directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดตรัง


“ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา ”

ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์

ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา

ที่อยู่ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0007 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-00-0144-0007 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 ประชากร สูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 ทั้งนี้ในปี 2562 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก และจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ในอีกไม่ถึง 20 ปี(พ.ศ 2578) ซึ่งโครงสร้าง อายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้เท่ากับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมโดยรวมด้วย สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2565มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.12 ล้านคน คิด เป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อย ละ 96 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดยส่วน ใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจกรรมของ กิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(ติดเตียง)ประมาณร้อยละ 1 โดยส่วนใหญ่อยู่ ในวัยมากกว่า 80 ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วยวัยปลายหรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงสะท้อนถึง การเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ แม้ว่าประชากรไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และ โอกาสที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมีทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหา สำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุ ไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกาย เป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้ งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวัง ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มี ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและ ป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่ง ผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิงเกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณและโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิด การเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มี หลักฐาน สำหรับจังหวัดตรังพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 17.24 และประชากรอายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 64.84 ประชากรอายุ 0.14 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.51 เพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ ๐.๒๑ ภายในปี ๒๕๗๒ จะมีประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๓๐ ของประชากรจังหวัดตรังซึ่งจะ ทำให้จังหวัดตรังเข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอด (ข้อมูลเมื่อ เดือน ธันวาคม 2564) สถานการณ์ประชากรในจังหวัดตรังสามารถจำแนกเป็นกลุ่มสูงอายุส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ ต้องพึ่งผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๒๙ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 3.71 เป็นผู้สูงอายุที่ต้อง พึ่งพิง ประชากรกลุ่มอายุ ๕๐-๕๙ ปีป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๒.๒๒ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๐.๓๐ ประชากรกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๘ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๗.๒๔ (ที่มา: HDC Report สสจ.ตรัง, กันยายน ๒๕๖๒) ทั้งนี้จากการทำงานของ Node Flagship จังหวัดตรังปี 2563-2564 ใน 11 พื้นที่ตำบลพบว่า สถานการณ์และสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมี พฤติกรรมกินอาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของ หน่วยงานที่ผ่านมาเน้นการรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยง ยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับมากนัก (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุมีภาระเลี้ยงดูลูกหลานบ้างอยู่ตามลำพังมีภาระเรื่องการประกอบอาชีพ ทำให้ไม่สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้สม่ำเสมอ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สมาชิกกลุ่มชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สมาชิกกลุ่มอายุ40-59 ปียังมีจำนวนน้อย และขาด กำลังคนในวัยทำงานมาเสริมการทำงานของชมรมผู้สูงอายุ (3) มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตเนื่องจากมีภาระเลี้ยงดู ลูกหลาน ขาดเงินออมที่เพียงพอและมีหนี้สิน สำหรับกลุ่มอาชีพการรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งอีกทั้งกลุ่มอายุ 40-59 ปียังขาดการออมและวางแผนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (4) มิติด้านสภาพแวดล้อม พบว่า บ้านและพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด และสถานที่ราชการ ยังขาด การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ขาดราวจับในห้องน้ำ มีพื้นที่ต่าง ระดับที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ การใช้โถนั่งยอง การติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ราว จับ ที่ไม่ถูกต้อง ช่างชุมชนและท้องถิ่นที่มีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุมีน้อย รวมถึงการสร้างบ้านของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงการพร้อมใช้เมื่อเป็นผู้สูงอายุ 6 ตำบลท่าพญา ปัจจุบันมีประชากร 3,238 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุรวม 691 คน คิดเป็นอัตราร้อย ละ21.34 ของประชากรทั้งหมด(ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอปะเหลียน) ส่วนข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลท่าพญา มีประชากรที่อยู่จริง 2,241 คน ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 558 คน คิดเป็นร้อยละ 24.90 นับเป็น การก้าวขึ้นเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปัจจุบันมีผู้สูงอายุบางส่วนอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ได้รับการดูแล อย่างเหมาะสม จะเป็นภาระของสังคมที่จะต้องเข้ามาจัดการหรือดูแล คณะกรรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย เทศบาลตำบลท่าพญาได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย ที่เริ่มปรากฏขึ้นในเขต ตำบลท่าพญา ไม่ว่าปัญหาด้านสาธารณสุข ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดัน เบาหวาน และ โรคซึมเศร้า ด้านสังคม ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มน้อย ด้านเศรษฐกิจ พบว่าผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอต่อรายจ่าย ขาด เงินด้วยเหตุนี้ทุกองค์กรในตำบลท่าพญาจำเป็นต้องมีการพัฒนาหรือเสริมศักยภาพให้กับกลุ่มเตรียมรองรับสังคมสูง วัยเริมตั้งแต่ อายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตปัญญา สังคม เศรษฐกิจ เทศบาลตำบลท่าพญามีกลุ่มองค์กรต่างๆหลายภาคส่วนที่จะเข้ามาร่วมเป็นกลไกในการส่งเสริมการ เตรียมการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประกอบด้วยภาคท้องถิ่นนำโดยนายกเทศมนตรีตำบลท่าพญา กำนันผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าพญา อสม. ภาคการศึกษา(สำนักงานกศน.) ภาคประชาชน เช่น ชมรม ผู้สูงอายุ อผส. ข้าราชการเกษียณ ร่วมทั้งผู้สนับสนุนงบประมาณทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย สสส. สปสช. เทศบาล และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ภายใต้โครงการ สป.สว สนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย โดยภาคีเครือข่ายต่างๆ มีเป้าหมายเพื่อให้คนในเทศบาลตำบลท่าพญามี สุขภาวะที่ดีเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
  2. 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  3. 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
  4. 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
  5. 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  6. 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  2. พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  3. พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ
  4. คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  5. พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
  6. ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  7. บัญชีธนาคาร
  8. จัดทำฐานข้อมูลผู้เข้าร่วม โครงการฯ
  9. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1
  10. ประชาสัมพันธ์สร้างการ รับรู้ตำบลท่าพญาเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
  11. อบรมช่าง ท้องถิ่น /ช่างชุมชน
  12. ปรับสภาพพื้นที่สาธารณะ
  13. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย
  14. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  15. ประชุมปฐมนิเทศโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ
  16. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)
  17. จัดทำข้อมูลกลุ่มเปราะบาง
  18. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)
  19. พัฒนาคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1
  20. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ
  21. ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 2
  22. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
  23. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  24. อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิต
  25. อบรมให้ ความรู้หลัก 3 อ
  26. กิจกรรมให้ความรู้หลัก 3 อ
  27. ดำเนินการร้านค้าลดหวาน มัน เค็ม
  28. ติดตาม ประเมินผล
  29. ค่าประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ
  30. ค่าจัดทำบัญชี
  31. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ
  32. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  33. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1
  34. จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินโครงการ
  35. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2
  36. เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส.
  37. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 3)
  38. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 4)
  39. อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ (2)
  40. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 6)
  41. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 4
  42. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 1
  43. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 1
  44. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 2
  45. ประชาคมระดับตำบลเพื่อรับรองธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปฐมนิเทศโครงการย่อยเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ ณ วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนคณะทำงาน 3 คน ประกอบด้วย 1.นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์ 2.นางสาวรัชนี อารีย์รักษ์ และ 3.นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ ได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงานโครงการ สำหรับผู้รับทุน รายละเอียดโครงการ การดำเนินโครงการ และการรายงานผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

 

3 0

2. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงโครงการแก่คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยมีพี่เลี้ยง และผู้เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม จำนวน 21 คน ประกอบด้วย นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน, ชมรมผู้สูงอายุ, รพ.สต.ท่าพญา, กศน. ต.ท่าพญา, เทศบาลตำบล และคณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง ซึ่งคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง รับรู้แนวทางการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย พี่เลี้ยงชี้แจงแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินโครงการ

 

0 0

3. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ใน 4 มิติ ณ ม.อ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานจำนวน 5 คนเข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชนต้นอบบในภาคใต้ การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ประกอบด้วย 1.นายวิษณุ ปราบโรค-รพ.สต.ท่าพญา 2.นางกุสุมา กุลบุญ-ชมรมผู้สูงอายุ 3.นางสุวรรณรัตน์ ส่งศรี-ผญบ. ต.ท่าพญา 4.นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ และนายนิรัตน์ รัตนสุรการย์ ทต.ท่าพญา โดยผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และแนวทางในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยมากขึ้น

 

3 0

4. อบรมช่าง ท้องถิ่น /ช่างชุมชน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ส่งช่างชมชนเข้าร่วมอบรมกับ มอ.ตรัง ณ วัดไร่พรุ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยสำหรับคนทุกช่วงวัยเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถมาเป็นช่างในชุมชนมาช่วยในการปรับสภาพบ้านให้เหมาะสมเตรียมรองรับสังคมสูงวัยต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ช่างชุมชน จำนวน 2 คน ประกอบด้วย 1. นายธีระวัฒน์ ทองฤทธิ์ 2. นายวิโชค ชูตั้น เข้าร่วมอบรมเสริมความรู้ที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังจัดขึ้นทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยสำหรับคนทุกช่วงวัยเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น

 

0 0

5. ปรับสภาพพื้นที่สาธารณะ

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปรับสภาพแวดล้อมห้องน้ำสาธารณะโรงเรียนผู้สูงอายุ ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการเปลียนแปลงสภาพห้องน้ำบริเวณโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา โดยเปลี่ยนโถ ส้วม สายฉีด ทำทางลาดพร้อมราวจับห้องน้ำใหม่ทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่มาทำกิจกรรมลดปัญหาอุบัติเหตุ

 

0 0

6. จัดทำข้อมูลกลุ่มเปราะบาง

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ประชุมวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดทำข้อมูลกลุ่มเปราะบาง ณ ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สำรวจข้อมูลกลุ่มเปราะบางในตำบลท่าพญาและประชุมผู้จัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญ โดยมีครอบครัวเราะบางทั้งสิ้น 42 ครอบครัว โดยเทศบาลตำบลท่าพญาจะประสานพัฒนาสุงคมและความมั่นคงของมนุษย์ต่อไป

ผู้สำรวจกลุ่มเปราะบาง ต.ท่าพญา ดังนี้

  1. ม.1-นางสาวทรายทอง ทองสุข, นางสาวมนต์นภา พิชัยรัตน์
  2. ม.4-นางสาวณัจธิร์ยา ชูแสง, นางสาวปิยะวรรณ ส่งศรี
  3. ม.3-นายธฤต กังแฮ, นายไกรวิชญ์ อินทร์ช่วย
  4. ม.2-นายปรีชา นิเวศประเสริฐ, นายทรงพล ศรีเทพ

 

0 0

7. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สำรองเปิดบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สำรองเปิดบัญชี

 

0 0

8. ประชาสัมพันธ์สร้างการ รับรู้ตำบลท่าพญาเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญาโดยการจัดทำป้ายโครงไม้พร้อมติดตั้งประชาสัมพันธ์การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ ติดไว้ 4 หมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายประชาสัมพันธ์หมู่ที่ 1-4 จำนวน 4 แผ่น

 

0 0

9. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอายุ

วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้แก้นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมสู่การรองรับสังคมสูงวัย ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา จำนวน 41 คน พร้อมด้วยคณะวิทยากร คณะทำงานจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การเข้าสู่สังคมสูงวัย 4 มิติ ทั้งด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว สังคมการรวมตัวรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในตำบลเช่นกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม และจิตอาสา ด้านสภาพแวดล้อมครัวเรือนไหรพร้อมปรับสภาพทางเดินและห้องน้ำให้เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย เศรษฐกิจ เน้นให้ผู้สูงอายุมีการออมในรูปแบบเงินฝากและปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ว่างเปล่า

 

0 0

10. จัดทำฐานข้อมูลผู้เข้าร่วม โครงการฯ

วันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถ่ายเอกสารสมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 200 เล่ม เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 ราย ประกอบด้วย กลุ่มประชาชน อายุ 35-59 ปี จำนวน 160 ราย และอายุ 60 ขึ้นไป จำนวน 40 คน โดยให้ทีมงาน อสม.เป้นผู้คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดพร้อมแจกสมุดบันทึกสุขภาพให้แต่ละรายไปบันทึกและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวกโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เอกสารเล่มบันทึกข้อมูลสุขภาพสำหรบผู้เข้าร่วมโครงการ 200 เล่ม
มีวัสดุอุปกรณ์ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอและเหมาะสม

 

0 0

11. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)

วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรม บันทึกรายงานการเงินในระบบ HappyNetwork ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน คือ 1.นางสาวรัชนี อารีรักษ์ และ 2.นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ ได้เรียนรู้การใช้ระบบรายงานเพื่อความถูกต้อง

 

3 0

12. ค่าประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานงวด เอกสารการจัดกิจกรรม และประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสานงานคณะกรรมการเพื่อเข้าร่วมประชุม การจัดทำเอกสารรายงานการเงินประจำงวด บันทึกข้อมูลเข้าระบบ และการพิมเอกสารรายงาน การจัดประชุม โดย นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์

 

2 0

13. อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ ครั้งที่ 1

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (กลุ่มอายุ 35-59 ปี) และผู้สูงอายุ ทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ในการเตรียมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ณ ศาลาการเปรียญวัดท่าพญา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 111 คน อบรมความรู้เตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ โดยวิทยากร 3 คน คือ 1.นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์-บรรยายบันไดผลลัพธ์เตรียมรองรับสังคมสูงวัยต.ท่าพญา 2.ร.ต.ต.สุทธิณัฐ เส้งรอด และนายจำรูญ ทองขำดี -บรรยายและปฏิบัติ (วิทยากรกลุ่ม) หัวข้อ "การเตรียมรองรับเข้าสู่สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ อย่างมีคุณภาพ" ซึ่งช่วงเช้าความเป็นมาของโครงการและแนวทางการพัฒนาสู่บันไดผลลัพธ์ทั้ง 5 ขั้น และช่วงบ่ายให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ ผู้เข้าร่วมได้รับทราบความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันและรักษาโรค  ด้านสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในสถานที่ต่างๆอย่างปลอดภัย  ด้านเศรษฐกิจ การออมในรูบแบบต่างๆการออมก่อนแก่ การจัดทำบัญชี การหารายได้เพิ่ม  ด้านสังคม การรวมกลุ่มทางสังคม กิจกรรมทางสังคม เพื่อพัฒนาด้านอารมย์และการช่วยเหลือสังคม อีกทั้งผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ

 

0 0

14. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 3)

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในโรงเรียนผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 3) ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าพญาหลังเก่า (รร.ผู้สูงอายุ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม จำนวน 31 คน 1.กิจกรรมให้การเรียนรู้ เรื่องการออม และการอกกำลังกายโดยใช้กลองยาว 2.การให้ความรู้การออม เงิน ออมต้นไม้ มอบต้นไม้เพื่อให้นักเรียนไปปลูกที่บ้าน 3.การออมเงินรายเดือน การจัดทำบัญชีรับจ่ายและการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำกลองยาว ทำให้นักเรียน ได้ออกกำลังกายโดยการรำและสันทนาการ เกิดการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ

 

0 0

15. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ยกระดับการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย จังหวัดตรัง รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรค ของการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคประชาชน อสม.คือ 1.นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ 2.นางกุสุมา กุลบุญ 3.นางจุรีย์ สว่างรัตน์ และ 4.นางสุกานดา ส่งศรี  ได้รับทราบวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อทบทวนการดำเนินงานของโครงการย่อย รับฟังคำบรรยายของผู้ทรงคุณวุฒิทราบถึงแนวทาง การดำเนินโครงการและบทเรียนพื้นที่ต่างๆและวิเคราะแนวทางการขับเคลื่อนโครงการในอนาคต

 

3 0

16. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 4)

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 4) ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าพญาหลังเก่า (รร.ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม จำนวน 40 คน ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพขยับกายสบายชีวี การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อพัฒนาสมอง โดยเป็นการฝึกปฏิบัติสาธิตท่าทางและการร้องเพลงต่างๆ ซึ่งนักเรียนสามารถปฏิบัติได้

 

40 0

17. ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 6)

วันที่ 22 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการเรียนรู้ ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 6) ณ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 51 คน โดยนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุได้เรียนรู้การจัดการขยะในครัวเรือน การคัดแยกขยะ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้

 

0 0

18. ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1

วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมกำหนดแผนการลงพื้นที่และแบ่งหน้าที่แต่ละหมู่บ้าน ณ รพ.สต. ท่าพญา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน ในการประชุมคณะอนุกรรมการด้านสุขภาพเพื่อวางแผนกำหนดแนวทางและขั้นตอนการลงพื้นที่ให้ความรู้ด้านเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กำหนดวันในการจัดทำกิจกรรมร้านลดหวานมันเค็ม การคัดกรองสุขภาพประชาชนในพื้นที่

 

0 0

19. ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ

วันที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมพัฒนาศักยภาพของคณะทำงานโครงการและคณะอนุกรรมการด้านสุขภาพเพื่อให้ความรู้แนวทางการดำเนินงานวิธีการปฏิบัติงาน ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน คณะอนุกรรมการด้านสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจโครงการและวิธีการทำงานแต่ละประเด็นเกิดการแตกย่อยงานเป็นประเด็นเน้นสุขภาพ โดยสามารถหาเจ้าภาพหลักด้านสุขภาวะ คือ รพ.สต.ท่าพญาจะรับดำเนินการในมิตินั้นร่วมกับอสม.โดยมีผู้เข้าร่วมจาก 3 ภาคีจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ, ทต.พญา, อสม., รพ.สต.ท่าพญา, สสจ.ตรัง, อบต. และ เทศบาล ต.ท่าพญา โดยมีวิทยากร คือ นายพิศิษฏพงค์ ปัญญศิริพันธุ์ และนายเชภาดร จันทร์หอม ในการทบทวนการดำเนินโครงการกิจกรรมด้านสุขภาพเพื่อการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สำหรับการดำเนินโครงการ ต.ท่าพญาต่อไป

 

0 0

20. อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ (2)

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 07:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การอบรมให้ความรู้การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ ครั้งที่ 2 กำหนดการ คือ 1.ลงทะเบียน 2.ตรวจสุขภาพเบื้องต้น และ 3.ให้ความรู้การเตรียมสังคมสูงวัย 4มิติ เน้นปัญหาสุขภาพ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลวัดท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 160 คน วิทยากร คือ นางสาวสุพินดา ติ้งซุ่ยกุล โดยผู้เข้าร่วมได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นวัดความดัน ชั่งน้ำหนัก เจาะเลือด วัดรอบเอว เพื่อประเมินอาการเบื้องต้นหากมีความผิดปกติจะนัดหมายเเพื่อตรวจซ้ำ และติดตามที่ รพ.สต.ต่อไป และให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเช่นก การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสร้างอารมณ์ให้สดใส่ห่างไกลโรค

 

0 0

21. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ครั้งที่ 2 เพื่อแสดงความคิดเห็น และติดตามการดำเนินกิจกรรมโครงการ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมติดตามการดำเนินงานคณะทำงาน 21 คน และผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน, คณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง (นายเชภาดร จันทร์หอม-ผู้ประสานงาน และนางจำเนียร มานะกล้า-ที่ปรึกษา) และภาคประชาชน โดยชี้แนะแนวทางการขับเคลื่อนของคณะกรรมการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังจากสรุปเกิดแผนการดำเนินงานการลงพื้นที่จัดทำประชาคมธรรมนูญสุขภาพระดับหมู่บ้านและระดับตำบล

 

0 0

22. ดำเนินการร้านค้าลดหวาน มัน เค็ม

วันที่ 23 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจงกิจกรรม 2.หาร้านสมัครใจ 3.อบรม
4.วีดีทัศน์ 5.สรุปร้านเข้าร่วม 6.ประเมินร้านค้า

ณ ห้องประชุม รพ.สต.ท่าพญา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ร้านค้าจำนวน 15 ร้านเข้าร่วมโครงการร้านลดหวานมันเค็มและลดโฟม ร้านค้ามีความรู้และแนวทางในการปรับพฤติกรรมการประกอบอาหาร ซึ่งรพ.สต.ร่วมกับ อสม.ลงประเมิน ติดตามร้านค้า และมอบป้ายร้านค้าที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 ร้าน และร้านต้นแบบ 1 ร้าน

 

0 0

23. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 28 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมโครงการ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงาน 21 คน และผู้เกี่ยวข้อง ประกอบกอบด้วย นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน, ภาคประชาชน, คณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง (นางสาวศรีหัทยา ชูสุวรรณ-ผู้ทรงคุณวุฒิ และ นางสุวณี สมาธิ-ผู้จัดการ), ทต.ท่าพญา, อสม., รร.ผู้สูงอายุ, สภาองค์กรชุมชน, รพ.สต., ช่างชุมชน, และอบต.บางด้วน เพื่อทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาติดปัญหาอุปสรรคอะไรที่ทำให้งานเราไม่สามารถเดินได้ตามเป้าหมายและกำหนดทิศทางการเฃดำเนินงานในช่วงสุดท้ายก่อนปิดโครงการให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการให้แล้วเสร็จรวมทั้งดำเนินการเรื่องการจัดทำธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

 

0 0

24. ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 2

วันที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะอนุกรรมการด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2 เพื่อสรุปการทำกิจกรรมและวางแผนการลงพื้นที่ ณ รพ.สต.ท่าพญา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคณะกรรมการ จำนวน 10 คน ในการสรุปผลการดำเนินตามกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายกิจกรรมการให้ความรู้มีผู้ร่วมโครงการ 160 คน มีการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและการให้ความรู้การดูแลสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ

 

0 0

25. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการย่อย และการขับเคลื่อน การทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ ร่วมถึงรับฟัง แลกเปลี่ยนบทเรียน สรุปบทเรียน นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการ ระยะดำเนินการตั้งแต่ 1 พ.ค.65-31 มี.ค.66 ณ อาคารเรียนรวม 1 ม.อ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์ 2.นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ 3.นางสุวรรณ ส่งศรี 4.นางกุสุมา กุลบุญ และ 5.นายวิษณุ ปราบโรค ได้รับทราบวัตถุประสงค์การประเมินครั้งที่ 2 ทบทวนบันไดผลลัพธ์ของตัวเองว่าดำเนินการถึงไหนสำเร็จมากน้อยแค่ไหน รวมถึงได้รับทราบผลของพื้นที่อื่นๆเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานเพื่อปรับปรุงตนเอง  ในช่วงสุดท้ายโครงการและกำหนดแผนในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบลท่าพญา

 

3 0

26. กิจกรรมให้ความรู้หลัก 3 อ

วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้หลัก 3 อ. ณ ศาลาการเปรียญ วัดท่าพญา ม.4 ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 36 คน ประกอบด้วย ชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น สุขภาพ และประชาชน) บรรยายให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลท่าพญา นำโดย นายกเทศมนตรีตำบลท่าพญา เจ้าพนักงานสาธารณสุขและนักพัฒนาชุมชน เริ่มการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายถูกวิธิสำหรับช่วงอายุต่างๆ เช่น การเต้นแอโรบิกหรือวิ่งสำหรับหนุ่มสาว การรำ รำมวย การเดิน สำหรับผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และการลดอาหารหวานมันเค็ม อารมจิตใจต้องสบายร่าเริ่งเสมอโดยการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม นันทนาการ

 

0 0

27. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 4

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กับชาวบ้าน ม.4 ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.4 ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 28 คน ประกอบด้วย ชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น สุขภาพ และประชาชน) โดยมีวิทยากร คือ นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ และนางสาวฐิติมา บุญเกื้อ ให้ความรู้เรื่องธรรมนูญสุขภาพของพื้นที่ต่างๆ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญหรือข้อตกลงที่คนหมู่ที่ 4 ที่สามารถทำร่วมกันและไม่กระทบต่อการใช้ชีวิต โดยจะนำข้อสรุปมาประชาคมระดับตำบลต่อไป

 

0 0

28. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 1

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กับชาวบ้าน ม.1 ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.1 ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 22 คน ประกอบด้วย ชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น สุขภาพ และประชาชน) โดยมีวิทยากร คือ นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ และนางสาวฐิติมา บุญเกื้อ ให้ความรู้เรื่องธรรมนูญสุขภาพของพื้นที่ต่างๆ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญหรือข้อตกลงที่คนหมู่ที่ 1 ที่สามารถทำร่วมกันและไม่กระทบต่อการใช้ชีวิต โดยจะนำข้อสรุปมาประชาคมระดับตำบลต่อไป

 

0 0

29. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 3

วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กับชาวบ้าน ม.3 ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.3 ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น สุขภาพ และประชาชน) โดยมีวิทยากร คือ นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ และนางสาวฐิติมา บุญเกื้อ ให้ความรู้เรื่องธรรมนูญสุขภาพของพื้นที่ต่างๆ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญหรือข้อตกลงที่คนหมู่ที่ 3 ที่สามารถทำร่วมกันและไม่กระทบต่อการใช้ชีวิต โดยจะนำข้อสรุปมาประชาคมระดับตำบลต่อไป

 

0 0

30. จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 2

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กับชาวบ้าน ม.2 ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.2 ต.ท่าพญา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 58 คน ประกอบด้วย ชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น สุขภาพ และประชาชน) โดยมีวิทยากร คือ นายชนพัฒน์ สุนทรกิจจาภรณ์ และนางสาวฐิติมา บุญเกื้อ ให้ความรู้เรื่องธรรมนูญสุขภาพของพื้นที่ต่างๆ และระดมความคิดเห็นธรรมนูญหรือข้อตกลงที่คนหมู่ที่ 2 ที่สามารถทำร่วมกันและไม่กระทบต่อการใช้ชีวิต โดยจะนำข้อสรุปมาประชาคมระดับตำบลต่อไป

 

0 0

31. ประชาคมระดับตำบลเพื่อรับรองธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมให้ความรู้ เสนอแนะ และรับรองร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.ท่าพญา ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาล ต.ท่าพญา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 62 คน ประกอบด้วย อบท.บางด้วน, อสม., กองการศึกษา, กศน.ต.ท่าพญา, กองคลัง/ทต.ท่าพญา, กองช่าง, รพ.สต., สภาองค์กรชุมชน, สมาชิกสภาเทศบาล, เลขานุการฯ นายกเทศมนตรี, นักวิเคราะห์นโยบายและแผน, สภาเด็กและเยาวชน จ.ตรัง, เทศบาลตำบล และโหนดเฟลกชิพตรัง วิทยากร คือ นายพิศิษฏพงค์ ปัญญาศิริพันธ์ุ ซึ่งให้ข้อเสนอแนะ ทบทวน เพิ่มเติมและการรับรองธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา ที่ได้รับจาก 4 หมู่บ้าน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการประชาคมระดับหมู่บ้านมาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ มาจากหลายๆภาคส่วน ประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง ครู ศพด. อผส.ชมรมองค์กรต่างๆในพื้นที่ รวม 60 คนเข้าร่วมโดยมีข้อสรุปร่วมกันประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพเตียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
ตัวชี้วัด :
15.00

ประกอบด้วยท้องถิ่น รพสต. สภาองค์กรชุมชน และผู้น้ชำท้องที่

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน 1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home
15.00

มีข้อมูลกลุ่มเปาะบางครอบคลุมทั้งตำบล และมีการนำระบบ imed @home

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง 2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย 2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน 2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80** มิติสภาพแวดล้อม 2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน 2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด 2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน มิติสังคม
200.00

มิติสุขภาพ 1. มีธรรมนุญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลท่าพญา 2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย 3 มีร้านลดหวานมันเค็มเข้าร่วมโครงการ 15 ร้าน 4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) มิติสภาพแวดล้อม 5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน 6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด 2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน มิติสังคม

4 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 มิติสังคม 3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10 3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ 3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25
200.00

1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 ได้มีการคัดกรองและใช้สมุดบันทึกสุขภาพทำการคัดกรองอย่างต่อเนื่องผลกลุ่มเป้าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด 2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเปิดการสอนเดือนละ 2 ครั้ง ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด 3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10 มีกลุ่ม อผส. และCG ลงเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงอย่างต่อเนื่อง 4 กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 ผ่านการฝึกอบรม 5 กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25 ไม่ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ

5 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : ด้านสุขภาพ 4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5 4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5 4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5 4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80
200.00

1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5 ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด 2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5 ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด 3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5 ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัด 4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 ผ่านเกรฑ์ตามตัวชี้วัด 5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ 6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80 รับรับการดูแล

6 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
ตัวชี้วัด : 5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล 5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่

1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล ได้ดำเนิการเรียบร้อย 2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่ได้จัดทำธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา และประกาศใช้เรียบร้อย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มี ศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล (2) 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (3) 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย (4) 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม (5) 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (6) 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (2) พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (3) พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ (4) คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (5) พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล (6) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (7) บัญชีธนาคาร (8) จัดทำฐานข้อมูลผู้เข้าร่วม โครงการฯ (9) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 (10) ประชาสัมพันธ์สร้างการ รับรู้ตำบลท่าพญาเตรียม รองรับสังคมสูงวัย (11) อบรมช่าง ท้องถิ่น /ช่างชุมชน (12) ปรับสภาพพื้นที่สาธารณะ (13) ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (14) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (15) ประชุมปฐมนิเทศโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ (16) ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) (17) จัดทำข้อมูลกลุ่มเปราะบาง (18) ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org) (19) พัฒนาคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 1 (20) ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ (21) ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 2 (22) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (23) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (24) อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิต (25) อบรมให้ ความรู้หลัก 3 อ (26) กิจกรรมให้ความรู้หลัก 3 อ (27) ดำเนินการร้านค้าลดหวาน มัน เค็ม (28) ติดตาม ประเมินผล (29) ค่าประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ (30) ค่าจัดทำบัญชี (31) จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ (32) ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (33) เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด  ครั้งที่1 (34) จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินโครงการ (35) เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด  ครั้งที่ 2 (36) เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส. (37) ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 3) (38) ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 4) (39) อบรมให้ ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ (2) (40) ส่งเสริม ความรู้การเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยในโรงเรียน ผู้สูงอาย (ครั้งที่ 6) (41) จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 4 (42) จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 1 (43) จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 1 (44) จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย หมู่ที่ 2 (45) ประชาคมระดับตำบลเพื่อรับรองธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา

รหัสโครงการ 65-00-0144-0007 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยการตืนคัวของผู้นำและภาคีขับเคลื่อนงาน

คำสั่งแต่งตั้ง การทำธรรมนูญสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ส่งเสริมการรับรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

การทำงานแบบสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ท้องถิ่น รพสต. ภาคประชาสังคม ท้องที่ ประชาชน ทำงานร่วมกัน

การทำงานเพื่อประชาชนควรใช้ภาคัในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

ภาครัฐควรทำงานเชิงรุก และภาคประชาชนหนุนเสริม

กิจกรรมด้านสุขภาพการตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ การออกแบบที่อยู่อาศัย

สร้างความร่วมมือภายในตำบลระหว่สงภาครัฐและประชาสังคม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

เกิดโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา

โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่าพญา

เทศบาลให้งบประมาณ ของกองทุนขับเคลื่อนงานต่อไปทุกปี

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

มีการออกกำลังกายในกลุ่มแกนนำออกกำลังกายและทีม อสม.

แกนนำออกกำลังกายของแต่ละหมุ่บ้าน

ใช้งบประมาณของ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

ร้านต้นแบบลดหวานมันเค็ม

ร้านอหารได้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับป้ายจาก รพสต.

ส่งเสริมกิจกรรมจาก รพสต.อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

บาสโลป และกีฬาประเภทต่าง ๆ

ภาพถ่าย และการคัดกรองสุขภาพ

ส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

ได้เล็กน้อย

ในครัวเรือน และงานเลี้ยงงานบุญ

ควรส่งเสริมและรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

การคัดแยกขยะ การทำถังขยะเปียก

การการบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น

ส่งเสริมกิจกรรม สำรวจ ตรวจ สอบ อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

ปรับพื้นที่สาธารณะให้ปลอดภัย เช่น วัด โรงเรียนผู้สุงอายุ สถานที่ราชการ เพิ่มทางลาด ลดพื้นต่างระดับ ปรับปรุงห้องน้ำ ห้องส้วม เพิ่มราวจับ

สถานที่ สาธารณะ วัดท่าพญาใน รร.ผู้สุงอายุ

เทสบาลได้ทำประกาศหลักการเกณฑ์การของอนุญาตก่อสร้างบ้าน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

เกิดธรรมนุญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา

ประกาศใช้ธรรมนุญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา

ติดตามผลการปฎิบัติตามธรรมนูญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

ธรรมนุญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา ขับเคลื่อนกิจกรรมทั้ง 4 มิติ

ประกาศใช้ธรรมนุญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา

ส่งเสริมและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

ธรรมนุญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา ขับเคลื่อนกิจกรรมทั้ง 4 มิติ

ประกาศใช้ธรรมนุญสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพญา

ส่งเสริมและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

ประเทศของเทศบาลตำบลท่าพญา เรื่องการขออนุญาตก่อสร้างบ้านเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ประกาศของเทศบาลตำบลท่าพญา

เชิงบังคับใช้ทุกคนที่มาขออนุญาต

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

เกิดภาคีสานพลังในชุมชน

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานงานสามภาคีสานพลัง

ขับเคลื่อนต่อไปโดยให้ท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

ได้มีการสำรวจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 มิติ ทำให้รับรู้ถึงปัญหาและร่วมกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาโดยให้ภาคีเตรือข่าย

ด้านสุขภาพ รพสต. อสม.ร่วมกับท้องถิ่น ด้านที่อยู่อาศัย ได้ให้สภาองค์กรชุมชน พมจ. และอบจ. ร่วมแก้ปัญหา

สร้างเครือข่ายและความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

ค่อยข้างน้อย

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลท่าพญา จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0007

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด