directions_run

โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ความสำเร็จและผลลัพธ์ของโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีดังนี้ - เกิดคณะทำงาน 15 คน มาจากบัณฑิตจบใหม่ที่ได้รับผลกระทบจาก covid ตัวแทนชุมชนเป้าหมาย และประชาชนทั่วไป เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน และมีแผนการปฏิบัติงาน - มีฐานข้อมูลการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังและพื้นที่ใกล้เคียง และเกิดแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง โดยจัดทำ Banner ประชาสัมพันธ์จำนวน 1 ภาพ และเผยแพร่ Banner ลงไปในกลุ่ม Facebook ดังนี้ กลุ่มนครตรัง สมาชิก 1.5 หมื่นคน กลุ่มอยากซื้อ อยากขาย เมืองตรัง สมาชิก 9.8 หมื่นคน และกลุ่มคนตรังทับเที่ยง สมาชิก 6.6 หมื่นคน - แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวเปิดให้บริการแล้ว จำนวน 1 แพลตฟอร์ม ที่ greenmarket.psutrang.com โดยคะแนนประเมินความพึงพอใจของการใช้งานแพลตฟอร์มอยู่ที่ระดับ 81.25% - โครงการเปิดรับสมัครกลุ่มเปราะบาง คือ ผู้ว่างงาน เข้าร่วมในโครงการเพื่อเป็นไรเดอร์ในการส่งผักปลอดสารพิษ จำนวน 2 คน ปฏิบัติงานวันละ 2 รอบ รอบเช้า 08.00 - 10.00 น. และ รอบเย็น 16.00 - 18.00 น. ในระหว่างวันที่ 1 - 31 กรกฎาคม 2566 ผลสรุปกลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 100 บาท/วัน โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าตัวชี้วัดที่ได้ตั้งไว้ เนื่องจากจำนวนคำสั่งซื้อในแต่ะวันยังน้อย รวมถึงบางวันไม่มีคำสั่งซื้อ จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อวันที่คำนวณจากรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าตัวชี้วัด

ทั้งนี้ไม่เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เนื่องจาก (1) กลุ่มผู้ขายมีกำลังผลิตที่ไม่เพียงพอจะสามารถป้อนสินค้าเข้าแพลตฟอร์มได้ (2) มีผู้ขายน้อยราย (3) ผู้ขายแต่ละรายมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายอยู่แล้ว และ (4) คณะทำงานในโครงการส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตจบใหม่จึงยังต้องมีการโยกย้ายที่อยู่เพื่อไปประกอบอาชีพและไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนฯ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทํางาน 8-15 คน มาจากบัณฑิตจบ ใหม่ที่ได้รับผลกระทบจาก covid ตัวแทนชุมชน เป้าหมาย และตัวแทนเทศบาลนครตรัง 2. เกิดการกําหนดบทบาทหน้าที่ของ คณะทํางาน 3. มีแผนการปฏิบัติงาน 4. กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีทักษะการใช้ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่ง สินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพิ่มขึ้น 5. กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 80% สามารถนํา ความรู้ไปใช้ประกอบธุรกิจและแก้ไขปัญหา ทางการเงินและสุขภาพได้
45.00

เกิดคณะทำงาน 15 คน และอบรมทักษะทาการเงินและสุขภาพให้กับกลุ่มเป้าหมาย 30 คน

2 เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังและพื้นที่ใกล้เคียง 2. เกิดแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง 3. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวสามารถเปิดให้บริการ จํานวน 1 แพลตฟอร์ม 4. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวสร้างความสะดวกให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย โดยได้รับการประเมินระดับความพึงพอใจ 80% ขึ้นไป
1.00

greenmarket.psutrang.com

3 เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีคณะทํางานมาจากคณะทํางานโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกและมีความสมัครใจเป็นคณะทํางานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2. เกิดการกําหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทํางานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3. เกิดกติกาข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4. มีแผนการปฏิบัติงาน มีการติดตามผลการดําเนินงาน และปรับปรุงการทํางานอย่างต่อเนือง 5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจําหน่ายผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง สามารถจัดหาผักปลอดสารพิษเพื่อป้อนเข้าสู่แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
0.00

ไม่เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ

4 เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 บาท/วัน
100.00

ในระหว่างวันที่ 1 - 31 กรกฎาคม 2566 ผลสรุปกลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 100 บาท/วัน โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน้อยกว่าตัวชี้วัดที่ได้ตั้งไว้ เนื่องจากจำนวนคำสั่งซื้อในแต่ะวันยังน้อย รวมถึงบางวันไม่มีคำสั่งซื้อ จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของรายได้ต่อวันที่คำนวณจากรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าตัวชี้วัด

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บัณฑิตจบใหม่ที่ยังว่างงาน 15 15
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 30 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19 (2) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (3) เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง (4) เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (2) ส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มสีเขียว (3) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส. (4) เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ (5) พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (6) ถอนเงินเปิดบัญชี (7) จัดตั้งและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ (8) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (9) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง โดยการจัดตั้งกลุ่ม กำหนดบทบบาทหน้าที่ กำหนดกติกาข้อตกลง และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน (10) อบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ และคณะทำงานชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน (11) ส่งเสริมการซื้อขายจริงผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว (12) จัดทำแผนการตลาดออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล (13) สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ”

ในการทำกิจกรรมตามแผนที่ได้วางเอาไว้ในโครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ยังไม่สำเร็จตามแผนที่ได้วางเอาไว้ทุกประเด็น โดยเงื่อนไขที่ทำกิจกรรมสำเร็จของโครงการนี้ คือ พี่เลี้ยงต้องติดตามและสร้างเสริมแรงจูงใจให้คณะทำงานดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อยู่อย่างต่อเนื่อง และต้องให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้ เนื่องจากคณะทำงานส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน โดยปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการให้สำเร็จ คือ การเพาะปลูกผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังมีจำนวนผู้ผลิตน้อยราย และผู้ผลิตแต่ละรายมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจของตนเอง คือ ปลูกผักที่อยู่ในกระแสความต้องการโดยผู้ผลิตเลือกปลูกชนิดผักที่จะปลูกขายเอง แล้วนำเสนอขายผ่าน Facebook ของฟาร์ม หรือขายผ่านหน้าร้าน พร้อมทั้งมีฐานลูกค้าของตนอยู่แล้ว การเข้าไปเปลี่ยนแปลงและนำเสนอช่องทางแพลตฟอร์มใหม่ๆ จึงส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้ส่งผักปลอดสารพิษในแพลตฟอร์ม เนื่องจากแพลตฟอร์มใหม่ยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ผลิต ประกอบกับการคำสั่งซื้อจากแพลตฟอร์มยังขาดความแน่นอนจึงส่งผลต่อการวางแผนการเพาะปลูกของผู้ผลิต เป็นต้น และคณะทำงานในโครงการขาดประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ขาดการประสานงานที่ดี รวมถึงเวลาว่างของคณะทำงานแต่ละคนไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมของโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ข้อเสนอแนะต่อโครงการ ได้แก่ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวมีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในกลุ่มผู้รักสุขภาพอย่างแน่นอน แต่การจะผลักดันแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวให้เป็นรูปธรรม มีความยั่งยืน และมีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ควรต้องหาหน่วยงานหรือคณะทำงานที่ความพร้อมในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มอย่างจริงจัง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดตรัง และเทศบาลนครตรัง เป็นต้น มาร่วมประสานพลังเพื่อผลักดันให้โครงการนี้มีความยั่งยืนต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh