stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลปะแต
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-01-010
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านปะแต
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะอูดี กาแต
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0953266915
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ patae205057@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายธรรมลักษณ์ กล้าหาญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอุบัติเหตุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอยะหาใน 3 ปี ย้อนหลัง พบว่าอำเภอยะหามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 51,65,48 ตามลำดับ ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 1,789 ครั้ง ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอยะหา 210 ครั้ง เสียชีวิต 13 คน บาดเจ็บจำนวน 1,293 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าตำบลปะแต ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง ตามลำดับดังนี้ ปี 2562 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 43 ครั้ง เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บจำนวน 124 คน ปี 2563 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 26 ครั้ง เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บจำนวน 53 คน และปี2564 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 13 ครั้ง ไม่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บจำนวน 34 คน สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลปะแต จากปัจจัยด้านถนน ถนนลื่นจากน้ำยาง ถนนโต้งมาก และปัจจัยที่ตัวบุคคล โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ และถนนอยู่ระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ จากปัจจัยต่างๆข้างต้นการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต ไม่เพียงเท่านั้นยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร ป้ายบอกทางชำรุด เสาไฟฟ้าหรือสัญญาณไปชำรุด บ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น
ดังนั้นทางตำบลปะแต มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลปะแต โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง

1 เกิดคณะอนุกรรมการฯ ที่เข้มแข็ง 2 เกิดกลไก ศปถ.ตำบล 3 เกิดกลไกขับเคลื่อนงานตามแผน (หมู่บ้าน ตำบล) 4 พฤติกรรมเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุลดลง

60.00
2 เพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน

การเกิดอุบัติเหตุลดลง,การเสียชีวิตลดลง

30.00
3 เพื่อการบริหารจัดการโครงการ

1.โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.การรายงานผลการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพให้สามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้สำเร็จ

10.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 170
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะกรรมการการดำเนินงาน 50 -
ผู้ใช้รถใช้ถนนพื้นที่ตำบลปะแต 120 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66
1 ร่วมประชุมกับnode(1 ต.ค. 2565-28 ก.พ. 2566) 10,000.00                        
รวม 10,000.00
1 ร่วมประชุมกับnode กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 31 10,000.00 10 10,144.82
2 พ.ค. 65 เปิดตัวโครงการ 20 3,000.00 3,000.00
5 พ.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศ 3 900.00 900.00
10 พ.ค. 65 จัดทำป้ายและสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ 0 2,000.00 2,000.00
21 พ.ค. 65 - 25 มี.ค. 66 จัดทำรายงานผ่านระบบความก้าวหน้าออนไลน์ 1 2,000.00 2,000.00
23 พ.ค. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 100.00
17 ก.ย. 65 AREครั้งที่1 2 600.00 600.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 7.18
6 พ.ย. 65 กิจกรรมจัดทำสื่อสาร 2 600.00 600.00
4 ก.พ. 66 AREครั้งที่2 3 900.00 900.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 37.64
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 220 18,600.00 3 18,600.00
30 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ และวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ ครั้งที่ 2 50 1,500.00 1,500.00
1 ก.ย. 65 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน 120 15,600.00 15,600.00
4 ก.พ. 66 ประชุมสรุปข้อมูล 50 1,500.00 1,500.00
3 พ.ค. 65 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน (ครั้งที่1) 50 1,500.00 1,500.00
160 23,300.00 4 23,300.00
7 มิ.ย. 65 จัดอบรมพัฒนาศัยภาพคณะทำงานวันที่1 50 8,300.00 8,300.00
8 มิ.ย. 65 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานวันที่2 50 8,300.00 8,300.00
3 ส.ค. 65 การสำรวจข้อมูลอุบัติหตุจากจุดเสียงที่ได้รับแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ 10 5,200.00 5,200.00
15 มิ.ย. 65 อบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 120 19,200.00 19,200.00
120 19,200.00 1 19,200.00
6 ก.ค. 65 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย 50 11,800.00 11,800.00
170 27,400.00 2 27,400.00
20 มี.ค. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป 120 15,600.00 15,600.00
2 ก.ย. 65 ประชุมสรุปข้อมูลการติดตามงาน(ครั้งที่ 3) 50 1,500.00 1,500.00
50 1,500.00 1 1,500.00

ดำเนินการตามลำดับเวลาในแต่ละกิจกรรม

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:14 น.