directions_run

ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู ”

ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางคอรีเยาะ สลีมิน

ชื่อโครงการ ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู

ที่อยู่ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-01-013 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู



บทคัดย่อ

โครงการ " ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-01-013 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 107,480.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอ  รามันใน 3 ปี ย้อนหลัง ปี 2562 2563 2564 พบว่าตำบลโกตาบารูมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 48,46,40 ครั้ง ตามลำดับ โดยสถิติปี 2564 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 2,210 ครั้ง เสียชีวิต 79 คน ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอรามัน 260 ครั้ง เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บจำนวน 363 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าตำบลโกตาบารู ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 40 ครั้ง เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บจำนวน 38 คน สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลโกตาบารู จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ จากการสำรวจของประชาชนยังคงพบจุดเสี่ยงอันตรายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแห่งใหม่ จึงทำให้การดำเนินการกิจกรรมต่างๆต้องมีความต่อเนื่องและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่แท้จริง จากการได้งบประมาณมาช่วยในเรื่องการก่อตั้งคณะทำงานการดำเนินกิจกรรมในปีที่ผ่านมาจาก สสส ตำบลโกตาบารู ได้ดำเนินการเฝ้าระวังการป้องกันและแก้ไขจุดเสี่ยง ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การให้ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับบริบทในชุมชน จนได้รับการยอมรับจากชุมชม การให้ความร่วมมือชี้จุดเสี่ยง ให้ข้อมูลด้านพฤติกรรมเสี่ยง การช่วยกันสอดส่องดูแล การร่วมใช้กฎกติกาชุมชนได้ดี แต่อุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่พบว่ายังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานจึงต้องมีการขับเคลื่อนงานผ่านเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ และพัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ ศปถ.ท้องถิ่นได้มีวิทยากร “ครู ข” ที่มีขีดความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวินัยจราจร และหลักแห่งความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยให้แก่ประชากรในชุมชน หมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งวิทยากร “ครู ข”จะมาจากอาสาสมัครในพื้นที่เช่น อปพร. อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำด้านจิตวิญญาณ ดังนั้นทางตำบลโกตาบารู มุ่งหวังในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต จึงจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารูโดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชน หน่วยงานต่างๆในพื้นที่โกตาบารู และพื้นที่ที่สนใจศึกษาแนวทางของตำบลโกตาบารู เพื่อส่งเสริมให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชนด้วยกัน สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชุมชนอื่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
  2. เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมร่วมกับ สสส.
  2. ประชุมคณะทำงานโครงการ
  3. เปิดบัญชีธนาคาร
  4. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ
  5. อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน
  6. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
  7. การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
  8. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข)
  9. จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน
  10. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป
  11. เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯประจำปี2565
  12. เวทีปฐมนิเทศโครงการย่อยฯปี2565
  13. เวทีเรียนรู้การจัดการทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ
  14. จัดทำป้ายไวนิลโครงการและไวนิลเขตปลอดบุหรี่
  15. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  16. อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน
  17. สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (พร้อม ARE ครั้งที่ 1)
  18. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
  19. ประชุมร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่1
  20. ดอกเบี้ยรับ
  21. การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
  22. เวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการติดตามผลลัพธ์ย่อย
  23. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่1
  24. สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 (พร้อม ARE ครั้งที่ 2)
  25. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่2
  26. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข)
  27. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่3
  28. สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 (พร้อม ARE ครั้งที่ 3)
  29. พัฒนาศักยภาพโดยหน่วยจัดการ
  30. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่ภ
  31. จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน
  32. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป
  33. ดอกเบี้ยรับ
  34. ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
  35. กิจกรรมทำรายงานโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะทำงาน 36

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯประจำปี2565

วันที่ 12 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมและสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เน้นย้ำการจัดทำบันไดผลลัพธ์เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นางอัญชลี จอง ร่วมด้วยนางสาวเกษรินทร์ มา๊ะดาแต คณะทำงานโครงการ เข้าร่วมกิจกรรม โดยสามารถเข้าใจและมีความรู้เพิ่มขึ้นด้านการพัฒนากระบวนการของบันไดผลลัพธ์ในกิจกรรม

 

2 0

2. เปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 27 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

3. เวทีปฐมนิเทศโครงการย่อยฯปี2565

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.บรรยายและนำเสนอเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด 2.เรียนรู้การบันทึกข้อมูลในระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.แกนนำเข้าใจเจตนารมณ์การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด 2.แกนนำเรียนรู้และเข้าใจการบันทึกข้อมูลในระบบ 3.แกนนำสามารถขับเคลื่อนงานประเด็นลดอุบัติเหตุทางถนนได้

 

3 0

4. เวทีเรียนรู้การจัดการทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ

วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทางหน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญจังหวัดยะลาได้จัดกิจกรรมเวทีเรียนรู้การจัดการทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ มีผู้เข้าร่วม 42 คน ได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการนำเข้าข้อมูลในระบบเพื่อให้เป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.นางสาวเกษรินทร์ มาน๊ะดาแต พร้อมด้วย นางอัญชลี จอง คณะดำเนินโครงการย่อยเข้าร่วมกิจกรรมโดยทราบกระบวนการทำรายงานให้สำเร็จลุล่วงและทันเวลา 2.คณะทำงานโครงการย่อยเกิดความเข้าใจสามารถเข้าระบบรายงานผลและบันทึกข้อมูลแผนกิจกรรม/แผนงบประมาณได้ 3.คณะทำงานโครงการย่อย สามารถสามารถบันทึกข้อมูลผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ และสามารถแนบเอกสารหลักฐานพร้อมรูปถ่ายกิจกรรมได้

 

2 0

5. จัดทำป้ายไวนิลโครงการและไวนิลเขตปลอดบุหรี่

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจและสามารถรับรู้ถึงการจัดทำกิจกรรมโครงการ

 

1 0

6. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

วันที่ 27 มิถุนายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

2.1แนะนำการขับเคลื่อนโครงการศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบล
โกตาบารู โดยนายรุสลาม สาร๊ะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ในฐานะคณะหน่วยจัดการจังหวัดระดับจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดยะลา 2.2สร้างความเข้าใจการดำเนินงานโครงการ การจัดกิจกรรมต่างๆ และบันไดผลลัพธ์โครงการ
ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลโกตาบารู 2.3ทบทวนอนุกรรมการตัวแทนรพ.สต./ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล/ตัวแทนอปท/ ตัวแทนผู้นำชุมชน/ครู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางคณะดำเนินโครงการได้ดำเนินกิจกรรมประชุม โดยมีนายอุสมาน ซาและ ปลัดอำเภอ เป็นประธานในการประชุม และมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 36 คน จากการประชุมพบว่าคณะทำงานโครงการ 1.มีความเข้าใจถึงการขับเคลื่อนโครงการศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลโกตาบารู และมีการลำดับจัดกิจกรรมต่างๆ และบันไดผลลัพธ์โครงการ ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลโกตาบารู เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่สอดคล้องและสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 2.มีการทบทวนอนุกรรมการตัวแทนรพ.สต./ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล/ตัวแทนอปท/ตัวแทนผู้นำชุมชน/ครู

 

36 0

7. อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู จัดอบรม เรื่องการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงานร่วมกัน  โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ ดังนี้
1.นายอัฟฎอล จุฬาอภิวัฒน์ มาบรรยายเรื่อง พลังเครือข่ายในการป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนน เทคนิคการทำงานเป็นทีม การสื่อสารในทีมและการบูรณาการการทำงานในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เรื่องการลดอุบัติเหตุทางถนน 2.นายอุสมาน วานิ ได้บรรยายเรื่องสถานการณและสถิติของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์จุดเสี่ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน พร้อมหาแนวทางป้องกันและเน้นให้คณะทำงานร่วมกันวางแผนเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน พร้อมเรียนรู้เทคนิคการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่าย และได้เรียนรู้ถึงบทเรียนที่ประสบสำเร็จในการดำเนินงาน
ณ.ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
1.ทหารพราน ฉก.4111 2.สภ.โกตาบารู 3.กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านตำบลโกตาบารูและโรงเรียนบ้านนาเตย 4.ครูโรงเรียนบ้านโกตาบารู 5.เทศบาลตำบลโกตาบารู 6.โรงพยาบาลรามัน 7.อสม. 8.ครูกศน. 8.แม่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 36 คน ผลลัพธ์ เครือข่ายมีความรู้เรื่องในการป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนน เทคนิคการทำงานเป็นทีม การสื่อสารในทีมและการบูรณาการการทำงานในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เรื่องการลดอุบัติเหตุทางถนน เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 90 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์จุดเสี่ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน พร้อมหาแนวทางป้องกัน มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยง มีการสื่อสารในทีมและการบูรณาการการทำงานในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เรื่องการลดอุบัติเหตุทางถนน

 

36 0

8. สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (พร้อม ARE ครั้งที่ 1)

วันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งนี้มีท่านนายกเทศมนตรีตำบลโกตาบารู นายมาหะมะรอยี แวหะมะ เป็นประธานในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 36 คน เป็นคณะดำเนินงานโครงการได้ทราบและเสนอข้อคิดเห็นในการดำเนินงานประเด็นอุบัติเหตุ เพื่อต่อยอดและเร่งดำเนินกิจกรรมที่จะทำในอนาคตเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ทั้งนี้นายประพันธ์ สีสุข นวก.สาธารณสุขชำนาญการ และคณะ  ได้เข้าร่วมมอบป้ายศูนย์เรียนรู้ตำบลโกตาบารู พร้อมเสริมพลังแก่ทางทีมและคณะดำเนินโครงการย่อยประเด็นอุบัติเหตุ ในการประชุมครั้งนี้

 

36 0

9. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย

วันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู ได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย พร้อมรณรงค์การสวมหมวกกันน็อค เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจคณะทำงานและผู้นำชุมชนเพื่อเป็นแบบอย่าง โดยมีตำรวจสายงานจราจร สภ.โกตาบารูและประธานหน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน ร่วมเป็นวิทยการ ณ ลานงานบรรเทางานสาธารณภัยเทศบาลตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
  • สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน
  • เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไขเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน
  • ประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจร

 

100 0

10. ประชุมร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่1

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.หน่วยจัดการพบปะและเสริมพลัง 2.โครงการย่อยนำเสนอกิจกรรม/ความก้าวหน้าการดำเนินการของโครงการ 3.เสวนาโครงการย่อยโดยนำกลุ่มที่ดำเนินโครงการปีที่แล้วร่วมแลกเปลี่ยน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นางสาวเกษรินทร์ มาน๊ะดาแต ร่วมด้วยนางอัญชลี จอง เข้าร่วมกิจกรรม โดยทำให้มีความรู้และกระบวนการดำเนินงานมีลำดับขั้นตอน พร้อมทั้งนำเสนอการผลการดำเนินงานของโครงการในระยะต้น ทั้งนี้นางสาวเกษรินทร์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเสวนา ประเด็นการดำเนินกิจกรรมลดอุบัติเหตุทางถนน

 

3 0

11. ดอกเบี้ยรับ

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยรับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยรับ

 

0 0

12. การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย

วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากการประชุมได้วิเคราะห์จุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ จึงนำผลจากการประชุมมาปรับปรุงแก้ไข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการจำนวน 36 คน ได้ร่วมกันปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งจุดเสี่ยงที่ได้รับการวิเคราะห์จากทีม พบว่า8 จุดมีความหลากหลายจากปัจจัย เช่น ต้นไม้บดบังทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง บริเวณทางโค้งมีทรายตกหล่นทำให้ถนนลื่น ทางทีมได้ร่วมกันปรับปรุงจุดเสี่ยงตามความเหมาะสมของแต่ละจุด ส่งผลให้จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุง ส่วนที่ไม่สามารถจัดการเองได้ ประสานทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น จุดเสี่ยงเกิดจากขาดความสว่างบนถนน มีการประสานทางทต.โกตาบารูต่อไป และได้รับการแก้ไขพร้อมทั้งทางทีมได้ติดตาม จากกิจกรรมข้างต้น ผลการดำเนินงานทำให้จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุง

 

36 0

13. เวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการติดตามผลลัพธ์ย่อย

วันที่ 22 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการได้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทบทวนก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำโครงการย่อยจำนวน2คนได้แก่นางสาวเกษรินทร์  มาน๊ะดาแต และนางอัญชลี จอง เข้าร่วมเวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการติดตามผลลัพธ์ย่อยในวันที่ 22/10/2022 สถานที่ห้องวังแก้วโรงแรมยะลาแกรนด์พาเลช เข้าร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพและผลลัพธ์ครั้งที่ 1
ณ ห้องประชุมวังแก้ว โรงแรมแกรนด์พาเลซยะลา ในหัวข้อเรื่องของการคีย์บันทึกรายงานผลลัพธ์และการจัดการการเงินที่ได้ดำเนินการ เพื่อเรียนและได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพื่อเตรียมการเบิกงบประมาณงวดในงวดที่ 2 ตามแผนต่อไป

 

2 0

14. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่1

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการจำนวน จำนวน 18 คน ได้ร่วมสำรวจจุดเสี่ยง
2.จุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วจำนวน 6 จุด ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

 

18 0

15. สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 (พร้อม ARE ครั้งที่ 2)

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามการดำเนินงานดังนี้ 1. ติดตามวิเคราะห์จุดเสี่ยงใหม่ เพื่อแก้ไขและส่งต่อแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.การรายงานกรณีเกิดเหตุอุบัติเหตุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งนี้มี นายอุซมาน ซาละ เป็นประธานในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 36 คน เป็นคณะดำเนินงานโครงการได้ทราบและเสนอข้อคิดเห็นในการดำเนินงานประเด็นอุบัติเหตุ เพื่อต่อยอดและเร่งดำเนินกิจกรรมที่จะทำในอนาคตเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

 

36 0

16. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่2

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนคณะกรรมสำรวจ
2.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
3.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานทั้ง18 คน สำรวจจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว ผลปรากฎว่าไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในจุดเสี่ยงที่ได้แก้ไขแล้ว มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในจุดเสี่ยงใหม่และจุดที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ

 

18 0

17. พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข)

วันที่ 28 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เชิญ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดี

 

18 0

18. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่3

วันที่ 15 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนคณะกรรมการสำรวจ
2.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
3.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการสำรวจได้ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วจำนวน 18 ราย
ผลปรกฏว่ามีอุบัติเหตุบริเวณสามแยกตะโละเลาะ เกิดขึ้น1ครั้ง

 

18 0

19. สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 4 (พร้อม ARE ครั้งที่ 3)

วันที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
1.ติดตามการเกิดอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว 2.วิเคราะห์สาเหตุอุบ้ติเหตุที่เกิดในระยะดำเนินการก่อนนี้ 3.ร่วมกันหาแนวทาง และกลวิธีให้ได้อย่างชัดเจน
4.เสริมพลังทีมงานเพื่อลดช่องว่างกันในทีม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งนี้มีนายอุซมาน ซาและ เป็นประธานในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 36 คน เป็นคณะดำเนินงานโครงการได้ทราบและเสนอข้อคิดเห็นในการดำเนินงานประเด็นอุบัติเหตุ เพื่อต่อยอดและเร่งดำเนินกิจกรรมที่จะทำในอนาคตเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

 

36 0

20. พัฒนาศักยภาพโดยหน่วยจัดการ

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship Yala) ได้กำหนดจัดเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 เพื่อให้หนุนเสริมโครงการย่อยฯ เกิดผลลัพธ์ ความสำเร็จตามแผนงานโครงการ ณ ห้องประชุมแกรนด์พาเลส จังหวัดยะลา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คน 1.นางสาวเการินทร์ มาน๊ดาแต 2. นางอัญชลี จอง ได้รับความรู้จากการนำเสนอผลการดำเนินโครงการของโครงการย่อยฯแต่ละโครงการ และได้ร่วมวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาโครงการของตนต่อไป

 

2 0

21. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่4

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนคณะกรรมdkiสำรวจ
2.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
3.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการสำรวจจำนวน18 คน ได้ดำเนินการสำรวจ พร้อมบันทึก การเกิดอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว ไม่พบการเกิดอุบัติเหตุทางถนน มีพบจุดใหม่บริเวณบ้านเฆาะใกล้มัสยิด

 

18 0

22. จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศปถ.ตำบลโกตาบารู จัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว จำนวน 120 คน

 

120 0

23. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.นำเสนอการดำเนินงานและแนวทางลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลโกตาบารู โดยppt 3.เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็น อุบัติเหตุทางถนนลดได้เริ่มจากตัวเรา 4.สะท้อนผลและเติมเต็มเพื่อนำไปใช้ในชุมชนต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 100คน 2.กลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลายทั้งหน่วยงานราชการ ภาคประชาสังคม ประชาชน ผู้ประกอบการ นับว่ามีความสนใจในกิจกรรม
3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และมีการสื่อสาร2ทาง ตอบโต้ไปมา ร่วมแสดงความคิดเห็นและยกกรณีตัวอย่างของตนเอง

 

100 0

24. ดอกเบี้ยรับ

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยรับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยรับ

 

0 0

25. ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 28 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเพื่อติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน 1.ติดตามสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนตำบลโกตาบารู 2.ติดตามการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งนี้มีนายอำมัด อะมิยะ กำนันตำบลโกตาบารู เป็นประธานในการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 36 คน เป็นคณะดำเนินงานโครงการได้ทราบและเสนอข้อคิดเห็นในการดำเนินงานประเด็นอุบัติเหตุ เพื่อต่อยอดและเร่งดำเนินกิจกรรมที่จะทำในอนาคตเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ และผลสรุปการดำเนินงานที่พบว่า ความรุนแรงในการเกิดอุกดบัติเหตุลดลง แต่จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุยังไม่ลดลง ส่วนอัตราการตายมีอัตรที่ลดลง

 

36 0

26. กิจกรรมทำรายงานโครงการ

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รายงานการเงินและรายงานกิจกรรม และบันทึกผลการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะอนุกรรมการฯ ที่เข้มเข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1.คณะอนุกรรมการฯศปถ.ประกอบด้วย ตัวแทนรพ.สต./ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล/ตัวแทนอปท/ตัวแทนผู้นำชุมชน 1.2.คณะอนุกรรมการมีความเข้าใจบริบทของพื้นที่ 1.3.คณะอนุกรรมการมีความรู้ RTI 1.4.มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ 1.5.มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลและการแก้ไขปัญหาได้ ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไก ศปถ.ตำบลและเกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1.เกิดคณะกรรมการ ศปถ.ตำบล(ตามระเบียบที่กำหนดไว้) 2.2.คณะกรรมการทำงานตามบทบาทหน้าที่ 2.3.มีแผนการดำเนินงานในกาขับเคลื่อนความร่วมมือและการบูรณาการ 2.4.เกิดโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนมีการประสานงานกับเครือข่าย 2.5.มีข้อมูลพื้นที่จุดเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ 2.6.เกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกขับเคลื่อนงานตามแผน(หมู่บ้าน/ตำบล) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.เกิดวาระตำบล/กติกาชุมชนและการบังคับใช้กติกา 3.2.เกิดการเชื่อมประสานกับกลไกระดับตำบล 3.3.เกิดกลไกลการป้องกันการเกิดเหตุอย่างต่อเนื่องของชุมชน 3.4.มีการติดตามการดำเนินงานตามแผนและคืนข้อมูลของศปถ.ตำบลและสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ 4 พฤติกรรมเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไขและส่งต่อร้อยละ 90 4.2.พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข ร้อยละ 70 4.3.ผู้ขับขี่มีการสวมหมวกนิรภัยร้อยละ70

 

2 เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง
ตัวชี้วัด : 1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50 2. อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดร้อยละ 50 3. อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ50

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 36
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 36

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น (2) เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมร่วมกับ สสส. (2) ประชุมคณะทำงานโครงการ (3) เปิดบัญชีธนาคาร (4) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ (5) อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน (6) อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (7) การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (8) พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข) (9) จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน (10) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป (11) เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯประจำปี2565 (12) เวทีปฐมนิเทศโครงการย่อยฯปี2565 (13) เวทีเรียนรู้การจัดการทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ (14) จัดทำป้ายไวนิลโครงการและไวนิลเขตปลอดบุหรี่ (15) ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (16) อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน (17) สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (พร้อม ARE ครั้งที่ 1) (18) อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (19) ประชุมร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่1 (20) ดอกเบี้ยรับ (21) การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (22) เวทีติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินการติดตามผลลัพธ์ย่อย (23) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่1 (24) สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 (พร้อม ARE ครั้งที่ 2) (25) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่2 (26) พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข) (27) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่3 (28) สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 (พร้อม ARE ครั้งที่ 3) (29) พัฒนาศักยภาพโดยหน่วยจัดการ (30) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะครั้งที่ภ (31) จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน (32) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป (33) ดอกเบี้ยรับ (34) ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ (35) กิจกรรมทำรายงานโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-01-013

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางคอรีเยาะ สลีมิน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด