directions_run

โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่อ่าวสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดกลไกที่เข้มแข็งทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน 2. ผู้นำท้องถิ่นที่ท้องถิ่น ชุมชนเป็นแกนนำในคณะทำงาน 3. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วม 4. มีข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลาตอนกลางในทุกมิติ (จำนวนเรือ ชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ ปฏิทินสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง พฤติกรรมการหาปลาของชาวประมง รายได้การทำอาชีพประมง)
0.00
  1. คณะทำงานประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านชาวประมง สมาชิกสภา อบต. สมาชิกจากกลุ่มต่างๆ ในชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน
  2. ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำของคณะทำงานได้เป็นอย่างดี
  3. จากการสำรวจข้อมูลของชุมชน และการดูงาน ทำให้คณะทำงานมีความเข้าใจถึงระบบการอนุรักษ์ชายฝั่ง และเข้าใจการทำงานมากขึ้น
  4. มีเรือที่ออกทำประมงจำนวน 44 ลำ สัตว์ทะเลที่จับได้ ได้แก่ กุ้ง ปลานิล ปลาลำปำ ปลาหัวโม้ง ปลากด ปลาแขยง ปลาเม่น ปลาชโด เครื่องมือจับปลา ไซ แห เบ็ด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 11,000บาท

 

 

2 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.มีกติกาเขตอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมจากชาวประมง คนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (แนวเขต เครื่องมือการจับ ช่วงเวลาในการจับ ข้อห้าม บทลงโทษ 2.มีประมงอาสาไม่ตำกว่า 20 คน 3. มีเครือข่ายประมงอาสาที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน 4. มีกองทุนประมงอาสา 5. เกิดธรรมนูญหมู่บ้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งในพื้นที่
0.00
  1. มีการกำหนดกติกาในการทำประมงชายฝั่งของหมู่บ้าน (แนวเขต เครื่องมือจับ ช่วงเวลาในการจับ ข้อห้ามและบทลงโทษ)
  2. มีประมงอาสา จำนวน 20 คน
  3. ประมงอาสาทั้งหมดได้รับการยอมรับจากชุมชน
  4. ยังไม่มีกองทุนประมงอาสา เนื่องจากเป็นพื้นที่ใหม่ ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ แต่จะมีในอนาคต
  5. มีการกำหนดธรรมนูญของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งของพื้นที่

 

 

3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนกลาง
ตัวชี้วัด : 1. มีการกำหนดเขตอนุรักษ์ไม่น้อยกว่า 2 จุด โดยแต่ละจุดมีระยะยื่นไปในทะเลไม่น้อยกว่า 500 เมตร คลอบคลุมความยาวตามชายฝั่งไม่น้อยกว่า 60% 2. มีบ้านปลาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หลัง 3. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่น้อยกว่า 100,000 ตัว 4. ชาวประมงปฏิบัติตามกติกาข้อตกลง 5. จำนวนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายลดลง
0.00
  1. กำหนดแนวเขตอนุรักษ์ กว้าง 370 เมตร ยาว 700 เมตร หรือประมาณ 162 ไร่
  2. ยังไม่ได้มีการทำบ้านปลา เนื่องจากปริมาณน้ำมากเกินไป
  3. ยังไม่มีการปล่อยพันธ์ุสัตว์น้ำ
  4. เริ่มมีการปฏิบัติตามกติกาที่ตั้ง้ขึ้น
  5. อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบการใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมาย

 

 

4 เพื่อให้นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางได้รับการฟื้นฟูและมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาล 2. จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ชนิด 3. รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น 4. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น
0.00

ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นได้แก่ กุ้ง เพิ่ม่ขึ้น 50% ปลานิล ปลาลำปำ ปลาเม่น(ซึ่งหายไป 7-8 ปี) ปลาชโด ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลง ปลาหัวโม้ง ปลาพรม(ไม่พบ) ปลากด ปลาแขยง ปลาโอน ปลาขี้ขม ปลาดุกเนื้ออ่อน (หายไป) ปลาลิ้นหมา(หายไป) ในขณะที่กุ้งจับได้มากขึ้น แต่ราคาตลาดลดลง ทำให้รายได้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกลับเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
จากราคาที่ลดลง ทำให้คนนำปลาที่จับได้มาบริโภคเองมากขึ้น บวกกับสถานการณ์หมูและไก่ราคาสูง

 

 

5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปได้ความเรียบร้อย
ตัวชี้วัด :
0.00