directions_run

โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างแหล่งอาหารชุมชน คนบ่อยางสร้างเงิน ตำบลบ่อยาง
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-34
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว สิริรัตน์ เดชเส้ง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0993567932
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ phichayhx@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายอุบัยดิลละห์ หาแว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 30 มิ.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ก.ค. 2566 15 ส.ค. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรที่มีอาชีพรับจ้างและอาชีพค้าขาย มีรายได้ลดลงจนส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้ว่างงานไม่มีรายได้ ในขณะที่รายจ่ายยังคงมีประชากรกลุ่มหนึ่งเกิดมีหนี้สินนอกระบบจำนวนสูงขึ้น ประชากรกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากทึ่สุดจำนวน 1,000 ครัวเรือน
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครสงขลาหรือเมืองบ่อยาง แบ่งการปกครองเป็น 55 ชุมชน โดยจำนวน 34 ชุมชน เทศบาลนครสงขลากำหนดเป็นชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง ชุมชนลักษณะดังกล่าวนี้มีลักษณะเป็นชุมชนแออัดที่มีการรวมกลุ่มกันทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร โดยมากกว่า 70 %ของประชากรทั้งหมดมีรายได้น้อยขาดการออมและมีหนี้สิน นอกจากนี้ยังขาดความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัย เนื่องจากอาศัยอยู่ในที่ดินที่ไม่ใช่ของตนเอง มากกว่า 50%ของกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐทั้งแบบถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายกล่าวคือ ไม่มีสัญญาเช่าที่ถูกต้องหรือที่เรียกกันว่า เป็นผู้บุกรุก อาชีพที่เหมาะสำหรับคนเมืองบ่อยางจึงควรจะเป็น อาชีพรับจ้าง ค้าขาย และบริการ(แบบหาบเร่แผงลอย และแบบผู้ประกอบการรายย่อย)

ข้อมูลประชากร ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ระบุว่า เขตเทศบาลนครสงขลาหรือเมืองบ่อยาง มีจำนวนประชากรทั้งหมด 59,296 คน จำนวน 20,127 ครัวเรือน จำนวนบ้าน 25,644 หลังคาเรือน อาชีพส่วนใหญ่คือ ค้าขาย รองลงมาคือรับจ้าง และรับราชการ ตามลำดับ ที่ผ่านมา

เมื่อปี 2563 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ได้ออกคำสั่งเรื่อง มาตรการควบคุมพื้นที่ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จังหวัดสงขลา โดยรายละเอียดแห่งคำสั่งดังกล่าวได้มีการปิดตลาดในเขตเทศบาลนครสงขลาจำนวน 3 แห่งคือ ตลาดประชารัฐวันศุกร์(หน้าอำเภอเมืองสงขลา) ตลาดถนนคนเดิน และตลาดนัดวันอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีคำสั่งปิดสถานที่ท่องเที่ยวจำนวน 8 จุดเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ได้มีการขยายเวลาการบังคับใช้ของคำสั่งจนถึงปี 2564 ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือ ประชากรที่มีอาชีพรับจ้างและอาชีพค้าขายที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครสงขลาต้องหยุดการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 2 ปี รายได้ลดลงจนส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้ว่างงานไม่มีรายได้ ในขณะที่รายจ่ายยังคงมีประชากรกลุ่มหนึ่งเกิดมีหนี้สินนอกระบบจำนวนสูงขึ้น ยากที่จะหาทางแก้ไขได้ และในที่สุดได้กลายเป็นผู้มีความเครียดสะสม มีปัญหาทางสุขภาพจิตและเชื่อมโยงให้เกิดปัญหาสุขภาพกายในเวลาต่อมา ประชากรกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากทึ่สุดจำนวน 1,000 ครัวเรือน คือประชากรในเขตชุมชนแออัด8ชุมชนของเขตเทศบาลนครสงขลาได้แก่ชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนสนามบิน ชุมชนสวนหมาก ชุมชนย่านเมืองเก่า ชุมชนศาลาเหลืองเหนือ ชุมชนชัยมงคล ชุมชนแหลมทรายและชุมชนพัฒนาใหม่ จากเหตุปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวข้างต้นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 30 คน จึงได้รวมตัวกันจัดทำโครงการขึ้นเพื่อขอรับงบสนับสนุนจากสมาคมอาสาสร้างสุขและสำนักงานส่งเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งเป็นการแก้ไขและหาทางออกของปัญหาโดยการใช้กิจกรรมการประกอบอาชีพที่มีต้นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้วและยึดหลักการพึ่งพาตนเองรวมถึงทุกคนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

จากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดการรวมตัวสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวซึ่งทำให้มองเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจชุมชนได้ในลักษณะที่มีเป้าหมายเด่นชัดคือการต่อยอดอาชีพเดิมที่สามารถยกระดับไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุดชุมชนเน้นการใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตนเองทั้งนี้มีเป้าหมายที่คาดหวังว่ากลุ่มเป้าหมายจำนวน30รายใน8ชุมชนเขตเทศบาลนครสงขลาสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้สร้างเงินได้ไม่ต่ำกว่าจำนวน10,000บาทต่อเรือน โดยวิธีการนำผลผลิตของแต่ละกลุ่มอาชีพมาปรุงเมนูอาหารเพื่อจำหน่ายคนในเมือง ในลักษณะ Farm To Tableตลอดถึงสามารถร่วมกันสร้างสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนของตนเองได้จนสามารถขยายผลเป็นชุมชนต้นแบบให้ชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงมาเรียนรู้และนำไปก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

พัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม สร้างอาชีพและรายได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน และการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ

ผลลัพธ์
1.1 คณะทำงานโครงการที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการและเกิดข้อตกลงร่วมกัน

ตัวชี้วัด

  1. เกิดคณะทำงานที่มาจากการคัดเลือกของกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 5คน
  2. มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานทุกเดือน
  3. เกิดกลไกหรือองค์กรเชื่อมโยงกล่มอาชีพ
  4. เกิดข้อตกลงร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อไปให้ถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
40.00
2 เพื่อพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้รูปแบบการทำงานในพื้นที่จริงของชุมชนเมืองบ่อยาง

2 1 เกิดกลไกกลางการรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้

  1. เกิดผลผลิตของแต่กลุ่มอาชีพ เช่น
  • การปลูกผัก
  • ปลาแดดเดียว
  • การเปิดร้านค้าขายผลผลิตและสินค้าของแต่ละกลุ่มอาชีพ

2.มีข้อมูลกลุ่มอาชีพ แหล่งทุนในชุมชน แผนที่ทรัพยากร พร้อมข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในชุมชน

3.มีแผนในการดำเนินธุรกิจกลุ่มอาชีพและแผนการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนเพื่อคืนกำไรสู่สังคม

40.00
3 เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้

3.1 เกิดแหล่งอาหารชุมชน ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านการเงินและเกิดช่องทางการตลาดแบบใหม่

  1. เกิดผลผลิตอย่างน้อยจำนวน4 อาชีพ ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  2. เกิดกลุ่มไลน์ เพจ ในการขายสินค้า
  3. ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
3.10
4 เพื่อดำเนินกิจการการผลิต การแปรรูปการสร้างช่องทางการตลาดและการเงิน ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนไปสู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและจับต้องได้

3.2 เกิดแผนธุรกิจดำเนินการสนับสนุนดำเนินการกลุ่มอาชีพ

  1. กลุ่มอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น 60% จากการประกอบอาชีพ
  2. รายได้ช่วยเหลือสังคม10% ของกำไร
  3. กลุ่มเปราะบางได้รับการช่วยเหลืออย่างน้อย 8 รายใน 8ชุมชน
3.20
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คนพิการ 1 -
ผู่สูงอายุ 11 -
แม่เลี้ยงเดี่นว 4 -
แรงงานนอกระบบ 24 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน10เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ(1 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 9,000.00                        
2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ(17 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 10,000.00                        
3 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน(18 ก.ย. 2565-18 ก.ย. 2565) 61,000.00                        
รวม 80,000.00
1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน10เดือน และสื่อสารการทำงานผ่านกลุ่มไลน์อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,000.00 10 9,009.00
30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 5 900.00 700.00
8 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 5 900.00 700.00
5 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 5 900.00 823.00
6 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 5 900.00 700.00
4 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 5 900.00 835.00
7 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 5 900.00 925.00
5 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7 5 900.00 700.00
29 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8 5 900.00 2,002.00
5 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9 5 900.00 752.00
24 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10 5 900.00 872.00
2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 51 10,000.00 8 8,626.00
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมเวทีโครงการระดับหน่วยจัดการ 2 10,000.00 1,430.00
30 ก.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 คีย์ข้อมูล 0 0.00 3,000.00
19 พ.ย. 65 กิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 3 0.00 1,030.00
8 ก.พ. 66 เวทีสะท้อนผลลัพธ์โครงการ ARE 40 0.00 1,000.00
11 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ 3 0.00 454.00
12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ 3 0.00 454.00
20 - 21 พ.ค. 66 ประชุม Zoom Topic SoHappi training on content creation 0 0.00 350.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจบนฐานราก 0 0.00 908.00
3 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 290 61,000.00 7 59,905.00
26 ต.ค. 65 เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน 40 4,400.00 4,400.00
27 - 28 ต.ค. 65 การสำรวจเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ และทุนในชุมชน ข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่ต้องการความช่วยเหลือ พร้อมจัดทำแผนที่ทรัพยากรในชุมชน ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 40 4,400.00 4,400.00
11 พ.ย. 65 เวทีประชุมกำหนดกติกากลุ่มในการดำเนินโครงการ เชิญกลุ่มเป้าหมายร่วมทำข้อตกลงด้วยกันเพื่อให้โครงการขับเคลื่อนไปตามแผนที่วางไว้ 40 4,000.00 4,000.00
17 พ.ย. 65 เวทีชี้แจงดำเนินการตามกลุ่มอาชีพที่ได้รับมอบหมายไว้ ให้อุปกรณ์และลงมือปัฏิบิติตามอาชีพและพื้นที่ของตัวเอง 40 23,989.00 24,140.00
20 - 22 พ.ย. 65 อบรมการจัดทำแผนธุรกิจ และการจัดการธุรกิจจัดส่งอาหารไปถึงผู้บริโภค 40 7,000.00 7,000.00
28 พ.ย. 65 เปิดครัวชุมชนแหลมสนอ่อนเพื่อร่วมกันผลิตอาหารใช้ชื่อว่า " ครัวปิ่นโดตุ้มตุ้ย" ประชาสัมพันธ์รับออเดอร์ 40 3,600.00 3,600.00
31 ส.ค. 66 เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ เชิญภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟัง 50 13,611.00 12,365.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะทำงานโครงการมีความสามารถในการขับเคลื่อนงานโครงการและเกิดข้อตกลงร่วมกันพร้อมภาคีเครือข่าย
  2. เกิดกลไกกลางการรวมกลุ่มอาชีพ พร้อมทำแผนการทำงานที่ชัดเจนตามที่วางไว้
  3. กลุ่มสามารถสร้างอาชีพที่เกิดจากการนำผลผลิตของกลุ่มมาปรุงเป็นเมนูอาหารที่สะอาด ปลอดภัยและราคาที่เหมาะสมส่งจำหน่ายให้แก่กลุ่มลูกค้าในเมือง
  4. เกิดแผนธุรกิจดำเนินการดำเนินการกลุ่มอาชีพ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:09 น.