directions_run

โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ปลอดภัยเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตำบลบางสัก

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล
ตัวชี้วัด : 1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ. สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ 1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวใน ระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ ๘๐ 1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะ วิกฤตโควิด ข้าวตรัง 1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุม ข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิต ข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการ บริโภคข้าวตรังในตำบล 1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังใน ตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย 1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน
1.00

 

 

คณะกรรมการก่อตัวจากความสุขในอดีตที่ในชุมชนมีการปลูกข้าว มีความฝันอยากพัฒนาพื้นที่ในตำบลให้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว อยากกินข้าวที่ปลอดภัย
คณะกรรมการส่วนหนึ่งเป็นปราชญ์ด้านเกษตรอินทรีย์ เป้นผู้นำชุมชน เป็นผู้สูงอายุ ภายหลังการรวมกลุ่มข้าวไร่ตำบลบางสัก กรรมการหลายคนพูดคุยถึงความสุขที่ได้ปลูกข้าว เล่าให้เห็นว่่า คนตำบลบางสักกำลังเฝ้าติดตามกลุ่มข้าวไร่บางสัก หากการส่งเสริมการปลูกข้าวครั้งนี้ได้ผล ในปีต่อๆไปอาจจะมีกลุ่มคนสนใจเข้าร่วมกลุ่มเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลบางสักเพิ่มขึ้น กลุ่มพูดว่า ผลผลิตปีนี้จะมากน้อยอย่างไร แต่อย่างน้อย คนในกลุ่มก็จะได้บริโภคข้าวที่ตนเองผลิตและเป็นข้าวที่ปลอดภัย มีการพูดคุยการช่วยเหลือกันในกลุ่ม เพื่อการเรียนรู้พัฒนากลุ่มข้าวบางสัก มีการเสนอให้มีทีมตรวจเยี่ยมพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อสร้างการเรียนรู้ เพื่อเป็นกำลังใจของคนปลูกข้าว จึงมีการเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจเยี่ยมแปลงข้าวไร่ของตำบลบางสัก

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค
ตัวชี้วัด : 2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่ มีอยู่เดิม 2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่ 2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ 2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง 2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น 2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล 2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่าย ตำบลที่ดำเนินโครงการ
1.00

 

 

เป็นพื้นที่ ที่ในอดีตมีการปลูกข้าว แต่ด้วยสถานการณ์การส่งเสริมการทำสวนยางพารา สวนปาล์ม และการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ทำให้พื้นที่นี้มีคนปลูกข้าวกินเองน้อยมาก ปี2565 คณะกรรมการจึงมาดำเนินการส่งเสริมการปลูกข้าวไร่อีกครั้ง ทำให้เพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวไร่เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 20 ของพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวเดิม

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข
1.00

 

 

ปริมาณครัวเรือนบริโภคข้าวตรัง เพิ่มมากข้ึน โดยเฉพาะในกลุ่มปลูกข้าว