directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดตรัง


“ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก ”

ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายวิรัตน์ แก้วลาย

ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก

ที่อยู่ ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0005 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-00-0144-0005 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 ประชากรสูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 ทั้งนี้ในปี 2562 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก และจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ในอีกไม่ถึง 20 ปี (พ.ศ 2578) ซึ่งโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้เท่ากับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมโดยรวมด้วย
สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2565มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 96 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจกรรมของกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(ติดเตียง)ประมาณร้อยละ 1 โดยส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วยวัยปลายหรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ
แม้ว่าประชากรไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และโอกาสที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมีทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิงเกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณและโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน สถานการณ์และข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนส่วนตำบลบางรัก อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ 9.60 ตารางกิโลเมตร มี 6 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งหมด 3,364 คน คน สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ระดับประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 ศูนย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง สถานที่ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา (วัด) 1 แห่ง ชมรมผู้สูงอายุ 1 ชมรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง อาชีพรองคือเกษตรกรรม องค์การบริหารส่วนตำบลบางรัก มีผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 680 คน คนพิการ จำนวน 123 คนพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20.21  (ข้อมูลเมื่อ เดือน พฤษภาคม 2565) ทั้งนี้จากการทำงานของ Node Flagship จังหวัดตรังปี 2563-2564 ใน 11 พื้นที่ตำบลพบว่าสถานการณ์และสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของหน่วยงานที่ผ่านมาเน้นการรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยงยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับมากนัก (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุมีภาระเลี้ยงดูลูกหลานบ้างอยู่ตามลำพังมีภาระเรื่องการประกอบอาชีพทำให้ไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้สม่ำเสมอ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสมาชิกกลุ่มชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สมาชิกกลุ่มอายุ40-59 ปียังมีจำนวนน้อย และขาดกำลังคนในวัยทำงานมาเสริมการทำงานของชมรมผู้สูงอายุ (3) มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตเนื่องจากมีภาระเลี้ยงดูลูกหลาน ขาดเงินออมที่เพียงพอและมีหนี้สิน สำหรับกลุ่มอาชีพการรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งอีกทั้งกลุ่มอายุ 40-59 ปียังขาดการออมและวางแผนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (4) มิติด้านสภาพแวดล้อม พบว่า บ้านและพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด และสถานที่ราชการ ยังขาดการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ขาดราวจับในห้องน้ำ มีพื้นที่ต่างระดับที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ การใช้โถนั่งยอง การติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ราวจับ ที่ไม่ถูกต้อง ช่างชุมชนและท้องถิ่นที่มีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุมีน้อย รวมถึงการสร้างบ้านของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงการพร้อมใช้เมื่อเป็นผู้สูงอายุ ทั้งนี้จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทางตำบลบางรักได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ โดยกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยที่ประกอบด้วยภาคีสามพลังทั้งภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชนจะเป็นกลไกร่วมในการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ “เตรียมรองรับสังคมสูงวัย” กับ Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อให้เกิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
  2. 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  3. 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
  4. 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
  5. 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  6. 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เกิดกลไกการเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  2. เกิดสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคม สูงวัย
  3. เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับ สังคมสูงวัย 4 มิติ ได้รับการเตรียม ความพร้อม
  4. คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับ สังคมสูงวัย
  5. เกิดนโยบายแผนงาน โครงการเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยของตำบล
  6. ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  7. บัญชีธนาคาร
  8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1
  9. อบรม ช่างท้องถิ่น/ช่าง ชุมชน
  10. จัดอบรมให้ความรู้ เตรียมรองรับสังคม สูงวัยแก่ กลุ่มเป้าหมาย
  11. ติดตามประเมินผล 4 มิติ
  12. ปฐมนิเทศโครงการย่อย
  13. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  14. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1
  15. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
  16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  17. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2
  18. ARE ครั้งที่ 1
  19. ประชุมพัฒนา ศักยภาพ คณะทำงาน
  20. สำรวจ จัดทำ ฐานข้อมูลเตรียม รองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 4 มิติ
  21. สำรวจจัดหาบ้าน เป้าหมายและ สถานที่สาธารณะ เพื่อปรับ สภาพแวดล้อม
  22. ส่งเสริมการออม
  23. ส่งเสริมให้ กลุ่มเป้าหมายออก กำลังกาย
  24. อบรมเรื่องการใช้สื่อ และเทคโนโลยีแก่ กลุ่มเป้าหมาย
  25. เยี่ยมบ้านเสริมพลัง เพื่อนเยี่ยมเพื่อน
  26. จัดทำบัญชี
  27. ป้ายปลอดบุหรี่
  28. ประสานงานและจัดทำโครงการ
  29. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4
  30. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5
  31. ARE ครั้งที่ 2
  32. ARE ครั้งที่ 3
  33. นิทรรศการ
  34. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6
  35. สรุปบทเรียน
  36. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3
  37. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7
  38. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายรอง 60 ปีขึ้นไป 50
กลุ่มเป้าหมายหลัก 35-59 ปี 150

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ยืมเงินทดลองเปิดบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คืนเงินยืมทดลองเปิดบัญชี

 

0 0

2. ปฐมนิเทศโครงการย่อย

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฐมนิเทศโครงการและบันทึกความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ พื้นที่จังหวัดตรัง สู่ธง ตรัง เมืองแห่งความสุข คุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิฤต "ข้าว" และเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน คือ 1.นายพินิจ หมื่นพล 2.นางสุพิศ นกเอี้ยง และ 3.นายวิรัตน์ แก้วลาย
- ตัวแทนคณะทำงานโครงการเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการย่อย ณ ห้องประชุม 116 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง
- ตัวแทนคณะทำงานได้ทำความรู้จักเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงานของ Node Flagship จังหวัดตรัง
- คณะทำงานได้รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย โมเดลสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ผลลัพธ์ กิจกรรม และตัวชี้วัดสำคัญ
- มีการ MOU ความร่วมมือของหน่วยงานราชการ ท้องถิ่น ภาควิชาการ และภาคประชาชน ในการร่วมขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย

 

0 0

3. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

พัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมประเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา มอ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ นายวิรัตน์ แก้วลาย

  • คณะทำงานได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบรองรับสังคมสูงวัย ณ ห้องประชุม ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
  • คณะทำงานได้เรียนรู้แนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจการออม และมิติการปรับสภาพแวดล้อม
    โดยมิติสุขภาพ เน้นการดูแลสุขภาพองค์รวม
    มิติด้านสังคม เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์
    มิติเศรษฐกิจการออม เน้นการปรับใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การมีเงินออม และการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ (ตามความเสี่ยงที่เหมาะสม)
    มิติสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เน้นการปรับสภาพแวดล้อมที่รองรับคนทุกกลุ่ม ทั้งภายในบ้านและพื้นที่สาธารณะ

 

0 0

4. อบรม ช่างท้องถิ่น/ช่าง ชุมชน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมเชิงปฏิบัติการช่างท้องถิ่น และบุคลากรด้านสวัสดิการสังคมในการปรับสภาพพื้นที่ทั้งบ้านพักอาศัย/อาคารสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุ ณ อาคารโรงเลี้ยงเก่า วัดไร่พรุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน คือ 1.นายพินิจ หมื่นพล 2.นายบุญฤทธิ์ ศรีน้อย และ 3.นายศุภโชค อุไรรัตน์ โดยมีวิทยากร คือ นายตรีชาติ เลาแก้วหนู

  • ตัวแทนคณะทำงานและช่างอาสาเข้าร่วมเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพช่างชุมชน ณ วัดไร่พรุ
  • คณะทำงานและช่างได้เรียนรู้แนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สถานการณ์สังคมสูงวัยของจังหวัดตรัง
  • คณะทำงานได้เรียนรู้แนวคิดการปรับสภาพบ้านและพื้นที่สาธารณะปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุและคนทุกวัย และได้ชมตัวอย่างการปรับสภาพอาคารปฏิบัติธรรม ห้องน้ำ ทางลาด ของวัดไร่พรุ

 

0 0

5. จัดทำบัญชี

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำบัญชีการเงินและรายงานการใช้จ่ายแต่ละกิจกรรมในระบบ HappyNetwork ซึ่งแบ่งออกเป็นงวดที่ 1-3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นายพินิจ หมื่นพล ผู้จัดทำบัญชีการเงินและรายงานการใช้จ่ายในระบบ HappyNetwork เรียบร้อย

 

0 0

6. ประสานงานและจัดทำโครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานกิจกรรมในระบบ HappyNetwork

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นายวิรัตน์ แก้วลาย ผู้ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมและการรายงานกิจกรรมในระบบ HappyNetwork เรียบร้อยสมบูรณ์

 

0 0

7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการชี้แจงรูปปฏิทินการทำงานและให้คณะกรรมการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน ช่วงอายุ 35-59 ปี จำนวน 160 คน ณ ห้องประชุม รพ.สต.บางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน โดยคณะทำงานได้ทราบเป้าหมาย ตัวชี้วัด และรูปแบบกิจกรรมในโครงการเตรียมรองรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงหลักเกณฑ์และแแนวทางการค้นหากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลัก 35-59 ปี จำนวน 160 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง 60 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน

 

0 0

8. ป้ายปลอดบุหรี่

วันที่ 19 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ป้ายโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายโครงการ

 

0 0

9. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ณ ต.บางรัก อ.เมืองตรัง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 23 คน โดยคณะทำงานได้หลักเกณฑ์และแแนวทางการค้นหากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน ทั้งกลุ่มเป้าหมายหลัก 35-59 ปี จำนวน 160 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง 60 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน รวมถึงการชี้แจงทำความเข้าใจบันทึกสุขภาพ เตรียมรองรับสังคมสูงวัย

 

0 0

10. สำรวจ จัดทำ ฐานข้อมูลเตรียม รองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 4 มิติ

วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนประชาชนในพื้นที่ สร้างการรับรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 67 คน โดยมีวิทยากร คือ นายวสวัตติ์ อมรเดชทวีสิทธิ์ ได้ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนประชาชนในพื้นที่ สร้างการรับรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

 

0 0

11. ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ประเด็น สามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน คือ 1.นายประศาสน์ รอดภัย 2.นายวิรัตน์ แก้วลาย 3.นางสาวชุติกาญจน์ ตรีทอง และ 4.นางสาวดวงพร มะนะโส

  • ตัวแทนคณะทำงานได้เข้าร่วมเวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม 116 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง
  • คณะทำงานได้เรียนรู้แนวทางการการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของพื้นที่ต่าง ๆ
  • คณะทำงานได้รับฟังแนวทางการดำเนินการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ ทั้งมิติสุขภาพ มิติสภาพแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติเศรษฐกิจการออม

 

0 0

12. ตรวจคัดกรอง เบาหวาน ความดัน

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง เตรียมความพร้อมรองรับสังสูงวัยพร้อมตรวจวัดความดัน และเบาหวาน ณ วัดแจ้ง ต.บางรัก อ.เมืองตรัง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 53 คน โดยมีวิทยากร คือ นายวสวัตติ์ อมรเดชทวีสิทธิ์
- กลุ่มเป้าหมายเข้าใจรายละเอียดโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก กิจกรรมหลัก ผลลัพธ์และตัวชี้วัดสำคัญ
และได้ให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยซึ่งเน้นการเตรียมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการปรับสภาพแวดล้อม ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจการออม

 

0 0

13. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานเรื่องขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ทำให้เกิดร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลบางรัก

 

0 0

14. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการหาหรือธรรมนูญสุขภาพ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน โดยได้ร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลบางรัก

 

0 0

15. ประชุมพัฒนา ศักยภาพ คณะทำงาน

วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานตำบลบางรัก ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการของบางด้วน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน โดยมีวิทยากร คือ นายพิศิษฎพงค์ ปัญญาศิริพันธุ์-รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน โดยคณะทำงานได้เรียนรู้การขับเคลื่อนโครงการของบางด้วน ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ วิธีการชักชวนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเก็บออมเงิน วิธีการหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

 

0 0

16. ส่งเสริมให้ กลุ่มเป้าหมายออก กำลังกาย

วันที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงกิจกรรมออกกำลังกาย กำหนดวิทยากร กำหนดจำนวนวัน 5 วัน/สัปดาห์ ใช้เวลาวันละ 1 ชั่วโมงตอนเย็น กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการและประชาชนทั่วไป ณ ชุมชนตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เดือนเมษ.-มิ.ย. รวม 32 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 10-15 คน โดยมีวิทยากรสอนเต้น คือ นายภานุมาศ อินนุรักษ์ ทำให้เกิดกลุ่มเต้นออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในชุมชน สร้างแกนนำกลุ่มในชุมชนได้

 

0 0

17. ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นัดคณะกรรมการประชุมการทำ ARE พื้นที่ตำบลบางรัก เพื่อสะท้อนผลลัพท์การดำเนินการที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย โหนดเฟลกชิพจังหวัดตรัง-นางสุวณี สมาธิ และคณะทำงาน ได้สะท้อนผลลัพท์ที่ผ่านมาแล้วนำผลการทำงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการกำหนดแผนการดำเนินการรอบใหม่

 

0 0

18. ARE ครั้งที่ 3

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประเมินผลลัพท์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ณ อาคารเรียนรวม 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 คน ประกอบด้วย 1.นายประศาสน์ รอดภัย 2.นางหนูพันธ์ มะนะโส 3.นางสาวชไมพร เที่ยงธรรม จิตตกูล 4.นายวิรัตน์ สั้นเต้ง 5.นางสุพิศ นกเอี้ยง และ 6.นายพินิจ หมื่นพล ร่วมสะท้อนผลลัพท์การทำงานของพื้นที่

 

0 0

19. อบรมเรื่องการใช้สื่อ และเทคโนโลยีแก่ กลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ กำหนดวัน เวลาในการจัดกิจกรรม ประสานติดต่อวิทยากร ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน โดยมีวิทยากร คือ นายภูเมศร์ คงเกต ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

 

0 0

20. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7

วันที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานพิจารณาร่างธรรมนูญสุขภาพ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบางรัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ได้ร่างธรรมนุญสุขภาพตำบลที่ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
ตัวชี้วัด :

 

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน 1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home

 

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง 2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย 2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน 2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80** มิติสภาพแวดล้อม 2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน 2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด 2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน

 

4 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 มิติสังคม 3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10 3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ 3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25

 

5 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : ด้านสุขภาพ 4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5 4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5 4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5 4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80

 

6 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
ตัวชี้วัด : 5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล 5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง 60 ปีขึ้นไป 50
กลุ่มเป้าหมายหลัก 35-59 ปี 150

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล (2) 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (3) 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย (4) 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม (5) 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (6) 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เกิดกลไกการเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (2) เกิดสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคม สูงวัย (3) เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับ สังคมสูงวัย 4 มิติ ได้รับการเตรียม ความพร้อม (4) คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับ สังคมสูงวัย (5) เกิดนโยบายแผนงาน โครงการเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยของตำบล (6) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (7) บัญชีธนาคาร (8) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 (9) อบรม ช่างท้องถิ่น/ช่าง ชุมชน (10) จัดอบรมให้ความรู้ เตรียมรองรับสังคม สูงวัยแก่ กลุ่มเป้าหมาย (11) ติดตามประเมินผล 4 มิติ (12) ปฐมนิเทศโครงการย่อย (13) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (14) พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 (15) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (16) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (17) พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 (18) ARE ครั้งที่ 1 (19) ประชุมพัฒนา ศักยภาพ คณะทำงาน (20) สำรวจ จัดทำ ฐานข้อมูลเตรียม รองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 4 มิติ (21) สำรวจจัดหาบ้าน เป้าหมายและ สถานที่สาธารณะ เพื่อปรับ สภาพแวดล้อม (22) ส่งเสริมการออม (23) ส่งเสริมให้ กลุ่มเป้าหมายออก กำลังกาย (24) อบรมเรื่องการใช้สื่อ และเทคโนโลยีแก่ กลุ่มเป้าหมาย (25) เยี่ยมบ้านเสริมพลัง เพื่อนเยี่ยมเพื่อน (26) จัดทำบัญชี (27) ป้ายปลอดบุหรี่ (28) ประสานงานและจัดทำโครงการ (29) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 (30) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 (31) ARE ครั้งที่ 2 (32) ARE ครั้งที่ 3 (33) นิทรรศการ (34) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 (35) สรุปบทเรียน (36) พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 (37) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 (38) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบางรัก จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0005

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวิรัตน์ แก้วลาย )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด