directions_run

โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ”

ม.5 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

ที่อยู่ ม.5 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-10018-19 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.5 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ ม.5 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-10018-19 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันเป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพมีการแข่งขันค่อนข้างสูง มีการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค้าโดยทั่วไปได้ปรับตัวสูง ประชาชนทั่วไปจึงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การประกอบอาชีพในปัจจุบันจึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงรายได้หลักอย่างเดียว การสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ตลอดจนพึ่งพาตนเอง โดยใช้หลักการและปรัชญา เศรษฐกิจพอพียง ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งแสวงหาความรู้และแนวคิดใหม่ ๆ ให้กับตนเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19 ) ที่ทำให้เกิดปัญหาด้านอาชีพหลัก จึงทำให้ขาดรายได้ต่อการดำรงชีวิตในครอบครัว พื้นที่ตำบลปะนาเระมีอาชีพการทำประมงเป็นหลัก อาชีพรองคือมีอาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าขาย ปัจจุบันสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง เกิดมรสุมบ่อยครั้ง ชาวประมงจึงไม่สามารถออกทะเลได้ทำให้มีรายได้ที่ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น และมีหนี้สิน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออาชีพรองคืออาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าขาย ทำให้คนในชุมชนขาดรายได้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีเงินเก็บ ต้นทุนทางการค้าขายที่สูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะเครียดส่งผลเสียต่อสุขภาพ จึงก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน จากการเก็บข้อมูลครัวเรือนด้านเศรษฐกิจ 30 ครัวเรือนเป้าหมาย 1 เดือนก่อนเริ่มโครงการพบว่า รายได้ของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือน 1.รายได้สุทธิจากอาชีพหลัก    7,000 บาท 2.รายได้จากอาชีพรอง/อาชีพเสริม  1,000 บาท 3.รายได้อื่นๆจากทุกคนในครอบครัว 2,000 บาท 4.รายได้จากการทำ/ปลูก การเลี้ยงสัตว์และการหาไว้กินเอง      2,000 บาท 5.รายได้ทั้งหมดของครอบครัว = 12,000 บาท  1.รายจ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิต 5,000 บาท 2.รายจ่ายที่เป็นอุปโภค/บริโภคที่จำเป็น 6,000 บาท 3.รายจ่ายที่เป็นอุปโภค/บริโภคที่ไม่จำเป็น 4,000 บาท 4.รายจ่ายในการชำระหนี้สิน    3,000 บาท 5.รายจ่ายทั้งหมดของครอบครัว = 18,000 บาท
ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยคนละ = 2,000 บาท หมายเหตุสมาชิกในครัวเครืนเฉลี่ย 6 คนต่อครัวเรือน
ครัวเรือนที่มีหนี้สินไม่ก่อให้เกิดรายได้ครัวเรือนละ 15,000 บาทจากการกู้ยืมพ่อค้าคนกลางในการประกอบอาชีพและใช้จ่ายในครัวเรือน อีกทั้ง 30 ครัวเรือนไม่มีการจดบันทึกหรือการทำบัญชีครัวเรือน ปัญหาด้านสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือนอาชีพชาวประมงออกทะเลตั้งแต่ตี 02.00 น. กลับเข้าฝั่งเช้ามืดหรือก่อน 10.00 น. ความเจ็บป่วยที่พบบ่อยจากโรคปวดเอว ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเข่า เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ หอบหืด ท้องผูก ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย หิวน้ำบ่อย เนื่องจากการทำประมงพื้นบ้านต้องอาศัยอยู่ในทะเล มีสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำงานไม่ตรงเวลา บางครั้งต้องอดหลับอดนอนในตอนกลางคืนเพื่อออกเรือไปหว่านแหและเฝ้าแหเป็นระยะ บางครั้งก็ต้องทำงานกลางแสงแดดที่ร้อนจัด ปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ได้ บาดเจ็บจากการโดนสัตว์ทะเลกัด บาดเจ็บจาการตกเรือหรือเรือคว่ำ โรคกระเพาะอาหาร หรืออาหารเป็นพิษเป็นอีก 1 โรคของชาวประมงพื้นบ้าน เนื่องจากต้องเตรียมอาหารไปรับประทานตั้งแต่หัวค่ำก่อนออกทะเล สวัสดิการการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่ใช้สิทธิบัตรหลักประกัน(30บาท) เนื่องค่าใช้จ่ายเกินรายได้ ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ จึงเกิดภาวะเครียด ไม่ใส่ใจการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ
ทำงานหนักจน ดูแลสุขภาพตนเอง ยามเจ็บป่วยนิยมซื้อยากินเองเช่น ยาแก้ปวดคลายเครียด ยาชุดที่ขายในร้านชำในหมู่บ้าน เดือนละ100-150 บาท แกนนำชุมชนตำบลปะนาเระได้มีการจัดทำ การวิเคราะห์ พบประเด็นปัญหาทั้งหมด 5 ปัญหา ดังนี้ 1.ปัญหารายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น มีหนี้สิน 2.ปัญหาขาดทักษะการออม
3.ปัญหาด้านสุขภาพ
4.ปัญหาความไม่ร่วมมือของคนในชุมชน
5.ปัญหาขยะจากชาวประมงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหารายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น มีหนี้สิน สาเหตุ พฤติกรรมคน - มีการใช้จ่ายที่เกินจากรายได้ที่ได้รับ - ติดจากการซื้อสินค้าออนไลน์ - ทำงานคนเดียวเลี้ยงคนทั้งครอบครัว - ไม่มีการออมทรัพย์ - นิยมบริโภคอาหารสำเร็จรูป - ส่วนใหญ่ต่างคนต่างอยู่ - การออกทะเลด้วยกันทั้งสามี ภรรยาทิ้งลูกให้อยู่บ้านตามลำพัง สิ่งแวดล้อม ทางสังคม - ขาดการอบรมด้านอาชีพ - การแบ่งผลประโยชน์ - มีการแบ่งแยกเรื่องการเมือง - ร้านในชุมชนปิด - ขาดกำลังซื้อ - ขาดนักท่องเที่ยว ทางกายภาพ -สถานการณ์โควิค -เรือชำรุด -น้ำมันแพง / ต้นทุนการผลิตสูง -ฝนตก/พายุมรสุม -การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ กลไก/ระบบที่เกี่ยวข้อง - ขาดการรวมกลุ่ม - การสนับสนุนของท้องถิ่น - ขาดการรวมกลุ่มของการออม - การสนับสนุนหน่วยงานรัฐ ผลกระทบ ด้านสุขภาพ - ค่าใช้จ่ายเกินรายได้ ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ จึงเกิดภาวะเครียด - คนในชุมชนไม่มีการใส่ใจ/ปล่อยประละเลยในการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ เช่น โควิด-19 - ทำงานหนักจนไม่ใส่ใจ ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง - เจ็บป่วยซื้อยากินเองเช่น ยาแก้ปวดคลายเครียดเดือนละ100-150 บาท เศรษฐกิจ - ขาดรายได้ช่วงมรสุม - ว่างงาน - มีหนี้สิน - เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ สังคม -ครอบครัวแตกแยก -ลักขโมย -เด็กติดเกมส์ -มีแหล่งมั่วสุม สิ่งแวดล้อม - ห่วงโซ่อาหารทางทะเลลดลง - ขยะที่เกิดจากชาวประมงที่ติดจากอวน เช่น เศษเปลือกหอย - ขยะจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่ - ชุมชนมีความแออัดที่เกิดจากครอบครัวขยาย จากสถานการณ์ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบคณะทำงานเล็งเห็นทิศทางการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยผ่านกิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของตำบลปะนาเระ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเปราะบางในชุมชนได้มีทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ด้านการออม การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องตามหลักสุขภาพและส่งเสริมการสร้างรายได้ มีอาชีพเสริมในชุมชน จึงประสงค์ขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มเปราะบางตำบลปะนาเระ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนตำบลปะนาเระ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมตัวกัน พัฒนาฝีมือและเสริมอาชีพ เพื่อช่วยเสริมรายได้ในครัวเรือน พัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้าของชุมชน และสามารถแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพและสังคม แก่คนในชุมชนที่เป็นแม่บ้านประมงพื้นบ้าน
  2. เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแม่บ้านประมงพื้นบ้าน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE
  2. กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.
  3. ถอนเงินเปิดบัญชี
  4. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน
  5. ประชุมคณะทำงาน
  6. เวทีชี้แจงโครงการ
  7. พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน
  8. เสริมความรู้เรื่องหลักสุขภาพ
  9. เสริมความรู้เรื่องการบริหารเงิน
  10. การแปรรูปสัตว์น้ำ
  11. จัดตั้งกลุ่มอาชีพ
  12. พบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน
  13. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน
  14. สร้างเครือข่าย
  15. พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวจเอกสารการเงินรายงานในระบบ
  16. เวทีถอดบทเรียน
  17. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ
  18. ทำไวนิล
  19. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 1)
  20. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 1
  21. เวทีชี้แจงโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการแก่คนในชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ เช่น แกนนำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกษตร ประมง
  22. ปั๊มตรายาง
  23. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 1)
  24. พัฒนาศักยภาพแกนนำเป็นผู้ประกอบการและวางแผนการตลาด
  25. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 2)
  26. อบรมเสริมความรู้เรื่องหลักสุขภาพ
  27. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  28. อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน
  29. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 3)
  30. การอบรมอาชีพการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล
  31. จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การออม
  32. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 4)
  33. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 2
  34. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 2)
  35. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 5)
  36. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน
  37. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1)
  38. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 6)
  39. การสร้างเครือข่าย เพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (มหกรรมสินค้าอาหารทะเลแปรรูป/เวทีเสวนา)
  40. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 7)
  41. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1)
  42. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 8)
  43. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 2)
  44. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 3)
  45. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 9)
  46. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 3)
  47. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 10)
  48. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 4)
  49. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 11)
  50. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 5)
  51. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  52. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 6)
  53. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 12)
  54. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 3
  55. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน
  56. พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบ
  57. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการเงินและรายงานในระบบคนใต้สร้างสุข
  58. จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ 30
ครอบครัวของครัวเรือนเป้าหมาย 90

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดกองทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ 1 กลุ่มจากการบริหารจัดการของกลุ่มแม่บ้านประมง
  2. เกิดกลุ่มออมทรัพย์แม่บ้านประมง 1 กลุ่มในการจัดสวัสดิการกลุ่มในชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยงานจัดการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ สนับสนุนโดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยมีความรู้และความเข้าใจในหัวข้อ การทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการที่รับทุน การบริหารจัดการโครงการ (การจัดการข้อมูล,การรายงานผลข้อมูล) และแนวทางปฏิบัติด้านการเงินของโครงการ โดยวันแรก (17/09/2565) ช่วงเช้ามีการกล่าวต้อนรับ และหัวหน้าโครงการชี้แจงนำเสนอกรอบโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังร่วมกันระหว่างหน่วยจัดการ และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โดย นางนฤมล ฮะอุรา และได้ทำความเข้าใจเป้าหมายร่วมของโครงการ การเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และกิจกรรม และการทำความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดรายกิจกรรม โดยมีพี่เลี้ยงร่วมกันการคลี่โครงการ ช่วงบ่ายมีการทำความเข้าใจเรื่อง ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ การทำความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ทางการเงิน และการจัดเก็บข้อมูลเป้าหมาย และแนวทางการนำข้อมูลไปสนับสนุนการทำงาน โดยมีพี่เลี้ยงร่วมด้วยตลอดกิจกรรม ในวันที่สอง (18/09/2565) ทำความเข้าใจระบบการรายงานกิจกรรม และรายงานการเงินผ่านระบบออนไลน์ โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ และทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติด้านการเงินของโครงการย่อย ว่าด้วยระเบียบและข้อบังคับทางการเงิน โดยทีมหน่วยจัดการ และปิดกิจกรรม โดย คุณนฤมล ฮะอุรา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน 2 คน ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูล การจัดทำรายงานในระบบ คนสร้างสุข

 

2 0

2. ถอนเงินฝากเปิดบัญชี

วันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงินฝากเปิดบัญชี 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอนเงินฝากเปิดบัญชี 500 บาท

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 1)

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนสำหรับคณะทำงาน 10 คน
  • ประธานโรงการฯแนะนำพี่เลี้ยง คุณกัลยา เอี่ยวสกุลและแนะนำตัวผู้เสนอโครงการฯและคณะทำงาน
  • ประธานโครงการชี้แจงรายละเอียด กิจกรรมในโครงการ กระบวนการจัดกิจกรรมในกิจกรรมโครงการ และแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละคน อีกทั้งยังคลี่โครงการฯ และตัวชี้วัด ผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรม -พี่เลี้ยงให้คำแนะนำ แนวทาง และอธิบายรายละเอียดตัวโครงการให้เข้าใจง่ายขึ้น ยกตัวอย่างแผนการดำเนินงาน แผนกการเงิน แผนการใช้ชีวิต ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวพร้อมให้พลังบวกกับคณะทำงาน 10 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานทั้ง 10 คน ได้มีความรู้ ความเข้าใจทุกสัดส่วนในตัวกิจกรรมโครงการฯ คณะทำงาน 10 คน รู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง เกิดการเปลี่ยนวิธีคิด เช่น มีความอยากปลูกผักมากขึ้น อยากมีการออม อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการฯ อยากพัฒนาศักยภาพตนเองมากยิ่งขึ้น มีการแบ่งปันองค์ความรู้ประสบการณ์และเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจกันและกันมากขึ้น

 

10 0

4. ทำไวนิล

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สั่งทำไวนิลโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ และบันไดผลลัพธ์ของกิจกรรมทั้งหมด ให้ได้ใช้ตลอดทั้งโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายไวนิล

 

0 0

5. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี คณะทำงานได้เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ กระดาษชาร์ท ปากกาหมึก กระดาษโพสต์อิท
เริ่มต้นด้วยการประธานโครงการฯแนะนำพี่เลี้ยงให้กับทีมคณะทำงานโครงการ 10 คน พร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรมโครงการฯและดำเนินการพูดคุยในวงการประชุมและแนะนำคณะทำงาน 10 คน มอบให้ทีมคณะทำงาน 10คน แนะนำตัวเอง ตามบทบาทหน้าที่ในกิจกรรมโครงการฯ พี่เลี้ยงแนะนำตัวเองอย่างเป็นทางการและชวนคุยเพื่อทำการคลี่แผนงานโครงการ คลี่บันไดผลลัพธ์โครงการฯร่วมกันระหว่างแกนนำชุมชม มีการแลกเปลี่ยน ซักถามประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการทำงานเพื่อนำสู่การปฏิบัติงานได้จริง ตามแผนกิจกรรมโครงการฯ พี่เลี้ยงชวนตั้งวงการพูดคุยก่อนเริ่มดำเนินงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ทำความเข้าใจในแต่ละบทบาทหน้าที่ พี่เลี้ยงได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประเมินผลครั้งนี้เพิ่มเติมให้เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาในการปรับแผนการดำเนินงานในงวดต่อไป พร้อมชวนคณะทำงาน 10 คนวิเคราะห์ตนเองในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น ทีมแกนนำ ทีมคณะทำงาน ทีมกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมโครงการฯที่เข้าร่วม พร้อมให้มีการนำเสนอผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานที่ทำงานกัน หลายคนสะท้อน ถึงปัญหาเรื่องเวลาที่ไม่ตรงกัน ประสบการณ์และความสามารถในด้านต่างๆ ยังไม่มีมากพอ มีความกังวล กับกิจกรรม โครงการฯในเรื่องความสำเร็จ ผลลัพธ์ ของโครงการที่จะได้รับ แนวทาง การแก้ไข คณะทำงานได้สะท้อนถึงประเด็นสำคัญการสื่อสารด้วยภาษามลายูถิ่นในการชวนเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงาน ประธานโครงการเป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ต้องช่วยเป็นพี่เลี้ยงเกาะติด กับคณะทำงาน 10 คน รวมถึงสร้างพลัง สร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ่ายทอดทักษะต่างๆ ให้กับทีมงานได้ในระดับหนึ่ง ประธานโครงการฯ ได้ชวนพูดคุยเพื่อคลายความกังวล และนัดจัดวงเฉพาะเพื่อนสอนงานให้กับทีมงานบางคน ที่ยังไม่เข้าใจ สุดท้ายพี่เลี้ยงสรุปการประเมินผล เพื่อเป็นการทบทวน ปรับแผนการดำเนินงานให้กับแกนนำ คณะทำงานสรุปนัดหมายการประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมายครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานทั้ง 10 คนได้มีเข้าใจในวัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการฯมากขึ้น พร้อมสามารถปฎิบัติตามแผนงาน เกิดความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่มากขึ้น มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่กังวล  เริ่มมีความกล้าแสดงออก ผ่านการตั้งคำถามกับพี่เลี้ยง มีการจดบันทึกในภารกิจงานตามบทบาทหน้าที่ตนเอง รู้จักเครื่องมือการทำงาน และ พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารการกิน เพื่อเปนแบบอย่างให้กลุ่มเป้าหมาย

 

0 0

6. เวทีชี้แจงโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการแก่คนในชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ เช่น แกนนำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกษตร ประมง

วันที่ 21 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน กลุ่มเป้าหมาย ที่มาร่วมงาน จำนวน 50 คน -ประธานโครงการฯ แนะนำตัวคณะทำงานและหน่วยงานราชการที่เข้ามาร่วมในกิจกรรมงาน
  • ประธานโครงการฯชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในกระบวนการทำงานและเนื้อหาในกิจกรรมโครงการฯ และเปิดเวทีแลกเปลี่ยน
  • ประธานโครงการฯ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านกระบวนการทำงาน ข้อจำกัดเงื่อนไข ของหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องเดินหน้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี เจ้าหน้าที่จากอพเภอปะนาเระ กล่าวถึง กระบวนการทำงานของสรตีชาวเลเกิดการพัฒนาไวมาก เพราะมีแกนนำที่เก่ง เป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาพื้นที่ปะนาเระ ได้ดี ตัวแทนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กล่าวถึง อยากให้ ขยายกลุ่มเป้าหมาย เพื่อแต่ละหมู่บ้านได้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้านด้วยในอนาคต ตัวแทนจาก กศน.อำเภอปะนาเระ กล่าวถึง โอกาส ทสงการศึกษา ถ้าหากมีกลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้ สนใจอยากเรียนต่อ สามารถติดต่อโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาเพื่อได้วุฒิการศึกษา และ ทักษะการการอาชีพ ตัวแทนเทศบาลปะนาเระ ได้กล่าวถึง กลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ มีความโชคดี ที่ได้มีกิจกรรมตลอดต่อเนื่อง และทำให้ปะนาเระ มีคนรู้จักมากขึ้น สาธารณะสุขปะนาเระ ได้กล่าวถึง ยินดีที่จะมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมโครงการฯ และอยากให้ทำงานด้วยกัน ในอนาคต  ตัวแทนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ ได้กล่าวถึง ขอชื่นชม ประธานกลุ่มและทีมงานสตรีชาวเลปะนาเระ ที่ขับเคลื่อนงานได้ดี ตลอดต่อเนื่อง จนทำให้ ปะนาเระ มีชื่อเสียงและเกิดกลุ่มที่ชัดเจน แต่เตือนการทำงานกลุ่มเป็นบทเรียน อยากช่วยกันทำงาน รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ตนเอง ชุมชนสัมพันธ์จังหวัดชายแดนใต้ และชมรมประมงพื้นบ้านปะนาเระ กล่าวถึง ดีใจที่ ทุกหน่วยงาน เข้ามามีส่วนร่วม และสตรีชาวเลปะนาเระ พัฒนาได้เร็ว อยากให้มีการทำงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น
    -ประธานโครงการฯ กล่าวสรุป ทุกมิติ จากหน่วยงานที่ ร่วมแบ่งปั่นและสรุปการประชุม พร้อมปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หน่วยงานในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนได้เข้าใจรายละเอียดโครงการฯ อย่างดี

 

50 0

7. ปั๊มตรายาง

วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้จัดเตรียมปั๊มตรายางโครงการที่มีพร้อมกับรหัสโครงการ และปั๊มตรายางจ่ายเงินแล้ว เพื่อที่สามารถเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรายงานไม่ว่าจะเป็นเอกสารการเงินต่าง ๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สามารถปั๊มบนเอกสารต่าง ๆ ได้ และ/ด้เห็นถึงความเรียบร้อยและความถูกต้องของเอกสารต่าง ๆ

 

0 0

8. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 1)

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงสำรวจข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน ในด้านเศรษฐกิจชุมชน รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น

จากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ 5000 – 10000 ทั้งสิ้น 4 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 465.27 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 10000 – 50000 ทั้งสิ้น 12 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 2695.138 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 50000 – 100000 ทั้งสิ้น 7 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 7380.95 บาทต่อครัวเรือน ครัวครัวที่มีรายได้100000ขึ้นไป ทั้งสิ้น  7ครัวเรือน โดยเฉี่ยเดือนละ 12452.38 บาทต่อครัวเรือน  โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลักเฉลี่ย 4267.94 บาทต่อครัวเรือน  กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจเฉลี่ย 28483.33  บาทต่อครัวเรือนและรายได้จากการทำทำอาชีพเสริมเฉลี่ย 3519.23  บาทต่อครัวเรือน  และรายได้อื่นๆเฉลี่ย 333.33 บาทต่อครัวเรือน
ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ทีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 3675.27 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 2539.44บาทต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 12959.52บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่จำเป็นเช่นเครื่องสำอางเฉลี่ย 914.58 บาทต่อครัวเรือน ตามลำดับ ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 2711.57 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีการก่อหนี้แต่ละเดือน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และยังพบว่าการใช้จ่ายมีมากกว่ารายการรับ

 

30 0

9. พัฒนาศักยภาพแกนนำเป็นผู้ประกอบการและวางแผนการตลาด

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แนะนำตัววิทยากร โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง
  • บรรยายในหัวข้อการเป็นผู้ประกอบการ และการจัดการตลาด โดย น.ส.นัทรินทร์ หวัดแท่น ซึ่งมีรายละเอียดในการอบรมดังนี้ การเป็นผู้ประกอบการ มีปัจจัยดังนี้ -มุ่งมั่นถึงความสำเร็จมีการใข้หลัก output และ outcome หลัก output คือสิ่งที่ทำออกไม่เป็นผลิตผลซึ่งวัดได้เมื่อสิ้นสุดการกระทำแต่ outcome คือผลประโยชน์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์ต้องทิ้งระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่งมีหัวใจหลักคือการทำบัญชี การทำบัญชีทำค่าใช้จ่ายให้คิดค่าแรงเพราะค่าแรงคือต้นทุนอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพ 1.2การมีภาวะผู้นำต้องเป็นผู้สั่งที่ดีและต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย 1.3กล้าเสี่ยงกล้าตัดสินใจ ในการลงทุนกล้า 1.4การสร้างสรรค์นวัตกรรม คือมีการคิดสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีเป็นที่ยอมรับหรือเอาสิ่งที่มีอยู่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ 1.5มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ/ซื่อสัตย์/มีเหตุผล/เสียสละ/มีระเบียบ การบริหารจัดการองค์กรต้องมีหลักPDCA มีการวางแผน มีการปฏิบัติงานตามแผน มีการตรวจสอบ มีการปรับปรุงแก้ไข
  • บรรยายในหัวข้อแผนการตลาด และช่องทางการขยายตลาด โดย น.ส.นัทรินทร์ หวัดแท่น มีรายละเอียดการอบรมดังนี้ การตลาด มีการมองหาแหล่งการผลิตใหม่ๆสลับกับแหล่งเก่าเพื่อเวลาเกิดเหตุขึ้น ช่องทางจำหน่ายมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  • สรุป/ปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการตลาด การวางแผนการตลาด และช่องทางการขยายตลาด

 

30 0

10. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 2)

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • แจ้งเพื่อทราบ
  • ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และกิจกรรมกำลังจะจัดในเดือนนี้
  • ถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา
  • ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานทั้ง 10 คนได้ทบทวนและถอดบทเรียนของกิจกรรมที่ได้จัดให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านมา ได้เจอปัญหาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมและได้แก้ปัญหาร่วมกันเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทวนกิจกรรมในรอบถัดไปที่จะจัดขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย

 

0 0

11. อบรมเสริมความรู้เรื่องหลักสุขภาพ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แนะนำตัววิทยากร โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง
  • บรรยายในหัวข้อเรื่องหลักสุขภาพ โดย นางสารภี รังษีโกศัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ปะนาเระ มีรายละเอียดในการบรรยายดังนี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพ และหลักการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ ซึ่งได้บรรยายในหัวข้อย่อยนั่นคือ สุขภาพจิตคืออะไร, มีความสำคัญอย่างไร, รู้ได้อย่างไรหากเรามีภาวะสุขภาพจิต, ความเครียดเป็นอย่างไร, ชนิดของความเครียด (Acute stress and Chronic stress), อาการด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความเครียด ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรมและจิตใจ, โรคที่เกิดขึ้นจากความเครียด, วิธีคลายเครียด และการดูแลสุขภาพการด้วยหลัก 3 อ 2 ส และ 1 ฟ
  • สรุป/ปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะในเรื่องของความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ การส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพ และหลักการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ เป็นอย่างดี และสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน

 

30 0

12. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยดำเนินรายการและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการโดย คุณนฤมล สะอุระ พร้อมเริ่มการอบรบเรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพ และการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมความเสี่ยงจากอาชีพ การทำงาน และอื่นๆ จากนั้นต่อด้วยการอบรมเรื่องด้านการเงิน โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ ความรู้ด้านการเงินคือความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ เช่นการจัดงบประมาณการใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวในภาพรวม 4 รู้สู่ความมั่งคั่ง -รู้หา -รู้ใช้ -รู้เก็บ -รู้ต่อยอด ทำไมเราต้องวางแผนการเงิน -ให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น      -มีเงินเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉิน -มีเงินออมหรือเงินลงทุนที่อาจสร้างรายได้ในอนาคต -อายุยืนยาว ครอบครัวเล็กลง  ขั้นตอนสำคัญของการวางแผนการเงินครัวเรือน -รู้สถานการณ์ของตัวเอง ด้วยการสำรวจรายรับและรายจ่าย ที่จำเป็นของตนเอง รู้ว่าแตละวันแต่ละเดือนจะมีรายรับจากไหนบ้าง -กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยแยกเป็นหมวดๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมากที่สุดไว้ลำดับแรกๆๆ -ทำแผนการใช้เงินกำหนดเพดานขั้นสูงไว้ เพื่อใช้สำหรับควบคุมค่าใช้จ่าย -ใช้เงินตามแผนที่วางไว้ -ประเมินการใช้เงินเป็นระยะ และหาโอกาส ในการเพิ่มเงินออมให้มากขึ้น จากการลดรายจ่าย หรือการเกิดรายได้ใหม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และคงามเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ด้านสุขภาพและการเงิน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมทดสอบกิจกรรมในการอบรมครั้งนี้ อีกทั้งยังได้ประโยชน์อย่างมากในการอบรมที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้

 

2 0

13. อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน

วันที่ 2 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 คณะทีมงานในกิจกรรมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ จุดลงทะเบียนและอื่นๆตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการเข้าอบรม จำนวน 30 คน ประธานโครงการฯ น.ส อาอิชะฮ์ ตีมุง กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมอบรมเรื่องเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน และแนะนำวิยากรพร้อมมอบกิจกกรมอบรมฯให้กับวิทยากร
    วิยากรเริ่มแนะนำตัวเองและเริ่มการบรรยายในหัวข้อเรื่องการบริหารการเงิน โดย นางสาวซอฟียะห์ รายิกัน ซึ่งบรรยายในเรื่องบัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง บัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน วิธีการลงบัญชีรับ-จ่ายด้านรับเงินและด้านจ่ายเงิน วิธีการคำนวณยอดคงเหลือวันนี้และรวมเดือน และได้มีการฝึกคำนวณรายรับ-รายจ่ายแต่ละวัน จากนั้นบรรยายในเรื่องของประโยชน์ของการจัดทำบัญชี 1. เป็นบันทึกช่วยจำ 2. รู้รายรับ รายจ่าย 3. มีเงินออม รู้เงินออม 4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 5. ช่วยวางแผนในการออมรายรับ-รายจ่าย 6. ช่วยวางแผนอนาคต 7. ฝึกรายวิชาต่างๆ 8. เป็นบันทึกสุขภาพ , บัญชี 3 มิติ รู้ตนเอง รู้สภาพแวดล้อม รู้อนาคตสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
สรุป = ความมีวินัย มีเงินเออม โดยใช้เครื่องมือ คือ การจัดทำบัญชี ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนพร้อมมอบหมายให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฎิบัติการจดบัญทึกบัญชีครัวเรือน การประเมินรายรับ รายจ่าย ของครอบครัว กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความสนใจในการจัดทำจดบันทึกบัญชีครัวเรือน เกิดการซักถามในประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายไม่เข้าใจ เช่น จดบันทึกแล้วเกิดรายจ่ายมากกว่ารายรับ ผิดตรงไหน หาที่มาที่ไปของการเงินตนเองไม่เจอ วิทยากรได้ทำการคลี่ปัญหาที่เกิดขึ้น จนเข้าใจพร้อมได้แจกสมุดบันทึกครัวให้กลับไปฝึกทำการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ประธานโครงการฯมอบหมายคณะทำงาน 10คน ทำหน้าที่ในการติดตามและสอนเพิ่มเติมให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เข้าใจ จับคู่บัดดี้ เพื่อทำความเข้าใจและปฎิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ วิทยากรสรุปการบรรยาย ประธานโครงการสรุป/ ปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารเงินและทักษะในการคิดคำนวณรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน เกิดการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมาย 30 คน รู้จักความพอเพียงในตนเองมากขึ้น เริ่มต้นการมีวินัยในการบริหารการเงินด้านรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ลดการใช้จ่ายฟุ้มเฟื่อย

 

30 0

14. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 3)

วันที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
  • แจ้งเพื่อทราบ จากการที่ได้จัดกิจกรรมที่ผ่านมาพบว่าทางคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คนได้มีความรู้ด้านทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมและเกิดความเข้าใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อาทิเช่นได้รู้จักการออม รายรับรายจ่ายในแต่ละวัน ฯลฯ อีกทั้งได้ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะจัดขึ้นต่อ ๆ ไป
  • ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และกิจกรรมกำลังจะจัดในเดือนนี้
  • ถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ทางคณะทำงานได้พบเจอปัญหาที่ได้เจอขณะจัดกิจกรรม แต่ทางคณะทำงานสามารถแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ดีและได้ผ่านพ้นไปด้วยดี
  • ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเพิ่มขึ้นและเข้าใจ มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้ตอบโจทย์กับสิ่งที่วางและทำไว้ได้

 

0 0

15. การอบรมอาชีพการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แนะนำตัววิทยากร โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง
  • บรรยายในหัวข้อเรื่องการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล โดยการแปรรูปมีทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ ปลาหวานโรยงา ผงโรยข้าว และน้ำพริกเสริมแคลเซียม ซึ่งได้มีการบรรยายในกระบวนการผลิต/การแปรรูปของแต่ละผลิตภัณฑ์และได้พูดถึงประโยชน์ของปลาหนึ่งตัว สามารถนำมาแปรรูปได้ทั้งตัว เนื้อปลานำมาแปรรูปเป็นปลาหวานโรยงา ก้างปลานำมาแปรรูปเป็นผงโรยข้าว และหัวปลานำมาแปรรูปเป็นน้ำพริกเสริมแคลเซียม และได้มีภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในกระบวนการผลิต
  • สรุป/ปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีทักษะในการแปรรูปสัตว์น้ำได้อย่างดี และยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถลดรายจ่ายเพื่อรายได้เข้าในครัวเรือน

 

30 0

16. จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การออม

วันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 6 ม.ค 2566 ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ชมรมประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ คณะทีมงานฝ่ายลงทะเบียนเริ่มเชิญชวนผู้เข้าร่วมในกิจกิจกรรมโครงการทั้ง 30 คน ทำการลงทะเบียน หน้าห้อง กล่าวต้อนรับ โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง หัวหน้ารับผิดชอบโครงการฯ ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโครงการฯ การจัดตั้งกลุ่มฯเพื่อการออม เพื่อสร้างพลังอนาคตตนเอง เริ่มด้วย อาชีพเสริมและการออม ประธานโครงฯแนะนำวิทยากร จากพัฒนาชุมชนอำเภอปะนาเระ เพื่อมาให้ความรู้ด้านการจัดตั้งกลุ่ม ความสำคัญการออม เป้าหมายอนาคต เพื่อใันที่คนปะนาเระ อยากให้เกิด และมอบ่วทีให้วิทยากรดำเนินการอบรมเรื่องการจัดตั้งกลุ่มเพื่อการออมและแผนกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ โดยวิทยากร น.ส.ซุไรดา เจะแว เจ้าหน้าที่พัฒนากรอำเภอปะนาเระ ได้ทำความเข้าใจและกล่าวถึงการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อพัฒนาคน 2.เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ 3.เพื่อพัฒนาสังคม ซึ่งการจัดตั้งกลุ่มคือการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะเกิดขึ้น ได้แก่ มีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ มีปทัสถานร่วมกัน แต่ละคนมีบทบาทที่ชัดเจน มีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก แสวงหาเป้าหมายร่วมกัน มีความรอบรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน และปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม
และการบริหารกลุ่มอาชีพให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลัก 5ก ดังนี้ ก ที่ 1 : กลุ่ม/สมาชิก, ก ที่ 2 : กรรมการ, ก ที่ 3 : กฏ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม, ก ที่ 4 : กองทุน และ ก ที่ 5 : กิจกรรม อีกทั้งปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ มีปัจจัดสำคัญ คือ 1. ด้านผู้นำ 2. ด้านสมาชิก 3. ด้านวัตถุประสงค์ของกลุ่ม 4. ด้านบริหารการจัดการกลุ่ม 5. ด้านการสื่อสารภายในกลุ่ม 6. ด้านผลผลิต ผลงานของกลุ่ม 7. ด้านเงินทุนในกลุ่มฯ วิทยากร ให้ผู้เข้าร่วมได้เริ่มปรึกษาหารือเรื่องการจัดตั้งกลุ่ม จึงเลือกที่จะจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา และได้จัดตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า “ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสตรีชาวเลปะนาเระ” ที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี 94130 โดยจัดทำโครงสร้างคณะกรรมการประกอบด้วย
คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการเงินกู้ 1.อาอิชะฮ์ ตีมุง ประธาน 1.รอซีด๊ะ สะอุ 2.รอซีดะห์ สะอุ 2.อภิรีนี มะสาแม 3.อภิรีนี มะสาแม 3.โรฮานี ยูโซ๊ะ 4.ยาวียะห์ สุหลง 5.โรฮานี ยูโซ๊ะ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการส่งเสริมการออมฯ 1.นูนิสรีน อาแว บัญชี/เหรัญญิก 1.พนิดา ดาราโอะ รองประธาน 2.ฟาตีมะห์ เบ็ญนิซอ 2.สารีปะห์ สาฮะ 3.พนิดา ดาราโอะ 3.ปายียะฮ์ เปาะมะ โดยมี การสมัครสมาชิกดังนี้
1.มีค่าสมัคร 30 บาท 2.ทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไปนำเงินไปฝากธนาคาร และ การพันสภาพ ดังนี้ -ตาย -ลาออก และได้รับอนุมัติ -วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน วิทยากร เปิดการแลกเปลี่ยน พร้อมเติมพลังกำลังใจให้กลุ่มสตรี ให้มีความสามัคคี ทำงานอย่างจริงจัง หน่วยงานรัฐจะอยู่เบื้องหลังการสนับสนุน ต่อไป สุดท้าย ประธานโครงการฯ กล่าวขอบคุณวิทยากร ขอบคุณทีมงาน ขอบคุณผู้เข้าร่วม สรุป/ปิด การอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา เพื่อให้สมาชิกได้มีการออมรายบุคคลในครัวเรือน และมีการเกิดกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มอาชีพของตนเองและคนในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย30คน ตั้งความหวัง อยากให้กลุ่มมีความสำเร็จ ช่วยกันทำงาน ช่วยกันดูแล เพื่ออนาคตปะนาเระ สมาชิก 30 คน เริ่มเปลี่ยนวิธีคิดจากเดิม ที่ไม่เปิดใจ ยอมรับการออม เนื่องจาก พื้นที่เคยมีประวัติที่ค่อยดี แต่ปัจจุบัน เห็นถึง ศักยภาพผู้นำสตรี สมาชิกยินดี ที่จะเริ่มต้นใหม่ ช่วยกันพลักดันให้เกิดความสำเร็จ ในมิติ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเป็นเสาหลักอีกหนึ่งทางของครอบครัว เป็นที่พึ่ง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

30 0

17. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 4)

วันที่ 7 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 7/1/66 คณะทำงาน 10 คน ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ประธานโครงการฯชวดดุอาร์เพื่อเติมพลังทีมงานในการทำงานเพื่อสังคม เริ่มต้นด้วยการชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรมที่ผ่านมาและหัวใจหลักการประชุมประจำเดือนพร้อมเริ่มเข้าวาระที่ 1 วาระแจ้งเพื่อทราบ เช็คอินบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 10คน ติดขัดเรื่องใด ชอบเรื่องใด แนวทางแก้ไขของแต่คนแบบไหน คณะทำงานได้ตอบในประเด็นต่างๆอย่างมีความสุข วาระที่ 2 แผนการพัฒนาตามแผนงานที่วางไว้ เริ่มต้นด้วยการทบทวนจากการที่ได้จัดกิจกรรมที่ผ่านมาพบว่าคณะทำงานมีการพัฒนาด้านการทำงานเป็นทีมเพิ่มมากขึ้น มีความเข้าใจในตัวกิจกรรมที่ได้จัด และได้เกิดการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นระหว่างคนในชุมชนและคณะทำงาน อีกทั้งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและการใช้ชีวิตและทวนกิจกรรมกำลังจะจัดในเดือนนี้พร้อมถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ได้เพิ่มศักยภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น วาระที่ 3 อื่นๆ ขอบคุณทีมงานที่เติมพลังด้วยกัน ประธานโครการฯสุป/ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีการรับรู้และนำมาปรับปรุง แก้ไข และได้เพิ่มศักยภาพของตนเองอีกด้วย มีพลังขับเคลื่อนงานเพื่อชุมชนต่อไป

 

0 0

18. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 19/1/66 ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี พี่เลี้ยงช่วยถอดบทเรียนกระบวนการทำงานในรอบที่ผ่านมาและร่วมวิเคราะห์กิจกรรมโครงการตามเป้าหมายที่วางไว้ คลี่ประเด็นต่างๆให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยวิธีการ ซักถาม แลกเปลี่ยน เปิดพื้นที่กลางแสดงความคิดเห็น คณะทำงาน 10 คนร่วมกับตอบคำถามพี่เลี้ยง แสดงความคิดเห็น พี่เลี้ยงชวนประเมินติดตามผลการดำเนินงานในกิจกรรมโครงการฯและเสริมพลังพร้อมวางแผนงานในกิจกรรมโครงการต่อไป โดย ให้คณะทำงาน จดบันทึก สิ่งที่ได้จากกิจกรรมโครงการฯที่ผ่านมา ชุมชนได้อะไรอย่างไร สะท้อนปัญหาตามบริบทพื้นที่ คณะทำงาน พูดคุย ประเด็น สิ่งที่ได้จาก กิจกรรมโครงการ คือ การได้พัฒนาศักยภาพตนเอง มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ไม่กังวลในการพูดที่สาธารณะมากกว่าเดิม ได้มีทักษะต่างๆเช่น การจัดสถานที่ การประสานงานคนในชุมชน การฟัง การจด การเล่าเรื่อง ได้องค์ความรู้จากวิทยากร ที่มาให้ความรู้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้าน การกิน เช่น กินหวาน ชาเย็น ลดจำนวนการซื้อน้อยลง เพิ่มการออกกำลังกาย การปลูกพืชผักที่กินในครอบครัว มีการจดบันทึกรายรับรายใจในครัวเรือน และกำลังจะมีการออมเงิน เพื่อจัดการหนี้สิน ปัญหาอุปสรรคในดำเนินกิจกรรมแผนงาน คือ การที่มีเวลาไม่ตรงกัน ศักยภาพด้านต่างๆยังมีไม่สมบูรณ์แบบ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มรสุมเข้ามาบ่อย จึงทำให้ขาดรายได้ แนวทางแก้ไขร่วมกัน คณะทำงานได้ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน คือ การได้เข้าร่วมกิจกรรมบ่อยๆ จะทำให้มีความสามารถด้านต่างๆมากขึ้น การเสียสละเวลาตรงนี้คุ้มค่า การได้มาเจอกัน พูดคุย ทำให้เกิดความเข้าในเนื้องานมากขึ้น เกิดการรุ้จักใช้เงินมากขึ้นหลังจาก จดบันทึกรายจ่ายในครัวเรือน ข้อเสนอแนะจาก คณะทำงาน อยากให้มีการสอน อบรมให้ความรู้ จากส่วนกลาง ด้านต่างๆ อยากไปศึกษาดูงานในพื้นที่อื่นๆ ต่างจังหวัด จากนั้น พี่เลี้ยง สะท้อนกลับด้านผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น พร้อมเติมพลังให้กับคณะทำงาน 10 คน ประธานโครงการ สรุป การพูดคุยแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ พร้อมปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานในกิจกรรมโครงการฯมีความเข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้นและสามารถสะท้อนความคิดเห็นและประมวลผลของการดำเนินงานข้อดีข้อเสียของงาน เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดแผนพัฒนาชุมชนตามแผนที่วางไว้ สามารถให้คุณค่าของงานและตัวเองฐานะคนทำงานเพื่อสังคม บทบาทความเป็นคณะทำงานโครงการฯ มีความสามารถในการประสานงานคนในชุมชนมากขึ้น มีทักษะการจดบันทึกรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เกิดการปลูกพืชผักในครัวเรือน เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มสตรีชาวเลกับสตรีในชุมชน ได้รับองค์ความรู้ประสบการณ์จากพี่เลี้ยงในด้าน การบริหารครอบครัว การจัดการรายรับรายจ่าย การจัดการเรื่องสุขภาพและได้รับองค์ความรู้จากวิทยาการที่มาบรรยายให้ความรู้ในกิจกรรมอบรมของโครงการฯด้าน พัฒนาศักยภาพตนเอง การตลาด ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน ด้านการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล คณะทำงาน 10 คนมีบัญชีครัวเรือนทุกคนพร้อมจดบันทึกรายรับรายจ่ายทุกวัน ได้พลังบวกซึ่งกันและกัน

 

0 0

19. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 2)

วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 27/1/66 เวลา 09.30น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมประชุมกระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ประธานโครงการฯเปิดการพูดคุยด้วยการสวดดูอาร์ และชวนคุยในประเด็นฐานข้อมูลตนเอง คณะทำงาน10คน ชวนคุยเพื่อทำการสำรวจข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน ในด้านเศรษฐกิจชุมชน รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น และได้จัดการจัดเก็บเพื่อให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติมโดยครั้งที่ 2 มีการสรุปจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ 5000 – 10000 ทั้งสิ้น 2 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 458.33 บาทต่อครัการวเรือน รายได้ 10000 – 50000 ทั้งสิ้น 7 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 2879.76 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 50000 – 100000 ทั้งสิ้น 6 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 5830.55 บาทต่อครัวเรือน ครัวครัวที่มีรายได้100000ขึ้นไป ทั้งสิ้น 15 ครัวเรือน โดยเฉี่ยเดือนละ 13861.11 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลักเฉลี่ย 7405.45 บาทต่อครัวเรือน กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจเฉลี่ย 45332.66 บาทต่อครัวเรือนและรายได้จากการทำทำอาชีพเสริมเฉลี่ย 1314.21บาทต่อครัวเรือน และรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 156.66 บาทต่อครัวเรือน และรายได้ที่ไม่เกิดจากการทำงาน เช่น รายได้จากเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นที่นอกครัวเรือนเฉลี่ย 2810 บาทต่อครัวเรือน
ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ทีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 61157.33 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 6690.22บาทต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2319.64 บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่จำเป็นเช่นเครื่องสำอางเฉลี่ย 1488.23 บาทต่อครัวเรือน ตามลำดับ ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 2822.68 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้มีฐานข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 คน กลุ่มเป้าหมาย 30คนได้รู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองพร้อมได้ปรับการใช้จ่ายในครัวเรือนให้ดีมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าการก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากรายจ่ายมีมากกว่ารายรับเกิดจากพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ้มเฟื่อย หลงสินค้าออนไลน์ กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และสถานการณ์มรสุมที่เข้ามาไม่เป็นตามกาลเวลาเหมือนในรอบปีที่ผ่านมา มีความต่างจากการลงสำรวจในครั้งที่ 1 เนื่องด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะไม่ได้รับรายได้ดีเท่าที่ควร เช่น ช่วงมรสุมไม่สามารถออกเลได้ การคำนวณรายรับรายจ่ายที่อาจคิดตามใจชอบ การไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น

 

0 0

20. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 5)

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 4/2/66 เวลา 09.00น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เริ่มด้วยคณะทำงานเตรียมสถานที่การประชุม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เตรียมการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ประธานโครงการฯเริ่มด้วยการสวดดุอาร์พร้อมชวนพูดคุยวัตถุประสงค์การประชุมและชวนทบทวนที่มาในกิจกรรมโครงการฯและเหลียวหน้าแลหลังการจัดกิจกรรมโครงการฯที่ผ่านมา พบว่าคณะทำงานเริ่มมีการพัฒนาบทบาทหน้าที่การทำงานตนเองและมีความสามารถในการทำงานกับชุมชนมีความเข้าใจด้านการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น และได้ขี้แจงในเรื่องของเอกสารงาน เอกสารการเงิน เพื่อให้คณะทำงานได้เข้าใจในแต่ละส่วนของงาน พร้อมมอบหมายหน้าที่การที่ทำงานตามความเหมาะสมในความสามารถของทีมงาน ประธานโครงการฯชวนทบทวนกิจกรรมส่วนที่เหลือพร้อมประเมินกลุ่มเป้าหมายมีติดขัดอะไรบ้าง มีความเข้าใจในกิจกรรมโครงการฯและให้ความร่วมมือมากขึ้นหรือไม่อย่างไรและส่งผลดีทำให้มีพลังและกำลังใจมากขึ้นหรือไม่ พร้อมชวนคณะทำงานร่วมกันรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ในที่ได้รับมอบหมาย วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯ ร่วมกำหนดวันเตรียมงานเพื่อจะจัดกิจกรรมตามแผนโครงการฯในเกิจกรรมอะไรบ้าง และสิ่งที่ต้องตามประเมินความเสี่ยง และศักยภาพชุมชนในเรื่องใด คณะทำงาน 10 คนช่วยกันสะท้อน ในด้านบวก คณะทำงาน10 คน กลุ่มเป้าหมายและชุมชน มีศักยภาพในระดับหนึ่ง ความพร้อมคณะทีมงาน ด้านพื้นที่กลางผู้นำชุมชนเริ่มให้ความสนใจในกิจกรรมโครงการฯ สามารถสร้างการยอมรับเกิดการมีส่วนร่วม ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ปัญหาอุปสรรค์ที่มีในเรื่องการบริหารจัดการเวลของคณะทำงาน มีเวลาว่างไม่ตรงกัน ศักยภาพในด้านต่างๆของคณะทำงานอย่างไม่เต็มที่ ขาดทักษะด้านเทคโนโลยี ขาดทักษะความกล้าแสดงออกในพูดภาษาไทย แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค์ ประธานโครงการฯ ให้โพสต์อิทเพื่อให้คณะทำงาน เขียนข้อดี ข้อเสีย แนวทางแก้ไข พร้อมอ่านให้เพื่อนๆฟัง จนทำให้คณะทำงานเริ่มมีความมั่นใจ กล้าพูดมากขึ้นพูดสิ่งที่อยากสะท้อนเพื่อเกิดการพัฒนาต่อตนเอง ชุมชน ประธานโครงการฯชวนถอดบทเรียนการทำงานของแต่ละคนในห้วงเวลาที่ผ่านมา พร้อมปรับบทบาทหน้าที่ ให้เหมาะสม ตามความเหมาะสม ประธานโครงการฯสรุปและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน 10 คน เกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น มีทักษะการประสานงานคนในชุมชนมากขึ้น พร้อมรู้จักตนเอง ประเมินตนเองเพื่อการการพัฒนาในด้านการทำงานในชุมชน เช่น การเตรียมงาน การประสานงาน การจัดสถานที่ประชุม การเตรียมอาหาร การประชาสัมพันธ์งาน คณะทำงานมีพลังบวกมากขึ้น เกิดการแบ่งปันน้ำใจซึ่งกันและกัน เกิดคณะทำงานที่เข้มแข็ง จำนวน 10 คน

 

0 0

21. พบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

หัวหน้าโครงการฯมาพบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจการเงินและรายงานในระบบพร้อมปรับแก้ รายงานกิจกรรมโครงการฯเพิ่มเติมข้อมูลในแต่ตัวกิจกรรมกรรม ให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น มีข้อมูลตามกิจกรรมที่สมบูรณ์มากขึ้น เริ่มด้วยตรวจเช็คเอกสาร ตามตัวกิจกรรมโครงการฯขาดเอกสารหลักฐานตัวไหนบ้าง เพื่อกลับไปเตรียมส่งให้พี่เลี้ยง ตรวจเช็ครายงานในระบบ ให้ตรงตามแผนงานกินโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หัวหน้าและทีมงานโครงการฯกิดความเข้าใจในการงานลงระบบงานมากขึ้น เกิดการปรับแก้ตัวเอกสาร เกิดการเพิ่มข้อมูลในระบบให้มากขึ้น

 

0 0

22. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 6)

วันที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 04/03/2023 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ชมรมประมงพื้นบ้าน คณะทำงานมาเจอตามนัดหมาย เริ่มจัดการภารกิจตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น ฝ่ายติดไวนิล ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายอาหาร ฝ่ายจดบันทึกการพูดคุย เริ่มต้นด้วย ประธานโครงการฯ กล่าวสวดดูอาร์ และเปิดประเด็นการพูดคุยประเด็นต่างๆ วาระที่ 1 การแจ้งเพื่อทราบในทุกเรื่องราว แผนชีวิต ข้อจำกัด เงื่อนไข ร่วมไปถึ่งการรับฟังสะท้อนจากสมาชิกในกิจกรรมโครงการฯ ในขณะเดียวกันประธานโครงการฯเปิดพื้นที่กลางให้เกิดการพัฒนาศักยภาพคณะทีมงานทุกรูปแบบ คณะทำงานสะท้อน เรื่องทั่วไป พร้อมบอกเล่าแผนชีวิต เพื่อการจัดกิจกรรมรอบถัดไปไม่กระทบต่อการช่วยดำเนินกิจกรรมงาน วาระที่ 2 ตามด้วยการวางแผนงาน กิจกรรมสำคัญในโครงการครั้งนี้ คือ กิจกรรมมหกรรมสตรีฯ วันที่ 10 มีนาคม 2566 คุยแผนงานพร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่คณะทีมงาน เช่น ประธานโครงการ รับหน้าที่ ประสานงานหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน ประสานการขออนุเคราะห์ของรางวัลเพื่อจับฉลากให้รางวัลกับกลุ่มสมาชิกในกิจกรรมโครงการฯ ประสานสถานที่กับเทศบาลตำบลปะนาเระ ประสานวิทยากรร่วมเสวนา จัดการส่งหนังสือหน่วยงานต่างๆ กำหนดประเด็นการเสวนา  ประสานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากหมู่บ้าน ตำบลอื่นๆ รวมถึงประสานเครือข่ายเพื่อร่วมกิจกรรมสร้างพลังบวก กำหนดจัดเตรียมสถานที่ จุดต่างๆ พร้อมวางทีมงานตามจุดต่างๆตามศักยภาพของทีมงาน มอบหมาย บทบาทหน้าที่ ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน ฝ่ายอาหารว่าง อาหารเที่ยง ฝ่ายดูแลบูทของเครือข่ายที่มาโชว์ผลิตภัณฑ์ ฝ่ายสถานที่/เวที ฝ่ายรับของรางวัล ฝ่ายจัดทำหนังสือเชิญ วาระที่ 3 วาระอื่นๆ คณะทำงานมีข้อกังวล ข้องห่วงใย ในด้านศักยภาพตามบทบาทหน้าที่ ประธานโครงการฯ ได้จัดกระบวนการ ฝึกทักษะให้คณะทีมงาน ตามบทบาทหน้าที่สร้างความมั่นใจในศักยภาพของแต่ละคน คณะทำงาน รับทราบพร้อมปฎิบัติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะทำงาน 10 คน ได้รับทักษะด้านการทำงาน บทบาทหน้าที่ตามความเหมาะสม คณะทำงานมีความสุขในการเรียนรู้ สะท้อนการทำงานในกิจกรรมโครงการฯได้รับองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่หลายหลาย ได้มีศักยภาพการทำงานกับสตรีในชุมชน ได้มีความรู้จักอย่างลึกซึ่ง เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างคณะทำงาน สมาชิกในกิจกรรมโครงการฯ ผลลัพธ์=คณะทำงานมีความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อสังคม เกิดความสามัคคีในคณะทำงาน เกิดทักษะกระบวนการทำงานในด้านต่างๆ สามารถต่อยอดการทำงานในกิจกรรมในอนาคต สามารถสร้างพลังสตรีฯในชุมชน เกิดการแบ่งปั่นระหว่างกัน เกิดการยอมรับกับหน่วยงานในพื้นที่

 

0 0

23. การสร้างเครือข่าย เพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (มหกรรมสินค้าอาหารทะเลแปรรูป/เวทีเสวนา)

วันที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 10/03/2566 เวลา 09.00 - 17.30 น.
        เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 คณะทีมงานโครงการส่งเสริมอาชีพครูแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระได้จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมมหกรรม การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน ตามการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ดังนี้ ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายลงทะเบียนฝ่ายจัดสถานที่ฝ่ายอาหารและฝ่ายกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ 80 คนกลุ่มเป้าหมายจากโครงการ 30 คนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายแม่บ้านประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปะนาเระอีก 20 คน เวลา 09:00 น กลุ่มเป้าหมายเริ่มทยอยลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเวลา 09:15 น -09.30น.หัวหน้าโครงการฯนางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกล่าวรายงานกิจกรรมโครงการฯ พร้อมกล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโครงการดังดังนี้
1 กิจกรรมโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงินสุขภาพและสังคมแก่คนในชุมชนที่เป็นแม่บ้านประมง
2 เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กลุ่มแม่บ้านประมง  เปิดพิธีโดยนายสนั่น สนธิเมือง 3.สร้างพลังเครือข่ายภายในระดับ ตำบล อำเภอปะนาเระ ที่เข้มแข็งและได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง เชิญท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวเปิดพิธีอย่างเป็นทางการ
เวลา 09.30น.-09.50น.หัวหน้าโครงการฯแนะนำคณะทำงานในกิจกรรมโครงการที่มาทำหน้าที่วันนี้จำนวน 9 คน ดังนี้ 1.อาอิชะฮ์ ตีมุง หัวหน้าโครงการ ฝ่ายดำเนินการบนเวที่ พิธีกร/ดำเนินการวิทยากรเสวานา 2.พานิดา ดาราโอะ ฝ่ายลงทะเบียน 3.รอซีด๊ะ สะอุ ฝ่ายต้อนรับ 4.นูรียะห์ มะสาแม ฝ่ายลงทะเบียน 5.นูนิสริน อาแว ฝ่ายการเงิน 6.สารีปะห์ สาฮะ ฝ่ายดูแลบูท แสดงสินค้า 7.อภิริณี มะสาแม ฝ่ายกองอำนวยความสะดวก 8.ฟาตีมะห์ เบ็ญนิซอ ฝ่ายจัดดูแลสถานที่ 9.โรฮานี ยูโซ๊ะ ฝ่ายดูแลเรื่องอาหาร เวลา 09.40 น.-10.00น. เริ่มกิจกรรมใจแลกใจ กิจกรรมประจำปีของกลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ คือ การจับฉลากของขวัญจากสมาชิกร่วมโครงการฯ โดยให้สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทุกคนนำของขวัญของตัวเองซื้อของที่ตัวเองชอบเพื่อมอบให้เพื่อนร่วมงาน และมีการขออนุเคราะห์ของรางวัลจาก หน่วยงานราชการในพื้นที่ ภาคเอกชน เพื่อสมทบเป็นของขวัญชิงโชคแก่สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 30คน รวมถึงเชิญเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมออกบูทแสดงสิ้นค้า ได้แก่ กลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ กลุ่มแปรรูปข้าวท่านํ้า กลุ่มปลาส้ม กลุ่มการท่องเที่ยวปะนาเระ เวลา10.00น.-12.00น. เริ่มกิจกรรมเสวานาแลกเปลี่ยนความรู้ ประเด็นหัวข้อ บทบาทสตรีกับสุขภาวะชุมชน ดำเนินรายการโดยนางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง ผู้ร่วมเสวนา โดย 1. นางสาวสุไรดา เจะแว เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำภอปะนาเระ 2.นาย อุสมัน ลา ตัวแทนจาก KPS (ครอบครัวรอยยิ้ม ชุมชนเป็นสุข) 3.นางสารภี รังษีโกศัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 4.นางสมหญิง ยศวิปาน รองประธานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลคลองวาฬ 5.นางฟารีดา ปันจอร์ อาจารย์นักวิจัย สถาบันความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มอ.ปัตตานี วิทยากรได้เวลาในช่วงแรกเพื่อแนะนำตัว แนะนำองค์กร คนละ 10 นาที หลังจากนั้นวิทยากรดำเนินรายการชวนคุย ด้วยประเด็นในองกรค์กรแต่ละท่านทำงาน เห็นความสำคัญต่อบทบาทสตรีในชุมชนอย่างไร? ล้วนให้คำตอบที่แตกต่างตามรูปแบบของแต่ละองค์กร ความเห็นสรุป ทุกท่านตอบเสียงเดียวกัน ว่าบทบาทสตรีมีความสำคัญและจำเป็นต้องมีในทุกมิติภารกิจงาน ผู้ดำเนินรายการชวนคุยต่อถึงบทบาทในองค์กรท่านที่สามารถพัฒนาบทบาทสตรีรวมถึงการจัดการสุขภาวะชุมชน เวลาคนละ 15 นาท ผู้ดำเนินรายการสรุปประเด็น ประสบการณ์วิทยากรที่แตกต่างรวมถึงบริบทพื้นที่ต่างกัน พอที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ประสบการณ์และพลังบวก สรุปสุดท้ายให้วิทยากรได้เติมพลังบวกฝากทิ้งท้าย และแนะนำช่องทางการพัฒนาต่อยอดในอนาคต สรุปจบการเสวนา ช่วงเช้า พักรับประทานอาหาร/ละหมาด เริ่มช่วงบ่ายเวลา 13.00น.-15.30น. กิจกรรมใจแลกใจ (แลกของขวัญ จับฉลาก) เริ่มกิกรรมเสวนา ประเด็นหัวข้อ แผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ดำเนินรายการโดย นางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง ผู้เสวนาโดย 1.นายฮาซัน ดอเลาะ นายกเทศบาลตำบลปะนาเระ 2.นายสุไลมาน ดาราโอะ ประธานบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้วยชุมชน 3.รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม อาจารย์คณะวิทยาวิทยาศสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี 4.นายอานัส ยุนุ๊ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สนง.กทท.จังหวัดปัตตานี 5นายอำพล ธานีครุฑ นายกสมาคมการท่องเที่ยวดดยชุมชนภาคใต้ 6.นายดนยา สะแลแม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวซัมปลีมอ สรุปการเสวนา เวลา 15.30น.17.30น. กิจกรรมใจแลกใจ(แลกของขวัญ ชิงโชค) สรุปปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต= จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการทำงานแบบบุรนาการกับทุกฝ่าย เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างพี่น้องประชาชนในพื้นที่และคณะทำงานกิจกรรมโครงการรวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ สามารถเชื่อมโยงขยายเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลและตำบลใกล้เคียง กิจกรรมจัดเวทีเสวนาทำให้เกิดผลการสะท้อนจากหน่วยงานภาครัฐที่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการทำงาน ประเมินการทำงานในอนาคต เกิดการยอมรับในภารกิจงานของหน่วยงานราชการมากยิ่งขึ้น เกิดแนวทางการทำงานเชิงการพัฒนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีชาวเลปะนาเระ ทำให้คณะทำงานในโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ รู้จักกับองค์กรเครือข่ายและหน่วยงานราชการในพื้นที่โอกาสเพื่อเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม เติมพลังบวกให้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ผลลัพธ์= คณะทำงานกิจกรรมโครงการได้เกิดการทำงานเป็นทีมมากยิ่งขึ้น ทำให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและเกิดการทำงานแบบบูรณาการที่ดียิ่งขึ้น เกิดองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นๆ ทำให้คนปะนาเระมีรอยยิ้ม สร้างสุขผ่านกิจกรรมได้ในระดับที่ดี

 

80 0

24. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 7)

วันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที 17/03/2566 เวลา 09.00 - 13.00 น คณะทำงาน 10 คน เตรียมความพร้อมเพื่อรับการสะท้อนประเมิน ในกิจกรรมที่ผ่านมา กิจกรรมมหกรรมสตรีฯ จุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค์ จากเวทีที่ผ่านมา กิจกรรมมหกรรมสตรีฯ โดยใช้กระบวนการสะท้อนผ่านกระดาษโพสอิท เพื่อให้เกิดการระบายความในใจและมองเห็นการพัฒนาในตัวเอง ผลสรุปจากการสะท้อน ทุกคนทำหน้าที่ได้ดีที่สุดแล้ว ข้อบกพร่องบางจุดเกิดจากการสื่อสารของคนที่นอกเหนือคณะทำงานแต่จะเข้ามามีบทบาท ด้วยความเกรงใจของคณะทำงานจึงยอมปล่อยให้เกิดขึ้น เช่น การประสานงาน มีคนอยากจะทำหน้าทีและได้กระทำล่วงหน้า การจัดการจุดลงทะเบียนมีคนอาสานั่งแทนจึงทำให้ต้องตามหลังในการจัดการใบลงทะเบียนให้สมบูรณ์แบบ จุดอาหารไม่ตามกติกาในบางคน เช่น ไม่เอาคูปองมาแลก เอาเผื่อคนอื่นกลุ่มคนเครือข่ายภายนอก ที่มาจากคนอาสาประสาน ทำให้ความพร้อมเพรียงกันไม่ตามแผนที่กำหนดไว้ ประธานโครงการฯกำหนดแผนงานกิจกรรมถัดไป และมอบหมายภารกิจงานตามบทบาทหน้าต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต= คณะทีมงาน 10 คนมีความเข้มแข็ง เกิดความสามัคคี แก้ไขอุปสรรค์ได้ดี นำบทเรียนความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนที่ดี รู้จักคิดบวกเติมพลังบวกให้กัน คณะทำงานแสดงความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถนำสู่ศักยภาพที่ดีต่อไป รู้จักเครือข่ายมากขึ้น ดีใจกับรางวัลที่ได้รับทำให้สร้างคุณค่าความเป็นกลุ่มสตรีฯ ผลลัพธ์=คณะทีมงาน 10 คน สามารถรับผิดชอบภารกิจงานในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างมั่นใจ สามารถตัดสินใจในกิจกรรมบางเรื่องได้ มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี การผ่านอุปสรรค์อย่างมั่นใจ เกิดความสามัคคีภายในคณะทำงานมากขึ้น ช่วยเหลือทุกมิติการทำงานได้ดี

 

0 0

25. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1)

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 28/4/2566 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามและประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และบัญชีครัวเรือน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมาตามนัดหมายพร้อมนำสมุดบันทึกครัวเรือนเพื่อมาตรวจสอบวิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือนพร้อมประเมินตนเอง ถึงความท้าทายในการจดบันทึก มีปัญหาในด้านใด ประธานโครงการได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้หมายโดยการใช้ กระดาษโพสอิท สะท้อนสิ่งที่ได้จากการทำบัญชีครัวเรือนและสะท้อนความยากในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ผลลัพจากการจัดกิจกรรมครั้งที่ 1 สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย เริ่มค้นหาตนเองในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน รายรับรายจ่ายในครัวเรือน หลายคนเจอปัญหารายจ่ายมากกว่ารายรับ บางคมีความไม่เข้าใจทักษะการบันทึกบัญชีครัวเรือน ประธานโครงการจัดทีมงานที่เป็นคณะทำงาน เป็นพี่เลี้ยง พี่สอนน้อง จับคู่บัดดี้ทำความเข้าใจ สอนการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนในแบบท่ง่ายต่อการจดจำ เช่น ทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย ให้รีบจดบันทึก เพื่อกันตัวเองลืม และคำนึกทุกๆค่าใช้จ่าย จดทุกอย่างที่เป็นรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นในครัวเรือน สรุปสุดท้ายสร้างความตระหนักในเรื่องการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนและบริหารจัดการเวลามาทำงานร่วมกันด้านกลุ่มอาชีพ สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนเกิดความเข้มแข็งด้วยมือสตรีต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต= กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีความเข้าใจมากขึ้นในด้านการจดบันทึก รายรับรายจ่ายและได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ได้มีทกษะการรู้จักประเมินตน รายรับ รายจ่าย หนี้สินในครอบครัว มีการวางแผนอนาคตมากขึ้น มีความหวังชีวิตใหม่ มีสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนทุกคนและมีการสำรวจติดตามจากคณะทำงานโครงการฯ คณะทำงานโครงการฯเกิดความใกล้ชิดกับสมชิกกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะถ่านทอดความรู้ สามารถเป็นพี่เลี้ยง ได้พัฒนาศักยภาพ จากการที่ได้ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์=เกิดความรัก ความสามัคคีสตรีฯในชุมชน รู้จักความเป็นอยู่แต่ละคนมากยิ่งขึ้น จากการลงพื้นที่พบปะคณะทำงานค้นพบว่าสมาชิกกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนพบว่ามีทักษะในการจัดทำบันทึกบัญชีครัวเรือนได้ดีกว่าเดิม มีเสียงความหวังอนาคตที่ดีในครอบครัว เห็นแนวทางเพื่อการทำงานรักถิ่นบ้านเกิดต่อไป

 

0 0

26. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 8)

วันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09.00น.-13.00น. ณ.ห้องประชุมปลากระโทง คณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ประธานโครงการฯอ่านสวดดูอาร์ และพูดคุยวาระต่างๆ วาระที่ 1 วาระแจ้งเพื่อทราบ คณะทีมงาน แจ้งเรื่องราว ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านตัวเอง มีข้อสังเกตในการบริหารจัดการเรื่องราวของผู้นำชุมชน บอกเล่าเรื่องสุขภาพกาย ใจและทางการเงินในการเลี้ยงลูกหลาน โอกาสของตัวเองจากการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการฯ ได้ถูกยอมรับในความเป็นคนทำงานจิตอาสามีการให้เกียติรจากคนในชุมชน ขอบคุณโอกาสที่ได้รับมาและยินดีกับบทบาทหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ วาระที่ 2 แผนงานกิจกรรมถัดไป การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน ประธานโครงการฯเปิดพื้นที่กลาง ให้สามชิกเสนอแนะ กระบวนการจัดการในกิจกรรม หัวใจหลักทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข สนุกกับการร่วมกิจกรรมโครงการฯและทางทีมงานได้งานไปด้วย มีการเสนอชวนสมาชิกในกิจกรรมโครงการฯรวมที่ที่เดียว จัดนํ้าเย็นให้ พร้อม แบ่งหน้าที่พี่เลี้ยงเพื่อตรวจติดตาม ผลการทำบัญชีครัวเรือน และช่วยสมาชิกที่ยังจัดการตนเองได้ไม่ดีพอ เพื่อให้เขาได้เห็นภาพพร้อมตัวอย่าง คณะทำงานเห็นชอบรอบถัดไปชวนและพร้อมสื่อสารเชิญชวนเพื่อนสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะกรรมการโครงการ มีสามารถในการเป็นพี่เลี้ยงสอนทักษะการบันทึกบัญชีครัวเรือน ทักษะการประสานงานให้เกิดความตระหนักกับกิจกรรมโครงการฯ ประธานโครงการฯมีทักษะในการฝึกสามชิกคณะกรรมการให้เกิดทักษะการทำงานทุกมิติ รวมไปถึงการเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อให้พลังการพัฒนาที่ระเบิดจากข้างใน จึงทำให้คณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯยินดีที่ร่วมกิจกรรม มีความสุขในการได้มีบทบาทหน้าที่รับชอบพัฒนาศักยภาพตนเองมากขึ้น ผลลัพธ์=เกิดการทำงานเป็นทีม เกิดความสามัคคีสตรีในชุมชน เกิดรักถิ่นบ้านเกิดพร้อมเปิดใจสู่การพัฒนาและการมีส่วนร่วมในทุกๆด้าน สามารถนำทักษะต่างๆใช้ในกิจกรรมงานอื่นๆรวมถึงนำไปใช้กับคนในครอบครัวต่อไป

 

0 0

27. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 2)

วันที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 28/4/2566 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามและประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และบัญชีครัวเรือน ……………

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการที่ได้ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนพบว่า ………………..

 

0 0

28. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 9)

วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น -13:00 คณะทำงานกิจกรรมโครงการ 10 คนเตรียมความพร้อมเพื่อทำความเข้าใจในภารกิจงานรวมไปถึงการวางแผนงานและถอดบทเรียนทุกๆกิจกรรม ประธานโครงการฯได้ชวนคณะกรรมการโครงการฯทำการ swot ขบวนการทำงานในรอบที่ผ่านมาทุกกิจกรรมได้สะท้อนถึงในเรื่องของจุดเด่นจุดอ่อนของการและอุปสรรคซึ่งให้คณะกรรมการทั้ง 10 คนได้แสดงความคิดเห็นเท่าที่ตัวเองประสบมาจากการได้ร่วมกิจกรรมจากการได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ผลสรุปจากการทำสม็อคจุดเด่นที่ทางคณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯได้นำเสนอคือเกิดการทำงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้นระหว่างคณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯและหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่สำคัญเกิดกระบวนการทำงานกับคนในชุมชนที่เป็นอันหนึ่งเดียวกันได้ในระดับหนึ่งและได้ทราบทีมเวิร์คทีมคณะกรรมการทำงานด้วยความตรงไปตรงมาด้วยการสร้างความสุขสร้างรอยยิ้มให้กับทีมงานและพัฒนาศักยภาพตนเองภายในตัว การรับบทบาทหน้าที่ทุกๆบทบาททำให้ตัวเองมีโอกาสได้แสดงความสามารถและได้มีโอกาสเรียนรู้ทุกกระบวนการทำงานและได้รู้จักเพื่อนมากยิ่งขึ้น จุดอ่อนของคณะกรรมการทั้ง 10 ท่านคือการสื่อสารกับคนภายนอกที่ยังมีความมั่นใจน้อยมากขาดความกล้าในการที่จะพูดคุยในประเด็นที่ตัวเองทำขาดทักษะการเก็บข้อมูลกับทักษะการสังเกตและวิเคราะห์โอกาสเงื่อนไข ขาดโอกาสการหาประสบการณ์จากภายนอก โอกาสทางคณะกรรมการโครงการได้สะท้อนในเรื่องของโอกาสทำให้สมาชิกคณะกรรมการในกิจกรรมของการรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมในกิจกรรมของการครั้งนี้ได้มีความรู้จักระหว่างคนในชุมชนมากขึ้นและสามารถที่จะได้รู้จักกับคนภายนอกมากยิ่งขึ้นรวมไปถึงรู้จักหน่วยงานราชการตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปและที่สำคัญโอกาสที่จะสร้างภูมิคุ้มกันการมีองค์ความรู้ในตัวรวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพและนำไปใช้ในกิจกรรมภารกิจอื่นที่ตนเองรับผิดชอบ โอกาสที่สำคัญคือการต่อยอดกิจกรรมเข้าสู่การออมทรัพย์ในชุมชนการมีธนาคารสถาบันการเงินภายในชุมชนเองและเกิดการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนโดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมสตรีในชุมชนตำบลปะนาเระ อุปสรรคช่องทางโอกาสที่อาจจะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างมากมายรวมไปถึงภาษาในการสื่อสารและความกล้าหาญของคณะทำงานโครงการฯยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในบางเรื่องบางอย่างทำให้ระบบการแก้ไขปัญหาเพื่อนำสู่ความสำเร็จยังต้องเป็นภาระของผู้นำประธานโครงการฯอย่างตลอดต่อเนื่องและด้วยความที่พื้นที่ปะนาเระเป็นเป็นที่ปิดโอกาสเชิงการพัฒนาค่อนข้างจะยากนอกจากหน่วยงานองค์กรข้างนอกจะต้องเข้ามาหาและทำความสะอาดที่ดีมากยิ่งขึ้น กระบวนการการการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการองค์การใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมและใช้ทักษะการสื่อสารผ่านโพสอิทผ่านเครื่องมือต่างๆโดยประธานโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะทำงาน 10 คน มีความเป็นทีมเวิร์คมีความเข้มแข็งมีความสามัคคีและมีทักษะในการจัดทำเอกสารรวมเป็นเด็กมีทักษะในการซักถามข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความชอบงานด้านสังคมมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์=สตรีปะนาเระมีที่พึ่งแห่งการแบ่งปั่นและสร้างรอยยิ้มให้กับสมาชิก มีความสามัคคีมากยิ่งขึ้นพัฒนาศักยภาพอย่างตลอดต่อเนื่องและเกิดการทำงานเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง เกิดกลุ่มออมทรัพย์เกิดการบริหารจัดการพร้อมที่จะเรียนรู้และนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

0 0

29. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 3)

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 19/5/66 เวลา 09.30น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมประชุมกระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ประธานโครงการฯเปิดการพูดคุยด้วยการสวดดูอาร์ และชวนคุยในประเด็นฐานข้อมูลตนเอง คณะทำงาน10คน ชวนคุยเพื่อทำการสำรวจข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน ในด้านเศรษฐกิจชุมชน รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น และได้จัดการจัดเก็บเพื่อให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติมโดยครั้งที่ 2 มีการสรุปจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า………..

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เก็บข้อมูล……………

 

0 0

30. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 10)

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมรับการลงทะเบียนเตรียมความพร้อมต่อการวางแผนงานของกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ ตามแผนประชุมวาระที่ 1 เวลาแจ้งเพื่อทราบ คณะกรรมการโครงการฯได้มีการชี้แจงกิจกรรมภายในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมแบบบุรณาการ เช่นกิจกรรมจัดโดยเทศบาลตำบลปะนาเระ อีกทั้งแจ้งกิจกรรมจิตอาสาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตำบลปะนาเระ  ประธานโครงการฯได้แจ้งในเรื่องของเครือข่ายกิจกรรมโครงการคำตอบอยู่ที่ตำบลเข้ามาเพื่อนำพาพี่น้องเครือข่ายจากพื้นที่ 5จังหวัดมาศึกษาดูงาน ภายในเดือนสิงหาคม 2566 และได้เลือกพื้นที่ตำบลปะนาเระเป็นพื้นที่ต้นแบบ ในการจะพาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 5 จังหวัดมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์กับกลุ่มชมรมประมงและกลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ วาระที่ 2 แผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและแผนการดำเนินงานสร้างความยั่งยืนของกลุ่ม แผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯ หัวหน้าโครงการฯได้ชี้แจงและกระชับให้กับคณะทำงานได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่และติดตามประเมินผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางที่ดีในปัจจุบันและอนาคต เช่นพฤติกรรมการกิน ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และเตรียมรองรับกิจกรรมถัดไปที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้ารวมถึงเตรียมตัวเพื่อทำงานแบบดำเนินการกับหน่วยงานในพื้นที่อำเภอปะนาเระ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมคำตอบอยู่ที่ตำบล และร่วมกันติดตามแผนการดำเนินงานในรอบที่ผ่านมาและคณะกรรมการร่วมกัน swot ภารกิจที่ทำในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้าน การเตรียมความพร้อมที่จะรองรับกิจกรรมโครงการอนาคตและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาพื้นที่ตำบลปะนาเระ วาระที่ 3 วาระอื่นๆวางกำหนดการตามแผนงานและเร่งการจัดกิจกรรมเพื่อได้เผื่อเวลาเตรียมตัวในกระบวนการทำงานเก็บตกในทุกมิติในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพในบ้านประมงพื้นบ้านเพื่อให้ภารกิจงานของคณะทำงานได้ลดลงมากขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะทำงานได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง พร้อมปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทได้เป็นอย่างดีรวมไปถึงสามารถรณรงค์ให้สมาชิกในกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมทำกิจกรรมอย่างตลอดต่อเนื่องและได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนอื่นๆรวมไปถึงรู้จักในวิธีการทักษะกระบวนการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกด้วย ผลลัพธ์=คณะทำงานชุดนี้มีความสามารถและได้รับการพัฒนาศักยภาพระดับหนึ่ง มีความพร้อมในกิจกรรมต่างๆสามารถที่จะทำงานต่อเนื่องภายใต้กิจกรรมที่จะต่อยอดในอนาคต

 

0 0

31. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 3)

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 26/5/2566 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามและประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และบัญชีครัวเรือน ……………

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการที่ได้ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนพบว่า ………………..

 

0 0

32. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 4)

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 เวลา 9:00 น ถึง 13:00 น. คณะทำงานกิจกรรมโครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ได้ดำเนินกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่ ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมโครงการร่วมแลกเปลี่ยนในภารกิจติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและการบริหารจัดการบัญชีครัวเรือน ซึ่งทำให้สมาชิกในกิจกรรมโครงการฯทุกคนนำสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องและประเมินในเรื่องของการออมทรัพย์ที่ความมีความขัดข้องในเรื่องใดและแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันแลกเปลี่ยนและสร้างพลังร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ชุมชนโดยระเบิดจากข้างในของคนในชุมชน โดยจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้กับคณะกรรมการโครงการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเติมเต็มหรือส่วนที่สมาชิกไม่ถนัดจะฝึกให้สมาชิกจัดการในเรื่องของบัญชีครัวเรือน การจดบันทึกบัญชีครัวเรือนให้ถูกต้องและสนับสนุนให้กลุ่มสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายจะบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงประมวลผลในเรื่องของอาชีพที่ได้ทำ โอกาสที่ได้จากกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านครั้งนี้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะทำงานกิจกรรมโครงการมีความชำนาญยิ่งขึ้นในเรื่องของความเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเป้าหมายการเติมทักษะในเรื่องของบัญชีครัวเรือนการเงินเสริมกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการมีส่วนร่วมมีการทำงานตามบทบาทหน้าที่ สามารถที่จะพัฒนาต่อยอดในกิจกรรมขโครงการได้อีกและทำให้ชุมชนมีพลังตื่นตัวในการที่จะทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น สามารถมีแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินในระดับหนึ่ง สามารถมีอาชีพเสริมมีรายได้เข้ามาในแต่ละครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวสมาชิกกลุ่มเป้าหมายในโครงการ ผลลัพธ์=จากการดำเนินกิจกรรมตลอดต่อเนื่องทำให้คณะทำงานในกิจกรรมโครงการมีความคล่องในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละบทบาทหน้าที่มีความเข้าใจในความเป็นกิจกรรมโครงการมากขึ้น สามารถสื่อสารเรื่องดีๆเชิงการพัฒนาชุมชนให้กับสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายรวมถึงคนในชุมชนได้ดีและมีโอกาสการพัฒนากิจกรรมโครงการเพื่อต่อยอดในอนาคตได้ เกิดพลังระเบิดจากข้างในของคนในชุมชนที่เริ่มมีความสนใจจะร่วมกิจกรรมโครงการของกลุ่ม

 

0 0

33. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 11)

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา09.00น.-12.00น. คณะทำงานโครงการส่งเสริงอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ ได้เตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับนโยบายขับเคลื่อนงานสตรีชาวเลชุมชนปะนาเระ นำทีมโดยหัวหน้าโครงการฯ เปิดด้วยสวดดูอาร์และต้อนรับสมาชิกรวมถึงถามทุกข์สุข สารพัดปัญหาครอบครัว ชุมชน อัปเดตความเคลื่อนไหวภารกิจงานพัฒนาจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ โดยคณะทีมงานร่วมกันสะท้อน หลังจากการนับฟังทุกคนช่วยสะท้อน หัวหน้าโครงการฯได้ผลสรุปจากการสะท้อน พื้นที่ตำบลปะนาเระมีกิจกรรมที่หลากหลายเกิดขึ้น การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานในพื้นที่มีมากขึ้น ทุกหน่วยงานพูดถึงกลุ่มสตรีชาวเลมากขึ้นในด้านการขับเคลื่อนงานต่อเนื่อง ได้รับการชื่นชมจากผู้ใหญ่หลายท่าน ว่า ภายใต้กิจกรรมโครงการเราที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากสตรีในชุมชนค่อนข้างดี จึงทำให้ปัจจุบันเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเริ่มเกาะติด กิจกรรมของกลุ่มสตรีชาวเลฯ และเริ่มต้นด้วยวาระที่ 1 วาระแจ้งเพื่อทราบ เปิดพื้นที่กลางให้ทีมงาน แจ้งทุกเรื่องราว ภารกิจตนเอง ภารกิจชุมชนตามบทบาทหน้าที่ที่นอกเหนือในกิจกรรมโครงการฯ เพื่อจัดระบบการขับเคลื่อนงานในกิจกรรมถัดไปไม่ชนกับงานอื่นๆของทีมงานและทำหน้าที่ตนเองได้เต็มที่ ทีมงานสะท้อนประเด็นเรื่องการจดบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายที่หลายคนยังขัดข้องด้านการจดต่อเนื่อง สืบเนื่องจากยังไม่ชินกับชีวิตที่เปลี่ยน มีลืมจด มีเรื่องหารสมุดไม่เจอ มีเรื่องความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้สมาชิกอีกหลายคนประเมินคะแนนตกในบางเดือน ทีมงานเสนอแนวทางนัดติดตาม ประเมินผลอีกครั้ง ในวัที่ 9 มิถุนายน 2566 พร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกที่ยังไม่เข้าใจจัดการเรื่องการจดบัญชีครัวเรือนให้สมบูนณ์แบบที่สุดเท่าที่ทำได้เบื้องต้น วาระที่ 2 แผนการดำเนินงานระสั้น ระยะยาว หัวหน้าโครงการฯทวนนัดหมายเรื่องการติดตาม ประเมินผล วันที่ 9/6/66 พร้อมเพรียงกันเวลา 09.00น.-13.00น. ร่วมวางแผนภารกิจงานด้านเอกสารเพื่อเตรียมปิดโครงการฯตามบทบาทหน้าที่ที่ช่วยได้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทีมงาน การตรวจเอกสาร รวมถึงประเมินแผนอนาคตเมื่อโอกาสต่อโครงการฯทางกลุ่มสตรีชาวฯอยากต่อยอดในกิจกรรมด้านการเงิน การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น พัฒศักยภาพทีมงานในแต่ละด้านให้มีความชำนาญในแต่ละด้านตามความถนัดและตามบทบาทหน้าที่ที่มอบหมาย การศึกษาดูงานพื้นที่อื่น เพื่อนำเป็นแบบอย่างท่ดีต่อไป คาดหวังได้มีโอกาสสร้างชุมชนต้นแบบจากมือสตรีชาวเล จัดการบทเรียนที่ผ่านมาของชุมชนให้เป็นระบบพร้อมสร้างยังยืนมิติ อาชีพและการจัดการหนี้สินของสมาชิกกลุ่มฯ จัดหาสถานที่ทำการสตรีชาวเลเพื่อเป้นพื้นที่กลางในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันพึ่งพื้นที่ของชมรมประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชายทำงานกัน ซึ่งประะธานสตรีชาวเลรับเรื่องดำเนินการเพื่อให้เกิดพื้นที่กลางสตรีชาวเลดังหวัง  วาระที่ 3 วาระอื่นๆ คณะทำงานสะท้อนความมรู้สึกขอบคุณโครงการที่ดีเป็นที่มาทำให้ทีมงานได้รับองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพมิติต่าง ได้รับการยอมรับความเป็นแกนนำสตรีในชุมชนมากขึ้น เป็นที่พึ่งให้สมาชิกปรึกาาหารรือมิติต่างๆ ได้มีเพื่อนที่หลากหลายต่างหมู่บ้าน ได้ฝึกการทำงานด้านกิจกรรมโครงการฯได้เข้าใจความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่กิจกรรมที่ต่างกัน ทำให้ได้ทักษะต่างๆจากกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ได้พลังบวกพร้อมสร้างรอยยิ้มให้สตรีในชุมชน  หัวหน้าโครงการฯ สรุปขอบคุณเติมพลังงบวกคนทำงานจิตอาสา กล่าวปิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะกรรมการโครงการมีความตระหนักงานในบทบาทหน้าที่ตนเองมากขึ้น คณะทำงานมีพลังบวกพร้อมในทุกเวลา มีการพัฒนาตนเองในทุกด้าน เช่นศักยภาพในการทำงานตามบทบาทหน้าที่ ทักษะการสื่อสารกับสมาชิกเชิงบวก มีความกล้าพูดหน้าเวที่มากขึ้น มีการจดการประชุม เรียนรู้การเก็บประเด็น สามารถดึงสามชิกสตรีในชุมชนให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้ดี ผลลัพธ์=คณะกรรมการสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ประเมินสถานการณ์มิติต่างๆได้ มีทักษะการนำเสนอประเด็นปัญหา ประเด็นการพัฒนาชุมชนตนเอง มีความรับผิดชอบ สามารถสร้างเครือข่าย มีทักษะการจัดกิจกรรมมากขึ้น เติมพลังบวกให้ซึ่งกันและกันได้ดี

 

0 0

34. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 5)

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

…เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 เวลา 9:00 น-13 .00น. คณะพิมพ์งานโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปานามิได้จัดเตรียมเอกสารเพื่อทำการติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการบริหารจัดการบัญชีครัวเรือน โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ฝ่ายประสานงาน จัดกระบวนการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีทักษะการสื่อสารพูดคุยด้วยตนเองดึงศักยภาพกลุ่มเป้าหมายโดยประธานโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ พร้อมในเชิญชวนเปิดประเด็นให้พี่น้องสมาชิกกลุ่มเป้าหมายในโครงการส่งเสริมอาชีพในบ้านประมงพื้นบ้านได้สะท้อนไม่จิตอาสาโดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการในเรื่องของเข้ามาทำหน้าที่ในเรื่องของอาชีพเสริมและการประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของแต่ละครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

…ผลผลิต =คณะทำงานกิจกรรมโครงการมีภาวะความเป็นจิตอาสาเสียสละเวลาและลักษณะในการนำพาหนะรับส่งผลเป้าหมายเพื่ออยากทราบการมีส่วนร่วมให้กับพี่น้องประชาชน คณะทำงานกับแฟนมีทักษะในการสื่อสารประสานงานรวมถึงทักษะการเตรียมสถานที่ ในส่วนของเป้าหมายในกิจกรรมโครงการมีความสุขที่ได้มาเจอกันทุกๆครั้งและได้จัดการตัวเองฝึกทักษะการเขียนบันทึกบัญชีครัวเรือนทักษะในเรื่องของการสร้างงานสร้างอาชีพการอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มของสตร ผลลัพธ์ =สติปัญญาเล็กมีความเข้มแข็งสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับกลุ่มและสามารถนำประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้คุมสตรีมีงานทำมีอาชีพเสริมภายในชุมชนและปัญหาหนี้สินื กลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมการตอบคำเดียวว่ามีความสุขสืบเนื่องจากภายในกิจกรรมมีทักษะเสริมองค์ความรู้ทักษะการสื่อสารที่เป็นประโยชน์และโอกาสในการให้กับกลุ่มเป้าหมายด้วย

 

0 0

35. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 ณ.ลานชายหาดปะนาเระ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 กิจกรรมเวทีบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระจังหวัดปัตตานี คณะทำงานในกิจกรรมโครงการได้จัดเตรียมสถานที่พร้อมเครื่องมือกระบวนการเพื่อทำการถอดบทเรียนในกิจกรรมโครงการเวลา 8:30 น จนถึงเวลา 9:00 น คณะทำงานต้อนรับกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมโครงการจำนวน 30 คนและกลุ่มเป้าหมายที่นอกเหนือกิจกรรมโครงการอีก 20 คนรวมเป็น 50 คนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังร่วมถอดบทเรียนกิจกรรมในรอบที่ผ่านมา เวลา 9:00 น ถึงเวลา 9:30 น คณะทำงานในกิจกรรมโครงการรับการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ประธานโครงการได้จัดการเตรียมเครื่องมือเพื่อชวนคุยกับพี่น้องที่เป็นสมาชิกในกิจกรรมโครงการและพี่น้องที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการครั้งนี้เบื้องต้นใดมิได้มีการแนะนำตัวคณะทำงานในกิจกรรมโครงการจำนวน 10 คนและได้กล่าววัตถุประสงค์ในการดำเนินงานกิจกรรม เวลา 9:00 น ถึง 12:00 น เริ่มกระบวนการการมีส่วนร่วมโดยมีวิทยากรชวนคุยเพื่อตกผลึกภาพความเป็นพื้นที่ชุมชนปะนาเระและแนวทางการพัฒนารวมถึงบทเรียนกระบวนการทำงานในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ โดยคุณอุสมาน ลา นักกิจกรรมจากองค์กร KPS (ครอบครัวรอยยิ้มหมู่บ้านเป็นสุข) ใช้เครื่องมือโดยการแจก post it /กระดาษสีติดแต้ม โดยให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ประเมินกิจกรรมในรอบที่ผ่านมาและให้คะแนนความสุข  โดยใช้วิธีการจด/เขียน แปะ และชวนตัวแทนกลุ่มๆละ 2 คนแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่กลุ่มคณะทำงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ กลุ่มเป้าหมาย 20 คนจากโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มในบ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระและกลุ่มผู้สนใจที่เข้ามาร่วมกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนในครั้งนี้ ผลการประเมินกิจกรรมรอบแรกคือการใส่แต้มเพื่อให้คะแนนกิจกรรมที่สนใจตลอดระยะเวลาในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ กิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจคือกิจกรรมส่งเสริมอาชีพกิจกรรมต่อยอดการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนเพื่อให้เกิดสถานการณ์การเดินในชุมชนแก้ปัญหาหนี้สินในอนาคตและกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพรวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน เมื่อกลุ่มเป้าหมายได้ติดแต้มความพึงพอใจในแต่ละกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านไปแล้วพิธีกรโดยประธานโครงการฯ ได้สรุปผลคะแนนที่กลุ่มเป้าหมายได้ติดตามต่างๆ แล้วมอบเวทีให้ทางวิทยากรได้เชิญตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความรู้สึกที่ได้มีกิจกรรมในพื้นที่ชุมชน 3 กลุ่มเป้าหมาย
              พักเที่ยงละหมาด....เริ่มต่อ เวลา 13.30 นจนถึงเวลา 15:00 น พิธีกรได้มีกิจกรรมสันทนาการเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นความสนใจให้กับกลุ่มเป้าหมายและได้เริ่มกิจกรรมแจก post it และมีการวาดภาพรูปแก้วกาแฟแล้วให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดได้ให้คะแนนความรู้สึกความสุขที่มีกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ ผลลัพธ์ให้กับคนในพื้นที่วัดความสุขได้กี่เปอร์เซ็นต์?สรุปสุดท้ายวิทยากรได้อ่านผลจากการไปแปะโพสต์อิทของกลุ่มเป้าหมาย ผลปรากฏกลุ่มเป้าหมายได้ให้คะแนนวัดความสุขในการได้ร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงปะนาเระ 50 -100% มีความสุขในการที่มีกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงปะนาเระและมีการเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายให้มีกิจกรรมโครงการต่อยอดตลอดต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการกิจกรรมระยะยาวเช่นการดำเนินการกิจกรรมออมทรัพย์ยังมีความต้องการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานรวมไปถึงพัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่ชุมชนตำบลปะนาเระ ลดปัญหาหนี้สิน าร้างความตระหนักการออม การสร้างความสามัคคี สร้างการมีส่วนร่วมต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=จากจัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สตรีในชุมชนอยากมีส่วนร่วมงานด้านสังคมมากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนด้วยมือเรา ด้วยการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมที่ทางกลุ่มสตรีฯจัดขึ้น พร้อมนำองค์ความรู้ที่ได้จากการรับการอบรมในกิจกรรมโครงการ ไปประชาสัมพันธ์ บอกต่อและนำสู่การปฎิบัติในครอบครัว เช่นกิจกรรม อบรมทักษะการเงิน การออมทรัพย์ การทำบัญชีครัวเรือน การดูแลสุขภาพ
ผลลัพธ์=จากจัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาทำให้เกิดการยอมในการทำงานกับทุกภาคส่วน ทำให้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย หน่วยงานรัฐสนใจมีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมที่ทางกลุ่มฯจัดขึ้น มีแนวทางการพัฒนาในทุกมิติ สตรีในชุมชนสนใจต่อยอดกิจกรรมให้เกิดความสำเร็จเช่น ประชาสมพันธ์ในคนในครอบครัวมาสมัครออมทรัพย์ สมัครให้ลูกหลานรู้จักการออมฯ มีความหวังที่จะเห็นภาพความสำเร็จเชิงการพัฒนาชุมชน อยากเห็นการทำงานแบบบูรณาการกับทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

 

50 0

36. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 6)

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 9:00 น-13:00 น คณะทำงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านป่านาเระ ขับเคลื่อนงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยการเชิญกลุ่มเป้าหมาย 30 คนเพื่อทำการติดตามประเมินผลในกิจกรรมกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่มบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 6 ผลจากการติดตามประเมินจากกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับหนึ่ง ทำให้สตรีในชุมชนมีความตระหนักรู้ในเรื่องของการทำงานด้านจิตอาสาส่งเสริมเรื่องอาชีพในชุมชนและรู้จักไปพร้อมระบบการบริหารจัดการของกลุ่มทำความเข้าใจในมิติการทำงานเพื่อสังคมและตระหนักในเรื่องของการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนรวมเป็นถึงรู้จักประเมินรายรับรายจ่ายของครอบครัวนำมาสู่การออมทรัพย์อีกแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินและปัญหาความยากจนในอนาคตต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

…ผลผลิต =กิจการติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่มการทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 6 ทำให้คณะทำงานในกิจกรรมโครงการมีความชำนาญและมีความรู้เพิ่มขึ้นในทุกมิติสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นอย่างดีและทำให้คนในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านมีความเข้าใจและได้มีองค์ความรู้ในทักษะต่างๆจึงทำให้มีกลุ่มเป้าหมายสนใจที่อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มสตรีจากหลากหลายหมู่บ้าน ผล ลัพธ์ = จากการจัดกิจกรรมติดตามประเมินผลอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่มบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 6 ทำให้สตรีในชุมชนได้ตระหนักรู้ในมิติต่างๆและสามารถเป็นที่พึ่งให้กับกลุ่มสตรีในชุมชนสามารถเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มสมาชิกสตรีในอนาคตข้างหน้าและสามารถดึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในมิติของสตรีสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

 

0 0

37. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 12)

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

….เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา09.00น.-12.00น. คณะทำงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านได้รวมตัวเพื่อเคลียร์เอกสารการดำเนินงานกิจกรรมโครงการเพื่อปิดกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพไม่ได้ประมูลพื้นบ้านปะนาเระหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มและบ้านประมงพื้นบ้านปัญญาริคณะทำงานได้มาร่วมด้วยช่วยกันเคลียร์เอกสารทางการเงินและรายละเอียดต่างๆเพื่อส่งไปยังพี่เลี้ยงตัวทางเพื่อเข้าสู่ระบบอย่างเป็นทางการอีกครั้ง วิธีการทำงานจะแบ่งตามบทบาทหน้าที่ตามความถนัดของกลุ่มคณะทำงานรวมเป็นถึงจะมีกลุ่มฝ่ายอำนวยการเพื่อติดตามรายละเอียดต่างๆที่ยังไม่ครบถ้วนจะมีเครื่องมือในการขอความคิดเห็นแสดงความรู้สึกจากคณะทำงานภายใต้กิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพส่งเสริมอาชีพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต= สมาชิกคณะทำงานมีความกระตือรือร้นในภารกิจงานจิตอาสามีความเสียสละที่มากยิ่งขึ้นและมีทักษะในกระบวนการทำงานทุกมิติที่หลากหลายมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้น ผลลัพธ์ =จากการประมวลภาพรวมการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระทำให้ได้เห็นถึงศักยภาพของคณะทำงานในกิจกรรมโครงการดียิ่งขึ้นคณะทำงานในกิจกรรมโครงการมีความสามารถที่หลากหลายและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายงานโครงการมีทักษะองค์ความรู้ที่เก็บเกี่ยวตลอดต่อเนื่องจากกิจกรรมในโครงการส่งเสริมอาชีพในสังคมชุมชนและครอบครัวต่อไป

 

0 0

38. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 3

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00น.-12.00น. คณะทำงานในกิจกรรมโครงการร่วมกันต้อนรับพี่เลี้ยงและเตรียมความพร้อมสะท้อนผลสรุปการดำเนินงานในห้วงเวลาที่ผ่านมาสรุแผนการดำเนินงานกิจกรรมทั้งหมด พี่เลี้ยงมาสร้างพื้นที่กลางให้คณะทำงานชวนคุยในเรื่องของการทำ a r e 2/3 ของชุมชน เอาตัวชี้วัดของกิจกรรมที่เคยทำ a r e ที่ผ่านมาแล้วชวนถอดบทเรียนของโครงการส่งเสริมแม่บ้านประมงพื้นบ้าน โดยมีประเด็นหลัก 8 ประเด็นและให้คะแนน เต็ม 5 คะแนนและโยงใยแมงมุมให้ตรงกับสิ่งที่ได้รับการประเมิน ประเด็นดังนี้ (1) คือโครงสร้างการทำงาน ประเมินคณะทำงานทั้ง 10 คนเมื่อมีการทำงานตามบทบาทหน้าที่ คณะทำงานได้สะท้อนในเรื่องของบทบาทหน้าที่ซึ่งมีความชัดเจนมากขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมจากเดิมคะแนน 4 และได้รับการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพจึงทำให้มีความคล่องในเรื่องการจัดการในบทบาทหน้าที่ตนเองจนประเมินให้คะแนน 5 คะแนน  (2) ในประเด็นบทบาทหน้าที่ คณะทำงานได้ประเมินตัวเองให้ 5 คะแนน รอบที่แล้วและรอบนี้เนื่องจากคณะทำงานได้ทุ่มเทเสียสละในเรื่องของเวลาอย่างเต็มที่และได้จัดการทุกมิติของปัญหาด้วยตัวเอง ได้ทำบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเต็มความสามารถ (3) ประเด็นงานชัดเจน คณะทำงานได้ประเมินกระบวนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาให้ 5 คะแนน สืบเนื่องจากกลุ่มมีการประชุมเตรียมทุกๆครั้งที่จะเริ่มกิจกรรมและกลุ่มมีการประเมินทุกๆครั้งที่มีปัญหากลุ่มมีการทำงานแบบบูรณาการกับทุกฝ่ายจึงมีความรู้สึกแผนงานกิจกรรมโครงการมีความชัดเจนมาก (4) ประเด็นการปฏิบัติการตามแผน คณะทำงานในกิจกรรมโครงการได้ให้คะแนน 5 คะแนน สืบเนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมโครงการตามแผนงานทุกกิจกรรมที่สำคัญมีความภูมิใจที่สามารถจัดกิจกรรมโครงการฯให้เสร็จก่อนแผนการดำเนินงาน (5) ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ คณะทำงานได้ประเมินให้คะแนน 5 สืบเนื่องจากมีมีสตรีในชุมชนสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโครงการด้วยทำให้คณะทำงานมีความรู้สึกพอใจและมีพลังที่จะดำเนินกิจกรรมตลอดต่อเนื่อง  (6) ประเด็นความรู้ของชุมชน คณะทำงานได้ประเมินให้ 5 คะแนนสืบเนื่องจากกิจกรรมที่ให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกิจกรรมถูกตอบรับเป็นอย่างดี เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติเช่นพฤติกรรมด้านการกินอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการออมเงินจนถึงทำให้เกิดกลุ่มออมทรัพย์ 1 กลุ่ม (7) การมีส่วนร่วมของชุมชน ให้คะแนนเต็ม 5 สืบเนื่องจากการตอบรับของคนในชุมชนที่มีความสนใจที่จะร่วมกิจกรรมโครงการกับคณะทำงานและพร้อมที่อยากจะพัฒนาชุมชนได้ ผลจากการสำรวจในเวทีที่จัดกิจกรรมภายใต้โครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้าน  (8) ความสำเร็จของโครงการ คณะทำงานได้ให้คะแนนเต็ม 5 ตัวชี้วัดที่เห็นถึงความสำเร็จในกิจกรรมโครงการคือสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายมีความสนใจและตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพ เรื่องของการจัดการหนี้สิน เรื่องของการออมทรัพย์และเกิดการมีส่วนร่วมภายในชุมชนมีความสนใจมากขึ้นและสามารถดำเนินกิจกรรมโครงการได้เสร็จก่อนกำหนดตามเป้าหมายที่วางไว้ สรุปผลจากการถอดบทเรียนในครั้งนี้บันไดผลลัพธ์ที่ 1 เห็นได้ชัดการเกิดกลุ่มคณะทำงานที่คัดเลือกจากกลุ่มสตรีชาวเลและพัฒนาศักยภาพในตลอดต่อเนื่องสามารถดำเนินกิจกรรมในโครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี บันไดผลลัพธ์ที่ 2 มีความรู้ทักษะพัฒนาอาชีพ กิจกรรมสำคัญอบรมเสริมความรู้บริหารจัดการการเงิน พัฒนาศักยภาพแกนนำเป็นผู้ประกอบการแผนการตลาด บันไดผลลัพธ์ที่ 3 มีการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพกิจกรรมสำคัญติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่าย วันเด็กผลลัพธ์ที่ 4 มีอาชีพเสริมกิจกรรมสำคัญการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายอาชีพและการตลาด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=คณะทำงานมีส่วนร่วมในการสะท้อนการถอดบทเรียน มีความกล้าในการสื่อสารมากขึ้น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆและสามารถประเมินตนเองและชุมชนได้ ผลลัพธ์=คณะทำงานมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมโครงการได้ในระดับหนึ่งและมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมในกิจกรรมโครงการตลอดต่อเนื่องสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายและมีความสามารถในการประสานสตรีในชุมชนเพื่อมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของการเป็นอย่างดี

 

0 0

39. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00น.-16.30น. กิจกรรมวันแรก  เดินทางถึงโรงแรมเซาเทอร์น แอร์พอต รับอาหารกล่องและเตรียมจัดแสดงนิทรรศการ มีการจำหน่ายและนำเสนอสินค้าโดยจัดโต๊ะเป็นกลุ่มสำหรับการจัดนิทรรศการ กลุ่มละ 1 จังหวัดได้แก่ จังหวัดปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส,สงขลา,สตูล,นครศรีธรรมราช,พัทลุง,กระบี่,ตรังและพังงา โซนจังหวัดปัตตานี จัดบูทนิทรรศการวางผลิตภัณฑ์ชุมชน เวลา 13.00 น. ทางโครงการเริ่มไลฟ์สด เยี่ยมชมนิทรรศการแต่ละโครงการฯ โดยมีนายมะยุนันรับหน้าที่ในการไลฟ์สดในงานผ่านช่องทางเพจ สมาคมสร้างสุขชุมชน ชุมชนปะนาเระเป็นตัวแทนนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนจากจังหวัดปัตตานี ของดีจังหวัดปัตตานี ผลิตภัณฑ์จากชุมชนปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี/ชุมชนท่าคลอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี/ชุมชนลูโบะซุลง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เวลา 14.00น.กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำผลลัพธ์ 26 ข้อโดยมีการแบ่งกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงตัวแทนละ1-2 คน พี่เลี้ยงทำหน้าที่ชวนคุยวิเคราะห์และร่วมสรุปถอดบทเรียน จำนวน 26 ข้อ ได้แก่ 1.ชื่อโครงการฯ ?2.จำนวนแกนนำ ? 3.จำนวนแกนนำที่มีความรู้การบริหารโครงการ ? 4.จำนวนแกนนำที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพพและการเงิน ? 5.จำนวนแกนนำที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ? 6.จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ? จำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ ? 7.จำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ ? 8.จำนวนคนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(สุขภาพ+การเงิน) ? 9.ลักษณะพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง พึ่งพาตนเองด้านอาหาร ? 10. ที่มีความสุขเพิ่ม? 11.จำนวนกลุ่มในชุมชนที่สร้างแหล่งอาหารในชุมชน ?  เวลา16.00 น.พี่เลี้ยงประจำกลุ่มนำผลการเเลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มมานำเสนอในวงใหญ่ เวลา 18.30 น.รับประทานอาหารร่วมกันในรูปแบบปาร์ตี้สังสรรค์และชมการแสดงของตัวแทนแต่ละจังหวัด     กิจกรรมวันที่สอง เวลา 09.00 น. นายมะยูนันเป็นพิธีกรผู้ดำเนินกิจกรรมได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและให้ตัวแทนบางกลุ่มได้แลกเปลี่ยนกล่าวถึงสิ่งที่รับจากกิจกรรมของวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ผู้เข้าร่วมได้กล่าวว่า "มีความประทับใจในการที่ได้เข้าร่วมโครงการและกิจกรรม ได้รู้จักเครือข่าย รู้จักเพื่อนจากจังหวัดอื่นๆ" "ได้ผ่อนคลายความเครียดจากการร่วมแสดงปาร์ตี้สังสรรค์" "ได้รู้จักเครื่องมือเรื่องบันไดผลลัพธ์ในการวัดตัวชี้วัดความสำเร็จกิจกรรมของโครงการ แบ่งกลุ่มย่อยในการถอดบทเรียนโครงการ(มีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม)โดยมีหัวข้อย่อยดังนี้ 1.การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการสนับสนุนการมีแนวทางอย่างไร? -กลุ่มเป้าหมายมีความตั้งใจ -มีเป้าหมายเดียวกัน -มีความสนใจกิจกรรมเดียวกัน -การมีส่วนร่วม -กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ -กลุ่มเยาวชน/ผู้สูงอายุ 2.แกนนำควรได้รับการพัฒนาทักษะเรื่องอะไรบ้าง? เพื่อให้ขับเคลื่อนงานได้บรรลุผลลัพธ์ -การสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ -การตลาด -ทักษะผู้ประกอบการ -การสร้างเครือข่าย/เชื่อมโยงแบ่งปัน -ความรู้เฉพาะด้านให้สอดคล้องประเด็นโครงการ -การสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้นำ -การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้/การรับมือ -การยกระดับแกนนำให้เป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ -การส่งต่อ/การถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นต่อไป 3.การจัดการข้อมูลตามบรรไดผลลัพธ์ มีวิธีการเก็บ การตรวจสอบความถูกต้องและการเอาข้อมูลไปใช้ในโครงการอย่างไร? ตัวอย่างที่เคยทำ -วิธีเก็บข้อมูลได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม การจัดประชุม การบันทึกสมุดออมทรัพย์ -การตรวจสอบได้แก่ การติดตามตรวจสอบความถูกต้อง กระบวนการกลุ่ม การลงพื้นที่ -การนำไปใช้ได้แก่ จัดเวทีคืนข้อมูล เป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำกิจกรรมต่อไป ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -นำข้อมูลไปแก้ปัญหา โดยการแก้หนี้/สหกรณ์ บัตรสวัสดิการ 4.การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนวิชาการมีแนวทางอย่างไร? -เป็นพี่เลี้ยงในการทำงานร่วมกัน -เป็นที่ปรึกษา/เติมพลังให้กับชุมชน/กำลังใจ -แก้ปัญหาร่วมกัน -เกิดการกระตุ้นจากพี่เลี้ยงย่างแรงเพื่อขับเคลื่อนงานให้บรรลุผล -การเข้าถึง การเข้าใจและพัฒนาให้เกิดผล -การสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบครอบครัว 5.ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง จากหน่วยจัดการและภาคีระดับพื้นที่เป็นอย่างไร? -ผลักดันกิจกรรม/โครงการให้เกิดการต่อยอด -การสร้างเครือข่ายระดับพื้นที่ -การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ -การพัฒนาศักยภาพแกนนำ -การเติมเงิน/คน/งาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต=ได้รับพลังบวกจากการนำเสนอของพื้นที่ชุมชนอื่นๆรวมถึงจากพี่เลี้ยง ได้ทักษะการถอดบทเรียนที่เข้มข้นยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับกิจกรรมอื่นๆ และสามารถต่อยอดงานได้ดีขึ้น ผลลัพธ์=เกิดแรงบันดาลใจ ที่อยากต่อยอดกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อเนื่อง สามารถดำเนินงานด้านเอกสารได้มากยิ่งขึ้น สามารถนำทักษะกิจกรรมสันทนาการไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆและได้มีทักษะจัดเก็บข้อมูล ผ่านเครื่องมือวิธีการถอดบทเรียนในครั้งนี้

 

1 0

40. พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวจเอกสารการเงินรายงานในระบบ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

41. พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่การเงินนัดพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบเพื่อตรวจความถูกต้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบเพื่อตรวจความถูกต้อง เพิ่มเติมบัตรประชาชนและบิลใบเสร็จรับเงินให้ครบ้ว

 

2 0

42. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการเงินและรายงานในระบบคนใต้สร้างสุข

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่การเงินตรวจเอกสารการเงินและรายงานเพิ่มเติมในระบบคนใต้สร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่การเงินตรวจเอกสารการเงินและรายงานเพิ่มเติมในระบบคนใต้สร้างสุขถูกต้องครบถ้วน

 

2 0

43. จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพและสังคม แก่คนในชุมชนที่เป็นแม่บ้านประมงพื้นบ้าน
ตัวชี้วัด : 1.เชิงปริมาณ - กลุ่มเป้าหมายมีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงินในเรื่องของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย - กลุ่มเป้าหมายสามารถให้ความรู้และทักษะต่าง ๆ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพแก่คนในชุมชนได้ 100% 2.เชิงคุณภาพ - กลุ่มเป้าหมายมีการดูแลสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น - มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของตนเองได้ - มีการปรับวิถีการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของตนเองไปในทางที่ดียิ่งขึ้น
1.00

 

2 เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแม่บ้านประมงพื้นบ้าน
ตัวชี้วัด : 1.เชิงปริมาณ - มีกลุ่มอาชีพ มีระบบการจัดการกลุ่ม มีการออม 2.เชิงคุณภาพ - กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีอาชีพจากการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล และมีรายได้จากการจำหน่ายในชุมชนและนอกพื้นที่
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ 30
ครอบครัวของครัวเรือนเป้าหมาย 90

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพและสังคม แก่คนในชุมชนที่เป็นแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (2) เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแม่บ้านประมงพื้นบ้าน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พี่เลี้ยงลงพื้นที่ติดตามประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE (2) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. (3) ถอนเงินเปิดบัญชี (4) สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (5) ประชุมคณะทำงาน (6) เวทีชี้แจงโครงการ (7) พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน (8) เสริมความรู้เรื่องหลักสุขภาพ (9) เสริมความรู้เรื่องการบริหารเงิน (10) การแปรรูปสัตว์น้ำ (11) จัดตั้งกลุ่มอาชีพ (12) พบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน (13) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (14) สร้างเครือข่าย (15) พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวจเอกสารการเงินรายงานในระบบ (16) เวทีถอดบทเรียน (17) เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ (18) ทำไวนิล (19) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 1) (20) พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 1 (21) เวทีชี้แจงโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการแก่คนในชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ เช่น แกนนำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกษตร ประมง (22) ปั๊มตรายาง (23) สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 1) (24) พัฒนาศักยภาพแกนนำเป็นผู้ประกอบการและวางแผนการตลาด (25) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 2) (26) อบรมเสริมความรู้เรื่องหลักสุขภาพ (27) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (28) อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน (29) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 3) (30) การอบรมอาชีพการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล (31) จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การออม (32) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 4) (33) พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 2 (34) สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 2) (35) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 5) (36) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (37) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1) (38) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 6) (39) การสร้างเครือข่าย เพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (มหกรรมสินค้าอาหารทะเลแปรรูป/เวทีเสวนา) (40) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 7) (41) การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1) (42) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 8) (43) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 2) (44) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 3) (45) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 9) (46) สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 3) (47) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 10) (48) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 4) (49) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 11) (50) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 5) (51) เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (52) การติดตาม  ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม  บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 6) (53) ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 12) (54) พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 3 (55) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (56) พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบ (57) พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการเงินและรายงานในระบบคนใต้สร้างสุข (58) จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-10018-19

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด