แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดชุมพร


“ (09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร ”

บ้านห้วยไทร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางจำรัส วงษ์พล

ชื่อโครงการ (09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร

ที่อยู่ บ้านห้วยไทร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0009 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"(09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านห้วยไทร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดชุมพร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
(09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร



บทคัดย่อ

โครงการ " (09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านห้วยไทร อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 65-00240-0009 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

1.1 ข้อมูลพื้นฐาน   บ้านห้วยไทร ตั้งอยู่ ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร มีอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลช่องไม้แก้ว , ตำบลนาสัก อำเภอสวี ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 10 ตำบลตะโก ทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลช่องไม้แก้ว ทิศตะวักตกติดต่อกับ ตำบลนาสัก อำเภอสวี มีเนื้อที่ 13,390 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา มีฝนตกชุก ภูมิอากาศร้อนชื้น มีแหล่งน้ำกลางหมู่บ้าน สภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 835 คน เพศชาย 433 คน เพศหญิง 402 คน มีจำนวนครัวเรือน 375 ครัวเรือน มีทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้/ป่าสงวน/อุทยานแห่งชาติ 8 แห่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านห้วยไทร อพยพมาจากหลายจังหวัดของประเทศไทย โดยประกอบอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลูกทุเรียน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ เงาะ มังคุด ลองกอง ส้มโอ ปลูกข้าว(หนำข้าว) ปลูกพริกไร่ ปลูกขิง   อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลช่องไม้แก้ว , ตำบลนาสัก อำเภอสวี ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 14 และ หมู่ที่ 10 ตำบลตะโก ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ทิศตะวักตก ติดต่อกับ ตำบลนาสัก อำเภอสวี
    ปฏิทินฤดูกาล เดือน      เรื่อง สภาพที่เกิด/ผลกระทบ มกราคม 1. วันปีใหม่ 1. ทำบุญตักบาตร 2. ประชาชนในหมู่บ้านบางรายป่วย กุมภาพันธ์ 1. วันมาฆบูชา 2. ภัยแล้ง 1. ทำบุญตักบาตร 2. น้ำในแหล่งน้ำแห้ง มีนาคม 1. อุจจาระร่วง 2. ปัญหาความแห้งแล้ง 1. ประชาชนล้มป่วย 2. ขาดแคลนน้ำในการเกษตร เมษายน 1. ปัญหาความแห้งแล้ง 2. วันสงกรานต์ 1. ขาดแคลนน้ำในการเกษตร 2. ทำบุญตักบาตร/รดน้ำผู้ใหญ่ พฤษภาคม 1. ไข้เลือดออก 2. วันวิสาขบูชา 1. ประชาชนในหมู่บ้านบางรายป่วย 2. ทำบุญตักบาตร และประกอบพิธีเวียนเทียน มิถุนายน 1. โรคชิคุณกุนยา 1. ประชาชนในหมู่บ้านบางรายป่วย กรกฎาคม 1. วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา 1. ทำบุญตักบาตร และประกอบพิธีเวียนเทียน สิงหาคม 1.โรคไข้มาลาเรีย 2.ทอดผ้าป่ากองทุนแม่ของแผ่นดิน 1. ประชาชนในหมู่บ้านบางรายป่วย

กันยายน 1. โรคไข้เลือดออก 2. อุทกภัย 1. ประชาชนในหมู่บ้านบางรายป่วย 2. น้ำกัดเซาะถนน/ถนน/ท่อระบายน้ำชำรุดเสียหาย ตุลาคม 1. วันออกพรรษา 1. ทำบุญตักบาตร พฤศจิกายน - - ธันวาคม 1. วันพ่อแห่งชาติ 1. ทำบุญตักบาตรและพัฒนาหมู่บ้าน

      การวิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน(SWOT)       จุดแข็ง จุดอ่อน 1. ประชาชนให้ความร่วมมือ/มีส่วนร่วมในกิจกรรม ของหมู่บ้าน 2. ผู้นำหมู่บ้านเข้มแข็ง 3. มีศาสนสถาน(วัด/สำนักสงฆ์) จำนวน 2 แห่ง 4. มีงานประเพณีประจำหมู่บ้าน 5. มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ 6. ชุมชนให้ความร่วมมือดี ประชาชนมีการรวมกลุ่มในหมู่บ้าน 1. สภาพพื้นที่เชิงภูเขาเสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติ 2. งบประมาณของหมู่บ้านมีน้อย 3. พื้นที่กว้าง ยากต่อการดูแล 4. ลำคลองมีมาก แต่น้ำไม่เพียงพอ แหล่งน้ำไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง 5. ถนนไม่ได้มาตรฐาน มีฝุ่นละออง 6. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาน้ำเสียจากพฤติกรรมทางการเกษตร โอกาส อุปสรรค 1.หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจในการพัฒนาหมู่บ้าน 1.การติดต่อสื่อสารไม่สะดวก สัญญานโทรศัพท์ไม่ทั่วถึง

ทิศทางการพัฒนาท้องถิ่น วิสัยทัศน์หมู่บ้าน “คุณภาพชีวิตเด่น เน้นโครงสร้างพื้นฐาน สืบสานงานประเพณี มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์” มีเป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนป้องกัน ดูแลรักษา เห็นคุณค่าของน้ำ ดิน ป่า ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีอุดมสมบูรณ์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางการคมนาคม ป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพอนามัย ส่งเสริมการศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมความสามัคคี และการมีส่วนร่วมของประชาชน และป้องกันปัญหายาเสพติด มติของคณะกรรมการหมู่บ้าน โดยได้รับฉันทามติจากชาวบ้านห้วยไทร มีหลักการพัฒนาหมู่บ้านดังนี้ คือ หลักการบริหารพัฒนาหมู่บ้านทำประชาคมตามลำดับที่เหมือนเดิม แต่ถ้าที่ใดเดือดร้อนมาก ก็ให้พัฒนาก่อนได้ แต่ต้องหารือเจ้าของประชาคมที่ชนะที่ 1 โดยเรียกผู้นำหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านมารับรู้แล้วบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร 1.2 สภาวการณ์สุขภาวะบ้านห้วยไทร พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ มีดังนี้   ด้านสุขภาพ ผลด้านบวก มีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ รพ.สต.บ้านช่องไม้แก้ว มีการรวมกลุ่มกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีชมรม อสม. ที่มีความเข้มแข็ง โดยผ่านกลไกลคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ รพ.สต. ผลด้านลบ มีผลการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย 30% มีภาวการณ์เจ็บป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆ ประมาณ 100 คน ด้านเศรษฐกิจ ผลด้านบวก มีกลุ่มครัวเรือนพอเพียงปลูกพืชผัก ผลไม้ ไว้สำหรับทานในครัวเรือน มีกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ มีกลุ่มออมทรัพย์/สัจจะ ผลด้านลบ มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ มีภาระหนี้สินครัวเรือน ด้านสังคม ผลด้านบวก มีลานออกกำลังกาย มีวัด 3 วัด มีกลุ่มน้ำดื่มชุมชน มีโรงสีชุมชน ผลด้านลบ มีร้านขายเหล้า/บุหรี่ไม่รู้กฎหมาย ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลด้านบวก มีป่าต้นน้ำ มีฝายชะลอน้ำ ผลด้านลบ มีการใช้สารเคมีทำการเกษตร 70% น้ำเสียจากพฤติกรรมทางการเกษตร และสภาพอากาศที่ไม่ถูกต้องตามฤดูกาล สำหรับประเด็นปัญหาความต้องการในปัจจุบันของบ้านห้วยไทร ยังขาดความตระหนักรู้ไม่เห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารสุขภาพ และการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เช่น สวนทุเรียน สวนมังคุด ฯลฯ ซึ่งแหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว ทำให้เกิดการเจ็บป่วยโรคเรื้อรังและโรคอื่นๆ
1.3 ผลการวิเคราะห์แรงเสริมแรงต้าน ของพื้นที่ พบว่า   มีปราชญ์ชาวบ้าน ยาสมุนไพร ประชาชนให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน ท้องถิ่น ท้องที่ผู้นำ หมู่บ้านมีความร่วมมือเข้มแข็ง มีหน่วยงานเข้ามาหนุนเสริม ชมรม อสม. มีความเข้มแข็ง มีศาสนสถาน(วัด/สำนักสงฆ์) จำนวน 3 แห่ง มีศิลปวัฒนธรรม งานประเพณีท้องถิ่นประจำหมู่บ้าน ได้แก่ แข่งเรือ 8 ฝีพาย ช่องไม้คั๊พ รดน้ำผู้สูงอายุ มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีการรวมกลุ่มในหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ   โอกาส หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจในการพัฒนาหมู่บ้าน แรงต้าน ประชาชนในชุมชนให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพเป็นลำดับสุดท้าย ความเคยชินแบบเดิมๆ ขาดกระบวนการขับเคลื่อนของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 น้ำเสียจากพฤติกรรมทางการเกษตร อุปสรรค ระบบการประชาสัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสารไม่สะดวก สัญญาณโทรศัพท์ไม่ทั่วถึง จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของบ้านห้วยไทรจะเห็นว่าคนในชุมชนยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีสุขาภาวะที่ดีขึ้น คณะกรรมการได้ตกลงกันที่จะดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและเกิดการตระหนักรู้ในการบริโภคอาหารสุขภาพ เนื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย การได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยเหมาะสมตามวัย ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง นอกเหนือจากการออกกำลังกายแล้ว เป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และโรคอื่นๆ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  2. กิจกรรมที่เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ
  3. ติดตามประเมินผลลัพธ์และนำเสนอผลงาน
  4. ประชุมคณะกรรมการ/ทบทวน/แผนชุมชน
  5. กิจกรรมที่เกิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ
  6. ประชุมชี้แจ้งและจัดตั้งคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1
  7. จัดทำป้ายไวนิลรรรงคืไม่ดื่ม/ไม่สูบ
  8. ประชุมเชิงปฎิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย
  9. ประชุมคณะทำงานติดตาม ครั้งที่ 2
  10. ทบทวนสถานการณ์ สุขภาพ
  11. อบรมพัฒนาศักยภาพการบันทึกข้อมูลโครงการระบบออนไลน์
  12. ประชุมคณะกรรมการกองทุน สปสช.
  13. นักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ
  14. อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง คัดกรอง เบาหวาน ความดัน
  15. ตรวจสุขภาพ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม NCDและออกแบบกิจกรรม 3 อ 2 ส
  16. สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร
  17. รายงานผลดำเนินงานโครงการ
  18. ประชุมคณะทำงานติดตาม ครั้งที่ 3
  19. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านศิลปะวัฒนธรรม
  20. ประสานจัดทำข้อมูลรายงานและการเงิน
  21. ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 4
  22. ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 5
  23. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ
  24. ประกวดการจัดทำเมนูสุขภาพร่วมกับเชฟชุมชน
  25. เวทีนำเสนอผลงานและคืนข้อมูล
  26. ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 6
  27. ประสานจัดทำข้อมูลรายงานและการเงิน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชี้แจ้งและจัดตั้งคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
-วัตถุประสงค์รายละเอียดตามโครงการ
- จัดหาคณะทำงานที่มีความพร้อม ผู้นำ กรรมการหมู่บ้าน อสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้คณะทำงาน ผู้นำ 5 ท่าน  อสม. 23 ท่าน เพื่อดำเนินงานต่อไป

 

20 0

2. จัดทำป้ายไวนิลรรรงคืไม่ดื่ม/ไม่สูบ

วันที่ 3 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานรูปแบบป้ายและสั่งร้านค้าจัดทำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีป้ายประชาสัมพันธ์ติดตั้ง ณ.สาธารณะหรือที่ๆคนสามารถมองเห็นป้ายได้ชัดเจน

 

1,000 0

3. ประชุมเชิงปฎิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย

วันที่ 4 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เพื่อเปิดการปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี 65 ของ สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สสส.สน.6)เป้าหมายและแนวทางร่วมสร้างชุมพรน่าอยู่การด าเนินงานโครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุข ภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่ และโครงการย่อยระดับพื้นที่
  2. ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม การคลี่เคลื่อนบันไดผลลัพธ์โครงการย่อย โดยทีมสนับสนุวิชาการ เกษตรและอาหารระดับหมู่บ้าน เกษตรและอาหารระดับตำบล เกษตรและอาหารระดับสมาพันธ์เกษตรอำเภอ เกษตรและอาหารระดับเครือข่าย จัดการโรคเรื้อรังระดับชุมชน/หมู่บ้านจัดการโรคเรื้อรังระดับหน่วยบริการ จัดการโรคเรื้อรังระดับตำบล 3.เพื่อล้อมวงอภิปราย : ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เป้าหมายที่ตั้งไว้เราจะเชื่อมโยงห่วงโซ่ คุณค่าของ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กับการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ด้วยกลไกการจัดการ และกระบวนการอย่างไร ?

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ปรึกษาหารือการดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อชุมพรน่าอยู่ ปี 65- 66 ในประเด็นดังนี้ -กลไกโครงสร้างของคณะกรรมการอำนวยการ (ภาคียุทธศาสตร์) -เป้าหมายและจังหวะก้าวการด าเนินงานของ โครงการ : ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
    -การสร้างและพัฒนากลไกผู้บริโภคจังหวัดชุมพร-การสื่อสารสาธารณะ
  2. การเสริมพลังทีมสนับสนุนวิชาการพื้นที่ด้วยยกระดับ ผลงานทางวิชาการ
  3. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการด าเนินงานโครงการย่อย
  4. เรียนรู้ร่วมกัน เชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อชุมพรน่าอยู่

 

3 0

4. ประชุมคณะทำงานติดตาม ครั้งที่ 2

วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมทีมงาน การจัดเก็บข้อมูลวัยเเรงงานในชุมชน จำนวน 150 ชุด จัดทำป้ายโครงการ และป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แบ่ง เอกสารให้ทีมงาน สำรวจในพื้นที่ แต่ละครัวเรือน ของวัยทำงาน ตามเอกสาร
ด้านการได้รับการบริการจากภาครัฐ
1. ท่านคิดว่าที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือมาเป็นอย่างดี และท่านรู้สึกพอใจ
2. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรสื่อสารนโยบายการจัดสวัสดิการให้ทั่วถึง 3. ท่านคิดว่าควรมีบุคลากรจากภาครัฐ (โรงพยาบาล/สถานีอนามัย เกษตร พัฒนาสังคมฯ ) ออกมาให้ความรู้ในเรื่องสุขภาวะและอาชีพเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
4. ท่านคิดว่าภาครัฐโดยเฉพาะอปท.ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อมาดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
5. ท่านคิดว่าภาครัฐควรจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องสาธารณูปโภค และการคมนาคมให้ดีกว่าปัจจุบัน (น้ำ ไฟ ถนนฯ) ด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน
1. ท่านพอใจในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อครอบครัว เช่น การช่วยดูแลบ้าน การเลี้ยงดูบุตรหลาน
2. เมื่อท่านมีเรื่องที่ไม่สบายใจ สมาชิกในครอบครัว รับฟังท่านด้วยความเต็มใจและเห็นอกเห็นใจ
3. เมื่อมีความทุกข์ใจท่านจะไปปรึกษาลูกหลาน หรือเพื่อนสนิทเพื่อเป็นการระบายความทุกข์ใจ 4. ท่านรู้สึกว่าชีวิตมีความมั่นคงปลอดภัยดีในแต่ละวัน 5. ท่านพอใจในชีวิตทางเพศของท่าน(ชีวิตทางเพศ หมายถึง เมื่อเกิดความรู้สึกทางเพศขึ้นแล้วท่านมีวิธีจัดการทาให้ผ่อนคลายลงได้ รวมถึงการช่วยตัวเองหรือการมีเพศสัมพันธ์) 6. ท่านมีกำลังเพียงพอที่จะทำสิ่งต่าง ๆในแต่ละวัน (ทั้งเรื่องงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน) 7.ท่านมีเงินพอใช้จ่ายตามความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ด้านการดูแลสุขภาพ
1. ท่านเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและ ย่อยง่าย เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อปลา ไข่ไก่ ฯลฯ
2. ในแต่ละวันท่านอาบน้ำวันละ 2 ครั้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
3. ท่านมีการออกกำลังกายวันละ 45 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน การดำเนินชีวิต 4. ท่านดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นประจำ
5. ท่านพักผ่อนอย่างเพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทุกวัน เช่น เดิน วิ่ง
6. ท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 7. ท่านมีความรู้สึกไม่ดี เช่น รู้สึกเหงาเศร้า หดหู่ สิ้นหวังวิตกกังวล ด้านกิจกรรมการมีส่วนร่วม 1.ท่านไปเที่ยวพักผ่อนร่วมกับครอบครัวตามสถานที่ท่องเที่ยวในวันหยุด เช่น เทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ เป็นต้น
2. ท่านไปทำบุญตักบาตรและฟังเทศน์ในวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา
3. เมื่อมีเวลาว่าง ท่านหากิจกรรมที่เพลิดเพลินทำ เช่น      การปลูกต้นไม้ การเลี้ยงปลาสวยงาม
4. ท่านเต็มใจให้ความช่วยเหลือกิจกรรมในสังคม เช่น ชุมชน วัด ตามกำลัง และความสามารถ
5. ท่านไปร่วมงานต่างๆ ที่ชุมชนจัดขึ้นเช่น งานปีใหม่      งานบุญประจำปี เป็นต้น
ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความต้องการ
1. ท่านได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์/สิทธิการคุ้มครองด้านบริการทางการแพทย์ และอื่น ๆ 2. ท่านต้องการความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน(ที่พัก อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การถูกทำรุนกรรม)
3. ท่านเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมอาสาสมัครในชุมชนโดย กลุ่มเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ (คนหนุ่มสาว)

 

20 0

5. ทบทวนสถานการณ์ สุขภาพ

วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คิด เขียน เมื่อวาน....การบ้านเพื่อไปวง พัฒนาศักยภาพ...เติมหาข้อมูลมาก่อนจากพื้นที่ กระบวนการ
พื้นที่นำเสนอ...ทำไมต้องทำ (ข้อมูล-ศักยภาพ ) ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ 2.แบ่งกลุ่มวิเคราะห์. วางแผนกลยุทธ์
3.นำเสนอ เติมเต็ม กลยุทธ์สู่ความสำเร็จและเชื่อมโยง 4. ออกแบบงาน อาหารปลอดภัย ; น้ำมันทอดซ้ำตลาดเขาทะลุ
5.สรุปผลการเรียนรู้และนัดหมายภารกิจกรรมงาน ยกร่างกระบวนการเรียนรู้..เติมต่อตามความเหมาะสม...4 อ. 3 ส....ใช้ได้ทุกงาน ทั้งวัยทำงาน/ผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้วยสมาคมประชาสังคมชุมพร (Node Flagship Chumphon)  ร่วมกับหน่วยงานและกลุ่มองค์กรในจังหวัดชุมพร ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน” ใน ๒ ประเด็นได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ และ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.สน.๖) นั้นและได้รับการประสานงานจาก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอสวี ชมรม อสม.บ้านแก่งกระทั่ง ,ชมรม อสม.เขาทะลุ และคณะทำงานบ้านห้วยไทร ที่จะจัดประชุมเพิ่มพูนศักยภาพแก่คณะทำงานระดับพื้นที่ เพื่อพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพระดับพื้นที่ ต่อไป

ดังนั้นคณะทำงานโครงการฯ เรียนเชิญท่านในฐานะคณะทำงานโครงการย่อยแต่ละพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดการสุขภาพชุมชน ณ ห้องประชุม ปากตะโกโฮมสเตย์ อำเภอทุ่งตะโก  จังหวัดชุมพร  ในวันที่ ๑๘  กรกฎาคม พศ. ๒๕๖๕  ตั้งแต่เวลา 09.30-17.00 น.  อนึ่งรายละเอียดตามกำหนดการ และโปรดแจ้งตอบรับเข้าร่วมประชุมกับผู้ประสานงานพื้นที่ เพื่อการบริหารจัดการประชุมได้อย่างเหมาะสม

 

20 0

6. อบรมพัฒนาศักยภาพการบันทึกข้อมูลโครงการระบบออนไลน์

วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
  2. เพื่อเรียนรู้ระบบขั้นตอน/เครื่องมือและสิ่งสำคัญในการบันทึกข้อมูลโครงการย่อยเข้าระบบออ
  3. ฝึกปฎิบัติการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบของ 25 โครงการย่อยและร่วมแลกเปลี่ยน
  4. สรุปการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (NodeFlagship Chumphon) และ นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้วยสมาคมประชาสังคมชุมพร (Node Flagship Chumphon)  ร่วมกับหลายหน่วยงาน องค์กรในจังหวัดชุมพร ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน” ใน 2 ประเด็นได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ และ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.สน.๖) เพื่อการดำเนินงานโครงการย่อยโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในระยะที่ 2 ปี 65-66 พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนสู่ชุมพรเมืองน่าอยู่ ขอจึงได้จัดให้มีการประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยด้านระบบออนไลน์ในปี 2565 ครั้งนี้ขึ้น
    ทางโครงการฯจึงเรียนเชิญเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบันทึกข้อมูล(สารสนเทศ) จำนวน ๑ ท่าน เข้าร่วมการประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยด้านระบบออนไลน์ ปี 2565 (Node Flagship Chumphon) ณ ห้องประชุม โรงแรมมรกตทวิน อำเภอเมือง  จังหวัดชุมพร

 

3 0

7. ประชุมคณะกรรมการกองทุน สปสช.

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมอนุมัต โครงการ  ร่วมด้วย รพสต. กรรมการสปสช.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำโครงการเข้าสู่แผนสุขภาพ ในปี 2566 และอนุมัตดครงการปี 2565 1 โครงการตรวจสารเคมีในร่างกาย 2 โครงการนวดแผนไทย 3 โครงการพระราชดำริ 4 โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง NCD

 

0 0

8. นักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ

วันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

นักสื่อสาร ฯ E-Ciw #1
ข้อค้นพบจากการเรียนรู้ร่วมกันของ ห้องเรียนครั้งนี้อายุ 14-68 ปี ใน
1) เยาวชนคนรุ่นใหม่ มีทักษะการถ่ายภาพ และเชี่ยวชาญช่องทางสื่อสาร ในแพตฟอร์มต่างๆ เมื่อได้ผสมผสานกับ คนรุ่นกลาง-ผู้สูงวัยที่มีประสบการณ์และเนื้อหา. จึงทำให้ผลิตชิ้นงานสื่อสารได้ดี 2) ใช้พลังสื่อสาร. เสริมงาน สานพลังในพื้นที่ คนดีๆ เก่ง ๆ , กิจกรรมดีๆ , แหล่งเรียนรู้ดีๆ , เรื่องราวดีๆ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น , ที่กิน. ที่เที่ยว ดีๆ ให้เห็นตระหนักในคุณค่าชุมชนท้องถิ่น
3) ปัจจัยความสำเร็จนักสื่อสาร. คือ 1.การใช้ช่องทางสื่อให้ถูกกับเป้าและกลุ่มเป้าหมาย/ผู้บริโภคข่าวสารได้ถูกจังหวะ ตรงความต้องการช่วงวัย./Gen 2.การพัฒนาและใช้เทคนิคผลิตชิ้นงานและการสื่อสาร
3.ความถี่ในการสื่อสารต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 4) ระบบสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ต้องมีทีมจัดการประสานงานและข้อมูลสารสนเทศ -ช่องทางสื่อสารต่างๆ  ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับโครงข่ายนักสื่อสาร ที่เป็นผู้ผลิตสื่อ-แหล่งข้อมูล ไปพร้อมๆ กัน 5) หัวใจนักสื่อสาร(หัวใจนักปราชญ์)  สุ - จิ - ปุ -ลิ  ยังคงใช้ได้เสมอ...และสำคัญไม่มีใครแก่เกินเรียน...เวทีนี้ยืนยันว่า จะ 50-60-70 ปี. ก็ยังเป็นนักสื่อสารได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

#สานพลังสร้างสุขชุมพร . สื่อสาร. สร้างสรรค์. สังคมสุขภาวะ
#สมาคมประชาสังคมชุมพร. Node flagship สสส.สน.6ด้วยสมาคมประชาสังคมชุมพร (Node Flagship Chumphon)  ร่วมกับหลายหน่วยงาน องค์กรในจังหวัดชุมพร ดำเนินงานโครงการสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่เพื่อชุมพรน่าอยู่ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจดีและมีคุณค่า มุ่งสู่การพัฒนายั่งยืน” ใน 2 ประเด็นได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ และ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.สน.๖) เพื่อการดำเนินงานโครงการย่อยโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในระยะที่ 2 ปี 65-66 พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนสู่ชุมพรเมืองน่าอยู่ ขอจึงได้จัดให้มีการประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยด้านระบบออนไลน์ในปี 2565 ครั้งนี้ขึ้น

 

3 0

9. อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง คัดกรอง เบาหวาน ความดัน

วันที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงทะเบียนและทำการเจาะเลือด เวลา 8.30น.-16.00 น. คณะทำงานแจ้งผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปมารับการเจาะเลือด คัดกรอง น้ำตาลในเลือดเพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยง มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิทยากร ให้ความรู้การช่วยเหลือประถมพยาบาลเบื้องต้น การเรียนรู้ที่จะเรียก 1669 เพื่อช่วยเหลือ  ให้ความรู้ ลดหวานมันเค็ม กินร้อน ช้อนกลางล้างมื้อบ่อยๆ ชั่งน้ำหนัก ,วัดความความดันโลหิต ,รอบเอว ตามมาตรฐาน Home BP
-ติดตามการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง คัดกรอง เบาหวาน ความดัน 1.เพื่อดูแลกลุ่มเสี่ยงให้กลับไปเป็นกลุ่มปกติ 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมได้เพื่อได้รับการส่งต่อไป รพ.สต.ช่องไม้แก้ว 3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง 4.ติดตามการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ผล 60 คน มีผู้ที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5 คน

 

120 0

10. ตรวจสุขภาพ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม NCDและออกแบบกิจกรรม 3 อ 2 ส

วันที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามแนวทาง 3 อ. 2 ส  คณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมให้ความรู้ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามแนวทาง 3 อ. 2 ส  ได้ข้อมูลการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น การแบ่งหน้าที่คณะทำงานเพื่อได้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น  มีคณะทำงานที่เข้มแข็ง สมัคคี ความร่วมมือได้ดี

 

60 0

11. สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานแกนนำเพื่อเข้าร่วมประชุมและเตรียมประเด็นในการร่วมนำเสนอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ร่วมกันทั้งในระดับตำบล จังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

3 0

12. รายงานผลดำเนินงานโครงการ

วันที่ 30 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

*

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

*

 

1 0

13. ประชุมคณะทำงานติดตาม ครั้งที่ 3

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

*

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

*

 

20 0

14. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านศิลปะวัฒนธรรม

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธืข้อมูลผ่านเวทีหมู่บ้านและ อสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคนเข้าร่วมตามเป้าหมายและสามารถออกแบบกิจกรรมออกกำลังกายได้เหมาะสมกับทุกช่วงวัยของคนในชุมชนโดยเน้นการออกกำลังควบคู่กับการส่งเสริมด้านการบริโภค

 

60 0

15. ประสานจัดทำข้อมูลรายงานและการเงิน

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวบรวมเอกสารการขับเคลื่อนงานและรายงานการเงินจัดคีย์ข้อมูลเข้าระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการรายงานข้อมูลการขับเคลื่อนงานและรายงานการเงินเข้าสู่ระบบรายงาน

 

1 0

16. ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวบรวมข้อมูลประสานคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยใช้บันไดผลลัพธ์เป้นเครื่องมือในการพุดคุย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกืดการขับเคลื่อนงานตามแผนงานตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3 โดยมีการสรุแการขับเคลื่อนงานด้านผู้ป่วยจะหันมาดุแลสุขภาพและเริ่มสนใจการบริโภคของตัวเองมากขึ้นและมีวินัยในการเข้าร่วมประชุมและไปตรวจสุขภาพตามเวลาที่หมอนัด

 

20 0

17. ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 5

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานรวบรวมข้อมูลเตรียมประเด็นเข้าร่วมพูดคึย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการติดตามกลุ่มผู้ป่วยเรื้องรังและกลุ่มเสี่ยงตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายซึ่งจากการติดตามจะเห็นถึงการใส่ใจสุขภาพดดยตัวเองและคนในครอบครัวดดยมีการลดการบริโภคหวานจัด เค็มจัดเพื่อให้เกิดการควบคุมดรคดดยการลดการบริโภคที่มีความเสี่ยงและการหันมาทำอาหารที่ทานหมดใน 1 วันไม่มีการอุ่นซ้ำของอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีความมัน และมีการรวมตัวกันออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

 

20 0

18. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ

วันที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ่ายเงินยืมเปิดบัญชีหัวหน้าโครงการ จำนวน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการคืนเงินให้ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้สำรองเงินเปิดบัญชี

 

1 0

19. ประกวดการจัดทำเมนูสุขภาพร่วมกับเชฟชุมชน

วันที่ 8 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์ให้แต่ละกลุ่มหรือคนในชุมชนร่วมกันคิดค้นเมนุเพื่อสุขภาพและนำมาประกวดการทำเมนูสุขภาพเพื่อลดเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่วมกิจกรรมโดยมีการเข้าร่วมจำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งมีการนำาหารอีสานมาดัดแปลงให้เป้นอาหารสุขภาพและมีการนำผักมลที่ชุมชนปลูกมาจัดทำอาหาร เช่น การทำแกงจืดผักหวาน การทำน้ำพริกปลาร้า และมีการเชิญเจ้าหน้าที่จาก อบต./รพ.สต /ประมง และกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เข้าร่วมเป้นกรรมการตัดสินและมีคนในชุมชนเข้าร่วมชิมและทานอาหารร่วมกัน

 

75 0

20. เวทีนำเสนอผลงานและคืนข้อมูล

วันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีพูดคุยคณะทำงาน/พี่เลี้ยงเพื่อสรุปการขับเคลื่อนงานโครงการเพื่อนำข้อมูลไปเสนอในเวทีสรุปบทเรียน ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 25 เม.ย 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บ้านห้วยไทร  ตั้งอยู่ ตำบลช่องไม้แก้ว  อำเภอทุ่งตะโก  จังหวัดชุมพร  มีอาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลช่องไม้แก้ว , ตำบลนาสัก อำเภอสวี  ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 10 ตำบลตะโก  ทิศตะวันออกติดต่อกับ  หมู่ที่ 5 ตำบลช่องไม้แก้ว    ทิศตะวักตกติดต่อกับ ตำบลนาสัก  อำเภอสวี  มีเนื้อที่  13,390  ไร่  เป็นพื้นที่ลาดเชิงเขา  มีฝนตกชุก ภูมิอากาศร้อนชื้น  มีแหล่งน้ำกลางหมู่บ้าน  สภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น  835 คน  เพศชาย  433 คน  เพศหญิง  402 คน  มีจำนวนครัวเรือน  375 ครัวเรือน  มีทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้/ป่าสงวน/อุทยานแห่งชาติ 8 แห่ง  และแหล่งน้ำธรรมชาติ  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านห้วยไทร อพยพมาจากหลายจังหวัดของประเทศไทย  โดยประกอบอาชีพการเกษตรเป็นส่วนใหญ่  เช่น ปลูกทุเรียน  ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ เงาะ มังคุด  ลองกอง  ส้มโอ ปลูกข้าว(หนำข้าว)  ปลูกพริกไร่  ปลูกขิง      สภาวการณ์สุขภาวะบ้านห้วยไทร  พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ คือ ด้านสุขภาพ  ผลด้านบวก มีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ รพ.สต.บ้านช่องไม้แก้ว  มีการรวมกลุ่มกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  มีชมรม อสม. ที่มีความเข้มแข็ง  โดยผ่านกลไกลคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ รพ.สต.  ผลด้านลบ  มีผลการตรวจสารเคมีตกค้างในร่างกาย 30%  มีภาวการณ์เจ็บป่วยโรคเรื้อรัง  ได้แก่  โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  และโรคอื่นๆ  ประมาณ  100 คน  ด้านเศรษฐกิจ  ผลด้านบวก  มีกลุ่มครัวเรือนพอเพียงปลูกพืชผัก ผลไม้ ไว้สำหรับทานในครัวเรือน  มีกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์มีกลุ่มออมทรัพย์/สัจจะ  ผลด้านลบ  มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ  มีภาระหนี้สินครัวเรือน    ด้านสังคม  ผลด้านบวก  มีลานออกกำลังกาย    มีวัด 3 วัด  มีกลุ่มน้ำดื่มชุมชน  มีโรงสีชุมชน  ผลด้านลบ มีร้านขายเหล้า/บุหรี่ไม่รู้กฎหมาย  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ผลด้านบวก  มีป่าต้นน้ำ  มีฝายชะลอน้ำ  ผลด้านลบ  มีการใช้สารเคมีทำการเกษตร 70%    น้ำเสียจากพฤติกรรมทางการเกษตร  และสภาพอากาศที่ไม่ถูกต้องตามฤดูกาล ในปัจจุบันของบ้านห้วยไทร  ยังขาดความตระหนักรู้ไม่เห็นความสำคัญในการบริโภคอาหาร และการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เช่น สวนทุเรียน  สวนมังคุด  ฯลฯ  ซึ่งแหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว  ทำให้เกิดการเจ็บป่วยโรคเรื้อรังและโรคอื่นๆ จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของบ้านห้วยไทรจะเห็นว่าคนในชุมชนยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น  คณะกรรมการจึงมีความเห็นตรงกันที่จะส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและเกิดการตระหนักรู้ในการบริโภคอาหารสุขภาพ  เนื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย การได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยเหมาะสมตามวัย  ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง  นอกเหนือจากการออกกำลังกายแล้ว การลดอัตราการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง และโรคอื่นๆ  ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.กลไกการดำเนินงาน
3.1 การก่อตัวของกลไก เริ่มจากสุขภาพของคนบ้านห้วยไทรมีการเพิ่มขึ้นของโรคโดยใช้ข้อมูลจาก รพ.สต จะเห็นว่าปี 2564 โรคเบาหวาน จำนวน 291 คน ปี 2565 จำนวน 305 คน ซึ่งจะเห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นของโรคและหากยังมองข้ามเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนจะทำให้ชุมชนเกิดปัญหาสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงได้ขอมติของคณะกรรมการหมู่บ้านโดยได้รับฉันทามติจากชาวบ้านห้วยไทรตามหลักการพัฒนาหมู่บ้านดังนี้  หลักการบริหารพัฒนาหมู่บ้านทำประชาคมตามลำดับที่เหมือนเดิม แต่ถ้าที่ใดเดือดร้อนมากก็ให้พัฒนาก่อนได้ แต่ต้องหารือเจ้าของประชาคมที่ชนะที่ 1 โดยเรียกผู้นำหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านมารับรู้และจากการพูดคุยเรื่องสุขภาพสามารถพัฒนาร่วมกับการพัฒนาหมู่บ้านได้โดยใช้งบประมาณจากโครงการของ สสส.ที่สนับสนุนมาขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพบ้านห้วยไทรและไม่ขัดต่อความเดือดร้อนของชุมชน
ทบทวนข้อมูลแผนชุมชน(สุขภาพ) สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคจาก อสม./รพ.สต ในพื้นที่เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพูดคุยร่วมกับภาคีต่างๆจึงเห็นว่าสาเหตุของโรคมาจากการบริโภคที่คนในชุมชนขาดความตระหนักประกอบกับสภาพเศรษฐกิจทำไม่สามารถเลือกบริโภคได้และจากการใช้สารเคมีในสวนผลไม้ เมื่อสรุปได้แล้วจึงมีการเชิญภาคีในพื้นที่และหน่วยงานที่ขับเคลื่อนในพื้นที่มาพูดคุยและดูบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคีเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนยังขาดการติดตามกระตุ้นในเรื่องของการบริโภคและขาดการออกกำลังกายร่วมถึงการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดตั้งคณะกรรมการภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทรซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ร่วมกันวางแผนขั้นตอนการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมาย และมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายดำเนินงานโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มอาชีพเป็นคณะทำงานและหน่วยงานที่ขับเคลื่อนในพื้นที่คือ ประมงอำเภอ พัฒนาชุมชน อบต.และรพ.สต เป็นที่ปรึกษาโดยจะมีการดำเนินงาน คือ 1)จัดอบรมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง 2)ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร 3)ประชุมติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินแผนการขับเคลื่อนงานโดยใช้การแบ่งพื้นที่ตามขอบเขตของคณะกรรมการและ อสม.ที่ต้องดูแลในแต่ละสายโดยใช้บันไดผลลัพธ์ของโครงการและแผนสุขภาพชุมชนเป็นเครื่องมือในการพูดคุยและติดตามการขับเคลื่อนงานในครั้งแรกยังมีการสับสนกับการใช้บันไดผลลัพธ์จึงต้องมีการพูดคุยอธิบายเรื่องของผลลัพธ์ กิจกรรมและตัวชี้วัดและเมื่อมีการทำซ้ำๆจึงสามารถขับเคลื่อนได้แบบเป็นระบบต่างจากการทำในครั้งแรกคือ ทำแบบมวยวัดหรือยกหน้าที่การดูแลสุขภาพให้แก่ รพ.สตและอสม. จากการขับเคลื่อนงานจะเห็นว่าคณะทำงานต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงาน 1)การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ จะต้องสร้างความรู้เรื่องของสุขภาพพื้นฐานเพื่อจะได้ขับเคลื่อนงานได้ 2)รู้และเข้าใจ การขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพจำเป็นต้องมีความรู้และการเข้าใจในมิติสุขภาพ 3)ทักษะการสื่อสารเป็นเรื่องจำเป็นที่ทีมงานจะต้องมีทักษะเพื่อจะทำให้คนในชุมชนได้รับรู้เรื่องราวที่เท่ากันและสามารถซักถามแลกเปลี่ยนกันได้ 4)การตัดสินใจซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของคณะทำงานที่จะต้องสามารถคิดวิเคราะห์และตัดสินใจได้ดี 5)การจัดการตัวเองคณะทำงานต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ 6)การรู้เท่าทันสื่อในยุคที่สังคมก้าวเข้าสู่ยุค IT แต่ในพื้นที่บ้านห้วยไทรยังมีปัญหาการเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ตจึงทำให้คนในชุมชนไม่เข้าถึงข้อมูลที่ทันสถานการณ์ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทางคณะทำงานต้องรู้และสื่อสารคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นการที่จะทำให้คณะทำงานมีความเข้าใจและสามารถขับเคลื่อนการทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องสร้างความเข้มแข็งของคณะทำงานด้วยการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหมู่บ้านจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านทุกมิติโดยต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องและมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะทำงานกับคนในชุมชนสุดท้ายคือการประเมินติดตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะ 1 ปี คือกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับพฤติกรรมได้ กลุ่มป่วยสามารถควบคุมได้ในเกณฑ์ปกติและคณะทำงานต้องเป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  การก่อตัวของกลไกจึงต้องสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นทางและต้องใช้ข้อมูลมาเป็นตัวเชื่อมในการพูดคุยเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงของข้อมูลสำคัญคือต้องเชื่อถือได้ คณะทำงานต้องรู้ข้อมูลที่เท่ากัน พี่เลี้ยงจะต้องเป็นคนคอยหนุนเสริมเชียร์ เชื่อมการทำงานและสร้างเงื่อนไขในการทำงานให้กับชุมชนโดยไม่ครอบงำและสั่งการ 3.2 การจัดการกลไก โครงสร้างและองค์ประกอบของกลไกการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทรจะใช้คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มอาชีพ ชมรม อสม.ชมรมผู้สูงอายุและกองทุนฯต่างๆในหมู่บ้านรวมถึงภาคีภายนอกที่มาจากหน่วยงานต่างๆมาร่วม
บ้านห้วยไทรจะใช้ข้อมูลแผนสุขภาพชุมชนที่คณะกรรมการเข้าใจร่วมกันมาเป็นตัวเคลื่อนงานโดยใช้การเก็บข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินงานและหลังดำเนินงานเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันของเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานโรคติดต่อไม่เรื้อรังของ: NODE  FLAGSHIP  CHUMPHON ซึ่งได้ร่วมกันออกแบบเก็บข้อมูลโดยเทียบเคียงจากข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข การเก็บข้อมูลจะมีการเก็บข้อมูลร่วมกันระหว่างคณะทำงานและอาสาสมัครหมู่บ้านผ่านระบบGOOGLE FORM และทางทีมจัดการจะรวบรวมข้อมูลสรุปและส่งให้ทางชุมชนไปวิเคราะห์เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่และนำเข้าเวทีประเมินผลลัพธ์ของพื้นที่และของหน่วยจัดการ   แผนปฎิบัติการของบ้านห้วยไทรจะมีการขับเคลื่อนแบบบูรณาการเนื่องจากในหมู่บ้านจะมีกิจกรรมสำคัญที่เป็นมติของหมู่บ้านซึ่งบรรจุในแผนพัฒนาหมู่บ้านตั้งแต่วันสำคัญที่ทุกคนต้องร่วมกันและที่สำคัญคือการประชุมประจำเดือนที่ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วม การขับเคลื่อนด้านสุขภาพจะเน้นการนำบันไดผลลัพธ์มาขับเคลื่อนโดยเริ่มจากการชี้แจงการขับเคลื่อนงานให้คนในชุมชนรับทราบ การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านการสื่อสารรวมถึงการทบทวนข้อมูลสุขภาพชุมชนและนำแกนนำ/ผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมเรียนรู้เพื่อออกแบบกิจกรรมจัดทำกติการ่วมกัน รณรงค์ส่งเสริมด้านการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยกับสุขภาพ จัดทำโครงการออกกำลังกายและสุขภาพฟันเข้าเสนอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งได้มีการนำศิลปะวัฒนธรรมทางอีสานมาช่วยในการออกกำลังกายโดยการใช้ผ้าขาวม้าอีกทั้งทุกวันพระยังมีการส่งเสริมการเข้าวัดโดยกำหนดให้ทุกคนทำปิ่นโตสุขภาพเพื่อพระและตัวเอง กิจกรรมสำคัญที่ทางคณะทำงานต้องทำพร้อมเรียนรู้คือการเก็บข้อมูล การติดตามเพื่อนำเข้าสู่เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและรวบรวมผลงานโดยมีหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันมาตลอด คือ อบต.เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน ประมงอำเภอและ รพ.สต เข้าร่วมเวทีและสนับสนุนทรัพยากรตามงานที่รับผิดชอบ เช่น ประมงสนับสนุนการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงปลา พัฒนาชุมชนสนับสนุนด้านสภาพแวดล้อมการจัดการขยะ เกษตรและรพ.สต สนับสนุนด้านองค์ความรู้ การขับเคลื่อนงานตามแผนจะมีการแจ้งการทำงานในที่ประชุมเพื่อขอความเห็นก่อนจึงจะนัดวันและจะมีการสื่อสารผ่านการประชุมหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากพื้นที่บ้านห้วยไทรสัญญาณการสื่อสารมีปัญหา 4.ผลลัพธ์การดำเนินงาน         -ด้านกลไก มีกลไกกรรมการที่มาจากแกนนำหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรต่างๆรวมถึงการนำหน่วยงานเข้ามาร่วมขับเคลื่อนตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจึงสามารถร่วมแลกเปลี่ยนวิเคราะห์และติดตามงานรวมถึงการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน         -ด้านสภาพแวดล้อม มีพื้นที่อาหารปลอดภัยในครัวเรือนทุกหลังตั้งแต่  1 ชนิดและมากกว่า 10 ชนิดขึ้นไป มีการปฎิบัติธรรมทุกวันพระ..โดยใช้สโลแกน ปิ่นโตสุขภาพคนห้วยไทร       -ด้านพฤติกรรมสุขภาพ จากข้อมูลสุขภาพบ้านห้วยไทร ปี 2564 จำนวนผู้ป่วยความดัน 376 คน เบาหวาน 291 คน ปี 2565 จำนวนผู้ป่วยความดัน 392 คน เบาหวาน 305 คน  ซึ่งในปี 2565 มีการปรับเปลี่ยน เบาหวานได้จำนวน 31 คน ความดัน 168 คน แต่ในการขับเคลื่อนโครงการตั้งจำนวนไว้ที่ 130 คนจึงเห็นผลสำเร็จของโครงการแต่ยังไม่เป็นผลสำเร็จของชุมชน
  ปัจจัยความสำเร็จ  คือ การนำข้อมูลสุขภาพมาทบทวนรวมกันเพื่อให้ทุกคนเกิดความตื่นตัวและต้องมีการคืนข้อมูลอย่างต่อเนื่องในเวทีประชุมประจำเดือนเพื่อสร้างความตื่นรู้ในการดูแลสุขภาพโดยต้องสร้างความมั่นใจว่าการจะดูแลสุขภาพของตัวเองต้องเริ่มจากตัวเอง คนในครอบครัวและชุมชน ปัจจัยความไม่สำเร็จ   -คนในชุมชนยังไม่เข้าสู่กระบวนการคัดกรอง 100 %   -คณะทำงานยังไม่มีความเข้าใจในการดูแลติดตามสุขภาพและการดูแลในเรื่องของร่างกาย จิตใจของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย   -การบริโภคของคนในชุมชนยังเน้นการบริโภครสจัด เค็ม เนื่องจากชุมชนเป็นคนที่มาจากทางภาคอีสานซึ่งมีการบริโภคอาหารเหล่านี้มาตลอดจึงยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

 

64 0

21. ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 6

วันที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทรเป็นโมเดลการจัดการโรคเรื้อรังระดับหมู่บ้านที่ใช้การรวมตัวของแกนนำหมู่บ้านและภาคีต่างๆที่มองเห็นการเกิดโรคเรื้อรังในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้นซึ่งปัญหาโดยทั่วไปจะมาจากสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลจากตลาดและมีการใช้สารเคมีในสวนผลไม้รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค หวาน มัน เค็ม  สูบบุหรี่และดื่มสุรา ด้านการเข้าถึงการรับบริการจะเห็นว่าคนในชุมชนจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพไม่เคยได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญคณะทำงานบ้านห้วยไทรจึงได้ออกแบบการขับเคลื่อนงานโดยนำข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช่องไม้แก้วเป็นข้อมูลตั้งต้นในการแก้ปัญหาและเชิญภาคีที่เกี่ยวข้องในทุกมิติเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่  อบต.ช่องไม้แก้ว  ประมงอำเภอ  พัฒนาชุมชน  รพ.สต และแกนนำในพื้นที่มาร่วมกันออกแบบเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน เนื่องจากข้อจำกัดทาง รพ.สต จะมีบุคคลากรจำกัดจึงไม่สามารถจะติดตามผู้ป่วยทุกรายได้และผู้ป่วยบางรายไม่เข้ารับบริการต่อเนื่อง บางรายไม่เคยรับบริการตรวจสุขภาพ(ไม่เจ็บหนักไม่พบหมอ) ส่วนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงแต่ยังไม่สามารถจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ไม่ครอบคลุมทำเป็นกิจกรรม เป็นโครงการซึ่งปัญหานี้เป็นรากเหง้าปัญหาของทางสาธารณสุข  ดังนั้นการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของคนห้วยไทร จะต้องเริ่มจากการใช้ชุดข้อมูลสุขภาพจาก รพ.สต และสร้างความรู้กับแกนนำและ อสม.ในด้านการจัดการสุขภาพคนในชุมชนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อบต.สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประมงสนับสนุนด้านการสร้างอาชีพ พัฒนาชุมชนสนับสนุนด้านการออมและการจัดสภาพแวดล้อมของคนในชุมชนโดยเฉพาะการจัดการระบบการบริหารจัดการของท้องที่ ท้องถิ่น ตั้งแต่การรณรงค์ ลดการสูบและดื่ม การออกกำลังกายและการปลูกผักสวนครัว สมุนไพรเพื่อบริโภคและสร้างบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ โดยมีเป้าหมายร่วม คือ “กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับพฤติกรรมได้  กลุ่มป่วยสามารถควบคุมได้ในเกณฑ์ปกติ” การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ในพื้นที่บ้านห้วยไทรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือสามารถลดอัตราป่วยโรคความดัน เบาหวานของคนในพื้นที่ให้เกิดการตื่นรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ คือ  “กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับพฤติกรรมได้  กลุ่มป่วยสามารถควบคุมได้ในเกณฑ์ปกติ”และเกิดบุคคลต้นแบบที่นำการเปลี่ยนแปลงจำนวน 10 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผู้นำหมู่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน)สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการบริโภคและการออกกำลังกายจนทำให้มีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งทำให้คนในชุมชนได้กลับมาดูแลสุขภาพตัวเองเพิ่มขึ้นทั้งกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ

 

20 0

22. ประสานจัดทำข้อมูลรายงานและการเงิน

วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวบรวมเอกสารรายงานการเงินเพื่อสรุปและบันทึกลงระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดข้อมูลการขับเคลื่อนงานที่เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้

 

1,000 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (2) กิจกรรมที่เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ (3) ติดตามประเมินผลลัพธ์และนำเสนอผลงาน (4) ประชุมคณะกรรมการ/ทบทวน/แผนชุมชน (5) กิจกรรมที่เกิดการปรับพฤติกรรมสุขภาพ (6) ประชุมชี้แจ้งและจัดตั้งคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (7) จัดทำป้ายไวนิลรรรงคืไม่ดื่ม/ไม่สูบ (8) ประชุมเชิงปฎิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย (9) ประชุมคณะทำงานติดตาม ครั้งที่ 2 (10) ทบทวนสถานการณ์ สุขภาพ (11) อบรมพัฒนาศักยภาพการบันทึกข้อมูลโครงการระบบออนไลน์ (12) ประชุมคณะกรรมการกองทุน สปสช. (13) นักสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะ (14) อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง  คัดกรอง เบาหวาน ความดัน (15) ตรวจสุขภาพ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม NCDและออกแบบกิจกรรม 3 อ 2 ส (16) สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร (17) รายงานผลดำเนินงานโครงการ (18) ประชุมคณะทำงานติดตาม ครั้งที่ 3 (19) ส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้านศิลปะวัฒนธรรม (20) ประสานจัดทำข้อมูลรายงานและการเงิน (21) ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 4 (22) ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 5 (23) หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ (24) ประกวดการจัดทำเมนูสุขภาพร่วมกับเชฟชุมชน (25) เวทีนำเสนอผลงานและคืนข้อมูล (26) ประชุมคณะทำงานตืดตามการขับเคลื่อนงาน ครั้งที่ 6 (27) ประสานจัดทำข้อมูลรายงานและการเงิน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ (09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร

รหัสโครงการ 65-00240-0009 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

มีการสร้างความรู้และร่วมกันวิเคราะห์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลการลดลงและคงที่ของผู้ป่วย

ส่งเสริมการบริโภคดีชีวีมีสุข

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

การสร้างความร่วมมือ การรับรู้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สมุดลงเวลาการประชุม

การคัดกรองประชาชนทุกคนมรชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการติดตามของคณะทำงานอย่างต่อเนื่อง

บันทึกการทำงาน

จัดกลุ่มการติดตามที่ครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

มีการส่งเสริมการทำเมนูสุขภาพที่เหมาะสมกับคนในชุมชน

การประกวดเมนุอาหาร

จัดทำเมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มผุ้ป่วย กลุ่มเสี่ยง

ข้อมูลจาก รพ.สต

กระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

ครอบครัวหันมาดูแลด้านการบริโภคของผู้ป่วยมากขึ้นลดหวาน มัน เค็ม

ข้อมูลสุขภาพผุ้ป่วย

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของกลุ่มชุมชนในการทำงานอาสาในหมู่บ้านและมีการรวมกลุ่มออกกำลังกาย

รูปถ่ายการทำกิจกรรม

ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอาทิตย์ละ ๑-๒ วัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

สร้างให้ชุมชนให้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

การส่งเสริมกิจกรรมชุมชนอย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

ม่การส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านมาดูแลตนเองเช่นการทำน้ำตะไคร้ดื่ม

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

ครัวเรือนหันมาดุแลตัวเองและผู้ป่วยในบ้านโดยเน้นด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

มีการรวมตัวกันเพื่อตัดหญ้าบริเวณชุมชนและการทำถนนเพื่อให้สะดวกแก่การสัญจร

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

มีคณะกรรมการในการจัดการดูแลด้านชีวิตและความปลอดภัยของชุมชน

ป้ายการแบ่งบทบาทของทีม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

มีการเชื่อมร้อยหน่วยงานในการเข้ามาส่งเสริมด้านอาชีพในชุมชน เช่น กศน. ประมงอำเภอ

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

มี รพ.สต ที่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการบริการเชิงรุกในระดับพื้นที่

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

มีกฎกติกาชุมชนในทุกด้านที่ส่งเสริมชุมชน

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

มีการเชื่อมโยงงานกับหน่วยงานต่างๆเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

มีการจัดอบรมเพื่อให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ปัญหาสู่การแก้ไข

 

พัฒนาให้เกิดการแก้ไขเชิงระบบ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

กลุ่มสามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาชุมชน

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

มีการสร้างและพัฒนาจิตอาสาในการร่วมงานของชุมชนหมู่บ้าน

การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

(09)ส่งเสริมการจัดการสุขภาพบ้านห้วยไทร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0009

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางจำรัส วงษ์พล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด