directions_run

ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัย ตำบลลำใหม่ ปี2

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัย ตำบลลำใหม่ ปี2
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-02-006
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 107,895.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจขุมชนนูริสฟาร์ม ลำใหม่
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสมาแอล ลาเต๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0800370794
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ ismal2516@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหามะ สะอะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.565789,101.184248place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 43,158.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 53,947.50
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,789.50
รวมงบประมาณ 107,895.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ โดยผลสรุป ว่าการบริโภคผักผลไม้วันละ 400-600 กรัม สามารถลดภาระโรคต่างๆ ได้แก่ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ ลด อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงกำหนดการบริโภคผัก ผลไม้อย่าง น้อย 400 กรัมต่อคนต่อวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็น ประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว บกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมี ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง
ปัจจุบัน เรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเป็นได้จากสถิติจำนวนของผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมากจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารปลอมปนสารเคมี หรือผักที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักจะมีการใช้สารกำจัดสัตรูพืชและยังตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภค การปลูกผักรับประทานเอง และส่งต่อจำหน่ายให้กับชุมชนในพื้นที่ และขยายพื้นทีเครือข่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับของผู้บริโภค สำหรับประชาชนกึ่งเมืองที่บางครัวเรือนบริโภคผักที่ขายตามท้องตลาด ในการที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ปลูกผักด้วยตนเอง
ปีทีผ่านมาทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมและสนับสนุนบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนจากสสส.ทำให้สมาชิกได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการทีกำหนดไว้ให้สมาชิกครัวเรือนทีเข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริมปลูกผักและบริโภคตามทีกำหนด ในปีนี้ทางกลุ่มและสมาชิกมีความต้องการเพิ่มศักยภาพและกำลังการผลิตให้มากขึ้นเพื่อออกจำหน่ายให้กับชุมชน แต่ทางกลุ่มยังขาดงบประมาณในการขยายกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น ชุมชนบ้านลูกา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น........428....คน จำนวน.....108....... ครัวเรือน นับถือ ศาสนาอิสลาม 100% อาชีพ เกษตรกร ทำนา ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนบ้านลูกา ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคไม่ได้มีการปลูกผัก ทั้งที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอยผักจากตลาด ซึ่งในชุมชนมีร้านชุมชนขายของทุกวัน จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแล บำรุงรักษา ชุมชนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภค ประมาณ 60,000 บาท/เดือน โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 400 บาท/เดือน ชุมชนมีการปลูกผักอยู่บ้าง โดยประมาณ 30 คน ปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพบ้าง เพราะสะดวก หาซื้อง่าย และง่ายต่อการดูแล ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ชุมชนเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตร ในแต่ละปี เป็นเงินประมาณ 70,000 บาท ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน และทำให้ดินเสื่อม ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการอะไร โปรดอธิบายพร้อมทั้งระบุรายละเอียด จากพฤติกรรมการปลูกผักของชุมชน พบว่าชุมชนไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักกินเอง เพราะในการซื้อผัก แต่ละครั้ง เป็นจำนวนเงิน 20-30 บาท ขาดความรู้ เทคนิคในการปลูกผัก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจาก การใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการ เพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดสารพิษในหมูบ้าน ไม่มี กฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดสารพิษ จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการในเรื่องการปลูกผักที่ไม่ใช้สารเคมี ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภค โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้ 1. มีสมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ......75........คน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย) 2. ก่อนเริ่มโครงการ มีสมาชิกกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปลูกผัก ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในได้ 5 ชนิด ขึ้นไป จำนวน.10.....คน 3. ก่อนเริ่มโครงการสามชิกกลุ่มเป้าหมายมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคเฉลี่ยสัปดาห์ละ..130..บาท/คน 4. ปัจจุบันชุมชน มีกติกาข้อตกลงเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย
ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัย ตำบลลำใหม่ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อที่3 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ 1 มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ 2 มีวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเข้มแขง

ผลลัพธ์ที่3 มีการติดตามประเมินผลร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง

80.00
2 เพื่อเป็นต้นแบบในการปลูกผักปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ 1 ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน

ผลลัพธ์ที่ 2 มีตลาดและผู้บริโภคผักปลอดภัย

80.00
3 เพื่อการบริหารจัดการโครงการ

ผลลัพธ์ที่1 โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่2 การรายงานผลการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาตามที่กำหนด

ผลลัพธ์ที่3 แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพ สามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้สำเร็จ

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 75
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 75 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 406 84,095.00 26 84,608.37
4 เม.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาARE 3 5,600.00 600.00
5 เม.ย. 65 เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการ 2 400.00 400.00
28 เม.ย. 65 เปิดบัญชี ธกส. 3 0.00 100.00
5 พ.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 3 600.00 600.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ 2 600.00 400.00
27 พ.ค. 65 ประชุมครั้งที1 แต่่งตั้งคณะกรรมการและหน้าที่คณะทำงาน 30 3,760.00 3,750.00
3 มิ.ย. 65 เปิดโครงการ 36 1,200.00 1,200.00
10 มิ.ย. 65 ประชุมครั้งที2 สำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ 3 1,890.00 1,890.00
20 ก.ค. 65 การตรวจแปลงเกษตรกรก่อนการปลูกเพื่อปรับ/เตรียมการปลูกที่ถูกต้องตามลำดับขั้นตอนรับรองGAP 5 2,250.00 2,250.00
29 ก.ค. 65 พัฒนา เพื่อยกระดับกลุ่ม (จัดทำแผนการบริหารจัดการ ข้อตกลง กฎ กติกากลุ่ม การจัดบันทึกข้อมูล (การผลิต การทำบัญชีครัวเรือน การบริโภค) 48 3,600.00 3,600.00
13 ส.ค. 65 ประชุมครั้งที3 สรุปความก้าวหน้าการทำงานตามแผน และร่วมแก้ปัญหาทีพบ 20 1,200.00 1,500.00
6 ก.ย. 65 เวที ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE ครั้งที่ 1) 13 3,600.00 3,600.00
17 ก.ย. 65 เวทีเรียนรู้ ARE Nood Flaqship ครั้งที่1 3 0.00 600.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 5.42
22 ต.ค. 65 เวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการตามผลลัพธ์ย่อย 2 0.00 500.00
22 ต.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยฯ(การจัดการข้อมูลครั้งที่ 2) 3 0.00 900.00
1 พ.ย. 65 จัดทำแผนการผลิตของสมาชิก 48 3,600.00 3,600.00
5 พ.ย. 65 กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย“Kick off ปลูกผักปลอดภัย” 50 40,700.00 40,700.00
10 ธ.ค. 65 ติดตามผลการผลิต (ลงตรวจแปลงสมาชิก) 10 2,000.00 2,000.00
15 ธ.ค. 65 ติดตามและประเมินผล ARE (ครั้งที่ 2) 0 3,600.00 0.00
18 ธ.ค. 65 กิจกรรมตรวจแปลง-รวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อรับรองมาตรฐาน 10 2,000.00 2,390.00
3 ม.ค. 66 ดำเนินการนำสินค้าจำหน่ายในชุมชน ตามตลาดในพื้นที่ 10 1,945.00 5,648.00
1 มี.ค. 66 ประชุมครั้งที4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 40 1,200.00 3,000.00
15 มี.ค. 66 จัดเวทีติดตามและประเมินผลARE (ครั้งที่ 3) - เวทีสรุปปิดโครงการ 56 4,350.00 4,167.50
18 มี.ค. 66 เวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการตามผลลัพธ์ย่อย 6 0.00 1,200.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 7.45
4 มิ.ย. 65 ไวนิลป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 1,000.00 1,000.00
0 1,000.00 1 1,000.00
5 มิ.ย. 65 จัดทำบรรจุภัณฑ์สติกเกอร์รับรองมาตรฐาน 0 3,000.00 3,000.00
0 3,000.00 1 3,000.00
23 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมเกษตรกรเพื่อให้ความรู้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานGAP 75 12,800.00 12,800.00
75 12,800.00 1 12,800.00
25 มิ.ย. 65 อบรบพัฒนาสศักยภาพและศึกษาดูงานคณะทำงาน 15 7,000.00 7,000.00
15 7,000.00 1 7,000.00

ประชุม อบรม ดูงาน ประเมินผล

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1 เป็นข้อมูลสำคัญที่จะบอกว่าโครงการบรรลุผลลัพธ์ เช่น จำนวนแกนนำ บทบาทแกนนำ กฎ/ระเบียบ/กติกา พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น 1.2 ข้อมูลที่นำมาประกอบคำอธิบายตัวชี้วัดควรมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ เดิมอย่างชัดเจน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:07 น.