task_alt

(07)ชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัยห่างไกลโรคเรื้อรัง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ (07)ชุมชนวัดโพธิการามใส่ใจคนสูงวัยห่างไกลโรคเรื้อรัง

ชุมชน ชุมชนวัดโพธิการาม อ.เมือง จ.ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0007 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2565 ถึงเดือน กันยายน 2565

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 4 มิถุนายน 2565 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ความรู้และรับทราบที่มาของแต่ละโครงการที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติงานโครงการ สสส. (NCD) ของชุมชนวัดโพธิการาม ตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงานโครงการย่อย สสส. 2.เรียนรู้ร่วมกัน เชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อชุมพรน่าอยู่ 3.เปิดปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี 65 ของสำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สสส.สน.6) 4.ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม การคลี่เคลื่อนบันไดผลลัพโครงการย่อย โดยทีมสันสนุนวิชาการ 5.ประชุมทีมสนับสนุนวิชาการ ข้อค้นพบและการติดตามเสริมพลังพื้นที่โครงการย่อย 6.การบริหารจัดการโครงการย่อยระดับพื้นที่ 7.ล้อมวง-อภิปราย ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

 

3 0

2. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ

วันที่ 17 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ใช้ประชาสัมพันธ์ในชุมชนและทุกครั้งที่จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการปฏิบัติตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1-4

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนตระหนักและเตือนสติให้คำนึงถึงความสำคัญและพิษภัยของเหล้าและบุหรี

 

150 0

3. จัดตั้งพัฒนาคณะทำงาน

วันที่ 19 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้มีคณะทำงานเกิดขึ้น รวมทั้งหมดจำนวน 42 คน
2 คณะทำงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง 3 ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนและคณะทำงาน 4 คณะทำงานหลายคนได้ทราบว่าแต่ละคนมีศักยภาพในแต่ละด้าน เช่น ผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการบริหารจัดการ(อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การประชุมคณะกรรม ประจำเดือน
1.1 จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อเลือกคณะทำงานโครงการ จากคณะกรรมการชุมชน 1.2 มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกับคณะทำงานโครงการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มการทำงาน ตาม  ความถนัด ของแต่ละคน 1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ กำหนดการลงพื้น กำหนดเวลาประชุมงานแต่ละเดือน
2. พี่เลี้ยงชี้แจงความเป็นมาของโครงการ งบประมาณโครงการ ระยะเวลาการทำโครงการ 3. เรียนรู้วิธีการทำงานจากกิจกรรมในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะตำแหน่งต่างๆ ที่ ประกอบไปด้วย
- ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบโครงการ ดำเนินงานตามโครงการและติดตามผลการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการทุกคน - เลขานุการ ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ อำนวยความสะดวก ประสานงาน และช่วยสนับสนุนให้โครงการสำเร็จลุล่วง - ผู้ช่วยเลขานุการ ทำหน้าที่ จัดทำเอกสาร จัดทำข้อมูล จัดเตรียมรายงานการประชุม ดูแลตารางนัดหมาย - เหรัญญิก ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน - ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สิทธิประโยชน์ ผลงาน ของโครงการ - คณะกรรมติดตามประเมิณผล 3 คน ทำหน้าที่ ตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการ และประเมินผลโครงการ และรายงานผลให้ที่ประชุมทราบ 4. แต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินโครงการ 8 คณะ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการการเงินเบิกจ่าย- ทำบ/ช ค่าใช้จ่าย 2) คณะกรรมการพัสดุ....จัดซื้อ/จัดจ้าง 3) คณะผู้ตรวจสอบบัญชี-การเงิน-พัสดุ 4)คณะกรรมการจัดทำกติกาชุมชน...ร่างกติกาชุมชน 5) คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ 6) คณะกรรมการติดตามประเมินผลของกิจกรรม ( ก่อน - หลัง ) 7. คณะกรรมการเยี่ยมบ้าน - ทีม อ.ส.ม. 8)คณะกรรมการจัดสถานที่ตลอดโครงการ

 

20 0

4. สำรวจข้อมูลชุมชนครั้งที่1 และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 1

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลผู้สูงอายุที่ยินยอมเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 125 ชุด เพื่อลงรายงานOnline ต่อไป ทีมงานทำงานด้วยความเสียสละ(ไม่มีค่าใช้จ่าย)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการชุมชนร่วมด้วยคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการเข้าเยี่ยมสำรวจข้อมูลชุมชน ตามแบบสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับจากNF ชุมพร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำมาลงข้อมูล Online ในรูปแบบของGoogle form เพื่อใช้วิเคราะห์ในภาพรวมของประเด็นโรคเรื้อรังของNode Flagship ต่อไป

 

150 0

5. อบรมการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้การบันทึกข้อมูลสู่ระบบออนไลน์ (Node Flagship Chumphon)ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลระบบออนไลน์ 2.เรียนรู้ระบบขั้นตอนเครื่องมือและสิ่งสำคัญในการบันทึกข้อมูลโครงการย่อยเข้าระยบบออนไลน์ 3.ฝึกปฏิบัติการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบของ 25 โครงการย่อย และร่วมแลกเปลี่ยน 4.สรุปและจัดประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Node Flagship Chumphon) และนัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

 

2 0

6. 1.2 ประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 2

วันที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำโซนผู้สัมภาษณ์ได้เรียนรู้วิธีการสัมภาษณ์ครัวเรือนผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมกับบุคคลในครอบครัวตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ สสส. ทุกคน
รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. แกนนำโซนชี้แจงปัญหาการเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคล เช่นการไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ต้องชี้แจงว่าการสำรวจครั้งนี้เป็นเพียงการนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ สรุปเป็นภาพรวมเพื่อนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาประชาชนผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงกับโรคเรื้อรัง เป็นต้น 2. ทบทวนและติดตามผลการจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ

 

20 0

7. กิจกรรม ที่3.1 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน

วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ทำให้ผู้สูงอายุ สดชื่น แจ่มใส ได้รู้จักผู้คนหลากหลายขึ้น
2 ผู้สูงอายุ และผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่าน สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำจิตใจ อารมย์ที่ดี ได้รู้วิธีการดูแลตนเองที่ถูกต้องและการทำกายภาพบำบัด เป็นต้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยขน์กับตนเองและครอบครัว 3 ผู้สูงอายุมีความเคลื่อนไหวช้า ทำให้ไม่สะดวกในการขึ้นลงรถ แนวทางแก้ไข ผู้สูงอายุสามารถปรับวิธีการใช้ชีวิตประจำวันให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวที่คล่องตัวมากขึ้นด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของคณะกรรมการและชุมชนซึ่งเป็นไปตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. กำหนดให้ผู้เข้ากิจกรรมปฏิบัติตามข้อตกลงว่าจะต้องเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยของตนเองและทีม และร่วมกิจกรรมของทีมเทศบาลเมืองชุมพรที่จัดเพื่อเอื้อต่อผู้สูงอายุในการเรียนรู้กิจกรรมที่จัดประกอบด้วย ขึ้นรถที่หน้าชุมชนแล้วเดินทางไปดูกิจการที่หนองใหญ่ ได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันของชุมชนและกวาง 2.  เดินทางไปสักการะกรมหลวงชุมพร และดูธรรมชาติของทะเล 3. เดินทางเข้าร่วมเรียนรู้สถานที่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลเมืองชุมพร โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คุณวิไลวรรณ ใจปลื้ม หรือหมอเอ ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่ทำกายบำบัด นวดเพื่อการรักษา และการออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ เป็นต้น 4 ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และร่วมพูดคุยทำความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ เทศบาลเมืองชุมพร
5 ร่วมถ่ายภาพกับท่านนายกศรีชัย วรนรพานิชและคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ

 

20 0

8. กิจกรรม ที่3.2 รณรงค์สื่อสารการรับรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมนอกชุมชน

วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับฟังจากวิทยากรของทั้ง 2 ชุมชน มาปรับใช้ดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้
2. ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข และมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น
3. ทำให้ผู้สูงอายุได้จักผู้คนหลากหลายขึ้น

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1. การเดินทางเกิดการผิดเส้นทางเล็กน้อย (หลงทาง) เนื่องจากไม่คุ้นเคยเส้นทาง แนวทางแก้ไขปัญหาคือโทรถามเส้นทางกับเจ้าหน้าที่ของพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน และผู้สูงอายุในชุมชน

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. ได้นำผู้ร่วมโครงการทั้ง 20 คน เดินทางไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สูงอายุของ รพ.สต.ปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร 2. ได้รับความรู้การดูแลผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุ และร่วมทำกิจกรม ร่วมกับผู้อายุของ รพ.สต.ปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร โดยนางสาวชลธิชา นาคมุสิก หรือหมอเอ 3. ตัวแทนของชุมชนวัดโพธิการาม โดยนางสาวชนิดา ฤทธิ์มณตรี ได้แลกเปลี่ยนในเรื่องการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชนวัดโพธิการามและมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุชุมชนโพธิการาม 4. ร่วมถ่ายภาพกับเจ้าหน้าที่ และกลุ่มผู้สูงอายุ ของ รพ.สต.ปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
5. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และร่วมพูดคุยทำความคุ้นเคยกับผู้สูงอายุของทั้ง 2 ชุมชน

 

20 0

9. 1.2 ประชุมชี้แจงในเวทีและประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 3 และ ARE1

วันที่ 18 กันยายน 2565 เวลา 12:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1. คณะกรรมการได้เรียนรู้วิธีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และกำหนดแนวทางการพัฒนาต่อไปตามปัญหาที่เกิดจากการทำกิจกรรมและผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน
2. ทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุของแต่ละกลุ่มมีความต้องการและสนับสนุนเรื่องใดบ้าง และใครเป็นผู้สนับสนุน

ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข คณะกรรมการเข้าใจวิธีการจัดเวที ARE น้อย แก้ไขโดยเรียนรู้เพิ่มเติม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน
ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองชุมพร

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. ทบทวนงานที่ผ่านมาตามแผนปฏิบัติการและบันไดผลลัพธ์ อ่านการสำรวจข้อมูล และลงรายงานที่ยังไม่สมบูรณ์
1.1 การจัดการพื้นที่กลาง เชื่อมต่อกิจกรรม การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
1.2 การทิ้งขยะที่ไม่ได้แยกชนิดของขยะ เพื่อใช้ประโยชน์ได้ 1.3 การติดตามผลเยี่ยมผู้สูงอายุ
2. พี่เลี้ยงชี้แจงการปฏิบัติโดยมีผู้รับผิดชอบ เป็นผู้ดำเนินการ สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น และมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองชุมพร ประธานอสม. และแกนนำผู้สูงอายุ เข้ารับฟัง พร้อมคณะกรรมการชุมชน
3. ผลสรุปมีดังนี้ 3.1 แบ่งแบบสำรวจให้ อสม.ดำเนินการต่อในส่วนที่ยังไม่ครบ ตามที่กำหนด และกำหนดผู้ลงรายงานgoogle form ของ Node Flagship จังหวัดชุมพร
3.2 เทศบาลจะแจ้งให้ผู้ประกอบการแยกขยะ และนำมาทิ้งในจุดที่กำหนด และประชาชนแต่ละโซนตรวจสอบ และคัดขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ย เพื่อใช้ในแปลงสวนผักต่อไป 3.3 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ประธานชุมชน เลขา ผู้ช่วยเลขา จัดตั้งกติกาชุมชน ในประเด็นผู้สูงอายุ จัดทำเวทีประชาคม 3.4 ติดตามแผนปฏิบัติการที่ยังไม่ดำเนินการ
- การติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง - การประชุมประจำเดือนทุกเดือน อาจจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาด้วยตามความเหมาะสม   4. นัดจัดเวทีครั้งต่อไป วันที่ 9 ธันวาคม 2565

 

20 0

10. กิจกรรมที่ 6.1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่1

วันที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ได้รู้จุดประสงค์ที่ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ต้องการกิจกรรม และพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมกัน 2 ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ และอยากมาร่วมกิจกรรมชุมชนมากขึ้น 3 การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัดที่1 การติดตาม เยี่ยม เสริมพลัง ที่3 เกิดทีมเพื่อนช่วยเพื่อนดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และประเมินผลลัพธ์ของบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 เกิดกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม
ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 เวลาออกเยี่ยมอากาศร้อน ผู้ไปเยี่ยมจึงต้องใส่หมวก กางร่ม หรือเปลี่ยนเวลาเยี่ยม เช่น ช่วงเช้าออกเยี่ยมก่อน 09.00 น. ช่วงเย็นหลังเวลา 17.00 น. 2 ความพร้อมของคณะกรรมการไม่มี คนออกเยี่ยม ออกทำงานเป็นคนเดิม กลุ่มเดิม คณะกรรมการเยี่ยมบ้านมีภารกิจจึงไม่สามารถเยี่ยมผู้สูงอายุได้ตามแผน บางครั้งจึงมีเพียงทีมงานอสม.เดิมที่ร่วมกันเยี่ยม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกซอยปรมินทรมรรคา 7 กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ซอย 3 ได้มีการชักชวนออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย ร่วมใส่บาตรในวันส่งท้ายปีเก่าที่จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ร่วมประชุมรับฟังข่าวสารประจำเดือน ออกเยี่ยมครั้งที่ 1 วันที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น.
2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

 

10 0

11. กิจกรรมที่ 6.2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุ กลุ่มติดสังคม ครั้งที่1

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ และสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดจนการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นวัดโพธิการาม ในการขอใช้พื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดสังคมครั้งที่ ๑ ในชุมชนโดยทีมผู้เยี่ยมและตัวแทนแต่ละซอยในชุมชนจำนวน 6 ซอย ประกอบด้วย สหกรณ์ซอย ๑ ,๓,๕ ปรมินมรรคา๙,๑๑,๑๓ ในการนี้ได้ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ประกอบด้วยการตรวจประจำปี การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ  การรับประทานยา (กรณีที่เป็นโรค)และการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ตลอดจนการสันทนาการ การเข้าร่วมกิจกรรมในวัด/ชุมชน การสังเกตอาการที่ผิดปกติของตนเอง และการประเครือข่ายสุขภาพ เช่น ๑๖๖๙และ๑๙๑ เป็นต้น ปัญหาอุปสรรค /แนวทางแก้ไข ๑.ขาดพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมส่วนรวม เสนอให้ประธานทีมคณะทำงานติดต่อวัดโพธิการามเพื่อขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรม และประสานกับเทศบาลเมืองชุมพรในการขอใช้อุปกรณ์สนับสนุนการจัดกิจกรรม เป็นต้น

 

10 0

12. กิจกรรมที่ 6.2 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุจำนวน 6 คน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และยินดีที่จะทำตามคำแนะนำของทีมผู้เยี่ยม และมีความสุขในการที่ได้เล่าประสบการณ์ของตนเองทำให้รู้ว่าตนเองมีพลังและมีคุณค่าที่จะได้นำความรู้และประสบการณืของตนเองไปเข้าร่วมกับเพื่อน ๆ และร่วมทำกิจกรรมอื่น ๆได้ตามความเหมาะและการร้องขอของหน่วยงานต่างและของชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่ เดินทางออกนอกบ้านไม่สะดวก เนื่องด้วยเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับโรคประจำตัว และความเสื่อมของร่างกาย และสมอง ประกอบด้วย นายสมบูรณ์ ชนก นายนิยม คงกระพัน นางเสงี่ยม จิตตราภิรมย์ นายสุรินทร์ จิตตราภิรมย์ นางกัญญา นาคมุสิก นายชำนิ  บุญจร ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น และการไปตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

 

10 0

13. กิจกรรมที่ 6.3 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ครั้งที่1

วันที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
1 ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ทั้งสามคนได้รับการดูแลจากญาติเป็นอย่างดี ทำร่างกายสะอาด ไม่มีแผลกดทับ ยังให้อาหารทางสายอยู่ รับได้ตามจำนวนที่กำหนด ใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ไม่มีผิดปกติและใส่ผ้าอ้อมอยู่ หน้าตาสดชื่น
2 ผู้เยี่ยมให้ความรู้เพิ่มเติมตามเอกสาร ทำให้ญาติ ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงและผู้ดูแล ได้รับกำลังใจ และได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ
ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงมีการใช้ผ้าอ้อมฯจำนวนมาก ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ผู้เยี่ยมเสนอแนะขอสนับสนุนจากกองทุนฯและเทศบาลเมืองชุมพร โดยทีมผู้จะไปประสานให้ในระยะแรก 2. ผู้เยี่ยมมีเวลาว่างจากงานปกติไม่ตรงกันจึงกำหนดเวลาเยี่ยมใหม่เป็นช่วงเย็นหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจส่วนตัวแล้วเป็นช่วงเวลา 17.00 น.เป็นต้นไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อเยี่ยมและให้กำลังใจผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง และผู้ดูแล
2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมกับผู้สูงอายุ และผู้ดูแล 3. เพื่อรับฟังปัญหาของผู้สูงอายุและผู้ดูแล

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการชุมชน และ อสม.ชุมชนวัดโพธิการาม

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ได้แก่ นายสุพัฒน์ พลวารินทร์ สามีอาจารย์เตือนใจ พลวารินทร์ ถนนหลังวัดโพธิการาม การออกเยี่ยม ทำให้ทราบปัญหาจากผู้ดูแล คือเรื่องผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้เยอะ เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูง ผู้เยี่ยมจึงแนะนำให้ติดต่อที่เทศบาลเมือง ออกเยี่ยมครั้งที่ 1 วันที่ 26 กันยายน 2565 เวลา 16.00 – 18.00 น. 2 ให้กำลังใจผู้ดูแล ร่วมพูดคุยเรื่องการขอผ้าอ้อมกับเทศบาลเมืองชุมพร ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

 

10 0

14. กิจกรรมที่ 6.4 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่2

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 ได้รู้ว่าผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ต้องการให้ไปเยี่ยม พูดคุยด้วยบ่อยๆ
2 ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านได้กำลังใจ ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ปัญหา/อุปสรรค และ แนวทางการแก้ไข 1 ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง อาจมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ จึงแนะนำให้ทำราวจับเพื่อเดินเข้าทำภาระกิจที่สำคัญ เช่น ราวในห้องน้ำ  และทางลาดที่ป้องกันการลื่นได้ เป็น 2 ความพร้อมของคณะกรรมการที่ออกเยี่ยมต้องเติมเต็มความรู้ในการดูแลผู้สูงอย่างครบวงจร เช่น การป้องกันอุบัติ  อาหารที่ครบตามหลักโภชนาการสมวัย  การกินยาที่ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ทั้งจำนวน ระยะเวลา ตรงกับของตนเอง เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพราะผู้สูงอายุกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่ เดินทางออกนอกบ้านไม่สะดวก เนื่องด้วยเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับโรคประจำตัว และความเสื่อมของร่างกาย ประกอบด้วย นางเสงี่ยม จิตตราภิรมย์ ออกเยี่ยมครั้งที่ 2 วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.
2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่ลดเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน/หวานน้อยมากขึ้น และลดเครื่องปรุงรส เพิ่มไข่อย่างน้อยวันละ 2 ฟอง เป็นต้น การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า และมึนศรีษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่คล่อง เป็นต้น ถ้าพบร่วมกันรีบแจ้งอสม.เป็นต้น ตลอดจนการฟังธรรมะ ไปวัดหรือพุดคุยกับเพื่อนบ้านบ่อย ๆหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 44 14                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 19,190.00                  
คุณภาพกิจกรรม 56                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. อบรมนักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ รุ่นที่ 2 ( 2 ต.ค. 2565 - 3 ต.ค. 2565 )
  2. กิจกรรมที่ 6.5 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่3 ( 5 ต.ค. 2565 )
  3. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครัั้งที่ 4 ( 8 ต.ค. 2565 )
  4. กิจกรรมที่ 5 จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล ( 16 ต.ค. 2565 )
  5. จัดเวทีประชาคมเพื่อรับรองและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล ( 16 ต.ค. 2565 )
  6. กิจกรรมที่ 6.1 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่1 ( 22 ต.ค. 2565 )
  7. กิจกรรมที่ 6.6 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ครั้งที่2 ( 23 ต.ค. 2565 )
  8. กิจกรรมที่ 6.7 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ครั้งที่2 ( 24 ต.ค. 2565 )
  9. กิจกรรมที่ 6.8 ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ครั้งที่4 ( 29 ต.ค. 2565 )
  10. พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบรายงานการเงินและรายงานOnline ( 30 ต.ค. 2565 )
  11. พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนา (ARE 1)Node Fiagship Chumphon ( 31 ต.ค. 2565 )
  12. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่5 ( 5 พ.ย. 2565 )
  13. สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม ( 6 พ.ย. 2565 )
  14. จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน ( 10 พ.ย. 2565 )
  15. กิจกรรมที่ 8 จัดหาพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน ( 10 พ.ย. 2565 )
  16. ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้3อ2สและแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทางกาย จิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ( 13 พ.ย. 2565 )
  17. กิจกรรมที่ 7.1(1) ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ( 13 พ.ย. 2565 )
  18. กิจกรรมที่ 7.1(2) ปฏิบัติการในพื้นที่จริงแต่ละกลุ่มด้วยการให้ความรู้ 3อ2ส และแนวทางการดูแลผู้สูงอายุทาง กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ( 20 พ.ย. 2565 )
  19. กิจกรรมที่ 7.2(1) การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการใช้พื้นที่กลาง (ปลูกผักปลอดสารพิษ) ( 27 พ.ย. 2565 )
  20. กิจกรรมที่ 7.2(2) การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการใช้พื้นที่กลาง (ปลูกผักปลอดสารพิษ) ( 4 ธ.ค. 2565 )
  21. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 6 ( 11 ธ.ค. 2565 )
  22. ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจับริการชุมชน ( 15 ธ.ค. 2565 )
  23. กิจกรรมที่ 9 ประสานความรู้ร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจัดบริการประชาชน ( 18 ธ.ค. 2565 )
  24. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 7 ( 5 ม.ค. 2566 )
  25. จัดเวทีประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี ( 14 ม.ค. 2566 )
  26. จัดเวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรัง ( 30 ม.ค. 2566 )
  27. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน ครั้งที่ 8 ( 5 ก.พ. 2566 )
  28. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ ( 20 ก.พ. 2566 )

(................................)
นายประมวล พรหมศร
ผู้รับผิดชอบโครงการ