directions_run

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ ”

ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายอนันต์ ปานป้อง

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ

ที่อยู่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00-0138-0025 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-00-0138-0025 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,030.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สภาพทั่วไป กลุ่มเกษตรสวนยางแปลงใหญ่ สกย.บ้านโหล๊ะจันกระ จำกัด เกิดจากนโยบายของการยางแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันในลักษณะกลุ่มซึ่งที่มาของสมาชิกต้องเป็นสมาชิกของสกย.ฯโดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมของกลุ่มคือ -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการผลิต -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกพัฒนายกระดับคุณภาพผลผลิต -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกสร้างและพัฒนากลไกการตลาดในการจำหน่ายผลผลิต -เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกบริหารจัดการองค์กรให้มีความเข้มแข็ง สกย.บ้านทุ่งแสงทอง จำกัด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2538 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 126คน มีพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกทั้งหมด 1,862ไร่ พื้นที่ทั้งหมดที่เป็นส่วนยางพาราของสมาชิกตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลตะโหมดจำนวน2หมู่บ้านและตำบลคลองเฉลิมจำนวน2หมู่บ้านสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สันเนินกระจายสลับกันไปกับพื้นที่ราบเชิงเขาการทำการเกษตรส่วนใหญ่พี่งพาธรรมชาติเพราะยางพาราเป็นพืชที่ไม่จำเป็นต้องจัดการมากมายไม่ต้องใช้น้ำในการผลิตมากมายกิจกรรมที่สกย.ดำเนินการอยู่เป็นกิจกรรมธุรกิจซื้อ/ขาย แปรรูปน้ำยางสดของสมาชิกและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพารา เช่นจำหน่ายปุ๋ยให้กับสมาชิกรวมถึงการรับฝากเงินออมและปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิกในการลงทุนประกอบอาชีพและใช้จ่ายในครัวเรือน จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือนให้แก่สมาชิก ปัจจุบันสกย.มีทุนดำเนินการที่เกิดจากการลงหุ้นของสมาชิกจำนวน5,500,000บาท ใช้ในการลงทุนซื้อขายน้ำยางสดจากสมาชิก จำนวนน้ำยางสดของสมาชิกมีปริมาณต่อวันที่5,000กก.คิดเป็นน้ำยางแห้งอยู่ที่1,500กก.คิดเป็นมูลค่า75,000บาทต่อวัน ภาคการลงทุนการผลิตที่สกย.ลงทุนคือการลงทุนรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิก ลงทุนซื้อไม้ฟืนในการรมควันยางแผ่น ซื้อปุ๋ยเพื่อสำรองให้สมาชิกปีละไม่ต่ำกว่า700,000บาท ลงทุนซื้อน้ำกรดในการผลิตยางแผ่นปีละ100,000บาท จากปริมาณน้ำยางสดจำนวนทั้งหมดนั้นแยกออกเป็นของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่จำนวน1,500กก.คิดเป็นน้ำยางแห้ง450กก.คิดเป็นมูลค่า25,000บาท ซึ่งกลุ่มแปลงใหญ่มีสมาชิกทั้งหมด33คนมีโครงสร้างการทำงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม กลุ่มแปลงสวนยางใหญ่มีเนื้อที่สวนยางพาราทั้งหมด353ไร่ ในปีที่ผ่านมากลุ่มสวนยางแปลงใหญ่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกคือกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับสมาชิกในการพัฒนายกระดับอาชีพและผลผลิตน้ำยาง รวมถึงการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกในการสร้างอาชีพแก่สมาชิกของกลุ่ม สภาพปัญหา ช่วงเวลา10ปีที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องเผชิญกับปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำลงมามากเพราะสาเหตุอาจมาจากการที่ภาครัฐสนับสนุนให้มีการปลูกยางพารามากเกินไปและรวมถึงระบบการจัดการคุณภาพยางพาราที่ส่งผลต่อการตลาดด้วย จึงส่งผลกระทบแก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นวงกว้าง จากการร่วมกันพูดคุยเราค้นพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากปัญหาที่เป็นปรากฎการณ์เพียงอย่างเดียวแท้จริงแล้วปัญที่เกษตรกรส่วนใหญ่เผชิญอยู่ในปัจจุบันพบว่า สาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อของคน คือ คนนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเพราะมีความเชื่อว่าการกรีดยางพาราเพียงอย่างเดียวยังสามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอดได้ เพราะคนขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างรูปแบบสวนยางพาราแบบผสมผสาน คนขาดความตระหนักที่จะจัดการต่อการร่วมกันพันธุ์พืชท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชน คนไม่เชื่อว่าหากมีการสร้างสวนยางรูปแบบใหม่จะนำไปสู่การสร้างรายได้และลดรายจ่ายครัวเรือนได้ รวมทั้งการที่คนในชุมชนมัวมุ่งอยู่กับการหาเงินจนไม่มีเวลามาเรียนรู้การสร้างสวนยางพาราในรูปแบบใหม่ สาเหตที่เกิดจากกลไกและระบบที่หนุนเสริมเชิงนโยบายคือ ในชุมชนยังไม่มีแปลงต้นแบบในการสร้างรูปแบบการจัดการสวนยางพาราในรูปแบบพืชร่วมยางให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ ขาดการส่งเสริมและหนุนเสริมจากองค์กรภาครัฐและภาคท้องถิ่น คนในชุมชนมีความรู้แต่ขาดการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชนชนอีกทั้งในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายในการสวนยางพาราที่ทำลายพันธุกรรมพืชในชุมชนเองก็ขาดการสร้างการเรียนรู้และขาดการจัดการให้ชาวสวนยางพารามุ่งสร้างสวนยางพาราแบบสวนยางพาราเชิงเดี่ยวด้วยกับการพัฒนาที่มาพร้อมการทำลายจากโครงการของหน่วยงานภายนอกและเกิดจากความไม่รู้เท่าทันของประชาชนในการประกอบอาชีพ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากอย่างรวดเร็ว และนับวันยิ่งหายไปจากพื้นที่ อาจจะด้วยจากสาเหตุที่มาจากประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรปลูกยางพาราในลักษณะเชิงเดี่ยวที่มุ่งเน้นกำไรเป็นตัวเงินมากกว่าการดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายของพืชพันธ์ต่างๆ ด้วยอาจจะเข้าใจว่าการเกษตรปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า แต่ในทางกลับกันพบว่าแนวทางการทำการเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชหลายอย่างนั้นทำให้เกิดรายได้จากส่วนต่างๆได้มากกว่าและทำให้ปัจจัยการผลิตจำพวกปุ๋ยนั้นน้อยกว่าและไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อีกอย่างที่สำคัญคือการใช้ปุ๋ยเคมีโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง จะเป็นสาเหตุที่สำคัญในการนำไปสู่ความเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของดินและแหล่งน้ำ ทั้งเป็นการทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์ต่างๆในพื้นที่สวนยางพาราและในชุมชนด้วย จนนำไปสู่เรื่องปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่ที่ได้รับการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้างปนเปื้อนเหล่านี้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพราะเมื่อพื้นที่สวนยางพาราถูกสร้างวิธีคิดให้ปลูกยางเพียงอย่างเดียวจึงทำให้พืชอาหารโดยธรรมชาติที่เคยเจริญงอกงามและมีความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมหายไปด้วย ผู้คนจึงต้องพึ่งพาพืชอาหารจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งไม่สามารถรู้ได้ถึงกระบวนการผลิตและความปลอดภัยในการผลิตของพืชอาหารเหล่านั้นส่งผลให้ไม่สามารถรับรองได้ถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพในการบริโภค ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคายางพาราที่ตกต่ำและประชาชนคิดได้เพียงว่ารายได้นั้นมาจากยางพาราเพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รวมถึงต้นทุนในการผลิตที่สูงมากทั้งต้นทุนที่เกิดจากการซื้อปุ๋ยมาใช้ในสวนยางพารา ต้นทุนในการขนส่งน้ำยางพารา ต้นต้นในการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางไปประกอบอาชีพกรีดยางของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ดังกล่าวนั้น ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรรายย่อยยังคงประสบปัญหาความยากจนรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงค์ชีวิตในปัจจุบันรวมทั้งการที่เกษตรกรต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายประจำในครัวเรือนและหนี้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตภาคการเกษตรในการทำสวนยางพาราซึ่งปัจจุบันสมาชิกยังเป็นหนี้กับสกย.จำนวน4,500,000บาท จึงเกิดการพูดคุยรวมตัวกันของกลุ่มคนที่อยากเห็นการพัฒนายกระดับการประกอบอาชีพของเกษตรกรและการเรียนรู้ให้รู้เท่าทันและสามารถรักษาทรัพยากรพืชท้องถิ่นเอาไว้พร้อมทั้งเป็นทางออกให้เห็นว่ามีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการปลูกพืชผสมผสานอย่างอื่นในแปลงที่มากกว่ายางพาราเพียงอย่างเดียวด้วย ทางกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ได้หันมาสนใจผลักดันขับเคลื่อนการสวนเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติโดยการใช้พื้นที่สวนยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าการกรีดเอาน้ำยางเพียงอย่างเดียว จึงคิดสร้างให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชในสวนยางพาราให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้กลุ่มคนที่สนใจนี้เป็นเครื่องมือกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือและร่วมกันวางแผนการทำงานและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ขยายแนวคิดที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติการแล้วไปสู่ชุมชนในระยะต่อไป ทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทำสวนอยู่แล้วและผู้คนที่อยู่ในชุมชนที่สนใจได้หันมาตระหนักและร่วมกันสร้างเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติให้มากขึ้น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยใช้การฟื้นฟูและอนุรักษ์ให้กลับมาได้ใช้ประโยชน์ และคาดหวังกันว่าพื้นที่ที่เข้าร่วมการเรียนรู้ในปีนี้จะกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรในสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสามารถจัดการหมู่บ้านตนเองได้ในระยะยาวต่อไปได้      โครงการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติโดยการใช้พืชร่วมยางพารา จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาคประชาชนในพื้นที่ ภาครัฐที่เข้ามาหนุนเสริม และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดการทำงานที่ง่ายขึ้น ทั้งยังจะเป็นการสร้างพื้นที่การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ การสร้างแรงกระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพการทำงานโดยผ่านเครื่องมือกลไกต่างๆเช่น การลงเก็บข้อมูลสำรวจในพื้นที่จริง การออกแบบการทำงานสร้างกลไกกติกาที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง การพัฒนาพื้นที่ปฏิบัติการให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ เป็นต้น และเชื่อว่าในระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการนี้นั้นจะเห็นมิติการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างแน่นอน  อีกทั้งกลุ่มสวนยางแปลงใหญ่บ้านโหล๊ะจันกระได้รับงบสนับสนุนจาก กยท. ในการสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการองค์กรให้แก่สมาชิกจนสมาชิกส่วนหนึ่งเกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทักษะอื่นในการประกอบอาชีพสวนยางพาราและความรู้อื่นๆที่จะสามารถยกระดับและสร้างรายได้เสริมและลดรายจ่ายในครัวเรือนให้กับสมาชิกกล่มสวนยางแปลงใหญ่ตื่นรู้และมีความคิดที่จะริเริ่มการประกอบอาชีพในการทำสวนยางพาราในรูปแบบใหม่โดยทางกลุ่มมีความคาดหวังว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบในการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราจะเป็นทางออกทางรอดของสมาชิกในชุมชนที่จะนำพาครอบครัวให้อยู่รอดได้ในภาวะที่เกิดความถดถอยและราคายางพาราที่ตกต่ำลงไปทุกขณะ แต่ภายใต้การหนุนเสริมของภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่สวนยางพาราเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่เกษตรกรมากนัก อีกทั้งเกษตรกรเองก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างสวนยางพารามาเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่ครัวเรือนและชุมชน ในขณะที่มีเกษตรกรส่วนหนึ่งพยายามที่จะเริ่มเปลี่ยนสวนยางพาราของตัวเองหันมาปลูกยางพาราแบบป่าร่วมยางแต่ก็ยังประสบปัญหาเรื่องความรู้ด้านวิชาการ ความรู้ด้านพันธุกรรมพืชที่จะสามารถนำมาปลูกร่วมกับยางพาราได้ อีกทั้งพันธุ์พืชในชุมชนหลายชนิดก็เริ่มสูญหายไปจากการทำสวนยางแบบเดี่ยวจึงประสบปัญหาการหาพันธุ์พืชมาปลูกได้ รวมทั้งข้อจำกัดในการใช้น้ำในการปลูกด้วยเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ร่วมโครงการเป็นพื้นที่สวนยางพาราที่อยู่บนที่สูงไม่มีแหล่งน้ำและการจัดการน้ำที่นำไปใช้ในการเพาะปลูกด้วย อีกทั้งสมาชิกส่วนใหญ่ยังประสบกับสภาวะเป็นหนี้ในครัวเรือนทีเกิดจากการลงทุนในภาคการผลิต สามารถดูได้จากที่สมาชิกของสกยฺ.และสมาชิกสวนยางแปลงใหญ่เป็นหนี้ต่อเนื่องกับสกย.ถึง4,500,000บาททางกลุ่มจึงมีความเห็นร่วมกันที่รับสนับสนุนงบประมาณจากสสส.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มเพื่อให้เกิดการปฏิบัติการเป็นรูปธรรมและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม
  2. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
  3. เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
  5. เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้นและรายจ่ายในครัวเรือนลดลง
  6. เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  7. เพื่อให้มีการบริหารจัดการโครงการที่ดีและโปร่งใส

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  2. กิจกรรมปฐมนิเทศน์
  3. กิจกรรมทำป้าย
  4. .เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์
  5. กิจกรรมศึกษาดูงาน
  6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่1
  7. .กิจกรรมเวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง
  8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่2
  9. . กิจกรรมออกแบบแปลงปลูกรายแปลง
  10. สมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข
  11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่3
  12. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่1
  13. กิจกรรมหนุนเสริมการปลูก
  14. . กิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและสารทดแทนสารเคมี
  15. ประเมินผลเผื่อการเรียนรู็และพัฒนา AREร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ 1
  16. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก ครั้งที่1
  17. กิจกรรมจัดทำเรือนเพาะชำ
  18. ประชุมคณะทำงานครั้งที่4
  19. กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่1
  20. กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่2
  21. กิจกรรมสร้างพื้นที่แบ่งปันผลผลิตในชุมชน
  22. . กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกครั้งที่2
  23. ประชุมคณะทำงานครั้งที่5
  24. . กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่2
  25. กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่3
  26. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6
  27. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ
  28. ค่าบริการอินเตอร์เน็ต
  29. ประเมินผลเผื่อการเรียนรู็และพัฒนา AREร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ
  30. สมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข หิ้วชั้นมาชันชี2

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน สำรองเงินเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางโครงการย่อยได้เปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับเงินสนับสนุนโครงการย่อยได้เรียบร้อยภายใต้ ชื่อบัญชีนายอนันต์ ปานป้องและนายอุดร เกิดผลและ น.ส.วิจิตร ศรีสุวรรณ

 

0 0

2. กิจกรรมปฐมนิเทศน์

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน
ภายใต้หน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (Node Flagship) จังหวัดพัทลุง วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง

08.30 - 09.00 น.    ลงทะเบียน และคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการป้องกันไวรัส โควิด19 09.30 - 09.15 น.    เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) 09.15 - 09.30 น.    ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่
Phattahlung Green City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดย นายเสณี จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน Node Flagship จังหวัดพัทลุง 09.30 - 10.30 น.    แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย นายไพฑูรย์ ทองสม ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 10.30 - 10.45 น.    การจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network
โดย นายอรุณ ศรีสุวรรณ 10.45 - 12.00 น.    ปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ
Happy Network
12.00 - 13.00 น.    พัก รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 - 13.30 น.    ความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์
โดย นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 13.30 - 14.30 น.    แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด กลุ่มที่ 1 ประเด็นการจัดการขยะ
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการน้ำเสีย กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มที่ 4 ประเด็นการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา กลุ่มที่ 5 ประเด็นนาปลอดภัย 14.30 - 15.00 น.    การลงนามสัญญาข้อรับทุน
15.00 - 15.30 น.    สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
15.30 น. ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบการเงิน ผู้รับผิดชอบเอกสาร ผลลัพธ์ 1 ได้เรียนรู้หลักการดำเนินโครงการเชิงผลลัพธ์ 2 ได้เรียนรู้หลักจัดการบริหารโครงการ 3 ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสาร และ การเขียนรายงานในระบบ 4 ได้เรียนรู้การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูวตัวชี้วัดผลลัพธ์โครงการ

 

3 0

3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่1

วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1 ประสานคณะกรรมการ นำข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานแลกเปลี่ยนกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2 จัดประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงาน ร่วมคิด วิเคราะห์ มีปัญหาร่วมหาทางแก้ปัญหา และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 3 วางแผนการดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีคณะกรรมการและคณะทำงานเข้าร่วมจำนวน 10 คน ผลลัพธ์ กรรมการแบ่งแยกหน้าที่ปฎิบัติงานของแต่ละคน
ได้วางแผนการทำงานในรอบสองเดือน
ได้วางแผนการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ

 

10 0

4. กิจกรรมทำป้าย

วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดจ้างทำป้ายจำนวน 2 ป้าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ป้ายจำนวน 2 ป้าย

 

0 0

5. เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์

วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

13.00น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 13.30น. วิทยากรให้ความรู้สมาชิกกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ และแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ 14.30น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการสร้างพืชร่วมยางรับสมัครสมาชิกร่วมโครงการ 15.00น. เลิกประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 29คน ผลลัพธ์  สมาชิกได้มีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์โครงการและมีสมาชิกสมัครใจเข้าร่วมโครงการเบื้องต้นจำนวน25คน

 

30 0

6. กิจกรรมศึกษาดูงาน

วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

09.00 -  10.00 น. ลงทะเบียนสมาชิกที่มาศึกษาดูงาน 10.00 - 12.00 น. เข้าร่วมฟังบรรยายกิจกรรมจากวิทยากรเกี่ยวกับพืชร่วมยางต่างๆ 12.00 - 13.00 น. พักรับประธานอาหารเที่ยง 13.00 - 15.00 น. ลงพื้นที่ไปศึกษาเกี่ยวกับพืชร่วมยางต่างๆหลายพันธุ์ชนิด 15.00 - 16.00 น. สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับพืชร่วมยาง 16.00 น.            ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีสมาชิกร่วมกิจกรรมจำนวน 30คน ผลลัพธ์ สมาชิกได้เรียนรู้การทำพืชร่วมยางจากวิยากรและได้เห็นของจริง สมาชิกจำนวนอย่างน้อย20คนมีความเข้าใจและมีความมุ่งมั่นที่จะกลับมาทำในสวนตัวเอง

 

30 0

7. .กิจกรรมเวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง

วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. สมาชิกพร้อมกันที่ สกย.บ้านโหล๊ะจันกระจำกัดลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรม 10.30น.  ประธานกลุ่มเปิดประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 11.00น.  วิทยากร โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนผู้ร่วมกิจกรรมพูดคุยบอกเล่าความพึงพอใจที่ได้ไปศึกษาดูงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ในโครงการ สมาชิกช่วยกันเล่าประสบการณ์ที่ได้ไป และความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน 12.00น.  พักเที่ยง 13.30น.  วิทยาการชวนระดมความคิดวางแผนการปลูกของสมาชิกที่จะปลูกพืชตามชนิดที่ต้องการและความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 16.30น.  ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน28คน ผลลัพธ์ สมาชิกร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการศึกษาดูงาน สมาชิกได้วางแผนการปลูกที่เหมาะสมกับความต้องการและสภาพพื้นที่

 

30 0

8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่2

วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีกรรมการร่วมประชุมจำนวน9คน ผลผลัพธ์ ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ มีการรายงานการใช้งบประมาณโครงการ ได้วางแผนการทำงานในช่วงต่อไป

 

10 0

9. . กิจกรรมออกแบบแปลงปลูกรายแปลง

วันที่ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. สมาชิกพร้อมกันที่ สกย.บ้านโหล๊ะจันกระ ลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรม 10.30น.  ประธานกลุ่มเปิดประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 11.00น.  วิทยากร โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ ชวนผู้ร่วมกิจกรรมพูดคุยบอกเล่าความพึงพอใจที่ได้ไปศึกษาดูงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ในโครงการ สมาชิกช่วยกันเล่าประสบการณ์ที่ได้ไป และความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน 12.00น.  พักเที่ยง 13.30น.  วิทยาการชวนระดมความคิดวางแผนการปลูกของสมาชิกที่จะปลูกพืชตามชนิดที่ต้องการและความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 16.30น.  ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต สมาชิกเข้าร่วมจำนวน 30 คน
ผลลัพธ์ ได้ความรู้การออกแบบแปลงที่เหมาะสมกับความต้องการเพื่อให้เกิดรายได้ตามช่วงเวลา และความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ของสมาชิกแต่ละคน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกที่เหมาะสมจากวิทยากร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถออกแบบการปลูกของแปลงตัวเองได้

 

30 0

10. สมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข

วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดกา จัดงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ภายใต้โครงการการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรราการ วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๑๕๖๕ ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง อำเภอเมืองลุง จะงหวัดพัทลุง ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร ๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๕ น. การแสดงเปิดงานด้วยชุดการแสดงมโนราห์ จากนักเรียนโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง ๐๙.๑๕ - ๐๙.๓๐ น. กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน                       โดยนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์กรบริการส่วนจังหวัดพัทลุง ๐๙๓๐ - ๑๐.๐๐ น. รับชมวีดีทัศน์ความเป็นมาของสภาขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข และนำเสนอผลการดำเนินงานชองประเด็นการขับเคลื่อนพัทลุงใหานาครแห่งความสุข ๘ ประเด็น ดังนี้                     ประเด็นที่ ๑ ออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนเพื่อสร้างพลเมืองผู้ตื่นรู้                     ประเด็นที่ ๒ สร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล                     ประเด็นที่ ๓ ออกแบบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยื่น                     ประเด็นที่ ๔ จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช/สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและการดูแลสุขภาพชุมชน                     ประเด็นที่ ๕ การสร้างความมั่นคงของชุมชน ( สวัสิการชุมชนและที่อยู่อาศัย )
                    ประเด็นที่ ๖ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม                     ประเด็นที่ ๗ ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง                     ประเด็นที่ ๘ สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมงานร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ให้ขอเสนอแนะต่อผู้แทนประเด็นทั้ง ๘ ประเด็น ณ ลานเวทีการเรียนรู้พัทลุงมหานครแห่งความสุข ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในบรรยากาศ คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี ๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๕ น. ตะลุง talk show ว่าด้วยโหม๋เรามาร่วมสร้างเมืองลุงแห่งความสุข ๑๓.๑๕ - ๑๔.๐๐ น. เวที่กลางถกแถลงเพื่อหาฉันทามติข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ โดยกระบวนการมีสวนร่วมในการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ผู้แทนภาคีเครือข่ายร่วมแสดงเจตจำนงในการสนับสนุนการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข                           - ภาครัฐ โดย ผู็ว่าราชการจังหวัดพัทลุง                           - ภาควิชาการ โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ และรองอิการบดีสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน                           - ภาคท้องถิ่น โดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง                           - เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ โดย เลขาธฺการ๕ณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ                           - เครือข่ายองค์กรชุมชน โดย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ภาคใต้                           - ภาคเอกชน โดย ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง                           - เครือข่ายภาคธุรกิจ โดย ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ๑๕.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. พิธีประกาศปฏิญญาความร่วมือเพื่อร่วมมือเพื่อสร้างพัทลุงมหานครแห่งความสุข

หมายเหตุ ๑ ขอความร่วมมือ ผู็เข้าร่วมงานนำปิ่นโตมาร่วมงานด้วย ตาม CONCEPT คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี             ๒ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม             ๓ พักรัประธานอาการว่างและเครื่องดื่ม                   - ช่วงเช้า เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๐.๑๕ น.                   - ช่วงบ่าย เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีกรรมการร่วมกิจกรรมจำนวน5คน ผลลัพธ์ ได้เรียนรู้การทำงานขับเคลื่อนพัทลุงภายใต้แผนงานการทำงานตามประเด็น8ประเด็น

 

5 0

11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่3

วันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1 ประสานคณะกรรมการ นำข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินงานแลกเปลี่ยนกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2 จัดประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงาน ร่วมคิด วิเคราะห์ มีปัญหาร่วมหาทางแก้ปัญหา และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 3 วางแผนการดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีกรรมการร่วมประชุมจำนวน9คน ผลลัพธ์ ได้วางแผนการทำงานตามโครงการ ได้สรุปปัญญาการทำงาน ได้รายงานการใช้เงินโครงการกับกรรมการ

 

10 0

12. กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่1

วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวที               2.ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการAREภายใช้การใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลลัพธ์               3.จัดกิจกรรมจำวนครั้ง2 ครั้งละ1วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชร่วมยาง พันธุ์พืชต่างๆ ในการปลูก และ แลกเปลี่ยนให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ที่สามารถหามาได้ในการปลูก และ มาแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ต่างๆให้แก่กัน

 

15 0

13. กิจกรรมหนุนเสริมการปลูก

วันที่ 30 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สมาชิกร่วมครงการปลูกพืชในแปลงพื้นที่ของตนเองตามแผนการปลูกและการออกแบบแปลง                             2.ปลูกชนิดพันธ์พืชที่สามารถหาได้ในชุมชนโยไม่ต้องรอกระบวนการเพาะชำก็ลงมือปลูกได้ตามความเหมาะสม                             3.แบ่งปันกล้าไม้ที่เพาะเลี้ยงในเรือนเพาะชำตามแผนการปลูก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พูดคุยเกี่ยวกับพืชร่วมยางแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปลูกพืชต่างๆ

 

30 0

14. . กิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและสารทดแทนสารเคมี

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสมาชิกแปลงใหญ่และเจ้าหน้าที่ 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต สมาชิกแปลงใหญ่และเจ้าหน้าที่ประชุมแบ่งหน้าที่กันปฏิบัติงาน จำนวน 30 คน
ผลลัพธ์ 1 สมาชิกได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักทดแทนสารเคมี 2 ได้รู้ถึงวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ถูกวิธี 3ได้นำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์กับพืชผักอย่างปลอดภัย 4สมาชิกได้ลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องซื้อปุ๋ยในราคาที่แพง

 

30 0

15. ประเมินผลเผื่อการเรียนรู็และพัฒนา AREร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ 1

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

8.30 -09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-09.30 น. กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์และนำเสนอวีดีทัศน์พื้นที่เด่น 09.30-12.00 น. แบ่งกลุ่ม ทบทวนผลลัพธ์รายประเด็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคียุทธศาสตร์                      กลุ่มที่ 1 ประเด็นน้ำเสีย                      ภาคียุทธศาสตร์  ทสจ.พัทลุง  เทศบาลเมืองพัทลุง                      กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการขยะ                      ภาคียุทธศาสตร์  ทสจ.พัทลุง  ท้องถิ่นจังหวัด  อบจ.                      กลุ่มที่ 3 ประเด็นนาปลอดภัย                      ภาคียุทธศาสตร์  เกษตรจังหวัดพัทลุง  พัฒนาที่ดิน  ศูนย์วิจัยข้าว                      กลุ่มที่ 4 ประเด็นพืชร่วมยาง                      ภาคียุทธศาสตร์  เกษตรจังหวัดพัทลุง  กยท. พัทลุง  สปก. พัฒนาที่ดิน  เกษตรและสหกรณ์ฯ                      กลุ่มที่ 5 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง                      ภาคียุทธศาสตร์  ทสจ.พัทลุง  ม.ทักษิณ  ประมงจังหวัดพัทลุง  ทช5  หน่วยเรือตรวจ  อบจ.พัทลุง 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน 13.00-14.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการในประเด็น                      - การจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์                      - การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน                      - การเชื่อมโยงการทำงานกับภาค๊                      -การจัดการด้านการเงิน 14.00-14.30 น. สรุปผลการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

...

 

3 0

16. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก ครั้งที่1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกแปลงใหญ่ จำนวน 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ประชุมสมาชิกแปลงใหญ่ จำนวน 30 คน ผลลัพธ์ 1 ได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมเยือนแปลงร่วมยาง 2 ได้เห็นผลผลิตของสมาชิกที่ปลูกพืชร่วมยาง 3 สมาชิกได้นำผลผลิตที่ปลูกออกจำหน่ายบางส่วนและได้นำมาทำอาหาร

 

30 0

17. กิจกรรมจัดทำเรือนเพาะชำ

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการและสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ได้เรือนเพาะชำ โดยสมาชิกจำนวน 30 คน
ผลลัพธ์ ได้แปลงเพาะชำที่สมบูรณ์

 

30 0

18. ประชุมคณะทำงานครั้งที่4

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนการทำงาน รายงานความก้าวหน้าโครงการ รายงานสถานะการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงาน และ รายงานความก้าวหน้าของโครงการและสถานะมางการเงิน

 

10 0

19. กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่1

วันที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คณะทำงานโครงการแบ่งความรับผิดชอบดูแลติดตามสมาชิกโดยแบ่งช่วงเวลาในการเยี่ยมเยียนติดตาม 2.เยี่ยมเยียนติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของสมาชิกตามหัวข้อที่กำหนดพร้อมให้คำแนะนำ 3.บันทึกผลการติดตามสมาชิกตามที่ออกแบบและกำหนด 4.นำผลการ่ยี่ยมเยียนติดตาม รายงานต่อการประชุมคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกได้ปลูกพืชร่วมยางที่สามารถทานได้ และมีผลผลิตที่สามารถเก็บได้แล้ว และเก็บผลผลิตมาแลกเปลี่ยนและขายตามท้องตลาด

 

7 0

20. กิจกรรมสร้างพื้นที่แบ่งปันผลผลิตในชุมชน

วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ใช้พื้นที่ สกย.เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตของสมาชิก                           2.สร้างการตลาดในพื้นที่ออนไลน์                           3.เน้นการจำหน่ายผลผลิตกับสมาชิก สกย.และคนในชุมชน                           4.ประสานความร่วมมือกับภาคี หน่วยงานราชการในการจำหน่ายผลผลิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยนพืชและผลผลิตต่างๆ และสร้างสื่อตลาดออนไลน์ เพื่อแรกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ

 

30 0

21. กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่2

วันที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการและคณะทำงาน ลงพื้นที่เยี่ยมเยือนแปลงของสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1 คณะกรรมการและคณะทำงาน ประชุมลงพื้นที่เยี่ยมเยือนแปลงสมาชิก
ผลลัพธ์ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากที่เยี่ยมครั้งที่ 1 พืชผักโตขึ้นกว่าเดิม 2 ได้เก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ 3 ไม้ยืนต้นเช่น ต้นหมาก เติบโตขึ้นเป็นระดับ 4 สมาชิกได้นำผลผลิตออกมาจำหน่ายทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

 

7 0

22. . กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกครั้งที่2

วันที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกประชุมร่วมกัน 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ประชุมสมาชิกแปลงใหญ่ จำนวน 30 คน
ผลลัพธ์ 1 ได้แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการเยี่ยมเยือนแปลงสมาชิก 2 ได้เห็นผลผลิตของสมาชิกที่ปลูกพืชร่วมยาง 3 สมาชิกได้นำผลผลิตที่ปลูกออกจำหน่ายบางส่วนและได้นำมาทำอาหาร

 

30 0

23. ประชุมคณะทำงานครั้งที่5

วันที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานเกี่ยวกับการประชุมร่วมระหวางกรรมกราร และ สกย กรรมการสวนยางแปลงใหญ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างกรรมการ สกย.และกรรมสวนยางแปลงใหญ่ 2 เดือนครั้ง
    2.เชิญตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมตามความเหมาะสม
  2. จัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดประชุมแบบสัญจรตามพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยกันออกแบบและเรียนรู้การสร้างรูปแบบการวางแผนการปลูกให้เหมาะสมตามความต้องการของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการและความเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่ร่วมโครงการ 4.ใช้เวลาในการประชุมครั้งละครึ่งวัน

 

10 0

24. . กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่2

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 15 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้รับผิดชอบโครงการกับคณะกรรมการและกรรมการและคณะทำงาน รวม 3 คน เข้าร่วมประชุม ผลลัพธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการำด้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับเชิญ -ทุกคนได้ความรู้จากการสรุปผลการดำเนินงานของแต่ละแห่งและนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาโครงการของตนเองได้ผลผลิตที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นไป -ได้รับทราบถึงข้อบกพร่องในการจัดทำรายงานของโครงการตนเองและนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาต่่อไป -ได้รู้ถึงการจัดทำงบทางการเงินที่ถูดต้อง

 

15 0

25. กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่3

วันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีคณะทำงานทั้งหมด 7 คน ร่วมเยี่ยมเยียนติดตามแปลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ได้เห็นพืชร่วมยางเติบโตกว่าครั้งก่อน ผลลัพธ์ พืชและผักเติบโตและสามารถเอาไปขายหรือแลกเปลี่ยนได้

 

7 0

26. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างกรรมการ สกย.และกรรมสวนยางแปลงใหญ่2เดือนครั้ง
                        2.เชิญตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมตามความเหมาะสม                         3. จัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดประชุมแบบสัญจรตามพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยกันออกแบบและเรียนรู้การสร้างรูปแบบการวางแผนการปลูกให้เหมาะสมตามความต้องการของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการและความเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่ร่วมโครงการ                         4.ใช้เวลาในการประชุมครั้งละครึ่งวัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เชิญชวนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และให้หน่วยงานแนะนำสิ่งต่างๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการว่าควรแก้ไขสิ่งใดบ้าง

 

10 0

27. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ

วันที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

10.00น. ลงทะเบียนพร้อมกันที่ สกย.บ้านโหล๊ะจันกระ 10.00-11.00น. นำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการ โดยประธานกลุ่มแปลงใหญ่ นำเสนอผลสำเร็จจากการทำพืชร่วมยาง ด้วยการบอกเล่าถึงลักษณะสวนที่เป็นแปลงที่เกิดจากการทำโครงการและนำพืชผักที่เป็นผลผลิตจากสวนยางพารามาให้วมาชิกคนอื่นได้เห็นผล และให้สมาชิกเล่าถึงสวนของตัวเองที่เห็นผลที่เปลี่ยนไปจากเดิมก่อนที่เข้าร่วมโครงการ 11.00-12.00น. พี่เลี้ยงโครงการนำเสนอผลการติดตามประเมินผลในภาพรวมโครงการให้ผู้ร่วมประชุมได้รับรู้ และให้ความรู้เรื่องการจัดการด้านอาหารที่ใช้สวนยางเป็นแหล่งผลิตอาหารให้ครัวเรือนและชุมชน 12.00-13.00น. ร่วมรับประทานอาหาร 13.00-14.30น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนผลผลิต โดยให้ผู้ร่วมกิจกรรมที่นำผลผลิตมาร่วมกิจกรรม เล่นเกมส์แล้วแลกผลิตกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีสมาชิกร่วมกิจกรรมจำนวน42คน มีพืชผักจากพืชร่วมยางมี่ปลอดภัยจากสารเคมีมาแสดงในกิจกรรมจำนวน23ชนิด ผลลัพธ์ สมาชิกได้เรียนรู้ผลสำเร็จของเพื่อนสมาชิก สมาชิกได้รับรู้ข้อมูลการติดตามประเมินผลโครงการ

 

50 0

28. ค่าบริการอินเตอร์เน็ต

วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ต

 

0 0

29. ประเมินผลเผื่อการเรียนรู็และพัฒนา AREร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

09.00 หน่วยจัดชี้แจงวัตถุประสงการจัดกิจกรรม 09.30  กิจกรรมสร้งความสัมพันธ์ 10.00  แบ่งกลุ่มตามประเด็นนำเสนอผลการทำงานจากแต่ละพื้นที่ 11.30  สรุปผลการคุยในกลุ่มย่อย 12.00  พักเที่ยง 13.00  แบ่งกลุ่มย่อ
14.30  สรุปผลกลุ่มย่อย 15.00  สรุปผลการจัดกิจกรรม ปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีคณะทำงานโครงการจำนวน3คนเข้าร่วมกิจกรรม ผลลัพธ์  ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ร่วมกัน และได้ฝึกทักษะการพูดคุยในที่ประชุม

 

3 0

30. สมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข หิ้วชั้นมาชันชี2

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ตามที่ส านักสร้างสรรค์โอกาส (ส านัก 6) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ได้สนับสนุนกระบวนการให้เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ท างานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพชุมชนในนาม
หน่วยจัดการที่มีจุดเน้นส าคัญทางยุทธศาสตร์ (Node flagship) จังหวัดพัทลุง เป็นผู้ด าเนินการหนุนเสริม กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
ซึ่งในส่วนของหน่วยจัดการระดับ flagship พัทลุงนั้นก าหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนงานสู่ “Phatthalung
Green City” ในการนี้หน่วยจัดการจังหวัดระดับ flagship พัทลุง ได้เชื่อมโยงการท างานกับภาคีทั้งในระดับพื้นที่
และระดับจังหวัด และร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จัดงาน สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข
ครั้งที่ 2 “คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี เพื่อก าหนดอนาคตตนเอง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน าเสนอการด าเนินงาน ของภาคีต่างๆ และเชื่อมโยงการด าเนินงานสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้จังหวัด พัฒนาเป็นมหานครแห่งความสุขของคนพัทลุง ดังนั้น เพื่อให้การด าเนินการของหน่วยจัดการที่มีจุดเน้นส าคัญทางยุทธศาสตร์ (Node flagship)
จังหวัดพัทลุง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์จึงขอเชิญท่านในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ
พร้อมด้วย คณะท างานอีก 2 ท่าน เข้าร่วมเรียนรู้ในงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 ในวันที่
15 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขต พัทลุง ทั้งนี้ขอความร่วมมือท่านน าปิ่นโตมาร่วมงานด้วนท่านละ 1 ปิ่นโต โดยทางผู้จัดงานรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายปิ่นโตละ 100 บาท ส าหรับค่าเดินทางเข้าร่วมงานสามารถเบิกจากได้จากงบประมาณโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมกิจกรรมจำนวน3คน ผลลัพธ์ ได้เรียนรู้การทำแผนการพัฒนาสู่การเป็นพัทลุงมหานครแห่งความสุข

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการสวนยางแปลงใหญ่กับสหกรณ์ชาวสวนยางที่สามารถชักชวนเกษตรกรมาร่วมดำเนินการและสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กยท.ได้ 2.มีสมาชิกกลุ่มที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่า30รายและมีพื้นที่ร่วมดำเนินการในโครงการไม่น้อยกว่ารายละ2ไร่ 3.มีกติกาของกลุ่มที่เกิดจากการมีส่วนร่วม
0.00 0.00

1.กรรมการที่ร่วมรับผิดชอบโครงการเป็นกรรมการที่เกิดจากกลไกของกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่เดิมและกรรมส่วนหนึ่งเป็นกรรมการของสกย.อยู่ด้วยจึงสามารถทำงานร่วมกับสกย.และกยท.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.มีข้อจำกัดเรื่องการรับสมัครเกษตรกรร่วมโครงการ ด้วยเหตุผลเงื่อนไขที่กำหนดจากระเบียบของกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ที่ระบุผู้ร่วมโครงการต้องมาจากการเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เท่านั้นส่งผลให้เกษตรกรรายอื่นที่สนใจขาดโอกานสในการเข้าร่วมโครงการ ทั้งนั้ทางกรรมการที่รับผิดชอบโครงการก็หาทางออกเพื่อให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสกย.ที่สนใจโครงการได้มีฮกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆและให้การหนุนเสริมตามความเหมาะสม

2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกพืชร่วมยาง 2.มีแผนการปลูกพืชร่วมยางรายแปลงที่เหมาะสมกับอายุยางและสภาพพื้นที่สวนยาง 3.มีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ย/สารทดแทนสารเคมีและนำไปใช้ในแปลง 4.มีแปลงต้นแบบของสมาชิกในพื้นที่โครงการ
0.00

1.การออกแบบและวางแผนการปลูกสมาชิกร่วมโครงการเน้นพืชที่ปลูกที่สามารถให้ผลผลิตในระยะสั้น เน้นพืชที่สามารถนำมาเป็นอาหารในครัวเรือนได้ ส่วนมากจะเป็นพืชที่เป็นพันธุกรรมที่มีอยู่ดั้งเดิมในชุมชนและคนในชุมชนนิยมนำมาเป็นอาหาร 2.แปลงที่เป็นแปลงต้นแบบทั้ง4แปลง มี3แปลงที่เป็นแปลงที่ดำเนินการมาก่อนโครงการจะสนับสนุนมีจำนวน1แปลงที่เป็นแปลงที่เริ่มใหม่จากการเข้าเรียนรู้กับโครงการ

3 เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1.มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มตามแผนและกติกาไม่น้อยกว่า3ครั้ง 2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า3ครั้ง 3.มีบทเรียนการปลูกพืชร่วมยางจากพื้นที่ดำเนินการโครงการ
0.00

 

4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
ตัวชี้วัด : 1.มีการปลูกพืชอาหารในพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกที่ร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า5ชนิด 2.มีพื้นที่ร่วมโครงการที่มีการปลูกพืชอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า60ไร่ 3.มีการลดปริมาณการใช้สารเคมีในสวนยางพาราที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ30
0.00

 

5 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้นและรายจ่ายในครัวเรือนลดลง
ตัวชี้วัด : 1.สมาชิกสามารถมีรายได้จากสวนยางพาราเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า1,000บาทต่อเดือน 2.รายจ่ายในครัวเรือนของสมาชิกลดลง 3.เกิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนอย่างน้อย 1จุด 4.มีการประสานความร่วมมือในการรับซื้อ จำหน่ายผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยกับหน่วยงานภาคราชการไม่น้อยกว่า 1หน่วยงาน
0.00

 

6 เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1.มีผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยจากสวนยางพารามาจำหน่ายในชุมชน
0.00

 

7 เพื่อให้มีการบริหารจัดการโครงการที่ดีและโปร่งใส
ตัวชี้วัด : 1.มีการร่วมประชุมกับหน่วยจัดการไม่น้อยกว่า3ครั้ง 2.มีการจัดทำรายการรับ/จ่ายเงินที่ตรวจสอบได้ 3.มีการรายงานผลการดำเนินงานที่เป็นเอกสารตามที่สสส.กำหนด
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม (2) เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา (3) เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (4) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา (5) เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้นและรายจ่ายในครัวเรือนลดลง (6) เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น (7) เพื่อให้มีการบริหารจัดการโครงการที่ดีและโปร่งใส

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (2) กิจกรรมปฐมนิเทศน์ (3) กิจกรรมทำป้าย (4) .เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์ (5) กิจกรรมศึกษาดูงาน (6) ประชุมคณะทำงานครั้งที่1 (7) .กิจกรรมเวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง (8) ประชุมคณะทำงานครั้งที่2 (9) . กิจกรรมออกแบบแปลงปลูกรายแปลง (10) สมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข (11) ประชุมคณะทำงานครั้งที่3 (12) กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่1 (13) กิจกรรมหนุนเสริมการปลูก (14) . กิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและสารทดแทนสารเคมี (15) ประเมินผลเผื่อการเรียนรู็และพัฒนา AREร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ 1 (16) กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก ครั้งที่1 (17) กิจกรรมจัดทำเรือนเพาะชำ (18) ประชุมคณะทำงานครั้งที่4 (19) กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่1 (20) กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่2 (21) กิจกรรมสร้างพื้นที่แบ่งปันผลผลิตในชุมชน (22) .  กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกครั้งที่2 (23) ประชุมคณะทำงานครั้งที่5 (24) .  กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่2 (25) กิจกรรมเยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก ครั้งที่3 (26) ประชุมคณะทำงานครั้งที่6 (27) กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ (28) ค่าบริการอินเตอร์เน็ต (29) ประเมินผลเผื่อการเรียนรู็และพัฒนา AREร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ (30) สมัชชพัทลุงมหานครแห่งความสุข หิ้วชั้นมาชันชี2

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00-0138-0025

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอนันต์ ปานป้อง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด