directions_run

โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่อ่าวสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 5 พ.ค. 2565 5 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ จ่ายเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรับการสนับสนุนโครงการย่อย

 

ทางโครงการย่อย ได้เปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้ว และทำการเบิกเงินสำรองจ่าย จำนวน 500 บาทคืน

 

ปฐมนิเทศผู้รับทุน 9 พ.ค. 2565 9 พ.ค. 2565

 

08.30 - 09.00 น.        ลงทะเบียน  และคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการป้องกันไวรัส โควิด19 09.30 - 09.15 น.        เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) 09.15 - 09.30 น.        ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่
Phattahlung  Green  City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดย นายเสณี  จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน Node Flagship จังหวัดพัทลุง 09.30 - 10.30 น.        แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย นายไพฑูรย์ ทองสม  ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 10.30 - 10.45 น.        การจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network
โดย นายอรุณ  ศรีสุวรรณ 10.45 - 12.00 น.        ปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network  และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ
Happy Network
12.00 - 13.00 น.        พัก รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 - 13.30 น.        ความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์
โดย นางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 13.30 - 14.30 น.        แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด กลุ่มที่ 1 ประเด็นการจัดการขยะ
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการน้ำเสีย กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มที่ 4 ประเด็นการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา กลุ่มที่ 5 ประเด็นนาปลอดภัย 14.30 - 15.00 น.        การลงนามสัญญาข้อรับทุน
15.00 - 15.30 น.        สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
15.30 น. ปิดการประชุม

 

  1. เรียนรู้กระบวนการทำโครงการ
  2. เรียนรู้เรื่องการเงินและบัญชีของโครงการ
  3. เรียนรู้การลงบันทึกข้อมูลบนเว็บไซต์

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่1 20 พ.ค. 2565 20 พ.ค. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนการประชุมเวลา 16.00 น. ประชุมคณะทำงานและวางแผนเปิดโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการว่ามีอะไรบ้าง เช่น ชี้แจงเรื่องงบประมาณของโครงการ วางแผนกำหนดอาณาเขตการสร้างบ้านปลา วางแผนการประชุมเปิดโครงการวันที่ 23 พ.ค. 2565 จัดสรรคนทำอาหารว่าง จัดสรรคนจัดเก็บข้อมูล และวางแผนกิจกรรมต่อไปจะทำอะไรบ้าง

 

  1. ผู้ใหญ่ชี้แจงคณะทำงานวันเปิดโครงการ
  2. พูดถึงการวางอาณาเขตบ้านปลาที่ชัดเจน
  3. วางแผนจัดสรรคนทำหน้าที่วันเปิดโครงการในวันที่ 23 พ.ค. 2565
  4. คณะทำงานรับทราบเรื่องงบประมาณของโครงการ
  5. การเบิกจ่ายเงินของโครงการ

 

เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ในอ่าวสะทัง (เวทีเปิดโครงการ) 23 พ.ค. 2565 23 พ.ค. 2565

 

13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียนและแจกอาหารว่าง 13.30 - 14.00 น. เริ่มเปิดโครงการแนะนำประธานที่มาเปิดโครงการและแนะนำพี่เลี้ยงประจำโครงการนี้ 14.00 - 16.00 น. กล่าวรายละเอียดของโครงการและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมและเชิญวิทยากรมาบรรยายเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในการจัดทำเขตอนุรักษ์ชายฝั่งและมีการแบ่งเขตการทำบ้านปลา

 

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น. โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์พื้นที่อ่าวสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขายชัยสน จังหวัดพัทลุง ได้จัดกิจกรรมเวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ในอ่าวสะทัง (เปิดโครงการ) ณ ศาลาหมู่บ้าน โดยได้รับเกียรติจาก นายศุภชัย มากหนู รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหานโพธิ์ เป็นประะานในพิธี พร้อมด้วย นายสุธรรม หมื่นพล ผู้ใหญ่บ้านสะทัง หมู่ที่ 12  (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้ทำการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ และผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการรวมถึงพูดคุยถึงสถานการณ์ของทะเลชายฝั่งของบ้านสะทัง และได้เชิญ คุณสุภาภรณ์ พรรณราย ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดทำเขตอนุรักษ์ชายฝั่งบ้านช่องฟืน อำเภอปากพะยูน มาพูดถึงการดำเนินการของช่องฟืนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งประสบความสำเร็จ เพื่อให้ชาวบ้านสะทังได้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทะเลชายฝั่งสู่ความยื่งยืนของทรัพยากรทะเลชายฝั่ง และความยั่งยืนของอาชีพประม การกินปลาของชาวสะทังในอนาคต

 

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน 25 พ.ค. 2565 25 พ.ค. 2565

 

เริ่มลงสำรวจข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำเวลา 13.00 น. จำนวน 36 ชุด สำรวจกลุ่มชาวประมงเป็นหลัก

 

  1. ได้รับทราบข้อมูลจำนวนครัวเรือนที่ทำประมง
  2. ได้รับทราบถึงรายได้ว่าแต่ละวันได้จับสัตว์น้ำชนิดใดบ้าง
  3. สำรวจจำนวนเรือที่ทำการประมง
  4. ได้รับทราบจำนวนพันธุ์สัตว์น้ำที่จับได้

 

เวทีคืนข้อมูลชุมชน ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือทำประมงและรายได้ของชุมชน 28 พ.ค. 2565 28 พ.ค. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนการประชุมเวลา 13.00 น. ประชุมคณะทำงานและวางแผนว่าอยากทราบพันธุ์สัตว์น้ำในอ่าวสะทังมีปลาชนิดใดบ้าง เช่น ปลาหัวโหม้ง ปลาทะเพียน ปลานิล ปลาชะโด กุ้งกล้ามกราม ปลาช่อน ปลาดุก และเครื่องมือชนิดที่ใช้ประกอบอาชีพ และมีการใช้อวนขนาดใดบ้างใช้อวนขนาดตา 4-12 ซม. ไซดักปลาขนาดตาอวน 4-7 ซม. ไซกุ้งนา แห ขนาดตา 3-4 ซม.

 

  1. มีการกำหนดขนาดการใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ
  2. ได้ทราบถึงพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆที่มีอยู่ในอ่าวสะทัง
  3. ได้มอบความรู้การจับสัตว์น้ำในช่วงไหนว่าควรจับ

 

เวทีจัดตั้งกลุ่มประมงอาสากำหนดบทบาทหน้าที่และแผนการทำงาน 20 มิ.ย. 2565 20 มิ.ย. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนการประชุมเวลา 9.00 น. ประชุมเรื่องการรับสมัครประมงอาสาและกำหนดบทบาทหน้าที่แผนการทำงานในการออกตรวจเขตอนุรักษ์เนื่องจากประมงอาสาไม่มีกฎหมายรองรับในการทำหน้าที่ต้องอาศัยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย คณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งมีกฎหมายรองรับ

 

  1. ชี้แจงเรื่องการรับสมัครประมงอาสา
  2. วางแผนกำหนดบทบาทหน้าของแต่ของละคน
  3. คณะประมงอาสารับทราบการออกตรวจเขตอนุรักษ์

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 2 28 มิ.ย. 2565 28 มิ.ย. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนการประชุมเวลา 13.00 น. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการของคณะกรรมการชุดต่างๆเพื่อนำปัญหามาทบทวนและหาข้อสรุปในที่ประชุมคณะทำงานเพื่อให้โครงการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน

 

  1. มีการประชุมวางแผนโครงการโดยคณะทำงาน
  2. มีการนำปัญหาต่างๆมาประชุมในคณะทำงาน
  3. ได้รับรู้ปัญหาของอ่าวสะทังและมีการขับเคลื่อนโครงการต่อไป

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 3 18 ก.ค. 2565 18 ก.ค. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนการประชุมเวลา 13.00 น. ประชุมทางไกลแบบออนไลน์โดยมี คุณเบญจวรรณ เพ็งหนู เป็นผู้ประชุมทางไกลกล่าวการชี้แจงที่จะไปดูงานที่ช่องฟื้น

 

  1. ชี้แจงการไปดูงานที่ช่องฟื้น
  2. วางแผนกำหนดหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

 

การศึกษาดูงานนอกสถานที่ 19 ก.ค. 2565 19 ก.ค. 2565

 

08.00 - 08.30 น.  ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น.  ลงเรือศึกษาการดูบ้านปลาและอาณาเขตของการอนุรักษ์ 10.00 - 12.00 น.  มีการแนะนำตัวพี่เลี้ยงและมีการแนะนำตัวผู้ใหญ่บ้านและทีมต่างๆที่มาทำหน้าที่
                          ต้อนรับ ณ บ้านช่องฟื้น
                          บรรยายแลกเปลี่ยนการทำเขตบ้านปลาและการแปรรูป โดยคุณอูสัน แหละหีม 12.00 - 13.00 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 15.00 น.  บรรยายการออกกฎระเบียบและการสร้างกลุ่มชาวประมงบ้านช่องฟื้น โดยคุณ
                          สุภาภรณ์ พรรณราย

 

1.ได้ศึกษาดูการทำบ้านปลา 2. ได้เรียนรู้การวางจับสัตว์น้ำในทะเล 3. ได้เรียนรู้การทำอาณาเขตการวางบ้านปลา 4. ได้เรียนรู้การปล่อยสัตว์น้ำในช่วงฤดูไหนและการจับสัตว์น้ำในช่วงฤดูไหน 5.ได้เรียนรู้การแปรรูปหลังจากการจับสัตว์น้ำมาแล้ว

 

เวทีทำความเข้าใจกำหนดเขตอนุรักษ์บ้านสะทัง 10 ส.ค. 2565 11 ก.พ. 2566

 

09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน ประชุมกำหนดสถานที่จำนวนพื้นที่จะทำเขตอนุรักษ์และออกแบบกำหนดเขตมีการใช้สัญลักษณ์ในการบอกแนวเขต และมีการใช้เวทีประชุมในการออกเสียงผู้ที่ได้รับผลได้ผลเสียในการกำหนดเขตอนุรักษ์มีการแบ่งทีมรับผิดชอบเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเขตอนุรักษ์

 

  • มีกติกาเขตอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมจากชาวประมง คนในชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเครือข่ายประมงอาสา โดยคนในชุมชน เกิดมาตรการชุมชนและกระบวนการเฝ้าระวังการดำการกติกาชุมชนที่เข้มแข็ง

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 4 12 ส.ค. 2565

 

 

 

 

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 4 12 ส.ค. 2565 12 ส.ค. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนการประชุมเวลา 13.00 น. ประชุมคณะทำงานชุดต่างๆของโครงการในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาเพื่อให้ทุกคนทราบในแต่ละช่วงกิจกรรมของกรอบการทำงานมีปัญหาด้านใดบ้างเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้และเพื่อให้กิจกรรมด้านอื่นดำเนินต่อไป

 

  1. ทราบถึงปัญหาที่ผ่านมาในแต่ละช่วงกิจกรรม
  2. มีการแก้ไขปัญหาและมอบหมายงานให้คณะทำงาน

 

การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 13 ส.ค. 2565 5 ธ.ค. 2565

 

ชี้แจงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

 

  • มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น
  • มีการปล่อยไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่น้อยกว่า 250,000 ตัว

 

สมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข 12 ก.ย. 2565 12 ก.ย. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงมีการบรรยายในหัวข้อ -การออกแบบระบบการศึกษา
-สร้างเศรษฐกิจ -ออกแบบระบบจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -จังหวัดอาหารปลอดภัย และรักษาพันธุ์พืช -สร้างความมั่นคงของชุมชน -ประวัติ ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒธรรม -ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง -สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

 

  1. ได้ทราบถึงการออกแบบระบบจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  2. ได้สร้างความมั่นคงของชุมชน
  3. ได้ทราบถึงการสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

 

เวทีกำหนดกฎกติกาและเขตอนุรักษ์ 14 ก.ย. 2565 29 ต.ค. 2565

 

09.00 - 9.30 น. ลงทะเบียน เริ่มประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดกฎกติกาและเขตอนุรักษ์เมื่อทุกคนทราบแนวเขตอนุรักษ์ของอ่าวสะทังแล้วคณะทำงานต้องมีกฎกติกาหรือธรรมนูญหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวกำกับในการออกมาตรการรองรับกรณีมีผู้กระทำผิดในเขตอนุรักษ์เราจะแก้ไขโดยวิธีการใดเป็นอันดับแรก ครั้งแรกว่าคร่าวตักเตือนส่งหน่วยงานภาครัฐหากเกิดติดต่อกัน กติกาเขตห้ามวางอวนทุกชนิดในเขตอนุรักษ์ ห้ามทอดแห ห้ามดักไซในเขต ห้ามจับปลากลางคืน ห้ามยิงปลาในเขต ห้ามราวเบ็ด ห้ามล้อมกระทุ้งน้ำ ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่

 

  • ชาวประมงเคราพกฎกติกา
  • มีสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น
  • ระบบนิเวศในเขตสมบูรณ์

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 5 17 ก.ย. 2565

 

 

 

 

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 5 17 ก.ย. 2565 17 ก.ย. 2565

 

เริ่มละทะเบียนการประชุมเวลา 09.00 น. ทบทวนโครงการฟื้นเลด้วยเขตอนุรักษ์อ่าวสะทังในสถานะการณ์ปัจจุบันช่วงเดือนตุลาคมและมีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งกล้ามก้าม ปลาลำปำ ปลาตะเพียน ปลาหัวโหม้ง ปลาแขยง ปลานิล เนื่องจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์มีสาหร่ายเพิ่มขึ้น

 

  1. ได้ทราบถึงพันธุ์สัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น
  2. ได้ทราบถึงปัญหาระบบนิเวศ
  3. ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง 14 ต.ค. 2565 14 ต.ค. 2565

 

เริ่มลงทะเบียนเวลา 09.00 น. มีการพูดคุยทำความเข้าใจกลไกชุมชนฟื้นฟูทะเลสาบตอนกลางที่เข้มแข็งมีคณะทำงานและมีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง เข้ามาเป็นคณะทำงานผู้นำท้องถิ่งท้องที่เป็นแกนนำคณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วมมีข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง และทราบถึงจำนวนเรือ เครื่องมือประมง พฤติกรรมของชาวประมง ได้ทราบถึงการมีสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นตามอาณาเขตและได้เรียกประชุมที่หมู่บ้านหมู่ที่12 ต่อ

 

  1. ทะเลสาบสงขลาได้รับการฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณื
  2. จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น
  3. รายได้จากการทำประมงเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้น

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 6 24 ต.ค. 2565 24 ต.ค. 2565

 

09.00 - 09.30 น ลงทะเบียน ประชุมคณะทำงานนำข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำอ่าวสะทัง ชาวประมงมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นฟูทะเลสาบแบบมีส่วนร่วม มีข้อมูลจำนวนเรือ เครื่องมือประมง พฤติกรรมของชาวประมง

 

  • ทะเลสาบได้รับการฟื้นฟูให้มีความอุดมสมบูรณ์
  • จำนวมสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เช่น กุ้งเพิ่ม 50% ปลานิล ปลาชะโด ปลาลำปำ

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 7 8 พ.ย. 2565 8 พ.ย. 2565

 

09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน ประชุมทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา ทบทวนผลดำเนินกิจกรรมความก้าวหน้าของโครงการ นำปัญหามาวิเคราะห์ เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไข

 

  • ได้ทราบว่ากิจกรรมต่างๆมีความก้าวหน้า หากเกิดปัญหาจะได้มีวิธีแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตรงจุด

 

การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 10 พ.ย. 2565

 

 

 

 

 

การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 10 พ.ย. 2565 10 พ.ย. 2565

 

08.30 - 09.00 ลงทะเบียน 09.00 - 09.30 แนะนำพิธีกรและวิทยากร 10.00 - 10.30 แบ่งกลุ่มตามโครงการที่รับผิดชอบ 11.00 - 12.00 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโครงการแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบ 12.00 - 13.00 พักเที่ยง 13.00 - 14.00 วิทยากรบรรยายสรุปรายการที่ตรวจพบและขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งให้โครงการ
14.00 - 15.00 วิทยากรอธิบายการใช้ระบบในการทำโครงการ

 

  1. ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มพื้นที่ที่รับผิดชอบ
  2. มีการกำหนดกฎกติกาแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับบริบทที่กำหนดไม่กระทบต่อการทำประมงในพื้นที่
  3. ทราบพื้นที่ที่มีเขตอนุรักษ์ จำนวน 818 ไร่ ใน 5 พื้นที่ มีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 284 ครัวเรือน มีการทำบ้านปลา 69 หลัง มีประมงอาสา 90 คน
  4. เรียนรู้เพิ่มเติมหลังจากส่งโครงการการทำใบสำคัญการรับเงิน
  5. เรียนรู้การใช้ระบบในการทำโครงการ

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 8 23 ธ.ค. 2565 23 ธ.ค. 2565

 

09.00 - 09.30 น. ลทะเบียน ประชุมคณะทำงานโครงการฟื้นฟูอ่าวสะทังสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลสาบอย่างยั่งยืน รวมกับประมงอำเภอเขาชัยสนและประมงจังหวัดพัทลุงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ชุมชนในการดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำ

 

  • ชาวประมงในชุมชนได้ทราบถึงข้อกฎหมายในการกระทำความเกี่ยวกับทรัพยากรด้านการประมง เช่น การใช้เคื่องมือที่ใช้กระแสไฟฟ้าซ๊อตปลาในแหล่งน้ำสาธารณะ จะถูกปรับ 200,000 - 1,000,000 บาท

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 9 3 ม.ค. 2566 3 ม.ค. 2566

 

13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน ประชุมคณะทำงานทบทวนกิจกรรมที่เหลืออยู่ที่จะทำต่อในเดือนกุมภาพันธ์เรื่องการทำบ้านปลาจะมี 3 คอก ขนาด 4*4 เมตร อยากทราบจุดที่จะวางจะอยู่บริเวณไหนของเขตอนุรักษ์และระดับความลึกกี่เมตรของน้ำเพื่อให้สัตว์น้ำวัยอ่อนอยู่อาศัยได้และเป็นที่หลบภัย

 

จากการประชุมจะได้ทราบแนวเขตในการสร้างบ้านปลา ความลึกของระดับน้ำ ความปลอดภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 10 4 ก.พ. 2566 4 ก.พ. 2566

 

13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน กำหนดจำนวนคนเพื่อแบ่งทีม จัดหาอุปกรณ์ในการสร้างบ้านปลา เพื่อให้ทราบหน้าที่ในการแบ่งความรับผิดชอบ เพื่อให้งานเดินไปข้างหน้าจะได้กระจ่ายงานไปอย่างรวดเร็ว

 

  • มีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อมในการทำงานและมีคววามสามัคคีภายในคณะทำงาน

 

การทำบ้านปลา 5 ก.พ. 2566 5 ก.พ. 2566

 

09.00 - 9.30 น. ลงทะเบียน ประชุมมอบหมายงานหน้าที่ของแต่ละคนที่จะทำบ้านปลาเพื่อไปหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำบ้านปลา

 

มีพันธ์ุสัตว์น้ำหลายชนิดมาอาศัย ทั้งแม่พันธุ์และตัวอ่อนเพื่อหลบภัยจากชาวประมง

 

การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 5 ก.พ. 2566 18 ก.พ. 2566

 

13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน เริ่มประชุมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นประเด็นเชิงสังคมการมีส่วนร่วม เกิดคณะทำงาน เกิดประมงอาสาการมีส่วนร่วมของภาคี การมีส่วนร่วมของชุมชน มีการปล่อยพันธุ์ปลา มีกติกาชุม มีบ้านปลา และปริมาณที่จับได้แต่ละวัน

 

  • ประชากรบริโภคปลาเพิ่มมากขึ้น
  • ทำให้มีรายได้เพิ่ม

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 11 5 มี.ค. 2566 5 มี.ค. 2566

 

13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาของคณะทำงานชุดต่างๆในการขับเคลื่อนฟื้นฟูเขตอนุรักษ์อ่าวสะทังให้ยั่งยืนสู่ลูกหลานต่อไป นำปัญหามาสะท้อนในภาพรวมของแต่ละคนว่าเกิดปัญหาจากอะไรบ้าง เพื่อจะได้หาแนวทางปรับปรุงแก้ไข

 

  • เมื่อทราบปัญหาแล้วจะได้มีวิธีแก้ไขได้ตรงจุด
  • หากชุมชนแก้ไขไม่ได้จะได้หาหน่วยงานอื่น ภาคคีเครือข่าย รวมกันแก้ไข

 

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการครั้งที่ 12 6 เม.ย. 2566 6 เม.ย. 2566

 

13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ความคืบหน้าของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ปัญหาอุปสรรคจากการพูดคุยกับชาวประมงว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นจากการมีเขตอนุรักษ์ว่ามีพันธุ์สัตว์น้ำชนิดใดลดลง ชนิดใดเพิ่มขึ้นและจากการหายไปของพันธุ์สัตว์น้ำเกิดจากกระแสน้ำของทะเลสาบ การใช้เครื่องมือและขนาดอวนมีผลต่อสัตว์น้ำลดลงหรือมั่ย

 

  • ชาวประมงได้ใช้ตาอวน 13 เซนติเมตร ทำให้จับสัตว์น้ำมีราคาในการขาย
  • ชาวประมงหากุ้งเพิ่มขึ้นทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นจึงเป็นเหตุให้ชาวประมงหวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำชาบฝั่งของตนเองแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ในการลาดตระเวนเขตและการปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้ง

 

การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 2 มิ.ย. 2566 29 พ.ค. 2566

 

13.00 - 13.30 น. เริ่มลงทะเบียน โจทย์การพูดคุยทำมาถึงวันนี้เกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้สำเร็จ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เป็นอุปสรรค หากจะยกระดับการดำเนินงานจะมีข้อเสนอต่อใคร อย่างไรบ้าง

 

  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ มีอาหารทะเลกินพอเพียว
  • ชุมชนชาวประมงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
  • ชุมชนมีความรักหวงแหนทรัพยากร เห็นคุณค่าหน้าบ้านตนเอง หน่วยงานยอมรับทการทำงานของชุมชน ชุมชนร่วมกับกฎกติกา คณะทำงานร่วมกับชุมชนมีการพูดคุยทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

เวทีปิดโครงการ 27 ก.ค. 2566 27 ก.ค. 2566

 

09.00 - 09.30 น. ลงทะเบียน  โครงการพื้นเลด้วยเขตอนุรักษ์บ้านสะทังหมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ประชุมสรุปผลปิดโครงการ การมีพื้นที่ทำเขตอนุรักษ์ 162 ไร่ จากการประชุมหมู่บ้านเพื่อตกผลึกในการกำหนดเขตอนุรักษ์โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมแสดงความคิดเห็น โดยชุมชนกำหนดกิจกรรมของตนเองเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รายได้ในแต่ละวันในการออกไปวางอวนระยะที่ออกจากฝั่งไปประมาณ 5 กิโลเมตร ได้ปลามาเล็กน้อยไม่พอกับรายจ่ายในครัวเรือน ชาวประมงจึงได้ร่วมตัวกันกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งหน้าบ้านตนเอง

 

จากการทำโครงการพื้นเลด้วยเขตอนุรักษ์จะมีคณะทำงานมาจากชาวประมง มีประมงอาสา มีภาคคีเครือข่ายชายฝั่ง มีข้อมูลจำนวนเรือ จำนวนเครื่องมือ ทราบถึงผลผลิตที่จับได้และคิดเป็นรายได้ต่อวัน มีกฎกติกา มีการกำหนดเขตอนุรักษ์ มีการทำบ้านปลา ปล่อยพันธุ์ปลา ปล่อยพันธุ์กุ้ง มีบทลงโทษผู้ที่กระทำผิด เครื่องมือผิดกฎหมายลดลง มีจำนวนพันธุ์สัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้น มีคนบริโภคปลาเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดผลคนมีสุขภาพดี

 

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงาน 27 ก.ค. 2566 27 ก.ค. 2566

 

เพื่อดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จ

 

เพื่อดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จ

 

ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 20 พ.ค. 2565 25 พ.ค. 2566

 

เพื่อดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จ

 

เพื่อดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จ