แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้าน 1 พ.ค. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการฯอย่างมีประสิทธิภาพ 1 พ.ค. 2565

 

 

 

 

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 10 พ.ค. 2565 10 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้สำรองจ่ายเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อเปิดบัญชีรับเงินสนับสนุนจาก สสส.

 

ทางโครงการย่อย ได้เปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้วและทำการเบิกจ่ายเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีคืน จำนวน 500 บาท

 

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน 15 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน บ้านชายคลอง 15 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

กิจกรรที่ 6 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง...ครั้งที่ 2 25 ก.พ. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรที่ 6 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง...ครั้งที่ 3 31 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการร่่วมกับหน่วยจัดการฯ "งานสมัชชาคนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2 ) 15 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 15 การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางหน่วยจัดการฯกำหนด (เวทีปฐมนิเทศผู้รับทุน) 9 พ.ค. 2565 9 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ/เลขานุการฯ/ผู้รับผิดชอบการเงิน ของบ้านชายคลองปากประ 3 คนเดินทางเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศผู้รับทุน ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง ได้เรียนรู้แนวทางในการบริหารจัดการโครงการดังนี้คือ 1. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่  Phattahlung  Green  City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดย นายเสณี  จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน Node Flagship จังหวัดพัทลุง 2. แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องโดย นายไพฑูรย์ ทองสม  ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 3. การจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Networkโดย นายอรุณ  ศรีสุวรรณ ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 4. ฝึกปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network  และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network
5. ความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ โดย นางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 6. การออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด
7. การลงนามสัญญาข้อรับทุน

 

ผลผลิต มีคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบการเงิน ผู้รับผิดชอบเอกสาร ผลลัพธ์  ผู้เข้าร่วมมีความรู้และเข้าใจสามารถกลับไปดำเนินงานในพื้นที่ได้ 1 ได้เรียนรู้หลักการดำเนินโครงการเชิงผลลัพธ์ 2 ได้เรียนรู้หลักจัดการบริหารโครงการ/การบริหารการเงิน 3 ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสาร และ การเขียนรายงานในระบบ 4 ได้เรียนรู้การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูวตัวชี้วัดผลลัพธ์โครงการ

 

ป้ายปลอดบุหรี่ ป้ายเล็ก 1 มิ.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565

 

จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่และแฮลกอฮอร์ เพื่อปิดไว้บริเวณสถานที่จัดกิจกรรมโครงการ จำนวน 1 ป้าย

 

ได้จัดทำป้ารณรงค์เขตปลอดบุหรี่และแฺฺฮลกอฮอร์ จำนวน 1 ป้าย

 

กิจกรรมที่ 1 เวทีประชุมหมู่บ้าน (เวทีเปิดโครงการ) 7 มิ.ย. 2565 7 มิ.ย. 2565

 

  1. ทำความเข้าใจสถานการณ์ของทะเลสาบสงขลา เลปากประโดยมีวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู  มาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 1.ประชุมคณะทำงานโครงการ  ตัวแทนครัวเรือนทำอาชีพประมง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแสดงความเห็นหาวิธีการที่จะฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนกลางทั้งพื้นที่เก่าและพื้นใหม่ 2.ตั้งคณะทำงาน  จำนวน 15 คน  จากทีมคณะผู้นำและตัวแทนครัวเรือนทำอาชีพประมง เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ พ.ค.65  ประชุมปจด.  งบ 50 คน

 

  1. กลุ่มเป้าหมายมีตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านเข้าร่วม จำนวน..... คน
  2. กระบวนการใช้ระดมสมองสถานการณ์ของเล/คลองปากคลองประ พบว่ามีสัตว์น้ำลดลง 70% โดยใช้เวลาย้อนหลังไป 10 ปี ปัจจุบันคงเหลือปริมาณสัตวว์น้ำประมาณ 30% เมื่อเทียบกับระยะเวลา 10 ปีที่แล้ว ปลาที่สูญหายไปได้แก่ปลาทก ปลาตุ่ม ปลาพรม ปลาดุกลำพันฯ ปลาที่ลดลงได้แก่ ปลาแหยง ปลาค้างโค่วฯ ซึ่งสรุปร่วมกันว่าถ้าหากคนในหมู่บ้านไม่ลงมือทำอะไรเพื่อฟื้นฟูเล ในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า คนบ้านชายคลองจะไม่มีสัตว์น้ำไว้บริโภคได้อย่างพอเพียง รวมถึงจะขาดรายได้หลักจากอาชีพประมงไปในที่สุด เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุพบข้อสำคัญดังนี้คือ 2.1 การเพิ่มขึ้นของคน ทำให้มีปริมาณความต้องการสูงขึ้น ในขณะที่สัตว์น้ำลดลง 2.2 การทำประมงล้างผลาญ โดยใช้เครื่องมือประมงผิดกฏหมาย โดยเฉพาะการใช้อวนจับปลาลูกเบร่ ซึ่งมีตาอวนเล็กมาก ทำให้ติดสัตว์น้ำวัยอ่อนชนิดอื่นๆมาด้วย เป็นเหตุสำคัญ 2.3 น้ำเสียจากต้นน้ำ ทั้งจากสารเคมีในการเกษตร การทำนาทำสวน น้ำเสียจากฟาร์ปศุสัตว์และจากชุมชน ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการบำบัดก่อนปล่อยทิ้งลงแหล่งน้ำสาธารณะ 2.4 การปล่อยสัตว์น้ำต่างถิ่นระบาดในเลสาบ เช่น ปลาบึก ปลานิล
      เมื่อผ่านการระดมสมองแล้วที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่าควรต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อร่วมกันฟื้นฟูเลหน้าบ้านบ้านชายคลอง และร่วมกันเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานตามแผน/โครงการ ว่าต้องทำอะไรบ้างอย่างไร
  3. มีการรับสมัครคณะทำงานของชุมชน เพื่อร่วมกันเป็นคณะทำงาน จำนวน 15 คน

 

กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้ดูงานการจัดการเลหน้าบ้าน ที่บ้านช่องฟืน ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 25 มิ.ย. 2565 25 มิ.ย. 2565

 

คณะทำงาน/ตัวแทนครัวเรือนประมง/ทีมสนับสนุนวิชาการ จำนวน  16 คน เดินทางโดยเหมารถตู้โดยสารและรถกระบะไปเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการเลหน้าบ้าน ณ บ้านช่องฟืน ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง กระบวนการ 1. ตัวแทนบ้านช่องฟืน บรรยาย ถึงสภาพทั่วไปของบ้านช่องฟืน 2. ลงเรือหางยาวที่เตรียมไว้จำนวน 2 ลำ เพื่อชมเลหน้าบ้านบ้านช่องฟืน โดยมีตัวแทนของบ้านช่องฟืน ทำหน้าที่บรรยายแนวทางการบริหารจัดการ เลหน้าบ้านช่องฟืน
- ที่มีเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ มีความยาวประมาณ 3 กม. กว้างออกไปในทะเล 1000 ม.  แบ่งเขตเป็น 250เมตร เป็นเขตปล่อยและอนุบาลพันธ์สัตว์น้ำ ห้ามทำการประมงทุกชนิด  เขตตั้งแต่ 250 ม.ถึง 500 ม. ห้ามใช้เครื่องมือ อวนล้อมทุ้งน้ำ  การถีบรูปลามิหลัง/วางยาเบื่อ และเครื่องมือที่มีเน้ืออวนต่ำกว่า 5 ซม.  เขตตั้งแต่ 500 ม.ไม่เกิน 1000 ม. ห้ามทำประมงผิดกฏหมาย - มีเสาปักเป้นแนวเขตอนุรักษ์ฯ มีป้ายประกาศแนวเขตชัดเจน  เสาป้ายใช้ท่อ พี.วี.ซี. หล่อปูนที่ก้นเสา และเจาะรูห่างๆเพื่อให้น้ำสามารถเข้าได้ เพื่อถ่วงน้ำหนัก เป็นเสาที่ใช้คงทนกว่าเสาที่ทำกับไม้ - มีบ้านปลาขนาด 4 คูณ 4 ม. จำนวน ......หลัง  เพื่อเป็นที่อนุบาลหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ  บ้านปลาใช้เสาไม้ปักเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ล้อมกิ่งไม้ปลายไม้  การตอกเสาบ้านปลาต้องตอกให้ลึกและแข็งแรงป้องกันการพังทลาย เพราะเลแถบนี้บางช่วงมีคลื่นและลมแรง - เลหน้าบ้านที่นี่จะมีลักษณะพิเศษจากที่อื่น คือมีแนวเขตที่ปักด้วยปลายไม้ จากแนวเขตแดนบนตลิ่งทอดยาวออกไปในทะเล  แสดงความเป็นเจ้าของเลหน้าบ้านในแนวเขตแต่ละแนว ซึ่งคนที่มีที่ดินติดทะเลจะมีเนื่้อที่เป็นสิทธ์ในการทำประมง  บุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตจะเข้ามาทำประมงในพื้นที่นี้ไม่ได้  สิทธิ์การทำประมงในแนวเขตนี้เป็นวิถีเดิมของชุมชนที่นี่  ที่สามารถตกทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานได้ ซื้อขายกันได้  แต่การทำประมงก็ต้องอยู่ภายใต้กติกาของเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน - เนื่องจากที่ตั้งของบ้านช่องฟืน อยู่บนเกาะหมาก  และอยู่ในตอนล่างสุดของเลสาบตอนกลาง  สภาพน้ำของที่นี่จะแตกต่างจากบ้านชายคลองฯ  โดยเฉพาะในฟดูแล้วเลบ้านช่องฟืนจะมีระดับความเค็บสูงกว่า  เพราะฉะนั้นจะมีพันธ์ ชนิดของสัตว์น้ำที่ต่างกัน เช่นที่นี่มีปลามิหลังและรูปลามิหลัง  ปลาขี้เกะ ปลาไม้จิ้มฟันจระเข้  มีปลาน้ำเค็มในบางฤดู ซึ่งชายคลองบ้านชายคลองไม่มี  เพราะฉะนั้นเครืองมือประมงบางชนิดจึงแตกต่างกัน  เช่นบ้านชายคลองใช้ไซยักษ์จับปลาลูกเบร่  แต่ที่ช่องฟืนไม่มียอยักษ์ เลย ช่องฟืนใช้ไซนั่ง แต่ชายคลองไม่มีไซนั่ง มีแต่ไซนอน และขนาดก็ต่างกัน - ปริมาณสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ฯและเขตเลหน้าบ้าน มีมากกว่านอกเขต ทำให้ชาวประมงที่นี่ มีรายได้พอเพียงต่อการใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง  ไม่ต้องออกจากบ้าน  ไปทำงานนอกพื้นที่

 

  1. มีคณะทำงาน/ตัวแทนครัวเรือนประมงของบ้านชายคลอง  เข้าร่วมเรียนรู้ ณ บ้านช่องฟืน จำนวน 15 คน
  2. กลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้เรียนรู้ถึงแนวทางการบริหารจัดการเลหน้าบ้านของ บ้านช่องฟืน มีความรู้ เข้าใจ ที่สามารถกลับไปปรับใช้ และร่วมกันดำเนินการในพื้นที่บ้านชายคลองได้

 

กิจกรรมที่ 6.1 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1 7 ก.ย. 2565 15 ก.ย. 2565

 

1.ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 3.กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง 4.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันผลการดำเนินงานโครงการสู่การบูรณาการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง มิ.ย-เม.ย.66 ครั้งละ 15 คน

 

มีกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน โดย มีการวางแผนเพิ่มเติม ในการดำเนินงานครั้งต่อไป

 

กิจกรรมที่ 7.1 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง (ARE) ครั้งที่ 1 27 ก.ย. 2565 27 ก.ย. 2565

 

คณะทำงานฯได้ประสานกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แกนนำชุมชน  ประมงอาสา  ตัวแทนครัวเรือนประมง  จำนวน 20 คน เข้าร่วม  โดยเตรียมบันไดผลลัพท์มาเป็นเครื่องมือในการร่วมกันให้ความเห็น ไล่ไปทีละบันไดทีละขั้น พร้อมทั้งค้นหาจุดอ่อนการไม่บรรลุผลลัพท์และแนวทางแก้ไขไปพร้อมกัน

 

ผลผลิต มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แกนนำชุมชน ประมงอาสา ตัวแทนครัวเรือนประมง จำนวน 20 คน เข้าร่วม ผลลัพท์ 1. บันไดผลลัพท์ ขั้นแรก มีกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้าน กิจกรรมแรกได้จัดเวทีเปิดโครงการและทบทวนสถานการณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำไปแล้ว โดยสรุปมีสัตว์น้ำลดลงถึง 70% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งถ้าชุมชนไม่ลุกขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูเลหน้าบ้าน อีกประมาณ 10 ปี จะมีสัตว์น้ำไม่เพียงพอต่อการบริโภคและขาย มองในแง่ของความตระหนัก คนในชุมชนส่วนใหญ่ มีความตระหนักในปัญหานี้และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการฟื้นฟู ส่วนกิจกรรมที่สองการจัดเก็บข้อมูลฯยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ เนื่องจากได้ข้อมูลมาไม่ครบถ้วน ถ้านำมาใช้ก็จะไม่ครอบคลุมเนื้อหา โดยเฉพาะเรื่องรายได้จากการทำประมง ซึ่งจำเป็นต้องเอามาเปรียบเทียบกัน เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ซึ่งถ้าข้อมูลไม่มีก็จะจัดกิจกรรมที่ 3คือเวทีคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนไม่ได้
โดยสรุปยังมีผลลัพท์ในบันไดขั้นแรกที่ไม่ครบถ้วน แนวทางแก้ไข คือทางคณะทำงานต้องเร่งทำความเข้าใจกับทีมเก็บข้อมูลและแบ่งกันเก็บเพื่อที่จะนำมาใช้คืนข้อมูลและเปรียบเทียบอย่างเร่งด่วนที่สุด จึงจะผ่านบันไดฯขั้นแรก 2. บันไดผลลัพท์ขั้นที่สอง มีกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน มี คณะทำงาน 15 คน และประมงอาสา 10 คน ส่วนการทบทวนกติกาหมู่บ้าน ได้มีการวางกติกาในการห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิด ในเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ หากพบว่ามีการละเมิด ครั้งแรกจะว่ากล่าวตักเตือน ครั้งต่อไปจะดำเนินการตามกฏหมาย ส่วนการทบทวนบทบาทของประมงอาสา ได้เห็นร่วมกันว่า เบื้องต้นควรทำหน้าที่ดูแลการลักลอบเข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ ซึ่งห้ามทำประมงทุกชนิด ดูแลเขตเสาหลักเขตอนุรักษ์ รวมถึงดูแลซ๋อมแซมหากมีการถูกทำลายหรือชำรุด จัดทำป้ายกติกาเพื่อสื่อสารให้คนในชุมชน ร่วมกันทำบ้านปลา และคอยช่วยเหลือกันเมื่อมีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ส่วนแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนยังไม่มีการระบุไว้ ในส่วนของการประชุมคณะทำงานทุกเดือนยังไม่เป็นวาระที่ชัดเจน มีเพียงการประชุมกลุ่มย่อยอย่างไม่เป็นทางการ ในการเตรียมการจัดกิจกรรม สรุป ยังผ่านบันไดขั้นที่ 2 มีส่วนที่ต้องปรับปรุงคือ การกำหนดบทบาทและโครงสร้างการแบ่งหน้าที่ของทีมประมงอาสา ให้ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร มีประกาศไว้ในที่สาธารณะที่ทุกคนในหมู่บ้านทราบโดยทั่วกัน มีการทำป้ายกติกาการทำประมงเพื่อประกาศต่อสาธารณะให้ชัดเจน มีแผนการทำงานของประมงอาสาที่ระบุถึงกิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ ครอบคลุมทั้งปีทุกฤดูกาล 3. บันไดผลลัพท์ขั้นที่ 3 มีการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน บ้านชายคลอง มีการขยายเขตอนุรักษ์ กว้างและยางกว่าเดิมออกไป ประมาณ 100 เมตร มีการทำบ้านปลา จำนวน 10 หลัง มีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ในเขตอนุรักษ์ฯไปแล้ว 1 ครั้ง คงเหลือกิจกรรม การติดตั้งป้ายกติกาฯและป้ายแสดงเขตฯ เท่านั้น ก็จะผ่านบันไดขั้นนี้ ผลสุปในภาพรวม จะเห็นว่า มีการทำกิจกรรมไปแล้วทั้ง 3 ขั้นบันได โดยเฉพาะในการปรับสภาพแวดล้อม ยังขาดเพียง ติดป้ายก็จะผ่านผลลัพท์ในบันไดขั้นที่สาม ทำให้เห็นว่า พื้นที่นี้ทำงานอย่างไม่เป็นกระบวน สามารถรวมคนมาทำกิจกรรมสำคัญได้แต่การจัดการกลไก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคณะทำงาน และทีมประมงอาสา รวมถึงการทำงานที่ต้องมีการหารือกันเป็นประจำ และได้กำหนดในแผน/โครงการไว้แล้ว แสดงถึงการทำงานที่ไม่ยึดเอากิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ในโครงการ ในวาระต่อไปต้องทำงานโดยยึดตามแผนงานและระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นหลัก พร้อมทั้งเก็บตกกิจจกรรมที่คงค้างในแต่ละขั้นบันได ก็คาดว่าจะสามารถถึงผลลัพท์สำคัญที่กำหนดไว้ของชุมชน

 

ค่าจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ 9 ต.ค. 2565 30 เม.ย. 2566

 

จัดเก็บข้อมูล รูปภาพ และรายงานผลในเว็บไซต์

 

รายงานผลผลกรดำเนินแต่ละกิจกรรม

 

กิจกรรมที่ 13 จัดตั้งเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 10 ต.ค. 2565 10 ต.ค. 2565

 

ในการประชุมเวทีเปิดโครงการฯ  ผู้ใหญ่บ้าน นายผัด  ไล่สาม  ได้ทบทวนข้อตกลงเรื่องเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ว่า เดิมเคยกำหนดให้ศาลาที่ประชุมหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดฯมาหลายปีแล้วแต่ยังไม่เคร่งครัดเท่าที่ควร  เมื่อเข้าร่วมโครงการกับสสส.ซึ่งมีเงื่อนไขว่า ต้องจัดให้มีพื้นที่ปลอดฯ  จึงขอความเห็นจากที่ประชุมซึ่งต้องถือปฏิบัติร่วมกันของผู้ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมในศาลาหมู่บ้าน  ที่ประชุมลงมติให้พื้นที่ศาลาที่ประชุมหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดฯ โดยมีป้ายแสดงไว้อย่างชัดเจน

 

ที่ประชุมมีมติให้พื้นที่ศาลาที่ประชุมหมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดฯ โดยมีป้ายแสดงไว้อย่างชัดเจน

 

เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 1 10 พ.ย. 2565 26 พ.ย. 2565

 

ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อสรุปและทบทวนการดำเนินกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมทั้งกำหนดวางแผนการดำเนินการกิจกรรมครั้งต่อไป

 

คณะทำงานเข้าร่วมการประชุม ณ ลำปำรีสอร์ต โดยกิจกรรมทบทวนข้อมูลทำให้เห็นความเชื่องโยงในแต่ละขั้นบันไดผลลัพธ์ เห็นช่องว่างของโครงการ และนำมาปรับใช้ในการวางแผนดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปของโครงการ

 

กิจกรรมที่ 6.2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2 15 พ.ค. 2566 5 พ.ย. 2565

 

1.ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
3.กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง 4. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันผลการดำเนินงานโครงการสู่การบูรณาการเชื่อโยงยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง

 

มีการจัดการประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมพูดคุย ทบทวนและติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมาและร่วมกันวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันผลการดำเนินงานของโครงการ

 

เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2 30 พ.ค. 2566 15 เม.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อสรุปและทบทวนการดำเนินกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ที่ผ่านมา

 

คณะทำงานเข้าร่วมการประชุม ณ สำนักงานการยางแห่งประเทศไทย การยางบางแก้ว โดยกิจกรรมอาหารปลอดภัยและการจัดการทรัพยากร

 

กิจกรรมที่ 2 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลา 10 มิ.ย. 2566 10 พ.ย. 2565

 

1.จัดเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง5ปี 2.ใช้แบบสอบถามในการหาข้อมูล 3.แบ่งทีมรับผิดชอบในการทำแบบสอบถาม และมีช่องเวลาที่ชัดเจนในการนัดสรุปงานแต่ละครั้งและนำข้อมูลที่สรุปได้ไปนำเสนอเวทีประชุมสมาคมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสมบูรณ์มากที่สุด

 

มีการดำเนินการเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามในการหาข้อมูลและได้ชุดข้อมูลชนิดพันธุ์ปลา จำนวน 50 ชุด

 

กิจกรรมที่ 3 เวทีคืนข้อมูลชุมชน 30 มิ.ย. 2566 15 ธ.ค. 2565

 

1.นำเสนอสถานการณ์/ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเล/ปากคลองปากประ ย้อนหลัง 5 ปี 2.จัดทำฐานข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลปากคลองปากประ

 

มีการดำเนินการเริ่มกันประเมินปริมาณสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ และจัดทำฐานข้อมูลชนิดพันธุ์ปลา

 

กิจกรรมที่ 6.3 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3 15 ก.ค. 2566 5 ธ.ค. 2565

 

1.ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง 2.ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 3.กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง 4.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันนผลการดำเนินงานโครงการสู่การบูรณาการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์

 

คณะทำงานร่วมกันทบทวนและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ครั้งที่3 เพื่อกำหนดทิศทางวางแผนการทำงานและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแต่ละกิจกรรมต่อไป

 

กิจกรรมที่ 6.4 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4 25 ก.ค. 2566 5 ม.ค. 2566

 

1.ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง 2.ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 3.กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง 4.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันนผลการดำเนินงานโครงการสู่การบูรณาการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์

 

คณะทำงานร่วมกันประชุม เพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

กิจกรรมที่ 14 จัดทำบ้านปลา 10 จุด 6 ส.ค. 2566 6 ส.ค. 2566

 

  1. คณะทำงานฯ เตรียมการก่อนการจัดกิจกรรมโดยการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำบ้านปลา เช่น เสาไม้ไผ่ เชือก ลวด  ประสานทีมงาน/ประมงอาสา จำนวน 15 คน เข้าร่วมกิจกรรม  ประสานเรือหางยาวจำนวน 5 ลำ  ประสานผู้ทำอาหาร ประสานงานสวนพฤกศาสตร์ฯ
  2. จัดทำบ้านปลา ในเวลา 7.30 น. โดย คณะทำงาน แบ่งกันโดยสารเรือหางยาว แบ่งกันบรรทุกวัสดุอุปกรณ์ในการทำบ้านปลา และแบ่งหน้าที่ให้เรือบางลำออกไปเตรียมหากิ่งไม้ปลายไม้ที่ทอดยาวระน้ำอยู่ ซึ่งจะถูกคลื่นซัดจนหักในช่วงมรสุมที่จะถึงนี้  ในบริเวณริมฝั่ง เพื่อเตรียมขนมาใส่ในคอกไม้ไผ่ ที่ทีมงานอีกส่วน ได้ลงหลักปักเสาไม้ไผ่ ความกว้าง/ยาวประมาณ 4 เมตรกั้นเป็นคอกไว้ จำนวน 10 หลัง กระจายอยู่ในพื้นที่ ยาวประมาณ 500 เมตร กว้างลึกไปในเลสาบ ประมาณ 250 เมตร  หลังจากกั้นคอกไม้ไผ่แล้วเสร็จทั้ง 10 คอกแล้ว เรือทุกลำก็ ช่วยกันขนกิ่งไม้ปลายไม้ไปใส่ในคอกที่ล้อมไว้จนเต็มทุกหลัง  พร้อมทั้งตรวจความเรียบร้อยมั่นคงของคอก  จนมั่นใจ  ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการทำบ้านปลาครบทั้ง 10 หลัง  ในเวลาประมาณ 15.00 น.

 

  1. มีบ้านปลาขนาด 4 คูณ 4 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์สัตย์น้ำวัยอ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำ ในเขตอนุรักษ์ฯ  จำนวน 10 หลัง

 

กิจกรรมที่ 5 เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตฯ 7 ส.ค. 2566 30 พ.ย. 2565

 

1.ร่วมกันทบทวน ปรับปรุงกฎกติกาของชุมชน ในการจัดการเขตอนุรักษ์และการทำประมงของหมู่บ้าน/ข้อตกลงในการดูแลเขตอนุรักษ์ 2.จัดทำแผนการทำงานของประมงอาสา

 

มีการร่วมกันทบทวนกติกาของชุมชนและวางแผนการทำงานของประมงอาสา

 

กิจกรรมที่ 6.5 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5 10 ส.ค. 2566 5 ก.พ. 2566

 

1.ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้อง 2.ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 3.กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง 4.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันนผลการดำเนินงานโครงการสู่การบูรณาการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์

 

คณะทำงานร่วมกันประชุม เพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

กิจกรรมที่ 9 ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่ 15 ส.ค. 2566 15 ม.ค. 2566

 

ประมงอาสาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เผยแพร่กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์ของแต่ละพื้นที่

 

มีการจัดทำและติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์เผยแพร่กติกาข้อตกลง

 

กิจกรรมที่ 6.6 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6 17 ส.ค. 2566 5 มี.ค. 2566

 

1.ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.ทบทวน/ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 3.กำหนดทิศทางวางแผนการทำงานในแต่ละช่วงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลักดันผลการดำเนินงานโครงการ

 

คณะทำงานร่วมกันประชุม เพื่อทบทวนและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

กิจกรรมที่ 10 ซ่อมแซมปรับปรุงและขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ 21 ส.ค. 2566 15 พ.ย. 2565

 

จัดทำ ซ่อมแซม ปรับปรุง โดยการปักหลักเขตและแนวเขตในพื้นที่ใหม่ และบำรุงดูแลรักษาป้ายแนวเขตอย่างต่อเนื่อง

 

แกนนำชุมชนได้ร่วมกันซ่อมแซม ปรับปรุง โดยการปักหลักเขตและแนวเขตในพื้นที่ใหม่

 

กิจกรรมที่ 11 ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 29 ส.ค. 2566 15 มี.ค. 2566

 

1.ประมงอาสาร่วมกับชาวประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลหน้าบ้าน 2.คณะทำงานจัดทีมติดตามสังเกตอัตราการรอดของสัตว์น้ำที่ปล่อย โดยการถ่ายภาพสัตว์น้ำหลังปล่อยประมาณ3-4 เดือน 3.เก็บข้อมูลปริมาณและชนิดที่จับสัตว์น้ำได้บริเวณที่ปล่อยและพื้นที่ใกล้เคียง

 

ประมงอาสา ชาวบ้านร่วมกันปล่อยสัตว์น้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันปล่อยสัตว์น้ำ บริเวณบ้านปลาของชุมชนบ้านชายคลอง ณ สวนพฤษศาสตร์พัทลุง

 

กิจกรรมที่ 8 เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำหลัง การมีเขตฯ 30 ส.ค. 2566 25 มี.ค. 2566

 

1.จัดเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือ และรายได้จากการจับสัตว์น้ำระยะปลายของโครงการเพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง 2.ใช้แบบสอบถามในการหาข้อมูล 3.แบ่งทีมรับผิดชอบในการทำแบบสอบถาม และมีช่วงเวลาที่ชัดเจนในการนัดสรุปงาน

 

คณะทำงานลงพื้นที่บ้านปลาเพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงของชนิดพันธุ์ปลาหลังมีเขต และดำเนินการนัดสรุปงานกับชาวบ้านและคณะทำงาน

 

กิจกรรมที่ 12 เวทีปิดโครงการ 31 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566

 

1.จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการด้วนการจัดนิทรรศการนำเสนอผลการทำงานที่เป็นผลผลิตจากการทำกิจกรรมในการฟื้นฟูทะเลสาบ 2.จัดวงเสวนาโดยเชิญภาคีท้องถิ่นและท้องที่รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหาแนวทางในการฟื้นฟูทะเลสาบ 3.นำข้อเสนอแนะจากการทำงานมาวางแผนการทำงานของกลไกการขับเคลื่อนที่จะยกระดับการทำงานเชื่อมนโยบายสู่การขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ฯ

 

คณะทำงาน ชาวบ้าน และหน่วยงาน ณ ท้องที่ ร่วมกันเสวนาเกี่ยวกับแนวทางในการฟื้นฟูทะเลสาบ จากผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น รวมถึงการวางแผนที่จะฟื้นฟูทะเลสาบต่อไป