ร่วมให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ให้กับชุมชน และได้ชี้แจ้งสถานการณ์โควิดภายในหมู่บ้านว่าอยู่ในช่วงวิกฤติ เนื่องจากพบเจอผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ภายในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง จึงขอความร่วมมือช่วยเหลือจากคณะกรรมการทุกคนช่วยกันเฝ้าระวัง ปฏิบัติตามมาตรการป้องโควิด 19 อย่างเคร่งครัด สาเหตุที่พอเจอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้เสี่ยงสูงบางกลุ่ม มีความปกปิดข้อมูล ป่วยโดยไม่ได้มีการแจ้ง อสม.อีกทั้งหมู่บ้านมีแนวโน้มสูงที่จะถูกคำสั่งการจากอำเภอให้ปิดหมู่บ้าน เนื่องการมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติกเชื้อโควิด 19 หมู่บ้านอาจทำการปิดหมู่บ้านโดยเร็ว หากสถานการณ์ยังมียอดผู้ติดเชื้อยังไม่นิ่ง กิจกรรมจำเป็นต้องหยุดการดำเนินการประชุม อาจปรับการพูดคุยผ่านระบบทางไลน์กลุ่มแทน
ภายหลังจากนั้นในแผนงานโครงการประชุมอาจจะมีการงดการประชุม งดการรวมกลุ่ม แต่กิจกรรมปลูกผัก เก็บออมเงิน ก็ยังดำเนินการ โดยที่จะมีการแบ่งบทบาทหน้ารับผิดชอบเป็นโซน และให้รายงานความก้าวหน้าผ่านระบบไลน์กลุ่มแทน
จากนั้นนางสาวอารีนา  สามะ ได้นำกระบวนการประชุมครั้งนี้โดยชี้แจ้งวัตถุประสงค์ในการประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่ 5 ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว ตามมติที่ประชุมครั้งก่อนว่าให้มีการในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2564 โดยมีประวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ 2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคมตามแผนงานโครงการ จากการดำเนินการประชุมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ทบทวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการ การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน โดยดำเนินการไปแล้ว 6 กิจกรรม คือ 1. ประชุมชนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ , 2.ประชุมประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 , 3. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน , 4. ประชุมประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 5. ประชุมประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 6.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 7. อบรมให้ความรู้การรับมือภัยพิบัติโควิด 19 สาธิต แผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือ โดยอยู่ในขั้นบันไดที่ 2 คือกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน โดยตอบโจทย์ผลลัพธ์ 1. เกิดระบบการรับมือสถานการณ์โควิดจำนวน 1 แผนงาน 2. กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ 3 อ. 2 ส. 3. .การอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน
ขั้นบันไดที่ 3 คือกลุ่มการเป้าหมายมีการบริหารภายในกลุ่มคือ โดยตอบโจทย์บันไดผลลัพธ์ 1.พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน)
2. วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 ตามแผนงานโครงการ นางสาวอารีนาได้สรุปกิจกรรมตามแผนบันไดผลลัพธ์โครงการว่า จากแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินงานต่อจากนี้คือ
- ให้คณะกรรมทำงานดำเนินการคิดออกแบบกิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย โดยดำเนินการตามโซน และรายงานผลการดำเนินงาน
- ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบโซนลงพื้นทีติดตามครัวเรือนว่าด้วยการปลูกผัก การเก็บออม และการกระบวนการสร้างความั่นคงทางอาหารในครัวเรือนที่รับผิดชอบ และรายงานผลการติดตาม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

30 0

2. กิจกรรม ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 22 กันยายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 5 ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ ARE ครั้งที่ 1 ได้รับทราบ 2.การดำเนินโครงการได้ดำเนินการทั้งหมด 6 กิจกรรม อยู่ในบันได้ผลลัพธ์ขั้นที่ 3
3.คณะกรรมการเกิดกติกาการทำงานร่วมกัน
4.เกิดแนวคิดการจัดตั้งร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุมชน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการได้มีการลดค่าใช้จ่าย เก็บออม
5.พี่เลี้ยงโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุนชนเพื่อให้ได้ดำเนินการที่มีประสิทธิภาพเเละเกิดประโยชน์ูสุงสุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุม ARE ครั้งที่ 1
เป็นการรายงานความก้าวหน้าโครงการเพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดประเมินผลบันได้ผลลัพธ์โครงการ โดยให้คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีนา สามะ และนายไซลฮูดิง สาอิ ได้รายงานโครงการโดยทางโครงการได้เนินกิจกรรมทั้งหมดดังนี้ 1. ประชุมทำความเข้าใจโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ 2.สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารที่มีอยู่ในชุุมชน 3. ประชุมคณะทำงาน  ครั้ง 4.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูและสุขภาพ 3 อ 2 ส.
5.อบรมการรับมือแผนการจัดการภัยพิบัติโควิดภายในชุมชน 6.พัฒนาศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย

การดำเนินโครงการอยู่ในขั้นบันได้ที่ 2
อุปสรรค์ปัญหาในการดำเนินงานคือ สถานการโควิดระบาดหนักในชุมชนหน่วยงานรัฐให้ชะลอการรวมกลุ่มกัน จึงงดการกิจกรรมชั่วคร่าว โดยได้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการแบ่งโซนเพื่อกระจายการดำเนินงานให้ตัวแทนหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ

ข้อเสนอแนะ พี่เลี้ยงโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวการดำเนินงานการจัดตั้งร้านค้าสินค้าชุมชน

 

0 0

3. อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเก็บออมการจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน

วันที่ 30 กันยายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีกลุ่มเป้าหมายสนเข้าใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 30 คน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน และการบริหารจัดการเงิน
  3. กลุ่มเป้าหมายได้มีการทดลองบันทึกบัญชีครัวเรือนตนเอง ผลปรากฏว่าว่า ครัวเรือนการการใช้จ่ายเงินฟุ้งเฟื่อยเกิดนความจำ เมื่อทราบการเคลื่อนไหวและรายละเอียดของค่าใช้จ่ายของตน
  4. เกิดการตั้งเป้าปมายร่วมกันว่าจะเก็บออมทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1-5 บาท
  5. เกิดคณะกรรมการติดตามการบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 5 คน โดยแบ่งเป็นเขตโซน 5 โซน
  6. เกิดแผนงานการติดตามการบันทึกบัญชีครัวเรือนเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะมีการติดตามทุกวันสิ้นเดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผลการจัดกิจกรรม (สำหรับบันทึกข้อมูลการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง) ชื่อกิจกรรม : อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการ บริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์
วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 30  กันยายน พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์การศึกษาอิสลาม (ตาดีกา) นูรูลฮูดา ลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และประชาชนทีสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 166  คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าในเรื่องการการจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการการเงิน
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีการเก็บออมเงิน มีการจดบันทึกและติดตามผล เริ่มต้นกิจกรรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน การเก็บออม และการจัดการบริการหารเงินเวลา 09.00 น.เพื่อทราบจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการและเพื่อง่ายต่อการบริการจัดการ เวลาเมื่อเวลา 09.30 น. เป็นต้นไป เริ่มกระบวนการด้านเวที ซึ่งมีผู้รับผิดชอบโครงการนายไซลฮูดิง สาอิ (ผู้ใหญ่บ้าน) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการและได้เกริ่นทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และเน้นย้ำว่าเป้าหมายกิจกรรมครั้งนี้ว่ามุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 เหลือว่าทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมล้วนเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เมื่อได้รับผลกระทบแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีแผนรับมือสถานการณ์หรือวิธีจัดการเพื่อการดำเนินชีวิตต่อ และกิจกรรมวันอาจเป็นเครืองมือวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีการจัดการที่ดีขึ้นหรือการสร้างภูมิคุ้มกันด้านความรู้การจัดการบริหารการเงินให้ยามวิกฤติเช่นนี้
ต่อมานางสาวอารีนา สามะผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายวัตถุประสงค์กิจกรรมคือ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ความเข้าในเรื่องการการจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารจัดการการเงิน  มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงที่มา ที่ไป ของค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละ มีการเก็บออม และมีเหตุผล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพื่อเป็นการสร้างภูมิด้านการเงินในทางที่ดีขึ้น จากนั้นได้แนะนำวิทยากรผู้ที่จะให้ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนคือ นางสาวยัสมี  อาลี ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการครู กศน. ตำบลเตราะบอน
วิทยากรได้ให้ความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน การเก็บออม สามารถสรุปได้ดังนี้ การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
การทำบัญชีครัวเรือนเป็นการจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวันของครัวเรือน และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้จ่ายเงินในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการออม การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ดังนั้นการทำบัญชีชีครัวเรือนมีความสำคัญดังนี้ 1. ทำให้ตนเองและครอบครัวทราบรายรับ รายจ่าย หนี้สิน และเงินคงเหลือในแต่ละวัน 2. นำข้อมูลการใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของรายจ่าย และวางแผนการใช้จ่ายเงิน โดยพิจารณาแต่ละรายการในแต่ละวันมีรายจ่ายใดที่มีความสำคัญมาก และรายจ่ายใดไม่จำเป็นให้ตัดออก เพื่อให้การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัวมีพอใช้และเหลือเก็บเพื่อการออมทรัพย์สำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในอนาคต บัญชีครัวเรือนถือเป็นส่วนสำคัญในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก 3 ข้อคือ การพอประมาณ ถ้ารู้รายรับรายจ่าย ก็จะใช้แบบพอประมาณ แต่ มีเหตุผล รู้ว่ารายจ่ายใดจำเป็นไม่จำเป็น และเมื่อเหลือจากใช้จ่ายก็เก็บออม นั่นคือภูมิคุ้มกัน ที่เอาไว้คุ้มกันตัวเราและครอบครัว บัญชีครัวเรือนสามารถจัดได้หมด จึงนับว่ามีประโยชน์มาก การวางแผนการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมระหว่างรายรับและรายจ่าย ครอบครัวต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หากพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องหาแนวทางนำเงินมาใช้จ่ายให้เพียงพอ โดยอาจต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย แต่การกู้ยืมเงินไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพียงแต่ช่วยให้การใช้จ่ายมีสภาพคล่องชั่วขณะเท่านั้น และในระยะยาวยังส่งผลให้ครอบครัวมีภาระหนี้สินจำนวนมาทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ยาวนานในการกู้ยืมเงิน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในการใช้จ่ายเงินหรือปัญหารายรับไม่เพียงพอกับรายจ่ายนั้นมีแนวทางดังนี้   1. การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก เพื่อลดภาระการจ่ายเงินออกจากครอบครัว เช่น รายจ่ายเกี่ยวกับการพนัน สิ่งเสพติดของมึนเมา รายจ่ายฟุ่มเฟือย เป็นต้น เป็นการสร้างนิสัยมิให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย   2. การลดรายจ่ายที่จำเป็นลง เพื่อสร้างนิสัยการประหยัด อดออม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างคุ้มค่า เช่น การปลูกผัก ผลไม้ไว้รับประทานเอง เพื่อช่วยลดค่าอาหาร และค่าเดินทางไปตลาด อีกทั้งทำให้สุขภาพดีอีกด้วย ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้วหันมาออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน หรือ การเดิน การวิ่งแทนการขับรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ เป็นต้น   3. การเพิ่มรายรับ หารายได้เสริมนอกเวลาทำงานปกติ เช่น การใช้เวลาว่างรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า การขายอาหารหลังเลิกงาน การปลูกผัก หรือเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย เป็นต้น   4. การทำความเข้าใจกันภายในครอบครัวเพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัด รู้จักอดออม การใช้ทรัพยากรต่างๆ ลด ละ เลิก รายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็น และช่วยกันสร้างรายรับให้เพียงพอ เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน

 

166 0

4. เสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 1 ถอดรหัส "โอกาศ ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก

วันที่ 2 ตุลาคม 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะกรรมการจำนวน 3 คนได้เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
2.ตัวแทนคณะกรรมการได้นำเสนอผลการดำเนินงานให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟัง 3.ตัวแทนคณะกรรมการได้ร่วมแลกเปลี่ยน วิธีคิด การสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน ในการเกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมเสาร์สร้างสรรคื ครั้งที่ 1 ถอดรหัส "สร้างโอกาศ ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก" วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2564  เวลา 14.00 น. - 16-30 น. ประชุมออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
โดยกลุ่มเป้าหมายคือ ตัวแทนผู้รับผิดชอบจำนวน 3 คน เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการดำเนินงานโดยมีข้อหัวประเด็นดังตต่อไปนี้ 1. เล่าที่มาของ สาเหตุปัญหา 2. สิ่งมี่ได้ดำเนินงาน 3.ผลลัพธ์ที่ได้จาการดำเนินงาน 4.ข้อเสนอแนะการดำเนินงานจากผู้เข้าร่วมโครงการ

 

3 0

5. ปรึกษาพี่เลี้ยงโครงการในเรื่องการคีย์ข้อมูลในระบบ

วันที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้เรียนรู้การคีย์ข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบที่หน่วยจัดการกำหนด
2.ได้ฝึการบันทึกข้อมูล รายละเอียดโครงการเพื่อการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน 3.ได้รับข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยงในเรื่อง เนื้อหารายละเอียดที่จำเป็น หลักการที่สำคัญ การสรุปใจความสำคัญของเนื้อหาที่คีย์ข้อมูล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม  : ปรึกษาพี่เลี้ยงว่าด้วยเรื่องการคีย์ข้อมูลในระบบ วันที่ : 5 ตุลาคม พ.ศ.2565 เวลา : 10.00 น.- 16.00 น. กลุ่มเป้าหมาย  คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 6 คน รูปแบบกิจกรรม : ปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อเสนอแนะ และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพี่เลี้ยงโครงการ และ เรียนรู้การคีย์ข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบ

 

5 0

6. จัดตั้งกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ชุมชนพร้อมระเบียบการบริหารกลุ่ม (การรวมหุ้น เก็บออม)

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดการจัดตั้งกลุ่มจำนวน 1 กลุ่มที่มีชื่อ กลุ่มร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชนบ้าน โดยมีโครงการคณะกรรมกลุ่มที่มาจากสมาชิกโครงการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงจำนวน 30 คน
  2. โครงการคณะกรรมร้านค้าประกอบด้วย

- คณะผู้บริหารร้านค้า ได้แก่ ประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ รองประธาน นางสาวพาตีเมาะ สาและ เลขานุการ นางสาวอารีนา สามะ - คณะกรรมการอำนวยการและการบริการได้แก่ นางสาวอามาณี สาและ นางสาวหาซือนะ หะมะ - กรรมการหรือสมาชิกร้านค้า คือ ผู้ที่ถือ หุ้มการเก็บออม จำนวน 24 คน
3. เกิดกฎระเบียบร้านค้าเพื่อบริหารจัดการจำนวน 6 ข้อ 1. เงินทุน ร้านค้า คือ เงินที่ได้รับจากการรวมหุ้นของกลุ่มสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด 19
2. ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุมชนเป็นร้านค้าอำนวยความสะดวก ค้าขายสินค้าชุมชนที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของกลุ่มสมาชิกและผู้ที่สนใจซื้อ ซึ่งการบริการซื้อขายสินค้าผู้ซื้อต้องสั่งจองสิ้นค้าล่วงหน้า และร้านค้าจะบริการจัดส่งสินค้าถึงที่ เพื่อลดการรวมกลุ่ม และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
3. สินค้าต้องมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป เพื่อเป็นช่วยเหลือสมาชิกยามวิกฤติโควิด 19 สมาชิกสามารถเดาวน์ – ผ่อน ได้ตามความเหมาะสม ภายใต้ระยะเวลาที่กลุ่มร้านค้ากำหนด 4. ร้านค้าต้องกมีการจดบันทึกการรายรับ-รายจ่าย และมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 5.กำไรที่ได้รับจากร้านนำไปบริหารจัดการ 3 ส่วน คือ 1.การบริหารจัดการร้านค้า ร้อยละ 30  2.ปันผลสมาชิก ร้อยละ 50 3.เพื่อทำประโยชน์สู่ชุมชน ร้อยละ 20
6.คณะกรรมการร้านค้าต้องการบริการด้วยความเที่ยงตรง เสมอภาค
4. มีร้านค้าภายในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมร้านค้าลอยฟ้าสิ้นค้าเพื่อชุมชน จำนวน 1 ร้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ชื่อกิจกรรม : จัดตั้งร้านกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ชุมชนพร้อมระเรียบ การบริหารจัดการกลุ่ม
(การรวมหุ้น การเก็บออม) วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 17  ตุลาคม  พ.ศ.2564  เวลา 09.00 น. – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 30 คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน เก็บออม การจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรวมกลุ่มจัดตั้งร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและการบริหารจัดการด้านการเงิน เสริมสร้างการเก็บออมแก่สมาชิก
2. เพื่อให้เกิดกฎกติกา ระเบียบร้านค้า การบริหารจัดการกลุ่ม และแผนดำเนินงานร้านค้าลอยฟ้าสิ้นค้าเพื่อชุมชน เริ่มต้นกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มร้านค้า สหกรณ์ชุมชน โดยมีผู้รับเปิดโครงการกล่าวต้อนรับสมาชิกผู้เข้ามากิจกรรมและบอกเล่าภาพรวมดำเนินกงานที่ผ่านเพื่อเป็นการทบทวนกิจกกรมให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟัง ต่อมานางสาวอารีนา สามะ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจ้งวัตถุประสงค์กิจกรรมให้สมาชิกผู้เข้าร่วมได้รับทราบ โดยชี้แจงว่า กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้เกิดร้านค้าชุมชนที่มาจากชุมชน และชุมชนเป็นเจ้าของ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามวิกฤติ
กระบวนเรียนรู้การจัดตั้งให้ร้านค้าชุมชน เป็นไปในรูปแบบการประชุมหารือร่วมกัน โดยให้สมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอ ร้านค้าชุมชนในฝันของตนเอง ต้องการร้านค้ารูปแบบไหน ดำเนินการอย่างไร ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และวิธีชุมชน
เชิญชวนสมาชิกผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนรู้เพื่อการตั้งกฎกติกา ร้านค้า ที่ควรจะเป็น ในแบบฉบับชุมชน โดยคาดว่าจะต้องเกิดขึ้นจริง โดยให้สมาชิกเสนอแลกเปลี่ยน พร้อมจัดทั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินงานดังกล่าว

 

30 0

7. กิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการคัดเลือกอาหารเพื่อบริโภคที่ปลอดภัยตามหลักโภชนาการทางอาหาร
  2. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าในในเรื่องการถนอมอาหารที่ปลอดภัยมีวิธีการดังนี้ คือ การแปรรูป การหมักดอง การตากแห้ง การอบ และเก็บในความเย็นจัด
  3. เกิดนวัตรกรรมการแปรูรูปวัตถุดิบชุมชนคือ การทำน้ำพริก น้ำจิ้ม เครื่องแกง กรือโปะฝักทอง สะตอดอง และ ปล้าร้า (อีแกงาแซ)  โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในกระบวนการถนอนอาหารที่ปลอดภัย
  4. รายจ่ายลดลงในการซื้ออาหารในครัวเรือนเฉลี่ย 23 บาทต่อวัน
  5. เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งการและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ชื่อกิจกรรม : ถนอมอาหารปลอดภัยและการบริโภคอาหารปลอดภัยในชุมชน วันเดือนปีที่จัดกิจกรรม : 11  ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. สถานที่ : ศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และผู้ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 40 คน รายละเอียดกิจกรรม : กิจกรรมอบรมการถนอมอาหารปลอดภัยและการบริโภคอาหารปลอดภัย มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังนี้ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกหลักตามโภชนาการมีความปลอดภัย และการถนอนอาหารที่ปลอดภัย 2. เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนใหม่ นวัตรกรรมอาหารปลอดภัย ตามวิธีชุมชน และเป็นที่ยอมรับ 3. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นและลดรายจ่าย กระบวนการกิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย (กินอย่างรู้ที่มา)
การอบรมเรียนรู้ในหัวข้อ การเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตราะบอน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ เป็นความรู้การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถูกหลักโภชนาการ บริโภคในสัดส่วนที่พอดี เน้นย้ำในเรื่องการให้เลือกบริโภคผักให้ครบ 400 กรัม วิธีคัดเลือกพืชผัก สารอาหารที่ร่างการต้องได้รับต่อวัน รวมถึงสาธิตการ เลือกทานเนื้อสัตว์ การตักตวงปริมาณพืชผัก พร้อมมีสื่อคู่มือการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย และได้กล่าวความสำคัญอีกว่า การเลือกทานอาหารแต่ละอย่างต้องรู้ถึงกระบวนการได้มาของอาหารนั้น หรือต้องรู้ถึงกระบวนการผลิต องค์ประกอบการได้มาของอาหารนั้น เป็นต้น
หากอาหารที่เกิดจากชุมชนผลิตเองตามธรรมชาติ สามารถพิจารณาได้ว่าจะเป็นอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี ด้วยกระบวนการปลูก เพราะคนในชุมชนจะคัดสรรสิ่งที่ดีและปลอดภัยในการบริโภค และหากมาจากตลาด ร้านค้าภายนอกชุมชน ไม่สามารถบอกได้ว่า กระบวนการผลิตอาหารเป็นเช่นไร จะไม่สามารถการันตีความปลอดภัยได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ประกอบส่วนมุ่งเน้นผลิตอาหารให้ได้ในปริมาณที่เยอะ จะส่วนทางกับการคำนึงความปลอดภัยของอาหาร เป็นต้น ส่วนที่ 2 การถนอมอาหารปลอดภัย ( การคัดเลือก การเก็บรักษา การแปรรูป) การอบรมในหัวข้อง การถนอนอาหารปลอดภัย โดยมีวิทยากรจากธนาคารเมล็ดพันธุ์ จะอธิบายถึง กระบวนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืช เพาะพันธุ์ เพื่อเก็บรักษา ที่ปลอดดภัย ไม่พึ่งสารเหตุในการเพาะปลูก ซึ่งวิธีการหนึ่งคือ การเก็บเมล็ดพืชนำไปตากแดดให้แห้ง เนื่องจากสามารถรักษาได้ได้นานกว่าเมล็ดพันธ์ที่สดใหม่
และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาวิธีการแปรูรูปอาหารที่อยู่ในชุมชนเพื่อให้สามารถเก็บรักษาได้นานมมากยิ่งขึ้น วิธีการดังกล่าวจากการสรุปในการแลกเปลี่ยนคือ
1. การแปรรูปอาหารเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ได้ แปรรูป ผักฟักทองให้เป็นข้าวเกรียบ แปรรูปสมุนไพรให้เป็นน้ำพริกหรือพริกแกง และน้ำจิม 2. การถนอมด้วยวิธีการ หมัก ดอง ตุ้น เช่น การทำไข่เป็ดดอง ผักดอง ตากแห้ง และอบแห้ง 3. การรักษาในรักษาได้ยาวนาวคือ เก็บในห้องฟิช ให้อุณภูมิที่เย็นจัด และเก็บรักในถุงซิลด้วยการดูดลมออก เป็นต้น

 

30 0

8. การติดตามและการประเมินผลการจัดการบริหารออมทรัพย์และการทำบัญชีครัวเรือน

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 มีการเก็บกอมเงินกองทุน 10 บาท จำนวน 26 คน ซึ่งโดยมีรายละเอียดดังนี้

 เก็บออมวันละ 10 บาท จำนวน 12  คน เฉลี่ยต่อเดือน 300 บาท  เก็บออมวันละ 15 บาท จำนวน  6  คน เฉลี่ยต่อเดือน 450 บาท  เก็บออมวันละ 20 บาท จำนวน 4  คน เฉลี่ยต่อเดือน 600 บาท  เก็บออมวันละ 30 บาท จำนวน 5  คน เฉลี่ยต่อเดือน 900 บาท  ไม่มีการเก็บออม จำนวน 3  คน เฉลี่ยนต่อเดือน - บาท

2.รูปแบบการเก็บออม มีการติดตาม 2 สัปดาห์ต่อครั้ง ผ่านการลงพื้นที่ติดตาม สอบถาม และพูดคุย ในกรณีที่ได้สามารถลงพื้นที่ได้ในสมาชิกรายงานทางกลุ่มไลน์ เงินออมรายละดังนี้

 คิดจากมูลค่าของพืชผักที่ปลูกเอง จำนวน 18 คน  รายได้จากแบ่งปันผักที่เพาะปลูก จำนวน 4 คน  จัดแบ่งสัดส่วนเงินจากการประกอบอาชีพ จำนวน 5 คน

3.สิ่งที่ได้เรียนรูจากการเก็บออม

 เห็นคุณค่าของตัวเงิน ฝึกความอดทน
 วางแผนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนคล่องขึ้น (วางแผนการบริหารจัดการ)  มีเงินเก็บ (เป็นเงินสำรองที่ใช้ยามฉุกเฉิน)  ลดความวิตกกังวล เครียดน้อยลง
 เห็นข้อมูลค่าใช้ของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม การติดและการประเมินผลการจัดการบริหารออมทรัพย์และการทำบัญชีครัวเรือน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564  เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ บ้านลูโบ๊ะซูลง  ตำบลเตราะบอน อ.สายบุรี  จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย  30  คน

 

30 0

9. การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายแหล่งผลิต อาหารปลอดภัย

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการดำเนินงาน กิจกรรม การเชื่อมรอยการผลิตอาหารในชุมชนและการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย 1. เกิดภาคีเครือข่ายที่ช่วยหนุนเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชนได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอ ช่วยหนุนเสริมอุปกรณ์แคร่โรงเรือนสำหรับปลูกผักปลอดภัยในชุมชนจำนวน 2 โรงเรือน 2. เกิดภาคีร่วมสนับสนุนองค์ความรู้คือ ฟาร์มเตราะบอน
3. เกิดการขยายพื้นที่ปลูกศูนย์จาก 1 แหล่ง เป็น 2 แหล่งในชุมชนได้ ได้แก่
 แหล่งที่ 1  แปลงโคกหนองนาผู้ใหญ่บ้าน เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเฉพาะปลูกให้แก่ชุมชน  แหล่งที่ 2 แคร่โรงเรือนปลูกผักลอยฟ้า อยู่ในโซนโต๊ะฮะ
4. เกิดการปลูกผักแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนตามฤดูกาล 5. เกิดการวางแผนการปลูกตามฤดูกาลชุมชน 6. เกิดการแบ่งปันอาหารปลอดภัยซึ่งกันและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม : สร้างเครือข่ายเพื่อขยายการผลิตอาหารปลอดภัย วันที่  25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563  เวลา 09.00 น.-12.30 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน วัตถุประสงค์กิจกรรม 1.เพื่อเชื่อมโยงกระบวนการผลิดอาหารปลอดภัย เเละสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน 2.เพื่อให้เกิดการขยายแหล่งผลิตอาหารที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน 3.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนองค์ความรุ้ด้านความมั่นคงทางอาหารในชุมชน กลุ่มเป้าหมายผู้เข้่ากิจกรรม 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับผลกระทบจำนวน  27  คน 2.หน่วยงานภาคีผู้ร่วมสนับสนุบ  3  คน รุปแบบกิจกรรม 1.ประชุมเเลกเปลี่ยนรู้ระหว่างวัน 2.สร้างเเละเชือมโยงกระบวนการผลิตอาหารปอดภัย 3.วางแผนประบวนการทำงานร่วมกันระหว่างการดำเนินงานและภายหลังการดำเนินงาน

 

30 0

10. สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน)

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เป็นพูดคุยแลกเปลี่ยนรู้กระบวนการทำงานภายในโครงการตลอดโครงการ เป็นการประมวลสรุปผลสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีสถานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการโควิด
  2. เกิดข้อมูลข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชน คือ

- แหล่งผลิตอาหารธรรมชาติ ได้แก่ บ่อปลา น้ำคลองโคกหม้อ อ่างเก็บน้ำแนแวะห์ ทุ่งนาแนแวะห์และปาวา ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีน และคาร์โปร์ไฮเดรตภายในหมู่บ้าน สามารถผลิตอาหารขึ้นเองธรรมชาติตลอดฤดูกาล - แหล่งปลูกข้าว และพืชผัก ผลไม้ ตามสวนเกษตรกร - กลุ่มอาชีพผลิตอาหาร ได้แก่ ทำขนม  น้ำจิ้ม กรือโป๊ะ และเครืองแกง - กลุ่มเลี้ยงสัตว์  ได้แก่ ไก่ ปลา แพะ - ร้านค้า

  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส. และการดูแลสุขภาพตนเองในช่วงสถานการณ์โควิด19 และมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด 19
  2. เกิดกฎกติการการรับมือร่วมกันในภายในหมู่
  3. เกิดแผนการรับมือสถานการณ์โควิด 19 ในชุมชน มีพื้นที่รับมือ และปฏิบัติตามได้แก่ มัสยิด โรงเรียนตาดีกา และร้านค้าในชุมชน
  4. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในเรืองการจัดทำบัญชีครัวเรือน และจดบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 27 คน กลุ่มเป้าหมายเห็นคุณค่าของเงิน ลดการฟุ้งเฟือย ฝึกการเก็บออมเริ่มตั้งแต่ 5 -30 บาท
  5. เกิดทักษการเพาะปลูกเป็นธรรมชาติ ความรู้การทำปุยหมัก และการทำโฮรโมร์ไข่
  6. เกิดนวัตกรรมการถนอนอาหารปลอดภัยในชุมชน ด้วยการบูรณาปรัชญาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  7. เกิดพื้นที่ศูนย์กลางผลิตอาหารในชุมชน 2 พื้นที่ ได้แก่ โคกหนองนาโมลผู้ใหญบ้าน และ โรงแครปลูกผัก
  8. เกิดภาคีเครือสนับสนุนโครงการอำนวยความรู้และวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ฟาร์มเตราะบอน เกษตรอำเภอ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  9. เกิดกองทุนออมทรัพย์ชุมชน (เก็บออม หุ้น ค้าขายลอยฟ้า ผ่อนเดาน์) และเกิดการหมุนเวียนเพื่อให้เกิดรายได้ให้เพิ่มขึ้น
  10. สมาขิกกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยนประมาน 300-900 บาท

  11. สิงที่ประทับใจคือ มีเงินเก็บ ลดความเครียด มีกำลังใจ และรู้สึกได้ถึงการไม่รู้สึกโดดเดียวไม่ถูกทอดทิ้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน)

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น.

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่เข้ารับผลกระทบจากสถานการโควิด 19 จำนวน 20 คน

รายละเอียดรูปแบบกิจกรรรม

  1. สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
  2. ผลเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม
  3. ปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินงาน
  4. สิ่งที่ประทับใจจากการดำเนินงาน

 

30 0

11. ปรึกษาพี่เลี้ยง ตรวจรายงานการเงิน

วันที่ 19 ธันวาคม 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. พี่เลี้ยงโครงการตรวจรายงานการเงินมีความเรียบร้อย ถูกต้องครบถ้วน
  2. ได้รับข้อเสนอแนะให้คีย์ข้อมูลให้เเล้วเสร็จก่อนปิดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม : ปรึกษาพี่เลี้ยงโครงการ ตรวจรายงานการเงิน วันที่ : 19 ธันวาคม 2564 เวลา : 10.00 น.-15.00 น. ณ สำนักงานพี่เลี้ยง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย ผู้บันทึกข้อมูล 1 คน รูปแบบกิจกรรม

  • ปรึกษาแนวทางการทำงานต่อไป
  • ตรวจรายงานการเงินเอกสารโครงเพื่ดำเนินคีย์ข้อมูลในระบบ

 

0 0

12. เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ

วันที่ 26 ธันวาคม 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.แกนนำชุมชมเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 คน 2.แกนนำชมชนนำเสนอรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ
- ชุมชนมีแผนรับมือการจัดการโควิดภายในชุมชน
- สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนจำนวน 27 คน ไม่มีการบันทึกจำนวน 3 คน และมรายได้จากเก็บออมเฉลี่ย 440 บาทต่อคน/ครัวเรือน - สมาชิกมีองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการเริ่มออกกำลังกาย บริโภคผักสมุนไพรเพื่อสร้างภูมิกัน ใส่ใจเรื่องการบริโภคอาหารคำนึ่งถึงโภชนาการทางอาหาร
- เกิดร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน ที่เิกิดการจากเก็บออมเงินกองทุนสมาชิกวันละ 10 บาท เที่ศูนย์กลางการเเลกเปลี่ยนสินค้า การแบ่งปัน เกิดการผ่อน-เดาน์สินค้าชุมชน เพื่อรายได้เป็นเงินปันผลแกสมาชิก - มีการขยายพื้นที่แหล่งผลิตอาหารเป็น 2 พื้นที่ ภายในชุมชน
- ภาคีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เทศบาลตำบล กศน. เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชนอำเภอ สถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
3.และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนกระบวนการทำงานโครงการให้บรรลุผลสำเร็จ 4 หัวข้อดังนี้ 3.1 กลไกวิธีการทำงานร่วมกันโครงการ คือ การสร้างความเข้าใจกลุ่มคณะทำงานร่วม การมีเป้าหมายร่วม ร่วมคิดร่วมทำ การกระจายโซนพื้้นที่การทำงาน ค้นหาศักยภาพพื้นที่ และการใช้เทคโนโลยีปรับใช้ในการงาน 3.2 ภาคีที่สนับสนุน
ภาคีสนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ บุคคลากร และการมีแผนบรรจุในแผนงานหน่วยงาน การบูรณาการทำงานร่วมกันภาคีในพื้นที่ องค์กรต่างๆภายในชุมชน
3.3 บทเรียนที่ได้รับ การที่ได้รับผลกระทบร่วมกันนำมาซึ่งความสำเร็จของการดำเนินงาน การผลิตวิกฤติให้เป็นโอกาศ ความแตกต่างที่ไม่แตกแยก ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ 3.4 ความยั่นยืนของโครงการ และโควิดทำให้เรารู้จักการปรับตัว
การทำงานต่อเนื่องเป็การสร้างความยั่งยืน การติดตามและต่อยอดกิจกรรมเพื่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ มีการอัพเดทกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา และสร้างคนสองเเถวเพื่อส่งต่อข้อมูลและสร้างแกนนำรุ่นใหม่ 4.จัดรายงานคีย์ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในระบบเพื่อให้พี่เลี้งติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน การบันทึกค่าใช้จ่ายรายกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน เพิ่มเติมกิจกรรมในส่วนรายละเอียดเนื้อหาและผลิตผลิตมากยิ่งขึ้น (ใคร ทำอะไร ที่ไหร อย่างไร ให้กับใคร เกิดอะไรขึ้นบ้าง)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ ระหว่างวันที่ 24-26 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเซาเทิร์น แอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จัดโดยหน่วยจัดการโครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID- 19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้


สนับสนุนโดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม

  1. สรุปโครงการ และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเครื่องมือที่ใช้หนุนเสริมในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่
  3. เพื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการย่อย และหน่วยจัดการ

1.ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยโครงการละ 2 คน 15 โครงการ รวม 30 คน 2.หน่วยจัดการและพี่ เลี้ยงจังหวัด รวม 7 คน

วันที่ ธันวาคม 64 16.00 – 17.00 น. เช็คอินเข้าพักที่โรงแรม 17.00 – 18.30 น. เตรียมปฏิบัติภารกิจส่วนตัว 18.30 – 20.30 น. หน่วยจัดการ/พี่เลี้ยง ประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม ผู้รับผิ ดชอบโครงการ
เตรียมตัวกิจกรรมนำเสนอ วันที่ 25 ธันวาคม 64 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรมสันทนาการ โดย ทีมพี่เลี้ยง 09.00 - 09.30 น. เปิดกิจกรรมกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกระบวนการของเวที โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะ ดำ ผู้จัดการโครงการฯ 09.30 - 10.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.15 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ 13.30 - 15.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 20 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 15.30 – 16.30 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆต้องการสร้างความรอบรู้ เรื่องสุขภาพ และการเงิน จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร” พร้อมนำเสนอ 16.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย 18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน 19.00 – 21.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆจะทำโครงการเกี่ยวกับการ สร้างอาชีพและรายได้/การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จะมีรูปแบบและขั้นตอน อย่างไร” พร้อมนำเสนอ
วันที่ 26 ธันวาคม 64 08.30 - 09.00 น. กิจกรรมสันทนาการ /สร้างสัมพันธ์ 09.00 - 10.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ปัจจัยความสำเร็จ / ความไม่สำเร็จ และสิ่ง ที่ได้เรียนรู้(บทเรียน) ” พร้อมนำเสนอ 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 –12.00 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านกิจกรรม 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ
13.00 – 14.30 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน (ต่อ) 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 – 15.30 น. ตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบติดตามโครงการออนไลน์และการเงินโครงการย่อย 15.30 น.-16.00 น. สรุปเวทีและปิดการประชุม
โดย นายสุวิทย์ หมาดอะดำ หัวหน้าหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้ ...................................... หัวข้อการนำเสนอโครงการย่อย

  1. ผลลัพธ์ด้าน จำนวน ของคนที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (ดึงจากข้อมูล excel)
  2. ผลลัพธ์ด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้)และผลลัพธ์ด้านการสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร)
  3. กลยุทธ์ /วิธีการดำเนินโครงการด้าน อาชีพและรายได้(สำหรับโครงการที่เลือกประเด็นอาชีพและรายได้) และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร(สำหรับโครงการที่ทำเรื่องความมั่นคงทางอาหาร)
  4. มีหน่วยงานใดบ้างมาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
  5. บทเรียน/ข้อเรียนรู้สำหรับการดำเนินงาน

 

4 0

13. ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 23 มกราคม 2565 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 15 ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ ARE ครั้งที่ 2 ได้รับทราบ
  2. การดำเนินโครงการได้ดำเนินการทั้งหมด 12กิจกรรม อยู่ในบันได้ผลลัพธ์ขั้นที่ 4 บรรลุชั้นบันไดที่กำหนดไว้
  3. เกิดภาคีเครือข่าย ที่การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย
  4. กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น 300 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายลดลง 150 บาท และมีการออมเงินเฉลี่ย 440 บาทต่อเดือน
  5. เกิดพื้นที่กลางในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร 2 แหล่ง และสามารถผลัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการสร้างความมั่นคงต่อทางอาหารได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุม ARE ครั้งที่ 2 เป็นการรายงานความก้าวหน้าโครงการเพื่อวิเคราะห์ตัวชี้วัดประเมินผลบันได้ผลลัพธ์โครงการ โดยให้คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีนา สามะ และนายไซลฮูดิง สาอิ ได้รายงานโครงการโดยทางโครงการได้เนินกิจกรรมทั้งหมดดังนี้

  1. ประชุมทำความเข้าใจโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ
  2. สำรวจข้อมูลแหล่งผลิตอาหารที่มีอยู่ในชุุมชน
  3. ประชุมคณะทำงาน 5  ครั้ง
  4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูและสุขภาพ 3 อ 2 ส.
  5. อบรมการรับมือแผนการจัดการภัยพิบัติโควิดภายในชุมชน
  6. พัฒนาศักยภาพการผลิตอาหารปลอดภัย
  7. อบรมเสริมความรู้เรืองการจัดทำบัญชีครัวเรือน
  8. การจัดตั้งร้านค้า ออมทรัพย์ชุมชน
  9. การถนอมอาหารปลอดภัย
  10. การติดตามและประเมินผลการเก็บออม และการปลูกผัก
  11. การสร้างเครือข่ายสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
  12. การสรุปและถอดบทเรียน

การดำเนินโครงการอยู่ในขั้นบันได้ที่ 4 อุปสรรค์ปัญหาในการดำเนินงานคือ สถานการโควิดระบาดหนักในชุมชนหน่วยงานรัฐให้ชะลอการรวมกลุ่มกัน จึงงดการกิจกรรมชั่วคร่าว โดยได้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการแบ่งโซนเพื่อกระจายการดำเนินงานให้ตัวแทนหัวหน้าโซนเป็นผู้รับผิดชอบ

ข้อเสนอแนะ พี่เลี้ยงโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวการดำเนินงานการบริหารจัดการร้านค้าลอยฟ้าสินค้าชุมชนให้ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น..เช่น การจัดทำตลาดสินค้าชุมชน การผ่อน-เดาน์สินค้า

 

0 0

14. ค่าจัดทำรายงาน

วันที่ 27 มกราคม 2565 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ทางโครงการได้จัดทำรายงานฉบับสมบรูณ์ จำนวน 3 เล่ม เป็นที่เรียบร้อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางคณะทำงานโครงการเสริมและสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารได้ร่วมกันดำเนินการจัดทำรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ ให้แล้วเสร็จในวันที่ 28 มกราคม 2565

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 25 25                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 70,000.00 70,250.00                  
คุณภาพกิจกรรม 100                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

หมู่บ้านมีคำสั่งให้ปิดหมู่บ้าน ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน

พบผู้ติดเเชื้อโควิด 19 แพร่ระบาดจำนวนมากในหมู่บ้าน

ปรับรูปแบบกิจกรรมให้สามารถดำเนินการได้ตามโซน โดยการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อดำเนินงาน

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายไซลฮูดิง สาอิ
ผู้รับผิดชอบโครงการ