directions_run

ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยชุมชนเลสุ ตำบลกาลูปัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยชุมชนเลสุ ตำบลกาลูปัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-02-013
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยชุมชนเลสุ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัสมิน ยะฮะแต
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0849692681
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายรุสดี ยาหะแม
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนเลสุ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.474206,101.364155place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ประจำปี 2565 ประเด็นยุทธศาสตร์ผักปลอดภัย มีเป้าหมายเพื่อลดการนำเข้าผักจากนอกพื้นที่ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการของกลุ่ม 2 รูปแบบ คือ
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ ลำใหม่ บาเจาะ บันนังสตา และบุดี
2. กลุ่มเกษตรกร จำนวน 9 พื้นที่ ได้แก่ ยะต๊ะ ทุ่งเหรียง คลอดทราย ยะหา กาตอง วังพญา บาโงย บือมัง และเลสุ รวมพื้นที่ในการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 13 พื้นที่
หมู่บ้านเลสุ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ขับเคลื่อนโครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ผักปลอดภัย ตามรูปแบบกลุ่มเกษตรกร โดยเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุดใน 4 หมู่บ้านของตำบลกาลูปัง มีประชากรทั้งหมด 353 คนมีครัวเรือนทั้งหมด 86 หลังคาเรือน นับถือศาสนาอิสลาม 100 เปอร์เซนต์เป็นชุมชนชนบทมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม อาชีพส่วนใหญ่มีการทำนาปีละครั้ง มีทุ่งนารอบ ๆ หมู่บ้าน 200 ไร่ รองลงมาทำสวนยางพารา สวนไม้ผล และปลูกพืชผักต่างๆ โดยสภาพมีการถมที่นาเพื่อสร้างบ้าน ริมถนนคอนกรีตเข้าหมู่บ้านมีทางเข้าเป็นถนนเส้นเดียว มีคลองส่งน้ำขอนามกับถนนคอนกรีตเข้าหมู่บ้านมีคลองและมีแหล่งน้ำสามแหล่ง ลักษณะที่ตั้ง ตำบลกาลูปัง เป็นตำบลหนึ่งใน 16 ตำบลของอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ห่างจากที่ว่าการอำเภอรามันไป ทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร สายทางหลวงหมายเลข 4060 สายยะลา-รามัน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 20.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,812.50 ไร่   ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลกอตอตือร๊ะ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน   ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน   ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน   ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบาโงย ตำบลโกตาบารู อำเภอรามันตำบลกาลูปัง

แบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน คือ   หมู่ที่ 1    บ้านบือแนบารู   หมู่ที่ 2    บ้านกาลูปัง   หมู่ที่ 3    บ้านบาลูกา   หมู่ที่ 4    บ้านเลสุ

หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวน รวม ชาย หญิง
1 บ้านบือแนบารู 179 402 379 761 2 บ้านกาลูปัง 329 678 730 1,408 3 บ้านบาลูกา      152 281 306 587 4 บ้านเลสุ 86 167 186 353 รวม 746 1,528 1,601 3,129
ในปัจจุบันคนในชุมชนนิยมซื้อผักตามตลาดนัด เนื่องจากความสะดวกสบาย ราคาถูก และมีให้เลือกหลายชนิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถทราบถึงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตหรือความปลอดภัยของผักที่นำมาบริโภคได้ แต่ก็ไม่มีทางเลือกเพราะคนในชุมชนจำเป็นต้องบริโภค นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพและค่าครองชีพ โดยเฉลี่ยคนในชุมชนมีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อผักมาบริโภค ประมาณ 34,400 บาท/เดือน โดยเฉลี่ยครัวเรืองละ 400 บาท/เดือน แต่ยังมีคนในชุมชนบางส่วน ร้อยละ 20 - 30 เปอร์เซ็น มีการปลูกผักไว้รับประทานเองในพื้นที่รอบๆ บ้าน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ดูแลง่าย เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า เป็นต้น คนส่วนน้อยมาก ร้อยละ 5 – 10 เปอร์เซ็น ที่จะปลูกผักไว้ขาย เนื่องจาก ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการปลูก ดูแลรักษา ส่วนใหญ่ยังปลูกแบบดั้งเดิม ไม่มีแผนการผลิต ไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย และยังขาดความรู้เกี่ยวกับความอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการเพาะปลูกผักปลอดสารเคมี
การสร้างให้คนในชุมชนหันมาคำนึงถึงสุขภาพโดยศึกษาผลกระทบ และความรู้ในการปลูกผักแบบปลอดภัย และได้รับผลผลิตที่มีปริมาณ และคุณภาพที่สูง โดยคนในชุมชนมีจุดแข็ง คือ การที่มีแม่ค้าคนกลางที่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน เพื่อนำไปขายที่ตลาด และมีร้านอามานะห์ที่เป็นศูนย์กลางร้านอาหารของชุมชนที่คอยรับซื้อผักจากชาวบ้านเช่นกัน และมีบางส่วนที่ขายให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อการขยายกลุ่มคนปลูกผักให้มีมากขึ้น และส่งเสริมให้ชุมชนหันมาปลูกผักเป็นอาชีพเนื่องจากคนในชุมชนบางส่วนมีการปลูกผักเพื่อกินแต่กินแล้วเหลือเมื่อเอาไปขายก็ไม่พอ ดังนั้นจึงต้องให้ความรู้ถึงปริมาณที่ชัดเจนในการปลูกเพื่อให้ประกอบอาชีพได้ และยกระดับมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน โดยขอเครื่องหมายรับรองผักปลอดภัยจากองค์กรที่รับผิดชอบเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่อยู่นอกชุมมชน กลุ่มเป้าหมายแรกที่ต้องคำนึง คือ สุขภาพของคนในชุมชน และรองลงมา คือ ผู้ที่บริโภคผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน การสร้างประโยชน์ต่อคนในสังคมเป็นวงกว้างจะต้องเริ่มจากคนในชุมชนเสียก่อน เนื่องจากโครงการมีการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ทำให้ผักปลอดภัย และรูปแบบการยกระดับมาตรฐานของผลผลิต โดยขอตรารับรองผักปลอดภัยเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคที่ต้องการ และสนใจในเรื่องสุขภาพโดยเพิ่มความมั่นใจต่อผู้บริโภค และลดความกังวลเรื่องสารตกค้าง ทำให้คนในสังคมหันมาบริโภคผักมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพดีและร่างกายแข็งแรงลดโรคขาดสารอาหารในเด็ก ที่สำคัญทำให้ชุมชนเกิดรายได้จากการยกระดับมาตราฐานเนื่องจากเครื่องหมายรับรองเป็นที่ยอมรับของตลาดชุมชนสามารถขยายตลาดที่ไม่ใช่แค่ขายในชุมชนหรือตลาดนัด แต่ยังสามารถเข้าถึงองค์กรหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน และซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อ3 พัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง

1.มีคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง 2.มีกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง 3.มีการติดตาม ประเมินผล ร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง

80.00
2 เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตและบริโภคผักปลอดัยตามมาตราฐานGAP

1.ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน 2.มีพื้นที่ปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น

80.00
3 เพื่อการบริหารจัดการโครงการ

1.โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.การรายงานผลเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพสามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้สำเร็จ

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เกษตรกรผู้ปลูกผักในชุมชนเลสุ 30 -
เกษตรกรผู้ปลูกผักในชุมชนใกล้เคียง 10 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66
1 ติดตามผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน(1 เม.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 5,200.00                        
2 พัฒนาศักยภาพโครงการย่อยร่วมกับหน่วยจัดจังหวัด(1 เม.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 10,000.00                        
3 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ(1 เม.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 14,300.00                        
4 ถอดบทเรียนและสรุปโครงการ(1 เม.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 7,200.00                        
5 อบรมสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตผักปลอดภัย(1 เม.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 33,250.00                        
รวม 69,950.00
1 ติดตามผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 5,200.00 2 5,200.00
21 พ.ย. 65 ประชุมติดตามผลการผลิตการรับรองมาตราฐานGAP 40 4,000.00 4,000.00
29 ธ.ค. 65 ติดตามและประเมินผลAREครั้งที่2 40 1,200.00 1,200.00
2 พัฒนาศักยภาพโครงการย่อยร่วมกับหน่วยจัดจังหวัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 209 10,000.00 19 10,531.55
1 เม.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมจัดทำรายงานโครงการ 1 2,000.00 2,000.00
29 เม.ย. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
5 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 4 374.00 374.00
9 พ.ค. 65 จัดทำป้ายไวนิลโครงการและไวนิลเขตปลอดบุหรี่ 40 1,000.00 1,000.00
15 พ.ค. 65 ป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์ 40 1,500.00 1,500.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ 2 264.00 264.00
17 ก.ย. 65 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่1 3 300.00 300.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 9.41
22 ต.ค. 65 เวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการตามผลลัพธ์ย่อย 2 300.00 300.00
6 พ.ย. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการเผยแพร่/ขยายผลการดำเนินงาน 1 230.00 230.00
31 ม.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการร่วมกับพี่เลี้ยงเฉพาะกิจ 10 300.00 300.00
4 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่2 2 320.00 320.00
14 ก.พ. 66 พบภาคีเครือข่ายประสานงานชุมชน 10 300.00 300.00
1 มี.ค. 66 ส่งเสริมการสร้างแปลงตัวอย่างชุมชน 40 1,200.00 1,200.00
10 มี.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการและสมาชิกร่วมกับพี่เลี้ยงเฉพาะกิจ 40 1,200.00 1,200.00
18 มี.ค. 66 ร่วมเวทีจัดการข้อมูลโครงการย่อย 2 132.00 132.00
24 มี.ค. 66 อบรมยกระดับกลุ่มรัฐวิสาหกิจ 10 300.00 300.00
25 มี.ค. 66 พบกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่จังหวัดยะลา 2 280.00 280.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 22.14
3 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 14,300.00 9 14,300.00
10 พ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่1 10 1,400.00 1,400.00
13 พ.ค. 65 เวทีออกแบบการเก็บและสำรวจข้อมูลเกษตรกร 10 1,700.00 1,700.00
13 พ.ค. 65 เปิดรับสมัครสมาชิกใหม่ร่วมโครงการ 40 400.00 400.00
19 ก.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่2 10 1,400.00 1,400.00
5 ก.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่3 10 1,400.00 1,400.00
21 พ.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่4 10 1,400.00 1,400.00
26 ธ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่5 10 1,400.00 1,400.00
20 ก.พ. 66 จัดอบรมการบริหารจัดการกลุ่ม และความรู้ด้านการรับรองมาตรฐานGAP 10 3,800.00 3,800.00
6 มี.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่6 10 1,400.00 1,400.00
4 ถอดบทเรียนและสรุปโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 7,200.00 2 7,200.00
21 มี.ค. 66 ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3 40 1,200.00 1,200.00
31 มี.ค. 66 เวทีสรุป ปิดโครงการ 40 6,000.00 6,000.00
5 อบรมสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 170 33,250.00 4 33,250.00
2 มิ.ย. 65 เวทีการตรวจแปลงเกษตรกรก่อนการปลูก เพื่อ ปรับ/เตรียมการปลูกที่ถูกต้องตามขั้นตอน รับรอง GAP 40 7,000.00 7,000.00
10 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP 40 8,000.00 8,000.00
20 มิ.ย. 65 เวทีพัฒนา เพื่อยกระดับกลุ่ม ศึกษาดูงานพพื้นที่ต้นแบบวิสาหกิจชุมชน(สวนนูรีสฟาร์มลำใหม่) 50 13,900.00 13,900.00
15 มี.ค. 66 เวทีจัดทำแผนการผลิตของสมาชิก และกลุ่ม 40 4,350.00 4,350.00
23 ก.ค. 65 เวที ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE ครั้งที่ 1) 40 1,200.00 1,200.00
130 30,050.00 4 30,050.00
8 ก.ย. 65 อบรมการปรุงดินและทำปุ๋ยชีวภาพ 40 9,400.00 9,400.00
12 ก.ย. 65 ปลูกผักปลอดภัย ค่าอุปกรณ์ และเมล็ดพันธ์พืช 40 18,450.00 18,450.00
16 มี.ค. 66 กิจกรรมตรวจแปลง - รวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อรับรองมาตรฐาน 10 1,000.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:19 น.