stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นเล ฟื้นคลอง ที่บ้านชายคลองพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0026
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 103,075.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะทำงานฟื้นเลฟื้นคลอง ม.4 บ้านชายคลอง ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายผัด ไล่สาม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 064-9017924
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสณี จ่าวิสูตร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 41,230.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 51,538.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 10,307.00
รวมงบประมาณ 103,075.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 คนในชุมชนยังมีความตระหนักในการดูแลและรักษาเลหน้าบ้านในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อการฟื้นเลให้มีความสมบูรณ์ขึ้นได้ ต้องสร้างการเรียนรู้ในการรักษาทะเล ภายใต้บันไดผลลัพธ์และตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
5.00
2 กลไกการทำงานในการรักษาทะเลทำงานไม่ต่อเนื่อง จากการขับเคลื่อนการทำงานที่ผ่านมานับว่าประสบผลสำเร็จในตัวกลไกคือประมงอาสา ที่ทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดุแลเขตฯ 15 คน จึงมีความจำเป็นสำคัญของการจัดหาตัวประมงอาสาและทบทวนบทบาทหน้าที่รูปแบบและระบบการทำงานที่ลงตัวสา
5.00
3 มีคณะทำงานของชุมชนที่รับผิดชอบในการดูแลเลหน้าบ้านอยู่แล้ว แต่ยังอยู่ในส่วนของผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยฯ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และยังขาดการมีส่วนร่วมจากคนกลุ่มอื่นโดยเฉพาะกลุ่มที่ีอาชีพในการทำประมง
6.00
4 กิจกรรมในการฟื้นฟูเลที่ดำเนินการอยู่ยังไม่สามารถสร้างความสมบูรณ์ได้อย่างชัดเจน ต้องมีกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งทางการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆให้เอื้อต่อการฟื้นเลอย่างรอบด้าน
6.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. บ้านชายคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปากน้ำคลองปากประ มีอาณาเขตทิศเหนือจด ม.13 และวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง (พนางตุง) ทิศตะวันออกจดสวนพฤกษศาสตร์พนางตุง และทะเลหลวง ทิศตะวันตก จด ม.5 บ้านท่าช้าง ทิศใต้จดคลองปากประและ บ้านปากประ ม.11 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุ สลับกับบ้านเรือนยกสูงเกาะตัวตามถนนสายลำปำ-ทะเลน้อย ที่เลียบไปกับคลองปากประ มีประชากรรวม 529 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 311 คน เพศชายจำนวน 218 คน มีครัวเรือนรวม 158 ครัวเรือน นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีความเชื่อในวิถีคนใต้ เช่นทวดตาขุนดำ สารทเดือนสิบ ชักพระทางเรือฯ การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทำนาทำได้ฤดูกาลเดียว เป็นนาปี มีเนื้อที่ประมาณ 200ไร่ ปลูกผัก พริก สวนปาล์ม  อาชีพประกอบการท่องเที่ยว มีผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว 45 ลำ มีจุดชมวิวยอยักษ์ มีจุดชมวิวต้นลำพู แหล่งนาริมเล และแหล่งท่องเที่ยวรอบทะเลน้อย ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงในลำดับต้นๆของจังหวัดพัทลุง มีผู้ประกอบการที่พัก โรงแรม และรีสอร์ท ที่เป็นของเอกชนหลายแห่งด้านทิศเหนือ และมีธุรกิจโฮมสเตย์ ที่เป็นของคนในท้องถิ่นกระจายตัวกันอยู่หลายแห่งริมคลอง เป็นแหล่งที่มาของรายได้สำคัญของคนในชุมชน     อาชีพประมง มีจำนวน 42 ครัวเรือน มีเรือหางยาวทำประมงจำนวน 50 ลำ  ใช้วิธีวางกัด(ตาข่าย/อวน) ยอยัก ยอลูกเบร่ ไซ แห ทำซั้งลูกแหยง เบ็ดราว มีสัตว์น้ำที่จับได้ตลอดปี และจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงน้ำหลาก (ตุลาคม-มกราคมของทุกปี) ได้แก่ กุ้งแม่น้ำ(กุ้งก้ามกราม/แม่กุ้ง) ปลาแหยง ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม้ง ปลานิล ปลามิหลัง ปลากด ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาลูกขาว ปลาสวาย ปลาบึก ปลากะพง  โดยเฉพาะปลาลูกเบร่และปลาบึก (ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่นที่นำมาปล่อยให้อาศัยอยู่ในเลสาบฯ และสามารถเติบโตได้ถึง 200 กิโลกรัม) เป็นปลาที่สามารถจับได้เฉพาะในแถบปากน้ำและในคลองปากประเท่านั้น จะไม่พบในปากคลองอื่นที่ไหลลงทะเลสาบฯฝั่งตะวันตก ซึ่งนับว่าพื้นที่นี้มีความพิเศษที่ไม่เหมือนปากน้ำอื่นรอบทะเลสาบนี้ สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่นอกเหนือจากใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ส่วนที่เหลือจะขายในชุมชนหรือขายส่งแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือโรงแรม/รีสอร์ท ในพื้นที่ ถือเป็นเมนูอาหารประจำถิ่นที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงของถิ่นนี้ สภาพปัญหา
    ในระยะประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาชาวประมงในพื้นที่นี้พบว่า ชนิด และปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ มีจำนวนลดลง และบางชนิดลดลงมากจนอยู่ในเกณฑ์น่ากังวล มีการร่วมกันสรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่
    ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ น้ำปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีการเกษตร น้ำเสียจากชุมชนขนาดใหญ่ จากฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งปล่อยมาจากต้นน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่าแนะลงสู่ทะเลสาบฯ ส่งผลให้คุณภาพของน้ำเสื่อมลงไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของสัตว์น้ำมากขึ้นเรื่อยๆ
    ปัจจัยภายในของชุมชน  การทำประมงด้วยอุปกรณ์ผิดกฎหมายเป็นประเด็นสำคัญที่สุด โดยเฉพาะการใช้อวนล้อมลูกเบร่ (เนื้ออวนตาข่ายตากข้าวสีฟ้า) ทำให้ติดลูกปลาอื่นวัยอ่อนมาด้วย  ส่งผลให้ปริมาณปลาอื่นในทะเลแถบนี้ มีจำนวนลดน้อยลง การแก้ไขปัญหานี้ที่ผ่านมา เคยมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาร่วมกันระหว่างชาวประมงในพื้นที่และหน่วยงานภาคีราชการที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของประมงจังหวัดพัทลุง ได้ประกาศห้ามการจับสัตว์น้ำทุกชนิดในช่วงฤดูปลาวางไข่และผสมพันธ์ ในช่วง เดือนตุลาคม – มกราคม ของทุกปี ซึ่งช่วงนี้ตรงกับช่วงน้ำหลาก และเป็นช่วงที่ปลาหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ จะเข้ามาในลำคลองเพื่อผสมพันธ์และวางไข่ในบริเวณต้นน้ำ ซึ่งจะมีจำนวนมากในรอบปี และเป็นช่วงที่สำคัญต่อการแพร่พันธ์และขยายพันธ์ การจับในฤดูนี้จะส่งผลต่อปริมาณของปลาตลอดทั้งปี ถ้ามีการจับในช่วงนี้มาก จำนวนปลาที่จะจับได้ตลอดทั้งปีจะลดน้อยลง แต่สำหรับชาวประมง ช่วงระยะเวลานี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างรายได้ จึงมีการจับปลาในฤดูนี้อยู่เป็นปกติ นับเป็นความขัดแย้งที่ยังแก้ไขไม่ได้และส่งผลกระทบจนถึงปัจจุบัน     ในส่วนของบ้านชายคลองเองมีการดำเนินการในการจัดการ “เลหน้าบ้าน”อยู่แล้วบางส่วน มีเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ กว้างจากตลิ่งช่วงหน้าสวนพฤกษศาสตร์พนางตุงประมาณ 120-150 เมตร ยาว 800 เมตร มีกติกาห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิดในเขตอนุรักษ์ฯ หากผู้ใดละเมิดถูกจับได้มีโทษปรับ 1 พันบาทในครั้งแรก และครั้งต่อไปจะริบเครื่องเรือ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยพบว่ามีการละเมิดมากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเรือประมงต่างถิ่นเข้ามาหากิน ในประเด็นนี้ มีการสรุปบทเรียนกันว่าการมีเขตอนุรักษ์ฯ สามารถทำให้สัตว์น้ำสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธ์ได้ แต่ยังขาดการเฝ้าระวังผู้ลักลอบเข้ามาจับสัตว์น้ำในเขต และขาดการบันทึกข้อมูลการเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำ ทำให้คนยังไม่มีความเชือถือและเห็นความสำคัญเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังมีการสร้างปลา อีก 5 จุด เพื่อเป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งก็มีสรุปบทเรียนเดียวกันกับเขตอนุรักษ์ฯ ในส่วนของการบังคับใช้กติกา เนื่องจากการเฝ้าระวังยังไม่มีกลไกรับผิดชอบอย่างชัดเจน จึงยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ของชุมชน

    ในภาพรวม จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในพื้นที่รอบเลสาบ ที่ประกอบอาชีพประมงอาศัยฐานทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นอาชีพและรายได้หลักในการดำรงชีวิตถึงจำนวน 1,800-2,000 ครัวเรือน ส่งผลให้สัตว์น้ำลดปริมาณลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมาจากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของการใช้เครื่องมือประมงที่ทันสมัยและมีความหลากหลาย รวมถึงการทำประมงที่ผิดกฎหมายทำลายล้าง เช่นการใช้ตาอวนขนาดเล็ก กอรปกับระบบนิเวศน์มีการเปลี่ยนแปลงจากโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การปิดปากระวะ การสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาส่งผลสำคัญต่อการเปลี่ยนทิศทางไหลเวียนเดิมของสายน้ำที่ส่งผลทำให้เปลี่ยนแปลงทิศทางการเข้าออกของน้ำส่งผลต่อการเข้าออกของปลาที่มาวางไข่และเจริญเติบโตจากอ่าวไทยสู่ทะเลสาบ นอกจากนี้การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือครัวเรือนในชุมชนส่งผลให้ทะเลสาบมีความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดถึงการขุดลอกปิดกั้นหรือการเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำจากป่าต้นน้ำถึงทะเลสาบทั้ง 7 สายในพื้นที่พัทลุง ถูกทำลายการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนิเวศน์ทะเลสาบทั้งระบบ ทำให้สัตว์น้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร “หม้อข้าวหม้อแกง” ของชาวประมงรอบทะเลสาบ มีจำนวนลดลงเหลือเพียง 420 ชนิดเท่านั้น (ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา 2560) อย่างไรก็ตามหากทะเลสาบไม่ได้มีการวางแผนในการแก้ปัญหาและฟื้นฟูที่เป็นระบบอย่างจริงจังจะส่งผลให้ชุมชนชาวประมงต้องเปลี่ยนอาชีพและเกิดการล่มสลายของชุมชนในที่สุด 1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและผลที่เกิดขึ้น (รูปแบบช่องฟืนโมเดล) ภายใต้ความเชื่อมั่นว่า “ทะเลสาบคือหม้อข้าวหม้อแกง” ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแก้วิกฤติให้สามารถจับสัตว์น้ำทำการประมงเหมือนในอดีตได้ แต่ก็มีชาวประมงบางส่วนที่ไม่ยอมจำนนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ยังมีชุมชนที่มีแกนนำร่วมกับสมาชิกในชุมชนพยายามร่วมคิดออกแบบหาทางออกในการแก้ไขต่อสู้ด้วยการคิดออกแบบลองผิดลองถูกในหลากหลายวิธีการฟื้นฟูให้มีสัตว์น้ำโดยใช้พลังการรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนมาพูดคุยในการร่วมคิดวางแผนด้วยการทำกิจกรรมในรูปแบบการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ของชุมชน เพื่อรวมคนมาพูดคุยแก้ปัญหาเรื่องทะเล เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มน้ำยาง กลุ่มแปรรูป กลุ่มประมงอาสา กลุ่มเยาวชน ฯลฯ จนมีการทดลองทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชนกติกาข้อตกลงที่ชุมชนยอมรับและร่วมปฏิบัติกันและมีประมงอาสาคอยทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขต ชุมชนดังกล่าวคือชุมชนบ้านช่องฟืน หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งได้ดำเนินการในการแก้ปัญหาและร่วมฟื้นฟูทะเลสาบจนเห็นความเปลี่ยนแปลง มีรูปธรรมชัดเจนทั้งชนิดและปริมาณของสัตว์น้ำ สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นจาก 150 -300 บาทต่อวัน ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยวันละ 500 – 1,200 บาท และเกิดการต่อยอดการทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โรงแปรรูปสัตว์น้ำที่ชุมชนลงหุ้นในการทำธุรกิจซื้อขายปลาเพื่อเรียนรู้การทำธุรกิจที่เชื่อมโยงดูแลสิ่งแวดล้อมมีมาตรฐานสินค้าที่เน้นอาหารปลอดภัยและเป็นธรรมกับผู้บริโภคในแบรนด์ “ร้านคนจับปลาทะเลสาบ” นอกจากนั้นเกิดกลุ่มกิจกรรมที่สร้างพลังชุมชนจำนวน 11 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเป้าหมายเดียวกันคือการมีทุนที่มาจากการปันผลกำไรจากสมาชิกร่วมฟื้นฟูทะเลสาบ ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของการดูแลทะเลสาบ โดยมีสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นองค์กรนิติบุคคลช่วยประสานกับภาคีองค์กรต่างๆ ในการทำงาน จนทำให้เกิดการยอมรับจากชุมชนใกล้เคียงและภาคีต่างๆ ตลอดถึงสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกพื้นที่ และได้มีการพัฒนายกระดับชุมชนช่องฟืนเป็นพื้นที่ต้นแบบหรือแหล่งเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนบนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าชุมชนบ้านช่องฟืนจะประสบผลสำเร็จในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำด้วยการทำเขตอนุรักษ์ที่มาจากการรวมกลุ่มการมีส่วนร่วมที่หลากหลายจนคนในชุมชนมีรายได้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ทางหน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพัทลุง(Node Flagship) สน.6 สสส. จึงผลักดันโดยใช้รูปแบบช่องฟืนขยายผลไปยังชุมชนประมงใกล้เคียงริมทะเลสาบของพื้นที่พัทลุงและต้องการผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลสาบพัทลุงเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลอย่างยั่งยืนโดยใช้รูปแบบ “ช่องฟืนโมเดล”ด้วยการขยายผลไปดำเนินกิจกรรมในพื้นที่สมาชิกเครือข่ายของสมาคมประมงปากพะยูนหรือชุมชนชายฝั่งที่มีความพร้อมและสนใจและมีแนวทางเดียวกันในการฟื้นฟูทะเลสาบ ในปี 2562 ได้มีชุมชนที่สนใจการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำด้วยการใช้รูปแบบช่องฟืนโมเดลในพื้นที่ชุมชนทะเลสาบตอนกลาง จำนวน 6 ชุมชน และขยายต่อมาในพื้นที่ ทะเลสาบตอนบนอีก 6 พื้นที่ ในช่วงปี พ.ศ.2565 – 2566 นี้ และบ้านชายคลอง หมู่ที่ 4 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่นำ เอา “ช่องฟืนโมเดล” มาดำเนินการในพื้นที่ในระยะเวลาอีกหนึ่งปีนับจากเดือนพฤษภาคม 2565 นี้เป็นต้นไป ผลสำเร็จของ “ช่องฟืนโมเดล” จากการดำเนินการที่ผ่านมาสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดโครงการ 3 ประเด็นหลักได้แก่ จำนวนพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้น คนในชุมชนบริโภคปลาเพิ่มขึ้น และคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพประมง โดยดูจากบันไดผลลัพธ์ทั้ง 4 ขั้นที่วางไว้พอจะสรุปได้ดังนี้

  1) บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 คือ นิเวศทะเลสาบตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ เกิดตัวชี้วัดดังนี้   1. มีจำนวนพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการพื้นที่ละ 500-1,200 เมตร ทั้ง 5 ชุมชน   2. ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำประมงจากเดิม 300-500 บาท ปัจจุบันเฉลี่ย 800-1,200 บาท มีพันธุ์ปลาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 8 ชนิด จากเดิมมี 4 ชนิด คือปลากระบอก ปลาล้าปัง กุ้งก้ามกราม ปลาดุกทะเล ปลาชะโด ปลาหัวโม้ง กุ้งลาย ปลานิล   3. ครัวเรือนมีการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้จากทะเลสาบเพิ่มขึ้นใน 1 สับดาห์ จำนวน 7 มื้อ ซึ่งเดิมก่อนจะทำกิจกรรมฟื้นฟูชาวบ้านไม่มีสัตว์น้ำที่เพียงพอในการบริโภค หาได้ก็นำไปขายเพราะราคาแพงจึงนิยมบริโภคเนื้อไก่ เนื้อหมู วัว หรือปลาแช่แข็งที่เป็นปลาทะเลนอกฝั่งอ่าวไทย หรืออันดามัน
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในภาพรวมจะบรรลุผลลัพธ์ในบันไดขั้นที่ 4 แต่ยังมีตัวชี้วัดและกิจกรรมบางอย่างที่ยังต้องมีการดำเนินการทำซ้ำต่อเนื่องในพื้นที่เดิมของปีที่ 2 เพื่อเก็บข้อมูลยืนยันความเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำตลอดถึงความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เพื่อเชื่อมร้อยเครือข่ายการทำงานขยายผลในการเปิดพื้นที่ใหม่ปีที่ 2 เช่น การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์นำด้วยการสร้างบ้านปลา การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ในพื้นที่ใหม่บริเวณทะเลสาบตอนกลาง ปี 63 จำนวน อีก 6 ชุมชน

  2) บันไดผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาองค์กรชาวประมงรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม "สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลางจังหวัดพัทลุง" เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 มีกรรมการชุดก่อตั้งจำนวน 11 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรชาวประมงในการประสานร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรที่ยั่งยืนซึ่งเป็นการจัดตั้งองค์กรชาวประมงที่ต้องทำงานเชื่อมโยงในการผลักดันติดตามนโยบายกับภาคส่วนต่างๆทั้งระดับการทำงานเชิงยุทธศาตร์และกรทำงานในระดับพื้นที่ แต่ยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงในการขับเคลื่อนของกลไกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยังต้องเติมเต็มให้มีเวทีการพูดคุยปรึกษาหารือสรุปทบทวนพร้อมวิเคราะห์การทำงานอย่างต่อเนื่องพร้อมการทบทวนกติกาข้อตกลงแต่ละพื้นที่ปรับปรุงให้สอดคล้องปฎิบัติได้จริง   3) บันไดผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไกการทำงานในการรักษาทะเล จากการขับเคลื่อนการทำงานที่ผ่านมานับว่าประสบผลสำเร็จในตัวกลไกคือประมงอาสา ที่ทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดุแลเขต ทั้ง 5 พื้นที่ฯละ15 คน รวมจำนวน75 คน ดังนั้น ในการขับเคลื่อนโครงการปีที่ 2 ในพื้นที่ ขยายผลอีก 6 พื้นที่ จึงมีความจำเป็นสำคัญของการจัดหาตัวประมงอาสาและการบทบาทหน้าที่รูปแบบและระบบการทำงานที่ลงตัวสามารถเชื่อมโยงมีการหนุนเสริมการทำงานกับกลุ่มประมงอาสา ของพื้นที่เก่าในปีที่ 1 ได้   4) บันไดผลลัทธ์ที่ 1 สร้างการเรียนรู้ในการรักษาทะเล จากการดำเนินงานที่ผ่านมากิจกรรมภายใต้บันไดผลลัพธ์และตัวชี้วัดดังกล่าว เช่น การพุดคุยข้อมูลปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบตอนกลาง การจัดทำข้อมูลพันธืชนิดสัตว์น้ำ เครื่องมือ รายได้ ก่อนหลังการทำเขตอนุรักษ์ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญของการใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชุมชนได้กลับมาคุยสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ทำให้พบความจริงที่เกิดขึ้นชุมชน และพร้อมที่จะร่วมวางแผนที่จะเดินต่อไปข้างหน้าของชุมชน ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมที่ขยายผลในพื้นที่ใหม่ของปี 2 อีก 6 ชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องทำงานด้านข้อมูล พร้อมทั้งมีการเก็บข้อมูลซ้ำของพื้นที่เก่า 5 ชุมชน ของปีที่ 1 เพื่อต้องการยืนยันความเปลี่ยนแปลงความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำที่เกิดขึ้น ส่งผลทั้งในมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมทรัพยากร และสุขภาพของคนในชุมชน

บทเรียนจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำด้วยเขตอนุรักษ์ ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เนื่องจากการได้มาของกติกาข้อตกลงของชุมชนที่ไม่ได้ผ่านการพูดคุยจากกลุ่มที่ไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง ตลอดถึงการรับรู้ในชุมชนไม่แพร่หลายในขณะเดียวกันการทำงานของประมงอาสาภายใต้บทบาทหน้าที่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ไม่เกิดตัวตนของคน/องค์กร ที่ชัดเจน ทำให้ไม่เกิดการยอมรับในชุมชนวงกว้าง การไม่มีองค์กรที่เป็นกลไกหลักมาเชื่อมร้อยให้มีเวทีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบชมรมฯหรือสมาคมฯ ที่มีหลายภาคียอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทำงานเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญของความเข้มแข็งขององค์กร ในขณะเดียวกันกติกาข้อตกลงชุมชนยังที่ไม่มีการเผยแพร่หรือติดประกาศให้คนในชุมชนได้เห็นอย่างทั่วถึง ตลอดถึงกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูยังไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ล้วนส่งผลให้กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดังกล่าวไม่นำไปสู่การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของคนในชุมชน ส่งผลให้กิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.3 แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ หลังจากที่สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบอำเภอปากพะยูนได้มีการขยายพื้นที่ด้วยโครงการ “ฟื้นเลให้สมบูรณ์”ด้วยเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง 5 ชุมชนโดยใช้ช่องฟืนโมเดลซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. (NFS) ในการดำเนินโครงการระยะเวลา 1 ปี จนเกิดผลสำเร็จระดับหนึ่งทั้งมิติการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการพัฒนาองค์กรชาวประมงให้มีการจดทะเบียนเพิ่มอีกองค์กร ในนาม สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุงตลอดถึงการสร้างจิตสำนึกความตระหนักร่วมให้คนในชุมชนรับรู้และร่วมออกแบบหาแนวทางในการฟื้นฟูทะเลสาบ ด้วการทำกิจกรรมซ้ำบางกิจกรรมในพื้นที่เดิมของปีที่ 1 เพื่อเป็นการตอกย้ำของผลการทำกิจกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงข้อมูลด้วยรูปแบบการฟื้นฟู เช่นการสร้างบ้านปลา และยังเป็นการเชื่อมร้อยการทำงานระหว่างพื้นที่เก่ากับพื้นที่ขยายใหม่ นอกจากนั้นมีการทำกิจกรรมในรูปแบบของปีที่ 1 อีก 6 ชุมชนที่ขยายผลในปีที่ 2 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
การจะให้ทะเลสาบมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัย คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำประมง คนในชุมชนหันมาบริโภคปลาเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่ในการขับเคลื่อนการทำงานในชุมชนที่มีความพร้อมและสนใจในการร่วมเป็นเจ้าของในการฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมทั้งพัฒนายกระดับองค์กรของตนเองในการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการโดยมีการขยายพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงพร้อมทั้งการจัดทำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำตลอดทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี”ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงปี 2565 – 2569 ซึ่งมี 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วย “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสสร้างกลไกการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันกับจังหวัดพัทลุงในรูปแบบของ “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Phatthalung Green City)” การดำเนินโครงการ “การขยายพื้นที่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน” โดยใช้กระบวนการต่างๆ (รายละเอียดอยู่ในแผนกิจกรรม) จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนที่อยากเห็นทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อผู้บริโภค อันจะนำไปสู่การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงดังกล่าวข้างต้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

แนวทางแก้ไขปัญหาและผลที่เกิดขึ้น (รูปแบบช่องฟืนโมเดล) ภายใต้ความเชื่อมั่นว่า “ทะเลสาบคือหม้อข้าวหม้อแกง” ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแก้วิกฤติให้สามารถจับสัตว์น้ำทำการประมงเหมือนในอดีตได้ แต่ก็มีชาวประมงบางส่วนที่ไม่ยอมจำนนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ยังมีชุมชนที่มีแกนนำร่วมกับสมาชิกในชุมชนพยายามร่วมคิดออกแบบหาทางออกในการแก้ไขต่อสู้ด้วยการคิดออกแบบลองผิดลองถูกในหลากหลายวิธีการฟื้นฟูให้มีสัตว์น้ำโดยใช้พลังการรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนมาพูดคุยในการร่วมคิดวางแผนด้วยการทำกิจกรรมในรูปแบบการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ของชุมชน เพื่อรวมคนมาพูดคุยแก้ปัญหาเรื่องทะเล เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มน้ำยาง กลุ่มแปรรูป กลุ่มประมงอาสา กลุ่มเยาวชน ฯลฯ จนมีการทดลองทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชนกติกาข้อตกลงที่ชุมชนยอมรับและร่วมปฏิบัติกันและมีประมงอาสาคอยทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขต ชุมชนดังกล่าวคือชุมชนบ้านช่องฟืน หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งได้ดำเนินการในการแก้ปัญหาและร่วมฟื้นฟูทะเลสาบจนเห็นความเปลี่ยนแปลง มีรูปธรรมชัดเจนทั้งชนิดและปริมาณของสัตว์น้ำ สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นจาก 150 -300 บาทต่อวัน ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยวันละ 500 – 1,200 บาท และเกิดการต่อยอดการทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โรงแปรรูปสัตว์น้ำที่ชุมชนลงหุ้นในการทำธุรกิจซื้อขายปลาเพื่อเรียนรู้การทำธุรกิจที่เชื่อมโยงดูแลสิ่งแวดล้อมมีมาตรฐานสินค้าที่เน้นอาหารปลอดภัยและเป็นธรรมกับผู้บริโภคในแบรนด์ “ร้านคนจับปลาทะเลสาบ” นอกจากนั้นเกิดกลุ่มกิจกรรมที่สร้างพลังชุมชนจำนวน 11 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีเป้าหมายเดียวกันคือการมีทุนที่มาจากการปันผลกำไรจากสมาชิกร่วมฟื้นฟูทะเลสาบ ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของการดูแลทะเลสาบ โดยมีสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เป็นองค์กรนิติบุคคลช่วยประสานกับภาคีองค์กรต่างๆ ในการทำงาน จนทำให้เกิดการยอมรับจากชุมชนใกล้เคียงและภาคีต่างๆ ตลอดถึงสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกพื้นที่ และได้มีการพัฒนายกระดับชุมชนช่องฟืนเป็นพื้นที่ต้นแบบหรือแหล่งเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนบนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าชุมชนบ้านช่องฟืนจะประสบผลสำเร็จในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำด้วยการทำเขตอนุรักษ์ที่มาจากการรวมกลุ่มการมีส่วนร่วมที่หลากหลายจนคนในชุมชนมีรายได้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ทางหน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพัทลุง(Node Flagship) สน.6 สสส. จึงผลักดันโดยใช้รูปแบบช่องฟืนขยายผลไปยังชุมชนประมงใกล้เคียงริมทะเลสาบของพื้นที่พัทลุงและต้องการผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลสาบพัทลุงเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลอย่างยั่งยืนโดยใช้รูปแบบ “ช่องฟืนโมเดล”ด้วยการขยายผลไปดำเนินกิจกรรมในพื้นที่สมาชิกเครือข่ายของสมาคมประมงปากพะยูนหรือชุมชนชายฝั่งที่มีความพร้อมและสนใจและมีแนวทางเดียวกันในการฟื้นฟูทะเลสาบ ในปี 2562 ได้มีชุมชนที่สนใจการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำด้วยการใช้รูปแบบช่องฟืนโมเดลในพื้นที่ชุมชนทะเลสาบตอนกลาง จำนวน 6 ชุมชน และขยายต่อมาในพื้นที่ ทะเลสาบตอนบนอีก 6 พื้นที่ ในช่วงปี พ.ศ.2565 – 2566 นี้ และบ้านชายคลอง หมู่ที่ 4 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่นำ เอา “ช่องฟืนโมเดล” มาดำเนินการในพื้นที่ในระยะเวลาอีกหนึ่งปีนับจากเดือนพฤษภาคม 2565 นี้เป็นต้นไป ผลสำเร็จของ “ช่องฟืนโมเดล” จากการดำเนินการที่ผ่านมาสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดโครงการ 3 ประเด็นหลักได้แก่ จำนวนพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้น คนในชุมชนบริโภคปลาเพิ่มขึ้น และคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพประมง โดยดูจากบันไดผลลัพธ์ทั้ง 4 ขั้นที่วางไว้พอจะสรุปได้ดังนี้

  1) บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 4 คือ นิเวศทะเลสาบตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ เกิดตัวชี้วัดดังนี้   1. มีจำนวนพื้นที่เขตอนุรักษ์เพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการพื้นที่ละ 500-1,200 เมตร ทั้ง 5 ชุมชน   2. ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำประมงจากเดิม 300-500 บาท ปัจจุบันเฉลี่ย 800-1,200 บาท มีพันธุ์ปลาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 8 ชนิด จากเดิมมี 4 ชนิด คือปลากระบอก ปลาล้าปัง กุ้งก้ามกราม ปลาดุกทะเล ปลาชะโด ปลาหัวโม้ง กุ้งลาย ปลานิล   3. ครัวเรือนมีการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้จากทะเลสาบเพิ่มขึ้นใน 1 สับดาห์ จำนวน 7 มื้อ ซึ่งเดิมก่อนจะทำกิจกรรมฟื้นฟูชาวบ้านไม่มีสัตว์น้ำที่เพียงพอในการบริโภค หาได้ก็นำไปขายเพราะราคาแพงจึงนิยมบริโภคเนื้อไก่ เนื้อหมู วัว หรือปลาแช่แข็งที่เป็นปลาทะเลนอกฝั่งอ่าวไทย หรืออันดามัน
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าในภาพรวมจะบรรลุผลลัพธ์ในบันไดขั้นที่ 4 แต่ยังมีตัวชี้วัดและกิจกรรมบางอย่างที่ยังต้องมีการดำเนินการทำซ้ำต่อเนื่องในพื้นที่เดิมของปีที่ 2 เพื่อเก็บข้อมูลยืนยันความเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำตลอดถึงความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่เพื่อเชื่อมร้อยเครือข่ายการทำงานขยายผลในการเปิดพื้นที่ใหม่ปีที่ 2 เช่น การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์นำด้วยการสร้างบ้านปลา การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ในพื้นที่ใหม่บริเวณทะเลสาบตอนกลาง ปี 63 จำนวน อีก 6 ชุมชน

  2) บันไดผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาองค์กรชาวประมงรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม "สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลางจังหวัดพัทลุง" เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 มีกรรมการชุดก่อตั้งจำนวน 11 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรชาวประมงในการประสานร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรที่ยั่งยืนซึ่งเป็นการจัดตั้งองค์กรชาวประมงที่ต้องทำงานเชื่อมโยงในการผลักดันติดตามนโยบายกับภาคส่วนต่างๆทั้งระดับการทำงานเชิงยุทธศาตร์และกรทำงานในระดับพื้นที่ แต่ยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงในการขับเคลื่อนของกลไกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยังต้องเติมเต็มให้มีเวทีการพูดคุยปรึกษาหารือสรุปทบทวนพร้อมวิเคราะห์การทำงานอย่างต่อเนื่องพร้อมการทบทวนกติกาข้อตกลงแต่ละพื้นที่ปรับปรุงให้สอดคล้องปฎิบัติได้จริง   3) บันไดผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไกการทำงานในการรักษาทะเล จากการขับเคลื่อนการทำงานที่ผ่านมานับว่าประสบผลสำเร็จในตัวกลไกคือประมงอาสา ที่ทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดุแลเขต ทั้ง 5 พื้นที่ฯละ15 คน รวมจำนวน75 คน ดังนั้น ในการขับเคลื่อนโครงการปีที่ 2 ในพื้นที่ ขยายผลอีก 6 พื้นที่ จึงมีความจำเป็นสำคัญของการจัดหาตัวประมงอาสาและการบทบาทหน้าที่รูปแบบและระบบการทำงานที่ลงตัวสามารถเชื่อมโยงมีการหนุนเสริมการทำงานกับกลุ่มประมงอาสา ของพื้นที่เก่าในปีที่ 1 ได้   4) บันไดผลลัทธ์ที่ 1 สร้างการเรียนรู้ในการรักษาทะเล จากการดำเนินงานที่ผ่านมากิจกรรมภายใต้บันไดผลลัพธ์และตัวชี้วัดดังกล่าว เช่น การพุดคุยข้อมูลปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบตอนกลาง การจัดทำข้อมูลพันธืชนิดสัตว์น้ำ เครื่องมือ รายได้ ก่อนหลังการทำเขตอนุรักษ์ เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีความสำคัญของการใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชุมชนได้กลับมาคุยสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ทำให้พบความจริงที่เกิดขึ้นชุมชน และพร้อมที่จะร่วมวางแผนที่จะเดินต่อไปข้างหน้าของชุมชน ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมที่ขยายผลในพื้นที่ใหม่ของปี 2 อีก 6 ชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องทำงานด้านข้อมูล พร้อมทั้งมีการเก็บข้อมูลซ้ำของพื้นที่เก่า 5 ชุมชน ของปีที่ 1 เพื่อต้องการยืนยันความเปลี่ยนแปลงความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำที่เกิดขึ้น ส่งผลทั้งในมิติ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมทรัพยากร และสุขภาพของคนในชุมชน

บทเรียนจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำด้วยเขตอนุรักษ์ ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เนื่องจากการได้มาของกติกาข้อตกลงของชุมชนที่ไม่ได้ผ่านการพูดคุยจากกลุ่มที่ไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง ตลอดถึงการรับรู้ในชุมชนไม่แพร่หลายในขณะเดียวกันการทำงานของประมงอาสาภายใต้บทบาทหน้าที่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ไม่เกิดตัวตนของคน/องค์กร ที่ชัดเจน ทำให้ไม่เกิดการยอมรับในชุมชนวงกว้าง การไม่มีองค์กรที่เป็นกลไกหลักมาเชื่อมร้อยให้มีเวทีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบชมรมฯหรือสมาคมฯ ที่มีหลายภาคียอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทำงานเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญของความเข้มแข็งขององค์กร ในขณะเดียวกันกติกาข้อตกลงชุมชนยังที่ไม่มีการเผยแพร่หรือติดประกาศให้คนในชุมชนได้เห็นอย่างทั่วถึง ตลอดถึงกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูยังไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ล้วนส่งผลให้กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดังกล่าวไม่นำไปสู่การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของคนในชุมชน ส่งผลให้กิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.3 แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ หลังจากที่สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบอำเภอปากพะยูนได้มีการขยายพื้นที่ด้วยโครงการ “ฟื้นเลให้สมบูรณ์”ด้วยเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง 5 ชุมชนโดยใช้ช่องฟืนโมเดลซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. (NFS) ในการดำเนินโครงการระยะเวลา 1 ปี จนเกิดผลสำเร็จระดับหนึ่งทั้งมิติการอนุรักษ์ฟื้นฟูและการพัฒนาองค์กรชาวประมงให้มีการจดทะเบียนเพิ่มอีกองค์กร ในนาม สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุงตลอดถึงการสร้างจิตสำนึกความตระหนักร่วมให้คนในชุมชนรับรู้และร่วมออกแบบหาแนวทางในการฟื้นฟูทะเลสาบ ด้วการทำกิจกรรมซ้ำบางกิจกรรมในพื้นที่เดิมของปีที่ 1 เพื่อเป็นการตอกย้ำของผลการทำกิจกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงข้อมูลด้วยรูปแบบการฟื้นฟู เช่นการสร้างบ้านปลา และยังเป็นการเชื่อมร้อยการทำงานระหว่างพื้นที่เก่ากับพื้นที่ขยายใหม่ นอกจากนั้นมีการทำกิจกรรมในรูปแบบของปีที่ 1 อีก 6 ชุมชนที่ขยายผลในปีที่ 2 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
การจะให้ทะเลสาบมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัย คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำประมง คนในชุมชนหันมาบริโภคปลาเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่ในการขับเคลื่อนการทำงานในชุมชนที่มีความพร้อมและสนใจในการร่วมเป็นเจ้าของในการฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมทั้งพัฒนายกระดับองค์กรของตนเองในการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการโดยมีการขยายพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงพร้อมทั้งการจัดทำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำตลอดทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี”ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงปี 2565 – 2569 ซึ่งมี 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วย “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสสร้างกลไกการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันกับจังหวัดพัทลุงในรูปแบบของ “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Phatthalung Green City)” การดำเนินโครงการ “การขยายพื้นที่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน” โดยใช้กระบวนการต่างๆ (รายละเอียดอยู่ในแผนกิจกรรม) จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนที่อยากเห็นทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อผู้บริโภค อันจะนำไปสู่การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงดังกล่าวข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้าน

1.1  คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบเลหน้าบ้านและคลองบ้านชายคลอง 1.2 มีข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ทะเลสาบตอนบนและมีข้อมูลผลสัตว์น้ำเปรียบเทียบระหว่างก่อนการดำเนินงานตามโครงการกับข้อมูลหลังการดำเนินงานตามโครงการ 1.3 มีกติกาข้อตกลงในการทำประมง  การดูแลเขตฯ และมีแผนการดำเนินงานของชุมชน 1.4  เลหน้าบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟู มีพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 4 ชนิด เช่น  กุ้งก้ามกราม ปลาดุกทะเล  ปลาหัวโหม้ง  ปลาแหยง

6.00
2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน

2.1 มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 15 คน 2.2 มีประมงอาสาดูแลเขตฯไม่ต่ำกว่า 10 คน 2.3 มีแผนการทำงานของประมงอาสา 2.4 มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง

10.00
3 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน บ้านชายคลอง

3.1 มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน 3.2 มีป้ายแสดงเขตอนุรักษ์ ในพื้นที่ทะเลที่กำหนด 3.3 มีบ้านปลาเพิ่มขึ้น จำนวน 5 จุด 3.4 มีการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์จากแนวเดิมออกไปในความยาวไม่ต่ำกว่า 100 เมตร 3.5 มีการปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ ในเขตอนุรักษ์ฯ ปีละไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง

10.00
4 4.เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการฯอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. คณะทำงานสามารถจัดกิจกรรมและรายงานผลได้ตรงตามที่กำหนดไว้แผนปฏิบัติการ
  2. คณะทำงานสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางหน่วยจัดการฯกำหนดไว้ได้
  3. มีเขตปลอดเหล้าและบุหรี่ ที่กำหนดในกติกาของชุมชน
6.50 10.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 529
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนผู้ทำอาชีพประมง จำนวน 42 ครัวเรือน 126 -
ประชาชนในหมู่บ้าน 529 คน ครัวเรือนรวม 158 ครัวเรือ 403 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้าน(1 พ.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 44,620.00                                
2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการฯอย่างมีประสิทธิภาพ(1 พ.ค. 2565-30 เม.ย. 2566) 5,000.00                                
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน(15 มิ.ย. 2565-15 ก.ค. 2565) 22,100.00                                
4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน บ้านชายคลอง(15 มิ.ย. 2565-15 เม.ย. 2566) 27,355.00                                
รวม 99,075.00
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 180 44,620.00 6 41,230.00
1 มิ.ย. 65 ป้ายปลอดบุหรี่ ป้ายเล็ก 0 0.00 200.00
7 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 เวทีประชุมหมู่บ้าน (เวทีเปิดโครงการ) 50 8,500.00 8,500.00
25 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้ดูงานการจัดการเลหน้าบ้าน ที่บ้านช่องฟืน ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 15 12,920.00 9,330.00
10 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลา 15 8,450.00 8,450.00
30 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 เวทีคืนข้อมูลชุมชน 50 6,050.00 6,050.00
31 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 12 เวทีปิดโครงการ 50 8,700.00 8,700.00
2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการฯอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 535 5,000.00 3 2,600.00
9 พ.ค. 65 กิจกรรมที่ 15 การเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางหน่วยจัดการฯกำหนด (เวทีปฐมนิเทศผู้รับทุน) 3 3,000.00 600.00
9 ต.ค. 65 ค่าจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการ 3 1,000.00 1,000.00
10 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 13 จัดตั้งเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 529 1,000.00 1,000.00
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 145 22,100.00 11 21,350.00
7 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 6.1 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1 15 1,875.00 1,875.00
27 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 7.1 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง (ARE) ครั้งที่ 1 20 2,000.00 2,000.00
10 พ.ย. 65 เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 1 3 0.00 600.00
15 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.2 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2 15 1,875.00 1,875.00
30 พ.ค. 66 เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) ครั้งที่ 2 2 0.00 600.00
15 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.3 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3 15 1,875.00 1,875.00
25 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.4 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4 15 1,875.00 1,875.00
7 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตฯ 15 3,750.00 3,750.00
10 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.5 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 5 15 1,875.00 1,875.00
17 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.6 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 6 15 1,875.00 1,875.00
30 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 8 เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำหลัง การมีเขตฯ 15 5,100.00 3,150.00
4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน บ้านชายคลอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 27,355.00 4 27,375.00
6 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 14 จัดทำบ้านปลา 10 จุด 15 14,755.00 14,775.00
15 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 9 ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่ 15 1,350.00 1,350.00
21 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 10 ซ่อมแซมปรับปรุงและขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ 15 9,050.00 9,050.00
29 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 11 ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 20 2,200.00 2,200.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 43 4,000.00 1 500.00
10 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
25 ก.พ. 66 กิจกรรที่ 6 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง...ครั้งที่ 2 20 2,000.00 -
31 ก.ค. 66 กิจกรรที่ 6 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง...ครั้งที่ 3 20 2,000.00 -
15 ส.ค. 66 เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการร่่วมกับหน่วยจัดการฯ "งานสมัชชาคนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2 ) 3 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม มีความรู้และเข้าใจถึงที่มา/ความจำเป็น/วิธีการดำเนินงานตามโครงการ 1.2 มีคณะทำงานจำนวน 10 คน ซึ่งเห็นว่าเพียงพอต่อการแบ่งงานกันทำตามโครงการ 2. มีข้อมูลสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง และรายได้จากการทำประมง เพื่อคืนให้แก่ชุมชน เป็นข้อมูลตั้งต้นในการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงเมืองการดำเนินงานตามโครงการสิ้นสุดลง
3. มีข้อมูล Base Line ที่ใช้ในการประเมินผลลัพท์ในการดำเนินงานตามโครงการ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:29 น.