directions_run

ลดอุบัติเหตุ สร้างความปลอดภัยทางถนน ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุ สร้างความปลอดภัยทางถนน ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-01-006
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2565
งบประมาณ 100,150.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบุดี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรียา มะหะแซ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0633591952
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรอฮานี ดือเระ และนางสาวยามีละ เจ๊ะหลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.550963,101.340133place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,060.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,075.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,015.00
รวมงบประมาณ 100,150.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบุดี เป็น 1 ใน 8 ตำบลของอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีประชากรทั้งสิ้น 10,534 คน  แยกเป็นเพศชาย 5,190 คน เพศหญิง 5,344 คน พื้นที่การปกครอง 8 หมู่บ้าน โดยสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและราบเชิงเขาเตี้ย ทิศตะวันออกหมู่ที่ 1,2 เป็นภูเขา ทิศใต้และทิศตะวันตก บริเวณหมู่ที่ 3,4,5,7,8 มีต้นไม้ปกคลุมเหมาะแก่การทำสวนผลไม้และยางพารา ประชาชนตำบลบุดีประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้แก่ ทำสวนยางพาราทำสวนผลไม้ (ทุเรียน ลองกอง) เส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 (ยะลา - รามัน) เส้นทางหลวงชนบท รพช.หมายเลข ยล 3024 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 (ยะลา - รามัน) หมู่ที่ 1,2,8 เป็นพื้นที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด พ.ศ. 2562 -2564 มีสถิติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุย้อนหลังที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพ.ศ. 2562 เกิดอุบัติเหตุจำนวน 33 ครั้ง บาดเจ็บ 39 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต พ.ศ. 2563 เกิดอุบัติเหตุจำนวน 50 ครั้ง บาดเจ็บ 54 ราย ยอดผู้เสียชีวิต 1 ราย พ.ศ. 2564 เกิดอุบัติเหตุจำนวน 60 ครั้ง บาดเจ็บ 78 ราย ผู้เสียชีวิต 3 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา)
จาสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนตำบลบุดี มีสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้รถ ด้านการขับรถโดยประมาท ขับรถขณะมึนเมา ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ประชากรส่วนมากอายุยังน้อยไม่มีใบขับขี่ ที่สำคัญประชาชนขาดความตระหนักในเรื่องกฎจราจรการใช้ถนน จึงมีการขับรถย้อนศร ขับรถเร่งรีบฝ่าไฟแดง ทั้งนี้ ยังมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ถนนขรุขระเป็นหลุมบ่อ ถนนลื่นจากน้ำยาง ยานพาหนะเสื่อมโทรม การจราจรในตลาดนัดที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และการเลี้ยงสัตว์บนท้องถนน ได้ส่งผลกระทบหลายด้าน อย่างเช่นด้านสุขภาพ ร่างกายได้รับบาดเจ็บ พิการ รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ด้านเศรษฐกิจ ที่ขาดรายได้จากการพักรักษา ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการรักษาพยาบาล และด้านสังคม ทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี ทั้งนี้ ตำบลบุดีมีต้นทุนเดิมที่สามารถขับเคลื่อนโครงการ ได้แก่ มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานเฉพาะด้านอุบัติเหตุ เทศบาลตำบลบุดี ทีมกู้ชีพตำบลบุดีที่สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นและส่งต่อเมื่อเกิดอุบัติเหตุในชุมชนได้ทันที โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง มีเจ้าหน้าตำรวจร่วมกับประชาชนประจำด่านตรวจหน้าโรงเรียนบ้านรั้วตะวัน และกองช่างเทศบาลตำบลบุดี  มีแผนงานซ่อมแซมถนนคอนกรีตในหลายหมู่บ้าน เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน, จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เทศบาลตำบลบุดี ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงต้องดำเนินปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสร้างระบบกลไกจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้ สามารถลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จึงได้จัดทำ “..โครงการลดอุบัติเหตุ สร้างความปลอดภัยทางถนน เทศบาลตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา” เพื่อเตรียมความพร้อมของ  ผู้ขับขี่ยานพาหนะ สร้างการรับรู้ของคนในชุมชน กำหนดกติกาชุมชนและแผนปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย              พร้อมกับการตั้งกลุ่มจิตอาสาแกนนำเยาชนในตำบลในการเป็นกลไกป้องกันเฝ้าระวังอุบัติเหตุ และอุบัติเหตุเสียชีวิตลดลง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยง และลดพฤติกรรมเสี่ยง

การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมประชาชนในชุมชน

80.00
2 อุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง

50.00
3 เพื่อบริหารจัดการโครงการ

1.โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.การรายงานผลการดำเนินงานเป็ไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพสามารถดำเนินโครงการได้อย่างสำเร็จ

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานโครงการ 25 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 13 5,800.00 3 2,000.00
15 พ.ค. 65 จัดทำป้ายไวนิลโครงการ 1 1,000.00 1,000.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การรายงานผลการดำเนินงานผ่าน 3 600.00 -
9 ก.ค. 65 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 3 1,000.00 1,000.00
22 ต.ค. 65 เวทีติดตตามประเมินผลรายงานการดำเนินการตามผลลัพธ์ย่อย 1 200.00 -
19 พ.ย. 65 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 3 1,000.00 -
31 มี.ค. 66 จัดทำรายงานออนไลน์ 2 2,000.00 0.00
2 การประชุมขับเคลื่อนดำเนินงานลดอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 11,130.00 3 8,505.00
17 พ.ค. 65 จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการลดอุบัติเหตุ 25 2,625.00 2,625.00
11 มิ.ย. 65 ประชุมขับเคลื่อนโครงการลดอุบัติเหตุ สร้างความปลอดภัยทางถนน ตำบลบุดี 25 2,625.00 2,625.00
18 มิ.ย. 65 ประเมินจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและวางแผนบริหารจัดการจุดเสี่ยง 25 3,255.00 3,255.00
27 พ.ค. 66 ติดตามและสรุปผลดำเนินงานแก้ไขจุดเสี่่ยง 25 2,625.00 -
3 เกิดกลไก ศปถ.ตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 10,875.00 3 10,875.00
13 ส.ค. 65 จัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนโดยมีเวทีขับเคลื่อนระหว่างเครือข่าย 25 3,625.00 3,625.00
30 ส.ค. 65 สรุปข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่่ยงที่ได้รับการแก้ไข 25 3,625.00 3,625.00
10 ก.ย. 65 เวทีติดตามประเมิน ARE(พี่เลี้ยง) 25 3,625.00 3,625.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:08 น.