directions_run

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิดและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน บ้านทุ่งเหรียง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิดและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน บ้านทุ่งเหรียง
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-02-012
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,600.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มบ้านสวนเกษตรบ้านทุ่งเหรียง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย ดอรอฮะ ลาเต๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมาหายุดิน ดอละ
พื้นที่ดำเนินการ 93 ม.2 ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.59896,101.287404place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,240.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,300.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,060.00
รวมงบประมาณ 100,600.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ โดยผลสรุป ว่าการบริโภคผักผลไม้วันละ 400-600 กรัม สามารถลดภาระโรคต่างๆ ได้แก่ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ ลด อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงกำหนดการบริโภคผัก ผลไม้อย่าง น้อย 400 กรัมต่อคนต่อวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็น ประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว บกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมี ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง
ปัจจุบัน เรื่องของพืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำ มาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำ ให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทำการปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้สารเคมีในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจำเป็นและจะใช้หลัก “การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน” แทน แต่การที่จะป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกวิธีที่ประหยัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ สาเหตุการระบาดของศัตรูพืช 1.ศัตรูพืชเคลื่อนย้ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ที่มีความเหมาะสมมากกว่าทำให้มีการขยายพันธุ์และระบาดทำความเสียหายเพิ่มขึ้น 2. สภาพแวดล้อมและสภาพทางนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไปทำ ให้ศัตรูพืชมีการขยายพันธุ์ได้ดีขึ้นเพิ่มจำนวนมากขึ้น หรือมีผลต่อการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความต้านทาน และมีประสิทธิภาพในการเข้าทำ ลายมากขึ้น เช่น การกำ จัดงู ทำ ให้หนูระบาด การใช้สารเคมี ทำ ให้แมลงที่กินแมลงศัตรูพืชตายเป็นต้น 3. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำ ให้ความต้องการผลิตในการบริโภคเปลี่ยนไป ทำ ให้ความต้องการผลผลิตในการบริโภคเปลี่ยนไป ทำ ให้ความต้องการผลผลิตที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของบริโภค ทำ ให้บางครั้งร่องรอยการทำ ลายของศัตรูพืชเพียงจุดเดียว ก็ถือว่าผลผลิตตกเกรดไม่ได้มาตรฐาน มีการระบาดของศัตรูพืช การควบคุมศัตรูพืชให้ประสบผลสำเร็จ มีหลักการง่ายๆ 1. ต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคในแปลงปลูก เช่น การใช้พันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลง การไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่มีโรคแมลงเข้ามาในแปลงปลูก เป็นต้น 2. ถ้ามีศัตรูพืชเข้ามาในแปลงปลูกหรือแสดงอาการเป็นโรคแล้ว ต้องยับยั้งการแพร่ระบาด 3.ถ้ามีการระบาดแล้วต้องกำ จัดให้หมดไป อย่างไรก็ตามสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชในแปลงปลูก คือ ตัวเกษตรกรเองที่ละเลยการควบคุมดูแลทำ ให้ศัตรูพืชสะสมในแปลงปลูก จนถึงระดับที่ไม่สามารถควบคุมกำจัดได้ วิธีการควบคุมศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้ 1.ต้องศึกษาชนิดของศัตรูพืชในแปลงปลูกนั้นๆ ก่อน 2. สำรวจสถานการณ์ศัตรูพืชในแปลงปลูก 3. พิจารณาแนวโน้มการระบาดของศัตรูพืชแล้วจึงหาแนวทางป้องกันและกำ จัดต่อไป 4. เมื่อควบคุมการระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น แล้วให้เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณ หรือรักษาระดับการเข้าทำ ลายให้คงที่หรือลดลง ชุมชน...บ้านทุ่งเหรียง... มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,674 คน จำนวนครัวเรือนประมาณ 351 ครัวเรือน นับถือ ศาสนาอิสลาม 80% ศาสนาพุทธ 20% อาชีพ เกษตรกร ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ และประมง สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านชุมชน พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนบ้านทุ่งเหรียง ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคในครัวเรือน มีการปลูกผักในชุมชนที่น้อยมากที่จะบริโภค  ทั้งที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอยผักจากตลาด ซึ่งในชุมชนมีร้านชุมชนขายของทุกวัน จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด ขมิ้น ที่ไม่ต้องให้การดูแล บำรุงรักษา ชุมชนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภค ประมาณ 157,950 บาท/เดือน โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 450 บาท/เดือน ชุมชนมีการปลูกผักอยู่บ้าง โดยประมาณ 20 ครัวเรือน ปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพ โดยมีสัดส่วนการใช้ทั้งสองชนิด 30/70 พื้นที่นิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่าปุ๋ยเคมี ส่วนการใช้สารเคมีจะอยู่ประมาณร้อยละ 40 จะเห็นได้ว่าพื้นที่ใช้สารเคมีไม่มากนัก แต่ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ถึงแม้อัตราการใช้จำนวนไม่มาก แต่ชุมชนเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อปุ๋ยและสารเคมีเพื่อใช้ในการเกษตร ในแต่ละปี เป็นเงินประมาณ 50,000 บาท ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน และทำให้ดินเสื่อม ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง
จากพฤติกรรมการปลูกผักของชุมชน พบปัญหาหลักคือ 1) เกษตรกรยังผลิตแบบเดิม (Mine Set) แบบเดิม ๆขาดความรู้ที่ถูกต้องตามหลัก GAP โดยเฉพาะ การใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่วนใหญ่ใช้ไม่ถูกวิธี ส่งผลทำให้เกิดอันตราย และประสิทธิภาพของปุ๋ยลดลง 2) ขาดความรู้การจัดการบริหารกลุ่มอย่างเป็นระบบ ส่งผลต่อการความก้าวหน้าขององค์กร(กลุ่ม) 3) ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการ เพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดสารพิษในหมูบ้าน 4) ไม่มี กฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดสารพิษ  จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการในเรื่องการปลูกผักที่ไม่ใช้สารเคมี ที่เพียงพอต่อการนำไป บริโภคในครัวเรือน โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้ 1. มีครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ......20........ครัวเรือน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย) 2. ก่อนเริ่มโครงการ มีครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปลูกผัก ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือนได้ 5 ชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด ขมิ้น จำนวน.10....ครัวเรือน  3. ก่อนเริ่มโครงการ ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคเฉลี่ยสัปดาห์ละ..100..บาท/ครัวเรือน
ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือนในชุมชนขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ชุมชนมีต้นทุนเดิมที่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ มีปราชญ์ชุมชน มีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก และมีแหล่งน้ำเพียงพอ เป็นต้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสาตร์จังหวัดยะลา ข้อที่ 3 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง

1 มีคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง 2 มีกลุ่มเกษตรที่เข้มแข็ง 3.มีการติดตาม ประเมินผล ร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง

80.00
2 เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตและบริโภคผักปลอดภัย

1.ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน 2.มีพื้นที่การปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น

80.00
3 เพื่อการบริหารจัดการโครงการ
  1. โครงการสามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธภาพ 2. การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพสามารถดำเนินกิจกรรมได้สำเร็จ
100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66
1 กิจกรรมอบรมเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP(21 พ.ค. 2565-21 พ.ค. 2565) 56,700.00                        
2 ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE)(6 ธ.ค. 2565-6 ธ.ค. 2565) 9,200.00                        
3 ปลูกผักปลอดภัย(25 ก.ย. 2565-25 ก.ย. 2565) 13,900.00                        
รวม 79,800.00
1 กิจกรรมอบรมเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 305 42,800.00 9 42,800.00
3 มิ.ย. 65 สำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่ 40 400.00 400.00
7 มิ.ย. 65 การตรวจแปลงเกษตรกรก่อนการปลูก เพื่อการปรับ/เตรียมการปลูกที่ถูกต้องตามขั้นตอน รับรอง GAP 40 8,100.00 8,100.00
10 มิ.ย. 65 เปิดรับสมัครสมาชิกใหม่เข้าร่วมโครงการ 40 200.00 200.00
21 มิ.ย. 65 จัดทำแผนการผลิตของสมาชิกและกลุ่ม และจัดทำแผนพัฒนา และการบริหารจัดการกลุ่ม 15 3,300.00 3,300.00
26 มิ.ย. 65 กิจกรรมตรวจแปลง-รวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อรับรองมาตรฐาน GAP 40 5,600.00 5,600.00
13 ก.ค. 65 อบรมเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP 40 8,000.00 8,000.00
22 ก.ค. 65 กิจกรรม ปลูกผักปลอดภัย "Kick off ปลูกผักปลอดภัย" 40 9,400.00 9,400.00
18 ส.ค. 65 จัดอบรมการบริหารจัดการกลุ่ม และความรู้ด้านการรับรองมาตรฐาน GAP 10 3,800.00 3,800.00
30 พ.ย. 65 ประชุมติดตามผลการผลิต การรับรอง GAP และการตลาด 40 4,000.00 4,000.00
2 ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 9,200.00 4 9,200.00
2 ส.ค. 65 เวที ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE ครั้งที่ 1) 40 1,200.00 1,200.00
28 พ.ย. 65 เวที ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE ครั้งที่ 2) 40 1,200.00 1,200.00
31 ม.ค. 66 . ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3 40 1,200.00 1,200.00
31 มี.ค. 66 เวทีสรุป ปิดโครงการ และถอดบทเรียน 40 5,600.00 5,600.00
3 ปลูกผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 13,900.00 1 13,900.00
4 ส.ค. 65 3.พัฒนา เพื่อยกระดับกลุ่ม โดยการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้ พื้นที่ต้นแบบวิสาหกิจชุมชน (สวนนูรีสฟาร์ม ลำใหม่) 40 13,900.00 13,900.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 10,902.00 8 15,004.42
5 ก.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ครั้งที่ 2 เดือน กรกฎาคม 10 2,400.00 2,400.00
6 ก.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ครั้งที่ 3 เดือน กันยายน 10 702.00 2,400.00
23 พ.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ครั้งที่ 4 เดือน พฤศจิกายน 10 2,400.00 2,400.00
21 ม.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ครั้งที่ 5 เดือน มกราคม 10 2,400.00 2,400.00
1 - 30 มี.ค. 66 ค่าตอบแทนจัดทำรายงานเอกสารและคีย์ข้อมูลในระบบ 0 2,000.00 2,000.00
1 มี.ค. 66 ป้ายไวนิลโครงการฯ 0 1,000.00 1,000.00
18 มี.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน มีนาคม ครั้งที่ 6 10 0.00 2,400.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 4.42
3 พ.ค. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
7 948.00 5 1,468.40
5 พ.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการย่อยฯ 3 408.00 408.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ 2 240.00 240.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 20.40
22 ต.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยฯ การจัดการข้อมูล ครั้งที่ 2 2 300.00 300.00
31 พ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ครั้งที่ 1 เดือน พฤษภาคม 10 14,400.00 2,400.00
10 14,400.00 1 2,400.00
17 ก.ย. 65 ร่วมเวทีติดตามประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1 3 450.00 -
3 450.00 0 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีคณะกรรมการและกลุ่มเกษตรที่เข้มแข็ง 2.มีการติดตาม ประเมินผลร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง 3.เกษตรกรมีความรู้GAP
4.ผักได้รับมาตรฐาน GAP และสามารถขยายพื้นทีปลูกเพิ่มขึ้น
5.มีแผนการจัดส่งผักปลอดภัยเข้าตลาดโรงพยาบาลและ มีข้อมูลผักที่ตลาดต้องการทั้งใน-นอกพื้นที่

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:18 น.