directions_run

ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-02-004
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,600.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาแว ยือโระ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0869668469
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหามะ สะอะ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.463353,101.342418place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,240.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,300.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,060.00
รวมงบประมาณ 100,600.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบาโงย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้ชื่อว่า "บาโงย" หมายถึง เขาเตี้ยๆ หรือ เนิน สาเหตุที่ได้ตั้งชื่อนี้ เนื่องจากกลางหมู่บ้านจะมีพื้นที่เป็นเนินขนาดกลาง น้ำไม่ท่วม มีประวัติความเป็นมาคือเดิมมีสามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นชาวจีน สันนิษฐานว่ามาจากเมืองปัตตานี มาตั้งครอบครัว และมาค้าขาย กับเมืองรามัน (โกตาบารู) โดยขนสินค้าจากเมืองโกตาบารู ไปส่งท่าเรือปัตตานี และขนสินค้าจากปัตตานี มาส่งที่เมืองโกตาบารู เมื่อมีครอบครัวจึงมาสร้างบ้านเรือนบนเนินนี้ คนเมืองโกตาบารูเรียกคนนี้ว่า "โต๊ะบาโง" และเป็นต้นตระกูล "เด็งระกีนา" ซึ่งต้นตระกูลนี้เป็นผู้นำสืบทอดกันมาในตำบลบาโงยจนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการนำคำว่า "บาโง" หรือ บาโงย มาตั้งเป็น  ชื่่อหมู่บ้านและตำบลจนถึงปัจจุบัน สภาพทั่วไปของตำบลเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนา   โดยอาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศใต้ ติดกับ ตำบล      โกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. 2,679 คน และจำนวนหลังคาเรือน 530 หลังคาเรือน ข้อมูลอาชีพของตำบล อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา ทำสวน อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงโค สำหรับพื้นที่บ้านยือโระ หมู่ที่ 2 จำนวน 2,679 คน และจำนวนหลังคาเรือน 530 หลังคาเรือน        ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ประกอบด้วย ยางพารา นาข้าว ทำงานโรงงาน และสวนไม้ผล ซึ่งหลังจากการกรีดยางหรือทำนาของคนในพื้นที่แล้ว บางครัวเรือนปลูกผักเพื่อไว้บริโภคเอง หากเหลือจากการบริโภคก็จะนำไปขาย ผักที่นิยมปลูกจะเป็นผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก ข้าวโพด แตงโม ผักบุ้ง ฝักทอง เป็นต้น เกษตรกร 80% มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติ เน้นการใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ แต่ยังพบว่าเกษตรกร อีก 20 % มีการใช้สารเคมี เนื่องจากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และมีความเชื่อว่าหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีผสมร่วมกับปุ๋ยคอก จะเร่งให้พืชโตเร็ว แข็งแรง และผักมีความสวยงามและสาเหตุของการใช้ปุ๋ยเคมีพบว่า เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายในชุมชนและง่ายต่อการดูแล การดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ซึ่งมีจุดเน้นสำคัญระดับจังหวัดยะลา ได้กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ลดการนำเข้าผักนอกพื้นที่จังหวัดยะลา มีรายได้เพิ่มจากการขายผักและสมาชิกของโครงการมีการบริโภคผักปลอดภัย อย่างน้อย 400 กรัม/วัน โดยแบ่งพื้นที่การปลูกผักไว้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสหกิจ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย กลุ่มลำใหม่ (นูรีสฟาร์ม) กลุ่มบาเจาะ กลุ่มเลสุ กลุ่มบันนังสตา กลุ่มบุดี และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย กลุ่มยะต๊ะ กลุ่มทุ่งเหรียง กลุ่มคลองทราย กลุ่มหน้าถ้ำ กลุ่มกาตอง กลุ่มวังพญา กลุ่มบาโงย และกลุ่มบือมัง ซึ่งโครงการของกลุ่มบาโงยอยู่ในกลุ่มเกษตรกร ส่วนการดำเนินงานโครงการกลุ่มเกษตรกรตำบลบาโงย ก่อนเริ่มโครงการมีการรวมกลุ่มเล็ก ๆ จำนวน 20 คน ดำเนินการปลูกผัก ได้แก่ ผักบุ้ง พริก ถั่วฝักยาว แตงกวา ตะใคร้ มันเทศ อ้อย ข้าวโพด มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคเฉลี่ยสัปดาห์ละ..120..บาท/คน ปัจจุบันชุมชน ยังไม่มีกติกาข้อตกลงเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย
สภาพปัญหาที่พบในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรตำบลบาโงย ฐานความคิดของเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคแจกจ่ายเพื่อนบ้านใกล้เคียง ไม่ได้ปลูกเพื่อการขาย เนื่องจากไม่สามารถหาตลาดเพื่อการขายได้ ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกร ไม่มีกฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดสารพิษ ส่วนใหญ่ต่างคนต่างปลูก และไม่มีการวางแผนในการปลูก และอีกประการหนึ่งก็ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก เพราะส่วนใหญ่ขาดความรู้ในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก ส่วนปัจจัยการผลิต เกษตรมีน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตและดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเกษตร
ปัญหาด้านพฤติกรรมการบริโภคผัก ของชุมชนบาโงย ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาด รถเร่ และร้านค้าในหมู่บ้านมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มีการปลูกผักทุกครัวเรือน เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากในหมู่บ้านมีร้านค้าขายผักสด และรถเร่ จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแลบำรุงรักษา แต่ไม่ได้คำนึงถึงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ หรือปลอดภัย เพราะหากเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ที่สำคัญยังทำให้ดินเสื่อมสภาพ มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ ทั้งนี้ พบว่าเกษตรกรในพื้นที่ มีความสนใจและต้องการปลูกพืชผักระยะสั้น เพื่อหาช่องทางเพิ่มรายได้จากการประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ มีการรวมกลุ่มแต่ไม่สามารถดำเนินการตามวัถตุประสงค์ได้จริง เนื่องจากขาดกระบวนการจัดการที่ดี การวางแผนการผลิตที่ดี เพื่อให้มีผลผลิตส่งตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และปัญหาด้านปัจเจก พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าการปลูกผักอินทรีย์ มีความยุ่งยาก มีความยากลำบาก และผลผลิตอาจจะได้น้อย เลยมีการปลูกผักโดยใช้สารเคมี อีกอย่างเกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ หรือการปลูกผักปลอดภัย เพราะขาดหน่วยงานมาให้ความรู้ ทำให้เกษตรกรดำเนินการปลูกผักแบบเดิม ๆ
ดังนั้น แนวทางในการดำเนินงาน คือ การให้องค์ความรู้ การอบรมแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก การปลูกผักรับประทานเองผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัย โดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในปริมาณที่ปลอดภัย และลดการซื้อผักจากรถเร่ และร้านค้าที่นำผักในตลาดมาขายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อลดโรค และเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการป้องกันโรค และลดต้นทุนการผลิตเน้นในด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา ทั้งนี้ ให้เกษตรกรได้เรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยสู่ตลาดภายนอก เรียนรู้การวางแผนการผลิต การจัดการที่ดี ที่ครอบคลุมถึงด้านการตลาด มีอำนาจในการตั้งราคาเอง โดยไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคาได้ เพื่อเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เสริม ให้เป็นรายได้หลักแทนยางพาราและให้เป็นพื้นที่แหล่งอาหารที่สำคัญของจังหวัดยะลา และควรให้เกษตรกรตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร จำเป็นต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง ถูกวิธี และเหมาะสมตามลักษณะและคุณสมบัติของดิน สำหรับดินทั่วๆไป การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้เหมาะสมสำหรับพืชที่ต้องการปลูกและสภาพพื้นที่ปลูก ควรเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของดินและการวิเคราะห์ดิน ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์ดินดังกล่าวจะนำไปสู่วิธีการหรือแนวทางการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมต่อไป และก่อนการเพาะปลูกควรให้เกษตรกรเตรียมแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกเพื่อไม่ให้พืชผักยืนต้นตายได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อที่ 3 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง

1.มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง 2.มีวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรที่เข้มแข็ง 3.มีการติดตามประเมินผลร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง

60.00
2 เพื่อเกษตรกรสามาถผลิตและบริโภคผักปลอกภัย

1.ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน 2.มีตลาดและผู้บริโภคผักปลอดภัย

80.00
3 เพื่อการบริหารจัดการโครงการฯ

1.โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.การรายงานผลการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพสามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้สำเร็จ

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 52 4,600.00 5 4,498.44
6 พ.ค. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ย 2 0.00 1.51
15 ธ.ค. 65 เวทีสรุปโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ย 0 0.00 18.93
27 มี.ค. 66 จัดเวที่ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3 50 3,600.00 2,978.00
5 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 4 1,000.00 1,000.00
6 9,000.00 6 10,040.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ 2 1,000.00 1,000.00
31 พ.ค. 65 จัดทำป้ายไวนิล 0 1,000.00 1,000.00
29 ก.ค. 65 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 0 2,000.00 2,000.00
11 ส.ค. 65 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 0 2,000.00 2,000.00
23 ธ.ค. 65 กิจกรรมจัดทำรายงานโครงการ 0 2,000.00 3,040.00
3 มิ.ย. 65 ประชุมครั้งที่ 1 50 6,500.00 6,000.00
250 29,500.00 5 27,750.00
11 มิ.ย. 65 ประชุมครั้งที่ 2 50 5,000.00 5,000.00
25 มิ.ย. 65 อบรม ศึกษาดูงาน 50 5,000.00 6,210.00
1 ส.ค. 65 ประชุมครั้งที่ 3 50 6,500.00 6,500.00
1 มี.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 4 50 6,500.00 4,040.00
10 มิ.ย. 65 การตรวจแปลงเกษตรก่อนการปลูก 50 1,500.00 1,500.00
250 31,000.00 5 30,742.00
11 มิ.ย. 65 อบรมการทำปุ๋ย 50 12,500.00 12,242.00
17 มิ.ย. 65 พัฒนาเพื่อยกระดับกลุ่ม 50 5,000.00 5,000.00
18 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมเกษตรกรเพื่อให้ความเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP 50 7,000.00 7,000.00
24 มิ.ย. 65 จัดทำแผนการผลิตของสมาชิก 50 5,000.00 5,000.00
1 ก.ค. 65 กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย 50 13,900.00 13,900.00
150 20,900.00 3 20,900.00
14 ก.ค. 65 กิจกรรมตรวจแปลง 50 3,500.00 3,500.00
21 ก.ค. 65 เวทีติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1 50 3,500.00 3,500.00
1 - 31 ส.ค. 65 ติดตามการผลิต 0 2,000.00 2,000.00
30 5,600.00 2 7,190.00
1 - 31 ธ.ค. 65 จัดเวทีติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 30 3,600.00 5,190.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครัวเรือนเป้าหมายปลูกและบริโภคผักปลอดภัย

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 09:41 น.