directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกร

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

การส่งเสริมการรับรู้เรื่องเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติแก่ กลุ่มเป้าหมาย 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ แก่กลุ่มเป้าหมาย 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

บัญชีธนาคาร 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 1 มิ.ย. 2565 3 มิ.ย. 2565

 

  1. ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ บันไดผลลัพธ์ ประกอบด้วย ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ และกิจกรรม มีจำนวน 5 ระดับ
  2. ชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน ระยะเวลาดำเนินโครงการ งบประมาณสนับสนุน 100,000 บาท และงบประมาณสสส. สนับสนุนเพิ่มเติม 20,000 บาท
  3. ชี้แจงแนวทางระเบียบการเบิกจ่ายการเงิน หลักฐาน การเบิกของรายการต่าง ๆ ซึ่งมีคณะทำงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมผู้สูงวัยตำบลเกาะสุกร และที่ปรึกษา พี่เลี้ยง เข้าร่วมประชุม

ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

 

คณะทำงาน 20 คน ประกอบด้วย นางจำเนียร มานะกล้า-พี่เลี้ยงโครงการ, คณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง (นางสุวณี สมาธิ-ผู้จัดการ, นางสาวศรีหัทยา ชูสุวรรณ-ผู้ทรงคุณวุฒิ, นายเชภาดร จันทร์หอม-ผู้ประสานงาน และนางสาวสริตา หันหาบุญ-ธุรการและการเงิน) ได้รับทราบรายละเอียดของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกร ประกอบด้วย บันไดผลลัพธ์ กิจกรรม ตัวชี้วัด 4 มิติ การทำรายงานการเงิน หลักฐานการเบิกจ่ายโครงการ และรับทราบบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 1 มิ.ย. 2565 16 ก.ย. 2565

 

  1. หารือ ความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 1 ทั้งการดำเนินกิจกรรม และตัวชี้วัด
  2. หารือ การปรับคณะทำงานโครงการบทบาทหน้าที่คณะทำงาน แกนนำโครงการชุดใหม่

ณ ห้องประชุม อบต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ, อบต., รพ.สต., อสม. และนางจำเนียร มานะกล้า-พี่โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะสุกร
1. เกิดทีมคณะทำงานชุดใหม่ที่ความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ จำนวน18 คน ประกอบด้วย อสม ประชาชน ท้องที่ ท้องถิ่น และที่ปรึกษาโครงการ 2. คณะทำงานได้แนวการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของพืันที่

 

ค่าประสานงานและค่าจัดทำรายงานโครงการ 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565

 

จัดทำเอกสารรายงานสรุปงานโครงการ โดย นางสาวเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส

 

เอกสารรายงานการเงิน และรายงานกิจกรรมสมบูรณ์ครบถ้วน

 

จัดทำบัญชี 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565

 

จัดทำบัญชีรายงานโครงการ แบ่งออกเป็น งวดที่ 1-3 โดย นางสาวเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส

 

เอกสารการเงินสมบูรณ์ครบถ้วน

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส 1 มิ.ย. 2565 6 ก.ค. 2565

 

ป้าย  1 แผ่นประกอบด้วย ข้อความประกอบด้วย  ปลอดบุหรี่  ชื่อโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน  บันไดผลลัพธ์

 

ใช้ในการจัดกิจกรรมโครงการ ทุกครั้งเพื่อเป็นสื่อในการทำงานกลุ่มเป้าหมาย สื่อรณรงค์ ปลอดบุหรี่  โครงการ

 

ปฐมนิเทศโครงการย่อย และเปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับเงินโอนของโครงการ 1 มิ.ย. 2565 2 มิ.ย. 2565

 

  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ตำบลเกาะสุกร
  2. ชี้แจงทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การทำกิจกรรม และระเบียบการเงิน การเบิกจ่าย
  3. ร่วมเซ็นต์สัญญา (MOU)กับ Node flagship ตรัง ของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกร  ประธานโครงการฯ  เลขานุการ และการเงิน
  4. เปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินโอนโครงการ

ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีตรัง

 

ผุ้เข้าร่วมประชุม 3 คน ประกอบด้วย 1.นางสุรียา เพชร์อินทร์ 2.นางเสาวลักษณ์ ขาวดี และ 3.นางสาวนันทิยา ภัทรดำรงเกียรติ

  1. แกนนำคณะทำงานโครงการฯ มีความเข้าใจทิศทางการทำงาน Node Flagship จังหวัดตรัง และเข้าใจเบื้องต้นต่อโมเดลการขับเคลื่อนสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  2. การทำสัญญาโครงการ Node flagship ระยะเวลาดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และร่วมเซ็น MOU ขับเคลื่อนประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  3. เปิดเบัญชีธนาคารเกษตรและสหกรณ์ สาขาย่านตาขาว จ.ตรัง

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 1 มิ.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565

 

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

 

คืนเงินยืมทดลองเปิดบัญชี

 

พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) 6 ก.ค. 2565 6 ก.ค. 2565

 

  1. ประชุมเสริมความรู้รองรับสังคมสูงวัย  4 มิติ ประกอบด้วย มิติสุขภาพ สังคม สภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยวิทยากรที่มีความรู้ด้านสังคม ได้แก่ คุณศรีหัทยา ชูสุวรรณ ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ อ.ตรีชาติ เลาแก้วหนู ด้านสุขภาพ ได้แก่ นพ.ตุลกานต์ มักคุ้น และ อ.ธิดารัตน์ สุภานันท์ และด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ นายทวี สัตยาไชย
  2. มีการแลกเปลี่ยน ความรู้ ทั้ง 4 มิติ เพื่อนำไปสู้การปฎิบัติ ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตตรัง

ณ ห้องประชุมเล็ก ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ ม.อ.ตรัง

 

แกนนำคณะทำงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกรเข้าอบรม จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นางเสาวลักษณ์ ขาวดี 2.นางโสธนา บุญเกื้อ 3.นางสาวสมฤดี จิตรหลัง และ 4.นางสุรียา เพชร์อินทร์ มีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและแนวปฏิบัติการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ

 

การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องLong term Care จากพื้นที่ต้นแบบ 25 ก.ค. 2565 25 ก.ค. 2565

 

  1. แลกเปลี่ยนประสบการณ์เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและการดำเนินงานLong term Careจากพื้นที่ต้นแบบ ตำบลบางด้วน ทีมวิทยากร Care Giver และอาสาสมัคร บริบาล
  2. ความเป็นมากองทุนการดูแลระยะยาว long Term Careความหมาย long Term Care และหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
  3. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ
  4. ขั้นตอนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC)และการดำเนินงานกองทุนการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึงพิงขององค์การบริหารส่วนตำบล
  5. ขั้นตอนการเบิกจ่ายงบ Long Term Care ของศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
  6. มีการแลกเปลี่ยนในการทำงานในการออกเยี่ยมบ้าน มอบวัสดุอุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง

ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 26 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ, อบต., รพ.สต. และ อสม. โดยมีวิทยากร คือ 1.นายพิศิษฏพงค์ ปัญญาศิริพันธ์ และนางนิธิวดี เก้าเอี้ยน-ผอก.รพ.สต.บางด้วน

  1. มีการแลกเปลี่ยนการทำงานระหว่างบางด้วนที่ประสบความสำเร็จกับตำบลเกาะสุกร ที่ได้รับการโอนงบประมาณจากสปสช 48000 บาท (ผู้ป่วย 8 ราย) เสียชีวิต 3 ราย หาผู้ป่วยติดเตียงติดเตียง มาทดแทน และสำรวจผู้ป่วยรายใหม่ ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน
  2. บทบาทในการวางแผนการเยี่ยมบ้าน ของCase Management = CM และสำรวจความต้องการผู้ป่วยติดเตียง ของรพสต. เกาะสุกรและ  บันทึก อนุมัติของเจ้าหน้าที่ ท้องถิ่น ในการเบิกจ่ายเงิน
  3. ให้อาสาสมัครบริบาล วางแผนเยี่ยมบ้าน ส่งให้ CM ดูก่อนออกเยี่ยบ้านเพื่อให้สอดคล้องบริการที่เหมาะสม (2 คน)
  4. ทีม Care giver ออกสำรวจ ผูู้ป่วยเข้าหลักเกณฑ์ส่งไปสปสช. เพื่อสนับสนุนงบประะมาณ

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการใช้โปรแกรมiMed@homeของคณะทำงาน 26 ก.ค. 2565 26 ก.ค. 2565

 

เนื้อหาในการอบรม
1. ความเป็นมาระเบียบของกองทุนการดูแลระยะยาว long Term Careความหมาย long Term Care หลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย
2. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯในการดำเนินงาน
3. ขั้นตอนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC)และการดำเนินงานกองทุนการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึงพิงองค์การบริหารส่วนตำบล
4. ขั้นตอนการเบิกจ่ายงบ Long Term Care ของศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 5. ปัญหาที่พบในการดำเนินงาน ของพื้นที่ซึ่งมีอาสาสมัครบริบาล  ทีมCare giver และCase managements

ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน ประกอบด้วย นางจำเนียร มานะกล้า-พี่เลี้ยง, ทีมวิทยากร (นายพิศิษฏพงศ์ ปัญญาศิริพันธุ์, นางนิลวรรณ สุนทรนนที, นางกาญจนา แกล้งมนง, นางวิมล ศรีเพ็ชร และนางนิตยา เลิศวิโรจน์), อสม., อาสาบริบาล, อบต. และคณะทำงานโครงการ 1. การทำงานร่วมงาน ทีมCare giver และ Case managements และอาสาสมัครบริบาล ในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจการดำเนินงาน 2. ขั้นตอนในการทำงาน ของบทบาท ท้องถิ่น และทีมดูแล ของอาสาสมัคร 3. จำนวนผู้ป่วยติดเตียง 8 คนได้รับงบจากกองทุน LTC ของสปสช. เสียชีวิตไป 3 คน ให้ดำเนินการหาคนทดแทน ครบ 8 คนดำเนินการวางแผนเยี่ยมบ้าน  เพื่อเพิ่มเติมจำนวนผู้ป่วยเติดเตียง
4. การใช้ Care plan ที่ได้รับรองจาก Case Managements  เพื่อเบิกเงิน ให้ผูัป้วย ที่ประชุมรับทราบปัญหาและดำเนินการต่อไป ในการติดตามและประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ (ARE) ของพี่เลี้ยงต่อไป

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับสภาพแวดล้อมบ้าน พื้นที่สาธารณะ สำหรับ ช่างอบต. ช่างชุมชนและคณะทำงาน 6 ส.ค. 2565 6 ส.ค. 2565

 

  1. สำรวจและออกแบบร่วมกับทีมช่างท้องถิ่น ช่างชุมชน ในพื้นที่สาธารณะ มัสยิด ท่าเรือ  ห้องส้วม และพื้นที่ บ้าน โฮมสเตย์ รถพ่วง ตัวอย่าง (ต้นแบบ)  1วัน
  2. อบรมสภาพแวดล้อม แก่ ช่างชุมชน ช่างท้องถิ่น และคณะทำงาน และนำผลการสำรวจของวันแรกมาสรุป แนวทางการปรับสภาพแวดล้อม  และให้ข้อเสนอแนะ 1 วัน

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ, ช่างชุมชน ท้องถิ่น, ม.อ.ตรัง, อบต. และ อสม. โดยมีวิทยากร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู-หัวหน้าศูนย์ออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคน (PSU-UDC) และรองคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่งผลให้ 1. ช่างชุมชนและช่างท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
2. มีข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่สาธารณะในชุมชน มัสยิด ท่าเรือ ห้องน้ำ โฮมสเตย์ รถพ่วง และบ้านของตำบลเกาะสุกร 3. มีการทำงานร่วมกันของภาคี ในการสำรวจพื้นที่สาธารณะ บ้านในชุมชน และได้ส่งรายละเอียดไปของบประมาณ ของกองสาธารณสุข อบจ. ตรัง และพมจ. ตรัง
2. ห้องนำ้ห้องส้วม ของอาคารศูนย์อเนกประสงค์ อบต. เป็นพื้นที่ดำเนินการต้นแบบ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการเป็นผู้สูงอายุ ในการทำกิจกรรมมาก และต่อเนื่อง 3. หารือเรื่องปรับสภาพแวดล้อม น่าจะเป็นคณะทำงานที่เป็นช่างชุมชนและผู้ท้องที่ ท้องถิ่น เพื่อให้การทำงานคล่องตัว ยิ่งขึ้น

 

สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเก็บข้อมูลสถานการณ์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ 1 ก.ย. 2565 30 ก.ย. 2565

 

1.จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 200 เล่ม เพื่อบันทึกข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 2. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเก็บข้อมูลสถานการณ์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ มาปรับเป็นออกสมุดบันทึกประจำตัว ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป น้ำหนัก โรคเรื้อรัง
มิติ ด้านมิติ สภาพแวดล้อม สังคม ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด ของบันไดผลลัพธ์ ที่ติดตามความก้าวหน้า รายบุคลล 3.นำข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่มีลงในแฟ้มข้อมูล ของผู้เข้าร่วมโครงการ(Excel) บันทึกในสมุดประจำตัวของกลุ่มเป้าหมาย

 

กลุ่มเป้าหมายได้รับสมุดบันทึกสุขภาพคนละ 1 เล่ม เพื่อใช้สำหรับการติดตามผลด้านสุขภาพ

 

พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org) 17 ก.ย. 2565 17 ก.ย. 2565

 

  1. แกนนำเข้าประชุม ฝึกใช้โปรแกรม CANVA การทำสื่อจดหมายข่าว
  2. การบันทึกกิจกรรม โครงการและรายงานการเงินผ่านโปรแกรม www.happynetwork.org

ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

 

ตัวแทนคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะสุกร จำนวน 3 คน คือ 1.นางสาวเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส 2.นางสาวชลนา ปากบารา และ 3.นางวิลาศ แวกาจิ สามารถใช้โปรแกรม CANVA ในการออกแบบสื่อจดหมายข่าว รวมถึงการรายงานกิจกรรม และการเงิน ในระบบ www.happynetwork.org

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 1 ต.ค. 2565 25 พ.ย. 2565

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนงานในการจัดกิจกรรมในเดือนธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 29 คน แกนนำได้เสนอแนวทางในที่ประชุมเตรียมพร้อมงานที่ต้องจัดกิจกรรม ดังนี้ 1.ลงตรวจสุขภาพ 200 คน โดยจัด อสม.หมู่ละ 3 คน ลงบ้านกลุ่มเป้าหมาย 2.จัดกิจกรรมการออมเงิน จัดกิจกรรมในวันที่ 9 ธันวาคม โดยมีพิธีกร 2 คน คือ
- นางสุพิศ เพชรอินทร์ ประกัน 40 - นางมนทิรา เจะสา กลุ่มออมทรัย์และสถาบันการเงินชุมชนตำบลเกาะสุกร 3.ประชุมร้านค้าเข้าร่วมโครงการ ลด หวาน มัน เค็ม 19 ร้านค้า เพื่อค้นหาร้านต้นแบบ 4.นัดช่างลงพื้นที่เสนอบ้านเพื่อปรับปรุงบ้านผู้สูงอายุ พิการ ทั้ง 4 หมู่บ้าน
5.การอบรมรู้ทันสื่อและผลิตสื่อ

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 1 ต.ค. 2565 17 ม.ค. 2566

 

1.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนงานในการจัดกิจกรรมในเดือนธันวาคม 2565 2.วางแผนงานที่ต้องทำร่วมกันในกิจกรรม

ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน จากหลายส่วนงาน ประชุมดังนี้ 1.คณะทำงานเข้าร่วมการประชุมในการเสนองานที่ต้องจัดทำร่วมกันในแผนงาน
2.การเงินสรุปงานที่ผ่านมาในงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ที่ต้องทำกิจกกรม 3.ภาคีเช่น รพ.สต. การปกครองท้องที่ อสม. ให้ความร่วมมือในการประชุมจัดกิจกรรม อบรมสื่อ ประชาสัมพันธ์ประกันสังคม 40

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 1 ต.ค. 2565 2 มี.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน แกนนำ ทั้ง 3 ภาคี ท้องถิ่น/ท้องที่ รพ.สต. ประชาชน โดยส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกร ดังนี้ 1.ความสำคัญของเครื่องมือ ธรรมนูญสุขภาพ  โดย นายชัยพร  จันทร์หอม สมัชชาสุขภาพ จังหวัดตรัง 2.กระบวนการ ธรรมนูญสุขภาพ โดย นายชัยพร  จันทร์หอม สมัชชาสุขภาพ จังหวัดตรัง 3.(ร่าง )วิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางข้อตกลงรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ  โดยนายเชภาดร จันทร์หอม พี่เลี้ยงNFT และแกนนำคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4.ร่วมระดมความคิดเห็นแนวทาง/ข้อตกลง/ซันชีเกาะสุกร เตรียมรองรับสังคมสูงวัย โดยนายเชภาดร จันทร์หอม พี่เลี้ยงNFT และแกนนำคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 5.สรุปร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกร โดยนายเชภาดร จันทร์หอม พี่เลี้ยงNFT และแกนนำคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  หมายเหตุ บันทึกฉบับร่าง เสนอเวทีประชาคม

ณ ห้องประชุม อบต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน ประกอบด้วย อสม. และคณะทำงาน เสนอแนวทางดังนี้ มิติ ด้านสุขภาพและบริการสุขภาพ เป้าหมาย
1.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในตำบลเกาะสุกรได้รับการดูแล 2.คนเกาะสุกรมีพฤติกรรมลด หวาน มันเค็ม 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน/ความดันของตำบลเกาะสุกรลดลง ข้อกติกา
1.ส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลเกาะสุกรได้ออกกำลังกายตามความสนใจ
2.ส่งเสริมให้ร้านค้า/อาหารในตำบลเกาะสุกรลดหวาน มัน เค็ม
3.สนับสนุนให้ตำบลเกาะสุกรมีมีการดูแลผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิง(Long Term Care)ในตำบลเกาะสุกรที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ เจ้าภาพ ประกอบด้วย เจ้าภาพหลัก -รพ.สต. เจ้าภาพรอง -อบต. -อสม.

มิติ ด้านสังคมและสวัสดิการ เป้าหมาย
1.ผู้สูงอายุ และกลุ่มเตรียมรองรับสังคมสูงวัยได้รับมีการรวมกลุ่มทางสังคมและมีโอกาสเรียนรู้ตามความสนใจ ข้อกติกา
1.ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในตำบลเกาะสุกรตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปเรียนรู้แนวคิดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนตำบลที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเกาะสุกร เจ้าภาพ ประกอบด้วย เจ้าภาพหลัก -ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียนผู้สูงอายุ เจ้าภาพรอง-ฝ่ายปกครอง/อบต.

มิติ ด้านสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะ เป้าหมาย
1.บ้านและพื้นที่สาธารณะในตำบลเกาะสุกรปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
ข้อกติกา
1.ท้องถิ่นมีการอนุมัติการสร้างบ้านที่คำนึงถึงความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ห้องน้ำ โถส้วม ราวจับ
2.ช่างชุมชนและช่างท้องถิ่นในตำบลเกาะสุกรมีความรู้การปรับสภาพบ้านปลอดภัย/ Universal Design 3.การปรับสภาพบ้านมั่นคงของตำบลเกาะสุกรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุ เจ้าภาพ ประกอบด้วย เจ้าภาพหลัก - ท้องถิ่น ท้องที่ สภาองค์กรชุมชน

มิติ ด้านเศรษฐกิจและการออม เป้าหมาย
1.ประชาชนนำตำบลเกาะสุกรมีการออมรองรับสังคมสูงวัย 2.ประชาชนในตำบลเกาะสุกร ข้อกติกา
1.ส่งเสริมให้ครัวเรือนเน้นการปลูกพืชผักสวนครัว 2.ส่งเสริมให้คนเกาะสุกรมีการออมเพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัย เช่น มาตรา 40 กอช
3.จัดให้มีศูนย์สินค้าชุมชนตำบลเกาะสุกร เจ้าภาพ เจ้าภาพหลัก - เจ้าภาพรอง -

ผลสรุป คือ การทำประชาคมทั้ง 4 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 วัน เพื่อให้ประชาชนรับทราบและทำกติการ่วมกันในตำบล โดยจัดประชาคมในเดือนเมษายน 2566

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 1 ต.ค. 2565 29 พ.ค. 2566

 

แจ้งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมด ปัญหา และ ข้อเสนอแนะ ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.4 ต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน ประกอบด้วย สมาชิก อบต., นักพัฒนาชุมชน, รพ.สต., และคณะทำงานโครงการ สรุปผลในการถอดบทเรียนครั้งนี้เพื่อปรับปรุงงาน และข้อเสนอแนะ 1.การลดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้น้อยลง ปรับเปลี่ยนสร้างแกนนำให้เข้มแข็ง เพื่อแบ่งงานลงพื้นที่ 2.การเปลี่ยนเป้าหมายใหม่จากเน้นผู้สูงอายุ เป็นวัย 35 -59 ปี ซึ่งตรงกัเป้าหมายโครงการ 3.การเปลี่ยนสถานที่ในการสร้างแรงจูงใจ เช่น สัมมาดูงานพื้นที่อื่น เพื่อนำกลับมาปรับใช้ให้ตรงกับสังคมของตำบล

 

จัดประชุม กลุ่มเป้าหมาย 4 หมู่บ้าน 1 ครั้ง ก่อนดำเนินกิจกรรม 1 ต.ค. 2565 24 ต.ค. 2565

 

จัดกระบวนการด้านงาน 4 มิติ ดังนี้ 1.มิติด้านสุขภาพ 2.มิติด้านเศรษฐกิจ 3.มิติด้านสังคม 4.มิติด้านสิ่งแวดล้อม

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ของ ม.4 เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมจำนวน 200 คน ประกอบด้วย ประชาชนในตำบลอายุ 35-59 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึง เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกเรื่อรัง รพสต.เกาะสุกร และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
กิจกกรรมมีดังนี้ 1.มิติด้านสุขภาพ โดยนางสุรียา่ เพชรอินทร์ ประธานอสม.ต.เกาะสุกร ในการบรรยายเกี่ยวกับอาหารในการบริโภค การลด หวาน มัน เค็ม 2.มิติด้านเศรษฐกิจ โดยนางเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส การเงินสถาบันการเงินชุมชนตำบลเกาะสุกร บรรยายการออมที่ยั่งยืน 3.มิติด้านสังคม โดยนางวิลาศ แวกาจิ ครูโรงเรียนผู้สูงอายุ บรรยายเเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 4.มิติด้านสิ่งแวดล้อม โดยนายนเรศ ไชยเทพ บรรยายเกี่ยวกับการวางอุปกรณ์ในที่สาธารณะ เช่น ห้องอบต. ห้องรพ.สต. การขึ้น-ลง ท่าเรือ

 

จัดประชุมคณะทำงานหมู่บ้าน ก่อนดำเนินโครงการ 1 ต.ค. 2565 17 ต.ค. 2565

 

จัดคณะทำงานปฏิบติลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 หมู่บ้าน จัดกระบวนการด้านงาน 4 มิติ ดังนี้ มิติด้านสุขภาพเพื่อ ติดตาม ประเมิน  ปัญหาอุปสรรค เตรียมพร้อม ก่อนประชุม กลุ่มเป้าหมาย 200 คน

ณ ห้องประชุม รพ.สต. เกาะสุกร

 

ผลการประชุมทีผู้เข้าร่วม 20 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ, อบต. และอสม. โดยมีการแบ่งอสม. เข้าร่วมกิจกรรม หมู่บ้าน ละ 5 คน และการวางแผนในการแบ่งผู้เข้าร่วมโครงการแยกทั้ง 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 50 คน เพื่อสะดวกในการให้ข้อมูลและบันทึกผลการวัดความดัน เบาหวาน รอบเอว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 1 ต.ค. 2565 20 ม.ค. 2566

 

คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยง/ป่วย 4 หมู่และเชิญหนังสือ โดยคณะทำงาน อบรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพ อาหารสุขภาพ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย 2รุ่นๆละ 50คน รุ่น 1 วันที่ 20 มกราคม 66 เวลา 8.00.00 -12.00 น
รุ่น 2 วันที่ 20 มกราคม ุุ66 เวลา 13.00-16.00 น เนื้อหาในการอบรม 1.พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติ บรรยายโดย นางโสรญา  พลวัฒน์ คลินิก เรื้อรัง รพสต.เกาะสุกร 2.อาหารสุขภาพ สาธิตอาหารน้ำปั่นเพื่อสุขภาพ บรรยายโดย นางโสรญา  พลวัฒน์ คลินิก เรื้อรัง รพสต.เกาะสุกร 3.การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและสาธิต วิทยากรแอโรบิค นางจันทรา อุส่าดี

ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ม.4 ต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คน เกิดกติการ่วมกัน ทั้ง 4 หมู่บ้าน อาหาร
1.ลดอาหารเค็มและอาหารที่หวานมาก 2.ควรให้ร้านเครื่องดื่มลดน้ำตาล-หวานน้อย 3.ลดอาหารมันๆเช่นเนื้อติดมัน(วัว) 4.ลดแกงกะทิ 5.อยากให้ลดผลไม้ที่มีรสหวานจัดเช่น มะม่วงสุก องุ่น ทุเรียน 6.รลดอาหารประเภทแป้ง เช่น โรตี ซาลาเปา 7.ลดของเค็ม เช่น ปลาทอด น้ำมันหอย

ออกกำลังกาย 1.เดินออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละ 3 กิโลเมตร 2.ออกกำลังกาย ด้วย บาสโลบ แอโรบิค ปั่นจักรยาน หรือ เดินๆ วิ่งๆ 3.ออกกำลังกายที่ใช้อุปกรณ์ใกล้ตัว เช่น เก้าอี้ ฝาบ้าน ท่อประปาขนาด 1 นิ้ว ไม้ตะบอง

 

ประชุมการออมสถาบันการเงิน(ธกส.) พร้อมเปิดบัญชีธนาคาร 1 ต.ค. 2565 25 ม.ค. 2566

 

ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการดังนี้ - ผู้เข้าร่วมโครงการ 200 คน มีการออมในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ 1.ฝากเงินกับธ.ก.ส จำนวน 18 คน 2.ฝากเงินกับกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน จำนวน 82 คน 3.ฝากเงินกับสถาบันการเงินในชุมชน จำนวน 2 คน เป็นลูกค้าใหม่ (ส่วนใหญ่ต่อยอดจากกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน) 4.ทำประกันสังคม จำนวน 52 คน
5.ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ จำนวน 46 คน สรุป ออมเงิน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 77 ไม่ออมเงิน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 23 - คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ จัดกิจกรรมในการออม

ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.4 เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน และ มีผู้สมัครประกันสังคมเพิ่มจำนวน 13 คน เจ้าหน้าที่จากประกันสังคมมา 3 ท่าน สิทธิในการประกันสังคมและความคุ้มครอง วิทยากรผู้บรรยาย ชื่อ นางสาววีรวรรณ ศรีเสวตร์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ  ดังนี้ 1.คุณสมบัติของผู้สมัครมาตรา 40
ผู้สมัครมี 2 กรณีคือ 1 ผู้มีสิทธิ์สมัครและผู้ไม่มีสิทธิ์สมัคร
2.สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับอาทิเช่น 1. รับเงินทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยสูงสุด 300 บาทต่อวัน 2.รับเงินทดแทนกรณีทุพพลภาพเดือนละ 500 ถึง 1,000 บาท 3.รับเงินค่าทำศพกรณีตายสูงสุด 50,000 บาท 4.รับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อคนต่อเดือนคราวละไม่เกิน 2 คน 5.รับเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมดอกผล หมายเหตุ 1.เงินสมทบที่จ่ายสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 2.ไม่ตัดสิทธิ์บัตรทอง 3.ไม่ถูกตัดสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ช่องทางการชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 1.เคาน์เตอร์ธนาคารหรือหน่วยบริการ 2.หักบัญชีเงินฝากธนาคาร 3.ผ่าน mobile application

 

อบรมการรู้ทันสื่อดิจิทัลและการผลิตสื่อ 1 ต.ค. 2565 11 ก.พ. 2566

 

จัดอบรมสูงวัยรู้ทันสื่อ เรื่อง การสั่งของผ่าน ออนไลน์ Facebook/Line /แต่งภาพ ดังนี้ 1.วัตถุประสงค์การจัดอบรมผู้สูงวัยรู้ทันสื่อเพื่อให้เห็นความสำคัญของการเข้าถึงผู้สูงอายุผ่านทางสื่อต่าง ๆ โดยนางสุรียา เพชรอินทร์ ประธานโครงก 2.พรบ.คอมพิวเตอร์/การสั่งของผ่านOnlineการติดตั้งและสมัครLine /face bookการใช้Photo Grid แต่งภาพ/โปรแกรมอื่นๆ โดย ดร.กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์ 3.การสร้างกลุ่ม/การเชิญเพื่อนเข้ากลุ่มการใช้งาน แอพ TikTok ข้อจำกัดและปัญหาที่พบในการใช้งานโปรแกรมต่างๆ โดย ดร.กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์
4.ซักถาม ปัญหาอุปสรรค ในการใช้งาน โดย ดร.กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์

ณ ห้องประชุม รพ.สต.เกาะสุกร

 

1.ผู้เข้าร่วมประชุม มี 4 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวม200 คน ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบข้อมูลอย่างชัดเจนและเพิ่มความระมัดระวังในการสั่งของผ่านออนไลน์ 2.สามารถใช้สื่อ Facebook/Line และการแต่งภาพในการจัดกิจกรรม
3 ทราบแนวทาง การแจ้งความในกรณีที่ถูกโกงได้อย่างถูกต้องกลุ่มมิชฉาชีพ การใช้สื่อในการลงโซเชี่ยลอย่างระมัดระวัง

 

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียน คืนข้อมูลสู่ชุมชน นำเสนอและประกวดผลงาน มอบรางวัล และทำข้อตกลง(ธรรมณูญเตรียมรองรับสูงวัยตำบล) 1 ต.ค. 2565 30 พ.ค. 2566

 

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียน คืนข้อมูลสู่ชุมชน นำเสนอและประกวดผลงาน นวัตกรรม ของหมู่บ้าน 4 มิติ - มีการคัดเลือกบุคคลต้นแบบ ทั้ง 4 มิติ พร้อมบ้านต้นแบบตัวอย่าง - การจัดป้ายนิทรรศการผลงานที่ดำเนินกิจกรรมที่ทำมาแล้ว - ทำข้อตกลง(ธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ตำบล

ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ม.4 ต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ 222 คน ประกอบด้วย กลุ่มคนอายุ 35-59 ปี, กลุ่มผู้สูงวัย , รพ.สต.เกาะสุกร, อบต., อสม., สภาองค์กรชุมชนต.เกาะสุกร และคณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง (นางสุวณี สมาธิ-ผู้จัดการ, นางจำเนียร มานะกล้า-พี่เลี้ยงโครงการ) มีการจัดกิจกรรม อาทิ เช่น 1.ผู้ได้รับรางวัลพร้อมเกียรติบัตร 8 คน จากมิติด้านต่าง ๆ เช่น มิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสภาพแวดล้อม มิติสังคม 2.ผู้ได้รับรางวัลพร้อมเกียรติบัตร 10 คน จากบ้านตัวอย่าง ที่มีห้องน้ำถูกลักขณะของผู้สูงอายุ และบริเวณบ้านที่สะอาด เรีบยร้อย 3.การสรุปผลงานที่ผ่านมาในการจัดกิจกรรม ที่ร่วมทำกันมา ในทุกด้านทั้ง 4 มิติ 4.การเสนอประชาคมสัญญาร่วมกันในข้อตกลงรัฐธรรมนูญตำบล

 

การถอดบทเรียนชุดความรู้เตรียมรองรับสูงวัย 1 ต.ค. 2565 30 พ.ค. 2566

 

การถอดบทเรียนชุดความรู้เตรียมรองรับสูงวัย ในหัวข้อการสังเคราะห์บทเรียน Model 1.ข้อมูลทั่วไปของ Model 2.สภาพบริบทของ Model 3.กลไกการดำเนินงาน (การก่อตัวกลไก การจัดการกลไก) 4.ผลลัพธ์การดำเนินงาน (OCกลไก,OCสุขภาพ 5.ปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการดำเนินงานตาม Model

ณ ห้องประชุมอัมมาร์ ต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม 10 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ และคณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง (นางสุวณี สมาธิ-ผู้จัดการ, นางจำเนียร มานะกล้า-พี่เลี้ยงโครงการ) ผลการสรุป 1.ข้อมูลทั่วไปของ Model  เป็นข้อมูลประชากร 35-60 ปีขึ้นไป แบ่งชาย หญิง อาชีพ 2.สภาพบริบทของ Model  เป็นส่วนข้อมูลของตำบล 3.กลไกการดำเนินงาน (การก่อตัวกลไก การจัดการกลไก) การก่อตัวจัดตั้ง การรวมกลุ่มคนทำงาน ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคีกลุ่มต่างๆ 4.ผลลัพธ์การดำเนินงาน (OCกลไก,OCสุขภาพ กิจกรรมตามผลลัพธ์บันได 5.ปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการดำเนินงานตาม Model เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินงานครั้งต่อไป

 

ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 1 ต.ค. 2565 30 พ.ค. 2566

 

จัดทำป้ายไวนิล สรุปผลการดำเนินงานโครงการสามภาคี สานพลัง เตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะสุกร

 

ป้าย 1 แผ่น  ใช้ในกิจกรรมการถอดบทเรียนชุดความรู้เตรียมรองรับสูงวัย

 

เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1 1 ต.ค. 2565 17 พ.ย. 2565

 

ประชุมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ประเด็น สามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการย่อยสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ 2. เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่

ณ ห้องประชุมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

 

ผู้เข้าร่วมประชุมรวม ๗๐ คน โดยมีตัวแทนคณะทำงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะสุกร จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นางสุริยา เพชรอินทร์ 2.นางเสาวลักษณ์ ขาวดี 3.นางสาวชลนา ปากบารา 4.นางสาวเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส และนายนเรศ ไชยเทพ โดยมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการที่ผ่านมาและการทำงานการขับเคลื่อน 1.วิทยากรนำกระบวนการ เรียนรู้ โดย นางธิดารัตน์ สุภานันท์ และทีมช่วงที่ 1 ตัวแทนโครงการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้และบทเรียนการดำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ อปท/ตำบล 2.ช่วงที่ ๒ วิเคราะห์ภารกิจงานตามบันไดผลลัพธ์ตัวชี้วัด อะไรทำได้ดี เพราะอะไร อะไรที่ยังทำไม่ได้ เพราะอะไร หากจะทำให้ได้ ควรปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้(วิเคราะห์แยกตามกลุ่มเป้าหมาย ๓๕-๖๐ ปี และเป้าหมาย ๖๐ ปีขึ้นไป) กลุ่มที่ ๑ มิติด้านสังคม วิทยากรนำคุย นางโสภา คงมา และนางสาวศรีหัทยา ชูสวรรณ นายพิศิษฏพงค์ ปัญญาศิริพันธุ์แขกรับเชิญพิเศษ ผู้ประธานชมรมผู้สูงอายุจังหวัดตรังและประธานสภาองค์กรคนพิการทุกประเภท จังหวัดตรัง กลุ่มที่ ๒ มิติด้านสุขภาพ วิทยากรนำคุย นายจรัส วงษ์วิวัฒน์และนางจำเนียร มานะกล้าและนายสมโชค สกุลส่องบุญศิริและนายอาธร อุคคติแขกรับเชิญพิเศษ นางณินท์ญาดา รองเดช ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ อดีต ผู้รับผิดชอบ งานมะเร็ง บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มที่ ๓ มิติด้านการปรับสภาพแวดล้อมปลอดภัย วิทยากรนำคุย และนายตรีชาติ เลาแก้วหนูแขกรับเชิญพิเศษ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดตรัง* และผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง* กลุ่มที่ ๔ มิติด้านเศรษฐกิจและการออม วิทยากรนำคุย นายนบ ศรีจันทร์และนายสายัณ ชูฤทธิ์* แขกรับเชิญพิเศษ ประธานกองทุนหมู่บ้านและชุมชน(กทบ.) จังหวัดตรังประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จังหวัดตรัง 3.ช่วงที่ ๓ ทบทวนตัวเอง เพื่อปรับปรุงงาน (แบ่งกลุ่ม ๑๑ โครงการย่อย)/ -ทบทวนปัญหา และอุปสรรค -ระบุวิธีการแก้ปัญหา ไปสู่รูปธรรม

 

เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่2 1 ต.ค. 2565 3 พ.ค. 2566

 

ประชุมประเมินผลลัพธ์ในการดำเนินงานตามโครงการ เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับจังหวัด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการย่อย และการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ 2. เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่

ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

 

ตัวแทนคณะทำงานโครงการย่อยเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะสุกร จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นางสาวเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส 2.นางสาวชลนา ปากบารา 3.นางวิลาศ แวกาจิ และ 4.นางสุรียา เพชร์อินทร์
สรุปผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการ 1. เป้าหมาย/บันไดผลลัพธ์โครงการย่อยต่อประเด็นยุทธศาสตร์ -สรุปบทเรียนและข้อเรียนรู้สำคัญในช่วงที่ผ่านมา ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามบันไดผลลัพธ์หน่วยจัดการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งในส่วนที่เป็นปัจจัยสำคัญ เงื่อนไข ปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ควรทำ 2.ผลลัพธ์ความสำเร็จของโครงการย่อยตามโมเดล
- ขอให้ประมวลความสำเร็จจากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา 3. ผลลัพธ์การทำงานกับภาคียุทธศาสตร์ - ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานกับแต่ละภาคียุทธศาสตร์ในช่วงที่ผ่านมา ตามบันไดผลลัพธ์ความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
4.บทเรียนรู้ด้านการบริหารโครงการ

 

เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับทาง สสส. 1 ต.ค. 2565 27 พ.ค. 2566

 

ลงการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมhappy network ของโครงการสามภาคีสานพลังฯ ณ ร้านทางเลือก

 

ลงการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมhappy network ของโครงการสามภาคีสานพลังฯ สมบูรณ์ โดย 1.นางสาวเสาวภาคย์ ชุติวโรภาส และ 2.นางสาวรุ่งลาวัณย์ ใจสมุทร

 

อบรมให้ความรู้คณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 6 ต.ค. 2565 6 ต.ค. 2565

 

  1. คณะทำงานอธิบายถึงวัตถุประสงค์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ สภาพแวดล้อมและ สถานการณ์ ของกลุ่มผู้สูงอายุ และเตรียมความพร้อม
  2. วิทยากร บรรยาย เรื่องด้านสุขภาพ เกี่ยวกับ พฤติกรรมสุขภาพ เช่น รอบเอว ดัชนีมวลกาย ในการดูแล และโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง(LTC) มิติด้านสังคม เรื่อง การตั้งโรงเรียนสูงอายุ/ชมรมผู้สูงอายุ มิติด้าน สภาพแวดล้อม มีการอบรมช่างอบต. และช่างชุมชน ทางพื้นที่มีความพร้อมวิทยากร เพิ่มเติมแหล่งงบประมาณ และช่างเป็นทีมงาน ได้ดูแลปรับสภาพบ้านและพื้นที่สาธารณะ ส่วนด้านเศรษฐกิจการออม กับสถาบันการเงิน ประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ ซึ่งทางพื้นที่ มีการประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการ คนเข้าร่วมจำนวนมาก

ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ม.4 ต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย และคณะทำงาน โดยมีวิทยากร คือ 1.นางโสภา คงมา 2.นายพิศิฏพงค์ ปัญญาศิริพันธุ์ และ 3.นายจรัส วงษ์วิวัฒน์
1. คณะทำงานสามารถอธิบายถึงบทบาทหน้าที่ และการทำงานของตนเองได้ดีและความเข้าใจการทำงาน 4 มิติ และนำความรู้ไปใช้ในการประชุมกลุ่มเป้าหมาย 200 คนจาก จำนวน 4 หมู่บ้านซึ่งได้กำหนดวันที่ประชุม 18-21 ตุลาคม 2565 ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์กศน.และรพสต. ตามเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
2. กลุ่มเป้าหมายเข้าใจสถานการณ์สังคมสูงวัยและความจำเป็นในการดำเนินเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และเข้าใจแนวปฏิบัติสำคัญในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 1 ก.พ. 2566 31 มี.ค. 2566

 

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนการทำงาน(ARE)
1.แสดงผลลัพธ์ใต้บันได 5 ขั้น ในทุกมิติ ที่จัดกิจกกรมมา ลงในกระดาษแผ่นชาร์ต 2.ผลลง่านที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้าง 3.จุดเด่น จุดด้อย สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

ณ ห้องประชุม อบต. เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการ ปกครองท้องที่ และคณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง ผลการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนการทำงาน(ARE) ดังนี้ 1.แสดงผลลัพธ์ใต้บันได 5 ขั้น ในทุกมิติ ที่จัดกิจกกรมมา ปัจจุบันดำเนินการครบทั้ง 4 ขั้น 2.การดำเนินงานแต่ละขั้นที่ผ่านมาได้รับการร่วมมือทุกฝ่าย 3.งานที่ยังไม่ได้ทำสำเร็จคือ บ้านที่ของบไม่อาจทำได้ครบ 3 หลัง เนื่องจากติดปัญหาเรื่องที่ดินในการปลูกสร้างปรับปรุง 4.กำหนดกิจกกรมที่เหลือให้แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 1 ก.พ. 2566 23 พ.ค. 2566

 

คณะทำงานทุกท่านเข้าร่วมประชุม งานที่ต้องชี้แจง ดังนี้ 1.ค้นหาบุคคลต้นแบบ 4 มิติ
2.เวทีประชาคมร่างรัฐธรรมนูญสุขภาพตำบลเกาะสุกร 3.ถอดบทเรียนตำบล 4.การสำรองจ่ายเงิน งวดที่ 2

ณ ห้องประชุม อบต.เกาะสุกร

 

ผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน วาระการประชุมในคณะกรรมการ ดังนี้ 1.คัดเลือกบุคคลต้นแบบ ทั้ง 4 มิติน ที่เข้าร่วมโครงการ ได้จำนวน 4 คน ดังนี้ - มิติสุขภาพ คัดเลือกจากการตรวจสุขภาพก่อนและหลัง กิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- มิติสภาพแวดล้อม คัดเลือกจากสภาพแวดล้อมบ้าน สภาพบ้านที่ถูกลักขณะ การอยู่อาศัยของคนในบ้าน - มิติเศรษฐกิจ คัดเลือกจากการใช้ใช้จ่ายในบ้าน การประกอบอาชีพ การออมเงินในรูปแบบต่างๆ การใช้เศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวปรัชญา - มิติสังคม คัดเลือกจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ
2.คัดเลือกบ้านต้นแบบ 4 หลัง ใช้หลักเกณฑ์คัดเลือกจากสภาพแวดล้อมบ้าน สภาพบ้านที่ถูกลักขณะ การอยู่อาศัยของคนในบ้าน เน้นผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน 3.ถอดบทเรียนตำบล 4.การสำรองจ่ายเงิน งวดที่ 2 ต้องจัดกิจกรรมให้ครบ แล้วคีย์ในระบบ ทางโครงการจึงจะโอนเงินงวดที่ 2
5.การร่างประชาคมเวทีธรรมนูญสุขภาพตำบล โดยให้ประชาชนรองรับการทำเวทีประชาคม

 

จัดประชุม กลุ่มเป้าหมาย 4 หมู่บ้าน 1 ครั้ง หลังดำเนินกิจกรรม เพื่อติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 มี.ค. 2566 26 เม.ย. 2566

 

จัดกิจกรรมหลังดำเนินกิจกรรม เพื่อติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คัดกรองรอบ 2

1.เตรียมข้อมูลของผู้เข้าร่วมโครงการให้กับอสม.และเจ้าหน้าที่ ในการลงบันทึก 2.ให้ความรู้ในการเตรียมพร้อมทางด้านร่างกายให้กับผู้เข้าร่วมโครงการก่อนมาเจาะเลือด วัดความดัน รอบเอว

ณ รพ.ส.ต.เกาะสุกร จ.ตรัง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ 201 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน, อสม.ทั้ง 4 หมู่บ้าน และประชาชน ต.เกาะสุกร ผลการดำเนินงาน ดังนี้ - ผู้ทีมีเบาหวาน(เดิม) เพิ่มขึ้น 3 % - ผู้ที่มีความดัน(เดิม) ลดลง 4 % - ผู้ที่มีเบาหวาน(ใหม่) เพิ่มขึ้น 5 % - ผู้ที่มีความดัน(ใหม่) เพิ่มขึ้น 5 %

 

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่3 (ใช้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง2ระดับจังหวัด) 1 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

จัดประชุม คณะทำงาน เพื่อ ติดตาม ประเมิน ปัญหาอุปสรรค เตรียมพร้อม ก่อนประชุม กลุ่มเป้าหมาย 6 เม.ย. 2566 18 เม.ย. 2566

 

จัดคณะทำงานปฏิบติลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 หมู่บ้าน จัดกระบวนการด้านงาน 4 มิติ ดังนี้ มิติด้านสุขภาพเพื่อ ติดตาม ประเมิน  ปัญหาอุปสรรค เตรียมพร้อม ก่อนประชุม กลุ่มเป้าหมาย 200 คน

ณ ห้องประชุม รพ.สต.เกาะสุกร จังหวัดตรัง

 

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน ประกอบด้วย อสม., นักวิชาการสาธารณะสุข และคณะทำงานโครงการสูงวัย ต.เกาะสุกร มีการแบ่งอสม เข้าร่วมกิจกรรม หมู่บ้าน ละ 5 คน โดยมีการวางแผนในการแบ่งผู้เข้าร่วมโครงการแยกทั้ง 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 50 คน เพื่อสะดวกในการให้ข้อมูลและบันทึกผลการวัดความดัน เบาหวาน รอบเอว