directions_run

ส่งเสริมทักษะอาชีพทางการเกษตร ผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อคนแม่ทอมและคนบางกล่ำ

assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยง จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ20 มกราคม 2565
20
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารตวามถูกต้องทั้งโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การตรวจสอบรายงานทางการเงิน
ตรวจสอบใบลงทะเบียน ชื่อโครงการ รหัสโครงการ ชื่อกิจกรรม
สถานที่ทำกิจกรรม วันที่การทำกิจกรรม และรายชื่อสมาชิกที่ทำกิจกรรมในวันนั้นๆ แต่ละกิจกรรมต้องดูจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรมและและรายละเอียดการจ่ายเงินของแต่ละกิจกรรม
ซึ่งการจัดแต่ละกิจกรรมการใช้จ่ายเงินต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ การตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน

  1. เลขที่ข้อตกลงของโครงการต้องถูกต้อง
  2. วันที่ในใบเสร็จรับเงินต้องตรงกับวันที่ทำกิจกรรม
  3. ชื่อผู้รับเงินต้องมีเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ถูกต้องที่อยู่ที่ถูกต้องตามบัตรประจำตัวประชาชน
  4. ใบเสร็จรับเงิน ต้องมี...ได้รับเงินจากโครงการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โครงการส่งเสริมทักษะทางการเกษตร ผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อคนแม่ทอม คนบางกล่ำ ดังรายการต่อไปนี้
  5. ลำดับที่
  6. รายการต้องเขียนอธิบายให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกิจกรรม
  7. จำนวนเงินที่จ่ายไปต้องตรงตามที่กิจกรรมกำหนดไว้
  8. ยอดรวมจำนวนเงินถูกต้อง และต้องมีตัวอักษรกำกับ
  9. ใบเสร็จรับเงินจะต้องมีคำว่าข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายจ่ายข้างต้นได้จ่ายไปในงานโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยแท้จริง
  10. จะต้องมีลายเซ็นผู้รับเงินและผู้จ่ายเงิน ลายเซ็นต์ตรงกับใบทะเบียน
  11. ใบเสร็จรับเงินจะต้องไม่มีการลบถ้า ถ้าเขียนไม่ถูกต้องให้ใช้ขีดฆ่าและเซ็นชื่อของผู้จ่ายเงินหรือผู้รับเงิน
  12. ใบเสร็จรับเงิน ผู้รับเงินจะต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องแนบ
  13. สำหรับใบเสร็จรับเงินที่ซื้อของต้องออกในนามสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพเท่านั้น
พบพี่เลี้ยง จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ10 มกราคม 2565
10
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ในวันที่10 มกราคม 2565 ประสานงานกับพี่เลี้ยงโครงการในการเข้าพบ กำหนดเวลา และเป้าหมายในการประชุม พูดคุย พร้อมกับนัดคณะทำงาน ปรเด็น

  1. การบันทึกข้อมูลในระบบที่ถูกต้อง
  2. เอกสารสำคัญที่จะคีย์เข้าระบบ
  3. รูปภาพประกอบในการทำกิจกรรม
  4. เนื้อหาที่คีย์เข้าระบบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

10 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น.ได้เดินทางไปยังสมาคมอาสาสร้างสุข 1004 ม.6 ถ.ปุณณกันท์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประกอบด้วยคณะทำงาน 3 ท่าน

  • ทางพี้เลี้ยง ได้สอนการบันทึกข้อมูล และทำให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อให้เกิดความถูกต้อง เกิดความเข้าที่ถูกต้อง ที่พบเจอการ การบันทึกข้อมูลทำให้ทราบว่าการต้องเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและในการลงพื้นที่ แต่ละครั้ง พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่ได้พบเจอและปัญหาที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลาด้วย การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมายที่ลงไปในพื้นที่ เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติ ความร่วมมือของ ของคนในครอบครัว
  • เอกสารที่สำคัญในการที่จะคีย์เข้าระบบนั้นจะต้องเป็นเอกสาร ลงทะเบียนผู้ที่เข้าร่วมเข้ากิจกรรม ใบเสร็จรับเงิน สำเนาบัตรประชาชน รูปภาพ ก็ควรจะเป็นรูปภาพที่แสดงถึงกิจกรรมที่เราทำ ณ เวลานั้นว่า กิจกรรมอะไร แสดงความรู้สึกร่วม หรือไม่ ของกลุ่มเป้าหมาย ปัญหาอะไร แนวทางแก้ปัญหาอย่างไร การแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • วิทยากรแนะนำอะไรบ้าง ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมในประเด็นดังกล่าวเข้าใจ หรือเปล่า
เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสังเคราะห์บทเรียน และเขียนรายงานปิดโครงการ26 ธันวาคม 2564
26
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม

  1. สรุปโครงการ และถอดบทเรียนการดำเนินงานดครงการย่อย
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเครื่องมือที่ใช้หนุนเสริมในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่
  3. เพื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการย่อย และหน่วยจัดการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน

การสร้างทีม

  1. ดึงคนที่มีปัญหาลุกขึ้นแก้ปัญหาของตนเอง
  2. การสร้างความเข้าใจร่วมตั้งแต่ต้นจนจบโครงการประโยชน์ร่วม
  3. หัวโจกแกนนำกลุ่มย่อยๆ
  4. ความหลากหลายของทีมวิเคราะห์ความพร้อม
  5. ต้องสร้างความเชื่อมั่นผ่านผู้นำชุมชน
  6. วิเคราะห์แกนนำให้สอดคล้องกับงานอย่างกว้างขวาง
  7. ผู้นำตามธรรมชาติ
  8. ต้องสร้างความเชื่อมั่นผ่านผู้นำชุมชน
  9. ให้ความสำคัญกับทุกคนในทีมใช้งานถูกคนใช้คนถูกงาน
  10. การสร้างความโปร่งใสไว้ใจเชื่อใจคัน
  11. กำหนดบทบาทหน้าที่กติกาทีม

การสร้างงาน

  1. ให้โอกาสคนที่ยากลำบากจริงจากการทำข้อมูลอย่างครอบคลุม
  2. ระบบการแก้ปัญหาความช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเครือข่ายความสัมพันธ์
  3. การออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมตามกิจกรรมช่วงวัยเวลาตามบริบทสถานการณ์
  4. สร้างความเข้าใจที่ให้เห็นประโยชน์ร่วมในระดับตนเองครอบครัวชุมชน
  5. เคาะประตูบ้านลงเยี่ยมสร้างความสัมพันธ์ทำต่อเนื่อง
  6. นำบทเรียนจากรุ่นก่อนมาปรับใช้ทำจริงให้เห็น
  7. การติดตามทบทวนตลอดการทำงาน
  8. แผนกิจกรรมมาแลกเปลี่ยน ออกแบบร่วมให้ตรงกับความต้องการจริง

การสนับสนุนและภาคีเครือข่าย

  1. ต้องรู้ว่าหน่วยงานรัฐแต่ละแห่ง สนับสนุนอะไรอย่างไร ยืนยันในความต้องการจริงอย่างมีจุดยืน
  2. ทำผลงานให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการ
  3. นำผลงานไปนำเสนอหน่วยงานเพื่อขอรับการสนับสนุน

ความยั่งยืน

  1. ทำงานให้เป็นเรื่องสนุกสนุกกับสิ่งที่ทำ ทำอย่างมีความสุข
  2. ต้องมีการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ต่อยอดการทำงาน
  3. ต่อยอดและนำบทเรียนจากอดีตมาสร้างจุดยืนในการทำงานของชุมชน
  4. การวิเคราะห์เข้ากระแสสังคมเพื่อออกแบบการผลิต
  5. สร้างคนให้สามารถ พัฒนาตนเองเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ได้
  6. ยกระดับกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชน

บทเรียน

  1. การทำงานโครงการต้องมาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
  2. การทำงานต้องมีการติดตามประเมินผล
  3. ต้องให้ในสิ่งที่ชุมชนต้องการจริง
  4. ทำให้เห็นประโยชน์จริง คืนประโยชน์ให้ชุมชนคนทำงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
  5. การทำงานต้องสร้างความเท่าเทียมในชุมชนสังคมสมานฉันท์
  6. ตั้งเป้าหมายในการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
  7. ต้องสร้างความเชื่อมั่นโดยดึงคนที่มีความเชื่อถือมาเป็นแกนนำ
  8. เปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาสร้างความสำเร็จกลุ่มกิจกรรมใหม่
  9. เด็กไม่ชอบแสดงความคิดเห็นกลัวความคิดเห็นผิด ต้องสร้างคุณค่าในความคิดของเด็ก
  10. การจัดการความขัดแย้งต้องสร้างให้เห็นผลสำเร็จจริง
  11. ทำโครงการที่เกิดจากชุมชนเองต้องการเองจะยั่งยืนกว่าโครงการที่คนอื่นคิดให้
มาพบพี่เลี้ยงที่ สมาคมอาสาสร้างสุข หาดใหญ่20 ธันวาคม 2564
20
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

โจทย์การถอดบทเรียนหน่วยจัดการโควิด 19

1.ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโครงการตามกลยุทธ์หลักของโครงการ (ถอดจากexcel ผลลัพธ์-ตัวชี้วัดหลักในTor)

  • ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  • การสร้างอาชีพและรายได้
  • การสร้างความมั่นคงทางอาหาร

2.กระบวนการสำคัญที่นำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ในแต่ละกลยุทธ์

  • ระดับหน่วยจัดการ
  • ระดับโครงการยอย

3.บทเรียนความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

  • ระดับหน่วยจัดการ
  • ระดับโครงการย่อย

4.ปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จ/ไม่สำเร็จจากการดำเนินงาน

  • ระดับหน่วยจัดการ
  • ระดับโครงการย่อย

5.สรุปโมเดลการทำงานที่เห็นความเชื่อมโยง จากข้อ 1-4 เพื่อใช้พัฒนา ยกระดับ หรือขยายผลการทำงานในระยะถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ กับ การเปลี่ยนแปลง

  • ความรู้ วิธีการใช้สมุนไพรฆ่าแมลงใช้เอง/การปรุงดิน/การทำปุ๋ยหมัก/ภูมิปัญญาดั้งเดิมชุมชน/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ด้านสุขภาพ ได้ออกกำลังกาย/สุขภาพจิตดี ลูกหลานช่วย/เกิดการแบ่งปัน/คลายเหงา/ลดเครียด/ลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด/เกิดภูมิคุ้มกัน ผักปลอดภัย
  • การเงิน                        5 คน / 800 – 1,000  บาท   ปลูกผัก 25 คน = รายได้ต่อเดือน    10 คน / 500 – 800  บาท                               10 คน / 300 –  500  บาท                                     3 คน / 150 – 200  บาท   เพาะเห็ด 8 คน = รายได้ต่อเดือน            3 คน / 100 – 150  บาท
                                        2 คน /  50 – 100  บาท
  • ด้านความมั่นคง กินผักปลอดภัยมากขึ้น/สุขภาพดี/ได้พบเพื่อนใหม่ๆ/การปรุงดินที่เหมาะสม/เกิดกลุ่มปลูกผัก
  • กลยุทธ์ / วิธีการดำเนิน แกนนำชักชวน/ร่วมประชุม/รวมวางแผน/รวมปฎิบัติ/ติดตาม/ประเมินผล/ขยายผล

ผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการหน่วยงานที่สนับสนุน

  • สนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ = การทำเชื้อไตรโคเดอร์มา / แนะนำการปรุงดิน
  • พัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำ = การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ลูกหยี น้ำสมุนไพร การทำสบู่สมุนไพร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย= เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาเตยปาหนันกับกลุ่มผู้สูงอายุ
  • บริษัท กรีนริเวอร์พาเนล(ประเทศไทย) จำกัด (สาขาอำเภอบางกล่ำ) = รับซื้อ พืชผัก จากชุมชน
  • วิสาหกิจชุมชนสวนปันสุข = รับซื้อ พืชผัก จากชุมชน
  • โครงการ u2t 1 ตำบล 1 มหาลัย = ขยายการส่งเสริมการปลูกพืชผักทางการเกษตรเพิ่มอีก 60 ครัวเรือน ต.แม่ทอม

บทเรียน/ข้อเรียนรู้

  • วิธีการและเทคนิคในการปลูกผัก เพาะเห็ด และการดูแลรักษา
  • การปฎิสัมพันธ์กันระหว่าง ชุมชน แบ่งปัน เอื้ออาทร
  • รู้จักการวางแผนชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
  • แกนนำ เกิดทักษะ และการพัฒนา การทำโครงการ
  • เกิดการร่วม กลุ่มการปลูกผักปลอดภัย
  • เกิดความรู้ ภูมิปัญญาชุมชน
  • เกิดภาคีเครือข่าย ขึ้น

การต่อยอดและขยายผล

  • การรวมกลุ่มผลิตส่งต่อกลุ่มแปรรูป การทำเห็ดทอด ผักทอด
  • การทำโรงเรือนกลาง สาธารณะในชุมชน โรงเรียนแม่ทอม
  • การทำน้ำหมัก 7 รส ใช้ในกลุ่ม ขม เบื่อเมา เปรี้ยว จืด เผ็ดร้อน ฝาด หอมระเหย
กิจกรรมที่ 9 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ19 ธันวาคม 2564
19
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ประชุมคณะทำงาน
  • หนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมาย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และหน่วยงานรัฐ
  • แบ่งหน้าที่ของคณะทำงาน /สถานที่ประชุม/ เชิญวิทยากรกระบวนการ /แนะนำองค์กรที่เข้าร่วม / ดูคลิปบุคคลต้นแบบปลูกผักอินทรีย์/ ร่วมกันสะท้อนกิจกรรมการปลูกผักปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ ที่เข้าร่วมเวที สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ จังหวัดสงขลา พัฒนาการอำเภอบางกล่ำ หัวหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำ มีเป้าหมายเข้าร่วม ทั้งสิ้น 45 คน

สิ่งที่เกิดจากเวทีประชุม

ความประทับใจในการปลูกพืชผัก

  1. โครงการในช่วง covid เปลี่ยนแรง กลายเป็นเงินภูมิใจ
  2. มีผักปลอดสารพิษกินเองขายเองหน้าบ้าน
  3. ได้เปลี่ยนข้างบ้านที่รกร้างเป็นแปลงปลูกผัก
  4. ดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นกัน
  5. ภูมิใจที่ได้กินผักที่ปลูกเอง
  6. เห็นผลงานปลูกผักงดงามแล้วภูมิใจ
  7. ดีใจลูกหลานมาช่วยปลูกผัก
  8. สามีไม่ได้ทำงานกลับมาช่วยกันปลูกผัก
  9. ปลูกผักหน้าบ้านยังไม่ทันโตมีคนมาขอซื้อ
  10. ช่วยให้ผู้สูงอายุแข็งแรงเกิดความสามัคคีในครอบครัว
  11. ผู้สูงอายุได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภูมิปัญญา
  12. ได้ออกกำลังกายตอนเช้าใช้เวลาอยู่ในสวน
  13. ภูมิใจได้สุขภาพดีได้ออกกำลังกาย
  14. เห็นผู้สูงอายุมีความสุขเห็นลูกหลาน

เกิดการเปลี่ยนแปลง

  1. ได้เพื่อนได้แจกจ่ายผักผลไม้ที่ปลูก
  2. ลูกหลานช่วยกันขายชวนเพื่อนมาซื้อ
  3. ได้พบเพื่อนกลุ่มใหม่ๆ
  4. ได้เงินจากการปลูกผักจุนเจือครอบครัว
  5. สุขภาพร่างกายแข็งแรง สดชื่นได้กินผักปลอดสารพิษ
  6. ได้ออกกำลังกาย และมีความสุขจากการได้ปลูกผัก
  7. ได้แลกเปลี่ยนภูมิปัญญาในการปลูกผัก ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน

อยากให้มีการสนับสนุน

  1. การเชื่อมโยงภาคีหน่วยงานมาสนับสนุนในพื้นที่
  2. การรวมกลุ่มผลิตแปรรูปสินค้าชุมชน
  3. มีการจัดทำถังน้ำหมักรวมทุกคนสามารถนำไปใช้ได้
  4. หน่วยงานภาครัฐมาสนับสนุนเกี่ยวกับโรคพืช
  5. ขั้นตอนในการดูแลเห็ดให้ออกดอกอย่างต่อเนื่อง
  6. การออกแบบแปลงผักที่เสื้อกับสรีระของผู้สูงอายุ
  7. การพัฒนาปรับปรุงดิน
  8. การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด
  9. การขอใช้พื้นที่สาธารณะในการจัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด

การขยายผล

  1. การรวมกลุ่มผลิตและส่งต่อผลผลิตกลุ่มแปรรูป
  2. การสร้างโรงเรือนรวมในพื้นที่สาธารณประโยชน์
  3. การจัดทำถังรวมผลิตน้ำหมักใช้กันเองในกลุ่ม
  4. กลุ่มเพาะเห็ด ผลผลิตรวมกลุ่มกันขาย สู่กลุ่มแปรรูป เป็นน้ำพริกเห็ด เห็ดทอด เห็ดอบกรอบ แหนมเห็ด รวมถึงพืชผักนำมามาแปรรูปด้วย
กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ ครั้งที่ 411 ธันวาคม 2564
11
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ได้กำหนดเป้าหมายในการประชุมถอดบทเรียน
  • แบ่งหน้าที่คณะทำงาน
  • วางผลลัพธ์ สิ่งที่ต้องการให้เกิด จากประชุม
  • ออกแบบการลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปคนต้นแบบ
  • หนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมประชุมต้องเชิญทุกคนเข้าร่วมประชุมที่เข้าร่วมโครงการ
  • ต้องเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยสำนักงานเกษตรอำเภอบางกล่ำสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทองและภาคีอื่นที่เกี่ยวข้อง

การแบ่งหน้าที่การทำงาน

  1. ให้จัดเตรียมในเรื่องของอาหารกลางวันและอาหารว่าง เป็นกล่อง การรับประทานอาหารควรจะมีการเว้นระยะห่างไม่ควรมีการรวมกลุ่มกัน
  2. การจัดเตรียมสถานที่เก้าอี้ต้องเว้นระยะห่างด้วย
  3. ต้องเตรียมในเรื่องของการป้องกันดูแลโควิค เจลล้างมือ เมส
  4. ในช่วงก่อนที่จะมีการประชุมถอดบทเรียนอยากให้มีการถ่ายคลิปวีดีโอบุคคลต้นแบบเพื่อที่จะเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นในเรื่องของการปลูกผักและเพาะเห็ดเพื่อจะได้เป็นแนวทางให้บุคคลอื่นได้รับทราบ เป็นการเชิดชู เป็นต้นแบบ ที่ดี
  5. แนวคิดหลังจากการสิ้นสุดโครงการไปแล้วจะดำเนินการอย่างไรต่อ อยากได้แนวคิดจากผู้เข้าร่วมประชุมด้วยหรืออยากทำโครงการต่อเนื่อง เพื่อจะเป็นแนวทางในการหางบประมาณในการขับเคลื่อนในอนาคต
กิจกรรมที่ 7 ลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมเยียนกลุ่มเป้าหมาย6 พฤศจิกายน 2564
6
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • วางแผนการลงพื้นที่ สิ่งต้องทราบจากกลุ่มเป้าหมาย เรื่องอะไร
  • ปัญหาที่เกิดจากการปลูกผัก
  • ปัญหาเรื่องสุขภาพ
  • การเข้าใจป้องกันโควิด 19
  • สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ และขยายผลต่อยอด
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน พบว่า มีผู้ปลูกผัก จำนวน 25 คน ได้แก่ ผักบุ้ง พริก แตงกวา มะเขือ กวางตุ้ง บวบ คะน้า ถั่วพลู ฯลฯ และมีผู้เพาะเห็ด จำนวน 5 คน
  • การลงพื้นที่ทำให้ทราบถึงปัญหา ศัตรูพืชผัก การทำปุ๋ย สภาพดิน การปรับดิน สภาพฝน ทำให้การปลูกผักไม่ได้ตามเป้าหมาย ผลิตพืชผัก ไม่ทันกับความต้องการของผู้บริโภค
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย มีความสุข สุขภาพจิตดีขึ้น ได้ใช้เวลาว่างได้เกิดประโยชน์ ได้มีการแบ่งปันผลผลิตชึ้น มีความสามัคคีเกิดขึ้นในชุมชน
  • ได้แบ่งปันประสบการณ์ในการปลูกผัก ลูกหลานได้เข้าร่วมกิจกรรม
ประชุมรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับ สสส.18 กันยายน 2564
18
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดกิจกรรม "ถอดรหัส สร้างโอกาส ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจฐานราก" เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทเรียน วิธีคิด และกลยุทธ์การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงสานพลังภาคีเครือข่าย ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ได้เรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในชุมชนต่อไปได้

ครั้งที่ 1 วันที่ 18-19 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ของโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพทางการเกษตรผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อคนแม่ทอม และคนบางกล่ำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์สู่ความมั่นคงทางอาหาร

  • การทำให้ทุกครัวเรือนมีควาปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ปรับพี่ข้างบ้านให้เป็นการปลูกผักปลอดภัยโดยเน้นการใช้วัสดุที่มีการหาได้ง่ายในชุมชนเพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้พื้นที่หน้าบ้านในการทำเป็นร้านค้าเล็กๆสำหรับขายสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ในช่วงวิกฤตโควิด 19

เกิดกติกาชุมชนที่ส่งผลต่อความยั่งยืน

  • เกิดการเรียนรู้และนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนด้วยการมีกติกาของชุมชนในการรวมกันผลิตผักและอาหารปลอดภัยสำหรับคนในชุมชนและการส่งเสริมการขายสินค้าในชุมชนแก่สมาชิกเน้นการควบคุมคุณภาพร่วมกันในชุมชนมรู้สึกว่าชุมชนคือแหล่งพักพิงที่ให้ความปลอดภัยและมั่นคงในทุกด้านรวมถึงด้านอาหารโดยคนในชุมชนเอง

ชุมชนปรับเปลี่ยนวิธีใหม่

  • หันมาปลูกผักทำเกษตรที่เน้นความปลอดภัยสู่การแบ่งปันและสร้างสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยกันแก้ปัญหามากกว่าการรอคอยการช่วยเหลือจากคนอื่น

ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

  • ปรับพี่ข้างบ้านให้เป็นการปลูกผักปลอดภัยโดยเน้นการใช้วัสดุที่มีการหาได้ง่ายในชุมชนเพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้พื้นที่หน้าบ้านในการทำเป็นร้านค้าเล็กๆสำหรับขายสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ในช่วงวิกฤตโควิด 19

เกิดกติกาชุมชนที่ส่งผลต่อความยั่งยืน

  • เกิดการเรียนรู้และนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนด้วยการมีกติกาของชุมชนในการรวมกันผลิตผักและอาหารปลอดภัยสำหรับคนในชุมชนและการส่งเสริมการขายสินค้าในชุมชนแก่สมาชิกเน้นการควบคุมคุณภาพร่วมกันในชุมชน
กิจกรรมที่ 8 อบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่ายในการประกอบอาชีพ18 สิงหาคม 2564
18
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • คณะทำงานร่วมกับทางวิทยากร ได้ลงพื้นที่อบรมแนะนำการทำบัญชีต้นทุน รายรับ รายจ่ายในกิจกรรมของโครงการ โดยแนะนำเป็นรายบุคคล ลงตามบ้าน ในตำบลแม่ทอม ตำบลบางกล่ำ เริ่มตั้งแต่วันที่ 9-18 สิงหาคม 2564 เป็นการทำบัญชีอย่างง่าย ไม่ยากลำบากสำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทางวิทยากร แนะนำการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย การคิดต้นทุนในแต่ละวันลงทำงานในแปลงผักกี่ชั่วโมง มีค่าน้ำมีค่าไฟ มีกล้ามปุ๋ย มีค่าเมล็ดผักเท่าไร ให้คิดเป็นเงินเมื่อสรุปได้ว่าแต่ละวันเราทำอะไรไปบ้าง แล้วคิดเป็นค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ได้แล้ว นำจำนวนนั้นมาคูณกับจำนวนวันในแต่ละเดือน ก็จะได้ต้นทุนในแต่ละเดือนและ และยังเช่นในเดือนกันยายนต้นทุนวันละ 5 บาทเดือนกันยายนมีจำนวน 30 วันก็นำเอา 5 บาทคูณกับ 30 วันก็จะได้เท่ากับ 150 บาทคิดเป็นต้นทุนเดือนกันยายน

ตารางการลงบัญชีครัวเรือนทางด้านขวาของตารางก็จะคิดเป็นต้นทุนของแต่ละเดือนตารางก็จะมีคำว่าบัญชีครัวเรือนของแปรงปัดของแปลงผักผ้าเย็นหรือชื่อเป้าหมายแล้วก็มีเดือน..... เช่น เดือนกันยายน ตารางก็จะมี 5 ช่องช่องที่ 1 เป็นวันเดือนปีช่องที่ 2 ช่องที่ 2 กินหรือใช้ในครัวเรือนคิดเป็นเงินช่องที่ 3 แบ่งปันเพื่อนฝูงหรือเพื่อนบ้านคิดเป็นเงินช่องที่ 4 ขายคิดเป็นเงินช่องที่ 5 หมายเหตุขายผักอะไรบ้างและก็ได้อธิบายต่อว่าวันไหนไม่มีผักขายก็ไม่ต้องลงถ้าวันไหนมีผักขายเอาไปกินเอาไปใช้หรือเอาไปแจกเพื่อนฝูงก็ให้ลงด้วย และเมื่อครบ 1 เดือนก็จะนำทั้ง 3 ช่องมารวมเป็นยอดรวมเงินที่เป็นรายได้จากการขายผักทั้ง และนำต้นทุนมาหักออกจากจำนวนยอดรวมก็จะได้กำไรหรือรายได้ที่ได้จากการขายผักในแต่ละเดือนการทำบัญชีอย่างง่ายนี้จะทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจได้ง่ายและไม่ยุ่งยากมากนัก

จากการสอบถามเมื่อธิบายแล้วผู้สูงอายุหรือเป้าหมายทุกท่านเขาบอกว่าทำได้และเราก็ให้เหตุผลด้วยว่าการทำแบบนี้ทำให้เรามีต้นทุนในการจะได้ซื้อเม็ดเมล็ดผักพืชพันธุ์ปุ๋ยหมักนำมาใช้ถูกครั้งต่อไปด้วย และรายได้จากการขายผักดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุมีเงินทำบุญมีเงินซื้อหยูยา ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเมื่อครบ 1 เดือน จะให้คณะทำงานลงเก็บ เพื่อสรุปข้อมูลคืนเป้าหมาย

ปัญหาที่พบเจอ

  • คนที่ขาย หรือกินไปก่อนหน้านี้ไม่ได้ลงข้อมูล และจำไม่ได้ว่าเป็นเงินกี่บาท
  • ส่วนใหญ่ที่พบเจอจะเป็นปัญหาของการปลูก และแมลงศัตรูพืช
  • พร้อมปฎิบัติบันทึกข้อมูล เพราะจะได้รับทราบว่าเกิดรายได้ รายจ่าย เท่าใด ทุกคนยินดีปฎิบัติ
  • มีการส่งข้อมูล รายได้มายังกลุ่มไลน์
กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำแผนส่งเสริมอาชีพกลุ่มเป้าหมายของแต่ละครัวเรือน12 สิงหาคม 2564
12
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • เปลี่ยนวิธีการประชุมรวม เป็น กิจกรรมเป็นการลงพื้นที่วิเคราะห์ข้อมูล และทำแผนส่งเสริมอาชีพกลุ่มเป้าหมายของแต่ละครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย ในวันที่ 9 -10 และ12 สิงหาคม 2564(สถานการณ์โควิด 19 ห้ามมีการรวมตัวกันตามประกาศของจังหวัดสงขลา) วันที่ 9 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ หมู่ที่ 1 - หมู่ที่ 3 ต.แม่ทอม กำหนดการ ช่วงเช้า เริ่ม เวลา 09.00 - 12.00 น. ลงพื้นที่บริเวณ ม. 3 บ้านหัวนอนวัด ซึ่งเป็นจุดที่กลุ่มเป้าหมายเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ หมู่ที่ 4 ต.แม่ทอม วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ลงพืนที่ ต.บางกล่ำ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง มี นางเผี้ยง นวลจันทร์ นายเชย จิตรตั้ง นายทวีป อินสะโร นายไข่ ไชยภักดี นายแปลก เทพอรัญ นางประคอง สุขสว่าง นางจันทอง ทองชูช่วย นางสุก ทองชูช่วย

จากการสอบถามการปลูกผัก

  1. นางเผี้ยง นวลจันทร์ ปลูกผักคึ่นช่าย ผักโขม ผักบุ้ง ผักกาด พริกขี้หนู ตะไคร้ ทำปุ๋ยเองจากการนำเศษปลา เศษกุ้ง เศษผัก เหลือจากการนำไปใช้และขาย มาหมักน้ำจุลินทรีย์ (EM) เป็นปุ๋ยนำมารดน้ำและใส่ให้พืชผัก ผลผลิต นำมาใช้บริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันเพื่อนบ้าน และจะมีแม่ค้ามารับพืชผักไปขายตลาด วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่ หมู่ที่ 4 ต.แม่ทอม
  2. ลงตรวจเยี่ยมของป้าทอง(จารุมัย) จะปลูกผักแบบชมรมปลูกพืชผักทุกอย่างที่กินได้เป็นพืชที่ต้องใช้ในครัวเรือนเช่นคะน้าใช้ซิมผักบุ้งจิงจูฉ่ายผักกาดกระเจี๊ยบเขียวข่าตะไคร้พริกขี้หนู เหลือจากการกินเหลือจากการใช้หรือให้เพื่อนฝูง ป้าทองจะให้ลูกสาวนำไปขายที่ตลาด และป้าทองจะมีร้านค้าอยู่หน้าริมถนนตอนเช้าๆก็จะนำผักจากที่เหลือกินเหลือใช้มานั่งขายเพื่อให้คนเดินทางซื้อไปกิน
  • ป้าทอง เจอปัญหาเกี่ยวกับพืชผักก็คือโรค โรคเชื้อราเปี๊ยะแป้ง โคนเน่า รับปากว่าจะนำไปแก้ไปปรึกษากับเกษตรอำเภอ สิ่งสำคัญได้ภูมิปัญญาจากป้าทอง คือจะทำเสาขึ้นมาสี่เสาใช้ไม้มัดเป็นคานเชื่อมต่อระหว่างเสารอบแปลงผักและใช้ทางมะพร้าวแห้งนำมาวางบนคานเพื่อบังลมบังผลบังแดดไม่ให้พืชผักที่ยังเป็นต้นอ่อนเสียหาย

วันที่ 12 สิงหาคม 2564 ลงพืนที่ ต.บางกล่ำ

  • มีการรวบร่วมพืชผักของกลุ่มในตำบลบางกล่ำ แล้วนำไปขายที่ตลาดน้ำบางกล่ำ ข้างถนน ทุกวันเป็นทางผ่านการสัญจรของคนเดินทางเข้า ออก ไปทำงานใน อำเภอหาดใหญ่
  • ทุกเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จะมอบน้ำดื่มในช่วงโควิด 19 คนละ 2 โหล ได้สรุปข้อมูลเพื่อเสนอกับทางพี่เลี้ยง เป็นแนวทางต่อไป
  • สิ่งที่เกิดจากการทำกิจกรรมโครการ
    จิตใจที่เป็นสุข / เห็นการแบ่งปัน/เกิดรายได้/การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ/สุขภาพแจ่มใส/เครือข่ายคนปลูก กับคนบริโภค/ภูมิปัญญาการปลูกผักของผู้สูงอายุ/การใช้วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์/การทำปุ๋ยหมักจากสิ่งที่เหลือใช้/การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยนช์กับผู้สูงอายุในช่วงโควิด 19 ที่ต้องอยู่บ้าน
กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ ครั้งที่ 35 สิงหาคม 2564
5
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย พี่เลี้ยงสงขลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วางแผนการลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย การทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ต้นทุน

  1. กำหนดหน้าที่ของแกนนำในการนัดแนะกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ เช่น คนที่สัมภาษณ์เป้าหมาย คนถ่ายภาพ คนบันทึกข้อมูล การตรวจกลั่นกรองโควิด ฯลฯ
  2. แผนที่เส้นทางลงพื้นที่ ในแต่ละช่วง
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน ได้แผนงานที่จะดำเนินการ แต่ละขั้นตอน ว่าใครทำอะไร คนสัมภาษณ์ คำถาม

  1. คนในครอบครัวมีใครช่วยบ้าง
  2. ผักที่ปลูก ทำไมต้องปลูกผักดังกล่าว
  3. ปัญหาที่พบเจอ
  4. ช่องทางการขาย ที่ไหน
  5. รายได้ต่อวันเท่าใด
  6. อยากให้คณะทำงานช่วยเรื่องใด
  • คนถ่ายภาพ ต้องเก็บกิจกรรมที่เป้าหมายทำอยุ่ สภาพแวดล้อมรอบบ้าน แปลงผักเป้นลักษณะแบบใด
  • คนที่ดูแลการป้องกันโควิด 19 ค้องเรียบเจลล้างมือ เมสไว้ด้วย และแนะนำวิะีการดูแลสุขภาพในช่วงโควิด ด้วย
  • ได้วางแผนเส้นทางที่จะลง เช้า บ่าย ไปพื้นที่ไหนก่อน เช่นบางคนตัดยาง หรือมีงานช่วงเช้า ก็เปลี่ยนช่วงเวลาลงพบ ซึ่งทุกคนคงทราบในรายละเอียดกิจวัตรประจำวัน ของแต่ละท่าน เพื่อให้ลงพื้นที่ ได้สะดวก เพราะอยู่ในช่วงโควิด ด้วย ได้กำหนดหน้าที่ ของแต่ละท่าน และได้เข้าใจบทบาท
กิจกรรมที่ 6 ประชุมหารือร่วมกับ ‘Pure farm’ บริษัทรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร10 กรกฎาคม 2564
10
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ร่วมประชุม หารือคณะทำงาน แกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่จาก ‘Pure farm’ ในประเด็นการขายสินค้า
  • จัดเก็บข้อมูลจุดขายสินค้าในชุมชน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากที่กลุ่มเป้าหมายได้ทำการปลูกพืชผักนั้น เมื่อผลผลิตดอกจากการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายผลการพูดคุย ผลผลิตที่ออกไม่พอขาย มีบ้างส่วนแบ่งปันญาติๆ และกินในครัว อาจเหลือบ้างก็มีการฝากขายเพื่อนในชุมชน
  • มีร้านค้าในชุมชนเกิดขึ้น ร้านเล็กๆอยู่หน้าบ้านของแต่ละคน นำผลผลิตมาว่างขาย จากการเหลือกินในครัวเรือน และอีกส่วนหนึ่งก็ฝากกลุ่มเพื่อนๆที่ร่วมกิจกรรมมารวมวางขายหน้าถนนหน้าบ้าน ตอนเช้าๆ เพราะลูกค้าก็จะเป็นคนในชุมชน คนนอกที่ปันจักรยานออกกำลังกาย คนในชุมชนที่ทำงานนอกบ้านก็ซื้อไปฝากเพื่อนๆ บ้างคนมีการไปซื้อถึงบ้าน ก็มีเพราะปลูกผักปลอดภัย
  • เมื่อมีการคุยกับทางบริษัท Pure farm ผลผลิตน้อยเกินไปไม่สะดวกในการจัดส่งและจำหน่ายให้กับทางบริษัท ตามเป้าหมายได้ แต่ทางบริษัทยินดีรับซื้อ หากผลผลิตเยอะๆ ก็เป็นกี่ช่องทางในการจัดจำหน่ายพืชผัก
กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ ครั้งที่ 220 มิถุนายน 2564
20
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมคณะทำงาน ติดตามผลความคืบหน้าของกลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการปลูกผัก พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลพื้นฐานกลุ่มเป้าหมายโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต โดยคณะทำงานเข้าร่วมมประชุม 10 คน

  1. ให้คณะทำงานแต่ละท่านรายงานความคืบหน้า ปัญหาที่พบเจอ ในการลงพื้นที่ และเสียงสะท้อนจากพื้นที่ และแนวทางในการช่วยเหลือ
  2. การวางแผนขับเคลื่อนต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อยากให้แต่ละท่านนำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนต่อไป เตือนจิต ศรีสวัสดิ์ คณะทำงานได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมนางสุคนธานวลใย และ นางเย็น ธรรมโชติ ทั้ง 2 ท่านที่ลงไปเจอปัญหา
ผัก มีแมลงศัตรูพืชเป็นจำพวกเพลี้ยแป้ง และก็โคนเน่า ใบเป็นเชื้อรา ส่วนใหญ่ก็จะเจอเรื่องของแมลงศัตรูพืชทำลาย ผลผลิตไม่ได้ตามความต้องการ ได้ทำการแนะนำเบื้องต้นให้นำ น้ำส้มควันไม้ ฉีดพ่น

เรื่องของการขายไม่มีปัญหาเพราะส่วนใหญ่ตั้งขายอยู่หน้าบ้านมีคนมาซื้อตลอด ได้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย และได้รับทราบปัญหา ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับการหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สิ่งที่ประทับใจจากการที่ลงไปพบเจอนาย นายอนันต์ นวบุญ เป็นการเป็นการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการที่ทำแปลงผักโดยใช้พวกเศษวัสดุหญ้าและอื่นๆมาทำการเผาหญ้าเอาขี้วัวขี้ไก่มาเผาเพื่อที่จะกำจัดเชื้อโรคเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของคนคนในชุมชน ก็จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการเป็นเชื้อราในดิน และแมลงอีกด้วย สิ่งที่เห็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ การปรุงดินก่อนที่จะลงเมล็ดผัก ผลผลิตที่ได้จากการปลูก ส่วนใหญ่ก็จะกินในครอบครัว ส่วนที่เหลือก็จะแบ่งปันให้กับญาติๆข้างบ้าน ส่วนน้อยที่ขาย รายได้ที่เกิดขึ้นจะไม่เยอะ ก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อย่างมากในช่วงของโควิค 19 เป็นการเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นโครงการที่ตอบสนองกับผู้สูงอายุและผู้ที่ถูกกักตัวอยู่กับบ้านได้เป็นอย่างดี ส่วนท่านอื่นๆ ก็จะเจอปัญหาคล้ายๆกัน

ข้อสรุป แนวทาง

  1. ติดต่อทางสำนักงานเกษตรลงมาดูปัญหาแมลงศัตรูพีช
  2. อบรมให้ความรู้การเตรียมดิน และการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  3. การจดบัญชีรายรับ จากการขายว่าได้เท่าใดต่อเดือน แจกด้วยตีเป็นราคา
กิจกรรมที่ 5 จัดอบรมเสริมทักษะด้านอาชีพทางการเกษตรแก่กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มอาชีพ31 พฤษภาคม 2564
31
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

กำหนดแผนงานในการลงพื้นที่อบรม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ตามมาตรการณ์ป้องกันโควิด 19

  • 31 พฤษภาคม2564 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า ม.3 ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก
  • 4 มิถุนายน 2564 ณ วัดคูเต่า(ศาลาเรียนยูเนสโก) ม.3 ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร / กวนปุ๋ยที่หมัก
  • 6 มิถุนายน 2564 คณะทำงานลงพบกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับทราบปัญหา
  • 18 มิถุนายน 2564 ได้มอบหมายให้แกนนำแต่ละกลุ่มมารับปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้ว ไปแจกกลุ่มเป้าหมาย
  • 13 สิงหาคม 2564 กิจกรรมอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้า 15/1 ม.3 ต.แม่ทอม และ 35 ม.2 ต.แม่ทอม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

31 พฤษภาคม2564 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า ม.3 ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา กิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 4 โซน ต.แม่ทอม ต.บางกล่ำ ได้ส่งตัวแทนเข้ามาการแปรรูปการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 15 คนมาร่วมเรียนรู้ขั้นตอนร่วมกับการปฎิบัติการกับทางวิทยากร

ส่วนผสมประกอบด้วย

  1. มูลไก่ 10 กระสอบ
  2. มูลวัว 10 กระสอบ
  3. แกลบดำ 20 กระสอบ
  4. แกลบขาว 10 กระสอบ
  5. ขุยมะพร้าว 15 กระสอบ
  6. EM 1 แกลลอน
  7. กากน้ำตาล 1 แกลลอน
  8. หน้าดิน

ส่วนผสมการเพาะเห็ด

  1. ขี้เลื้อยไม้ยางพารา 400 กิโลกรัม
  2. รำละเอียด 50 กิโลกรัม
  3. ปุนขาว 20 กิโลกรัม
  4. ดีเกลือ 1 ถุง
  5. เชื้อเห็ด

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอดสารพิษ ที่มีคุณภาพ การทำปุ๋ยหมักต้องใช้เวลาในการหมักก่อนจะนำไปปลูกผัก ประมาณ 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ทำงาน พร้อมนำไปปลูกผัก ต้องมีการปลับปุ๋ย หรือกวนปุ๋ย รดน้ำหมัก em ครั้งละประมาณ 200 ลิตร ประมาณ 4-5 ครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการจ้างเหมาช่วยดำเนินการ เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

  • วันที่ 4 มิถุนายน 2564 ได้ดำเนินกลับปุ๋ยหรือ กวนปุ๋ย พร้อมกันนั้นทางคณะทำงานได้จัดการอบรม เสริมทักษะความรู้อาชีพเกษตร และการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร
  • เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2564 ลงพบกลุ่มเป้าหมายเพื่อรับทราบปัญหา เพื่อดำเนินแก้ไข
  • เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2564 ได้มอบหมายให้แกนนำแต่ละกลุ่มมารับปุ๋ยที่ผสมเสร็จแล้ว ไปแจกกลุ่มเป้าหมาย
  • เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 ได้อบรมการเพาะเห็ดนางฟ้ากับกลุ่มเป้าหมาย แนะนำวิธีการ กระบวนการดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต อย่างถูกต้อง
  • เกิดการเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยหมัก วิธีการแปรรูป ส่วนผสม ที่ถูกต้อง เพื่อให้คุณภาพจริงๆ เกิดองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทำเป็นสบู่สมุนไพร ร่วมเครือข่าย ชุมชนคุณธรรมวัดคูเต่า ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร สนง.วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
  • ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพจากการผสมด้วยมือของตนเอง
  • เกิดทักษะ และองค์ความรู้ ในการเพาะเห็ดนางฟ้าอย่างถูกต้อง และสามารถแก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
  • กระบวนการขั้นตอนการแนะนำในการเพาะเห็ด วิธีการในการดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ด
  • การใช้เวลาว่างของผู้สูงอายุให้เกิดประโยชน์
  • เกิดการปฎิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม
  • ผลผลิตออกสามารถใช้กินในครัวเรือน แจกญาติ ขายบ้างเล็กน้อย
กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน และให้ความรู้ด้านการดูแลตนเองเพื่อรับมือโรคระบาด23 พฤษภาคม 2564
23
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ครั้งที่ 1 วันที่ 20 พ.ค.64 คณะทำงานได้ลงเก็บพื้นที่ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่จะได้รับ ตัวชี้วัดที่เกิดในโครงการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ ณ บ้านนางเอี้ยม นวบุญ(คณะทำงาน) บ้านเลขที่ 31 ม.4 ต. แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วย คณะทำงาน 5 คน บัณฑิตอาสา 1 ตำบล 1 มหาลัย จำนวน 10 คน อาจารย์จากคณะศึกษา มอ.ปัตตานี 1 คน (ชี้แจ้งโครงการงานวิจัยพืชสมุนไพร) และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน
  • ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พ.ค. 64 คณะทำงานได้ลงเก็บพื้นที่ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่จะได้รับ ตัวชี้วัดที่เกิดในโครงการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ ณ วัดคูเต่า (ศาลาเรียนรางวัลยูเนสโก) ม.3 ต. แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วย คณะทำงาน 6 คน บัณฑิตอาสา 1 ตำบล 1 มหาลัย จำนวน 10 คน อาจารย์จากคณะศึกษา มอ.ปัตตานี 1 คน (ชี้แจ้งโครงการงานวิจัยพืชสมุนไพร) และกลุ่มเป้าหมาย 10 คน
  • ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2564 คณะทำงานได้ลงเก็บพื้นที่ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายที่จะได้รับ ตัวชี้วัดที่เกิดในโครงการ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ ณ นายเจือ ธรรมชาติ บ้านเลขที่ 35 ม.2 ต. แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วย คณะทำงาน 5 คน อาจารย์จากคณะศึกษา มอ.ปัตตานี 1 คน (ชี้แจ้งโครงการงานวิจัยพืชสมุนไพร) และกลุ่มเป้าหมาย 6 คน พร้อมทั้งการรณรงค์การป้องกันโควิด 19 / การฉีดวัคซีน ไปด้วย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากเวที่ชี้แจงโครงการ ได้ข้อสรุปดังนี้

  • เวที่ 1 เมื่อวันที่ 20 พ.ค.64  ได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย จำนวน 8 คน แยกเป็นการปลูกผักยกแคร่ 2 คน และทำแปลงผักด้วยอิฐบล๊อก ขนาด 1.20x2.50 จำนวน 6 คน
  • เวที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พ.ค.64  ได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย จำนวน 8 คน เพาะเห็ด 1 คน ทำแปลงผักด้วยอิฐบล๊อก ขนาด 1.20x2.50 จำนวน 7 คน ปลูกผักด้วยล้อยางรถยนต์ 2 คน
  • เวที่ 3 เมื่อวันที่ 22 พ.ค.64  ได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 คน กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย 4 คน เพาะเห็ด 1 คน แยกเป็น การปลูกผักยกแคร่ 1 คน และทำแปลงผักด้วยอิฐบล๊อก ขนาด 1.20x2.50 จำนวน 2 คน ปลูกผักด้วยล้อยางรถยนต์ 1 คน
  • เวที่ 4 เมื่อวันที่ 24 พ.ค .64 ได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย 8 คน ทำแปลงผักด้วยอิฐบล๊อก ขนาด 1.20x2.50 จำนวน 8 คน
กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด สำรวจพฤติกรรมการบริโภคและแหล่งผลิตในชุมชนพร้อมทั้งสำรวจความต้องการส่งเสริมด้านอาชีพ และความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย18 พฤษภาคม 2564
18
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 15 พ.ค. 64 คณะทำงาน จำนวน 10 คน

  1. ชี้แจงรายละเอียดที่จะลงเก็บข้อมูล
  2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละท่าน
  3. เตรียมแบบสำรวจข้อมูล
  • ข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19
  • สอบถามปัญหาต่างๆที่เกิดในช่วงสถานการณ์
  • ให้ทางโครงการช่วยเหลืออะไรไบ้าง
  • ให้ทราบวัตถุประสงค์โครงการ ในการยกระดับชุมชนในเกิดเศรษฐกิจ มีความมั่นคง มีอาหารปลอดภัย และแนะนำการดูแลสุขภาพ ในสถานการณ์ โควิด 19 ในวันที่ 15 พ.ค. และวันที่ 18 พ.ค.2564
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วันที่ 15 พ.ค. 64 ในพื้นที่ตำบลแม่ทอม ม.1 ม.2 ม.3 ม.4
  • ได้กลุ่มเป้าหมาย และสามารถเข้าโครงการสามารถขับเคลื่อน จำนวน 24 คน  ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ผู้ชาย 8 คน ผู้หญิง  16 คน รวมจำนวน 24 คน
  • ปลูกผัก 19 คน
  • เพาะเห็ด 5 คน แบบสำรวจ แบ่งเป็นส่วนๆ ประกอบด้วย
    ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่อาศัย สถานภาพ ระดับการศึกษา สถานภาพทางสังคม การประกอบอาชีพหลักใรครัวเรือน รายได้รวมต่อเดือน การถือครองที่ดิน ภาระหนี้สิ้น สวัสดิการที่ได้รับปัจจุบัน ทักษะหรือความสามารถที่ท่านมี อาชีพที่สนใจอยากทำ ส่วนที่ 2 สภาวะความยากลำบากและเปราะบางทางสังคม ประเภทของสภาวะความยากลำบาก และเปราะบางทางสังคม สาเหตุของความยากลำบาก สถานะทางสุขภาพ สถานทางสังคม การเจ้บป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องการรับการรักษา สิ่งที่ต้องการรับความช่วยเหลือ เคยได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานใดบ้าง ส่วนที่ 3 ความสนใจทางการเกษตร การสร้างความมั่นคงทางการเกษตร ชนิดของผักที่ปลูก ชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง บริเวณที่ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ วิธีการปลูกผัก ความสนใจที่เข้าร่วมโครงการ ชนิดของผักที่ต้องการจะปลูก วิธีการปลูกผัก ชนิดสัตว์ที่จะเลี้ยง เพื่อเป็นข้อมูล ในการดำเนินการ

  • วันที่ 18 พ.ค.64 ได้ลงพื้นที่ ตำบลบางกล่ำ ม.1 ม.4 ได้กล่มเป้าหมาย ที่จะเข้าโครงการ 9 คน ประกอบด้วย ผู้ชาย 3 คน ผู้หญิง  6  คน รวมจำนวน 9 คน

  • ปลูกผัก 6 คน
  • เพาะเห็ด 3  คน รวมผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 ตำบล ในอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จำนวน 33 คน สิ่งที่พบเห็นในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทั้ง 2 ตำบล
  • ทักษะความรู้เดิมๆของคนที่ปลูกผักอยู่แล้ว โดยการใช้ภูมิปัญญาเดิมๆที่เคยมา ไม่ทราบวิธีการใหม่ๆ ในการปลูกผัก การบำรุงดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย และการทำลายของศัตรูพืช ไม่ทราบวิธีการกำจัดแมลง
  • ส่วนใหญ่อยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เบื่อการอยู่บ้านเฉยๆของผู้สูงอายุ
  • ปัญหาสุขภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยในการทำเกษตรของบ้างคน
  • ไม่มีคนช่วยหลักๆ แต่ใจอยากทำการปลูกผัก
  • ไม่มีพื้นที่ปลูกผัก และระบบน้ำ
  • อยากเพาะเห็ด แต่ขาดความรู้ ทางคณะทำงานแนะนำจะมีวิทยากรเข้ามาแนะนำวิธีการ
  • ช่องทางการตลาด ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า กับบ้างคนที่เคยปลูกก่อนหน้านี้
  • ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่นในกรณีแมลงศัตรูพีช ไม่ทราบจะปรึกษาใคร เสียงสะท้อนจาก นางสุคนธา นวลใย หาทางแก้ปัญหาเองแล้วแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับปัญหาของแมลงศัตรูพืชก็ยังเช่นเดิม
  • นางจันสุก ทองชูช่วย ไม่สมารถปลูกผักได้แต่ชอบการเพาะเห็ด ตอนนี้ปลูกผักในล้อยางรถยนต์ ได้เท่านั้น ปลูกลงดินไม่ไหว อายุเยอะ
  • นายแปลก  เทพอรัญ ดินที่ใส่แปลงอิฐบล็อก ไม่มี แนะนำให้นำเศษว้สดุ เช่นใบไม้ หญ้า และอื่นๆลงไปก่อน หมักไว้เป็นเบื้องต้น
จัดทำไวนิลโครงการ3 พฤษภาคม 2564
3
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมทักษะอาชีพทางการเกษตรผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อคนแม่ทอมและคนบางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ประกอบด้วยรห้สโครงการ ุ64 00214 0003

ภายใต้ ชุดโครงการการฟื้นฟูคุณภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก โควิด 19 เพื่อสร้างสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ โลโก้ สสส.

โลก้ ห้ามสูบบุหรี่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเป้าหมายโครงการ ได้รับทราบและเข้าใจในกิจกรรมที่ดำเนินการ
  2. รู้ที่มาของงบประมาณที่ได้รับในการขับเคลื่อนโครงการ
  3. สื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ
  4. ทราบถึงขอบเขต สถานที่ในการดำเนินการ ของกิจกรรมโครงการ
  5. เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้กับบุคคลทั่วไป เช่นองค์กรในพื้นที่ และองค์ภายนอก เช่นในพื้นที่ อบต. รพ.สต.อสม.โรงเรียน ฯลฯ นอกพื้นที่ สนง.เกษตร พัฒนาชุมชนอำเภอ ภาคเอกชนฯลฯ
กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ทุก 2 เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ ครั้งที่ 12 พฤษภาคม 2564
2
พฤษภาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ส่งเสริมอาชีพบางกล่ำ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • หนังสือเชิญคณะทำงานโครงการ / สถานการณ์ปัญหาในชุมชน -ได้ชี้แจ้งวัตถุประสงค์โครงการ งบประมาณแต่ละกิจกรรม แนวทางในการดำเนินการโครงการ มอบหมายบทบาทหน้าที่ในการทำงานของแต่ละท่านที่ต้อง รับผิดชอบ และให้เข้าใจสถานการณ์การทำงานในช่วงโควิด 19 และการดูแป้องกันตัวเองและชุมชน
  • ร่วมช่วยกันสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ในช่วงโควิด 19
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำนวนคณะทำงานที่เข้าประชุม 8 คน
  2. เป้าหมายบุคคลที่ควรต้องฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ในช่วงสถารณการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ทางคณะทำงาน ไปสำรวจ เก็บข้อมูล เบื้องต้น แบ่งตามพื้นที่ จำนวน 31 ท่าน แบ่งตามพื้นที่ ตำบลแม่ทอม 23 คนตำบลบางกล่ำ 8 คน การปลูกผักยกแคร่ และเพาะเห็ดนางฟ้า จากจำนวนที่ทั้งหมดนี้ ได้แบ่งหน้าที่แต่ละท่านไปชี้แจงในรายละเอียด และให้ค้นหาบุคคลที่เป็นเป้าหมายเพิ่มเติ่ม ในการดำเนินกิจกรรม
  3. รูปแบบการปลูกผัก จากที่ประชุม ดังนี้ 3.1. ใช้อิฐบล็อก แนวยืนทำเป็นเสา ทำเป็นผักยกแคร่ ใช้วัสดุเหลือใช้ในการทำ 3.2. ใช้ล้อรถยนต์เก่า 3.3. ก่ออิฐบ็อกทำเป็นแปลง ขนาดเท่า 1.20x2.40 เมตร 3.4. ใช้ปูผ้ายางเจาะรู กันวัชพืช
  4. ผักที่ปลูกคาดว่าที่ต้องหาเมล็ดพันธุ์ ลูกบวบ ผักบุ้งจีน ถั่วฟักยาว ลูกเขือ ถั่วพลู มะระขี้นก ผักกาดขาว พริก คะน้า ไซ้ซิ่ม ฯลฯ
  5. ปัญหาความกังวลของคณะทำงาน
      5.1 การชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม กลัวทางลูกหลานไม่อยากให้เข้าร่วมเพราะกลัวสถานการณ์โดวิด
      5.2 คณะทำงานไม่สามารถลงพื้นที่ได้อย่างเต็มความสามารถ
  6. กลุ่มประชาชนในพื้นที่ มีเวลาว่าง ไม่ได้ทำงาน เหมาะสมกับกิจกรรมดังกล่าวมาก