directions_run

(14)ยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลปากทรง

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดเวทีนำเสนอผลงานและข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง30 เมษายน 2566
30
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1.เพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมากับสมาชิกเครือข่าย ภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. การขับเคลื่อนงานต่อของเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง ผู้เข้าร่วม จำนวน 70 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน สมาชิกเครือข่าย องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง สาธารณสุขอำเภอพะโต๊ะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากทรง สำนักงานเกษตรอำเภอพะโต๊ะ รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขี้นจริง)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม ตอบโจทย์ความยั่งยืน - ผลลัพธ์ของกลไก 1.มีรูปแบบการบริหารงานเป็นคณะทำงานแต่ละพื้นที่ 9 หมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับประสานต่อสมาชิกเครือข่ายของแต่ละพื้นที่ สู่การขยายผล ให้เกิดความยั่งยืน
2.มีกติกาชุมชนร่วมกันในการบริหารจัดการ รวมถึงความร่วมมือการผลิตระดับครัวเรือนและสินค้าที่มีมาตรฐาน 3.มีการจัดการตลาด - ผลลัพธ์สภาพแวดล้อม มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ จัดทำป่าชุมชน รณรงค์ให้จัดทำประปาภูเขาเพื่อนำน้ำมาอุบโภคบริโภค ใช้ในการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรปลอดสารเคมี การผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อบริโภคและจำหน่าย การนำการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาเป็นเครื่องมือ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
- ผลลัพธ์พฤติกรรม 1.มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้ออาหารพืชผักตามท้องตลาด มาเป็นการผลิตด้วยตัวเองเพื่อการบริโภค หากเหลือกิน นำมารวมกันเพื่อจำหน่ายโดยการขายตรงผ่านตลาดหน้าฟาร์และตลาดออนไลน์ ทำให้พบกับความสุข โดยเฉพาะสุขภาพที่แข็งแรง และมีรายได้เสริม
2.มีการรวมกลุ่มเพื่อระดมความคิด ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีหน่วยงานราชการเข้ามาร่วมขบวนการกลุ่ม เชื่อมประสานท้องถิ่น ท้องที่ เพื่อพัฒนาตำบล ปัจจัยความสำเร็จ 1.มีครัวเรือนพอเพียงแลเกษตรกรสนใจ 80 คน 2.มีคณะทำงานจากทุกหมู่บ้าน 3.มีกลุ่มท่องเที่ยวกระจายทั่วอำเภอพะโต๊ะ 4.มีช่องทางจำหน่ายสินค้าทั้งที่เป็นแบบส่วนตัวและแบบกลุ่ม ผู้ประกอบการชุมชนผลิตได้  ขายเป็น จำนวน 10 คน 1. นางสร้อย ชุมน้อย 2. นางสาวกัญญาดา ลาภมา 3. นางราตรี หนูนุ้ย 4. นายรุ่งโรจน์ ใหม่ซ้อน 5. นายนพดล มากสุข 6. นายนายฉลอง อุดหนุน
7. นายไพโรจน์ เกิดคง 8. นายไชยนันต์ วิชาราช 9. นายวิโรจน์ กุมารศิลป์ 10. นายสายัน บุญชัย มีสินค้าและบริการได้รับรองมาตรฐาน จำนวน 10 ชิ้น 1. กาแฟมัจฉาค็อฟฟี่    นายรุ่งโรจน์  ใหม่ซ้อน 2. การแปรรูปเครื่องแกง นางสร้อย  ชุมน้อย 3. น้ำมันนวดแผลกดทับ นายนพดล มากสุข
4. ที่พัก/อาหารปลอดสารเคมี นางสาวกัญญาดา ลาภมา
5. อาหารปลอดสารเคมี นางราตรี หนูนุ้ย 6. ข้าวไร่ นายสายัน  บุญชัย 7. ที่พัก/อาหาร นายวิโรจน์ กุมารศิลป์ 8. ผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้า นายฉลอง อุดหนุน 9. ที่พัก/ผลผลิตการเกษตร นายไพโรจน์ เกิดคง 10. ที่พัก/ผลผลิตทางการเกษตร นายไชยนันต์ วิชาราช

ตลาดหน้าฟาร์ม  5 แห่ง 1. เหวโหลมโฮมสเตย์      นายรุ่งโรจน์ ใหม่ซ้อน 2. สวนบุศราลานกางเต็นท์วิถีเกษตร นายไชยนันต์ วิชาราช 3. ลานกางเต็นท์เดอะเบส&แคมปิ้ง  นางสาวจิตรา เจียมวิจิตร 4. โคก หนอง นา    นางสร้อย ชุมน้อย 5. น้ำมันใส่แผลกดทับหมอตุ้ม นายนพดล มากสุข

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 629 เมษายน 2566
29
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อติดตามงานและสรุปงานกิจกรรมในโครงการที่ผ่านระยะเวลา  1  ปี 2. เพื่อการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายคนพอเพียงปากทรงต่อไป ผู้เข้าร่วม  30  คน ประกอบด้วย คณะทำงานเ สมาชิกเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากทรง รูปแบบการจัดกิจกรรม  (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การติดตามงานที่ผ่านมาของแต่ละหมู่ 2.สรุปการดำเนินกิจกรรมโครงการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลปากทรง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจาการจัดกิจกรรม 1.จากระยะเวลา  1 ปีที่ผ่านมาในการดำเนินกิจกรรมนั้นทางเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง  มีการร่วมกลุ่มซึ่งเป็นกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงปากทรง  ได้เพิ่มสมาชิกจากเดิมแต่ละหมู่ที่มีความสนใจในด้านการทำอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและที่เหลือก็สามารถนำมาขาย  เป็นรายได้เพิ่มให้กับครัวเรือน มีข้อมูลในด้านการสำรวจแห่งผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทำตลาดสินค้าภายในเครือข่าย  การทำสินค้าแปรรูปให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและขยับขยายเครือข่ายคนพอเพียงปากทรงไปสู่เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอพะโต๊ะเป็นการร่วมกลุ่มของสถานประกอบการในด้านการทำท่องเที่ยวภายในอำเภอพะโต๊ะ ซึ่งสามารถนำสินค้าที่มีในชุมชนมาขายให้ผู้ประกอบการในด้านอาหารพื้นถิ่นของคนพะโต๊ะเป็นเอกลักษณะที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าต้องได้รับประทาน  เช่น  ผักเหลียง  ผักกูด  เป๊นต้น 2.  การทำเส้นทางท่องเที่ยว ภายในอำเภอพะโต๊ะเชื่่อมต่อถึงตำบลปากทรงมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง  ที่พัก  โฮมสเตย์ภายในตำบลปากทรงก็มีให้บริการนักท่องเที่ยวทำให้มีการกระจายสินค้าและรายได้ภายในชุมชน  จากการที่ดำเนินงานนั้นได้มองเห็นถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
3.  การดำเนินงานต่อไปของเครือข่ายคนพอเพียงปากทรงนั้นก็ยังเป็นการทำงานร่วมกับหลายภาคีร่วมกัน  ทั้งการขับเคลื่อนงานการทำแหล่งอาหารปลอดภัยของแต่ละหมู่บ้านภายในดำบล  การที่สมาชิกเห็นถึงความสำคัญในด้านสุขภาพควบคู่ไปกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ต้องการขายอย่างเดียวมามองเห็นถึงตัวเองมากขึ้น  การมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าของตนเอง  กับตลาดออนไลน์  ตลาดหน้าฟาร์ม  การปฎิทินการผลิตของแต่ละครัวเรือน

ติดตามประเมินผลลัพธ์ (สินค้าและอาหารปลอดภัย การท่องเที่ยวโดยชุมชน การเพิ่มพื้นที่การผลิต)23 เมษายน 2566
23
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1.  เพื่อการสำรวจประเมินผลการผลิตและรายได้รายครัวเรือน 2.  เพื่อสรุปวิเคราะห์ข้อมูลโดยเวทีชุมชนประเมินผลผลิตและรายได้ครัวเรือน
3. เพื่อนำผลที่ได้วางแผนพัฒนาการดำเนินงานต่อไป ผู้เข้าร่วม  จำนวน  50  คน ประกอบด้วย คณะทำงานเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอพะโต๊ะ สมาชิกเครือข่าย รูปแบบการจัดกิจกรรม(เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1.  การประเมินผลผลิตและรายได้ต่อครัวเรือนจากข้อมูลในพื้นที่
2.  การพูดคุยแสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็นที่ได้รับ 3.  การแลกเปลี่ยนซักถาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. จากการติดตามประเมินผลลัพธ์ ในด้านสินค้าและอาหารปลอดภัย เป็นการเชิ่อมตลาดสินค้า อาหารและการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือคนปากทรงขยับขยาย ไปเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ จากการประเมินผลผลิตและรายได้ต่อครัวเรือนนั้น มีรายได้เป็น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เป็นรายได้เพิ่มจากรายได้หลักให้กับครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง ในการขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเข้ามาในพื้นที่หรือตามสถานที่พักแต่ละแห่งที่ต้องการอาหารปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวนั้น ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน  เป็นการเชื่อมโยงตลาดสินค้า ได้แก่ การทำเส้นทางท่องเที่ยว ปฎิทินการท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ยกระดับการจัดทำปฎิทิน ทำเป็นทริป 1 วัน 2 วัน 3 วัน
- การกระจ่ายรายได้ชุมชนจากอาหารพื้นถิ่นให้บริการกับนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้าน เช่น ผักเหลียง ผักกูด ไก่บ้าน
- การจัดหารายได้เป็นกองทุนในการขับเคลื่อนในชุมชน การเพิ่มพื้นที่การผลิต - การขยายฐานการผลิตไปพื้นที่ต่าง ๆ  ให้กับสมาชิก

อบรมปฏิบัติการจัดการตลาด21 เมษายน 2566
21
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อการจัดอบรมการจัดการตลาดทั้ง 2 รูปแบบ (ตลาดหน้าฟาร์มและตลาดออนไลน์) 2. เพื่อการออกแบบสินค้า การคิดคอนเท้น โดยมีชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนร่วมกัน ผู้เข้าร่วม จำนวน 70 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากทรง (อสม) กรรมการเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง สมาชิกเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (รพสต.ปากทรง) รูปแบบการจัดกิจกรรม(เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขี้นจริง) 1. การจัดเวทีอบรม โดยวิทยากรจาก ดร.จุฑามาศ เพ็งโคนา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ละแม จ.ชุมพร ให้ความรู้ในด้านการจัดการตลาดออนไลน์
2. ให้ผู้เข้าร่วมอบรมที่ส่วนรวมในการซักถาม เล่าประสบการณ์การในซื้อสินค้า ออนไลน์  และการขายสินค้าหน้าฟาร์ม
3. นำประเด็นที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลและสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. การได้ความรู้ในด้านการจัดการตลาดออนไลน์ คุณคือใครในตลาดสินค้าออนไลน์ การสะท้อนตัวตน และความแตกต่างที่ไม่มีทั่วไปและเหมือนใคร ต้องนำเสนอถึงความแตกต่างจากที่มีมาในโลกออนไลน์ความเป็นตัวตน สินค้าที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน ต้องมีเรื่องราว สตอรี่นั้นให้มีความสนใจจากผู้บริโภค เช่นเป็นสินค้าชุมชน ปลอดสารเคมี มีวิธีการที่นำเสนอให้มีความน่าติดตาม
2. ความสำคัญในด้านบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าที่ต้องการเป็นสินค้าเกษตร สินค้าเกิดความเสียหายง่ายต้องคำนึงถึงวิธืการในการบรรจุและปกป้องสินค้า สื่อสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ สร้างแรงจูงใจในการซื้อ  สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า สร้างการจดจำ ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ คุณภาพสินค้า การบริการ การเรียนรู้ที่จะปรับตัว 3.จากการได้อบรมในด้านการตลาดทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นในการขายสินค้า รูปแบบต่าง ๆโดยชุมชนหรือบุคคลนำมาประยุกต์และร่วมกันทำเป็นเพจเพื่อขายสินค้าที่มีอยู่ในชุมชนให้ได้ราคาที่เหมาะสมเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคว่าต้องการสินค้าแบบไหน ชุมชนผลิตได้อย่างไร 4. มีความเข้าใจในการทำตลาดหน้าฟาร์ม โดยใช้ที่พัก/โฮมสเตย์ เป็นจุดเชื่อมด้านอาหารชุมชน สินค้าชุมชน ผลไม้ตามฤดูกาล รวมถึงต้นกล้าผลไม้ในชุมชน

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 519 เมษายน 2566
19
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อติดตามงานครั้งที่ผ่านมา 2.การขับเคลื่อนงานต่อ ผู้เข้าร่วม  จำนวน  30  คน ประกอบด้วย 1.  คณะทำงาน 2. สมาชิกเครือข่าย 3. อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม) 4. องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง รูปแบบการจัดกิจกรรม(เล่าลักษณะกิจกรรมที่จจัดขึ้นจริง) 1.  การประชุมติดตามงานครั้งที่ผ่านมา 2.  การแลกเปลี่ยนซักถามและแสดงความคิดเห็นในประเด็นการทำงาน การขับเคลื่อนงานต่อ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1.  หลังจากประชุมครั้งที่ผ่านมาวันที่  25  กุมภาพันธ์ นั้น  มีจัดกิจกรรมเวทีความร่วมมือพัฒนาการตลาดสินค้าและอาหารปลอดภัย  ร่วมกับภาคีในพื้นที่่เป้าหมายในการจัดกิจกรรมนี้คือการรับสมาชิกใหม่ที่สนใจเข้ากิจกรรมของโครงการที่เพิ่มเติมจากเดิมที่มีการรับสมาชิกอยู่แล้ว  ปลูกพีชที่เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยของตนเองและสามารถขายในชุมชนและนอกชุมชนได้  การติดตามงานเครือข่ายคนพอเพียงปากทรงนัันสมาชิกของเครือข่ายทำเกษตรเป็นส่วนใหญ่ในขณะนี้มีผลผลิตทางการเกษตรที่ต้องดูแล  เช่น  ทุเรียน  มังคุด ที่กำลังออกดอก  และติดผล  มีการใช้น้ำในสวนเยอะ  มีการทำบ่อน้ำ มีปัญหาในด้านทรัพยากรน้ำ  มีความแห้งแล้งในบางพื้นที่  ในส่วนของตำบลปากทรงยังไม่เกิดปัญหาในด้านความแห้งแล้งรุนแรง แต่ถ้าฝนยังไม่ตกตามฤดูกาลก็จะมีปัญหาด้านทรัพยากรน้ำได้
2. มีการจัดกิจกรรมร่วมกับทาง รพสต. ปากทรง  เครือข่ายคนพอเพียงปากทรง  ในวันที่ 21  เมษายน เป็นการอบรมปฏิบัติการจัดการตลาดสินค้าออนไลน์และสินค้าหน้าฟาร์ม  มีวิทยากรทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ละแม  มาให้ความรู้ในด้านการขายสินค้าออนไลน์โดยให้ทางเครือข่ายแต่ละหมู่เข้าร่วมอบรม  เพื่อนำความรู้ที่ได้นำมาถ่ายทอดต่อสมาชิกและต่อยอดได้  ส่วนในวันที่23  เมษายนนี้ มีกิจกรรมติดตามประเมินผลลัพธ์ - สินค้าและอาหารปลอดภัย - การท่องเที่ยวโดยชุมชน  การเพิ่มพื้นที่การผลิตเป็นการทำกิจกรรมร่วมกับทางเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะโดยทางคณะทำงานเข้าร่วมเพื่อสรุปการทำงาน 3. กำหนดวันประชุมครั้งต่อไปวันที่  29  เมษายน  เพื่อสรุปกิจกรรมทั้งหมดที่ทำกิจกรรม และการขับเคลื่อนงานต่อของเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง

หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ18 เมษายน 2566
18
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จ่ายเงินยืมเปิดบัญชีหัวหน้าโครงการ จำนวน 200 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการคืนเงินให้ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้สำรองเงินเปิดบัญชี

เวทีความร่วมมือพัฒนาการตลาดสินค้าและอาหารปลอดภัยร่วมกับภาคีในพื้นที่9 เมษายน 2566
9
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อติดตามงานที่ผ่านมาของการขยายสมาชิกแต่ละพื้นที่ 2.สำรวจผัก สินค้า ภายในชุมชนต่างๆ ถึงความต้องการของตลาดในช่วงนี้ 3. รับสมาชิกใหม่ ผู้เข้าร่วม 50 คน 1. สมาชิกเครือข่าย  40 คน 2. ภาคีเครือข่าย    10  คน รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขี้นจริง) 1. ประชุมการติดตามสถานการณ์ที่ผ่านมาในการทำการผลิตสินค้าผักปลอดสารในพื้นที่ 2. การขยายสมาชิกจากเดิมไปสู่สมาชิกใหม่ที่ต้องการผลิตสินค้าปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. การติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ถึงการผลิตสินค้าภายในชุมชน ม.3 บ้านบกไฟในการปลูกผักปลอดสารซึ่งมีการทำตามครัวเรือนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเป็นการลดต้นทุนรายจ่ายในครอบครัวต้องไม่ซื้อผักในตลาดที่ไม่ปลอดภัยมารับประทานทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้  คนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพมากขึ้น มีการปลูกผักกินเอง เหลือก็นำมาขายเป็นรายได้อีกทางอีกจากรายได้หลักในแต่ละปี
2.การขยายสมาชิกเดิมไปสู่สมาชิกใหม่ที่มองเห็นถึงความจำเป็นในการรักษาสุขภาพจาการบริโภคอาหารปลอดภัยสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ สมาชิกใหม่ที่ต้องการเมล็ดพันธ์ก่อสามารถติดต่อได้ เป็นขยายฐานการผลิตสินค้าเพื่อสามารถนำมาขายตามร้านในชุมชนหรือตลาดนัดเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ จากสถานการณ์ในปัจจุบันการบริโภคสินค้าปลอดภัยเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเนื่องจากกระแสการรักสุขภาพกำลังมาแรงในหมู่คนรักสุขภาพสินค้าชุมชนที่เป็นผลิตที่สามารถเข้าถึง รู้ถึงฐานการผลิต ที่ไปที่มาของสินค้า ผลิตภัณท์ก็สามารถเป็นที่ต้องการ ผลิตภัณท์แปรรูปแต่ละชุมชนก็เป็นรายได้หลักในการขายสินค้า

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 425 กุมภาพันธ์ 2566
25
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อติดตามงานที่ผ่านมาของเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง 2. เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมต่อ ผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย 1. คณะทำงานแต่ละหมู่บ้าน
2. สมาชิกเครือข่าย 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากทรง 4. องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การประชุมติดตามงานที่ผ่านมาถึงความก้าวหน้าของแต่ละหมู่บ้าน 2. การระดมความคิดในการดำเนินกิจกรรมต่อให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน 3. การจัดทำแผนที่ทางการท่องเที่ยวทั้งอำเภอพะโต๊ะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. ติดตามการทำงานแต่ละพื้นที่่ถึงความก้าวหน้าและการขับเคลื่อนงานเนื่องจากทางเครือข่ายไม่ได้ประชุมติดตามงานเนื่องจากเกิดปัญหาในด้านการขับเคลื่อนงาน มีการหยุดประชุมบ้าง ช่วงเวลาที่ผ่านมามีการรายงานกิจกรรมในงวดที่ 1 และเบิกงบประมาณในงวดที่ 2 ซึ่งต้องดำเนินกิจกรรมในเรียบร้อยภายในเดือนเมษายน นี้ มีหลายกิจกรรมที่ยังไม่ได้จัด ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้ต้องกำหนดการจัดกิจกรรมที่เหลือให้เรียบร้อยเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้มีการรายงานพื้นที่ของการลงสำรวจความก้าวหน้าในการเก็บข้อมูลทั้ง 9 หมู่บ้านถึงศูนย์การเรียนรู้แต่ละหมู่ ผลิตภัณฑ์ สินค้าทางการเกษตร ตลาดในชุมชน โดย เริ่มจาก หมู่ที่ 1  มีศูนย์การเรียนรู้บ้านป้าสร้อย มีการแปรรูปอาหาร มีการเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก มีตลาดหน้าฟาร์มที่นำสินค้ามาขายในชุมชน หมู่ที่ 2 มีศูนย์ธนาคารต้นไม้ มีการทำทุเรียนปลอดสารเคมี การปลูกพืชสมุนไพร  มีร้านค้าในชุมชนที่สามารถนำสินค้ามาขายได้ หมู่ที่ 3 มีศูนย์การเรียนรู้ด้านสมุนไพร การทำยาสมุนไพร การปลูกพืชสมุนไพร  การแปรรูปผลิตภัณท์ในชุมชน  มีร้านค้าในชุมชน หมู่ที่ 4  มูลนิธิพัฒนาเด็กและเยาวชน การส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนเช่นการเพาะเห็ด เลี้ยงไก่ การทำขนม การปลูกพืชสมุนไพร  มีร้านค้าในชุมชน หมู่ที่ 5 แปลงการทำข้าวไร่ การปลูกพืชปลอดสารเคมี การปลูกพืชสมุนไพร มีร้านค้าในชุมชน หมู่ที่ 6 แหล่งการเรียนรู้ด้านการปลูกสมุนไพร ธนาคารต้นไม้  การปลูกผักปลอดสารเคมี มีร้านค้าในชุมชน หมู่ที่ 7  แหล่งการเรียนรู้โรงเรียน ตชด.บ้านตะแบกงาม ด้านปลูกผัก ด้านการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชสมุนไพร มีร้านค้าในชุมชน หมู่ที่ 8 แหล่งการเรียนรู้ ด้านการปลูกพืชปลอดสารเคมี มีร้านค้าในชุมชน หมู่ที่ 9 มีธนาคารต้นไม้  ด้านการปลูกพืชปลอดสารเคมีแบบผสมผสาน มีการทำกาแฟโบราณ  มีร้านค้าในชุมชน 2.มีการจัดการอบรมร่วมกับทาง รพสต. ปากทรง ด้านการอบรมปฎิบัติการจัดทำแผนการผลิตระดับครัวเรือน/ระดับองค์กร ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีการอบรมการเพาะต้นอ่อนทานตะวันและผักบุ้ง มีการประชุมร่วมกับเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนตำบลพะโต๊ะในการทำการตลาดสินค้าและอาหารโดยการท่องเที่ยวชุมชน 3. การขับเคลื่อนงานต่อกำหนดการจัดกิจกรรมในเดือน มีนาคม เมษายน  และการประชุมคณะทำงานครั้งต่อไป ซึ่งจะมีแจ้งกันในไลน์เพื่อนัดวันและสรุปการทำงานที่ผ่านมา

การดำเนินกิจกรรมสนับสนุนโครงการ20 มกราคม 2566
20
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อการดำเนินกิจกรรมให้เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่กำหนด 2. เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานตามผลลัพธ์ให้กำหนดไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรื่อสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. การติดตามการดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้ ในระยะเวลาที่กำหนด อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ประสานงานกับภาคีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายความคิดเห็นการด้านตลาดสินค้าและการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ สำนักงานเทศบาลตำบลพะโต๊ะ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากทรง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพะโต๊ะ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม)ตำบลปากทรง ภาคีเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จของโครงการ 3. ประสานงานสมาคมประชาสังคมชุมพรด้านเอกสาร ด้านการประชุม 4. เดินทางพบปะคณะกรรมการโครงการตำบลปากทรง เพื่อเก็บข้อมูล การให้กำลังใจ ในฐานะผู้นำในการผลิตอาหารปลอดภัยโดยการใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านให้ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชผักไว้กินเองและจำหน่าย และยังคงรักษามาตรฐานเอาไว้เป็นแบบอย่างตลอดไป 5. เยี่ยมสมาชิกใหม่ตามเป้าหมายหลักที่ตั้งไว้ สามารถขยายฐานการผลิตอาหารปลอดภัย จำหน่ายทั้งตลาดหน้าฟาร์มและตลาดออนไลน์

อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการผลิตระดับครัวเรือน/ระดับองค์กร(แผนธุรกิจ)20 มกราคม 2566
20
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการผลิต แผนการตลาด การประชาสัมพันธ์ 2. เพื่อการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงาน 3.การวางเป้าหมายเพื่อการผลิตและสามารถกำหนดระยะเวลาการผลิตได้และต่อยอดงบประมาณ ผู้เข้าร่วม 80 คน 1. อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตำบลปากทรง 2. คณะกรรมการเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง 3.ภาคีหน่วยงานต่างๆ (รพ.สต.ปากทรง) รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การประชุมระดมความคิดในการวางแผนการผลิต แผนการตลาด การประชาสัมพันธ์ 2.การสาธิตการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน กับการเพาะต้นอ่อนผักบุ่้ง เป็นการทำผักปลอดสารไว้บริโภคและจำหน่ายได้ เป็นรายได้ต่อครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรื่อสิ่งที่ได้รับจาการจัดกิจกรรม 1.การให้ความรู้ในการทำแผนระดับครัวเรือน เริ่มการวางแผนการใช้จ่ายระดับครัวเรือน โดยการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงรายรับ - รายจ่าย ในแต่ละเดือน และนำมาวิเคราะห์ถึงการลดค่าใช้จ่าย การเพิ่มรายได้ การวางแผนระดับรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแผนการผลิตในครัวเรือน และระดับชุมชน
2. การสาธิตการเพาะต้นอ่อนทานตะวันและต้นอ่อนผักบุ้ง เป็นการผลิตอาหารปลอดภัย เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนได้เป็นผักปลอดสารนำมาทำอาหารได้หลากหลาย และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดภายในชุมชนเป็นฐานการผลิตของแต่ละชุมชน เนื่่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการบริโภคมากและผลิตได้น้อย ตามแหล่งที่พัก รีสอร์ท โฮมเสตย์ นำไปทำเป็นอาหารให้นักท่องเที่ยว
วิทยากรที่ให้ความรู้มาจากโรงเรือนเขาตะเภาทอง นายอุดร รักษารัตน์  เป็นคุณครูที่ีเป็บแบบอย่าง คือทำกิจกรรมในครัวเรือนของตัวเอง มีการทำโครงการเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก เป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กๆในโรงเรียน เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู การปลูกเห็ดนางฟ้า
มีกองทุนของเด็ก นำสิ่งที่ผลิตถ้าเหลือนำมาขายให้กับบุคคลภายนอกได้ และได้นำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดต่อครัวเรือน  โดยการสาธิตการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน วิธีการทำ
    1. การเตรียมอุปกรณ์  กระบะพลาสติก  ดินคอสมอส เมล็ดทานตะวัน เมล็ดผักบุ้ง บัวรดน้ำ ถุงดำ ก้อนอิฐ     2. แช่เมล็ดทานตะวัน ไว้ 1 คืน เตรียมดินใส่กระบะ  นำเมล็ดผักร่วนให้ทั่วกระบะที่วางไว้ จนหมด     3. นำมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้น นำถุงดำมาคลุมไว้เอาก้อนอิฐวางทับ รดน้ำทุกวัน ถึงต้นอ่อนเป็นต้นนำมาไว้ ภายใน 3-7 วันตามนำมาบริโภคได้ 3.สามารถวางเแผนการผลิตได้ในช่วง 1 สัปดาห์ สามารถผลิตได้เท่าไหร่ส่งให้ผู้บริโภคได้ ตั้งแต่ ระยะเวลา 1 เดือนผลิตได้ตามจำหน่ายที่ต้องการที่ผู้บริโภคได้หรือไม่ ต้องขยายไปพื้นที่ไหนได้อย่างไรเป็นการร่วมมือกันภายในชุมชน ตำบลได้ 4.การจำหน่ายสินค้ามีทั้งช่องทางออนไลน์ หน้าฟาร์ม สามารถนำขายตามร้านค้าในชุมชน หน่วยงานราชการมีการทำประชาสัมพันธ์ บุคคลรับผิดชอบที่ชัดเจนเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน หลังจากหมดหน้าฤดูผลไม้หลักของพื้นที่

ประสานเชื่อมโยงการจัดการตลาดสินค้า อาหารและการท่องเที่ยวโดยชุมชน18 ธันวาคม 2565
18
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อจัดเวทีประสานเชื่อมโยงการขับเคลื่่อนงานสู่การจัดการตลาดท่องเที่ยวชุมชน 2. เพื่อให้เกิดการดำเนินการแบบบูรณาการในการมีส่วนรวมภาครัฐและภาคประชาชนให้เกิดการทำงานเป็นระบบ ผู้เข้าร่วม จำนวน 50 คน ประกอบด้วย 1. ตัวแทนสมาชิกเครือข่ายคนพอเพียงปากทรง 2. ตัวแทนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนพะโต๊ะ 3. เทศบาลตำบลพะโต๊ะ 4. องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. การบอกเล่าสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ในด้านการท่องเที่ยวชุมชน 2. การระดมความคิดในด้านการตลาดสินค้าชุมชน อาหารเพื่อนำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักในที่แต่ละแหล่งเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรในชุมชน
3. การทำข้อตกลงในการส่งสินค้าให้กับแต่ละแห่งเพื่อเป็นการกระจายรายได้ของชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดการกิจกรรม 1. การติดตามสถานการณ์แต่ละพื้นที่ในด้านการท่องเที่ยวชุมชน และเป็นการขยายเครือข่ายจากตำบลปากทรง เป็นการเชื่อมต่อทั้งอำเภอพะโต๊ะ พื้นที่ตำบลปากทรง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีโฮมสเตย์ จุดกางเต็นท์ ยังมีแหล่งธรรมชาติที่สมบรูณ์  มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจในการเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่มากขี้น การบริการที่เป็นกันเอง พื้นที่ตำบลพะโต๊ะ ตั้งแต่ก่อนปีใหม่มีนักท่องเที่ยวมาพักในพื้นที่เพิ่มมากขี้น มีโฮมสเตย์ รีสอร์ท จุดการเต็นท์ มีคาเฟ่ จุดเช็คอิน การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรภายในพื้นที่ได้ เช่นกาแฟ ทุเรียน เป็นต้น มีกิจกรรมล่องแพให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติ พื้นที่ปังหวาน มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทั้งจุดกางเต็นท์ โฮมสเตย์  มีกิจกรรมล่องแพให้กับนักท่องเที่ยว พื้นที่พระรักษ์ มีนักท่องเที่ยวเพิ่มจากเดิม มีกิจกรรมล่องแพให้กับนักท่องเที่ยว มีโฮมสเตย์ จุดกางเต็นท์  การนำสินค้าในชุมชนมาขายให้กับนักท่องเที่ยว
โดยนักท่องเที่ยวมาจากหลากหลายพื้นที่
2. จากความหลากหลายของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ทำให้มองเห็นถึงการทำตลาดในด้านสินค้าชุมชนที่สามารถเชื่อมต่อกับนักท่องเที่ยวโดยตรง การกำหนดและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะพิจารณาจากเส้นทางคมนาคมสายหลักและสายรอง ศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว เที่ยว กิน แวะพัก ซื้อสินค้าและผลิตภัณท์ ระยะทาง การเดินทางที่สามารถเชื่อมโยงในการโครงข่ายฯ การส่งต่อนักท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ของกิจกรรมการท่องเที่ยว 3.การสำรวจสินค้าชุมชนแต่ละแห่งเพื่อการกระจายรายได้ เพราะแต่ละชุมชนมีสินค้าที่หลากหลาย มีผักพื้นบ้าน ผักปลอดสาร  ผลิตภัณท์แปรรูปด้านผลผลิตทางการเกษตร มีทั้งตลาดหน้าฟาร์ม ตลาดออนไลน์
4.การทำข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยมีศูนย์กลางในส่งสินค้าคือสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งที่รับสินค้าเข้ามาจำหน่าย สินค้าที่นำจำหน่ายต้องผ่านทางเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอพะโต๊ะ และมีการตรวจสอบสินค้าให้ใด้มาตรฐานที่กลุ่มกำหนด เป็นผักปลอดสารมีปลูกในพื้นที่่เครือข่าย

การติดตามประเมินผลโครงการระยะที่ 11 พฤศจิกายน 2565
1
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ node flagship chumphon ปี 2 2. เพื่อการขับเคลื่อนงานในการดำเนินกิจกรรมระยะที่ 2
ผู้เข้าร่วม  50  คน ประกอบด้วย ตัวแทนจากโครงการจำนวน  25  โครงการ ๆ ละ  2  ท่าน สมาคมประชาสังคมชุมพร รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1.  การแลกเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 1 2. การแบ่งกลุ่มแต่ละประเด็นในการระดมความสำเร็จของตัวโครงการระยะที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรื่อสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม  1.  การติดตามการทำงานในตัวโครงการระยะที่ 1  ให้เรียบร้อยเพื่อจะต้องเบิกงบประมาณระยะที่ 2  การทำงานต้องตอบโจทย์บันไดผลลัพธ์ของตัวโครงการที่กำหนดไว้เพื่อได้ตามวัตถุประสงค์ในตัวโครงการดังนั้นในการดำเนินกิจกรรมต้องทำเป้าหมายที่ไว้ 2.  ในโครงการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนนั้น  การทำงานในระดับตำบลมีปัญหาในด้านผู้นำในชุมชนที่ต้องออกมาขับเคลื่อนงาน ต้องทำงานร่วมกับภาคีมากขึ้น ให้ความรู้ด้านสารเคมีมีผลต่อสุขภาพเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสุขภาพและขยายไปสู่ชุมชนอื่นโดยผ่านเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอพะโต๊ะ 3. การลงพื้นที่ของทีมประเมินผลเพื่อตอบโจทย์ที่ทางโครงการได้ดำเนินกิจกรรมและมีผลลัพธ์อะไรบ้างในระยะเวลาที่ดำเนินกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 329 ตุลาคม 2565
29
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อติดตามความก้าวหน้าของงานที่รับผิดชอบ 2. การขับเคลื่่อนงานต่อของเครือข่ายคนพอเพียงตำบลปากทรง ผู้เข้าร่วม 20 คน ประกอบด้วย 1. คณะทำงานเครือข่าย หมู่บ้านละ 2 ท่าน 2. สมาชิกเครือข่าย
รูปแบบการจัดกิจกรรม 1. การระดมความเห็นคิดในการทำงานที่ผ่านมา 2. ติดตามความก้าวหน้างานการจัดเก็บข้อมูล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการกิจกรรม 1. การทำงานด้านอาหารปลอดภัยแต่ละหมู่บ้านมีฐานข้อมูลอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ ไม่ได้มีการรวบรวมให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้จริง โดยทำอย่างไรที่สามารถนำสินค้าของแต่ละชุมชนมาสู่ตลาดได้
2. การจัดเก็บข้อมูลโดยให้แต่ละหมู่บ้านที่เป็นตัวแทนจัดเก็บนั้น ในขณะข้อมูลยังมาไม่ครบ ต้องติดตาม ซึ่่งต้องการให้แต่ละหมู่เร่งในการทำกิจกรรมให้เรียบร้อย 3. การทำงานร่วมกับภาคีอื่่นทางเครือข่ายมีความเห็นว่าในการทำเรื่องอาหารปลอดภัยนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อให้ได้สุขภาพที่ดีของตัวเองและบุคคลอื่นดั้งนั้นถึงมีแนวทางการทำงานโดยร่วมมือกับทาง องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.)ปากทรง ในการให้ความรู้กับแกนนำชุมชนด้านสุขภาพเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนงานอีกด้านหนึ่งนอกเหนือจากเครือข่ายฯเพื่อสามารถเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยของแต่ละบ้านจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่เน้นแต่รายได้หลัก มีรายเสริมจากการขายสินค้ารอบบ้านตัวเองได้อีกด้วย

ประชุมคณะทำงาน26 กันยายน 2565
26
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. การติดตามงานที่ผ่านมาของคณะทำงานเครือข่ายคนพอเพียงตำบลปากทรง 2.การวางแผนในการดำเนินงานต่อในเดือนถัดไป และการสรุปการทำงานที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1. คณะทำงานหมู่บ้านละ 2  ท่าน 2. สมาชิกเครือข่ายคนพอเพียงตำ่บลปากทรง รูปแบบการจัดกิจกรรม 1. การรายงานผลการดำเนินงานแต่ละพื้นที่ในรอบที่ผ่านมา 2.การทำงานร่วมกันแต่ละหมู่บ้าน และหน่วยงานภาคีร่วม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลและสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. การติดตามการทำงานในรอบเดือนที่ผ่านมา ทั้งการเก็บข้อมูลของเกษตรต้นแบบของแต่ละหมู่บ้านถึงความก้าวหน้า
2. แต่ละหมู่ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลพืชต่างๆของผลผลิตแต่ละชนิดเพื่อการขายให้กับผู้บริโภคที่สนใจได้
3. การจัดประชุมที่บ้านนายนพดล มากสุขเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน การนวดคลายเส้น การต่อกระดูก การรักษาด้วยยาสสมุนไพร เป็นองค์ความรู้ในการต่อยอดในด้านการพืชสมุนไพร
โดยทางกลุ่มหมอสมุนไพรต้องพืชสมุนไพร เช่น ขมิ้นอ้อย หัวไพร  มะรุม ทางกลุ่มต้องการเป็นจำนวนมาก และสามารถปลูกเสริมเป็นรายได้ในสวนได้
4. การทำสวนด้วยวิธีธรรมชาติ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีในพืชและหันมาใช้สารจากธรรมชาติในการทำสวน ลดการเจ็บป่วย ได้พืชผักที่ปลอดภัยให้กับคนในชุมชนมากขึ้นและขยายไปในชุมชนอื่นได้อีก

เวทีความร่วมมือพัฒนาการตลาดสินค้าและอาหารปลอดภัยร่วมกับภาคีในพื้นที่9 กันยายน 2565
9
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1.การกำหนดกติกาชุมชนร่วมกันแต่ละหมู่บ้านในการทำสินค้าปลอดภัยและแห่งอาหารต้นแบบ 2.การรับสมาชิกใหม่ ผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน ประกอบด้วย 1. ตัวแทนเครือข่ายคนพอเพียงบ้านปากทรง 40 คน 2. หน่วยงานภาคีร่วม                10 คน รูปแบบการจัดกิจกรรม 1.การประชุมระดมความคิดเห็นทางต้วแทนเครือข่ายคนพอเพียงบ้านปากทรงในการทำข้อตกลงร่วมกันในการทำแปลงต้นแบบสินค้าปลอดภัย 2. การรับสมาชิกใหม่โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าปลอดภัยการปลูกผักที่ปลอดสารเคมีไว้บริโภคในครอบครัวและลดต้นทุนได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลและสิ่งที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม 1. ข้อตกลงร่วมกันในการเป็นสมาชิกเครือข่ายคนพอเพียงบ้านปากทรงการปลูก พืชผักไว้บริโภคเองโดยการใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านตนเองหรือพื้นที่ว่างในแปลงเกษตร การลด ละ เลิก ใช้ สารเคมีบางชนิดที่มีผลต่อร่างกาย 2. การแปรรูปผลิตภัณท์ เช่นการทำเครื่องแกง  ให้มีการร่วมกลุ่มจากเล็ก ๆ ในการร่วมมือกัน ใช้สินค้าในชุมชนก่อน  ตะไคร้  ข่า ขมิ้นอ้อย พริก  เป็นสร้างรายได้เสริมได้ 3.การรับสมาชิกใหม่สามารถแจ้งกับทางเครือข่ายได้ตลอดเวลาเพื่อเป็นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ทางเครือข่าย จะสนับสนุนเมล็ดพันธ์พืชให้ปลูกและเหลือจากไว้กินเอง นำมาขายได้ 4. การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผักพื้นบ้านในการส่งให้กับผู้บริโภค โดยสามารถนำมาฝากขายได้ที่ร้านค้าชุมชนและร้านค้าเพื่อนบ้านเช่นร้านส้มตำ สินค้าได้แก่ ผักกูด ผักเหลียง  เป็นต้น 5. มีภาคีร่วมจากหน่วยงานราชการในการกระตุ้นเตือนด้านสารเคมีตกค้างในเลือด ได้แก่ สาธารณสุขอำเภอพะโต๊ะ รพ.สต.ปากทรง เกษตรอำเภอพะโต๊ะ

พัฒนาระบบฐานข้อมูลรายหมู่บ้าน20 สิงหาคม 2565
20
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. ต้องการรวบรวมข้อมูลการผลิตอาหารและสินค้าแต่ละหมู่บ้าน 2.เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากชุมชนมาวิเคราะห์และจัดแยกหมวดหมู่ เพื่อเป็นรู้การผลิตแต่ละชุมชนตามฤดูกาลในการมีสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ 3.สามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาทำตลาดออนไลน์ ตลาดหน้าฟาร์มและความต้องการของผู้บริโภคได้ ผู้เข้าร่วม จำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย
1. ตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 9 ท่าน รูปแบบการจัดกิจกรรม
1.การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตอาหารปลอดภัย การแปรรูปสินค้า
2. ปริมาณมีจำนวนเท่าไหร่ โดยจำนวนสมาชิกที่จะต้องจัดเก็บจำนวน 10 คน แต่ละหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1. ข้อมูลที่จะเก็บ
- นายชัยรัตน์ แว่นแก้ว 136 ม.9 ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร  (เจ้าของแปลงเกษตร) รายละเอียด เจ้าของทฤษฎี เกษตร 4 ชั้น ซึ่งปลูกพืชแบบการจัดชั้นเรือนยอดเป็น 4 ระดับ กล่าวคือ
ชั้นที่ 1 เป็นพืชที่มีเรือนยอดสูง เช่น ต้นสะเดาเทียม ตะเคียนทอง จำปาดะ สะตอ มะฮกกานี จำปาทอง มะพร้าว หมาก เหรียง ทุเรียนบ้าน มะมุด อบเชย พะยูง ยางนา พญาไม้ มะม่วง
ชั้นที่ 2 เป็นไม้ทรงพุ่ม เรือนยอดต่ำกว่าชั้นที่ 1 เช่น มังคุด ลองกอง มะม่วง ใบแป้น ส้ม ทุเรียนพันธุ์ ชมพู่ ฝรั่ง ยอบ้าน ชะมวง ละมุด มะไฟ ละไม ลางสาด ส้มจี๊ด ดอกขจร ตะลิงปิง มะกรูด มะเดื่อฉิ่ง ไผ่ตุง ชั้นที่ 3 เป็นไม้พื้นล่างและผิวดิน เช่น ผักเหลียง ผักกูด พริกขี้หนู บวบ ฟังทอง ฟักเขียว ออดิบ กล้วย กระเพรา โหรพา พริกไทย พาโหม เตยหอม พลูคาว กานพลู ชะพลู ถั่วฝักยาง มันปู แมงลัก กระเจี๊ยบ ผักชีล้อม ผักขะแยง สัปรด ส้มงั้ว ผักแว่น ย่านนาง มะอึก มะเขือ เสม็ดชุน มะกอก มะแคว่น มะนาว มะรุม ผักพูม ผักหวาน บุกบ้าน ตะไคร้ ชั้นที่ 4 เป็นพืชผักและสมุนไพรตระกูลหัว เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กระทือ กระชาย กลอย ขมิ้นขาว ไพล ขมิ้นอ้อย ปริมาณขนาด 5 ไร่ ทำการปลูกสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - นายไพโรจน์ เกิดคง 64/2 ม.2 ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร  (เจ้าของแปลงเกษตร) รายละเอียด ไม้ป่าปลูก ได้แก่ จำปาทอง 200 ต้น ตะเคียนทอง 3 ต้น ยางนา 5 ต้น มะฮอกกานี 2 ต้น พญาไม้ 13 ต้น พะยูง 3 ต้น พยอม 1 ต้น มะยมหอม 3 ต้น สัก 2 ต้น กถินเทพา 5 ต้น เคี่ยม 5 ต้น หลุมพอ 2 ต้น ไม้แดง 3 ต้น นากบุด 3 ต้น ไม้เศรษฐกิจ ได้แก่ กาแฟ 100 ต้น หมาก 200 ต้น ส้มเขียวหวาน 20 ต้น มังคุด  7 ต้น ทุเรียน 95 ต้น สะตอ 5 ต้น ขนุน 2 ต้น ส้มโอ 1 ต้น มะนาว 6 ต้น มะม่วง 3 ต้น ตะลิงปิง 1 ต้น มะม่วงหิมพาน 3 ต้น มะม่วงหาวมะนาวโห่ 1 ต้นมะพร้าว 10 ต้นมะขาม 2 ต้น มะขามเทศ 1 ต้น เงาะ 1 ต้น มะยม 1 ต้น ไผ่ตง 1 กอ ไผ่หวาน 2 กอ กล้วย ลูกกอ 1 ต้น ไม้ล้มลุก/สมุนไพร ได้แก่ ผักเหลียง ผักกูด ข่า ตะไคร้ พริกไทย พริก กระชาย มะละกอ สับรด ชะมวง กระชายดำ มะรุม มังค่า ส้มจี๊ด มะกอก ฟ้าทะลายโจร ฟ้กทอง ย่านาง รางจืด โกโก้ ไม้ดอก ได้แก่ จำปา ดาหลา ชบา พุด เข็ม แก้ว มะลิ ภู่ระหงษ์ ลำโพง พุดซ้อน ลีลาวดี พวงแย้ม โมก - นางกัลยา บุษยากุล 86 ม.6 ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร  (เจ้าของแปลงเกษตร) รายละเอียด ไม้ป่าปลูก ได้แก่ พญาไม้ 2 ต้น จำปาทอง 2 ต้น ไม้เศรษฐกิจ ได้แก่ หมาก 100 ต้น ส้มจี๊ด 2 ต้น ตะลิงปิง 1 ต้น สะตอ 2 ต้น ขนุน 2 ต้น มังคุด 300 ต้น ทุเรียน 120 ต้น มะม่วงเบา 5 ต้น มะนาว 1 ต้น ละมุด 4 ต้น ลูกจันทรฺ์ 1 ต้น สะเดา 2 ต้น มะยม 1 ต้น สัตว์เลี้ยง ได้แก่ ไก่บ้าน 20 ตัว ปลาดุก 100 ตัว ปลานิล 100 ตัว
2. จำนวนสมาชิกที่ต้องจัดเก็บ จำนวน  10 คน แต่ละหมู่บ้านรวมทั้ง 90 คน 3. ข้อมูลที่ได้จากเก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์และใช้ในการจัดการตลาดสินค้า ทั้งออนไลน์ และหน้าฟาร์มจากเก็บข้อมูล จะได้รับข้อมูลผลผลิตจากแต่ละหมู่ การแปรรูปผลิตภัณท์
4. นำขู้อมูลที่ได้ทางผู้ผลิตมาเสนอต่อผู้บริโภคและสามารถจัดขายตามช่องทางต่างๅ เป็นการเสริมรายได้ของครัวเรือนจากรายได้ประจำที่แต่ละปีได้จากการขายสินค้าเกษตรหลักของแต่ละบ้าน เช่น มังคุด ทเรียนเป็นต้น

อบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล19 สิงหาคม 2565
19
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. การอบรมให้ความรู้ในด้านการสังเคราะห์ข้อมูล
2. การอบรมเพิ่มทักษะด้านการเสริมรายได้ให้กับครัวเรือน ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย
1. ตัวแทนหมู่บ้าน ละ 2 คน 2.เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอพะโต๊ะ 3. สมาชิกเครือข่ายคนปากทรง
รูปแบบการจัดกิจกรรม 1. การให้อบรมระดมความคิดในด้านการสังเคราะห์ข้อมล ที่ได้รับจากชุมชน 2. การทำกิจกรรมให้ความรู้ด้านการเสริมรายได้ คือการปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง  ต้นอ่อนทานตะวัน เป็นการเพิ่งพาตัวเองและได้อาหารปลอดภัย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรม 1. การจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านที่เป็นครัวเรือนพอเพียงเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำการตลาดทั้งรูปแบบออนไลน์ และตลาดหน้าฟาร์มให้กับลูกค้าโดยรายชื่อสมาชิกนั้น ต้องมีทะเบียนเกษตรกร(เล่มเขียว)เป็นฐานข้อมูลได้เนื่องจากเล่มเขียวมีการปรับสมุดทุกปีและสำรวจพืชแต่ละชนิดที่ปลูกในแปลงของตนเองเพื่อกำหนดวางแผนวิเคราะห์ข้อมูล
2. การทำข้อปฏิบัติและกติกา ร่วมกัน - มีการประชุมทุกวันที่ 26 ของทุกเดือน - สถานที่ประชุมหมุนเวียนให้ครบทั้ง 9 หมู่บ้าน - เพิ่มสมาชิกให้ได้หมู่บ้าน 10 ครัวเรือน - แต่ละครัวเรือนจัดทำข้อมูลพืชผัก - มีการติดตามเยี่ยมเยือนประเมินผล - ทำคิวอาร์โค้ในการทำฐานข้อมูลแต่ละแปลง มีจุดเช็คอิน - มีตลาดกลางเพื่อรวบรวมและจำหน่ายสินค้ ได้ทำแผนการเก็บข้อมูลและข้อปฎิบัติและกติการ่วมกัน 3. การสอนวิธีการเพาะต้นอ่อนผักบุ้ง และต้นอ่อนทานตะวัน
- วิธีทำคือ การเตรียม อุปกรณ์ มี ชุดดำ ดิน ก้อนอิฐ กะบะในดิน เมล็ดผักบุ้งหรือเมล็ดทานตะวัน นำมาล้างน้ำให้สะอาดแช่น้ำไว้ 1 คืน (ใช้น้ำอุ่นในการแช่) หลังจากนำมาอบให้ผ้าชุบน้ำไว้ 1 คืน
ดินที่ใช้ต้องเป็นพืชมอส หรือถ้่าไม่มีให้ใช้ขี้ว้ว ขุยมะพร้าว ดิน มาผสมรวมกัน ใส่ในกะบะและต้องรูในการระบายน้ำ นำเมล็ดที่อบไว้มาปลูกในดิน รดน้ำ ใช้ถุงดำปิดไว้ รดน้ำทุกวัน รอ 7 วันสามารถนำมาบริโภคได้ เป็นการปลูกที่ใช้เนื้อที่ไม่เยอะและเป็นรายได้กับครัว่เรือนได้

การอบรมเสริมทักษะในด้านจัดทำเอกสารออนไลน์30 กรกฎาคม 2565
30
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. การให้ความรู่้ด้านการทำเอกสารออนไลน์ เพื่อเป็นการยกระดับในด้านความรู้ให้กับตัวแทนแต่ละโครงการ 2. เพื่อเป็นสะดวกในการส่งเอกสารเป็นแนวทางเดียวกันทั้ง 25 โครงการ
ผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย 1. ตัวแทนเจ้าหน้าที่การเงินของโครงการย่อย 25  โครงการ 2. พี่เลี้ยงของแต่ละโครงการ 3. ประชาสังคมชุมพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลหรื่อสิ่งที่ได้รับจากจัดกิจกรรม 1. จากการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมในด้านความรู้ด้านการส่งเอกสารและรายงานกิจกรรมโครงการย่อย ฯ ทาง เพจของสำนักสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส) คนสร้างสุข เพื่อเป็นของเพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ของโครงการหลักในการติดตามการดำเนินงานของโครงการย่อย 2. ลดขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูล 3.การจัดเก็บข้อมูลเกษตร รายบุคคล ข้อมูลสรุปกลไล องค์การที่เกี่ยวข้อง

ประชุมคณะทำงาน26 กรกฎาคม 2565
26
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เป็นการจัดเวทีทำความเข้าใจโครงการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน
2. เพื่อให้คณะกรรมการทุกท่านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงการดำเนินงานโครงการจากนี้ ว่าได้ประโยชน์อย่างไร  มีผลสำเร็จในด้านใดบ้าง
3. การเลือกคณะทำงานจากทุกหมู่บ้านเพื่อดูแลการบริหารจัดการโครงการ ผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย
1. ตัวแทนจากหมู่บ้าน ละ 2 ท่าน 2. หน่วยงานภาคีร่วม จำนวน  5 ท่าน
รูปแบบการจัดกิจกรรม 1. การแนะนำตัวโครงการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน 2. การระดมความคิดเห็นจากตัวแทนแต่ละหมู่ และแนวทางการทำงานร่วมกับภาคีต่าง ๆ ที่จะทำร่วมในโครงการ 3. การเลือกตัวแทนแต่ะละหมู่เป็นคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนให้โครงการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ทำความเข้าใจกับโครงการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าและอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าผลสำเร็จที่จะได้รับในการทำโครงการมีอะไรบ้าง โดยต้องมีสินค้าและบริการได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 10 ชิ้น เป็นการคัดเลือกจากแต่ละหมู่บ้านที่มีจุดเด่น สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ การจัดตั้งคณะทำงานจำนวน 20 ท่าน มีดังนี้ 1. นายสายันต์ บุญชัย ตัวแทนจากหมู่ที่ 5 ประธาน 2. นายเจษฎา ต้นแหวน ตัวแทนจากหมู่ที่ 5 รองประธาน 3. นายธิเษก เทพศิริ ตัวแทนจากหมู่ที่ 1 รองประธาน 4. นางพัณธิดา พันธ์ศรี ตัวแทนจากหมู่ที่ 4 เลขานุการ 5. นางสาวมณฑา จันทร์เพ็ง ตัวแทนจากหมูที่ 5 เหรัญญิก 6. นางสาวกัญญาดา ลาภมา ตัวแทนจากหมู่ที่ 4 ประชาสัมพันธ์ 7. นางสร้อย ชุมน้อย ตัวแทนจากหมู่ที่ 1 8. นางศรีสุดา บุญรอด ตัวแทนจากหมู่ที่ 1 9. นายเชาวลิต สุขฉายา ตัวแทนจากหมู่ที่ 2 10. นายฉลอง  อุดหนุน  ตัวแทนจากหมู่ที 2 11. นายไพโรจน์ เกิดคง  ตัวแทนจากหมู่ที่ 2 12. นายนพดล มากสุข ตัวแทนจากหมู่ที่ 3 13. นายวินัย ยอดอุดม ตัวแทนจากหมู่ที่ 3 14. นางราตรี หนูนุ้ย ตัวแทนจากหมู่ที่ 4 15. นายสาคร บำรุงสวัสดิ์ ตัวแทนจากหมู่ที่ 6 16. นายอารักษ์ ชูบ้านนา ตัวแทนจากหมู่ที่ 6 17. นางกันยา บุษยากุล ตัวแทนจากหมู่ที่ 6 18. นายมนตรี คำสุวรรณ ตัวแทนจากหมู่ที่ 7
1ึ9. นายสมบุญ ดิวศรีสวัสดิ์ ตัวแทนจากหมู่ที่ 8 20. นายชัยรัตน์ แว่นแก้ว ตัวแทนจากหมุ่ที่ 9 21. นายมนูญ พร้อมอุดม ตัวแทนจากหมู่ที่ 9

ที่ปรึกษา 1. นายอำนวย สุดสวาสดิ์ เจ้าหน้ามี่สาธารณสุขอำเภอพะโต๊ะ 2. นางสาวนารีรัตน์ คำลัยวงค์ เจ้าหน้าที่วิชาการสาธารณสุข รพสต.ปากทรง 3. นางวิไลวรรณ ยอดไหม เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอพะโต๊ะ 4. องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง 5. ท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอพะโต๊ะ

การปฐมนิเทศโครงการย่อย4 มิถุนายน 2565
4
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 คน ณ.โรงแรมมรกต อำเภอเมืองชุมพร มีกิจกรรมดังนี้   1.การชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดยคุณทวีวัตร เครือสาย สมาคมประชาสังคมชุมพร   2. สถานการณ์สุขภาวะประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าหมายของจังหวัด   3. กระบวนการขับเคลื่อนด้วยการจัดการพื้นที่ของแต่ละประเด็นงาน   4. วงเสวนาของทีมสนับสนุนด้านการทำงานร่วมทั้งภาคีร่วมของแต่ละโครงการ   5. แนวทางการดำเนินโครงการตามประเด็นพื้นที่ 25 พื้นที่ของจังหวัดชุมพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การปฐมนิเทศโครงการ และการทำความเข้าใจกันแต่ละโครงการเพื่อการดำเนินกิจกรรมไปในแนวทางเดียวกันทั้ง 25 โครงการ เพื่อระดมแนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ได้เป้าหมายที่วางไว้ จากการวิเคราะห์สาเหตุจากปัญหา ผลกระทบ ทุน และศักยภาพของชุมชน โดยใช้ต้นไม้ปัญหาที่ได้ระบบความคิดเห็นจากพิ้นที่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดยได้นำปัญหาที่ระดมจากพื้นที่มาแก้ไขให้ได้วิธีการที่เป็นตามความต้องการของพื้นที่และได้รับจากภาคีร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายให้ได้
แผนงานต่าง ๆ ในตัวกิจกรรม เป็นแนวทางในการระดมความคิด แนวทาง การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของแต่ละชุมชนเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมให้ได้ผลลัพธ์ตามที่โครงการกำหนด การทำเป้าหมายในด้านการสินค้าปลอดภัยในชุมชนได้บริโภค  โดยเป้าหมาย แต่ละหมู่บ้านของตำบลปากทรงต้องมี แปลงอาหารปลอลดภัยต้นแบบ 1  แห่ง มีข้อมูลอาหารที่เป็นจริง สามารถรวบรวมและจัดทำจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปได้

การจัดทำป้ายสื่อประชาสัมพันธ์1 มิถุนายน 2565
1
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นิตยา พรหมเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กลุ่มเป้าหมาย ชุมชนตำบลปากทรงจำนวน 9 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม คณะทำงานแต่ละหมู่บ้านได้ติดป้ายประกาศ เขตปลอดบุหรีในพืนที่สาธารณะของแต่ละหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เนื่องจากปัจจุบันมีผู้สูบบุหรี่มากขึ้นและช่วงปัจจุบันมีผู้ติดบุหรี่มากจนเด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงผู้สูงอายุซึ่งในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากบุหรี่มากมายและมีการคาดว่า การติดบุหรี่น่าจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่มีการสื่อสารกันเรื่องพิษภัยของ บุหรี่” นับเป็นสิ่งเสพติดที่มีโทษมากมายต่อตัวผู้สูบ และบุคคลใกล้ชิด ทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ โดยการสูบบุหรี่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคทันทีทันใด แต่สารพิษจะค่อยๆ สะสมในร่างกาย และก่อให้เกิดโรคได้ในอนาคต ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม : เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อกับสุขภาพของคนในชุมชนและลดคนสูบบุหรี่ในพื้นที่ชุมชนได้