directions_run

โครงการโรงเรียนจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ตำบลคลองเฉลิม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรค ตำบลคลองเฉลิม
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ ุ65002320008
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 55,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคนรักษ์คลองเฉลิม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสะกิหนะ ไข่หมาด
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฐพงศ์ คงสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 22,000.00
2 1 มิ.ย. 2566 25 ส.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 27,500.00
3 25 ส.ค. 2566 25 ส.ค. 2566 5,500.00
รวมงบประมาณ 55,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มคนรักษ์คลองเฉลิม ตั้งอยู่เลขที่ 90 หมู่ที่ 12 ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ตำบลคลองเฉลิม มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 95 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 52,695 ไร่  มีหมู่บ้านทั้งหมด 14 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 4,316 ครัวเรือน มีประชากรรวม 13,844 คน มีโรงเรียนสังกัด สพฐ. 5 แห่ง โรงเรียนปอเนาะ 7 แห่ง มีวัด 2 แห่ง มีมัสยิดขึ้นทะเบียน 11 แห่ง ไม่ขึ้นทะเบียน 11 แห่ง มีตลาดนัด จำนวน 6 แห่ง มีคลองสายหลัก 2 สาย คือสายน้ำตกไพรวัลย์ และน้ำตกมโนห์รา สถานการณ์ปัญหาขยะของพื้นที่ตำบลคลองเฉลิม องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลคลองเฉลิม มีรถเก็บขยะ 2 คัน แบบอัดท้าย ขนาดความจุ 12 ลบ.ม. ได้จัดเก็บขยะอาทิตย์ละ 5 วัน ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 3 - 4 ตัน/วัน มีบ่อขยะ 1 บ่อกำจัดโดยเทกองและวิธีฝังกลบ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิมได้ยกเลิกการวางถังขยะตั้งแต่ปี 2563 มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าจ้างพนักงาน รวมค่าใช้จ่าย 908,000บาทต่อปี ประชาชนมีการคัดแยกในระดับครัวเรือนและใช้บริการเก็บขนขยะจากรถขยะ จำนวน 1,360 ครัวเรือน ยังไม่คัดแยก/บริหารจัดการขยะเองจำนวน 2,956 ครัวเรือน ทำให้เกิดปัญหาขยะมีปริมาณมากขึ้นทุกปี และส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จากสถิติการเจ็บป่วย เมื่อปี 2564 ประชาชนเจ็บป่วย เช่น ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง 74 คน โรคไข้เลือดออกอีกประมาณ 120 คน ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เฉลี่ย 200 บาทต่อคน และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดของโรค ปีหนึ่งประมาณ 45,000 บาทต่อปี ในส่วนผลกระทบต่อสังคม มีการทิ้งขยะ 2 ข้างทางถนน ริมแม่น้ำลำคลองซึ่งล้วนเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค จากปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ประชาชนขาดความตระหนักในการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี 2,956 ครัวเรือน ความสะดวกซื้อสะดวกใช้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด ทำให้เกิดขยะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ขยะตกค้างในชุมชนมีเพิ่มขึ้นจำนวนมากซึ่งนับได้ว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค ปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือคัดแยกขยะในตลาดนัด แม่ค้าขาดความตระหนักและขาดความรับผิดชอบในการคัดแยกขยะ ชาวบ้านยังไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด กลุ่มคนรักษ์คลองเฉลิม ได้ให้ความสำคัญในการจัดการขยะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือปริมาณขยะลดลง โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับชุมชน และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะ มีกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ โดยการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ที่ขับเคลื่อนให้ประเด็นสุขภาวะในระดับจังหวัดตามกรอบเป้าหมายระยะยาว Phatthalung Green City ได้รับการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมสามารถบรรลุเป้าหมายการลดขยะเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคในระดับภาพรวมของจังหวัดต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะตำบลที่เข้มแข็ง

1.เกิดกลไกคณะทำงานที่มีตัวแทนจากท้องถิ่น รพ.สต.แกนนำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น อสม. โรงเรียน
2.มีข้อมูลขยะชุมชนและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการขยะ 3.มีกลไกนักเรียนแกนนำที่เป็นผู้นำท้องถิ่น 4.เกิดโรงเรียนขยะตำบล 5.มีครูขยะตำบลไม่น้อยกว่า 10 คน 6.มีการจัดทำแผนการสอนและกิจกรรมการสอนที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนขยะมีความรู้ความตระหนักในการจัดการขยะ

1.เกิดการจักการเรียนการสอนตามแผนการสอน(คัดแยก กำจัด ใช้ประโยชน์ 2.มีแผนการจัดการขยะรายครัวเรือน
3.มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
4.นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมขยะของครัวเรือนในชุมชนของนักเรียน
5.นักเรียนของโรงเรียนขยะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 10 คนต่อนักเรียน 1คน

8400.00
3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะ

1.เกิดมาตรการของชุมชนเพื่อการจัดการขยะ เช่น ลดจำนวนถังขยะ ลดเวลาการจัดเก็บ 2.เกิดกลุ่มใช้ประโยชน์จากขยะ

0.00
4 เพื่อให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลง

1.เกิดครัวเรือนคัดแยกขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมด
2.ขยะครัวเรือนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3.ปริมาณขยะในที่สาธารณะลดลง

14000.00
5 เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

1 คณะกรรมการได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 จ้างทำป้ายไวนิลพื้นที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์(14 ก.ย. 2565-14 ก.ย. 2565) 1,000.00                                      
2 กิจกรรมที่ 6 ประชุมทบทวนการดำเนินงานเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงโดยใช้กิจกรรมการประชุมทุก 3 เดือนของคณะทำงาน(15 พ.ย. 2565-9 พ.ย. 2566) 1,000.00                                      
รวม 2,000.00
1 จ้างทำป้ายไวนิลพื้นที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 1,000.00 1 1,000.00
14 - 30 ก.ย. 65 จ้างทำป้ายไวนิลพื้นที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ 300 1,000.00 1,000.00
2 กิจกรรมที่ 6 ประชุมทบทวนการดำเนินงานเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงโดยใช้กิจกรรมการประชุมทุก 3 เดือนของคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 1,000.00 3 1,900.00
18 ต.ค. 65 ประชุม ARE ครั้งที่ 1 และประชุมคณะกรรมการกลุ่มทุกๆ 3 เดือน 35 0.00 0.00
3 พ.ย. 65 เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 1 0 0.00 900.00
10 พ.ย. 65 ARE ครั้งที่ 1 ณ ห้องโดมลำปำรีสอร์ท 0 0.00 -
27 เม.ย. 66 ค่าบริการอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 877 53,000.00 6 22,800.00
6 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 100.00
9 พ.ค. 65 ประชุมปฐมนิเทศ ณ เทศบาลเมืองพัทลุง 3 3,000.00 300.00
31 พ.ค. 65 ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการ ปฏิบัติงาน 33 0.00 0.00
21 มิ.ย. 65 ชื่อกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ เทศบาลตำบลชะรัด ,อบต.เขาชัยสน,เทศบาลตำบลโคกม่วง 33 0.00 0.00
3 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันกำหนดแนวทาง 33 0.00 0.00
4 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนครัวเรือน 280 22,400.00 22,400.00
3 ต.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 5 การให้ความรู้และการสาธิตการจัดการขยะเปียกและขยะประเภทอื่น ๆ 495 27,600.00 -
16 ก.พ. 66 คณะทำงานติดตามเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลง (ก่อน - หลัง) ประเมินผลจัดเก็บข้อมูลการคัดแยกขยะ 0 0.00 -
16 มี.ค. 66 เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2 0 0.00 -
28 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 8 เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 0 0.00 -
  1. คณะทำงานจัดการขยะตำบลเข้าร่วม 33 คน ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ และภาคีร่วม จำนวน 47 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน
  2. วิทยากรดำเนินการเพื่อสร้างกระบวนการคืนข้อมูลการสร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลคลองเฉลิม
  3. ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบนำเสนอแนวทางการ รูปแบบจัดการขยะครัวเรือน 4.ผู้ใหญ่บ้านต้นแบบ หน่วยงานต้นแบบ นำเสนอ แนวทางการ รูปแบบจัดการขยะชุมชนและหน่วยงาน 5.ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ คณะทำงาน ร่วมประกาศสัญญาประชาคมการจัดการขยะตำบลคลองเฉลิม 6.นายก อบต. ประธานสภา และกำนันตำบลคลองเฉลิม ร่วมกันประกาศแผนจัดการขยะตำบลคลองเฉลิม
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ตามบันไดผลลัพธ์โครงการจัดการขยะตำบลคลองเฉลิม

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:05 น.