directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านนอก - ม่วงหวาน

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 17 พ.ค. 2565 17 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ได้สำรองเงินค่าเปิดบัญชีโครงการจำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบัญชีโครงการขอรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ได้เปิดบัญชีโครงการเรียบร้อยแล้ว ภายใต้ชื่อบัญชี " นายดำรง พรหมบุญแก้ว และนายสมหมาย คงนิลและนางอารีย์  ทวีสุข และทำการเบิกจ่ายเงินสำรองจำนวน 500 บาทคืนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ปฐมนิเทศโครงการ 23 พ.ค. 2565 23 พ.ค. 2565

 

เวทีการปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ จัด ณ เทศบาลเมือง จังหวัดพัทลุง เสณี จ่าวิสูตร ผู้ประสานงานภาคีเครือข่าย NFE หน่วยจัดการพัทลุง แนะนำหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุง และสำนัก 6 สสส. เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน  พร้อม ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินงานการพื้นที่รับทุน นำไปบริหารจัดการโครงการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการร่วมมือขอ ภาคี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด พัทลุง ต่อจากนั้นได้มีการเรียนรู้การบริหารจัดการการเงินโครงการ โดย คุณไพฑรูณ์ ทองสม ผู้จัดการหน่วยNFE จังหวัดพัทลุง เรียนรู้เอกสารการเงินและการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินที่ใช้ในการประกอบการเบิกจ่าย การเบิกจ่ายตามกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีสมุดลงการเบิกจ่ายทุกครั้ง เงินสดในมือมีไว้ไม่เกิด 5000 บาท เอกสารการเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน 1.ใบลงทะเบียน 2. ใบสำคัญรับเงิน ในการกรณีเป็นบิลเงินสด ใบเสร็จ ให้ลงนามจ่าย สสส.

ในช่วงบ่าย เรียนรู้การรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ โดย คุณอรุณ ศรีสุวรรณ คณะทำงานNFES/พี่เลี้ยง แนะนำการเข้าสู่ระบบ เครือข่ายคนสร้างสุข สมัครสมาชิก เลือกโครงการในความรับผิดชอบ ลงรายละเอียดโครงการ ประกอบไปด้วย สถานการณ์ วัตถุประสงค์ / เป้าหมายโครงการ การดำเนินงาน/กิจกรรม ผลคาดว่าที่ได้รับ แนะนำการบันทึกงานกิจกรรม มีส่วนประกอบหลัก การเขียนรายงานในกิจกรรมที่ปฎิบัติ ผลที่เกิดขึ้นจริง/ผลผลิต/ผลลัพธ์ /ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม และการลงรายงานการใช้เงิน มีประเภทการจ่ายตามหมวด ค่าตอบ ค่าจ้าง ค่าใช้สอย ค่าวสัดุ ค่าสาธารณูปโภค อื่นๆ

ต่อด้วยการเรียนรู้การออกแบบเก็บข้อมูลตอบตัวชี้วัด การข้อแบบการเก็บข้อมูลตอบตัวชี้วัดเป็นส่วนสำคัญที่จะได้มาซึ่งข้อมูล ในเชิงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินโครงการ โดยการนำผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์มาออกแบบเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย ใช้ข้อมูลอะไรตอบตับชี้วัด เก็บข้อมูลจากใคร/อะไร ใช้เครื่องมือใดเก็บข้อมูล ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ เก็บข้อมูลเมื่อไร  แบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นเรียนรู้การปฎิบัติการออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัด มีพี่เลี้ยงรับผิดชอบกระบวนการแลกเปลี่ยนรู้การร่วมกัน เสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้ ลงนามสัญญาผู้รับทุนร่วมกับหน่วยจัดการ NFS

 

  1. คณะทำงานโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านบ้านนอก-ม่วงหวาน 2 คนโดยมีหัวหน้าโครงการและฝ่ายบันทึกข้อมูลร่วมกิจกรรมและตั้งใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้
  2. ได้รู้และเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ของหน่วยจัด NFS จังหวัดพัทลุง ได้ความรู้ในการบริหารจัดการโครงการ การแบ่งบทบาทหน้าที่ ให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ
  3. ได้มีความรู้การเงินการบัญชี การเตรียมหลักฐานการเงิน
  4. ได้เรียนรู้และสามารถลงระบบการรายงานความก้าวหน้าโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้ แต่ยังขาดความชำนาญต้องกับไปทบทวน
  5. ได้มีรู้และสามารถออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด และได้ลงนามสัญญาโครงการเป็นที่เรียบร้อย

 

4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1 26 มิ.ย. 2565 26 มิ.ย. 2565

 

1.  ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการประชุมและชี้แจงผลการอนุมัติโครงการจัดการน้ำเสียฯชุมชนบ้านบ้านนอก-ม่วงหวาน  โดยมีตัวแทนคือผู้รับผิดชอบโครงการและฝ่ายบันทึกข้อมูลได้เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศก์โครงการ
2.  ทีมพี่เลี้ยงแนะนำสำนัก 6 สสส.และหน่วยจัดการ NFS จังหวัดพัทลุง  และแนวทางการสนับสนุนพื้นที่ที่ได้รับโครงการ และระบบการติดตามประเมินผลโครงการ
3.  คณะทำงานที่ได้ไปร่วมปฐมนิเทศโครงการ  ได้นำรายละเอียดการบริหารจัดการ  การจัดทำรายงานเอกสารการเงิน  แนะนำเอกสาร สสส.  การทำรายงานในระบบออนไลน์  ซึ่งในการดำเนินงานโครงการคณะทำงานเน้นกระบวนการทำงานเป็นทีม  แบ่งบทบาทตามความเหมาะสม 4.  ทีมพี่เลี้ยงทบทวนและทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์โครงการฯ  ให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้สำเร็จตามผลลัพธ์ที่ตั้งไว้  ได้ทบปฏิทินการดำเนินงานโครงการ
5.  ร่วมวางแผนการจัดทำกิจกรรมจัดทำข้อมูล  ทำความเข้าใจตัวชี้วัดผลลัพธ์ และทำความเข้าใจแบบสอบถามสถานการณ์ปัญหาน้ำเสียและระบบการจัดการน้ำเสียในชุมชน  กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการลงเก็บข้อมูลเดือน 25 กรกฎาคม 2565  มีทีมเก็บข้อมูล 10  คน

 

  1. เกิดคณะทำงานจำนวน 11 คนที่มีความตั้งใจร่วมในการพัฒนาชุมชนให้มีสุข เริ่มจากประเด็นการแก้ปัญหาน้ำเสีย ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน โดยเริ่มจากคณะทำงานทำเป็นแบบอย่างไปพร้อมกับคนในชุมชนที่จะเข้าเป็นครัวเรือนจัดการน้ำเสีย
  2. คณะทำงานได้มีข้อตกลงร่วมกัน คือ 1.มีการประชุม 2 เดือนครั้ง โดยทุกวันอาทิตย์ที่ 1 ของทุกเดือน  2. คณะทำงานต้องเป็นแบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการน้ำเสียในครัวเรือนของตนเอง 3. รับผิดชอบงานที่ได้แบ่งบทบาท
  3. คณะทำงานมีความรู้และตระหนักความสำคัญของปัญหาน้ำเสีย พร้อมที่จะร่วมกันดำเนินการให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักความสำคัญของการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและจัดการจุดเสี่ยงน้ำเสียของชุมชน
  4. คณะทำงานได้ปฏิทินการดำเนินงานที่เป็นปัจจุบัน พร้อมได้มีแผนปฏิบัติการการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ปัญหาน้ำเสียและการจัดการน้ำเสียของชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนครัวเรือนและชุมชนให้มีการจัดการน้ำเสีย

 

5. จัดทำข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน ครั้งที่ 1 24 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565

 

ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เก็บแบบสอบถามการจัดการน้ำเสียชุมชน ตามที่ได้วางแผนไว้ในประชุมคณะทำงาน โดยมีคณะทำงาน 10 คน ส่วนที่ 1 จะเป็นส่วนข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน 1. บ้านเลขที่ ....... ซอย.......... ถนน........ ตำบล....... เบอร์โทร.............. 2. จำนวนสมาชิกในครัวเรือน.............. คน 3. รายได้หลักของครัวเรือนมาจากอาชีพ ( ) ค้าขาย ( ) ราชการ ( ) รับจ้างทั่วไป ( ) รับจ้างประจำ(ไม่นับข้าราชการ/พนักงานวิสาหกิจ) ( )สถานประกอบการ ( ) อู่ซ่อมรถ ( ) ร้านอาหาร ( ) ร้านเสริมสวย ( ) อื่นๆ ........... ( ) เกษตรกรรม ( ) ทำนา ( ) ทำสวน ( ) ปลูกผัก ( ) ปศุสัตว์


ส่วนที่ 2 การจัดการน้ำเสียครัวเรือน 1. ครัวเรือนท่านมีระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่ ( ) ไม่มี ( ) มี ( ) บ่อดักจับไขมัน ( ) บ่อพัก ( ) บ่อปิด

ที่มา หรือแหล่งกำเนิดของน้ำเสียครัวเรือน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ) ( ) จากการอาบน้ำ-ซักผ้า ( ) จากการประกอบอาหาร-ล้างจาน ( ) จากการปศุสัตว์ ( ) น้ำเสียอื่นๆ

ปริมาณน้ำเสียครัวเรือนจากข้อ1 ( ) จากการอาบน้ำ-ซักผ้า....... ลิตร/วัน ( ) จากการประกอบอาหาร-ล้างจาน.......ลิตร/วัน ( ) จาการทำปศุสัตว์......... ลิตร/วัน ( ) น้ำเสียอื่นๆ (ระบุ) .......... ลิตร/วัน

ท่านจัดการน้ำเสียนั้นอย่างไร ( ) จาการน้ำ-ซักผ้า ( )ปล่อยให้ซึม/ระเหยที่ผิวดิน ( )ลงบ่อ ( )ลงคูระบายน้ำ ( ) จากการประกอบอาหาร-ล้างจาน ( )ปล่อยให้ซึม/ระเหยที่ผิวดิน ( )ลงบ่อ ( )ลงคูระบายน้ำ ( ) จาการทำปศุสัตว์......... ลิตร/วัน ( )ปล่อยให้ซึม/ระเหยที่ผิวดิน ( )ลงบ่อ ( )ลงคูระบายน้ำ ( ) น้ำเสียอื่นๆ ( )ปล่อยให้ซึม/ระเหยที่ผิวดิน ( )ลงบ่อ ( )ลงคูระบายน้ำ

5 ครอบครัวของท่านได้รับผลกระทบจากน้ำ้สียของชุมทชนหรือไม่/ อย่า่งไร ( ) ไม่กระทบ ( ) กระทบ ( ) น้ำส่งกลิ่นรบกวน ( ) น้ำเสียเอ่อล้นบ้านเมื่อฝนตกมากๆ ( ) น้ำเสียทำให้สัตว์น้ำน้อยลง ( ) อื่นๆ (ระบุ)..................

ท่านคิดว่าจะร่วมจัดการน้ำเสียในครัวเรือนของท่านได้อย่างไร................................................................................ ท่านคิดว่าจะร่วมจัดการน้ำ้สียในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชนได้อย่างไร ................................................................ จำนวนการใช้น้ำประปาในครัวเรือน(ข้อมูลจากใบเก็บค่าน้ำประปา).................................................... คิวบิกเมตร

 

  1. ได้ข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน 2.  คณะทำงานข้อมูลได้คุยทำความเข้าใจ และรู้สถานการณ์น้ำเสียชุมชนเพิ่มขึ้น  และการจัดการน้ำเสียในแต่ละบ้าน

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 21 ส.ค. 2565 21 ส.ค. 2565

 

  1. วงคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์ความสนใจของชาวบ้านในชุมชนในแต่ละซอยของชุมชน ่จากการลงพื้นที่คณะทำงาน
  2. นัดการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพร้อมทั้งมีการแบ่งเขตในความรับผิดชอบ
  3. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาพร้อมทั้งร่วมกันกำหนดปฏิทืนการทำงานในเดือนต่อไป

 

  1. ได้มีคณะทำงานเก็บข้อมูล เป็นตัวแทนของคณะกรรมการโครงการจำนวน 5 คน ลงพื้นที่สำรวจตั้งแต่วันที่ระยะเวลา 2 เดือน วันที่ 15 สิงหาคม-15 กันยายน 2565 นัดส่งเอกสารวันที่ 15 กันยายน 2565
  2. คณะทำงานจำนวน 11 คน สามารถที่จัดขับเคลื่อนงานได้  ร่วมคิด ร่วมกำหนดวิธีการ แนวทางการทำงาน
  3. ได้มีความรู้ในการบริหารจัดการโครงการ ดำเนินการได้แต่มีการขอคำแนะนำจากพี่เลี้ยง โครงการที่ชุมชนตั้งทำเอง เน้นการจัดการของชุมชนเป็นงานใหม่ ต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม ทักษะการจัดการโครงการ ทักษะการจัดการรายงานและเอกสารการเงิน

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 22 ก.ย. 2565 22 ก.ย. 2565

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.

 

ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. นำไปติดไว้ที่ทำการชุมชุนทำให้คนในชุมชนและภาคีแสดงให้เห็นชัดเจน
ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการไม่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่กำหนดร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

1. เวทีสร้างความเข้าใจโครงการการจัดการน้ำเสีย 23 ก.ย. 2565 23 ก.ย. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ  แนะนำที่มาของโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านบ้านนอก-ม่วงหวาน
ทีมพี่เลี้ยง  แนะนำที่มาของโครงการ Nod  Flagship  พัทลุง ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัทลุงเมืองสีเขียว  คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ความรู้สถานณ์  การน้ำเสียและผลกระทบต่อสุขภาพ  เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  พร้อมแลกเปลี่ยนสถานการณ์น้ำเสียชุมชน  ที่มาของน้ำเสีย
ให้ความรู้การบำบัดน้ำเสียและวิธีการบำบัด  ด้วย ธนาคารน้ำใต้ดิน  บ่อดักไขมัน  จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  เลี้ยงใส้เดือน  ใช้ขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ และการน้ำที่ผ่านการบำบัดหรือดับไขมันแล้วมาใช้ประโยชน์ เช่น  รดน้ำต้นไม้

 

1.  มีความรู้และตระหนักความสำคัญของการดูแลให้คลองมีคุณภาพดี  บำบัดน้ำเสียของครัวเรือนก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ  ทำบ่อดับไขมัน  ธนาคารน้ำใต้ดิน
2.  มีความตั้งใจนำความรู้ที่ได้ไปทำในครัวเรือนของตัวเอง  แต่ละครัวเรือนมีแผนการจัดการน้ำเสียของแต่ละครัวเรือน 3.  ได้มีข้อตกลงร่วมกับภาคี คือ เทศบาลเมืองพัทลุง  ศูนย์แพทย์ชุมชน  และ ทสจ.  ร่วมกันในการจัดการน้ำเสียของชุมชนบ้านบ้านนอก-ม่วงหวาน 4.  ได้แนวทาง/ข้อตกลงร่วมกันของคณะทำงานและคนในชุมชนในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีในชุมชน  และเรียนรู้ไปด้วยกันในการทำระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละครัวเรือน  มีครัวเรือนต้นแบบเข้าร่วมในการลงมือทำจำนวน  11 ครัวเรือน ได้มีความรู้และประสบการณ์ขยายให้ครัวเรือนต่อไป

 

8. เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการจัดการน้ำเสียชุมชน 18 ต.ค. 2565 18 ต.ค. 2565

 

ไม่ได้ดำเนินการ

 

-

 

6. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) 6 พ.ย. 2565 6 พ.ย. 2565

 

หัวหน้าโครงการทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์เกิดขึ้น พี่เลี้ยงโครงการและหัวหน้าโครงการดำเนินการ
ข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ทางคณะทำงานได้ร่วมกันเก็บและสรุปผล วงชวนแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมและวิเคระห์ความเปลี่่ยนแปลง  ผลสำเร็จ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น  มีปัญหาอุปสรรค์  ร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางการแกัปัญหา  แ และวางแผนการดำเนินงานในงวดต่อไปเพื่อให้สำเร็จเกิดผลลัพธ์ตามที่กำหนด

 

คณะทำงานได้ขับเคลื่อนงานและทำให้คนในชุมชนตระหนัก  ปรับเปลี่ยน ร่วมแรงรวมใจในการทำงาน  รักสามัคคี

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 18 ธ.ค. 2565 18 ธ.ค. 2565

 

  1. วงคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์ความสนใจของชาวบ้านในชุมชนในแต่ละซอยของชุมชน ่จากการลงพื้นที่คณะทำงาน 2.  นัดการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพร้อมทั้งมีการแบ่งเขตในความรับผิดชอบ
    3.  สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาพร้อมทั้งร่วมกันกำหนดปฏิทืนการทำงานในเดือนต่อไป

 

  1. เกิดคณะทำงานจำนวน 11  คนที่มีความตั้งใจร่วมในการพัฒนาชุมชนให้มีสุข เริ่มจากประเด็นการแก้ปัญหาน้ำเสีย  ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน โดยเริ่มจากคณะทำงานทำเป็นแบบอย่างไปพร้อมกับคนในชุมชนที่จะเข้าเป็นครัวเรือนจัดการน้ำเสีย
  2. คณะทำงานได้ทบทวนและร่วมกำหนดแผนงาน และลงติดตาม ชวนกันทำในการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน

 

6. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 29 ม.ค. 2566 29 ม.ค. 2566

 

-

 

-

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 12 ก.พ. 2566 12 ก.พ. 2566

 

ระชุมคณะทำงาน และกลไกขับเคลื่อนโครงการ ร่วมกันวางแผนการจัดการน้ำเสียชุมชน จากข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์ เน้น จุดที่ เป็น ปัญหา ที่จะดำเนินการ และวางแนวทางการจัดการ ให้เป็นระบบ ของครัวเรือนให้มีการจัดการก่อนปล่อยทิ้ง และ มีการวางแนวทางการสร้างระบบ ธนาคารน้ำใต้ดินของชุมชนที่มีจุดรวมของการปล่อยน้ำเสียชุมชนตามแผนผังทางเดินของน้ำ ในส่วนของครัวเรือนที่มีระบบจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นระบบ ถังดัดไขมันอย่างง่าย โดยการแยกขยะการปล่อยน้ำให้ผ่านระบบถังไขมัน แล้วนำเศษอาหารไปเลี้ยงไส้เดือน ในส่วนการจัดการน้ำเสียของชุมชนเป็นระบบธนาคารน้ำใต้ดินที่เป็นจุดรวม
แบบแผนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน มีจำนวน 3 แผน ได้แก่ แผนการชุมชนทำเอง  แผนทำร่วม แผนทำขอ

 

คณะทำงานร่วมออกแบบและปรับปฏิทินการทำงาน เนื่องจากงบประมาณโครงการในงวดที่ 2 ยังไม่ได้โอน แบบแผนการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและชุมชน มีจำนวน 3 แผน ได้แก่ แผนการชุมชนทำเอง แผนทำร่วม
1. แผนชุมชนทำเอง ประกอบไปด้วย การจัดทำระบบถังดักไขมันอย่างบน้อยให้กับครัวเรือนที่ยังไม่ระบบการถังดักไขมันในครัวเรือน จำนวน 3 ครัวเรือน บ่อดักไขมัน 3 และระบบการคัดแยกเศษขยะเศษอาหารที่สามารถย่อยสลาย 15 ครัวเรือน การเสี้ยงไส้เดือน จำนวน 15 ครัวเรือน 2. แผนทำร่วม โดยการขอความร่วมมือทางเทศบาล สนับนุนบุคลากร และเครื่องจักร เช่น รถตักดิน ในการจัดทำระบบการน้ำเสียชุมชน แบบธนาคารน้ำใต้ดิน

 

3.เวทีจัดทำแผนและกติกาการจัดการน้ำเสียชุมชน 24 ก.พ. 2566 24 ก.พ. 2566

 

ทำร่วมกับการประชุมคณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บมาวิเคราะห์จัดทำแผนจัดการน้ำเสียครัวเรือน และร่วมกันกำหนดกติการการจัดการน้ำเสียชุมชน แนวทางความร่วมมือกับภาคีหนุนเสริมชุมชน

 

ได้แผนการจัดการน้ำเสียในระดับครัวเรือนที่แต่ละครัวเรือนได้ออกแบบเองตามความเหมาะสม
ได้กติการร่วมของชุมชนที่ทุกคนมีส่วนร่วม และพร้อมที่จับทำตามกติกาและเดินไปด้วยกันในการจัดการน้ำเสียชุมชน เรียนรู้และแก้ปัญหา  พัฒนาวิธีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสม

 

2. การศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียชุมชน 18 มี.ค. 2566 28 ต.ค. 2565

 

กิจกรรมศึกษาดูงาน คณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือนปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน ได้ไปดูงานที่พื้นที่ต้นแบบ การจัดการน้ำเสีย ชุมชนบ้านส้มตรีดออก มีคณะทำงาน และทีมวิทยากรกก่อนรับ มีส่วนภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เจ้าที่เทศบาลเมือง
    เริ่มกระบวนทีมวิทยากรให้ควารรู้ในเรื่องการทำงานของชุมชนในการจัดการน้ำเสีย ดำเนินงานด้วยคณะทำงาน การจัดตั้งคณะทำงาน การแบ่งบทบาทการทำงาน และติดตามภายใน และรวมกันคิดหาทางแก้ปัญหา และดำเนินให้สำเร็จตามแผนชุมชน โครงการที่ได้กำหนดไว้
    การจัดการน้ำเสียในครัวเรือน เป็นแบบถังดักไขมันอย่างง่าย วิธีการทำถังดักไขมันอย่างง่าย จากถังดักไขมนัไหลไปลงร่องระบาย น้ำได้ตามความเหมาะสมกับพื้นที     ใชก้าวซิลิโคน ยารอยรั่วตรงที่เจาะรูทั้งดา้นใน ด้านนอก ป้องกนั น้า รั่วซึม ส่วนท่อและข้องอต่างๆไม่ต้องทากาว เพื่อให้ถอดทำความสะอาดได้สะดวก นำฝาถังที่มีตะกร้าสำหรับกรองเศษอาหาร และมีฝาปิด ป้องกันแมลงวันมาประกอบบนตัวถัง ก็จะได้ถังดักไขมัน มีการนำเสนอการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการกำจัดเศษอาหารจากการคัดแยก ก่อนจะปล่อยน้ำเสียลงสู่ถังดักไข่มัน เศษอาหารเศษเลี้ยงไส้เดือนเป็นการย่อยกลายเป็นปุ๋ย ลดการทิ้งลงสุ้ทางระบาย       วีธีทำธนาคารน้ำใต้ดิน ต้องสำรวจพื้นที่ที่จะทำต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำไหลมารวมกัน การขุดดินแล้วที่แต่ลักษณะที่จะทำ ทำแบบครัวเรือนส่วนมากจะขุดเป็นวงกลม ความยาวประมาณ 1.5 เมตร ความกว้างประมาณ 1 เมตร จากนั้นให้นำเอายางรยนต์มาไว้ตรงกลางบ่อแล้วนำท่อพีวีซีวางในยางรถยนต์ นำเรียงใส่ลงไปเพื่อยึดท่อพีวีซีแล้วนำยางรถยนต์อีกเส้นลงไปเพื่อยึดให้ท่อพีวีซีให้ตั้งตรงแล้้วใส้หินเรียงลงเหลือพื้นที่ปากบ่อไว้ประมาณ 10เซอร์ นำผ้าในล่อนตัดช่องให้สามารถใส่ในท่อพีวีซีรองปากบ่อตามความกว้างของบ่อ นำท่อพีวีซี 3 ทางใส่ด้านบนท่อพีวีซี 2 นิ้ว เพื่อเป็นทางระบายอากาศ จากให้นำหินระเอียดใส่ลงทับผ้าในล่อนเป็นชั้นสุดท้ายเก็บผ้าในล่อนตามรอบบ่อเป็นอันเสร็จ

ให้ความรู้การใช้ประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดิน และแลกเปลี่ยนการใช้และปัญหา วิธีการแก้ปัญหา

 

  • ได้ความรู้การจัดการจัดการน้ำเสียโดยชุมชน ถังดักไขมัน การดักจับไขมันก่อนปล่อยน้ำลงท่อ วิธีการเลี้ยงไส้เดือนช่วยจัดการขยะอินทรีย์- ตกค้างในท่อระบายน้ำทำให้ท่อตัน น้ำหมักหมมเกินน้ำเสีย
  • กระบวนการทำงานที่เข้มแข็ง การบริหารและการทำงานให้ความร่วมมือ แนะนำวิธีการทำงาน ได้รัดกุมและเข้าใจ
  • มีความเชื่อมั่นสามารถจัดการน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชนของตนเองได้ มีเป้าหมายที่จะนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติสำหรับครัวเร้อนตนเองตามความเหมาะสม

 

6. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 31 มี.ค. 2566 10 พ.ย. 2565

 

-ผู้จัดการโครงการ  โครงการหน่วยจัดการพื้นที่ ได้ชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากการบริหารจัดโครงการได้ดำเนินงานมาถึงช่วงระยะ ที่ต้องติดตามผลลัพธ์ นำมาแลกเปลี่ยนแปลง ของแต่ละประเด็น โดย จะมีการแบ่งกลุ่มตารมรายประเด็น เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนในประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชนของแต่ละชุมชนที่ได้มีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ในแต่ละชุมชน  โดยมีตารางผลลัพธุ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์ของประเด็น  ผู้ช่วยแลกเปลี่ยผลลัพธ์ เป็นทีมพี่เลี้ยงช่วยเติมเต็มข้อมูล  กลุ่มประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชน มี ทั้ง 8 พื้นที่ พื้นที่ ชุมชนบ้านควนปรง ชุมชนบ้านท่ามิหรำ ชุมชนบ้านท่ามิหรำเก่า ชุมชนบ้านดอนรุณ ชุมชนบ้านนอกม่วงหวาน ชุมชนวัดนิโรธาราม  ชุมชนบ้านนอกบ่อ  เสร็จกลุ่มย่อยมีการรวมสรุปผลของแต่ละประเด็น

 

.ได้ความรู้บทเรียน่ประเด็นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีทีมงานเป็นสำคัญที่ดำเนินงานให้เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนและมีต้นแบบในประเด็นต่าง ๆ อาหารปลอดภัยในการเพิ่มพื้นที่นาและมีข้าวสารไว้กินเองพร้อมแบ่งบัน  การจัดการขยะ  การจัดการน้ำเสียชุมชน่มีการจัดการก่อนปล่อยสูาสาธารณะ 2.มีผลลัพธ์จากการดำเนินงานการจัดการน้ำเสียชุมชน  ที่สำเร็จตามที่ตั้งไว้  และปัญหาอุปสรรค์ มีรายละเอียดดังนี้คือ  2.1 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมทางสังคม             มีกติกาชจัดการน้ำเสียในชุมชนที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ                     -  การบำบัดน้ำเสียการปล่อยลงคู คลอง การจัดการคัดแยกเศษอาหารการก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะลงสู่ คู คลอ             กลไกการติดตามในชุมชน เป็นคนกลไกที่ติดตามการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน             เกิดเป็นช่างชุมชนในการจัดทำถังดักไขมันอย่างง่าย ช่วยเหลือซ่อมบำรุง  ถ้าแบบมีปัญหาสามารถปรับปรุงแบบถังดักไขมันได้แผนการจัดการน้ำเสีย - มีแผนงานที่ชุมชนสามารถเองได้ การทำถังดักไขมันอย่างง่าย  หรือแบบนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ 4. ปริมาณการใช้ประโยชน์จากน้ำเสีย โดยส่วนมาก นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแบบถังดักไขมันอย่างง่าย ไปรดน้ำผัก ต้นไม้ นำเศษอาหารที่ผ่านการดักจับไขมันมาเสี้ยงสัตว์ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วเติมจุลินทรีย์ แล้วนำไปบำบัดน้ำเสีย   -ภาคีร่วมการดำเนินงาน           - เทศบาลเมืองพัทลุง สมทบงบประมาณ และมีทีม กองสาธารณสข และกองช่าง มาเป็นกลไกขับเคลื่อน           - สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง สมทบงบประมาณ และเป็นวิยาการอบรม สทม. และการอบรมการตรวจวัดค่าน้ำ   -ได้เพื่อนเครือข่ายแลกเปลี่่ยนความรู้หรือช่วยเหลือกันและกันในการดำเนินงานสร้างสุขภาพดี

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 7 พ.ค. 2566 7 พ.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน แลกเปลี่ยนการติดตามการทำงาน ปฏิบัติการจัดการน้ำเสีย  มีการดำเนินการไปได้แค่ไหน เล่าปัญหาสถานการณ์การทำงาน แนวทางในการทำ ร่วมกันกำหนดแผนปฏิบัติงาน

 

ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการทำงานและแผนปฏิบัติการส่งเสริมและติดตามให้ครัวเรือนที่ได้มีความตั้งใจสมัครเข้าร่วม  ได้ร่วมกันกำหนดปฏิทินในการทำระบบบำบัดน้ำเสีย

 

9. สนับสนุนการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน 2 ก.ค. 2566 2 ก.ค. 2566

 

วงคุยตกลงร่วมกันในการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน คลองไหลผ่านชุมชน
วิทยากรมาให้ความรู้แลกเปลี่ยน พร้อมให้คำแนะนำในการจัดการน้ำเสียชุมชน และกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการช่วยกันดูแลแหล่งน้ำสาธารณะในชุมชนหรือไหลผ่านชุมชนให้มีคุณภาพน้ำที่ดี

 

คนในชุมชนตระหนักความสำคัญและมีความตั้งใจร่วมกันดูแล สัญญากันว่าช่วยกันรักษาดูแลคลองและแหล่งน้ำในชุมชนให้มีคุณภาพดี  ส่วนที่มีปัญหาช่วยกันแก้ช่วยกัน่ฟื้นฟูให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น เกิดความร่วมมือกันในการรักษาป่าริมคลองและปลูกเพิ่มของหัวดินแต่ละคน  สามารถที่จะช่วยกรองและดักซับน้ำเสียและเศษขยะลงคลอง ที่จะนำไปสู่การเน่าเสียของลำคลอง

 

7. ปฏิบัติการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน 16 ก.ค. 2566 16 พ.ย. 2565

 

คณะทำงานและครัวเรือนเข้าร่วมทำระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน  ได้ออกแบบการจัดการน้ำเสียแต่ละครัวเรือน  และมีการกำหนดวันเวลาในการจัดทำ ระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละครัวเรือน  มอบหมายมีตัวแทนคณะทำงานหนุนเสริมและเพิ่มเติมให้ความรู้คู่ไปกับการทำจริงของแต่ละครัวเรือน  มีปัญหาได้ช่วยแนะนำและประสานในการแก้ปัญหา

 

มีครัวเรือนปรับเปลี่ยนทำระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยน้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  จำนวน  22 ครัวเรือน
มีคณะทำงานติดตามให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนความรู้การจัดการน้ำเสียของครัวเรือน

 

5. จัดทำข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน ครั้งที่ 2 23 ก.ค. 2566 26 มี.ค. 2566

 

คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูล  โดยมีแบบสำรวจ ลงเก็บข้อมูลรายครัวเรือนพฤิตกรรมการใช้น้ำและการปรับเปลี่ยนบำบัดน้ำก่อนปล่อยลงสู่คลองสาธารณะ

 

ได้ข้อมูลพฤิตกรรมการการจัดการน้ำเสียและวิธีการการจัดการน้ำเสียของครัวเรือน

 

10. เวทีปิดโครงการ 13 ส.ค. 2566 12 ส.ค. 2566

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปรายงานผลการดำเนินงานที่ทางคณะทำงานได้จัดเตรียมไว้ มีการนำเสนอใช้บันไดผลลัพธ์ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง
ตัวแทนที่รับผิดชอบแต่ละด้านได้แลกเปลี่่ยน ตัวแทนครัวเรือนที่ได้มีการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนได้มาเล่าบทเรียน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกำหนดแนวทาง

 

คนในชุมชนตระหนักความสำคัญน้ำเสียต้นทางที่ปล่อยออกจากครัวเรือน  มีครัวเรือนนำร่องในการปรับเปลี่ยนมีการทำระบบบำบัดจัดการน้ำเสียในระดับครัวเรือนจำนวน 20 ครัว  ทำให้น้ำเสียจากครัวเรือนลดลงจำนวน        มีการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ จำนวน      ครัวเรือน กิจ สามารถประหยัดรายจ่ายในครัวเรือน

 

จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 31 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566

 

รายงานกิจกรรมความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการและไได้ตรวจสอบสอบและจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงิน และรายงานกิจกรรมความก้าวผ่านระบบออนไลน์  ตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินงานโครงการ และสิ้นสุดโครงการ พร้อมส่งเอกสารการเงินและการรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เป็นที่เรียบร้อย

 

รายงานความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์  สามารถจัดทำเอกสารหลักฐานการเงิน และการรายงานกิจกรรมความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ได้เป็นที่เรียนร้อย  พร้อมส่งตรวจสอบความถูกต้อง