task_alt

โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง

ชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

รหัสโครงการ 65-10018-34 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2566 ถึงเดือน สิงหาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7

วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้รับหน้าที่ให้ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามกลุ่มอาชีพ

  2. คณะทำงานเรียนรู้วิธีการทำเอกสารการเงินในรูปแบบที่ถูกต้อง

3.  คณะทำงานได้รับมอบหมายให้ติดตามผลการทำบัญชีครัวเรือนจากกลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ / ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม / เคลียร์เอกสารการเงิน

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • แบ่งหน้าที่คณะทำงานทุกคน ให้ติดตามประเมินผลตามกลุ่มอาชีพ และให้สรุปผลส่ง เพื่อประเมินสถาการณ์การดำเนินกิจกรรม / และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา

  • เอกสารการเงินบางส่วนยังไม่ถูกต้องและชัดเจน จึงให้กลับไปแก้ไขใหม่ (การออกบิล)

  • ติดตามกลุ่มเป้าหมายเรื่องบัญชีครัวเรือน ว่ากลุ่มเป้าหมายได้มีการทำบัญชีครัวเรือนตามที่คณะทำงานได้สอนบ้างหรือไม่ / มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในการทำ หรือต้องการให้คณะทำงานช่วยเหลือในด้านใดเพิ่มเติม

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

เวลา 13.40 น. - 14.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

 

5 0

2. ประชุม Zoom Topic SoHappi training on content creation

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เรียนรู้สามารถใช้งานการสร้างผลงานผ่านแอปพลิเคชั่น Canva

  2. ผู้เรียนรู้ส่งผลงานการออกแบบชิ้นงานผ่านแอปพลิเคชั่น Canva ตามที่วิทยากรสอน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

น.ส.ปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ เป็นตัวแทนของคณะทำงานโครงการเข้าร่วมประชุมกับหน่วยจัดการ ในวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ SoHappi training on content creation

โดยในกิจกรรมจะมีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบแคปชั่นที่ช่วยสร้างความน่าดึงดูดใจให้กับสินค้า โดยใช้ช่องทางการสร้างผ่านแอปพลิเคชั่น Canva ซึ่งวิทยากรจะแนะนำขั้นตอนและวิธีการสร้างรูปแบบ / การใส่รูปภาพ / การใส่ข้อความ ให้มีความน่าสนใจ

ในการประชุมครั้งนี้ วิทยากรได้เชิญชวนให้ตัวแทนผู้ที่เข้าร่วมประชุม ได้ลองสร้างชิ้นงานผ่านแอปพลิเคชั่น Canva เพื่อเป็นการฝึกฝนและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. แผนการแก้ไขปัญหาของกลุ่มอาชีพปลูกผัก โดยจะทำการนัดหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมจากภาคีเครือข่าย ในกิจกรรมสวนผักคนเมือง

  2. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นของกลุ่มอาชีพปลูกผัก และ ปลาแดดเดียว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล รับผิดชอบเรื่องการจัดสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ที่ปรึกษาโครงการได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมโครงการ / ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มอาชีพ โดยมีตัวแทนกลุ่มอาชีพเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

เวลา 09.10 น. -12.00 น. คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • นางเอื้อมพร พงศ์รัตน์ ตัวแทนกลุ่มปลูกผัก ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่พบจากการดำเนินกิจกรรม คือ ปัญหาศัตรูพืช ซึ่งเป็นหาสำคัญที่อยากให้คณะทำงานเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทางคณะทำงานได้แนะนำกิจกรรมของภาคีเครือข่ายที่สามารถเข้าร่วมเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก คือ กิจกรรมสวนผักคนเมือง ที่มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน โดยการนำผู้เชี่ยวชาญ/วิทยากร มาให้ความรู้ แนะนำ สาธิตวิธีการ และนำเมล็ดพืชหรือต้นกล้ามาแจกให้แก่ชาวบ้านที่สนใจในกิจกรรมปลูกผัก

  • นางพรทิพย์ ขาวเขียว ตัวแทนกลุ่มปลาแดดเดียว ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่พบจากการดำเนินกิจกรรม คือ ปัญหาสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำปลาแดดเดียว เนื่องจากการทำปลาแดดเดียวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายวันในการนำปลาไปตากแดด แต่เนื่องจากแสงแดดที่มีไม่สม่ำเสมอ บางวันแดดจัด บางวันไม่มีแดด ทำให้ผลผลิตที่ได้ มีคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามความต้องการ หากจะขยายเป็นการทำค้าขายแบบใหญ่ขึ้น อาจจะต้องใช้เครื่องมือที่ช่วยให้การทำปลาแดดเดียวง่าย และมีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น


เวลา 12.00 น. - 13.00 น. คณะทำงานพักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น. - 13.40 น. คณะทำงานได้ทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม โดยมีการนัดหมายสำหรับกลุ่มอาชีพปลูกต้นอ่อน และ กลุ่มปลูกผัก รวมทั้งกลุ่มอื่นที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม สวนผักคนเมือง เพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากวิทยากร/ผู้เชี่ยวชาญ

เวลา 13.40 น. - 15.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

 

5 0

4. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผลสรุปของการดำเนินโครงการ ที่จะใช้ในการสรุปผลร่วมกับหน่วยจัดการ (15-16 กรกฎาคม 66)

  2. รายชื่อผู้ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลอื่นที่สนใจ และต้องการต่อยอดการดำเนินกิจกรรม (เช่น การปลูกผักสวนครัว แหล่งเรียนรู้ คือ นางเอื้อมพร พงศ์รัตน์ / ผักสลัด คือ นายอโณทัย พิทักษ์ธรรม / น้ำยาล้างจาน คือ น.ส.ปราณี แสงจันทร์ศิริ เป็นต้น)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ในเวลา 11.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวอภิญญา ชนะโชติ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 11.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรม และสรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ร่วมกับ นายอุบัยดิลละห์ หาแว (พี่เลี้ยงโครงการ)

เวลา 11.10 น. – 12.00 น. คณะทำงานได้ทำการจัดเตรียมเพื่อนำเสนอต่อพี่เลี้ยงโครงการ

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

เวลา 13.20 น. นายอุบัยดิลละห์ หาแว ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของการประชุม โดยได้มีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานและตัวแทนกลุ่มอาชีพ มีเนื้อหาสรุป ดังนี้

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 1 คณะทำงานโครงการมีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการ และเกิดข้อตกลงร่วมกันพร้อมภาคี

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 2 เกิดกลไกกลางรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 3 กลุ่มสามารถสร้างอาชีพที่เกิดจากการทำผลผลิตของกลุ่มมาปรุงเป็นเมนูทำอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และราคาที่เหมาะสม จำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าในเมือง

  • บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 4 เกิดแผนธุรกิจดำเนินการ

  • ผลการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีการออกกำลังกาย สุขภาพดีขึ้น จิตใจเบิกบาน ในด้านอาหาร ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการทานผักที่ปลูกเอง มีการทำอาหารสุขภาพ และบริโภคอาหารที่ทำทานเองมากขึ้น ด้านความเครียดมีผลที่ลดลง เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายลดลง ด้านความสุข มีเพิ่มขึ้น จากการมองเห็นวิธีการแก้ปัญหา การได้เจอเพื่อนใหม่ๆ มีรายได้จากการทำกิจกรรม

  • ผลการเปลี่ยนแปลงรายจ่าย พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีรายจ่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปลูกผักกินเอง มีโครงการสนับสนุน รู้จักบริหารจัดการวัตถุดิบ สามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้จริง (เช่น น้ำยาล้างจานที่ทำเอง) การมีสังคมมากขึ้นทำให้มีการเอื้อเฟื้อแบ่งปันจากผู้ร่วมทำกิจกรรมและชาวบ้านในชุมชน

  • ผลการเปลี่ยนแปลงในแต่ละมิติ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สามารถสรุปได้ คือ มิติของสังคม มีการรวมกลุ่มมากขึ้น มีการทำข้อตกลง การสร้างกติกา เป็นผลให้ความขัดแย้งลดลง มีการแบ่งปันกันมากขึ้น // ด้านเศรษฐกิจ มีรายจ่ายลดลง รายได้เพิ่มขึ้น เกิดเป็นธุรกิจครอบครัว มีลูกค้า มีกิจกรรมซื้อขาย มีชนิดของสินค้าที่เพิ่มขึ้น // ด้านสุขภาพ มีความเครียดลดลง ลดการใช้สารเคมี มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีการออกกำลังกายมากขึ้น // ด้านสิ่งแวดล้อม มีผักที่ปลอดสารพิษ มีการลดใช้พลาสติก เพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการเปลี่ยนใบไม้ให้เป็นรายได้ ขยะติดเชื้อลดลงเนื่องจากจำนวนคนป่วยลดลง เวลา 16.00 น. - 16.30 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

 

5 0

5. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. --------

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

นางบุณย์บังอร ชนะโชติ และ น.ส.สิริรัตน์ เดชเส้ง เป็นตัวแทนของคณะทำงานโครงการ ได้เข้าร่วมประชุมใน เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ ณ โรงแรมเซาเทอร์น แอร์พอร์ต หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566


ความน่าสนใจของการถอดบทเรียนเวทีวันนี้คือ
ตำบลหนึ่งในจังหวัดตรัง สำรวจข้อมูลหนี้สินพบว่า 1,000 ครัวเรือนมีหนี้สินรวม 80 ล้านบาท วิธีการแก้ไขหนี้สิน /จัดการหนี้สิน - เริ่มทำสวนผัก เพื่อลดรายจ่าย

  • ช่วยกันคิดหาวิธีจัดการหนี้

  • จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน

 

0 0

6. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. แผนการจัดกิจกรรม วันที่ 31 สิงหาคม 2566

  2. หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน สำหรับการจัดกิจกรรมวันที่ 31 สิงหาคม 2566

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

นางสาวสิริรัตน์ เดชเส้ง ทำหน้าที่ประสานงานคณะทำงานโครงการให้มาประชุม ณ ที่ทำการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน ในเวลา 09.00 น.

นางสาวบงกช สุวรรณรัตน์ รับผิดชอบการจัดเตรียมอาหารว่างและอาหารเที่ยงให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวปิยพร ผิวนวล ทำหน้าที่จัดสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการประชุม

นางสาวปิยนันต์ แสงจันทร์ศิริ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม

เวลา 09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการประชุมในครั้งนี้ โดยเรื่องที่จะประชุม คือ การจัดกิจกรรมในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 / การจัดแสดงสินค้า / การวางแผนต่อยอดการผลิต

เวลา 09.10 น. – 12.00 น. คณะทำงานได้ร่วมแลกเปลี่ยนและหารือ มีเนื้อหาสรุปได้ดังนี้

  • คณะทำงานแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับกิจกรรมในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

  • คณะทำงานร่วมกันออกแบบรูปแบบการจัดสถานที่ / ป้ายแสดงผลงาน / การจัดแสดงผลผลิต และวางแผนต่อยอดการผลิต ซึ่งเป็นการเชิญภาคีเครือข่ายมาแนะนำแนวทาง วิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และวิธีการจำหน่าย / ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น

เวลา 12.00 น. – 13.00 น. คณะทำงานรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

เวลา 13.00 น. – 14.30 น. คณะทำงานร่วมกันทำการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ เพื่อนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่ายในเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

เวลา 14.30 น. – 15.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ทำหน้าที่สรุปผลการประชุมให้คณะทำงานโครงการรับทราบและปิดการประชุม

 

5 0

7. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผลการดำเนินงานกิจกรรมแต่ละกลุ่มอาชีพ ทั้ง 4 กลุ่ม
  2. สรุปผล SWOT ของแต่ละกลุ่มอาชีพ
  3. แนวทางการต่อยอดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการ

09.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประส่งค์ของการจัดกิจกรรม เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง 09.10 น. - 12.00 น. ตัวแทนกลุ่มอาชีพทั้ง 4 กลุ่ม ได้ออกมานำเสนอผลงาน / ผลประกอบการ ของการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ได้รับมอบหมาย 12.00 น. - 13.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน 13.00 น. - 13.40 น. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม Work shop วิเคราะห์หา SWOT ของแต่ละกลุ่มอาชีพ 13.40 น. - 15.00 น. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอผลการวิเคราะห ์ SWOT 15.00 น. - 16.00 น. นางบุณย์บังอร ชนะโชติ ได้กล่าวถึงแนวทางการต่อยอดโครงการ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมยังมีความต่อเนื่องถึงแม้จะปิดโครงการแล้ว
16.00 น. ผู้ร่วมประชุมเดินทางกลับ

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 25 25                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 77,540.00                  
คุณภาพกิจกรรม 100                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาว สิริรัตน์ เดชเส้ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ