directions_run

โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเมือง เทศบาลนครตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-05
วันที่อนุมัติ 30 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 79,800.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลนครตรัง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฑยากร สุธีรปรีชานนทร์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0970642180
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Thayakorn1011@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิเชตวุฒิ นิลละออ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.56474,99.623967place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 30 มิ.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 4,800.00
รวมงบประมาณ 79,800.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ค่อนข้างรุนแรงในระยะที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผลกระทบนั้นแผ่กระจายในวงกว้างกับคนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ จากรายงานสรุปสถิติข้อมูลล่าสุด สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก มกราคม 2565 - วันที่ 27 เมษายน 2565 พบผู้ติดเชื้อสะสม 9,65O ราย รักษาหายแล้ว 9,451 ราย อยู่ระหว่างรักษา 137 ราย มีผู้เสียชีวิต สะสม 62 ราย และปัจจุบันยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่องทุกวัน จากการประเมินข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของของโรค COVID-19 พบว่าพื้นที่ตัวเมืองในเขตเทศบาลนครตรัง ได้รับผลกระทบสูงที่สุด เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ และเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และธุรกิจต่างๆ จํานวนมาก เทศบาลนครตรังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากร 56,893 คน แบ่งออกเป็น 4 เขต มีชุมชนทั้งสิ้น 42 ชุมชน (เมษายน 2565) สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบกับการจ้างงานของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งสําเร็จการศึกษาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและนักศึกษาจบใหม่ เนื่องจากผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ ได้ชะลอการจ้างงาน และทยอยปิดกิจการไปเป็นจํานวนมาก ซึ งกลุ่มเยาวชนดังกล่าวเป็นคนรุ่นใหม่ที่$มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีคอม และสามารถใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวแต่ยังไม่สามารถหางานทําได้เนื่องจำนวนมาก หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมตามมาได้

หน่วยจัดการโควิต พื้นที่จังหวัดตรัง เล็งเห็นความสําคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทั้งกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มเยาวชนที่ยังว่างงานให้มีความรอบรู้ในการใช้จ่าย สามารถแสวงหาวิธีการลดรายจ่าย และสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ จนสามารถก้าวข้ามภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้แก่ ประชาชนผู้ทีได้ผลกระทบจากวิกฤติ โควิด 19
  1. เกิดคณะทํางาน 8-15 คน มาจากบัณฑิตจบ ใหม่ที่ได้รับผลกระทบจาก covid ตัวแทนชุมชน เป้าหมาย และตัวแทนเทศบาลนครตรัง
  2. เกิดการกําหนดบทบาทหน้าที่ของ คณะทํางาน
  3. มีแผนการปฏิบัติงาน
  4. กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีทักษะการใช้ แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่ง สินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เพิ่มขึ้น
  5. กลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 80% สามารถนํา ความรู้ไปใช้ประกอบธุรกิจและแก้ไขปัญหา ทางการเงินและสุขภาพได้
2 เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว
  1. มีฐานข้อมูลการผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรังและพื้นที่ใกล้เคียง
  2. เกิดแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง
  3. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวสามารถเปิดให้บริการ จํานวน 1 แพลตฟอร์ม
  4. แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวสร้างความสะดวกให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย โดยได้รับการประเมินระดับความพึงพอใจ 80% ขึ้นไป
3 เพื่อจัดตังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและบริโภคผักปลอดสารพิษเทศบาลนครตรัง
  1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีคณะทํางานมาจากคณะทํางานโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกและมีความสมัครใจเป็นคณะทํางานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  2. เกิดการกําหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทํางานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  3. เกิดกติกาข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  4. มีแผนการปฏิบัติงาน มีการติดตามผลการดําเนินงาน และปรับปรุงการทํางานอย่างต่อเนือง
  5. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจําหน่ายผักปลอดสารพิษในเขตเทศบาลนครตรัง สามารถจัดหาผักปลอดสารพิษเพื่อป้อนเข้าสู่แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4 เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเปราะบางที่่่เข้าร่วมโครงการ
  1. กลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 บาท/วัน
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บัณฑิตจบใหม่ที่ยังว่างงาน 15 15
ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน(1 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 29,700.00                        
2 ส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มสีเขียว(1 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 38,060.00                        
3 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส.(1 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 13,040.00                        
รวม 80,800.00
1 ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 29,700.00 1 8,400.00
5 - 20 ก.พ. 66 จัดตั้งและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและจัดทำแผนปฏิบัติการ 15 4,500.00 -
20 ก.พ. 66 - 31 ส.ค. 66 ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง โดยการจัดตั้งกลุ่ม กำหนดบทบบาทหน้าที่ กำหนดกติกาข้อตกลง และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน 20 16,800.00 -
3 - 6 ส.ค. 66 จัดทำแผนการตลาดออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูล 15 8,400.00 8,400.00
2 ส่งเสริมการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มสีเขียว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 38,060.00 2 33,500.00
10 พ.ย. 65 - 28 ก.พ. 66 พัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว 0 23,000.00 23,000.00
31 มี.ค. 66 อบรมทักษะการใช้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ และคณะทำงานชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน 30 4,560.00 -
24 - 28 มิ.ย. 66 ส่งเสริมการซื้อขายจริงผ่านแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียว 15 10,500.00 10,500.00
3 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 13,040.00 4 11,835.00
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ 2 2,000.00 1,550.00
4 ก.พ. 66 ถอนเงินเปิดบัญชี 3 1,000.00 1,000.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 6,000.00 5,245.00
8 - 10 ส.ค. 66 สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 “ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ” 3 4,040.00 4,040.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดคณะทํางานที่มีความเข้าใจและมีความสามารถในการดําเนินโครงการ
  2. มีแผนการตลาดออนไลน์ผักปลอดสารเทศบาลนครตรัง
  3. มีแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวให้บริการในเขตพื้นที่เทศบาลนครตรัง
  4. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการใช้แพลตฟอร์มตลาดออนไลน์สีเขียวและการขนส่งสินค้า รวมถึงความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน
  5. เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สามารถดําเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ให้สมาชิก
  6. กลุ่มเปราะบางที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น
  7. ประชาชนในเขตเทศบาลนครเข้าถึงและบริโภคผักปลอดสารเพิ่มมากขึ้น
  8. ประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังมีสุขภาพที่ดีขึ้น
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:51 น.