directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านนอก - ม่วงหวาน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านนอก - ม่วงหวาน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0016
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 75,550.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะทำงานการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านบ้านนอก-ม่วงหวาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมหมาย คงนิล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ จุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 30,220.00
2 1 ต.ค. 2565 30 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 37,775.00
3 1 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566 7,555.00
รวมงบประมาณ 75,550.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพทั่วไป ในอดีตชุมชนบ้านนอก-ม่วงหวาน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ รองลงมาคือ อาชีพค้าขาย ประชาชนมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติมีการช่วยเหลือแบ่งปันกัน   ปัจจุบันชุมชนนานอก-ม่วงหวานได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง พื้นที่นาแปรเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัย เกิดบ้านเช่า บ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รองลงมาคือ อาชีพธุรกิจส่วนตัว มีครัวเรือนจำนวน 61.  ครัวเรือน

ที่ตั้ง อาณาเขตของชุมชน ทิศเหนือติดบ้านม่วงหวานหมู่ที่ ตำบลพญาขัน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงทิศใต้ติดทิวเขาอกทะลุและชุมชนหน้าเขาอกทะลุ  ทิศตะวันออก จดบ้านทุ่งมะขามหมู่ที่ 3 ตำบลพญาขัน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง หมู่ที่ 8 ตำบลพญาขัน อำเภอมือง จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตกจดบ้านใต้ช่อง หมู่ที่ 9 ตำบลปรางหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ชุมชนบ้านพี ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง    สภาพภูมิประเทศ พื้นที่เป็นที่ราบและแคบ มีทิวแนวยาวตลอดทางทิศใต้มีลำคลองและคูสำหรับระบายน้ำเพื่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร...มีสถานที่ประกอบการ ได้แก่ อู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยาน ร้านขายของชำ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านขายข้าวแกง ร้านเสริมสวย ร้านขายขนม ฯลฯ
ส่วนข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชนทั้งครัวเรือนและสถานประกอบการ ชุมชนบ้านนานอก-ม่วงหวานยังไม่ได้มีข้อมูลใด ๆ มาก่อน การทำแผนพัฒนาชุมชน การดำเนินการจัดการน้ำเสียชุมชน การจัดการน้ำเสียครัวเรือนได้มีการเริ่มนำบทเรียนนำบ่อดักไขมันเพื่อบำบัดน้ำเสียในครัวเรือนมาทดลองใช้ในปีที่ผ่านมา ครัวเรือน เป็นการจัดการน้ำเสียจากต้นทาง ลดการปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนลงสู่ธรรมชาติ เพื่อน้ำไปสู่การฟื้นคลองให้น้ำในคลองมีคุณภาพที่ดี

ปัญหาน้ำเสียชุมชน

สาเหตุของปัญหาน้ำเสียชุมชน คน : เกิดจากคนในชุมชน ครัวเรือน และผู้ประกอบการ ร้อยละ 90 มีการปล่อยลงสู่คู คลอง และธรรมชาติ นอกจากนี้น้ำเสียที่ปล่อยจากชุมชนอื่นๆ ลำคลอง ทำให้น้ำมีสารและสิ่งปฏิกูล ปนเปื้อนของสิ่งสกปรกในน้ำทำให้น้ำเสีย เช่น น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง  คนในชุมชนบ้านนานอก-ม่วงหวาน คนในชุมชนร้อยละ 70ขาดความรู้และความตระหนักผลกระทบของน้ำเสีย เช่น ยังไม่รู้น้ำใช้ในครัวเรือนเป็นน้ำเสียที่ก่อนให้เกิดผลกระทบในชุมชน และคนในชุมชนร้อยละ 80 ขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในระบบการจัดการน้ำเสียจากต้นทาง จึงได้ปล่อยน้ำเสียจากชุมชนลงสู่ธรรมชาติ โดยตรงไม่ได้มีการบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้มีหลายสาเหตุ เช่น เอาสะดวกสบายเข้าไว้  ไม่มีที่ทิ้งหรือพื้นที่ในการจัดการ ไม่รู้ว่ากระทบกับสิ่งแวดล้อม บ้านเช่าที่ขาดความรับผิดชอบ
สภาพแวดล้อม : ชุมชนบ้านนานอก-ม่วง พื้นที่ชุมชนรอบนอกกึ่งเมืองชนบทมีพื้นที่สำหรับทำเกษตร แต่ยังมีระบบบายน้ำยังไม่ครอบคลุมยังมีจุดเสี่ยงในชุมชนที่น้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนหรือฝนตก ซึ่งเป็นสาเหตุมีน้ำเสีย นอกจากนี้ชุมชนยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน ที่บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ธรรมชาติ กลไก :ไม่มีกลไกในการติดตามการจัดการและเฝ้าระวังน้ำเสียของชุมชน  ระบบจัดการน้ำเสียที่มีเฉพาะบ้านใหม่ทีเกิดขึ้นจากการขอสร้างใหม่ โดยเทศบาลต้องบังคับใช้กฎหมายให้มีระบบบำบัดน้ำเสียครัวเรือน แต่ยังครอบคลุมถึงบ้านเก่า  ไม่มีมาตรการทางเทศบาลเมืองพัทลุงพร้อมให้มีการสนับสนุน แต่เนื่องจากเป็นชุดความรู้ใหม่ของทางเทศบาลเรียนรู้และปฏิบัติการไปควบคู่ไปกับชุมชน ขาดกลไกความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการจัดการน้ำเสียโดยชุมชน

ผลกระทบจากปัญหาน้ำเสีย
ส่งผลให้ในปัจจุบันน้ำในคลองไม่สะอาด คุณภาพของน้ำเสื่อมโทรม คนในชุมชนลงใช้น้ำในคลองไม่ได้ ทำให้เป็นผื่นคัน  โดยเฉพาะในช่วงฤดูแลง  ทำให้น้ำในลำคลองไม่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคในครัวเรือนเหมือนในอดีต แต่ละครัวเรือนใช้น้ำประปา มีค่าน้ำเพิ่มขึ้น  ในช่วงฤดูฝนบางจุดมีน้ำขังเป็นแหล่งสะสมบ่อเกิดของลูกน้ำยุงลาย ต้องมีค่าใช้จ่ายของการป้องกันและค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพหรือการรับษาโรคของคนในชุมชน จากสถานการณ์น้ำเสียของชุมชนซึ่งมีแนวโน้มมีมากขึ้น การอยู่อาศัยในชุมชนเพิ่มมากขึ้น คณะกรรมการชุมชนและแกนนำชุมชนร่วมตัวเป็นคณะทำงาน ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการน้ำเสียชุมชน จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านนานอก-ม่วงหวาน 1.เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักเรื่องการจัดการน้ำเสียชุมชน 2.เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข้มแข็ง 3.เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน เกิดครัวเรือนจัดการน้ำเสีย และ4.เกิดระบบการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การทำให้คนในชุมชนบ้านนอก-ม่วงหวาน พื้นที่ได้มีโอกาสได้เรียนรู้สถานการณ์ปัญหาน้ำเสียชุมชน รับทราบเรื่องราว และเกิดเป็นความตระหนักที่จะปรับเปลี่ยนจัดการน้ำเสียในแต่ละครัวเรือน เป็นการบำบัดให้น้ำมีคุณภาพก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ เป็นการลดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด และยังมีกระบวนการร่วมสร้างระบบบำบัดรวมตามจุดย่อยในชุมชนเป็นตัวอย่างที่จะขยายต่อ นอกจากนี้กระบวนการขับเคลื่อนยกระดับพัฒนาให้แกนนำมีความเข้มแข็งทำให้ กระบวนการขับเคลื่อนสามารถไปได้ ซึ่งเป็นการสร้างขบวนการเข้มแข็งของการการจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นนำสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่  Phatthalung Green City และยังสามารถพัฒนาโมเดลการจัดการน้ำเสียโดยชุมชน มีภาคียุทธศาสตร์ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการขับเคลื่อนซึ่งนำไปสู่การส่งต่อให้กับภาคียุทธศาสตร์ในจังหวัดได้นำไปใช้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนยุทธศาตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างสุขและสุขภาวะของคนเมืองลุงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมคนในชุมชนมีตระหนักเรื่องการจัดน้ำเสียชุมชน
  1. ครัวเรือนมีความรู้การจัดการน้ำเสีย
    ไม่น้อยกว่าร้อย 80 ของครัวเรือนเป้าหมาย
  2. มีแผนการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน
    ไม่น้อยกว่าร้อยละ  50 ของชุมชน
  3. มีกติกาชุมชนในการจัดการน้ำเสีย
0.00
2 เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนชุมชนลดน้ำเสียเข็งแข็ง
  1. มีคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือน จากท้องถิ่นร่วมเป็นคณะทำงาน  จำนวน 15 คน
  2. มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือน
  3. เกิดผังน้ำเสียชุมชน
0.00
3 เกิดรูปแบบการจัดการน้ำเสียครัวเรือน
  1. จำนวนบ่อกัดไขมันอย่างง่ายที่ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% ของครัวเรือนเป้าหมาย
  2. จำนวนธนาคารน้ำเสียไต้ดินครอบคลุมครัวเรือนที่ต้องการจัดการน้ำเสียด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือนเป้าหมาย
  3. เกิดครัวเรือนที่มีการใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการน้ำเสีย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมาย
  4. มีแผนการติดตามการจัดการน้ำเสียชุมชน
0.00
4 ครัวเรือนจัดการน้ำเสีย
  1. จำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาการจัดการน้ำสามารถจัดการน้ำเสียได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70%ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. ปัญหาที่เกิดจากน้ำเสียลดลง(กลิ่นเหม็น แหล่งวเพาะพันธ์ยุงลาย
0.00
5 มีระบบจัดการน้ำเสียไปพื้นที่ร่วมของชุมชน
  1. จำนวนจุดจัดการน้ำเสียที่ชุมชนร่วมกับท้องถิ่นดำเนินการไม่น้อยกว่า 1 จุด
  2. เกิดความร่วมมือในการจัดการน้ำเสียระหว่างชุมชนกับเทศบาลเมืองพัทลุง
0.00
6 เพื่อให้การจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 395 75,550.00 21 57,837.00
17 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
23 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 3 3,000.00 0.00
26 มิ.ย. 65 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1 20 11,300.00 2,372.00
24 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 5. จัดทำข้อมูลการจัดการน้ำเสียของชุมชน ครั้งที่ 1 15 6,150.00 2,050.00
21 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 20 0.00 2,100.00
22 ก.ย. 65 จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 0 1,000.00 1,000.00
23 ก.ย. 65 1. เวทีสร้างความเข้าใจโครงการการจัดการน้ำเสีย 50 4,300.00 4,300.00
18 ต.ค. 65 8. เวทีย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการจัดการน้ำเสียชุมชน 20 2,600.00 0.00
6 พ.ย. 65 6. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) 20 8,400.00 2,800.00
18 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 20 0.00 1,255.00
29 ม.ค. 66 6. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 20 0.00 0.00
12 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 20 0.00 1,860.00
24 ก.พ. 66 3.เวทีจัดทำแผนและกติกาการจัดการน้ำเสียชุมชน 20 2,900.00 0.00
18 มี.ค. 66 2. การศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียชุมชน 30 15,900.00 15,900.00
31 มี.ค. 66 6. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 20 0.00 600.00
7 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 20 0.00 1,150.00
2 ก.ค. 66 9. สนับสนุนการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ร่วมของชุมชน 20 4,800.00 4,800.00
16 ก.ค. 66 7. ปฏิบัติการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน 30 7,800.00 7,800.00
23 ก.ค. 66 5. จัดทำข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน ครั้งที่ 2 15 0.00 1,950.00
13 ส.ค. 66 10. เวทีปิดโครงการ 30 6,400.00 6,400.00
31 ส.ค. 66 จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 2 1,000.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:13 น.