directions_run

โครงการโรงเรียนจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ตำบลคลองเฉลิม

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 6 พ.ค. 2565 6 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ สำรองจ่ายเงินค่าเปิดบัญชี จำนวน 100 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย

 

ทางโครงการย่อย ได้เปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้วและทำการเบิกเงินสำรองจ่าย จำนวน 100 บาทคืน

 

ประชุมปฐมนิเทศ ณ เทศบาลเมืองพัทลุง 9 พ.ค. 2565 9 พ.ค. 2565

 

ตัวแทนจากพื้นที่ตำบลคลองเฉลิมร่วมกิจกรรมและกระบวนการปฐมนิเทศน์ผู้รับทุนจาก สสส สำนัก6 หน่วยจัดการพัทลุง

 

พื้นที่จากตำบลคลองเฉลิม จำนวน 3 คน 1.ได้รับความรู้การจัดทำโครงการ กระบวนการลงนามในสัญญา
2.ได้รับความรู้การบันทึกข้อมูลในระบบ และทราบวิธีการทำรายงานในระบบ เอกสารการเงิน 3. ได้ทราบแนวทางการปฏิบัติงานตามโครงการ

 

ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการ ปฏิบัติงาน 31 พ.ค. 2565 31 พ.ค. 2565

 

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการขยะ 3 เดือน/ 1 ครั้ง

 

คณะทำงานร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเป็นแนวทางเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

 

ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ เทศบาลตำบลชะรัด ,อบต.เขาชัยสน,เทศบาลตำบลโคกม่วง 21 มิ.ย. 2565 21 มิ.ย. 2565

 

กำหนดการศึกษาดูงานบริหารจัดการขยะ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิม ร่วมกับกลุ่มคนรักษ์คลองเฉลิม วันที่  15  มิถุนายน 2565 ณ  เทศบาลตำบลโคกม่วง ,อบต.เขาชัยสน ,เทศบาลตำบลชะรัด .......................................................

วันพุธที่ 15  มิถุนายน  ๒๕65
๐8.0๐ – ๐๘.30 น. ลงทะเบียน ณ  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิม ๐๘.๓๐ – 10.๐๐ น. ศึกษาดูงาน ณ เทศบาลโคกม่วง
10.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ศึกษาดูงาน ณ อบต.เขาชัยสน ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ บ่อน้ำร้อนเขาชัยสน ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลชะรัด 15.30 – 16.00 น. เดินทางกลับ อบต.คลองเฉลิม

กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ผู้เข้าร่วมโครงการ ครู ก. จำนวน 33 คน ร่วมทัศนศึกษาดูงาน

 

คณะทำงานจำนวน 33 คน ได้ร่วมศึกษาดูงานเพื่อสร้างการเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบ 1. ครู ก.ทั้ง 33 คนได้รับความรู้ ประเภทของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะทั้ง 4 ประเภท ณ เทศบาลตำบลชะรัด 2. ครู ก. ทั้ง 33 คนได้รับความรู้การนำขยะมาเพิ่มมูลค่า เช่น ผลิตกระเป๋า อิฐบล็อค ณ อบต.เขาชัยสน 3. ครู ก ทั้ง 33 คนได้รับความรู้การบริหารจัดการขยะแบบไม่มีรถ ไม่มีถังขยะ การเลี้ยงไส้เดือน การทำธนาคารขยะ

 

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันกำหนดแนวทาง 3 ส.ค. 2565 3 ส.ค. 2565

 

ประชุมคณะทำงานทั้ง 33 ท่าน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานหลังจาก ศึกษาดูงานมาแล้ว และร่วมกำหนดแผนการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ ครู ข.ทัง 14 หมู่บ้านต่อไป

 

เกิดข้อสรุปหลักการแนวทาง เกิดแผน เกิดวิธีการ ที่จะนำความรู้ไปสอนครู ข.ทั้ง 14 หมู่บ้านต่อไป

 

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนครัวเรือน 4 ส.ค. 2565 16 ก.ย. 2565

 

ครู ก ลงพื้นที่ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนครัวเรือน ทั้ง 14 หมู่บ้านของพื้นที่ตำบลคลองเฉลิม 1. คัดเลือกวิทยากรเป็นทีมสร้างแรงจูงใจ สาธิตการจัดการขยะ และสร้างการเรียนรู้ 2. จัดหาวัสดุเพื่อการสาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ ดังนี้
  - สาธิตการทำถังขยะเปียก 3. สร้างการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 R
4. ร่วมพิจารณาและกำหนดเส้นทางเดินขยะทุกประเภท 5. ตั้งกติกาการจัดการขยะชุมชน 6. ตัวแทนครัวเรือนนำร่อง คณะทำงาน 280 คน

 

ครู ก 10 คนลงให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนครัวเรือน ทั้ง 14 หมู่บ้านของพื้นที่ตำบลคลองเฉลิม มีผู้เข้าร่วม ทั้ง14 หมู่บ้านจำนวน 313 คน 1. เกิดครู ข.จำนวน 313 คน เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปสอนและบอกต่อแก่คนในชุมชนให้ร่วมกันคัดแยกขยะแต่ละประเภท 2. เกิดจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะแต่ละชนิด และการจัดทำถังขยะเปียกในชุมชน เพื่อเป็นตัวอย่างของชุมชน เกิดจุดเรียนรู้การคัดแยกขยะชุมชน 3. ขยะเปียกได้รับการคัดแยกลงถังขยะเปียก ขยะรีไซเคิลได้รับการคัดแยกไปจำหน่าย ขยะอันตราย ได้รับการทิ้งตรงจุด เหลือเพียงขยะทั่วไปที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิมมาจัดเก็บไปฝังกลบ

 

จ้างทำป้ายไวนิลพื้นที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ 14 ก.ย. 2565

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 5 การให้ความรู้และการสาธิตการจัดการขยะเปียกและขยะประเภทอื่น ๆ 3 ต.ค. 2565

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 6 ประชุมทบทวนการดำเนินงานเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงโดยใช้กิจกรรมการประชุมทุก 3 เดือนของคณะทำงาน 15 พ.ย. 2565

 

 

 

 

 

คณะทำงานติดตามเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลง (ก่อน - หลัง) ประเมินผลจัดเก็บข้อมูลการคัดแยกขยะ 16 ก.พ. 2566

 

 

 

 

 

เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2 16 มี.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 8 เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 28 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

จ้างทำป้ายไวนิลพื้นที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ 14 ก.ย. 2565 14 ก.ย. 2565

 

การจัดทำป้ายไวนิล รณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่และเครื่องดืมแอลกอฮอล์ ขนาด 1.2x2.4 จำนวน 1 ป้าย

 

จัดทำป้ายรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่และเครื่องดืมแอลกอฮอล์ สนับสนุนโดย สสส.จำนวน 1 ป้าย

 

ประชุม ARE ครั้งที่ 1 และประชุมคณะกรรมการกลุ่มทุกๆ 3 เดือน 18 ต.ค. 2565 18 ต.ค. 2565

 

จัดประชุมทบทวน ARE เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยทีมพี่เลี้ยงจาก สสส.

 

กลุ่มคนรักษ์คลองเฉลิมสามารถดำเนินงานตามโครงการสำเร็จตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 และจะดำเนินการต่อไปจนสำเร็จโครงการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือขยะในชุมชนลดลง ประชาชนมีการคัดแยกขยะจากต้นทางไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด

 

เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 1 3 พ.ย. 2565 10 พ.ย. 2565

 

  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานแต่ละพื้นที่
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการ ดังนี้     - การจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์     - การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน     - การเชื่อมโยงการทำงานกับภาคี     - การจัดการด้านการเงิน

 

1.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานแต่ละพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานของแต่ละพื้นที่เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการ ดังนี้     - ได้ทราบการจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์     - ได้เรียนรู้การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน     -ได้แนวทางการเชื่อมโยงการทำงานกับภาคี
    - ได้ทราบการจัดการด้านการเงิน

 

ARE ครั้งที่ 1 ณ ห้องโดมลำปำรีสอร์ท 10 พ.ย. 2565

 

 

 

 

 

ค่าบริการอินเตอร์เน็ต 27 เม.ย. 2566 27 เม.ย. 2566

 

ค่าบริการการบันทึกข้อมูลผ่านทางระบบอินเตอเน็ต เพื่อบันทึกการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

 

ได้มีข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานให้ทางหน่วยได้รับทราบต่อไป