directions_run

(18)การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาวะคนหลังสวน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (18)การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาวะคนหลังสวน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0018
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 170,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์อำเภอหลังสวน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย คนึง จันดา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุดาภรณ์ ปัจฉิมเพ็ชร
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 68,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 93,500.00
3 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 8,500.00
รวมงบประมาณ 170,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ ปลูกพืชหลากหลาย อาทิเช่น ปาล์มน้ำมัน ,มะพร้าว ,ยางพารา ,ทุเรียน ,มังคุด รวมทั้งผักพื้นบ้านอื่น มีตลาดผลไม้ขนาดใหญ่อันดับต้นๆของประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดรับซื้อทุเรียน มังคุด และผลไม้อื่น นับเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคทั้งในประเทศและนอกประเทศ ชาวสวนส่วนใหญ่ยังคงใช้สารเคมีการเกษตรในการทำสวน ไม่ว่าจะเป็น สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งสารเร่งการเติบโตของผลไม้เพื่อให้ออกผลนอกฤดูกาลให้ได้ราคาสูงๆ ผลจากการใช้สารเคมีการเกษตร จึงทำให้เกิดความเสียหายเช่น ชาวสวนที่ได้รับสารเคมีจากการทำงาน , ผู้บริโภคที่ได้รับสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร รวมทั้งเกิดสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ ที่ล้วนส่งผลร้ายทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่เกิดจากพิษสารเคมี จนพบผู้ป่วยโรคเนื้องอกในจังหวัดชุมพรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ชุมพรมีผู้เสียชีวิตโรคเนื้องอกเป็นอันดับ1 มาทุกๆปีและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้องปลอดภัยทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศและการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อนซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ   การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป50%(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตรเพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิดโดยให้สัญลักษณ์ ของอันตรายแต่ละระดับ ดังแสดงในตารางที่ 3
  เปรียบเทียบระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด โดยใช้ ค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก(WHO) และค่า LD50 ดังตารางที่ 4
  สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดมีความเป็นพิษที่แตกต่างกันดังนั้นจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลคุณสมบัติความเป็นพิษ ทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังที่มีผลต่อร่างกายเมื่อได้รับสัมผัสสารสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายและระมัดระวังในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
    จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกรมวิชาการเกษตรปีพ.ศ.2554ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าสารกำจัดแมลงเท่ากับ34,672,000กิโลกรัม ปริมาณนำเข้าสารกำจัดวัชพืชเท่ากับ 112,176,000 กิโลกรัม ปริมาณนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดเท่ากับ164,383,000กิโลกรัมจากการคำนวณค่าเฉลี่ยพบว่าคนไทย 64.1 ล้านคน มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 2.6 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ถึงแม้ว่าประเทศไทยได้มีกฎหมายควบคุมการใช้สารเคมีโดยการงดการนำเข้า/ขึ้นทะเบียนสารเคมีบางประเภทแล้ว แต่ยังคงเหลือตกค้างและใช้งานภายในประเทศอยู่เป็นจำนวนมากและสารกำจัด ศัตรูพืชหลายชนิดที่มีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น ซึ่งสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในเอเชียเช่น อินเดีย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ได้ยกเลิกการใช้หรือไม่รับขึ้นทะเบียนเนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอแต่ประเทศไทยยังคงมีการนำ เข้าอยู่ และปริมาณการนำเข้าในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังแผนภูมิ
  ข้อมูลผู้ป่วยนอกและอัตราผู้ป่วยนอกจากกลุ่มโรคสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Toxic effect of pesticides) (กลุ่มอาการ รหัส T600 ตามระบบ ICD-10) ปี พ.ศ. 2553-2556 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราผู้ป่วยนอกจากกลุ่มโรคสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่ากับ 12.37 ต่อประชากรกลางปีแสนคน ลดลงจากปี พ.ศ. 2555 เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับอัตราผู้ป่วยนอกในปีพ.ศ. 2554 ก็ยังมีอัตราป่วยที่สูงมากกว่าเกือบเท่าตัว สาเหตุของปัญหา การวิเคราะห์ผลกระทบและแรงเสริม แรงต้าน โดยผังภาพต้นไม้เจ้าปัญหา
พบว่าสาเหตุหลัก   ด้านพฤติกรรม  ขาดความรู้การทำผัก ผลไม้อินทรีย์เน้นความสะดวก บริโภคอาหารถุงไม่สนใจเรื่องอาหาร(ผัก ผลไม้) ปลอดภัยไม่นิยมปลูกผัก สะดวกซื้อมากกว่าเชื่อคำโฆษณา การใช้เคมี
  ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม  การเข้าถึงผู้บริโภคมีน้อยร้านจำหน่ายเคมีภัณฑ์มีมากเข้าถึงง่ายข้อมูลข่าวสาร สารเคมีมีมากการผลิตที่เน้นขายมากกว่าบริโภคกลไกรัฐไม่ตอบสนอง
  ด้านกายภาพ  มีการใช้สารเคมีรุ่นแรงระบบนิเวศน์ถูกทำลายความเสื่อมขิงทรัพยากร(ดิน น้ำ ป่า)การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ด้านกลไก/ระบบที่เกี่ยวข้อง  คนปลูกผัก ผลไม้ปลอดภัย ยังมีน้อยพื้นที่ต้นแบบเอการเรียนรู้มีน้อยนโยบายไม่เอื้อต่อคนทำเกษตรอินทรีย์หน่วยงานภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังขาดการเชื่อมโยง จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่างๆดังนี้ ผลกระทบด้านสุขภาพ  มีผลกระทบทางร่างกาย ความเครียด สารเคมีตกค้างในร่างกาย เจ็บป่วยมากขึ้นผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ขาดการจัดการด้านตลาดเกษตรกรมีหนี้สิน ต้นทุน ปัจจัยการผลิตสูงผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม  การสูญพันธุ์ แหล่งอาหารตามธรรมชาติหายไป สารเคมีตกค้างในแหล่ง ผลการดำเนินงานในปีที่ 1       คณะทำงานมีกลไกการขับเคลื่อนที่เข้มแข็งมีแนวทางและแผนดำเนินงานของสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนSDGsPGS หลังสวน เช่น การอบรมหลักสูตรการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาเกษตรกรที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อเชื่อมโยงผลผลิตออกสู่ตลาด  การจัดอบรมหลักสูตรพื้นฐานการทำเกษตรอินทรีย์/เกษตรกรรมยั่งยืน โดยอาศัยปราชญ์ชุมชน ที่สามารถเป็นวิทยากรอบรมได้  การทำปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ และการคัดเลือกจุลินทรีย์ท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์/หลักการเกษตรตามแนวแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง/ศาสตร์พระราชา เป็นต้น ให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์เกษตรกรส่วน ใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่ระหว่าง 5-10 ไร่ และเกษตรกรมีการทำการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อเลี้ยง ครอบครัว ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้ มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ดังนั้นเพื่อยกระดับอาชีพและเพิ่ม รายได้ในครัวเรือน ส่วนใหญ่ยังทำไม่ได้ตามมาตรฐานการผลิต เนื่องจากภาคเกษตรยังผลิตเพื่อตอบสนองตลาดโดยการใช้สารเคมีเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต จากสถานการณ์ในพื้นที่ปัจจุบันค้นพบว่าได้มีการนำสารเคมีมาใช้ในแปลงเกษตรเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในสวนทุเรียน ทำให้เกษตรมีสารเคมีในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น การให้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำเน้นการผลิตที่ปลอดภัยโดยใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีการสร้างความตระหนักของครัวเรือนในเรื่องการลดรายจ่ายหรือไม่ใช้จ่ายตามกระแสนิยม และการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร อาชีพและเศรษฐกิจให้กันคนในชุมชน นำสู่วิสัยทัศน์ “เกษตรสุขภาวะคนหลังสวนโดยมีเป้าหมาย 1) ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เพียงพอ และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 2) เสริมสร้างสุขภาพอนามัยของประชาชน และ 3) อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4)พัฒนากลไกการตลาด โดยมีแผนพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ การทำเกษตรอินทรีย์ สู่เป็นศูนย์การเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรและรายได้ ส่งเสริมการการทำเกษตรปลอดภัยใช้สารชีวภัณฑ์และปุ๋ยหมักพืชสด

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(1 พ.ค. 2565-30 เม.ย. 2566) 10,204.00                        
2 กลไกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน มีความหลากหลายในการขับเคลื่อน(30 ก.ค. 2565-30 พ.ย. 2565) 65,530.00                        
3 เกิดความร่วมมือภาคี เครือข่ายในพื้นที่(30 ก.ค. 2565-31 ธ.ค. 2565) 59,416.00                        
4 เกิดการจัดการตลาดสินค้า เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ(1 พ.ย. 2565-28 ก.พ. 2566) 29,850.00                        
5 เกิดพื้นที่การผลิตและรายได้(1 มี.ค. 2566-1 มี.ค. 2566) 5,500.00                        
รวม 170,500.00
1 สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 10,204.00 5 10,204.00
5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 5 4,204.00 4,204.00
30 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ 2 1,000.00 1,000.00
31 ต.ค. 65 ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย ARE 4 2,000.00 2,000.00
9 ก.พ. 66 กิจกรรม ARE ครั้งที่ 2 13 2,000.00 2,000.00
25 เม.ย. 66 ค่าจัดทำเอกสารการเงินและบันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ 1 1,000.00 1,000.00
2 กลไกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน มีความหลากหลายในการขับเคลื่อน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 360 65,530.00 9 65,530.00
8 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 10 1,200.00 1,200.00
22 มิ.ย. 65 อบรมผู้ตรวจแปลง 20 12,996.00 12,996.00
30 มิ.ย. 65 พัฒนาระบบข้อมูลการรวบรวมข้อมูล สมาชิกและการผลิตปริมาณการผลิต 50 3,750.00 3,750.00
18 ก.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้ ระบบเกษตรอินทรีย์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การทำและการนำไปใช้สารชีวภัณฑ์และปัจจัยการผลิตอื่นๆ 100 14,884.00 14,884.00
10 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 15 3,000.00 3,000.00
8 ธ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 15 3,000.00 3,000.00
25 ธ.ค. 65 อบรมการนำเทคโนโยีมาใช้ในแปลงเกษตร 50 9,200.00 9,200.00
19 ม.ค. 66 อบรมให้ความรู้การทำสารชีวภัณฑ์ 100 17,000.00 17,000.00
19 ก.พ. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
3 เกิดความร่วมมือภาคี เครือข่ายในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 246 59,416.00 11 59,416.00
23 มิ.ย. 65 ตรวจแปลงสมาชิก 8 2,400.00 2,400.00
26 มิ.ย. 65 ตรวจแปลง 7 2,100.00 2,100.00
28 มิ.ย. 65 ลงพื้นที่ตรวจแปลง 8 2,400.00 2,400.00
29 มิ.ย. 65 ลงพื้นที่ตรวจแปลง 10 3,000.00 3,000.00
2 ก.ค. 65 ตรวจแปลง 14 4,200.00 4,200.00
3 ก.ค. 65 ตรวจแปลงของสมาชิก 9 2,700.00 2,700.00
2 ก.ย. 65 พัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์แปลงต้นแบบ 10 แปลง 6 12,000.00 12,000.00
4 มี.ค. 66 จัดประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองและรับรองแปลงเกษตร 30 3,900.00 3,900.00
6 มี.ค. 66 พัฒนาระบบแปลงเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ 10 แปลง 4 8,000.00 8,000.00
31 มี.ค. 66 อบรมการประเมินไม้และการบันทึกข้อมูลOAN/TCB 100 12,516.00 12,516.00
20 เม.ย. 66 รับรองมาตรฐาน SDGsPGSระดับจังหวัด 50 6,200.00 6,200.00
4 เกิดการจัดการตลาดสินค้า เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 235 29,850.00 4 29,850.00
11 พ.ย. 65 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแบ่งปันพันธุกรรมพืช ผลผลิต และการเอามื้อ 35 5,250.00 5,250.00
10 ก.พ. 66 การเชื่อมโยงการพัฒนาด้านการตลาด ครั้งที่ 1 80 9,600.00 9,600.00
7 มี.ค. 66 พัฒนาผู้ประกอบการชุมชน เกษตรกรต้นแบบ 20 5,000.00 5,000.00
12 มี.ค. 66 การเชื่อมโยงและการพัฒนาด้านการตลาดในรูปแบบต่างๆ ครั้งที่ 2 100 10,000.00 10,000.00
5 เกิดพื้นที่การผลิตและรายได้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 78 5,500.00 2 5,500.00
9 ก.ค. 65 จัดเก็บข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ 50 2,500.00 2,500.00
28 มี.ค. 66 การสรุปบทเรียนและการเมินผลลัพธ์โครงการ 28 3,000.00 3,000.00

เพื่อให้กลไกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนSDGPGS หลังสวน มีความหลากหลาย ในการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดระบบการจัดการตลาดสินค้า เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลลัพธ์ที่ 1 -กลไกสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนมีขีดความสามารถ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1…คณะทำงานได้รับการฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและมีทักษะการทำเกษตรอินทรีย์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2…มีผู้ตรวจแปลงความรู้เกณฑ์การตรวจแปลง 22 ข้อ และสามารถตรวจรับรองมาตรฐานแปลงเกษตรได้ .....แปลง ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดความร่วมมือจากสมาชิกและภาคีที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 มีแปลงเกษตรต้นแบบ เรื่อง ผัก ผลไม้อินทรีย์และปัจจัยการผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 มีความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อย
1 กิจกรรม1 พื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 มีแผนธุรกิจชุมชน 10 ราย

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2565 11:51 น.