directions_run

(07)ชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัยห่างไกลโรคเรื้อรัง

assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 3)30 เมษายน 2566
30
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 4 คน
ประกอบด้วย นางลักขณา ชมภู นางวลีพร ศศิธร นางสาวปทิตตา สนานคุณ  พร้อมด้วยพี่เลี้ยงนางสมใจ ด้วงพิบูลย์

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ทีมเลขาฯชุมชนวัโพธิการาม พร้อมพี่เลี้ยง นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ เดินทางเข้าพบทีมตรวจสอบเอกสารและรายงานที่สำนักงานกลางของสมาคมประชาสังคมชุมพรสรุปรายละเอียดเอกสารการทำกิจกรรม เพื่อลงในเวบไซค์ฅนสร้างสุข
2 ทีมตรวจสอบตรวจเอกสารการเงิน เพื่อความถูกต้อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานเอกสารและรายงานการเงินถูกต้อง พร้อมที่จะลงรายงานทางเว็ปไซด์

จัดทำรายงานปิดโครงการ30 เมษายน 2566
30
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 จัดสรุปกิจกรรมที่เหลือทั้งหมด 2 จัดทำรายงานผ่านอินเตอร์เน็ต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 จัดทำสรุปกิจกรรมทั้งหมดเสร็จสิ้น 2 ทำข้อมูลผ่านอินเตอร์ทั้งหมด

ิกิจกรรมที่ 12 จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน (ปิดโครงการ)23 เมษายน 2566
23
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อสรุปกิจกรรมชุมชน ตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 – 12 ของชุมชนวัดโพธิการาม 2. เพื่อคืนข้อมูลชุมชน จากการทำกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด

ผู้เข้าร่วม จำนวน 150 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน สมาชิกในชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 จัดประชุมวางแผนการจัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน จากกิจกรรมที่ 1 – 12
กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงาน
กิจกรรมที่ 2 สำรวจ/ทบทวน สถานการณ์ปัญหาชุมชน (ก่อน-หลัง) กิจกรรมที่ 3 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วม ทั้งใน และนอกชุมชน กิจกรรมที่ 4 ประชุมชี้แจงในเวทีและประชุมประจำเดือน กิจกรรมที่ 5 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชน ติดตามผล กิจกรรมที่ 6 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม (กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง) กิจกรรมที่ 7 ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่ม ด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทางกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ 8 จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน กิจกรรมที่ 9 ประสานความรู้ ร่วมมือภาคีเครือข่าย ในการจัดบริการชุมชน กิจกรรมที่ 10 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ) กิจกรรมที่ 11 จัดเวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง กิจกรรมที่ 12 จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน 2 นายวิบูลย์ศักดิ์ โพธารส รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชุมพร เป็นประธานในพิธีปิดโครงการชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัย ห่างไกลโรคเรื้อรัง และเป็นเกียรติให้ผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดี ทำให้คณะทำงานได้กำลังใจ พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตร กับผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัล 3 นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ พี่เลี้ยงโครงการ สสส. ร่วมสรุปบทเรียน เพื่อให้สมาชิกเข้าใจ ว่าตั้งแต่ทำโครงการ มีความเคลื่อนไหวอะไรในชุมชน และชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง 4 นางปาณิศรา ชาญชัยศรี หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมฯ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองชุมพร ได้ให้ความรู้เรื่องการต่อยดหลังจบกิจกรรมชุมชน โดยมีเทศบาลเมืองเป็นผู้ให้ความรู้และสนับสนุนโครงการ 5 นายประมวล พรหมศร ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าถึงกิจกรรมที่ทำมาทั้งหมด ผลที่ได้รับ และคัดเลือกคนทำงาน เพื่อจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุต่อหลังจบโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้สมาชิกในชุมชน ได้ทราบข้อมูลการทำงานของคณะทำงานทั้งหมด
2 ทำให้สมาชิกได้ทราบข้อมูลของชุมชน ในส่วนที่ไม่เคยได้รับ เช่น แผนที่เดินดิน กติกาชุมชน กลุ่มเครือข่ายที่มีการประสานงาน ความรู้เรื่องสุขภาพ

กิจกรรมที่ 10 จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ)15 เมษายน 2566
15
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อคัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดี ของชุมชนวัดโพธิการาม 2. เพื่อหาต้นแบบของผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองด้าน กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อมดี ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน สมาชิกในชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 จัดประชุมวางแผนการคัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ) โดยใช้เกณฑ์ของผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองด้าน กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อมดี
2 จัดทีมคนลงมือทำงานได้ เพื่อเป็นผู้คัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ)
3 หลังจากได้บุคคลต้นแบบแล้ว คณะทำงานจัดทำเกียรติบัตร และจัดหาของรางวัล เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้บุคคลที่ได้รับรางวัล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้ผู้สูงอายุได้รับกำลังใจ ในการปฏิบัติตัวที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้บุคคลในชุมชนได้ทำปฏิบัติตามต่อไป 2 ทำให้มีตัวอย่างในการดูแลสุขภาพของบุคคลในชุมชน

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 คณะทำงานตัดสินใจยาก เพราะมีผู้สูงอายุสุขภาพดีหลายท่าน แก้ไขปัญหาด้วยโหวตของคณะทำงาน

ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย10 เมษายน 2566
10
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 1 คน
ประกอบด้วย นางลักขณา ชมภู

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 กลุ่มย่อยติดตามประเมินผลลัพธ์ โดยมีโจทย์การเรียนรู้
1.1 กลไกการจัดการพื้นที่/โครงการย่อย 1.2 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มีตัวบ่งชี้ ความสำเร็จอะไรบ้าง ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครทำ ใครช่วยบ้าง 1.3 บทเรียนหรือข้อค้นพบสำคัญใดบ้าง
2 นำเสนอผลการประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ประมวลสังเคราะห์โดยคุณสมใจ ด้วงพิบูลย์ คุณหนึ่งฤทัย พันกุ่ม 3 ให้ความเห็นข้อสังเกต โดยภาคียุทธศาสตร์ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ประเด็นจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่
4 สรุปการประชุมและนัดหมายกิจกรรมต่อไป โดยคุณทวีวัตร เครือสาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการย่อย สสส.
2. เพื่ออภิปรายการดำเนินงานโครงการกับความเชื่อมโยงสู่ชุมพรน่าอยู่ และสมัชชาสร้างสุขภาคใต้

พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 2)9 เมษายน 2566
9
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 4 คน
ประกอบด้วย นางลักขณา ชมภู นางวลีพร ศศิธร นางสาวปทิตตา สนานคุณ และพี่เลี้ยงนางสมใจ  ด้วงพิบูลย์

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 พบทีมงานตรวจสอบเอกสารและรายงาน โดยพี่เลี้ยง นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ สรุปรายละเอียดเอกสารการทำกิจกรรม และตรวจเบื้องต้น เพื่อลงในเวบไซค์ฅนสร้างสุข
2  เอกสารที่ตรวจความถูกต้องแล้วเอกสารการเงินลงในเวบไซค์ฅนสร้างสุข

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อสรุปกิจกรรม ลงเวบไซค์ฅนสร้างสุข 2. เพื่อตรวจความถูกต้องของเอกสารการเงิน

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 105 เมษายน 2566
5
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมเพื่อวางแผนรูปแบบสถานที่ กำหนดวันที่ เวลา เพื่อจัดกิจกรรมที่  12 ในวันที่ 23 เมษานชยน 2566 2.มอบหมายให้เลขาโครงการและกรรมการคัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดี(บุคคลต้นแบบ)โดยใช้เกณฑ์การเลือกด้านสุขภาพดี กาย จิต สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยคัดเลือกผู้สูงอายุได้มา 5 คน 3.เลขาโครงการจัดทำเกียรติบัตรและของรางวัลให้ ผู้สูงอายุสุขภาพดี (บุคคลต้นแบบ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้ได้รู้รูปแบบกาจัดสถานที่อย่างไร 2.รู้เกณฑ์การคัดเลือกผู้สูงอายุสุขภาพดี

พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 1)26 มีนาคม 2566
26
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 3 คน
ประกอบด้วย นางลักขณา ชมภู นางวลีพร ศศิธร นางสาวปทิตตา สนานคุณ

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 พบทีมตรวจสอบเอกสารและรายงาน พร้อมพี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ สรุปรายละเอียดเอกสารการทำกิจกรรม
2 พี่เลี้ยง ตรวจเอกสารการเงิน เพื่อความถูกต้องพร้อมที่จะลงในเวบไซค์ฅนสร้างสุข

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เพื่อสรุปกิจกรรม ลงเวบไซค์ฅนสร้างสุข
  2. เพื่อตรวจความถูกต้องของเอกสารการเงิน
กิจกรรมที่ 11 จัดเวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง19 มีนาคม 2566
19
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดตามบันไดผลลัพธ์ 2. เพื่อช่วยกันวิเคราะห์บันไดผลลัพธ์ 3. เพื่อเตรียมตัวสิ้นสุดโครงการ

ผู้เข้าร่วม จำนวน 25 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน และผู้สูงอายุในชุมชน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) การเรียนรู้ครั้งนี้เป็นการดำเนินการในเรื่องการประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE ครั้งที่ 3) และเวทีการถอดบทเรียน โดยดำเนินการดังนี้ 1 คณะทำงานร่วมกันประชุมวางแผนการจัดกิจกรรม 2 คณะทำงานจัดสถานที่ ณ ห้องประชุมวัดโพธิการาม 3 เริ่มประชุมโดยการเล่าถึงความเป็นมาของโครงการ ชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัยห่างไกลโรคเรื้อรัง ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ จนถึงวันสิ้นสุดโครงการ (11 พ.ค.65 – 30 เม.ย.66) 4 ร่วมกันวิเคราะห์การดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ในแต่ละขั้น - บันไดขั้นที่ 1 เริ่มจัดตั้งคณะทำงานที่ร่วมจัดการ โรคเรื้อรังในชุมชน เพื่อจัดการเรื่องฐานข้อมูลชุมชน และแผนการจัดการโรคเรื้องรังในชุมชน
- บันไดขั้นที่ 2 เกิดกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม โดยมีการจัดประชุมประจำเดือน จัดเวทีประชาคมจนเกิดกติกาชุมชน ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม
- บันไดขั้นที่ 3 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงรุกในชุมชน ปฏิบัติการในพื้นที่จริง ด้วยการให้ความรู้ 3อ 2ส จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน จัดเวทีการประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา (ARE) ครั้งที่3
5 ร่วมกันวางแผนการดำเนินการบันไดขั้นที่ 4 เพื่อประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี และจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ 6 กิจกรรมถอดบทเรียนทำให้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในรอบที่สอง ก่อนปิดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1 เริ่มจัดตั้งคณะทำงานที่ร่วมจัดการ โรคเรื้อรังในชุมชน ที่ส่งผลให้เกิดตัวชี้วัดในเรื่องการมีฐานข้อมูลชุมชน และมีแผนการจัดการโรคเรื้อรัง เพื่อดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อย ก่อนการจัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน (ปิดโครงการ)
  2 บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 เกิดกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดทีมเพื่อนช่วยเพื่อดูแล     สุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีแผนชุมชนพึ่งตนเอง และผลักดันเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมือง     ชุมพร 3 บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงรุกในชุมชน ประสานความรู้ ร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจัดบริการชุมชน จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี
(บุคคลต้นแบบ) 4 มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุในชุมชนวัดโพธิการาม

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 95 มีนาคม 2566
5
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พี่เลี้ยงมาเตรียมความพร้อมให้ผู้รับผิดชอบงานในแต่ละคน ว่าควรเตรียมอย่างไร พิธีกรควรผู้อย่างไรในวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2566 ที่ศาลาเอนกประสงค์วัดโพธิการาม 2.มอบหมายให้เลขาโครงการ เตรียมเอกสารการดำเนินงานของกิจกรรม 3.ประธานแจ้งที่ประชุมเรื่องเราจะจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้รู้แผนการทำงานของแต่ละกิจกรรม 2.วางแผนงานครั้งต่อไป 3.ได้รู้ถึงปัญหาการทำงาน

หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ20 กุมภาพันธ์ 2566
20
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จ่ายเงินยืมเปิดบัญชีหัวหน้าโครงการ จำนวน 500 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการคืนเงินให้ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้สำรองเงินเปิดบัญชี

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 85 กุมภาพันธ์ 2566
5
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมเพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ในกิจกรรมที่ยังไม่ได้สรุปไม่เสร็จ 2.วางแผนการจัดกิจกรรมการถอกบทเรียนการจัดความรู้โรคเรื้อรัง 3.พี่เลี้ยงมอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำแผนที่เดินดินและรายละเอียดบันไดผลลัพธ์เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้ได้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมาได้ดีขึ้น 2.ทำให้รูว่าต้องทำแผนที่เดินดินยังไง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 75 มกราคม 2566
5
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมเพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด บอกข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นของการทำงาน คนทำงานเหลือกี่คนและวางแผนการทำงานครั้งต่อไป 2.มอบหมายหน้าที่ให้คนที่ลงมือทำงานได้ทำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้รู้ว่ายังมีคนทำงานได้กี่คนและในแต่ละคนมีความสามารถอะไรบ้าง 2.ทำให้วางแผนงานครั้งถัดไปได้ง่ายขึ้น

กิจกรรมที่ 9 ประสานความรู้ร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจัดบริการประชาชน18 ธันวาคม 2565
18
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อประสาน PCU เทศบาลเมืองชุมพร เพื่อการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2. เพื่อจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 จัดประชุมวางแผนการทำกิจกรรม เพื่อให้กรรมการที่เกี่ยวข้องประสานงานไปยัง PCU เทศบาลเมืองชุมพร เพื่อการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีนางปาณิศรา ชาญชัยศรี หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมฯ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองชุมพร มาร่วมรับฟัง และให้คำปรึกษาเรื่องการก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุ ว่าขั้นตอน กระบวนการการจัดตั้ง ควรเริ่มจากการรวบรวมรายชื่อ จัดตั้งคณะทำงาน นำเสนอไปยังเทศบาลเมือง จัดประชุมคุยงาน และลงมือทำงาน
2 นางวิลัยวรรณ โมราศิลป์ อาจารย์ กศน. ตำบลท่าตะเภา มาเล่าถึงการเรียนเพื่อส่งเสริมอาชีพ โดยมีงบของ กศน. สนับสนุน เพื่อให้สมาชิกมีกิจกรรม และสามารถนำสิ่งที่เรียนไปต่อยอดได้ 3 นางสาวสุภาวดี นนทรี อสม.บ้านวัดประเดิม มาให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น นำออกกายบริหาร และร่วมทำกิจกรรมกับชุมชน 4 นางสมใจ ด้วงพิบูลย์ และนางวีรวรรณ ลิ่มทอง พี่เลี้ยงโครงการ สสส. ให้ความรู้และการจัดทำโครงการ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้รับฟังข่าวสารจากเทศบาล อย่างสม่ำเสมอ 2 ทำให้ผู้สูงอายุได้ทราบว่า กศน. มีงบประมาณในการสนับสนุนเรื่องอาชีพ 3 ทำให้ผู้สูงอายุได้รู้วิธีการทำกายบริหารเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 คณะทำงานบางท่าน ไม่ทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตนเอง แก้ไขปัญหาโดยให้กรรมการหลายท่านทำหน้าที่ในความรับผิดชอบของงานนั้น
2 การประชุมวางแผนงานหลายครั้ง คณะทำงาน ไม่เข้าร่วมประชุม แก้ไขปัญหาโดยการประชุมเสร็จแล้วแจ้งข่าวไปยังผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 611 ธันวาคม 2565
11
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ 7 3อ2สและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ของผู้สูงอายุและคนในชุมชนรวมถึงการปลูกผักปลอดสารพิษ 2.วางแผน กำหนด วัน เวลา สถานที่ เพื่อจัดงานปีใหม่ร่วมใส่บาตรในวันปีใหม่ 3.กำหนดการทำงานหลังปีใหม่ ว่าต้องทำกิจกรรมที่เหลือในวันที่เท่าไหร่ ควรทำกิจกรรมอะไรก่อนหลัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทราบถึงแผนการทำงานของแต่ละกิจกรรม 2.ทราบถึงกำหนดการที่จะจัดกิจกรรมใส่บาตรในวันปีใหม่

กิจกรรมที่ 7.2(2) การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการใช้พื้นที่กลาง (ปลูกผักปลอดสารพิษ)4 ธันวาคม 2565
4
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการสร้างอาหารกินเอง 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีแนวทางในการดูและสุขภาพทางกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน ผู้สูงอายุ และสมาชิกในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 นายประมวล พรหมศร เชิญวิทยากรจากตำบลถ้ำสิงห์ มาสอนเรื่องการปลูกผักปลอดสาร
2 วิทยากรแนะนำชนิดพืช อัตราส่วนในการผสมดินปลูก ฤดูกาลเพาะปลูกพืชผักแต่ละชนิด ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว การดูแล และสารอาหารที่ได้รับ กับสมาชิกที่เข้าร่วมฟัง 3 กรรมการ แจกตันพันธุ์ให้กับสมาชิก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ ได้ความรู้เรื่องชนิดของพืช อัตราส่วนในการผสมดินปลูก ฤดูกาลเพาะปลูกพืชผักแต่ละชนิด ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว การดูแล และสารอาหารที่ได้รับ
2 สมาชิกได้ต้นพันธุ์กลับบ้าน

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม อากาศค่อนข้างร้อน แต่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านก็ยังมีความสนุกในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่ 7.2(1) การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการใช้พื้นที่กลาง (ปลูกผักปลอดสารพิษ)27 พฤศจิกายน 2565
27
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการสร้างอาหารกินเอง 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีแนวทางในการดูและสุขภาพทางกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน ผู้สูงอายุ และสมาชิกในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ประธานโครงการตัดหญ้าบริเวณบ้าน คณะทำงานช่วยกันทำความสะอาดบริเวณ เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้ทำกิจกรรมชุมชน เรื่องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ปลูกผักปลอดสารพิษ 2 คณะทำงานจัดซื้อ ดิน มูลไส้เดือน เมล็ดผัก ถาดเพาะ ถุงปลูกต้นพันธุ์ เตรียมไว้สำหรับทำกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ ได้ความรู้เรื่องชนิดของพืช อัตราส่วนในการผสมดินปลูก ฤดูกาลเพาะปลูกพืชผักแต่ละชนิด ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว การดูแล และสารอาหารที่ได้รับ
2 สมาชิกได้ดินผสมกลับไปปลูกพืชที่บ้าน

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม อากาศค่อนข้างร้อน คณะผู้จัดกิจกรรมจึงมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการทำกิจกรรม เพื่อความเหมาะสม ตามสภาพ

กิจกรรมที่ 7.1(2) ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม20 พฤศจิกายน 2565
20
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อให้ความรู้เรื่องกีฬาเบตอง เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี และการมีสมาธิ 2. เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุในชุมชน คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ฟังคำบรรยายการเล่นกีฬาเบตอง โดยวิทยากร จากตำบลถ้ำสิงห์ 2 สมาชิกร่วมเล่นกีฬาเบตองโดยแบ่งเป็นสองฝ่าย เพื่อให้เข้าใจกีฬาเบตองมากยิ่งขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้ร่วมเล่นกีฬาเบตองเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี และการมีสมาธิ กับตนเอง 2 ผู้สูงอายุมีแนวทางการดูแลตัวเองทาง กาย การออกกำลังกาย จิต ทำให้สุขภาพจิตดี อารมณ์ดี สดชื่น แจ่มใส สังคม ได้ร่วมกันทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์กับตนเอง และสมาชิกในชุมชน สิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านตนเองได้ดีขึ้น

กิจกรรมที่ 7.1(1) ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม13 พฤศจิกายน 2565
13
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อให้ความรู้เรื่อง 3อ2ส และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2. เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุในชุมชน คณะกรรมการชุมชน และคณะทำงาน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 คณะทำงานจัดสถานที่บ้านประธานโครงการ เพื่อจัดประชุมให้ความรู้เรื่อง 3อ2ส
3อ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์
2ส งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา 2 ฟังคำบรรยายเรื่อง 3อ2ส และร่วมกิจกรรมกายบริหาร โดยนางสุภาวดี นนทรี อสม.จากบ้านวัดประเดิม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ผู้สูงอายุ และสมาชิกในชุมชน ได้รู้วิธีการดูแลตัวเองเรื่อง 3อ2ส
2 ได้ร่วมทำกิจกรรมกายบริหารร่วมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3 ผู้สูงอายุมีแนวทางการดูแลตัวเองทาง กาย การออกกำลังกาย จิต ทำให้สุขภาพจิตดี อารมณ์ดี สดชื่น แจ่มใส สังคม ได้ร่วมกันทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์กับตนเอง และสมาชิกในชุมชน สิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านตนเองได้ดีขึ้น

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 อากาศระหว่างจัดกิจกรรมค่อนข้างร้อน คณะทำงาน มีน้ำดื่ม น้ำสมุนไพร น้ำส้ม แช่เย็นสำหรับสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรม

กิจกรรมที่ 8 จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน10 พฤศจิกายน 2565
10
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อจัดเตรียมสถานที่ไว้จัดกิจกรรมชุมชน 2. เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับเล่นกีฬาเบตองร่วมกัน

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 นายประมวล พรหมศร ตัดหญ้าบริเวณตลอดเส้นทางซอยสหกรณ์ 3
2 คณะทำงานช่วยกันทำความสะอาดบริเวณ เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้ทำกิจกรรมชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 สถานที่บริเวณรอบๆบ้าน มีการจัดระเบียบมากขึ้น 2 พื้นที่สนามเบตองใช้งานได้จริง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่55 พฤศจิกายน 2565
5
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมเพื่อวางแผนการจัดเตรียมสถานที่ กำหนดเวลา สถานที่เพื่อจัดกิจกรรม 2.มอบหมายให้เลขาโครงการ เตรียมเอกสารของกิจกรรม 3.ประธานชี้แจงรายละเอียดของการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้ได้รู้ถึงแผนการทำงานของแต่ละกิจกรรม 2.ทำให้รู้ว่าเราควรจะเริ่มทำอะไรก่อนหลัง

พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนา (ARE 1)Node Fiagship Chumphon31 ตุลาคม 2565
31
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

มีการจัดการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1.นายทวีวัตร เครือสาย ประธานNode Fiagship Chumphon ชี้แจงวัตถุประสงค์ของเวทีดำเนินการและดำเนินอภิปรายข้อคิดเรื่องปัจจัยกำหนดสุขภาพทั้งในเรื่องปัจเจกบุคคล/กลุ่มคน/ชุมชน สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคม เศรษฐกิจ และกลไก/ระบบ โดยการเสริมพลังแกนนำชุมชนโพธิการามประเด็นการจัดการโรคเรื้อรัง อ..เมือง และประเด็นเกษตรสมาพันธ์และเครือข่ายบ้านปากทรง อ.พะโต๊ะ 2.ผู้รับผิดชอบประเด็นโรคเรื้อรังและประเด็นเกษตรฯ ได้นำเสนอผลการเก็บข้อมูลชุมชน ในภาพรวม และแนวทางการเก็บข้อมูลครั้งต่อไปในเดือนมีนาคม 3.การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการดำเนินงานและการพัฒนาต่อไป พร้อมตัวแทนกลุ่มนำเสนอฯ 4.การบริหารจัดการการเงินและการติดตามรายงาน 5.ประธานสรุปผลการประชุมและนัดหมายการดำเนินงานต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับทีมงานโรคเรื้อรัง และเกษตรปลอดสารและอาหารปลอดภัยของNode Fiagship Chumphon

พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบรายงานการเงินและรายงานOnline30 ตุลาคม 2565
30
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำรายงานไปให้พี่เลี้ยงตรวจสอบเบื้องต้นทั้งรายงานการเงินของกิจกรรมที่ทำไปแล้วประกอบด้วย1.กิจกรรมที่ทำร่วมกับNF : การปฐมนิเทศโครงการ การอบรมการKeyข้อมูลOnline ในเว็ปไซด์ "คนสร้างสุข"ในเรื่องของกิจกรรม/ปฏิทินงาน/รายงานการเงิน /การอับรูปและเอกสารสำคัญ เป็นต้น 2.การอบรมนักสื่อสร้างสรรค์เพื่อการจัดทำรายงานกิจกรรมที่เป็นสื่อเคลื่อนไหว /One page และการจัดรายงานวิทยุ เป็นต้น และการตรวจสอบความสอดคล้องของรายงานกิจกรรมและรายงานการเงินOnline ในเว็ปไซด์ "คนสร้างสุข" รวมทั้งเบิกเงินค่าเปิดบัญชีโครงการของคณะกรรมการ 500บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เรียนรู้จัดทำรายงานที่ถูกต้องมากขึ้นตามที่พี่เลี้ยงแนะนำ

กิจกรรมที่ 6.8 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่429 ตุลาคม 2565
29
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อเยี่ยมและให้กำลังใจผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน
2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมกับผู้สูงอายุ และผู้ดูแล 3. เพื่อรับฟังปัญหาของผู้สูงอายุและผู้ดูแล

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และ อสม.ชุมชนวัดโพธิการาม

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ประกอบด้วย นายสมบูรณ์ ชนก นายนิยม คงกระพัน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพราะผู้สูงอายุกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่ เดินทางออกนอกบ้านไม่สะดวก เนื่องด้วยเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับโรคประจำตัว และความเสื่อมของร่างกาย ออกเยี่ยมครั้งที่ 4 วันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น. 2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ และการเฝ้าระวังการเกิดอุบัตเหตุ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้รู้จุดประสงค์ที่ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านว่าต้องการให้ไปเยี่ยม และพูดคุยด้วยบ่อยๆ 2 ทำให้ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 เวลาออกเยี่ยมอากาศร้อน ผู้ไปเยี่ยมจึงต้องใส่หมวก กางร่ม หรือเปลี่ยนเวลาเยี่ยม เช่น ช่วงเช้าออกเยี่ยมก่อน 09.00 น. ช่วงเย็นหลังเวลา 17.00 น. 2 ความพร้อมของคณะกรรมการไม่มี คนออกเยี่ยม ออกทำงานเป็นคนเดิม กลุ่มเดิม

กิจกรรมที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ครั้งที่224 ตุลาคม 2565
24
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อเยี่ยมและให้กำลังใจผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง
2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมกับผู้สูงอายุ และผู้ดูแล 3. เพื่อรับฟังปัญหาของผู้สูงอายุและผู้ดูแล

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และ อสม.ชุมชนวัดโพธิการาม

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง นายสัญชัย พรหมจันทร์ จากการออกเยี่ยม ทำให้ทราบปัญหาจากผู้ดูแล คือเรื่องผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้เยอะ เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูง ออกเยี่ยมครั้งที่ 2 วันที่ 24 ตุลาคม 2565 เวลา 13.00 – 15.00 น.
2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้รู้จุดประสงค์ของผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 2 ทำให้ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ
ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 เวลาออกเยี่ยมอากาศร้อน ผู้ไปเยี่ยมจึงต้องใส่หมวก กางร่ม หรือเปลี่ยนเวลาเยี่ยม เช่น ช่วงเช้าออกเยี่ยมก่อน 09.00 น. ช่วงเย็นหลังเวลา 17.00 น. 2 ความพร้อมของคณะกรรมการไม่มี คนออกเยี่ยม ออกทำงานเป็นคนเดิม กลุ่มเดิม

กิจกรรมที่ 6.6 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่223 ตุลาคม 2565
23
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ได้มีการชักชวนอกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นออกกำลังกาย ร่วมใส่บาตรในวันส่งท้ายปีเก่า ร่วมประชุมรับฟังข่าวสารประจำเดือน ออกเยี่ยมครั้งที่ 2 วันที่ 23 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น. เพื่อพูดคุย เล่าเรื่องกิจกรรมที่จะทำร่วมกันในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้รู้จุดประสงค์ที่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ต้องการกิจกรรม และพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมกัน 2 ทำให้ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ
ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 เวลาออกเยี่ยมอากาศร้อน ผู้ไปเยี่ยมจึงต้องใส่หมวก กางร่ม หรือเปลี่ยนเวลาเยี่ยม
2 ความพร้อมของคณะกรรมการไม่มี คนออกเยี่ยม ออกทำงานเป็นคนเดิม กลุ่มเดิม

กิจกรรมที่ 5 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล16 ตุลาคม 2565
16
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 100 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน ผู้สูงอายุในชุมชน สมาชิกชุมชนวัดโพธิการาม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชุมพร เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และพี่เลี้ยงโครงการ

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การเตรียมการเพื่อจัดเวทีรับรองและประกาศใช้กติกา 1.1 คณะทำงานประชุมเพื่อร่างกติกาชุมชุมชน ในวันที่ 18 กันยายน 2565
1.2 คณะทำงานได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดเวทีประชาคม โดยวางแผนการทำงาน จัดเต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ การจัดรูปแบบสถานที่ การทำหนังสือเชิญนายก /แบบตอบรับของคนในชุมชน และกำหนดการเพื่อจะได้ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดจำนวนอาหารและเครื่องดื่ม 1.3 จัดทำบอร์ด สภาพทั่วไปของชุมชน ทำภาพของแต่ละกิจกรรม เพื่อให้สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นภาพการทำกิจกรรมของโครงการ 2. วันที่ 16 ตุลาคม 2565 สมาชิกในชุมชนลงชื่อเข้าร่วมรับฟังกติกาชุมชน ระหว่างรอประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมรับฟังเรื่องเล่าของการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมา 2.1 พี่เลี้ยงทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2.2 นายกศรีชัย วีรนรพานิช กล่าวเปิดงาน และร่วมเวทีประกาศกติกาชุมชนวัดโพธิการาม 2.3 นายประมวล พรหมศร ผู้รับผิดชอบโครงการ ประกาศร่างกติกาชุมชนแต่ละข้อเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเสนอแนะเพิ่มเติม ยกมือโหวต ก่อนสรุปกติกาชุมชนแต่ละข้อ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1. ได้กติกาชุมชน จำนวน 4 หมวด
1.1 หมวดที่ 1 ด้านความปลอดภัยของคนในชุมชน ข้อ 1 ช่วยกันสอดส่องดูแลเรื่องยาเสพติดของบุตรหลานและคนในชุมชน ถ้ามีแจ้งประธานชุมชนทราบและโทรแจ้ง 191 ข้อ 2 ช่วยกันสอดส่องดูแลเรื่องการทะเลาะวิวาท กรณีพิพาทเรื่องสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ถ้ามีแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ข้อ 3 ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนตามกฎจราจร ในเรื่องความเร็ว การสวมหมวกกันน็อค และการคาดเข็มขัดนิรภัย ข้อ 4 ช่วยกันสอดส่องดูแลเรื่องการพนันของคนในชุมชน ถ้ามีแจ้งประธานชุมชนทราบและ  โทรแจ้ง 191 ข้อ 5 การคัดกรองบุคคลที่เข้ามาในชุมชน เช่น การเช่าบ้าน เจ้าของบ้านเช่าต้องขอเอกสารหลักฐาน เช่น สำเนาบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้เช่า พร้อมแจ้งให้ประธานชุมชนทราบทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายของผู้เช่า (กรณีต่างด้าวต้องมีหนังสือหรือเอกสารรับรองของนายจ้าง) 1.2 หมวดที่ 2 ด้านสุขภาพของคนในชุมชน ข้อ 1 กำหนดวันตรวจสุขภาพของคนในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง อายุ 55 ปีขึ้นไป ที่สามารถเดินทางมาร่วมตรวจสุขภาพและรับฟังการดูแลสุขภาพ คำแนะนำรู้ทันการใช้สื่อ จากวิทยากรที่คณะกรรมการชุมชนเชิญมา ข้อ 2 เชิญชวนคนในชุมชนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที ข้อ 3 ขอให้สมาชิกในชุมชนดูแลสัมพันธภาพซึ่งกันและกันในครอบครัวและชุมชน 1.3 หมวดที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน ข้อ 1 ขอความร่วมมือเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยแยกขยะเปียกเอาไปใช้ประโยชน์ในชุมชน ขยะแห้งใส่ถุงขยะทิ้งลงถังที่เทศบาลจัดให้ ขยะอันตรายแยกไว้แล้วไปไว้ในจุดที่เทศบาลกำหนด ข้อ 2 ขอความร่วมมือสมาชิกในชุมชนช่วยกันสอดส่องการทิ้งขยะในที่ส่วนบุคคล ข้อ 3 ขอความร่วมมือคนในชุมชนดูแลทำความสะอาดในบ้าน ในซอย ตนเอง เดือนละครั้ง โดยแจ้งข่าว ขอความช่วยเหลือจาก กรรมการ หรือ อสม. ที่ดูแลแต่ละซอย
ข้อ 4 ขอความร่วมมือให้สมาชิกในชุมชนดูแลและปรับปรุงภูมิทัศน์ในบ้านของตนเอง ถ้ามีปัญหาที่แก้ไม่ได้ แจ้งผู้นำชุมชนเพื่อประสานกับเทศบาลเมือง 1.4 หมวดที่ 4 ด้านเศรษฐกิจและสังคมของคนในชุมชน (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้)
ข้อ 1 ขอเชิญชวนสมาชิกในชุมชนร่วมกิจกรรมธนาคารความดี โดยยกย่องคนทำความดี ข้อ 2 ขอให้สมาชิกในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 2. ชุมชนมีมติรับรองและนำประกาศแจ้งให้สมาชิกในชุมชนทราบและถือปฏิบัติ ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือน้อย แนวทางแก้ไขปัญหา คือกรรมการที่ดูแลแต่ละซอยมาเป็นตัวแทนให้ความร่วมมือ

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครัั้งที่ 48 ตุลาคม 2565
8
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดประชุมเพื่อวางแผนการจัดเตรียมสถานที่ กำหนดวันที่ เวลา เพื่อจัดกิจกรรม 2.มอบหมายให้เลขาโครงการเตรียมเอกสารการดำเนินงานของกิจกรรม 3.ประธานโครงการชี้แจ้งที่ประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทำให้รู้แผนการทำงานของแต่ละกิจกรรม 2.ทำให้รู้ว่ากิจกรรมครั้งต่อไป ใครต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง และทำอย่างไร

กิจกรรมที่ 6.5 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่35 ตุลาคม 2565
5
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ได้มีการชักชวนอกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ร่วมประชุมรับฟังข่าวสารประจำเดือน 2 ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เกี่ยวกับโรคประจำตัว อาหาร การดูแลตัวเองเรื่องทั่วไป และการป้องกันอุบัตเหตุ ออกเยี่ยมครั้งที่ 3 วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้รู้จุดประสงค์ที่ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ต้องการให้ไปเยี่ยม และพูดคุยด้วยบ่อยๆ 2 ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 เวลาออกเยี่ยมอากาศร้อน ผู้ไปเยี่ยมจึงต้องใส่หมวก กางร่ม หรือเปลี่ยนเวลาเยี่ยม
2 ความพร้อมของคณะกรรมการไม่มี คนออกเยี่ยม ออกทำงานเป็นคนเดิม กลุ่มเดิม

อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ รุ่นที่ 22 ตุลาคม 2565
2
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรียนรู้เรื่องการใช้สื่อเพื่อใช้เป็นการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการให้ประชาชนในชุมชน/ทั่วไปทราบประกอบด้วย1.การใช้โปรแกรมภาพเคลื่อนไหว Kine Master 2.การตัดต่อภาพนิ่ง canva 3. เทคนิคการพูดและสื่อออนไลน์ โดยทีมงานแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกัน 3 คน คนที่หนึ่งได้รับทราบวิธีการถ่ายภาพเคลื่อนไหว การตัดต่อ และใช้เสียงในการประกอบกิจกรรม เพื่อใช้เป็นบทเรียนให้เพื่อน ๆในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คนที่สองการตัดต่อภาพได้ทราบเรื่องการจัดทำภาพให้เข้ากับรูปแบบของภาพนิ่งในเรื่องที่เราถ่ายภาพมาเรียนรู้ในเรื่องกาแฟชุมพร คนที่สามเรียนรู้เรื่องเทคนิคการพูดในวาระต่าง ๆในครั้งนี้ทำเรื่องการคริปขายสินค้าของแต่ละบุคคล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างรู้อย่างเหมาะสม ในเรื่องการเป็นพิธีกรทั้งในและนอกนอกชุมชน ทำภาพนิ่งOne page เมื่อจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง เป็นต้น เพื่อสื่อสารให้กับชุมชนได้รับ

กิจกรรมที่ 6.4 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่230 กันยายน 2565
30
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพราะผู้สูงอายุกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่ เดินทางออกนอกบ้านไม่สะดวก เนื่องด้วยเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับโรคประจำตัว และความเสื่อมของร่างกาย ประกอบด้วย นางเสงี่ยม จิตตราภิรมย์ ออกเยี่ยมครั้งที่ 2 วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.
2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 ได้รู้ว่าผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ต้องการให้ไปเยี่ยม พูดคุยด้วยบ่อยๆ
2 ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง อาจมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ จึงแนะนำให้ทำราวจับเพื่อเดินเข้าทำภาระกิจที่สำคัญ เช่น ราวในห้องน้ำ  และทางลาดที่ป้องกันการลื่นได้ เป็น 2 ความพร้อมของคณะกรรมการที่ออกเยี่ยมต้องเติมเต็มความรู้ในการดูแลผู้สูงอย่างครบวงจร เช่น การป้องกันอุบัติ  อาหารที่ครบตามหลักโภชนาการสมวัย  การกินยาที่ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ทั้งจำนวน ระยะเวลา ตรงกับของตนเอง เป็นต้น

กิจกรรมที่ 6.3 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ครั้งที่126 กันยายน 2565
26
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อเยี่ยมและให้กำลังใจผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง และผู้ดูแล
2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมกับผู้สูงอายุ และผู้ดูแล 3. เพื่อรับฟังปัญหาของผู้สูงอายุและผู้ดูแล

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และ อสม.ชุมชนวัดโพธิการาม

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ได้แก่ นายสุพัฒน์ พลวารินทร์ สามีอาจารย์เตือนใจ พลวารินทร์ ถนนหลังวัดโพธิการาม การออกเยี่ยม ทำให้ทราบปัญหาจากผู้ดูแล คือเรื่องผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้เยอะ เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้เยี่ยมจึงแนะนำให้ติดต่อที่เทศบาลเมือง ออกเยี่ยมครั้งที่ 1 วันที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 16.00 – 18.00 น. 2 ให้กำลังใจผู้ดูแล ร่วมพูดคุยเรื่องการขอผ้าอ้อมกับเทศบาลเมืองชุมพร ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ทั้งสามคนได้รับการดูแลจากญาติเป็นอย่างดี ทำร่างกายสะอาด ไม่มีแผลกดทับ ยังให้อาหารทางสายอยู่ รับได้ตามจำนวนที่กำหนด ใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ไม่มีผิดปกติและใส่ผ้าอ้อมอยู่ หน้าตาสดชื่น
2 ผู้เยี่ยมให้ความรู้เพิ่มเติมตามเอกสาร ทำให้ญาติ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงและผู้ดูแล ได้รับกำลังใจ และได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ
ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงมีการใช้ผ้าอ้อมฯจำนวนมาก ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ผู้เยี่ยมเสนอแนะขอสนับสนุนจากกองทุนฯและเทศบาลเมืองชุมพร โดยทีมผู้จะไปประสานให้ในระยะแรก 2. ผู้เยี่ยมมีเวลาว่างจากงานปกติไม่ตรงกันจึงกำหนดเวลาเยี่ยมใหม่เป็นช่วงเย็นหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจส่วนตัวแล้วเป็นช่วงเวลา 17.00 น.เป็นต้นไป

กิจกรรมที่ 6.2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่ 124 กันยายน 2565
24
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่ เดินทางออกนอกบ้านไม่สะดวก เนื่องด้วยเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับโรคประจำตัว และความเสื่อมของร่างกาย และสมอง ประกอบด้วย นายสมบูรณ์ ชนก นายนิยม คงกระพัน นางเสงี่ยม จิตตราภิรมย์ นายสุรินทร์ จิตตราภิรมย์ นางกัญญา นาคมุสิก นายชำนิ  บุญจร ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น และการไปตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุจำนวน 6 คน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และยินดีที่จะทำตามคำแนะนำของทีมผู้เยี่ยม และมีความสุขในการที่ได้เล่าประสบการณ์ของตนเองทำให้รู้ว่าตนเองมีพลังและมีคุณค่าที่จะได้นำความรู้และประสบการณืของตนเองไปเข้าร่วมกับเพื่อน ๆ และร่วมทำกิจกรรมอื่น ๆได้ตามความเหมาะและการร้องขอของหน่วยงานต่างและของชุมชน

กิจกรรมที่ 6.2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุ กลุ่มติดสังคม ครั้งที่124 กันยายน 2565
24
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดสังคมครั้งที่ ๑ ในชุมชนโดยทีมผู้เยี่ยมและตัวแทนแต่ละซอยในชุมชนจำนวน 6 ซอย ประกอบด้วย สหกรณ์ซอย ๑ ,๓,๕ ปรมินมรรคา๙,๑๑,๑๓ ในการนี้ได้ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ประกอบด้วยการตรวจประจำปี การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ  การรับประทานยา (กรณีที่เป็นโรค)และการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ตลอดจนการสันทนาการ การเข้าร่วมกิจกรรมในวัด/ชุมชน การสังเกตอาการที่ผิดปกติของตนเอง และการประเครือข่ายสุขภาพ เช่น ๑๖๖๙และ๑๙๑ เป็นต้น ปัญหาอุปสรรค /แนวทางแก้ไข ๑.ขาดพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมส่วนรวม เสนอให้ประธานทีมคณะทำงานติดต่อวัดโพธิการามเพื่อขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรม และประสานกับเทศบาลเมืองชุมพรในการขอใช้อุปกรณ์สนับสนุนการจัดกิจกรรม เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ และสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดจนการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นวัดโพธิการาม ในการขอใช้พื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่ 6.1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่122 กันยายน 2565
22
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกซอยปรมินทรมรรคา 7 กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ซอย 3 ได้มีการชักชวนออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย ร่วมใส่บาตรในวันส่งท้ายปีเก่าที่จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ร่วมประชุมรับฟังข่าวสารประจำเดือน ออกเยี่ยมครั้งที่ 1 วันที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น.
2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้รู้จุดประสงค์ที่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ต้องการกิจกรรม และพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมกัน 2 ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และอยากมาร่วมกิจกรรมชุมชนมากขึ้น 3 การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัดที่1 การติดตาม เยี่ยม เสริมพลัง ที่3 เกิดทีมเพื่อนช่วยเพื่อนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และประเมินผลลัพธ์ของบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 เกิดกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม
ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 เวลาออกเยี่ยมอากาศร้อน ผู้ไปเยี่ยมจึงต้องใส่หมวก กางร่ม หรือเปลี่ยนเวลาเยี่ยม เช่น ช่วงเช้าออกเยี่ยมก่อน 09.00 น. ช่วงเย็นหลังเวลา 17.00 น. 2 ความพร้อมของคณะกรรมการไม่มี คนออกเยี่ยม ออกทำงานเป็นคนเดิม กลุ่มเดิม คณะกรรมการเยี่ยมบ้านมีภารกิจจึงไม่สามารถเยี่ยมผู้สูงอายุได้ตามแผน บางครั้งจึงมีเพียงทีมงานอสม.เดิมที่ร่วมกันเยี่ยม

1.2 ประชุมชี้แจงในเวทีและประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 3 และ ARE118 กันยายน 2565
18
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองชุมพร

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. ทบทวนงานที่ผ่านมาตามแผนปฏิบัติการและบันไดผลลัพธ์ อ่านการสำรวจข้อมูล และลงรายงานที่ยังไม่สมบูรณ์
1.1 การจัดการพื้นที่กลาง เชื่อมต่อกิจกรรม การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
1.2 การทิ้งขยะที่ไม่ได้แยกชนิดของขยะ เพื่อใช้ประโยชน์ได้ 1.3 การติดตามผลเยี่ยมผู้สูงอายุ
2. พี่เลี้ยงชี้แจงการปฏิบัติโดยมีผู้รับผิดชอบ เป็นผู้ดำเนินการ สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น และมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองชุมพร ประธานอสม. และแกนนำผู้สูงอายุ เข้ารับฟัง พร้อมคณะกรรมการชุมชน
3. ผลสรุปมีดังนี้ 3.1 แบ่งแบบสำรวจให้ อสม.ดำเนินการต่อในส่วนที่ยังไม่ครบ ตามที่กำหนด และกำหนดผู้ลงรายงานgoogle form ของ Node Flagship จังหวัดชุมพร
3.2 เทศบาลจะแจ้งให้ผู้ประกอบการแยกขยะ และนำมาทิ้งในจุดที่กำหนด และประชาชนแต่ละโซนตรวจสอบ และคัดขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ย เพื่อใช้ในแปลงสวนผักต่อไป 3.3 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ประธานชุมชน เลขา ผู้ช่วยเลขา จัดตั้งกติกาชุมชน ในประเด็นผู้สูงอายุ จัดทำเวทีประชาคม 3.4 ติดตามแผนปฏิบัติการที่ยังไม่ดำเนินการ
- การติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง - การประชุมประจำเดือนทุกเดือน อาจจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาด้วยตามความเหมาะสม   4. นัดจัดเวทีครั้งต่อไป วันที่ 9 ธันวาคม 2565

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1. คณะกรรมการได้เรียนรู้วิธีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และกำหนดแนวทางการพัฒนาต่อไปตามปัญหาที่เกิดจากการทำกิจกรรมและผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน
2. ทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุของแต่ละกลุ่มมีความต้องการและสนับสนุนเรื่องใดบ้าง และใครเป็นผู้สนับสนุน

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข คณะกรรมการเข้าใจวิธีการจัดเวที ARE น้อย แก้ไขโดยเรียนรู้เพิ่มเติม

กิจกรรม ที่3.2 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมนอกชุมชน12 กันยายน 2565
12
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. ได้นำผู้ร่วมโครงการทั้ง 20 คน เดินทางไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สูงอายุของ รพ.สต.ปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 2. ได้รับความรู้การดูแลผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุ และร่วมทำกิจกรม ร่วมกับผู้อายุของ รพ.สต.ปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยนางสาวชลธิชา นาคมุสิก หรือหมอเอ 3. ตัวแทนของชุมชนวัดโพธิการาม โดยนางสาวชนิดา ฤทธิ์มณตรี ได้แลกเปลี่ยนในเรื่องการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนวัดโพธิการามและมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุชุมชนโพธิการาม 4. ร่วมถ่ายภาพกับเจ้าหน้าที่ และกลุ่มผู้สูงอายุ ของ รพ.สต.ปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
5. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และร่วมพูดคุยทำความคุ้นเคยกับผู้สูงอายุของทั้ง 2 ชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับฟังจากวิทยากรของทั้ง 2 ชุมชน มาปรับใช้ดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้
2. ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข และมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น
3. ทำให้ผู้สูงอายุได้จักผู้คนหลากหลายขึ้น

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1. การเดินทางเกิดการผิดเส้นทางเล็กน้อย (หลงทาง) เนื่องจากไม่คุ้นเคยเส้นทาง แนวทางแก้ไขปัญหาคือโทรถามเส้นทางกับเจ้าหน้าที่ของพื้นที่

กิจกรรม ที่3.1 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน23 สิงหาคม 2565
23
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. กำหนดให้ผู้เข้ากิจกรรมปฏิบัติตามข้อตกลงว่าจะต้องเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยของตนเองและทีม และร่วมกิจกรรมของทีมเทศบาลเมืองชุมพรที่จัดเพื่อเอื้อต่อผู้สูงอายุในการเรียนรู้กิจกรรมที่จัดประกอบด้วย ขึ้นรถที่หน้าชุมชนแล้วเดินทางไปดูกิจการที่หนองใหญ่ ได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันของชุมชนและกวาง 2.  เดินทางไปสักการะกรมหลวงชุมพร และดูธรรมชาติของทะเล 3. เดินทางเข้าร่วมเรียนรู้สถานที่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลเมืองชุมพร โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณวิไลวรรณ ใจปลื้ม หรือหมอเอ ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่ทำกายบำบัด นวดเพื่อการรักษา และการออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ เป็นต้น 4 ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และร่วมพูดคุยทำความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลเมืองชุมพร
5 ร่วมถ่ายภาพกับท่านนายกศรีชัย วรนรพานิชและคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้ผู้สูงอายุ สดชื่น แจ่มใส ได้รู้จักผู้คนหลากหลายขึ้น
2 ผู้สูงอายุ และผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่าน สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำจิตใจ อารมย์ที่ดี ได้รู้วิธีการดูแลตนเองที่ถูกต้องและการทำกายภาพบำบัด เป็นต้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยขน์กับตนเองและครอบครัว 3 ผู้สูงอายุมีความเคลื่อนไหวช้า ทำให้ไม่สะดวกในการขึ้นลงรถ แนวทางแก้ไข ผู้สูงอายุสามารถปรับวิธีการใช้ชีวิตประจำวันให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวที่คล่องตัวมากขึ้นด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของคณะกรรมการและชุมชนซึ่งเป็นไปตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

1.2 ประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 219 สิงหาคม 2565
19
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ สสส. ทุกคน
รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. แกนนำโซนชี้แจงปัญหาการเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคล เช่นการไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ต้องชี้แจงว่าการสำรวจครั้งนี้เป็นเพียงการนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ สรุปเป็นภาพรวมเพื่อนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาประชาชนผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงกับโรคเรื้อรัง เป็นต้น 2. ทบทวนและติดตามผลการจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำโซนผู้สัมภาษณ์ได้เรียนรู้วิธีการสัมภาษณ์ครัวเรือนผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมกับบุคคลในครอบครัวตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

อบรมการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์30 กรกฎาคม 2565
30
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลระบบออนไลน์ 2.เรียนรู้ระบบขั้นตอนเครื่องมือและสิ่งสำคัญในการบันทึกข้อมูลโครงการย่อยเข้าระยบบออนไลน์ 3.ฝึกปฏิบัติการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบของ 25 โครงการย่อย และร่วมแลกเปลี่ยน 4.สรุปและจัดประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Node Flagship Chumphon) และนัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้การบันทึกข้อมูลสู่ระบบออนไลน์ (Node Flagship Chumphon)ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

สำรวจข้อมูลชุมชนครั้งที่1 และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 11 กรกฎาคม 2565
1
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการชุมชนร่วมด้วยคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการเข้าเยี่ยมสำรวจข้อมูลชุมชน ตามแบบสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับจากNF ชุมพร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำมาลงข้อมูล Online ในรูปแบบของGoogle form เพื่อใช้วิเคราะห์ในภาพรวมของประเด็นโรคเรื้อรังของNode Flagship ต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลผู้สูงอายุที่ยินยอมเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 125 ชุด เพื่อลงรายงานOnline ต่อไป ทีมงานทำงานด้วยความเสียสละ(ไม่มีค่าใช้จ่าย)

จัดตั้งพัฒนาคณะทำงาน19 มิถุนายน 2565
19
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การประชุมคณะกรรม ประจำเดือน
1.1 จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อเลือกคณะทำงานโครงการ จากคณะกรรมการชุมชน 1.2 มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกับคณะทำงานโครงการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มการทำงาน ตาม  ความถนัด ของแต่ละคน 1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ กำหนดการลงพื้น กำหนดเวลาประชุมงานแต่ละเดือน
2. พี่เลี้ยงชี้แจงความเป็นมาของโครงการ งบประมาณโครงการ ระยะเวลาการทำโครงการ 3. เรียนรู้วิธีการทำงานจากกิจกรรมในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะตำแหน่งต่างๆ ที่ ประกอบไปด้วย
- ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบโครงการ ดำเนินงานตามโครงการและติดตามผลการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการทุกคน - เลขานุการ ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ อำนวยความสะดวก ประสานงาน และช่วยสนับสนุนให้โครงการสำเร็จลุล่วง - ผู้ช่วยเลขานุการ ทำหน้าที่ จัดทำเอกสาร จัดทำข้อมูล จัดเตรียมรายงานการประชุม ดูแลตารางนัดหมาย - เหรัญญิก ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน - ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สิทธิประโยชน์ ผลงาน ของโครงการ - คณะกรรมติดตามประเมิณผล 3 คน ทำหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการ และประเมินผลโครงการ และรายงานผลให้ที่ประชุมทราบ 4. แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ 8 คณะ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการการเงินเบิกจ่าย- ทำบ/ช ค่าใช้จ่าย 2) คณะกรรมการพัสดุ....จัดซื้อ/จัดจ้าง 3) คณะผู้ตรวจสอบบัญชี-การเงิน-พัสดุ 4)คณะกรรมการจัดทำกติกาชุมชน...ร่างกติกาชุมชน 5) คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ 6) คณะกรรมการติดตามประเมินผลของกิจกรรม ( ก่อน - หลัง ) 7. คณะกรรมการเยี่ยมบ้าน - ทีม อ.ส.ม. 8)คณะกรรมการจัดสถานที่ตลอดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้มีคณะทำงานเกิดขึ้น รวมทั้งหมดจำนวน 42 คน
2 คณะทำงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง 3 ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและคณะทำงาน 4 คณะทำงานหลายคนได้ทราบว่าแต่ละคนมีศักยภาพในแต่ละด้าน เช่น ผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการบริหารจัดการ(อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน)

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ17 มิถุนายน 2565
17
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนตระหนักและเตือนสติให้คำนึงถึงความสำคัญและพิษภัยของเหล้าและบุหรี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ใช้ประชาสัมพันธ์ในชุมชนและทุกครั้งที่จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการปฏิบัติตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1-4

ปฐมนิเทศโครงการ4 มิถุนายน 2565
4
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงานโครงการย่อย สสส. 2.เรียนรู้ร่วมกัน เชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อชุมพรน่าอยู่ 3.เปิดปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี 65 ของสำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สสส.สน.6) 4.ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม การคลี่เคลื่อนบันไดผลลัพโครงการย่อย โดยทีมสันสนุนวิชาการ 5.ประชุมทีมสนับสนุนวิชาการ ข้อค้นพบและการติดตามเสริมพลังพื้นที่โครงการย่อย 6.การบริหารจัดการโครงการย่อยระดับพื้นที่ 7.ล้อมวง-อภิปราย ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ความรู้และรับทราบที่มาของแต่ละโครงการที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติงานโครงการ สสส. (NCD) ของชุมชนวัดโพธิการาม ตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1