directions_run

โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่อ่าวสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่อ่าวสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0029
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 102,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอนุรักษ์บ้านสะทัง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุธรรม หมื่นพล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัส รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 40,800.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 51,000.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 10,200.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 102,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทะเลสาบสงขลาตอนกลางเป็นพื้นที่หนึ่งของทะเลสาบสงขลา อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่โดยรวม 1,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง 4 อำเภอได้แก่ อำเภอปากพะยุน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอเมืองพัทลุง โดยมีประชากรที่ใช้ฐานทรัพยากรในทะเลสาบสงขลาเป็นอาชีพและรายได้หลักจากการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 2,800- 3,000 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้ในการทำประมง จำนวน 2,310 ลำ ชาวประมงจับสัตว์น้ำมีรายได้เฉลี่ยวันละ 300- 500 บาท (ฐานข้อมูลชาวประมงที่พื้นที่ทะเลสาบสงขลา, สมาคมรักษ์ทะเลไทย สิงหาคม 2562) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า จากจำนวนประชากรที่ใช้ทะเลสาบเป็นแหล่งรายได้หลักในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย เช่นไซหนอน โพงพาง อวนล้อม การวางยาเบื่อ ตลอดถึงการใช้อวนตาถี่จับสัตว์น้ำต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร ฯลฯ อีกทั้งสาเหตุที่มาจากระบบนิเวศที่ทีมีความเปลี่ยนแปลง เกิดมลพิษน้ำเสีย นอกจากนั้นมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้มข้นไม่จริงจังรวมถึงการบูรณาการจากภาคีความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่เป็นระบบขาดความต่อเนื่องในเชิงยุทธศาตร์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบและระดับนโยบายของจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2558 – 2564 ได้มีการรวมตัวของชุมชนประมงได้ร่วมคิดหารูปแบบสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเกี่ยวข้องในการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบในพื้นที่เขตอำเภอปากพะยูน เช่น ชุมชนบ้านช่องฟืน ชุมชนบ้านบางขวน ชุมชนบ้านแหลมไก่ผู้ ฯลฯ ในอำเภอบางแก้วในรูปแบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ร่วมออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ ทั้งการทำเขตอนุรักษ์ การสร้างบ้านปลา การร่วมกำหนดระเบียบกติกาข้อตกลง การมีอาสาสมัครในการออกตรวจตราดูแลเขต การจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ตลอดถึงการรวมกลุ่มจัดการผลผลิตสัตว์น้ำแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสร้างรายได้กับสมาชิกในชุมชน ภายใต้มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ‘บลูแบลนด์” ซึ่งเป็นชุมนประมงต้นแบบที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในการฟื้นฟูทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ รวมถึงรายได้จากการทำประมง เฉลี่ยวันละ 800 -1,500 บาท จนเป็นพื้นที่รูปธรรมและเป็นต้นแบบที่ชุมชนประมงในพื้นที่เครือข่ายยอมรับและมีความต้องการนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนของชุมชนตัวเองเพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำตลอดถึงการเกิดหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลที่ปลอดภัย อาชีพประมงที่ยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็ง
ชุมชนบ้านสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนที่อู่ติดชายฝั่งในพื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง มีพื้นที่ 3,672 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อของหมูบ้านดังนี้ -ทิศเหนือติดต่อกับคลองสะทังหมู่ที่ 7 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง -ทิศใต้ติดต่อกับคลองปากเพนียดหมู่ที่ 2 บ้านโคกขาม ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง -ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่ที่ 4 บ้านพลู ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง -ทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลสาบสงขลา     ชุมชนบ้านสะทัง มีครัวเรือน 203 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 561 คน อาชีพหลักคือ การทำสวนมีผู้ทำประมง 44 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้ทำการประมง 66 ลำ มีรายได้เฉลี่ยจากการทำประมงแต่ละวัน 300 – 500 บาท สัตว์น้ำที่จับได้โดยส่วนใหญ่ ปลาชะโด ปลาหัวโหม้ง ปลาตะเพียน ปลานิล กุ้งก้ามกราม ปลาบุตรี กุ้งนาฯลฯ ซึ่งเป็นการทำประมงตามฤดูลกาลเท่านั้น ในขณะเดียวกันชุมชนยังมีปัญหาการทำประมงที่ใช้เครี่องมือผิดกฎหมายในการจับสัตว์น้ำ เช่น อวนตาถี่ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร การใช้ใซหนอน การวางยาเบื่อ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชนิดสัตว์น้ำลดลง
เนื่องจากปัจจุบันชาวประมงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด 2019 ทำให้ชาวบ้านไม่มีงานทำ จึงหันมาทำประมงเพิ่มขึ้น มีเรือและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสัตว์น้ำมีปริมาณลดลง สังเกตุได้จากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ในปัจจุบัน มีขนาดเล็กลง และขายได้ราคาต่ำ จากปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนได้ร่วมคิดหาทางออกแก้ปัญหาโดยใช้เวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อหารือในการฟื้นฟูชายฝั่งเลหน้าบ้านโดยร่วมกันกำหนดเขตอนุรักษ์ขึ้นในอ่าวสะทัง เนื้อที่ 5 ไร่ เนื่องจากมีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ มีพืชพรรณต่างๆ เช่นต้นลำพู ต้นราโพ สายบัว สาหร่ายหางกระรอก ซึ่งเป็นพืชที่ช่วยกำบังลม เหมาะแก่เพาะฟักเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน และชุมชนได้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำร่วมกับท้องถิ่นและสำงานประมงจังหวัดมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการตกลงกำหนดเป็นพื้นที่ในการทำธนาคารสัตว์น้ำของชุมน จากการประชุมได้มีมติราวมกันที่จะกำหนดพื้นที่อ่าวสะทังเป็นพื้นที่เขตอนรักษ์สัตว์น้ำชุมชน มีการจัดตั้งคณะทำงานและมีทีมรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนหาทางออกในการฟื้นฟูทะเลสาบให้สมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป โดยการจัดทำกิจกรรมการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ ใช้กระบวนการต่าง (รายละเอียดในแผนกิจกรรม) แต่ละกิจกรรมต้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น ท้องที่ตลอดถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาชีพ แหล่งรายได้ และแหล่งอาหารทะเลที่มีคุณภาพและปลอดภัยภายใต้ความร่วมมือก่อให้เกิดพลังเครือข่ายที่เข้มแข็ง คาดว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการจะทำให้ทะเลหน้าบ้านเกิดความอุดมสมบูรณ์มีพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมาย ทิศทาง ยุทศาตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาตร์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี” (Phatthalung Green City) ซึ่งเป็นเป้าหมายภาพรวมของจังหวัดต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกที่เข้มแข็งทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
  1. มีคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน
  2. ผู้นำท้องถิ่นที่ท้องถิ่น ชุมชนเป็นแกนนำในคณะทำงาน
  3. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วม
  4. มีข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลาตอนกลางในทุกมิติ (จำนวนเรือ ชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ ปฏิทินสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง พฤติกรรมการหาปลาของชาวประมง รายได้การทำอาชีพประมง)
0.00
2 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนในการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข้มแข็ง

1.มีกติกาเขตอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมจากชาวประมง คนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (แนวเขต เครื่องมือการจับ ช่วงเวลาในการจับ ข้อห้าม บทลงโทษ 2.มีประมงอาสาไม่ตำกว่า 20 คน 3. มีเครือข่ายประมงอาสาที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน 4. มีกองทุนประมงอาสา
5. เกิดธรรมนูญหมู่บ้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งในพื้นที่

0.00
3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนกลาง
  1. มีการกำหนดเขตอนุรักษ์ไม่น้อยกว่า 2 จุด โดยแต่ละจุดมีระยะยื่นไปในทะเลไม่น้อยกว่า 500 เมตร คลอบคลุมความยาวตามชายฝั่งไม่น้อยกว่า 60%
  2. มีบ้านปลาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หลัง
  3. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่น้อยกว่า 100,000 ตัว
  4. ชาวประมงปฏิบัติตามกติกาข้อตกลง
  5. จำนวนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายลดลง
0.00
4 เพื่อให้นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางได้รับการฟื้นฟูและมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ขึ้น
  1. จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาล
  2. จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ชนิด
  3. รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น
  4. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น
0.00
5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปได้ความเรียบร้อย

 

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 4(12 ส.ค. 2565-12 ส.ค. 2565) 0.00                                
2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 5(17 ก.ย. 2565-17 ก.ย. 2565) 0.00                                
3 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)(10 พ.ย. 2565-10 พ.ย. 2565) 0.00                                
รวม 0.00
1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 1,000.00
20 พ.ค. 65 - 27 ก.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0 0.00 1,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1085 102,000.00 30 99,108.00
5 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศผู้รับทุน 3 5,000.00 768.00
20 พ.ค. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่1 35 10,500.00 875.00
23 พ.ค. 65 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ในอ่าวสะทัง (เวทีเปิดโครงการ) 100 5,600.00 5,600.00
25 พ.ค. 65 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน 50 15,050.00 14,050.00
28 พ.ค. 65 เวทีคืนข้อมูลชุมชน ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน 60 1,700.00 1,700.00
20 มิ.ย. 65 เวทีจัดตั้งกลุ่มประมงอาสากำหนดบทบาทหน้าที่และแผนการทำงาน 20 2,600.00 2,600.00
28 มิ.ย. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 2 35 0.00 875.00
18 ก.ค. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 3 35 0.00 875.00
19 ก.ค. 65 การศึกษาดูงานนอกสถานที่ 15 7,650.00 7,650.00
10 ส.ค. 65 เวทีทำความเข้าใจกำหนดเขตอนุรักษ์บ้านสะทัง 35 12,750.00 12,750.00
12 ส.ค. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 4 35 0.00 875.00
13 ส.ค. 65 การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 100 1,900.00 1,900.00
12 ก.ย. 65 สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข 3 0.00 240.00
14 ก.ย. 65 เวทีกำหนดกฎกติกาและเขตอนุรักษ์ 35 4,850.00 4,850.00
17 ก.ย. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 5 35 0.00 875.00
14 ต.ค. 65 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง 40 4,200.00 1,600.00
24 ต.ค. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 6 35 0.00 875.00
8 พ.ย. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 7 35 0.00 875.00
10 พ.ย. 65 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 3 0.00 600.00
23 ธ.ค. 65 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 8 35 0.00 875.00
3 ม.ค. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 9 35 0.00 875.00
4 ก.พ. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 10 35 0.00 875.00
5 ก.พ. 66 การทำบ้านปลา 20 15,200.00 15,200.00
5 ก.พ. 66 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 40 0.00 1,300.00
5 มี.ค. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 11 35 0.00 875.00
6 เม.ย. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 12 35 0.00 875.00
2 มิ.ย. 66 การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 40 0.00 1,300.00
27 ก.ค. 66 เวทีปิดโครงการ 100 15,000.00 15,000.00
27 ก.ค. 66 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงาน 1 0.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:31 น.