directions_run

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนตำบลหน้าถ้ำ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
งบ สสส. สนับสนุน (เวทีปฐมนิเทศโครงการ) 12 เม.ย. 2564 12 เม.ย. 2564

 

วันที่ 11/04/2564 เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมอบรมจาก ตำบลหน้าถ้ำถึงโรงแรม CS ปัตตานี ไปกลับ

  • อบรมช่วงเช้า เรื่องกิจกรรมการทำงานกลุ่ม(นับตัวเลข)ชี้แจงโครงการ/ความรู้เรื่องการเขียนบันไดผลลัพธ์/พักรับประทานอาหาร
  • อบรมช่วงบ่าย เรื่อง การทำกิจกรรมกลุ่ม(การนับตัวเลข) การทำแผนการเงิน/การลงข้อมูลกิจกรรมในฐานข้อมูล เดินทางกลับ

วันที่ 12/04/2564 เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมอบรมจาก ตำบลหน้าถ้ำถึงโรงแรม CS ปัตตานี ไปกลับ

  • อบรมช่วงเช้า ทำกิจกรรมการเรียนรู้หัตถเวช การเรียนรู้การทำปฎิทินกิจกรรม/การเรียนรู้ระเบียบทางการเงิน การเบิกจ่ายบิล พักรับประทานอาหาร
  • อบรมช่วงบ่าย การนำเสนอผลงานกลุ่มการติดตาม(บันไดผลลัพธ์)ผ่านตัวชี้วัดโดยแ่งเป็นกลุ่มจังหวัด

 

วันที่ 11/04/2564

  1. กิจกรรมการทำงานกลุ่ม(นับตัวเลข) ได้เรียนรู้กระบวนการวางแผนการทำงานแบบกลุ่ม การวางเป้าหมายร่วมกันผ่านกิจกรรม
  2. ชี้แจงโครงการ ได้รับทราบกระบวนการ วัตถุประสงค์ของการทำโครงการ และการวางแผนขั้นตอนการดำเินงานอย่างถูกต้อง
  3. การเขียนบันไดผลลัพธ์ ได้เรียนรู้กระบวนการคิดและนำเสนอผลการวิเคราห์กิจกรรมผ่านบันไดผลลัพธ์
  4. การทำแผนการเงิน ได้เรียนรู้การทำค่าใช้จ่ายกิจกรรมในโครงการอย่างถูกต้อง
  5. การลงข้อมูลกิจกรรมในฐานข้อมูล ได้เรียนรู้ทักษะการพัฒนาการเก็บข้อมุูลการทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 12/04/2564

  1. กิจกรรมการเรียนรู้หัตถเวช ได้เรียนรู้ทักษะการวางแผน การกำหนดเป้าหมายการทำงาน
  2. การเรียนรู้การทำปฎิทินกิจกรรม ได้เรียนรู้การทำงาน การวางแผน การกำหนดวันและเวลาทำงานตามตารางปฎิทินการทำงาน
  3. การเรียนรู้ระเบียบทางการเงิน การเบิกจ่ายบิล ไดัทักษะการวางแผนการทำบัญชีการเบิกจ่ายในการทำกิจกรรมอย่างถูกต้อง
  4. การนำเสนอผลงานกลุ่มการติดตาม(บันไดผลลัพธ์)ผ่านตัวชี้วัดโดยแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ได้ทักษะการวิเคราะห์ผลการทำงานและติดตามผลทางตัวชี้วัดผ่านทางบันไดผลลัพธ์

 

ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 15 เม.ย. 2564 15 เม.ย. 2564

 

จัดทำรายละเอียดการลงข้อมูลในระบบ 1.การคิดวิเคราะตัวชี้วัดในการคิดและติดตามผล 2.การทำรายงานเอกสารระเบียบทางการเงิน 3.การเก็บข้อมูลติดตามผลในการรายงานเก็บข้อมูลใน

 

  1. เรียนรู้ทักษะการลงข้อมูลในระบบได้
  2. วิเคราะห์ผลลัพและตัวชี้วัดโครงการได้และสามารถอธิบายใ้ทีมทำงานได้
  3. สามารถออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้

 

ทำป้ายโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนตำบลหน้าถ้ำ 20 เม.ย. 2564 20 เม.ย. 2564

 

จัดทำป้ายโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนตำบลหน้าถ้ำ ขนาด 1.5*2.5 เมตร  จำนวน 1 แผ่นเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมและบอกถึงหน่วยงานที่จัดกิจกรรมในแต่ละเวที่และแต่ละพื้นที

 

1.ได้ไวนิลขนาด 2.5*1.5เมตรจำนวน 1 แผ่น ที่บ่งบอกถึงหน่วยงานรับผิดชอบ ชื่อกิจกรรม 2.เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งและแจ้งให้กับผู้ร่วมกิจกรรมทราบถึงแนวทางข้อมูลในการจัดกิจกรรม

 

เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะกรรมการ 29 เม.ย. 2564 29 เม.ย. 2564

 

1.เวทีชี้แจงโครงการจัดตั้งคณกรรมการกลุ่มคณะทำงานและจัดประชุมแกนนำครัวเรือนในพื้นที่โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 2กลุ่มได้แก่ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษและกลุ่มผลิตเบเกอรี่โดยคัดเลือกสมาชิกจาก 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 20 คน รวม 80 คน
2.ชี้แจงวัถุประสงค์และแนวทางการทำงานพร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานและแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานขับเคลื่อนกลุ่ม

 

1.สมาชิกผู้เข้าร่วมรับฟังชี้แจงโครงการจำนวน 80 ท่านในพื้นที่ 4 หมู่ ซึ่งประกอบด้วยผู้นำชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชนได้รับรู้แนวทางและวัตถุประสงค์ของโครงการ 2.คณะทำงานมีการจัดโครงสร้างการทำงานกับกลุ่มและชุมชนเพื่อจัดทำแผนในการพัฒนาตัวโครงการให้มีประสิทธิภาพและต้องกับความต้องการของกลุ่มและชุมชนโดยการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน 3.จัดทำข้อตกลงลงกลุ่ม จัดตั้งคณะกรรมการโดยแบ่งตามบทบาทหน้าที่การทำงานและการบริหารกลุ่มตามมติผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มเป็นหลักในการบริหารจัดการเป็นระเบียบอละข้อตกลงของกลุ่ม 4.จัดทำแบบสำรวจความต้องการและผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิชเพื่อปรับให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มและชุมชนในการเพิ่มรายได้ของกลุ่มและการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิช

 

การอบรมทักษะทางการเงินสุขภาพสังคม 3 พ.ค. 2564 3 พ.ค. 2564

 

1.จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการบริหารจัดการบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือนโดยมีการแจกสมุดบัญชีครัวเรือนและแนะนำการลงบัญชีครัวเรือนจากประธานกลุ่มสตรีนารีจักรสาน 2.จัดกิจกรรมอธิบายการป้องกันและแนวทางการปฏิบัติตัวตามมาตรการสาธารณสุข DMHTT และให้ตัวแทนสมาชิกบอกถึงแนวทางการป้องกันตัวและอาการของโรคระบาดโควิค 19

 

1.สมาชิก ร้อยละ 80สามารถลงบัญชีครัวเรือนได้และสารถอธิบายและสอนการลงบัญชีครัวเรือนได้ 2.สมาชิกสามารถบอกและส่งเสริมแนวทางมาตรการการป้องกันตัวตามแนวทางDMHTT ได้ 3.สมาชิกที่ได้รับการพัฒนาการด้านการจัดการบริหารบัญชีครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ครัวเรือนได้โดยดูจากข้อมูลจากบัญชีครัวเรือน

 

อบรมทักษะทางการเงินสุขภาพสังคม 10 พ.ค. 2564 10 พ.ค. 2564

 

1.จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการบริหารจัดการบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือนโดยมีการแจกสมุดบัญชีครัวเรือนและแนะนำการลงบัญชีครัวเรือนจากประธานกลุ่มสตรีนารีจักรสาน 2.จัดกิจกรรมอธิบายการป้องกันและแนวทางการปฏิบัติตัวตามมาตรการสาธารณสุข DMHTT และให้ตัวแทนสมาชิกบอกถึงแนวทางการป้องกันตัวและอาการของโรคระบาดโควิค 19

 

1.สมาชิกมีความรู้การเงิน สุขภาพ สังคม เพิ่มขึ้น มีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม 2.สมาชิกสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้จากผลการลงบัญชีครัวเรือนได้

 

อบรมทักษะทางการเงินสุขภาพสังคม 17 พ.ค. 2564 17 พ.ค. 2564

 

1.คณะทำงานจัดการอบรมแกนนำครัวเรือน โดยเชิญวิทยากรจากกลุ่มสตรีนารีจักรสาน มาให้ความรู้เรื่อง 1)การทำบัญชีครัวเรือน การจัดการเงินในครัวเรือน 2)การรักษาสุขภาพและป้องกันโควิค 19 ตามหลักDMHTT

 

1.สมาชิก ร้อยละ 80สามารถลงบัญชีครัวเรือนได้และสารถอธิบายและสอนการลงบัญชีครัวเรือนได้ 2.สมาชิกสามารถบอกและส่งเสริมแนวทางมาตรการการป้องกันตัวตามแนวทางDMHTT ได้ 3.สมาชิกที่ได้รับการพัฒนาการด้านการจัดการบริหารบัญชีครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ครัวเรือนได้โดยดูจากข้อมูลจากบัญชีครัวเรือน

 

อบรมทักษะทางการเงินสุขภาพสังคม 24 พ.ค. 2564 24 พ.ค. 2564

 

1.จัดอบรมเพิ่มทักษะการจัดการและบริหารรายรับรายจ่าย 2.อบรมการลงบัญชีครัวเรือนการจัดวางระเบียบการเงินในครัวเรือน/ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ 3.อบการการป้องกันต้วจากโรคระบาดโควิค 19 อย่างถูกต้องตามมาตรการ DMHTT

 

1.ผู้เข้าร่วมร่วมอบรม และมีความรู้การเงิน สุขภาพ สังคม เพิ่มขึ้น มีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม 2.ผู้เข้าร่วมสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ คิดเป็นร้อยละ 100 3.ผู้เข้าร่วมสามรถปฏิบัติตัวตามหลัก DMHTT และนำไปขยายต่อได้

 

อบรมทักษะการผลิตขนมเปี๊ยะพร้อมไส้ 7 มิ.ย. 2564 7 มิ.ย. 2564

 

กระบวนการเรียนรู้การผลิตขนมเปี๊ยะ กลุ่มเป้าหมายแม่บ้านจำนวน 20 ท่านในชุมชนตำบลหน้าถ้ำ กิจกรรม คณะทำงานคัดกรองรายชื่อ กลุ่มแม่บ้านสมาชิกจำนวน 20 ราย นัดวันทำกิจกรรมจัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมตามมาตรการ DMHTT กิจกรรมแบ่งออกเป็น

  1. การเรียนรู้ต้นทุนการผลิต จำนวน 10 ท่าน
  2. การเรียนรู้กระบวนการผลิตและแปรรูปขนมเบเกอรี่ จำนวน 10 ท่าน โดยการเรียนรู้สลับฐานการเรียนรู้

 

กิจกรรมนี้กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแม่บ้านจำนวน 20 ท่าน เรียนรู้กระบวนการดังนี้ 1. กลุ่มแม่บ้านจำนวน 20 ท่าน รู้หลักและวิธีคิดคำนวนต้นทุนการผลิตได้และสามรถนำกลับมาคิด คำนวนการผลิต ในชีวิตประจำวัน 2. กลุ่มแม่บ้านจำนวน 20 ท่านเรียนรู้กระบวนการผลิตขนมเป๊๊ยะได้และสามารถทำเป็นอาชีพออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้ครบครัวได้ 3. กลุ่มแม่บ้าน จำนวน 20 ท่านสามารถทำงานเป็นกลุ่มตามบทบาทหน้าทีความรับผิดชอบ

 

งบ สสส. สนับสนุน (ทำป้ายโครงการรณรงค์ปลอดบุหรี่ /ปลอดเหล้า ตลาดนัดสินค้าชุมชน) 20 มิ.ย. 2564 20 มิ.ย. 2564

 

จัดทำป้ายไวนิลขนาด 0.50 เมตร * 6เมตร เพื่อใช้ติดหน้าตลาดนัดชุมชนปลอดเหล้าและบุรี่และเป็นการแสดงถึงการรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษและเป็นจุดขายและจำหน่ายสินค้าของกลุ่มที่ทาง สสส.สนับสนุนในกิจกรรมและเป็นการส่งเสริมช่องทางการตลาดในการระบายสินค้าของกลุ่มร่วมกันมีการจัดทำบัญชีรวมของร้านค้าชุมชน

 

  1. เป็นจุดระบายสินค้าชุมชนและเป็นการสนับสนุนด้านการตลาดของกลุ่มที่ส่งเสริม
  2. เป็นแหล่งรวบรวมสินค้าชุมชนปลอดสารพิษ
  3. เป็นจุดเรียนรู้การทำบัญชีกลุ่ม

 

อบรมทักษะด้านการตลาดและการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า 5 ก.ค. 2564 5 ก.ค. 2564

 

จัดกิจกรรมการเรียนรู้การเพิ่มทักษะด้านการตลาด กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกผักจำนวน 12 ท่านจาก สมาชิกกลุ่ม 20 ท่านแบ่งการการทำกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง 1. คณะทำงานคัดกรองสมาชิกที่เข้าร่วมจัดกิจกรรม จัดเตรียมสถานทีการจัดกิจกรรม ตามมาตราการDMHTT อย่างเคร่งครัด 2.สมาชิกจำนวน 12 คนลงทะเบียนในการเข้าอบรม การทำการตลาด
3.สมาชิกจัดทำแบบประเมินการเรียนรู้ จบกิจกรรม

 

ผลจากการทำกิจกรรมการการเรียนรู้ทักษะการตลาด

  1. สมาชิกจำนวนสามรถออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าได้
  2. สมาชิดจำนวน 12 ท่านสามมารถเข้าใจกระบวนการจัดจำหน่ายสินค้าได้
  3. สมาชิกสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การตลาดออนไลน์ การจำหน่ายสินค้าได้

 

อบรมทักษะด้านการตลาดและการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า 12 ก.ค. 2564 12 ก.ค. 2564

 

คณะทำงานแจ้งสมาชิกจำนวน 12 ท่านเข้าร่วมอบรมเพิ่มทักษะด้านการตลาดโดยแ่บ่งกิจกรรมออกเป็น 1.คณะทำงานจัดเตรียมสถานที ตามมาตราการDMHTT อย่างเคร่งครัด 2.คณะทำงานให้สมาชิกจำนวน 12 ท่านลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม 3.สมาชิกอบรมการเพิ่ททักษะด้านการตลาด 4.คณะทำงานให้สมาชิกทำแบบประเมินการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มย่อย 5.สรุปกิจกรรม ปิดการอบรม

 

สมาชิกจำนวน 12 รายมีทักษะด้านการบริหารจัดการด้านการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการโดยกระบวนการการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันได้ และสมาชิกยังสามารถร่วมวางแผนในการผลิตและจำหน่ายในช่องทางการตลาดแบบออไล์และออนไลน์ได้

 

อบรมทักษะการผลิตต้นกล้าผักปลอดสารพิษ 19 ก.ค. 2564 19 ก.ค. 2564

 

คณะทำงานจัดกิจกรรมอบรมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้า 10 ท่าน ช่วงบ่าย 10 ท่านเพื่อรักษามาตราการ DMHTT ในการจัดกิจกรรมโดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 1.คณะทำงานคัดรายชื่อสมาชิกจำนวน20 ท่านแบ่งออกเป็น 2 ช่วงในการอบรม 2.จัดลงทะเบียนในการอบรม ช่งเช้า 10 ท่าน ช่วงบ่าย 10 ท่าน 3.จัดกิจกรรมอบรมเทคนิคการผลิตต้นกล้าผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและจำหน่าย 4.จัดทำแบบประเมินการเรียนรู็ 5.สรุปการจัดอบรม

 

ผลที่ได้

  1. สมาชิกกลุ่มจำนวน 20 ท่านเรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดสารพิษและสามารถผลิตต้นกล้าผักออกจำหน่ายได้
  2. สมาชิก จำนวน 20 ท่านสามารถเผยแพร่การเรียนรู้การผลิตต้นกล้าผักปลอดสารพิษได้
  3. สมาชิกได้เรียนรู้กระบวนการทำงานแบบกลุ่มได้
  4. สมาชิกสามารถผลิตต้นกล้าจำหน่ายเพิ่มรายได้ในครอบครัวได้

 

อบรมทักษะด้านการตลาดและการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า 22 ก.ค. 2564 22 ก.ค. 2564

 

สมาชิกเรียนรู้กระบวนการจำหน่ายและการจัดการด้านการตลาดโดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น ดังนี้

  1. คณะทำงานคัดกรองรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 12 ราย
  2. คณะทำงานจัดเตรียมสถานที่ตามมาตรการDMHTT อย่างเคร่งครัด
  3. จัดการอบรมลงทะเบียนสมาชิก
  4. จัดอบรมเทคนิคการตลาด
  5. ทำแบบประเมินความรู้ความเข้าใจ
  6. สรุปกิจกรรมปิดการอบรม

 

สมาชิกผ่านอบรมได้เรียนรู้กระบวนการ การทำตลาดซึ่งสมาชิกจะได้รับองค์ความรู้ด้านการจัดการผลผลิต การจัดทำสต็อกสินค้าและสมาชิกได้นำกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถขายและจำหน่ายในตลาดสินค้าชุมชนและตลาดออนไลน์ได้

 

อบรมทักษะด้านการตลาดและการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า 26 ก.ค. 2564 26 ก.ค. 2564

 

คณะทำงานจัดการอบรมกลุ่มอาชีพเรื่อง จำนวน 11 คน 1)การออกแบบผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพ 2)การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและการตลาด/ออนไลน์ การทำสื่อโฆษณา
3)การขอรับรองมาตรฐานสินค้า/การเพิ่มมูลค่าสินค้า

 

กลุ่มอาชีพสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 100 สามารถผลิตสินค้าและออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกจำหน่ายได้หลังจากมีการอบรม -ร้อยละ 80 สามารถทำบัญชีต้นทุนการผลิตได้บัญชีรายรับรายจ่ายได้-มีช่องทางการตลาดเชื่อมโยงเครือข่ายจำหน่ายมากกว่า 1 ช่องทาง

  • มีสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐานสินค้าอย่างน้อย 3 ตัวสินค้า- สมาชิกกลุ่มสามารถเขียนแผนธุรกิจได้ร้อยละ50 ของสมาชิกเข้าอบรม
  • มีการทำสัญญาขอตกลงซื้อขายสินค้าของกลุ่มอาชีพกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านชาสมุนไพร

 

การอบรมการผลิตต้นกล้าผักปลบอดสารเคมี 9 ส.ค. 2564 9 ส.ค. 2564

 

คณะทำงานจัดการอบรมกลุ่มอาชีพ จำนวน 15 ราย ให้ความรู้เรื่อง 1)การผลิตต้นกล้าผักปลอดสาร/การปรุงดิน 2)การผลิตสารป้องกันแมลง/ฮอร์โมนพืช

 

ได้รับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการปรุงดิน การผลิตต้นกล้า การทำน้ำสมุนไพรไล่แมลง ร้อยละ 100 สามารถผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกจำหน่ายได้ หลังจากมีการอบรมครอบ 3 ครั้ง
-ร้อยละ 80 สามมารถทำบัญชีต้นทุนการผลิตได้-มีช่องทางการตลาดเชื่อมโยงเครือข่ายจำหน่ายมากกว่า 1 ช่องทาง

 

การอบรมการผลิตต้นกล้าผักปลบอดสารเคมี 16 ส.ค. 2564 16 ส.ค. 2564

 

จัดการคณะทำงานอบรมกลุ่มอาชีพ จำนวน 15 คน ให้ความรู้เรื่อง

1) การผลิตต้นกล้าผักปลอดสาร/การปรุงดิน 2) การผลิตสารป้องกันแมลง/ฮอร์โมนพืช

 

ได้รับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการปรุงดิน การผลิตต้นกล้า การทำน้ำสมุนไพรไล่แมลง ร้อยละ 100 สามารถผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกจำหน่ายได้ หลังจากมีการอบรมครอบ 3 ครั้ง ร้อยละ 80 สามมารถทำบัญชีต้นทุนการผลิตได้มีช่องทางการตลาดเชื่อมโยงเครือข่ายจำหน่ายมากกว่า 1 ช่องทาง

 

การอบรมการผลิตขนมเบเกอรี่ 23 ส.ค. 2564 23 ส.ค. 2564

 

จัดการคณะทำงานอบรมกลุ่มอาชีพ จำนวน 15 คนให้ความรู้เรื่อง 1)การผลิตขนมเบเกอร๋ 2)การผลิตและการจัดการพัฒนาสูตรใหม่ๆ
3)การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในการจัดจำหน่าย

 

ได้รับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการผลิตขนมเบเกอรี่ ร้อยละ 100 สามารถผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ออกจำหน่ายได้ หลังจากมีการอบรมครอบ 3 ครั้ง  ร้อยละ 80 สามมารถทำบัญชีต้นทุนการผลิตได้มีช่องทางการตลาดเชื่อมโยงเครือข่ายจำหน่ายมากกว่า 1 ช่องทาง

 

ประชุมคณะทำงาน ติดตามการทำงาน ทั้ง 2 กิจกรรม ในการแสดงผลงาน 20 ก.ย. 2564 20 ก.ย. 2564

 

ประชุมคณะทำงาน การติดตามการทำงาน และติดตามบัญชีครัวเรือน

  • คณะทำงานประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน
  • กรรมการที่รับผิดชอบแต่ละเรื่อง มารายงานผลการดำเนินงาน ได้แก่ การผลิตต้นกล้าผัก และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 จำนวน15 คนเพื่อรับฟังการจัดการกลุ่มและรับฟังปัญหากลุ่มพร้อมหาแนวทางแก้ไข
  • กรรมการเก็บข้อมูลจากแนวทางการติดตาม

 

  • มีฐานข้อมูลการผลิตสินค้าและบริการ (ปฏิทินการผลิต/จำนวนการผลิต)กลุ่มผู้ปลูกผัก
  • ได้ข้อมูลแกนนำ 20คน มีการทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่อง3 เดือนขึ้นไป
  • มีสินค้าของแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภทในการจำหน่ายในชุมชนและต่างชุมชน

 

ประชุมคณะทำงาน ติดตามการทำงาน ทั้ง 2 กิจกรรม ในการแสดงผลงาน 18 ต.ค. 2564 18 ต.ค. 2564

 

ประชุมคณะทำงาน การติดตามการทำงาน และติดตามบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเบอเกอรี่จำนวน 15 ราย -คณะทำงานประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และเตรียมการจัดกิจกรรม -กรรมการที่รับผิดชอบแต่ละเรื่อง มารายงานผลการดำเนินงาน ได้แก่ การผลิตขนมเปี๊ยะ การทำบัญชีครัวเรือน และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19และรับฟังปัญหาแนวทางแก้ไข -กรรมการเก็บข้อมูลจากแนวทางการติดตาม

 

มีฐานข้อมูลการผลิตสินค้าและบริการในกลุ่มผลิตเบอเกอรี่ (ปฏิทินการผลิต/จำนวนการผลิต)ในแต่ละครั้ง -ได้ข้อมูลแกนนำ 20 คน มีการทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่อง3 เดือนขึ้นไป -มีสินค้าของแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภทออกจำหน่ายในชุมชนและวางขายในตลาดนอกชุมชน

 

ประชุมคณะทำงาน ติดตามการทำงาน ทั้ง 2 กิจกรรม ในการแสดงผลงาน 15 พ.ย. 2564 15 พ.ย. 2564

 

ประชุมคณะทำงาน การติดตามการทำงาน ทั้ง 2 กิจกรรม และติดตามบัญชีครัวเรือน เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน
-กรรมการที่รับผิดชอบแต่ละเรื่อง มารายงานผลการดำเนินงาน ได้แก่  การผลิตต้นกล้าผัก การผลิตขนมเปี๊ยะ การทำบัญชีครัวเรือน และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 จำนวน 30ราย -กรรมการเก็บข้อมูลจากแนวทางการติดตาม

 

ฐานข้อมูลการผลิตสินค้าและบริการ (ปฏิทินการผลิต/จำนวนการผลิต)จำนวน 2 กลุ่ม -ได้ข้อมูลแกนนำ 44 คน มีการทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่อง3 เดือนขึ้นไป -มีสินค้าของแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภทวางขายในตลาดในและนอกชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

เวทีถอดบทเรียน 10 ธ.ค. 2564 10 ธ.ค. 2564

 

เวทีถอดบทเรียน -คณะทำงานจัดประชุมแกนนำครัวเรือน ประชาชนทั่วไป ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงานในระยะที่ 1 จำนวน  32 ราย -โดยร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ 1)เป้าหมายของโครงการหรือสิ่งที่คาดหวังคืออะไร 2) สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไรบ้าง 3) มีอะไรแตกต่างจากเป้าหมายที่วางไว้ อะไรเป็นสาเหตุ 4) ถ้ามีโอกาสทำใหม่ เราจะทำอะไรให้ดีขึ้น และร่วมวางแผนในการจัดการเพื่อต่อยอดกิจกรรม

 

1.คณะทำงาน 20 คน สมาชิกกลุ่มอาชีพ44 คน เข้าร่วมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางให้หมู่บ้านอื่นนำไปจัดโครงการต่อไป 2.เกิดกระบวนการคิดวางแผน การทำงานแบบกลุ่ม 3.เกิดการจัดการแบบบูรณาการตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ

 

เวทีถอดบทเรียน 15 ธ.ค. 2564 15 ธ.ค. 2564

 

เวทีถอดบทเรียน - คณะทำงานจัดประชุมแกนนำครัวเรือน ประชาชนทั่วไป ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงาน - โดยร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้

1)เป้าหมายของโครงการหรือสิ่งที่คาดหวังคืออะไร
2) สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไรบ้าง
3) มีอะไรแตกต่างจากเป้าหมายที่วางไว้ อะไรเป็นสาเหตุ
4) ถ้ามีโอกาสทำใหม่ เราจะทำอะไรให้ดีขึ้น

 

การถอดบทเรียนระยะที่ 2 เกิดกระบวนการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมโดยการนำข้อมูลเวทีที่1มาสังเคราะห์หาแนวทางได้ 3 อย่างคือ

  1. ต้นนำ การผลิต จัดกรอบวางแผนตามบทบาทหน้าที่ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การจัดทำบัญชีกลุ่ม
  2. กลางน้ำ การแปรรูป คือการจัดการผลผลิตในระยะที่ 2 เช่นการวางแผน ต้นทุน การเพิ่มมูลค่าสินค่า มาตราฐานการผลิต คุณภาพ การปนเปื้อนสารเคมี ความปลอดภัยต่อผูบริโภค
  3. ปลายน้ำ การตลาด การจัดการการใช้ทัพยาการก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด เกิดการสูญเสียน้อยที่สุดตลอดเส้นทางการจัดการ การดูแลผลประโยชน์สมาชิก ด้านต่างๆ คุณภาพชีวิต รายได้ สวัสดิการของสมาชิก ที่ได้จากเวทีถอดบทเรียนระยะที่ 2

 

งบ สสส. สนับสนุน (เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับ สสส.) 24 ธ.ค. 2564 26 ธ.ค. 2564

 

คณะทำงานเดินทางจากยะลาถึง อำเภอหาดใหญ่ในวันที่ 24/12/64โดยใช้รถตู้เข้าสู่ที่พักในวันที่24/012/2564 วันที่ 25/12/64 เข้าเรียนรู้การถอดบทเรียนและการจัดทำการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ ในกรอบการทำงานร่วมกับทีมพี้เลี้ยงโดยจัดกิจกรรมออกเป็นกลุ่มใหญ่ทตามกรอบงบประมาณเพื่อรับฟังแนวทางการทำงานและแนวทางของปัญหาร่วมถึงแนวทางการจัดการปัญหา 26/12/64 เข้าห้องในการสรุปการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ในการแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ จังหวัดโดยมีพี่เลี้ยงคอยชี้แนะการสรุปผลในการเขียนสรุปรายงาน ช่างบ่ายเินทางกลับที่พัก

 

  1. สรุปผลกรอบการทำงานข้อมูลแลกเปลี่ยนในแต่ละพื้นที
  2. แนวทางการทำงานและแนวทางในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นทีโดยอาศัยข้อมูลในการแลกเปลี่ยน
  3. ข้อมูลในการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์
  4. เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานในแต่ละพื้นที่

 

งบ สสส. สนับสนุน (จัดทำรายงานปิดโครงการ) 28 ธ.ค. 2564 28 ธ.ค. 2564

 

คณะทำงานจำนวน 5 ท่านเดินทางเข้าข้อคำปรึกษาในการเขียนสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์อย่างถูกต้อง เพื่อสรุปปิดโครงการอย่างสมบูรณ์

 

1.การลงข้อมูลที่ถูกต้องในระบบอย่างถูกต้อง 2.การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อสรุปปิดโครงการ 3.รายงานผลการทำงานให้พี่เลี้ยงรับทราบข้อมูลผลการทำงาน

 

งบ สสส. สนับสนุน (จัดทำรายงานปิดโครงการ) 31 ธ.ค. 2564 31 ธ.ค. 2564

 

คณะทำงานจำนวน 5 ท่านเข้าขอคำแนะนำในการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

 

  1. พี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องรายงานฉบับสมบูรณ์
  2. คณะทำงานแก้ไขข้อมูลและขอคำปรึกษาในการจัดทำโรงการในระยะที่ 2 เพื่อเตรียมแนวทางในการขับเคลื่อน