directions_run

โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ”

พื้นที่ ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
น.ส.จุฑาทิพย์ บริเพชร

ชื่อโครงการ โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ที่อยู่ พื้นที่ ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 65-10018-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน พื้นที่ ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช " ดำเนินการในพื้นที่ พื้นที่ ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 65-10018-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 มีรายงานเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563 ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานพบผู้ป่วยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จำนวน 41 ราย ไวรัสสายพันธุ์นี้สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ต่อมาวันที่ 30มกราคม 2563 พบผู้ป่วยยืนยันในประเทศจีนกระจายทั่วประเทศ จํานวน 7,711ราย อาการรุนแรง 1,370 ราย เสียชีวิต 170 ราย และมีการกระจายไปทั่วโลก จากสรุปรายงานวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 สรุปรายงานการระบาดทั่วโลก ทั้งหมดมี 195 ประเทศ พบการระบาดและมีผู้ติดเชื้อแล้ว 185 ประเทศ ยอดผู้ป่วยติดไวรัสโควิด-19 จำนวน 62,642,920 ราย รักษาหาย 43,531,365 ราย ยอดผู้เสียชีวิต 1,458,018 ราย และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 WHO ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health Emergency of international Concern) เนื่องจากมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยและเสียชีวิตรายแรกเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นโรคอุบัติใหม่และรายงานล่าสุดเมื่อ 5 สิงหาคม 2565 ทั่วโลกพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 568,517,091 ราย เสียชีวิต 6,430,441 ราย และประเทศไทยพบผู้ป่วยทั้งหมด 4,600,978 ราย เสียชีวิต 31,529 ราย รักษาหาย 4,548,639 ราย
จังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยรายแรกเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นนักศึกษาที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จำนวน 1 ราย และข้อมูลการระบาดระลอกที่สอง ปี พ.ศ.2564 พบผู้ป่วย 49,660 ราย เสียชีวิต 377 ราย ปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วย 124,139 ราย เสียชีวิต 812 ราย สำหรับอำเภอเชียรใหญ่พบข้อมูลการระบาดระลอกสอง มีผู้ป่วยติดเชื้อ ปี พ.ศ.2564 จำนวน 429 ราย เสียชีวิต 6 ราย และปีพ.ศ.2565 ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2565 พบผู้ป่วย 1,691 ราย เสียชีวิต 11 ราย (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียรใหญ่, 2565) พื้นที่ตำบลเขาพระบาท มีจำนวน 1,543 ครอบครัว และเริ่มพบการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 จำนวน 4 ราย โดยผู้ป่วยเดินทางมาจากกรุงเทพฯ เพื่อกลับบ้านช่วงสงกรานต์ และนำเชื้อโควิด-19 มาระบาดในพื้นที่ มีกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 45 ครอบครัว 75 ราย และพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ปี พ.ศ.2564 ตำบลเขาพระบาท มีผู้ป่วย 48 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 428 ราย เสียชีวิต 2 ราย และปีพ.ศ.2565 พบผู้ป่วย 238 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ของพื้นที่ตำบลเขาพระบาท พบว่า 1)ประชาชนที่ไปทำงานต่างจังหวัดช่วงปี พ.ศ.2564 เป็นต้นมา ถูกเลิกจ้างกลับมาอยู่บ้านจำนวน 554 ราย 237 ครอบครัว 2)พักงานโดยไม่กำหนดเวลาและไม่ได้รับเงินเดือนจำนวน 207 ราย 3)บางจังหวัดที่โควิด-19 ระบาดหนัก ออกไปไหนไม่ได้ ต้องเดินทางกลับมาอยู่บ้านและทำงานที่บ้านแบบ WFH จำนวน 215 ราย 4)คนที่เดินทางกลับบ้านไม่ได้จำนวน 111 ราย ต้องทนอยู่กับสภาพพื้นที่ระบาดหนักและให้ครอบครัวส่งอาหารไปให้เพื่อดำรงชีวิตประจำวัน 5)ครอบครัวผู้ป่วยสูญเสียสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตด้วยโควิด-19 จำนวน 2 ราย ไม่มีโอกาสได้ไปเผาศพ ทำให้เกิดภาวะเครียด 12 รายและกลายเป็นจิตเวช 1 ราย ปัจจุบันกำลังรักษาอยู่ 6)ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหรือ HR เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล นอนไม่หลับเพราะถูกกักตัว ไม่ได้ไปทำงาน ขาดรายได้ ส่งผลกระทบมากกว่า 1,248 ครอบครัว (ร้อยละ 80.88) 7)ครัวเรือนที่ป่วยเป็นโควิด-19 ช่วงแรกถูกรังเกียจจากสังคมเมื่อออกไปซื้อของที่ร้านชำและไม่ขายให้ จำนวน 48 ครอบครัว แต่ปัจจุบันสังคมเข้าใจและรับรู้ที่ถูกต้องแล้ว 8)สินค้าเกษตรที่เกิดผลผลิตและกำลังเก็บขาย ไม่สามารถจำหน่ายได้ ทำให้ขาดทุนมากถึงร้อยละ 82.25 9)ผลกระทบที่เกิดกับหน่วยราชการคือ การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ ไม่ได้เกิดจากพื้นที่โดยตรง แต่เกิดจากญาติเดินทางมาเยี่ยมและนำเชื้อโรคมาให้ ร้อยละ 95.42 ซึ่งควบคุมได้ยาก 10)คนต่างพื้นที่บางคนเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ยอมกักตัว 11)อบต.เขาพระบาท มีงบไม่เพียงพอที่จะแจกถุงยังชีพทุกคน เมื่อเกิดการระบาดหนักในพื้นที่ 12) กลุ่ม HR บางคนไม่ยอมกักตัวและแอบหนีไปเที่ยวเล่นการพนันหรือชนไก่ ร้อยละ 25 13)กลุ่มผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 95 มีประวัติเกี่ยวข้องกับการพนันและสถานบันเทิง เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ได้สำรวจและติดตามครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ จากเดิม 237 ครอบครัว บางส่วนได้กลับไปทำงานที่เดิม บางส่วนก็กลับไปหางานทำงานใหม่ แต่ยังมีอีก 39 ครัวเรือน ที่ยังไม่ได้กลับไปทำงาน เพราะไม่มีเงิน ต้องรับภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นที่เกิดระหว่างช่วงที่โควิด-19 ระบาด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อมูลครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ ได้ทำการเก็บรวบรวมในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 มีรายละเอียดข้อมูล ดังนี้ 1)ช่วงกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุแรกเกิด-5ปี จำนวน 10 คน กลุ่มอายุ 6-12 ปีจำนวน 13 คน กลุ่มอายุ 13-18 ปีจำนวน 15 คน กลุ่มอายุ 18-24ปี จำนวน 13 คน กลุ่มอายุ 25- 34 ปีจำนวน 16 คน กลุ่มอายุ 35 –59ปีจำนวน 51 คน กลุ่มอายุ 60ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน 2)ระดับการศึกษาพบว่า ไม่ได้เรียนหนังสือ 14 คน กำลังเรียนหนังสือ 43 คน จบประถมศึกษา 36 คน จบมัธยมต้น 18 คน จบมัธยมปลาย 13 คน จบระดับปวช.และปวส. 9 คน จบปริญญาตรี 6 คน 3)กลุ่มเปราะบาง โดยมีคนพิการจำนวน 33 ครัวเรือน (ร้อยละ 84.61) ไม่มีผู้ป่วยติดเตียงทุกครัวเรือน 4)ประวัติการเจ็บป่วยพบว่า ป่วยเป็นเบาหวาน 8 คน ความดันโลหิตสูง 9 คน โรคภูมิแพ้/SLE 2 คน โรคอ้วน 2 คน ไตวายเรื้อรัง 2 คน COPD 4 คน หัวใจ 1 คน และสุขภาพดี 29 คน 5)ด้านที่อยู่อาศัยพบว่า มีบ้านตนเอง 34 หลัง และอาศัยอยู่กับพ่อแม่ 4 หลัง 6)จำนวนสมาชิกครัวเรือน ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีสมาชิกอาศัยอยู่ 140 คน ช่วงเกิดการระบาดโควิด-19 ลูกหลานกลับมาอยู่บ้าน ไม่มีงานทำ 30 ครัวเรือน จำนวน 42 คน และหลังโควิดได้กลับไปทำงาน ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่เหลือบ้านเพียง 138 คน ปัจจุบันสมาชิกในครัวเรือนตกงานไม่มีรายได้ 29 คน 7)รายได้ครัวเรือน ก่อนโควิด-19 ระบาด รายได้ครัวเรือนภาพรวมเดือนละ 557,360 บาท มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 14,291.28 บาท ซึ่งสมาชิกทำงานและมีรายได้เพียง 59 คน ที่มาของรายได้ต่อเดือนดังนี้ (1)ได้มาจากค่าจ้าง 174,600 บาท (2)ขายผลผลิตทางเกษตร 271,400 บาท (3)ค้าขาย 36,000 บาท (4)อาชีพส่วนตัว 41,000 บาท (5)อาชีพเสริม 28,400 บาท (6)รัฐช่วยเหลือ 5,960 บาท 8)รายจ่ายครัวเรือน ก่อนโควิด-19 รายจ่ายครัวเรือนต่อเดือนโดยภาพรวมเดือนละ 652,865 บาท เฉลี่ยรายจ่ายเดือนละ 16,740.12 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ (1)จ่ายเพื่อการบริโภคประจำวัน 170,550 บาท (2)ค่าศึกษาบุตร 94,660 บาท (3)จ่ายด้านสุขภาพ 34,805 บาท (4)ด้านการลงทุนอาชีพ 147,400 บาท (5)งานสังคม 72,200 บาท (6)ค่าซื้อหวย 14,650 บาท (7)ใช้ในการชำระหนี้ 118,600 บาท สอบถามภาระหนี้สินก่อนโควิด-19 มีหนี้สินภาพรวม 13,332,000 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 341,846.15 บาท
ข้อมูลหลังโควิด-19 ระบาด สอบถามเพื่อเปรียบเทียบ ดังนี้ (1)รายได้ครัวเรือนภาพรวมลดลง เดือนละ 430,900 บาท ลดลงไป 126,460 บาทต่อเดือน รายได้เฉลี่ยครัวเรือนคงเหลือเดือนละ 11,048.72 บาท (ลดลงจากเดิมเดือนละ 2,256.41 บาท) ซึ่งสมาชิกในครอบครัวทำงานเพื่อให้มีรายได้ในครอบครัว เพิ่มเป็น 73 คน ที่มาของรายได้ต่อเดือนดังนี้ (1)ได้มาจากค่าจ้าง 118,020 บาท (2)ขายผลผลิตทางเกษตร 201,380 บาท (3)อาชีพส่วนตัว 27,000 บาท (4)อาชีพเสริม 18,000 บาท (6)รัฐช่วยเหลือ 11,560 บาท 2)ข้อมูลรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน โดยภาพรวมเดือนละ 690,675 บาท (เพิ่มขึ้นเดือนละ 37,810 บาท) เฉลี่ยรายจ่ายเดือนละ 17,709.01 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ (1)จ่ายเพื่อการบริโภคประจำวัน 168,750 บาท (2)ค่าศึกษาบุตร 73,500 บาท (3)จ่ายด้านสุขภาพ 32,105 บาท (4)ด้านการลงทุนอาชีพ 175,600 บาท (5)งานสังคม 48,000 บาท (6)ค่าซื้อหวย 10,100 บาท (7)ใช้ในการชำระหนี้ 181,770 บาท 3)ภาระหนี้สินครัวเรือน หลังโควิด-19 มีหนี้สินภาพรวม 15,280,000 บาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 391,794.87 บาท (มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละ 49,948.72 บาท จากเวทีประชาคม เมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 สอบถามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นหลังโควิด-19 จากกลุ่มเป้าหมาย 39 ครัวเรือน แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ (1)ด้านสังคมและการดำเนินชีวิตประจำวันพบว่า ต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิตใหม่ทั้งหมด ทำให้ยากกว่าเดิม ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมร้อยละ 12.89 การเดินทางและการติดต่อประสานงานยากกว่าเดิมร้อยละ 12.82 (2)ด้านเศรษฐกิจพบว่า รายได้น้อยและไม่เพียงพอกับรายจ่ายร้อยละ 56.41 รับภาระค่าใช้จ่ายเพราะลูกตกงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.58 มีหนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.41 สินค้าราคาแพงขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 100 ราคาผลผลิตตำต่ำและชายผลผลิตไม่ได้ ร้อยละ39.76 สมาชิกในครอบครัวตกงานร้อยละ 43.58 (3)ด้านสุขภาพพบว่า มีความเครียดกังวลเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 นอนไม่หลับและวิตกตลอดเวลาร้อยละ 66.66 จากความเครียดกลายเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าร้อยละ 5.12 สุขภาพแย่กว่าเดิมและเหนื่อยง่าย ร้อยละ 43.58 (4)ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า ขยะติดเชื้อทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางและกำจัดไม่ถูกต้อง ร้อยละ 71.79 จากข้อมูลสภาพปัญหาทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตและการระบาดของโควิด-19 ได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลปัญหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาภายใต้ประเด็นหัวข้อ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ปัญหาคือ รายได้ของครัวเรือนลดน้อยลง (ลดลงจากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 2,256.41 บาทต่อครัวเรือน) รายจ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 37,810 บาทต่อครัวเรือน) โดยมีข้อมูลที่สำคัญคือ (1)ราคาสินค้าแพงขึ้นทุกชนิด ทำให้ต้องใช้เงินในการซื้อสินค้าสูงกว่าเดิม (2)สมาชิกในครอบครัวตกงาน 7 ครอบครัว (3)สมาชิกกลับมาอยู่บ้านทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 6 ครอบครัว (4)ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ขายไม่ได้ ไม่มีตลาดที่แน่นอน จำนวน 17 ครอบครัว (5)สมาชิกป่วยเป็นโควิด-19 และสุขภาพร่างกายแย่ลง ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมจำนวน 22 คน (6)นอนไม่หลับ เครียดตลอดเวลา 39 คน (7)รายได้ครัวเรือนลดลง 39 ครอบครัวและมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
2.สาเหตุของปัญหา ดังนี้
2.1 ด้านสังคม พบว่า (1)เกิดความหวาดระแวงความกลัวและรังเกียจร้อยละ 70 (2)คนในชุมชนต่างคนต่างอยู่ ไม่ยอมพบปะกันร้อยละ 85 (3)การประชุมในหมู่บ้านลดลง ร้อยละ 90 (4)นักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียน ทำให้เล่นเกมส์ออนไลน์เพิ่มขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มร้อยละ 100 (5)ปัญหาลักขโมยเกิดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 (6)การเดินทางไปมาหาสู่กันไม่สะดวกร้อยละ 65 (7)ความเห็นแก่ตัวและปกปิดข้อมูลมากขึ้น ร้อยละ 50 2.2.ด้านเศรษฐกิจ พบว่า (1) สินค้าแพงมากกว่าเดิมประมาณ 2 เท่าตัว ร้อยละ 100 (2) สินค้าที่จำเป็นขาดแคลนและหายากในช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 ร้อยละ 100 (3)ถูกเลิกจ้าง ว่างงานและลดระยะเวลาการทำงาน ร้อยละ 70 (4)รายจ่ายมากกว่ารายได้ถึง 4 เท่าตัว ร้อยละ 100 (5ปมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 100 2.3 ด้านสุขภาพ พบว่า (1)ประชาชนตำบลเขาพระบาทติดโควิด 637 ราย และเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 1,160 ราย ตายจากโควิด-19 จำนวน 4 ราย (2)มีความเครียดมากขึ้น ร้อยละ 100 (3)มีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.32 (4)โดยภาพรวมทั้งตำบล เมื่อหายป่วยแล้วเกิดความเสื่อมของร่างกาย สุขภาพแย่ลง จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ ร้อยละ 16.08 จากผู้ป่วยทั้งหมด
2.4 ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า (1)ขยะในชุมชนเพิ่มขึ้นทุกหมู่บ้าน เพราะไม่มีการกำจัด ทิ้งไม่เป็นที่และไม่มีการเดินรณงค์จัดการขยะ เพราะทุกคนกลัวการติดโควิด-19 (2)ไม่มีการคัดแยกขยะ ก่อนกำจัดและร้อยละ 100 ทำลายขยะโดยการเผา (3)น้ำสำหรับใช้บริโภคก็มีไม่เพียงพอ และน้ำอุปโภค ก็ขาดแคลน เพราะขาดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ อีกทั้งมีการใช้น้ำมากเกินความจำเป็น เพราะช่วงระบาดโควิด-19 ทุกคนอยู่บ้าน ไม่ไปไหน ทำให้น้ำใช้ไม่เพียงพอ 3.ทุนชุมชนตำบลเขาพระบาท ตำบลเขาพระบาท มีทุนทางสังคมและพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในกระบวนการพัฒนาโดยสนับสนุนทั้งคน และงบประมาณในการดำเนินงาน มี 3 หน่วยงานดังนี้ 3.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาพระบาท มีการเปิดบริการด้านการแพทย์แผนไทย ได้ส่งเสริมให้ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท มีการปลูกสมุนไพร และรับซื้อสมุนไพร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ลูกประคบ ยานวดสมุนไพร ยาเหลือง ชุดอบสมุนไพร และทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนด้านการแปรรูปสมุนไพรและวิทยากรให้ความรู้ 3.2 กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท มีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการอบรมพัฒนาศักยภาพประชาชนหรือสมาชิกกลุ่มด้านพัฒนาศักยภาพการแปรรูปสมุนไพรในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามธรรมนูญชุมชนข้อที่ 7 ประเด็นส่งเสริมการปลูก การใช้สมุนไพรและการแปรรูปให้เกิดรายได้ในครัวเรือน 3.3 สภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ได้ประสานงานกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจและทุน โดยสนับสนุนด้านการส่งเสริมอาชีพในชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรชุมชน จากทุนชุมชนที่มีอยู่ทั้ง 3 องค์กรในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ได้ตอบรับและให้การสนับสนุนการพัฒนากลุ่มเป้าหมายทั้ง 39 ครัวเรือน ให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือน โดยการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรและช่องทางจำหน่ายสมุนไพร ทั้งสมุนไพรที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนและอาหารบริโภคที่ปลอดภัย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร 3.เพื่อเกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนาทักษะอาชีพ
  2. ประชุมแกนนำโครงการ
  3. การบริหารจัดการ
  4. ประชุม จัดตั้งคณะทำงานติดตามครัวเรือนต้นแบบ
  5. ประชุมแกนนำโครงการ
  6. ติดตามผลการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน
  7. 0
  8. ประชุมเวที ARE ร่วมกับ พี่เลี้ยง
  9. ค่าป้ายไวนิล /ค่าตราปั้ม 2 ชิ้น /ค่าป้ายห้มสูบบุหรี่
  10. ปฐมนิเทศโครงการย่อย โดย node โควิดภาคใต้ (ล่าง)
  11. ประชุมกลุ่มเป้าหมาย
  12. ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน
  13. ถอนเงินเปิดบัญชี
  14. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการทำ ครั้งที่ 1 ยาหม่อง ยานวดสมุนไพร
  15. การอบรมแกนนำโครงการ เกี่ยวกับการรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  16. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ
  17. ครั้งที่ 1 ประชุมกลุ่มเป้าหมายเ ติดตามข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินงาน
  18. อบรมสมาชิกเรียนรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  19. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม
  20. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  21. การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ (1.3 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย และติดตามบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2)
  22. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  23. อบรมความรู้ เพิ่มทักษะการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
  24. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม
  25. จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง
  26. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครั้งที่ 2 ทำลูกประคบสมุนไพร
  27. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม
  28. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครรั้งที่ 3 ทำอาหารอัดเม้ดสมุนไพร สำหรับเลี้ยงไก่
  29. เวที ARE ร่วมกับ Node ครั้งที่ 1
  30. พี่เลี้ยงติดตามผลงานระดับบุคคล และครัวเรือน
  31. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน
  32. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนให้ความรู้เกี่ยกับการปรับปรุงรูปแบบการบรรจุภัณฑ์
  33. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม
  34. อบรมกิจกรรมสื่อออนไลน์
  35. ประชุมสรุปติดตามงานร่วมกับพี่เลี้ยง เวที ARE
  36. ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ
  37. ประชุมแกนนำโครงการ
  38. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
  39. อบรมทักษะ และช่องทาง การเผยแพร่สินค้าทางออนไลน์
  40. อบรมเพิ่มและพัฒนาทักษะ การทำยานวดสมุนไพร
  41. ติดตามและประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ
  42. อบรมเพิ่มทักษะอาชีพและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์
  43. ประชุมเวที ARE ร่วมกับ Node ที่ อ.หาดใหญ่
  44. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ
  45. กิจกรรมเผยแพร่ผลงาน สู่สาธารณะโดยการถ่ายทำวีดีโอ
  46. ประชุมแกนนำโครงการ ปิดเอกสารโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเ 39

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการด้านแปรรูปสมุนไพร 1 กลุ่ม และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2.สมาชิกในครัวเรือนเกิดรายได้ 3.สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรมีความรู้ด้านการแปรรูปสมุนไพร มีทักษะการประกอบอาชีพด้านการทำยาดมสมุนไพร ลูกประคบ ยานวดสมุนไพร และอาหารสัตว์สมุนไพร 4.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น 5.เกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย -การทำยาดมสมุนไพร
-ลูกประคบ -ยานวดสมุนไพร -อาหารสัตว์สมุนไพร 6.มีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มอื่นๆ ในชุมชน 9 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครั้ง 7.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินเพิ่มขึ้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าป้ายไวนิล /ค่าตราปั้ม 2 ชิ้น /ค่าป้ายห้มสูบบุหรี่

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ป้ายไวนิล เป็นป้ายชื่อโครงการ “คลังอาหาร ข้างบ้านสร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาด 2 เมตร x 1.2 เมตร  จำนวน 1 แผ่น และสามารถใช้ได้จนสิ้นสุดโครงการ
2.ค่าป้ายไวนิล ห้ามสูบบุหรี่ ขนาด 1 x 1 เมตร จำนวน 1 แผ่น เพื่อติดไว้ที่ห้องประชุม และสถานที่จัดกิจกรรมตามโครงการ
3.สำหรับตราปั๋ม ได้ประสานกับทางร้าน เพื่อติดต่อกับร้านที่ทำตราปั๋มจำนวน 2 ชนิด คือ (1)ตราปั๊มโครงการ ตอ้งใช้เวลา 1 สัปดาห์  (2)ตราปั๊มจ่ายเงินแล้ว สามารถซื้อจากร้านได้เลย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.ได้จัดทำป้ายไวนิลโครงการ 1 แผ่น ป้ายบันไดผลลัพธ์โครงการ 1 แผ่น  ป้ายห้ามสูบบุหรี่ 1 แผ่น และตราปั๊มชื่อโครงการ 1 อัน จ่ายเงินแล้ว 1 อัน

ด้านคุณภาพ 1.จัดป้ายไวนิล ซึ่งป้ายชื่อโครงการ “คลังอาหาร ข้างบ้านสร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ และสามารถใช้ได้จนสิ้นสุดโครงการ เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กับบุคคลทั่วไป และผู้ที่สนับสนุนงบประมาณได้รับทราบ และประเมินคุณภาพโครงการได้ เพราะที่ป้ายไวนิล จะมีการเขียนชื่อโครงการ และวันเดือนปี ที่จัดกิจกรรม 2.ป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” ติดไว้ที่ห้องประชุม และทุกสถานที่ เมื่อกิจกรรมของโครงการได้เข้าไปร่วมกิจกรรม เป็นการรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ไปด้วยและเน้นให้ทุกคนตระหนัก “ไม่สูบบุหรี่” 3.ตราปั๊มโครงการ เป็นการประทับตราในเอกสารให้ทราบว่า เอกสารฉบับนี้ชุดนี้เป็นของโครงการ
4.ตราปั๊ม จ่ายเงินแล้ว เป็นการบอกให้ทราบว่า เอกสารชุดนี้ได้จ่ายเงินแล้วเพื่อป้องกันความหลงลืม และถูกต้อง ตรวจสอบได้

 

3 0

2. ปฐมนิเทศโครงการย่อย โดย node โควิดภาคใต้ (ล่าง)

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 1 -2 ตุลาคม 2565 ทางโครงการย่อยฯ เข้ารับการปฐมนิเทศจาก node ภาคใต้ (ล่าง) ตามโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ ณ โรงแรมซิลเวอร์ออคิด รีสอร์ท ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ การปฐมนิเทศครั้งนี้ พี่เลี้ยงจาก node ภาคใต้ (ล่าง) และพี่เลี้ยงโครงการ ได้ช่วยกันอธิบาย เนื้อหา ดังนี้ คุณสุวิทย์ และคุณนฤมล ได้ชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และรายละเอียดที่แกนนำโครงการทุกคนต้องทราบได้แก่ 1.การลงนามในสัญญาของโครงการ ที่ได้รับจาก สสส. โดยให้ทุกโครงการตรวจสอบความเรียบร้อยและสมบูรณ์ 2.การทำกิจกรรมตามข้อเสนอโครงการ โดยทำตามลำดับขั้นคือ (1)การคลี่ผลลัพธ์  เป็นการทำความเข้าใจโครงการตามผลลัพธ์ ใช้เป็นแผนที่ในการดำเนินงานของโครงการและติดตามผลลัพธ์ รวมทั้งใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (2)การจัดทำปฏิทินโครงการ เป็นการกำหนดวันเวลาในการทำกิจกรรมตามโครงการและให้เกิดความครอบคลุม  ลดความผิดพลาด (3)การวางแผนรายละเอียดกิจกรรม ต้องมีการกำหนดกิจกรรม ระยะเวลาจัดกิจกรรม จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ ขั้นตอนการดำเนินงาน วัตถุประสงค์และผลผลิตที่จะได้จากกิจกรรม (4)การออกแบบการเก็บตัวชี้วัด  เป็นการกำหนดตัวชี้วัด บอกวิธีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียด มีผู้รับผิดชอบ และผลที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด (5)การประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน เป็นการประเมินแบบออนไลน์ ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพทางการเงิน (6)เอกสารที่ใช้ประกอบการดำเนินโครงการ ได้แก่ ใบลงทะเบียนที่ถูกต้อง ใบสำคัญรับเงินที่ถูกต้อง (7)การรายงานผลการดำเนินงานและการลงข้อมูลในเวป สอนโดย อ.สุวิทย์ ให้มีการสมัครสมาชิกในเวป หน้าเพจคนสร้างสุข และเรียนรู้การบันทึกข้อมูลผ่านทางเวป 3.การเข้ารับการอบรมความรอบรู้ด้านการเงินและด้านสุขภาพ 4.การเข้าอบรมการสื่อสารสาธารณะ 5.การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 ครั้ง 6.การทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ 4 คน เข้าร่วมปฐมนิเทศจาก Node เพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงาน

ด้านคุณภาพ 1.ได้เรียนรู้การตรวจสอบและจัดทำสัญญาของโครงการฯ ได้เรียบร้อย สมบูรณ์
2.ได้เรียนรู้กระบวนการคลี่ผลลัพธ์ เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนโครกงารและใช้ในการติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.ได้จัดทำปฏิทินโครงการ โดยบันทึกกิจกรรมของโครงการทุกกิจกรรม ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 – สิงหาคม 2566 4.มีการเรียนรู้และจัดทำเอกสารวางแผนรายละเอียดกิจกรรม เป็นการเตรียมกระบวนการทำงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาด 5.เรียนรู้และแบบการเก็บตัวชี้วัด เพื่อบอกให้ทราบถึงวิธีการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ 6.ได้ฝึกประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน แบบออนไลน์ และนำความรู้ไปแนะนำแก่สมาชิกโครงการทุกคน
7.ได้เรียนรู้วิธีการบันทึกเอกสารและการจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง 8.ได้เรียนรู้วิธีการรายงานผลการดำเนินงานผ่านทางเวปคนสร้างสุข เพื่อให้พี่เลี้ยงและ สสส. สามารถติดตามผลงานและตรวจสอบได้ตลอดเวลา

 

4 0

3. การจัดตั้งคณะะทำงานโครงการ (1.1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย)

วันที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 12 ตุลาคม 2565 วันนี้หัวหน้าโครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ สำนัก 6 สสส. ร่วมกับพี่เลี้ยง  จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เนื้อหาประกอบด้วย 1.กรอบแนวคิดโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ 2.การคลี่บันไดผลลัพธ์โครงการ 3.ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของโครงการ 4.การเชื่อมโยงตัวชี้วัดและผลลัพธ์ 5.แนวทางการบริหารจัดการโครงการ เช่น เอกสารการเงิน การเก็บรวบรวมข้อมูล 6.แบบฟอร์มต่างๆที่ใช้ในการดำเนินงาน เช่น บัญชีครัวเรือน การลงทะเบียน 7.เรียนรู้ความรอบรู้ด้านสุขภาพและทางด้านการเงิน 8.แบ่งกลุ่มแกนนำกับสมาชิกในโครงการ รับผิดชอบ 1 ต่อ 5 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ
-สมาชิกโครงการ ได้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ กรอบแนวคิดของโครงการ เป้าหมายของโครงการ และบันไดผลลัพธ์ความสำเร็จ -สมาชิก ได้เรียนรู้กิจกรรมการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยเริ่มจากการทำบัญชีครัวเรือน และพบว่าสมาชิก ประมาณ 12 คน ยังไม่เคยทำบัญชีครัวเรือน
-คัดเลือกแกนนำโครงการ 5 คน เพื่อทำหน้าที่ในการดูแลสมาชิกของโครงการ ในการขับเคลื่อนกิจกรรมและรับข้อมูลข่าวสาร 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิก ได้ออกแบบและปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมกันตามโครงการ
-สมาชิกร่วมกันทบทวนปฏิทินโครงการ -มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ หัวหน้าโครงการคือ อสม.จุฑาทิพย์ บริเพชร ได้สอนแนะนำการบันทึกบัญชีครัวเรือน สอนแนะนำวิธีการประเมินออนไลน์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านการเงิน ทุกคนเข้าใจ
-เห็นความเข้มแข็งกลุ่มมีความเข้มแข็ง ทุกคนช่วยกันและพึ่งตนเองได้

 

39 0

4. ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน

วันที่ 24 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันจันทร์ 24 ตุลาคม 2565 แกนนำโครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ สำนัก 6 สสส. ร่วมกับพี่เลี้ยง จัดประชุมเพื่อคลี่ผลลัพธ์โครงการ จัดทำแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับโครงการ จัดทำตัวชี้วัดผลลัพธ์และการออกแบบวิธีการเก็บตัวชี้วัด และเรียนรู้เกี่ยวกับบันไดผลลัพธ์โครงการ พร้อมทั้งมีการปรับกิจกรรมตามปฏิทินโครงการใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาของโครงการ ขอขอบคุณพี่เลี้ยงและ แกนนำทั้ง 10 คน ที่เสียสละและให้ความร่วมมือ ทำให้กิจกรรมในวันนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ คือ -แกนนำโครงการ ได้นำความรู้มาจัดประชุมให้กับสมาชิก ได้เข้าใจวิธีการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ -สมาชิก ได้ทำการคัดเลือกแกนนำหลักของโครงการจากเดิม 5 คน เพิ่มเป็น 10 คน -แกนนำ 10 คน ได้คัดเลือกสมาชิก แกนนำ 1 คน สมาชิก 5 คน เพื่อทำให้เกิดความง่ายต่อการติดตาม และง่ายต่อการเข้าถึงกิจกรรม
-สมาชิกได้เรียนรู้และร่วมกันคลี่บันไดผลลัพธ์ แม้จะยาก แต่ก็พยายามทำจนเสร็จ 2.ด้านคุณภาพ -แกนนำโครงการได้มีการตกลงและมอบหมายหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ -เกิดข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกและโครงการ -เกิดขึ้นตกลงร่วมกันระหว่างแกนนำโครงการ -มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขปฏิทินการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับกิจวัตรประจำวันของสมาชิก

 

39 0

5. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการ 2 คน ไปธนาคาร เพื่อเบิกเงินค่าเปิดสมุดบัญชีธนาคาร 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ปิดเงินในบัญชีธนาคาร ค่าสมุดเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท
2.เพื่อปรับยอดสมุดบัญชีให้เป็นปัจจุบัน

 

2 0

6. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการทำ ครั้งที่ 1 ยาหม่อง ยานวดสมุนไพร

วันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 29 ตุลาคม 2565 วันนี้ทางโครงการ ได้เชิญกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรม เรียนรู้การทำยานวดสมุนไพร (ยาหม่องสมุนไพร) ได้รับการอนุเคราะห์วิทยากรจาก รพ.สต.เขาพระบาท ซึ่งเป็นแพทย์แผนไทย  โดยพี่เลี้ยงเป็นผู้ประสานวิทยากรมาช่วยสอนการทำยานวดสมุนไพร สมุนไพรบางส่วนหาได้จากครัวเรือนในชุมชน โดยการรับซื้อวัตถุดิบจากสมาชิก โดยสมาชิกนำมาส่งให้กับแพทย์แผนไทย เพื่อจะได้ชั่งน้ำหนักของวัสดุ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการผสมให้ได้ตามสัดส่วน

1วิธีการทำยาหม่องไพล วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้
1.วาสลีน 3 กิโลกรัม 2.พาราฟิน 1 กิโลกรัม 3.เมนทอล  400 กรัม
4.พิมเสน 500 กรัม 5.การบูร 500 กรัม
6.น้ำมันยูคลาลิปตัส  300 cc 7.ไพล 800 กรัม
8.น้ำมันปาล์ม  400 มิลลิลิตร 9.ขวดภาชนะบรรจุภัณฑ์ ขนาด  24 กรัม

ขั้นตอนในการทำยาหม่องไพล
1.นำไพลมาหั่น เป็นชิ้น แล้วนำไปทอดในน้ำมันปาล์มที่เตรียมไว้ ทอดพอไพลเหลืองกรอบโดยใช้ไฟปานกลางในการทอด ทอดเสร็จแล้วกรองเอาไพลออกให้หมด นำน้ำมันที่ได้นำมาใส่ภาชนะรอจนเย็น 2.นำ เมนทอล พิมเสน การบูร นำมาผสมรวมกัน คนจนละลาย ให้เหลวเป็นน้ำทั้งหมด (เมื่อนำเมนทอล พิมเสนการบูรมารวมกันจะทำปฎิกริยากันทำให้เกิดการละลายเป็นน้ำ 3.นำวาสลีนพาราฟินมาใส่ภาชนะมาตั้งไฟอ่อน จนละลายหมด แล้วยกลง น้ำเมนทอล พิมเสน การบูร ที่ละลายไว้นำมาใส่ รวมกัน แล้ว น้ำมันไพล กับน้ำมันยูคาลิปตัส ใส่ลงไป คนให้เข้ากัน
4.นำมาบรรจุขวดที่จัดเตรียมไว้รอจนเย็นแล้วค่อยปิดฝาขวด


ขั้นตอนในการทำน้ำมันไพล วัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้ 1.ไพลสด 6 กิโลกรัม
2.น้ำมันปาล์ม 3ลิตร 3.เมนทอล 600 กรัม
4.พิมเสน 1กิโลกรัม 5.การบูร 1กิโลกรัม 
6.น้ำมันกานพลู  300  มิลลิลิตร 7.น้ำมันยูคาลิปตัส  250 มิลลิลิตร
8.ขวดบรรจุภัณฑ์ ขนาด 20 มิลลิลิตร

ขั้นตอนการทำน้ำมันไพล
1.นำไพลสดมาทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้น แล้วนำไปทอดในน้ำมันที่เตรียมไว้ ทอดจนไพลเหลืองกรอบใช้ไฟปานกลาง
2.นำเมนทอล พิมเสน การบูร  มาผสมรวามกันให้ละลายจนเป็นน้ำนำไปผสมกับน้ำมันไพล        ที่เตรียมไว้ 3.นำน้ำมันกานพลูน้ำมันยูคาลิปตัส  มาผสมแล้วคนให้เข้ากันแล้วนำไปผสมในบรรจุภัณฑ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกโครงการ ได้เรียนรู้สูตรการทำน้ำมันไพล ยาหม่องสมุนไพร สามารถทำเอง และนำไปใช้ดูแลสมาชิกในบ้านได้
-เป็นการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน และนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ -สมาชิกได้ฝึกทดลอง และปฏิบัติในการทำยาหม่องสมุนไพรด้วยตัวเอง 2.ด้านคุณภาพ -เป็นการสร้างคุณค่าของสมุนไพรพื้นบ้าน -เป็นการส่งเสริมให้เกิดรายได้จากการปลูกสมุนไพร และรายได้จากการแปรรูปสมุนไพร

 

39 0

7. การอบรมแกนนำโครงการ เกี่ยวกับการรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำโครงการเข้าร่วมประชุมกับ node เกี่ยวกับความรอบรู้ดานสุขภาพและการเงิน จำนวน 2 คน วันนี้แกนนำ2 คน เข้าร่วมประชุมกับ Node เพื่อเรียนรู้เกี่ยวความรอบรู้สุขภาพการเงิน โดยอาจารย์สุวิทย์ ได้สอนให้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพการเงิน
1.เป้าหมายความรอบรู้ทางด้านสุขภาพการเงิน มีเนื้อหาที่สำคัญคือ หากการจัดการการเงินส่วนบุคคลในครัวเรือนเป็นไปอย่างมีระบบและ แต่ละครอบครัวมีความเข้าใจสามารถวางแผนทางการเงินถึงจำนวนเงินที่ได้มา ประมาณได้ว่าจะสามารถเก็บได้เท่าไร จำนวนเงินที่จะต้องใช้ไปมีความเพียงพอ หรือไม่ หากไม่เพียงพอจะหาเงินจากช่องทางไหน หากจะกู้จะกู้จากที่ใด ก็จะทำ ให้ทุกคนในชุมชนสามารถร่วมกันวิเคราะห์แหล่งเงินในชุมชนที่มีผลต่อครัวเรือนทุก ครัวเรือนอย่างเป็นระบบ ก็จะทำ ให้เกิดความสมดุลทางการเงินได้มากยิ่งขึ้น หรือมี ผลต่อ “สุขภาพการเงินในชุมชน” ทั้งระบบ นั่นเอง

2.เหตุผลที่ต้องมีการวางแผนด้านการเงินคือ (1)อายุเพิ่มขึ้น (2)โครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนไป (3)ค่าครอบชีพทางสังคมเพิ่มสูงขึ้น (4)สวัสดิการของรัฐมีไม่เพียงพอ (5)ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมีความซับซ้อนมากขึ้น (6)เกษียณอายุได้เร็วขึ้น (7)รับความเสี่ยงของชีวิตได้มากขึ้น สำหรับเรื่องการเงินเป็นไดนามิค ถึงแม้ว่าเงินจะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่จะเข้ามาอยู่ในทุกช่วงชีวิต 3.ใครที่ต้องวางแผนการใช้เงิน คือ (1)วัยเด็กต้องวางแผนการออม เพื่อจะได้มีเงินเมื่อเติบโตขึ้นมา (2)วัยทำงาน เพื่อให้ได้ใช้เงินอย่างเหมาะสม (3)วัยสร้างครอบครัว เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับสมาชิกภายในครอบครัว (4)วัยเกษียณ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับลูกหลาน

4.ความรู้ด้านการเงินคือ ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมี ทักษะในการบริหารจัดการ เช่น การจัดงบประมาณการใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การ ลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวในภาพรวม
5.จุดเน้น 5.1.การทำงบรายจ่าย งบประมาณส่วนบุคคลประกอบด้วย 4 ส่วนหลักคือ งบค่าใช้จ่าย งบในการลงทุน งบในการออม และงบในการให้วิธีการเบื้องต้นคือใช้เงินในการจ่ายหนี้ ก่อน เงินที่เหลือนำ มาใช้ เก็บออมและลงทุนตามลำดับ 5.2.การลงทุน การเรียนรู้เรื่องการลงทุนจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการเงินที่มีอยู่อย่าง ชาญฉลาดและซึ่งนำไปสู่การเพิ่มรายได้ ทำให้เงินงอกเงย 5.3.การกู้ยืมความรู้เรื่องดอกเบี้ยต่างๆ เช่น ดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยลอยตัว ดอกเบี้ย คงที่ ข้อตกลงในการกู้ยืม คุณค่าของเงินตามระยะเวลา และระยะเวลาการจ่ายหนี้คืน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจกู้ยืม การมีความรู้ในการกู้ยืมก่อนตัดสินใจมีหนี้ จะทำ ให้เราก่อหนี้ที่มีคุณภาพและลดความเครียดจากการมีหนี้ได้มาก 5.4.เรื่องภาษี ความรู้ในเรื่องการจ่ายภาษี การคำนวณภาษีเงินได้ทั้งเงินได้จากงานประจำ หรือเงินได้จากทางอื่น รวมทั้งต้องรู้สิทธิในการลดหย่อนภาษีต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้ สิทธิได้อย่างเต็มที่ ทำ ให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น การบริหารการเงินส่วนบุคคล คือความสามารถในการบริหารการเงินส่วนบุคคลให้มี 5.5.ประสิทธิภาพเกิดจากความรู้ในองค์ประกอบทั้ง 4 ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การหาเทคนิค การลดหนี้ให้ได้มากที่สุด เช่น การผ่อนบ้านแบบโปะหนี้ เพื่อลดดอกเบี้ยเป็นต้น

6.การวางแผนการเงินครัวเรือน คือ การรู้จำนวนเงินที่จะได้มา และวางแผนการใช้จ่ายด้วยสิ่งที่จำเป็น จะเหลือส่วนที่ไม่จำเป็น นำไปสู่การออม และแบ่งบางส่วนจากการออมไปสู่การลงทุนเพื่อเพิ่มช่องทางรายได้อยู่ตลอด จะนำไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต 7.ขั้นตอนสำคัญของการวางแผนการเงินครัวเรือนดังนี้ 7.1.รู้สถานการณ์ของตัวเอง ด้วยการสำรวจรายรับและรายจ่าย ที่จำเป็นของตนเอง รู้ว่าแต่ละวันแต่ละเดือนจะมีรายรับจากไหนบ้าง 7.2.กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยแยกเป็นหมวดๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำ เป็นมากที่สุดไว้ลำดับแรกๆ 7.3.ทำแผนการใช้เงิน กำหนดเพดานขั้นสูงไว้ เพื่อใช้สำหรับควบคุมค่าใช้จ่าย 7.4.ใช้เงินตามแผนที่วางไว้ 7.5.ประเมินการใช้เงินเป็นระยะ และหาโอกาส ในการเพิ่มเงิน 7.6.ออมให้มากขึ้น จากการลดรายจ่าย หรือการเกิดรายได้ใหม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ 2 คน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ และด้านการเงิน ด้านคุณภาพ
1.เข้าใจเป้าหมายความรอบรู้ทางด้านสุขภาพการเงิน 2.เข้าใจและทราบเหตุผลที่ต้องมีการวางแผนด้านการเงิน 3.เข้าใจและรับรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายใดที่ต้องวางแผนการใช้เงิน 4.เข้าใจแนวคิดความรู้ด้านการเงิน 5.เข้าใจและรับรู้จุดเน้นทางด้านการเงิน
6.เรียนรู้และเข้าใจการวางแผนการเงินครัวเรือน 7.เข้าใจขั้นตอนสำคัญของการวางแผนการเงินครัวเรือน

 

2 0

8. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน
แกนนำโครงการได้ร่วมกันวางแผนในการจัดประชุมแกนนำโครงการ โดยกำหนดประชุมทุกเดือนเพื่อสรุปงานและติดตามผลงานเป็นรายบุคคล สรุปเป็นภาพรวม ในการพัฒนาศักยภาพจำเป็นต้องอาศัยการประชุมร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ซึ่งมีการจัดประชุมและพัฒนาศักยภาพสมาชิกทุกเดือนและตัวแทนโครงการ ก็เป็นสมาชิกของสภาองค์กรแล้ว สำหรับเนื้อหาที่จะต้องทำการพัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ เพื่อเสริมทักษะและสมรรถภาพมี 4 เรื่องคือ 1.การเรียนรู้บทบาทหน้าที่ขององค์กร เพื่อเน้นให้ทุกคนได้รู้จักหน้าที่ของตนเอง
2.เทคนิคการพูด การนำเสนอและการจัดทำบันทึกการประชุมที่ถูกต้อง
3.การเรียนรู้วิธีการสรุปผลการดำเนินงานและการถอดบทเรียนเพื่อให้เกิดคุณค่าของงาน 4.กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร สิ่งที่สำคัญคือเนื้อหาทังหมดสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท จะมีคนเก่งและทำหน้าที่เป็นวิทยากรและมีการสอน มีการพูดคุย ถ่ายทอดความรู้เป็นประจำ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านนี้โดยเฉพาะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ
1.ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน และได้วางแผนร่วมกัน
ด้านคุณภาพ 1.สมาชิกได้มีโอกาสพูดคุยและวางแผนในการพัฒนาศักยภาพ 2.มีแผนการพัฒนาศักยภาพไปพร้อมกับภาคีเครือข่าย และขอการสนับสนุนจากเครือข่ายในพื้นที่

 

50 0

9. การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ (1.3 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย ติดตามข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินงาน ครั้งที่ 1)

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 วันนี้ได้ทำการประชุมสมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับสนับสนุนงบ สำนัก 6 สสส.โดย node โควิด-ภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของสมาชิกรายบุคคล ก่อนดำเนินงานตามโครงการ ประเด็นที่ได้เก็บรวบรวมในวันนี้ ดังนี้ 1.ข้อมูลด้านสุขภาพ ได้แก่ การสอบถามโรคประจำตัว ,ผลความดันโลหิตสูง  ผลระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า, การชั่งน้ำหนัก, การวัดรอบเอว (ได้มอบหมายให้วัดก่อนประชุม โดยประสานกับ รพ.สต.เขาพระบาท ล่วงหน้า)
2.สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพ โดยใช้แบบวัดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3.แบบสำรวจสุขภาพทางการเงิน
ผลการสำรวจพบว่า
1.เดิมมีสมาชิก 39 คน สนใจและสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่ม 2 คน รวมเป็น 41 คน 1.กลุ่มเป้าหมาย 41 คน ป่วยจำนวน 10 คน(ร้อยละ 24.39) ปกติ 31 คน (ร้อยละ 75.62) 2.ผลการวัดความดันโลหิตสูง พบว่า ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 6 คน (ร้อยละ 15.38) มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 35 คน (ร้อยละ 85.36) ไม่มีกลุ่มสงสัย 3.ผลการวัดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน(ร้อยละ 2.56) กลุ่มปกติ 34 คน (ร้อยละ 82.92) กลุ่มเสี่ยง 6 คน (ร้อยละ 14.63)
4.ค่าดัชนีมวลกาย เกินมาตรฐาน 15 คน (ร้อยละ 36.58) ปกติ 26 คน (ร้อยละ 63.41)
5.ประเมินความรอบรู้ทางด้านการเงิน พบว่า คะแนนสุขภาพการเงินอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าคะแนน 7-15 คะแนน)  จำนวน 40 คน (ร้อยละ 97.56 ) และมีเพียง 1 คนที่คะแนนสุขภาพการเงินอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 2.4)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ
-สมาชิกทุกคน ได้มีการตรวจวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ ก่อนที่จะเริ่มโครงการ และเน้นให้ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจะติดตามทุก 3 เดือน -สมาชิก ได้รับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง เป็นการสร้างความตระหนักในการปรับพฤติกรรม -สมาชิกได้ประเมินสถานะสุขภาพด้านการเงินของตนเอง และนำไปวางแผนในการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินในชีวิตประจำวัน 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกเกิดทักษะและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ -สมาชิกเข้าใจและเกิดทักษะการวางแผนด้านการเงิน ปรับลดค่าใช้จ่าย เปลี่ยนวิธีการเพิ่มรายได้ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน

 

39 0

10. อบรมสมาชิกเรียนรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ 18 พฤศจิกายน 2565 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับสนับสนุนงบ สำนัก 6 สสส.โดย node โควิด-ภาคใต้ตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้เชิญเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เขาพระบาท, ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท, และพี่เลี้ยงโครงการคือ นายยงยุทธ สุขพิทักษ์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพการเงิน และฝึกปฏิบัติงานทำการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพตามโครงการ และวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านการเงิน และได้ออกแบบวางแผนในการจัดทำแผ่นพับความรู้ ด้านการรอบรู้เรื่องสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการประกอบอาชีพ และวางแผนครัวเรือน เพื่อจัดการเรื่องค่าใช้จ่าย เงินออมและการชำระหนี้สิน ทางโครงการขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาท, ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท และพี่เลี้ยงโครงการ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนทำให้กิจกรรมดำเนินงานไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ
-สมาชิกได้เรียนรู้วิธีการปรับท่าทางการทำงาน เพื่อลดการเจ็บป่วย หรือความเสี่ยงจากการทำงาน ได้แก่ การนั่งในท่าที่ถูกต้อง การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ -สมาชิกได้เรียนรู้วิธีการปรับแผนชีวิตเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ทุนที่มีอยู่ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างกิจกรรมร่วมในครอบครัว 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกได้เรียนรู้ และเกิดทักษะการปรับเปลี่ยนวิธีการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยการสร้างกิจกรรมง่ายๆ ในครัวเรือน ได้แก่ ปลูกตะไคร้ให้เพิ่มขึ้น และนำส่งมายังกลุ่ม เพื่อจัดทำเป็นลูกประคบหรือน้ำมันนวด
-สมาชิก ได้เรียนรู้การทบทวนชีวิตที่ผ่านมา จุดแข็ง จุดด้อยของครัวเรือน และนำมาปรุงเพื่อให้เกิดสมดุลย์ในชีวิตประจำวัน

 

39 0

11. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 แกนนำโครงการ ประชุมร่วมกับ ร่วมกับสภาองค์กรุชมชนตำบลเขาพระบาท ดังนี้ วันนี้แกนนำโครงการ 10 คน เข้าร่วมประชุมกับทีม อสม.และสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท มีประเด็นพุดคุยดังนี้ 1.คำสั่งเร่งด่วนเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านยาเสพติด โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระดับชาติ ที่ 11/2565 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ได้มอบหมายบทบาท หน้าที่ให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุกท่านจะเกี่ยวข้องในระดับหมู่บ้าน
2.แจ้งนโยบายทางด้านสาธารณสุข และมอบโดย นพ.สสจ.นครศรีฯ มีประเด็นที่เกี่ยวข้อง (1)การพัฒนาสุขภาพทุกกลุ่มวัย (2)การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (3)การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ (4)การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (5)การพัฒนาระบบปฐมภูมิ (6)การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยรายละเอียดแต่ละงานมีดังนี้ 2.1.การพัฒนาสุขภาพทุกกลุ่มวัย ประกอบด้วย พัฒนาการเด็กสมวัย, การฝากครรภ์ให้ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน(ก่อน 12 สัปดาห์), คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35ปีขึ้นไป, คัดกรองผู้สูงอายุตามเกณฑ์ ผู้สูงอายุติดเตียงได้รับการดูแล และประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่ถูกต้องเหมาะสม
2.2.การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลเน้น เรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด และกิจกรรมชมรมทูบีนัมเบอร์วัน เดินตามแนวทางธรรมนูญชุมชนฯ “ครอบครัว หมู่บ้าน โรงเรียน ปลอดยาเสพติด” 2.3.การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้แก่ เน้นการเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสโควิด-19 /โรคฉี่หนู /โรคไข้เลือดออก, ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เน้น ออกกำลังกาย การกินผัก ลดอุบัติเหตุ ,งานคุ้มครองผู้บริโภค เน้นร้านชำ จำหน่ายอาหารที่มี อย. ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง, การตรวจหาสารเคมีในเลือด และลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ 2.4.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นการจัดการขยะเปียกในระดับครัวเรือน และปลูกต้นไม้
2.5.การพัฒนาระบบปฐมภูมิ ประกอบด้วย เน้นโรคหลอดเลือดสมอง ทุกคนต้องรู้อาการ และส่งต่อทันที รับยาภายใน 4 ชั่วโมง, ลดการติดเชื้อวัณโรครายใหม่, ลดการใช้ยาที่จำเป็น ใช้สมเหตุ สมผล, ลดภาวการณ์ติดเชื้อในกระแสเลือด, การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง, เน้นบริการด้านการแพทย์แผนไทย, เน้นการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช, การบำบัดยาเสพติด, เน้นภาวะป้องกันไตเสื่อมในผู้ป่วยเรื้อรัง, เน้นความสุขและคุณภาพชีวิตของคนทำงาน

3.การพัฒนางานในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท
3.1.การดำเนินการเร่งคัดกรองและค้นหาผู้ที่สมัครใจเข้ารับการบำบัด (มีรายชื่อแล้ว) ให้ อสม.และผู้ใหญ่บ้าน ชวนพูด ชวนคุย ถ้าสมัครใจเข้ารับการบำบัด กรอกข้อมูลมาส่งที่ รพ.สต.ได้เลย 3.2.ช่วงนี้ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม ขอให้ปฏิบัติดังนี้ -พื้นที่ไหน ที่มีภาวะน้ำท่วม ให้รีบรายงานเร่งด่วน พร้อมทั้งถ่ายภาพและระบุความเสียหาย -แต่ละหมู่บ้านให้สำรวจ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ คนท้อง เด็ก (พรุ่งนี้จะส่งข้อมูลไปให้ทุกคน ได้คีย์เข้าระบบออนไลน์ เพื่อจะได้รวบรวมเป็นฐานข้อมูล คีย์ข้อมูลคนต่อคน
-ทุกหมู่บ้าน ต้องบอกพื้นที่อพยพ ว่าถ้ามีเหตุการณ์น้ำท่วม จะอพยพไปอยู่ที่จุดไหน
3.3.ช่วงนี้มีการพบการระบาดของไวรัสโควิด -19 ซ้ำ (รพ.เชียรใหญ่ พบว่า มีการป่วยวันละ 100 คน) ซึ่งจากข้อมูลการระบาด ถือว่า ค่อนข้างเยอะ ขอให้ทุกคน เน้นย้ำประชาชน
(1).ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน (2)ล้างมือสม่ำเสมอ  (3)เว้นระยะห่าง (4)ไม่อยู่ในสถานที่บุคคลแออัด (5)ถ้ามีอาการไข้ ไอ สงสัยอาการคล้ายหวัดให้ไปพบแพทย์ที่ รพ. (การตรวจด้วยวิธี ATK ตอนนี้ ตรวจไม่พบ เพราะเชื้อมีการกลายพันธุ์ จากเดลต้า มาเป็นโอมิครอน และปัจจุบันชื่อว่า เดลตาครอน)
3.4.ตอนนี้ ทาง สปสช. ได้กำหนดให้มีการยืนยันตัวตน โดยทุกคนที่มีการรับบริการทุกประเภท หรือมีการคัดกรอง ต้องเสียบบัตรประชาชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ 10 คน ประชุมร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ได้ร่วมกันวางแผน และเนื้อหาบางส่วนก็สอดคล้องกับโครงการ ด้านคุณภาพ 1.ได้วางแผน การนำกิจกรรมของโครงการ เข้าสู่แผนของสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ได้แก่ ด้านการแปรรูปสมุนไพร
2.การวางแผน การให้ความรู้ ด้านความรอบรู้ทางด้านสุขภาพการเงินและสุขภาพทางกาย

 

10 0

12. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2565 วันนี้มีการประชุมแกนนำหลักของโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุขตำบลเขาพระบาท (รหัส65-1008-12) ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ภาคใต้ สำนัก 6 สสส. โดยประชุมแกนนำโครงการ 10 คน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และประเมินผลตามบันไดผลลัพธ์ และวันนี้ อ.สุวิทย์ หมาดอะดำ  ทำหน้าที่ PM Node ได้เข้าร่วมเวที และหัวหน้าโครงการคือนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาให้รับทราบ ได้ทำการเก็บข้อมูลสุขภาพกาย สุขภาพทางการเงิน การทำบัญชีครัวเรือน และการสร้างรายได้ครัวเรือนโดยเน้นให้ทุกครัวเรือนเป้าหมายได้ผลิตวัตถุดิบ คือการปลูกพืชสมุนไพร ทำให้เกิดรายได้ และนำวัตถุดิบมาส่งขายที่กลุ่ม เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรรูปด้านสมุนไพรเช่น ยานวดน้ำมันไพล ยาหม่องไพล อาหารสัตว์สมุนไพร หรือการปลูกผักยกแคร่ปลอดสารพิษ และพาไปดูกิจกรรมสาธิตของโครงการคือ การผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงแพะ ขอขอบคุณ อ.สุวิทย์, ผอ.มนูญ พลายชุม,และพี่เลี้ยงโครงการคือนายยงยุทธ สุขพิทักษ์ ที่ช่วยติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และขอบคุณแกนนำหลักของโครงการที่ร่วมกันขับเคลื่อนงาน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายและผลลัพธ์ที่กำหนดไว้  สิ่งที่ได้ในบางกิจกรรม เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหวังแต่เป็นผลดีกับชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ
-แกนนำโครงการทั้ง 10 คน ได้ทำหน้าที่ของตนเอง ที่ได้รับมอบหมายคือการดูแลสมาชิก และมีการเก็บข้อมูลตามที่กำหนด -กิจกรรมมีการขับเคลื่อนไปตามแผนงานที่กำหนด เพราะทุกคนมีการจัดทำปฏิทินร่วมกัน 2.ด้านคุณภาพ -กิจกรรมของระดับครัวเรือน เกิดความเสียหายจากภาวะฝนตกหนัก แต่สมาชิกไม่ย่อท้อ ก็จะหาวิธีการใหม่ เพื่อต่อสู้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ สมาชิกปลูกผัก ฝนตกหนัก ผักตาย ก็จะเปลี่ยนมาปลูกผักแบบยกแคร่ หรือปลูกผักในกะละมังแทน เมื่อฝนไม่ตกแล้ว ก็จะนำผักลงไปปลูกในแปลงดินต่อไป

 

10 0

13. การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ (1.3 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย และติดตามบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2)

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2565 หัวหน้าโครงการคือนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร และสมาขิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส. ได้เชิญนักวิชาการเกษตร มาจากสำนักงานเกษตรอำเภอเชียรใหญ่ เพื่อมาให้ความรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ภายใต้ชื่อ “กลุ่มคลังอาหารตำบลเขาพระบาท” โดยกิจกรรมของกลุ่มจะทำการปลูกพืชวัตถุดิบ มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในชุมชน ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตอาหารเม็ดสำหรับสัตว์และการผลิตปุ๋ยหมัก วันนี้สมาชิกทุกคนต้องพูดคุยและเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อแสดงความคิดเห็นให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนงานและกติกาของกลุ่ม เน้นให้ทุกคนมีการสร้างรายได้ในระดับครัวเรือน และมีรายได้ในระดับกลุ่ม สิ่งที่สำคัญคือเน้นการสร้างความร่วมมือในการทำกิจกรรม วันนี้ได้สอบถามเกี่ยวกับรายได้จากครัวเรือน โดยทุกคนก็ได้จัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อเป็นฐานข้อมูลของทุกคน และนำไปใช้สรุปการเปลี่ยนแปลงก่อน, ระหว่าง, หลังโครงการได้ หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ประชุมเสร็จแล้ว ทุกคนต่างก็ร่วมมือกันนำวัตถุดิบที่นำมาจากครัวเรือน มาร่วมกันจัดทำเป็นปุ๋ยหมัก โดยจะทำปุ๋ยหมักกระสอบละ 5 กิโลกรัม เพื่อใช้เป็นปุ๋ยในการเพาะเมล็ดผัก โดยขายในราคาต้นทุนให้กับสมาชิก รายได้จากกิจกรรมวันนี้ เป็นการสร้างรายได้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคลังอาหารฯ วันนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 45 คน และพี่เลี้ยงโครงการ ก็ได้เสริมความรู้เพิ่มเติมในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ
-สมาชิกได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองเพิ่มขึ้น -สมาชิกร่วมกันกำหนดกติกาของกลุ่ม
-สมาชิกได้กำหนดให้มีการระดมทุนจากสมาชิกในลักษณะหุ้น หุ้นละ 100 บาทต่อคน
2.ด้านคุณภาพ -ได้จดทะเบียนและเกิดกลุ่มอาชีพ 1 กลุ่มคือ วิสาหกิจชุมชนคลังอาหารตำบลเขาพระบาท โดยเน้นการปลูกพืชในชุมชนที่ปลอดภัย การผลิตอาหารที่ปลอดภัย และมุ่งเน้นให้เกิดคลังอาหารในระดับครัวเรือนและระดับตำบล

 

39 0

14. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย

วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 วันนี้ตัวแทนโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12  (สำนัก 6 สสส.) เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของทีมสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท และ ทีม อสม.ตำบลเขาพระบาท ในที่ประชุมมีการพูดคุย และสรุปผลการขับเคลื่อนงาน ทุกหมู่บ้าน ตามประเด็นธรรมนูญชุมชนตำบลเขาพระบาท และวางแผนงานสำหรับการขับเคลื่อนงานในปี 2566 ซึ่งยังคงยืนหยัดตามแนวทาง ของธรรมนูญชุมชน เน้นลดปัจจัยเสี่ยงทุกมิติ ที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีสังคมดี และตัวแทนโครงการได้นำเสนอประเด็นการพัฒนาตามโครงการ ซึ่งสมาชิกกลุ่มมาจาก 4 หมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวการณ์ระบาดของโควิด -19 ตอนนี้ได้มีการสร้างกลุ่มอาชีพ และสร้างให้เกิดรายได้ภายในครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น กิจกรรมวันนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม 120 คน และเป็นตัวแทนของโครงการ 10 คน (แกนนำหลัก) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกแกนนำของโครงการได้นำกิจกรรมตามโครงการ ชี้แจงให้กับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ได้รับทราบกิจกรรม เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ และได้รับการพิจารณาให้สมาชิกของกลุ่ม สามารถยืมเงินจากกองทุนฯ ได้ ไม่เกินคนละ 3,000 บาท
-เดือนมกราคม 2566 ทางกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขาพระบาท ให้สมาชิกได้ยืมคนละ 500 บาท เพื่อนำไปซื้อวัสดุสำหรับการประกอบอาชีพ ได้แก่ ลูกไก่ เมล็ดผัก หอยขม ลูกปลา โดยกำหนดให้สร้างอาชีพภายใน 3 เดือน และนำส่งเงินต้น ไม่คิดดอกเบี้ย 2.ด้านคุณภาพ -ทำให้เกิดภาคีเข้ามาร่วมทำงาน และให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกเหนือจากโครงการที่กำหนดไว้
-กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท ได้สนับสนุนงบประมาณในการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร โดยมอบหมายให้ รพ.สต.เขาพระบาท ดำเนินการเป็นวิทยากรในการสอนความรู้

 

10 0

15. อบรมความรู้ เพิ่มทักษะการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

วันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 12 มกราคม 2566  หัวหน้าโครงการและสมาชิก โครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้ชวนทีมงานร่วมกันผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นปริมาณในการทำปุ๋ยในวันนี้จำนวน  300 กิโลกรัม
อุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย 1.ปุ๋ยขี้วัว จำนวน 10 กระสอบ
2.แกลบ จำนวน 2 กระสอบ 3.ต้นข้าวโพด บดให้ละเอียด จำนวน 20 กิโลกรัม 4.ขุยมะพร้าว จำนวน 1 กระสอบ
5.กากน้ำตาล 5 ลิตร
6.สารเร่ง พงด. จำนวน 1 ซอง
7.พลาสติกสีฟ้า ใช้สำหรับรองพื้น 8.อุปกรณ์ในการคลุกเคล้าดิน
วิธีการทำปุ๋ยหมัก 1.ปูพลาสติกสีฟ้า เพื่อใช้รองพื้น ก่อนที่จะผสมปุ๋ย 2.นำวัสดุทั้งหมด ได้แก่ขี้วัด แกลบ ต้นข้าวโพดบด ขุยมะพร้าว มาเทลงบนพลาสติกสีฟ้า โดยค่อยๆเท และคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ให้นำกากน้ำตาล ผสมกับน้ำให้เข้ากันและใส่ สารเร่ง พงด. 4.ตักน้ำกากน้ำตาล ราดลงบนปุ๋ยแล้วค่อยๆ คลุกเคล้า กลับหน้าดิน ให้ปุ๋ยพอชุ่มน้ำ 5.ปิดคลุมปุ๋ยไว้ โดยใช้พลาสติกสีฟ้าที่เหลือ ยกให้สูงและรวบ ปิดให้แน่น 6.ทุกสัปดาห์ให้มากลับปุ๋ย และคลุกเคล้า เพื่อเติมออกซิเจน และเร่งให้เกิดการย่อยสลาย 7.หมักดินและกลับดิน ติดต่อกันทุกสัปดาห์เป็นเวลา 2 เดือน แล้วนำบรรจุใส่ถุงขาย 8.ปุ๋ยดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้เป็นดินเพาะปลูกต้นกล้า

หลังจากทำปุ๋ยหมักแล้ว ก็จะติดตามเรื่องอาชีพในครัวเรือน และสรุปข้อมูลบัญชีครัวเรือนของเดือนธันวาคม 2565  โดยมอบหมายให้แกนนำหลักของโครงการ เป็นผู้รวบรวม และให้ทุกคนเตรียมข้อมูล เพื่อเข้าร่วมเวที ARE เตรียมสรุปปิดงวดรายงาน งวด 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้น

 

39 0

16. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม

วันที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน ร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท
วันนี้แกนนำโครงการ 10 คน ได้เข้าร่วมประชุมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท มีประเด็นในที่ประชุม ดังนี้
1.ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ มีการรณรงค์สวมใส่ผ้าไทย “ใส่ผ้าไทยให้สนุก” ซึ่งเป็นนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีฯ โดยเน้นผ้าทอเนินธัมมัง ซึ่งสมาชิกตำบลเขาพระบาท ก็ยังทอผ้าอีกหลายคน
2.ให้ทุกหมู่บ้าน ช่วยเช็คประวัติกลุ่มอาชีพ เนื่องจากได้หมดอายุ ไปหลายกลุ่มแล้ว ขอให้ทำหลักฐานเพื่อจดแจ้งให้ถูกต้อง เพราะจะส่งผลต่อการขอสนับสนุนงบประมาณ
3.ท่าน สสอ.เชียรใหญ่ ฝากเรื่องนโยบาย 3 หมอ ให้ทุกหมู่บ้านช่วยกันประชาสัมพันธ์ 3 หมอ บริการใกล้บ้านใกล้ใจ โดย อสม.ทุกคนจะมีเขตรับผิดชอบชัดเจน ประชาชนต้องรับรู้ว่าใครเป็น อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือนตนเอง
4.ทาง รพ.สต.เขาพระบาท ขอความร่วมมือ ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป มาคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตอนนี้ยังขาดอีก 350 คน โดยจะส่งรายชื่อผ่านไปยัง อสม. และฝากผู้ใหญ่บ้าน และสภาองค์กรชุมชนทุกหมู่บ้านช่วยกันด้วย
5.ผู้ป่วยเรื้อรัง โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ขอให้ทุกท่านช่วยตรวจสอบด้วยว่า ปีนี้ได้ตรวจสุขภาพประจำปีหรือยัง เพราะช่วงนี้นายแพทย์ปิยรัตน์ กาญจนะ ออกตรวจที่ รพ.สต.เขาพระบาท ทุกวันพฤหัสบดี ขอให้ท่านช่วยสอบถามและส่งรายชื่อให้ รพ.สต.เขาพระบาท ด้วย เพื่อจะได้ทำการติดตามและสอบถามข้อมูลประวัติการตรวจสุขภาพประจำปีเพิ่มเติม 6.ปีนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศนโยบายเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จึงขอความร่วมมือทุกท่าน ได้ประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุให้ทราบ และเข้าร่วมกิจกรรมกับ อสม.และกิจกรรมที่ รพ.สต.เขาพระบาท กำหนดนัดหมายทำกิจกรรมแต่ละหมู่บ้าน ขอให้เข้าร่วมกิจกรรม และถ้าผู้สูงอายุท่านใด ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน เพื่อขอรับเงินผู้สูงอายุ ขอให้รีบขึ้นทะเบียน 7.การดูแลผู้ป่วยติดเตียง และติดบ้าน ขอให้ทุกท่านได้ช่วยกันสำรวจว่าในพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน ยังมีผู้ป่วยติดเตียง ไม่ได้รับการดูแล หรือตกหล่นมีหรือไม่ ขอให้แจ้งผ่านมาได้เลย เพื่อจะให้ความช่วยเหลือ และในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท มี ทาง รพ.สต.เขาพระบาท กับ นักบริบาลชุมชน ได้ร่วมกับแพทย์แผนไทย วางแผนในการออกดูแลผู้ป่วยติดเตียง 8.เดือนนี้ ทาง รพ.สต.เขาพระบาท จะทำการตรวจหาเกลือไอโอดีน โดยสุ่มเลือก ม.9 ขอให้ท่านได้ประชาสัมพันธ์ ให้แต่ละครัวเรือน นำเกลือมาสุ่มตรวจหาไอโอดีนด้วย
9.การประชุมระดับจังหวัด โครงการพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2566 กิจกรรม:ขับเคลื่อนงานศูนย์คัดกรองเชิงรุก4 มุมเมือง วันที่ 31 มกราคม 2566 ห้องประชุมโรงแรมชฎา แอท นคร ผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ (1)นายก อบต. (2)เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 ท่าน (3)กำนัน/สารวัตรกำนัน ( 4)ผู้ใหญ่บ้าน 3 ท่าน (5)จนท./สมาชิก อบต. 4 ท่าน (6)ตัวแทน อสม. 9 ท่าน หนังสือทางอำเภอจะแจ้งอีกครั้ง 10. การประชุมระดับจังหวัด โครงการพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2566 กิจกรรม : การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในศูนย์คัดกรอง วันที่ 27 มกราคม 2566 โรงแรมชฎา แอท นคร กลุ่มเป้าหมายคือ (1)เจ้าหน้าที่สาธารณสุข คือหมอแอม 2.ผู้ใหญ่บ้านคือ ผู้ใหญ่สัมพันธ์
11.วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ทางสำนักบริหาร กระทรวงสาธารณสุข จะต้องมาติดตามและเรียนรู้ในพื้นที่ เกี่ยวกับการบำบัดผู้ป่วยแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ช่วงเช้า ที่ รพ.เชียรใหญ่ ช่วงบ่ายศึกษาดูงานในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท โดยจะดูการฟื้นฟูอาชีพหลังบำบัด ซึ่งนับว่าโชคดีที่ทางกลุ่มคลังอาหารข้างบ้านตำบลเขาพระบาท มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนไว้หลายจุด 12.ขอให้กลุ่ม คลังอาหารข้างบ้านสร้างสุขตำบลเขาพระบาท (กลุ่มอาชีพหลังโควิด) ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่ม
-นส.จุฑาทิพย์ หัวหน้าโครงการ ได้นำเสนอให้ทราบว่า ตอนนี้สมาชิกกลุ่มได้ร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่ม คือ การแปรรูปสมุนไพร ได้แก่ ยาหม่อง ปุ๋ยหมัก และในเร็วๆนี้จะทำลูกประคบและอาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงไก่ ทุกท่านสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ และที่บ้านของสมาชิกทั้ง 39 คน ก็จะมีแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เลี้ยงหอยขม เป็นต้น - วันที่ 29 มกราคม 2566 จะทำการสรุปกิจกรรมเวที ARE ทุกท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ เพื่อจะได้เรียนรู้ผลลัพธ์ของโครงการ และตอนนี้ผลผลิตที่ทางกองทุนสวัสดิการชุมชนได้เสนอให้การสนับสนุนครัวเรือนละ 500 บาท เริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว
13.วาระอื่นๆ ไม่มี ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ
1.แกนนำโครงการ 10 คน เข้าร่วมประชุม กับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท

ด้านคุณภาพ 1.ได้นำเสนอผลการดำเนินงานให้ทุกหมู่บ้านทราบ 2.เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับทุกหมู่บ้าน และแหล่งเรียนรู้ระดับตำบล

 

50 0

17. จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 29 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ 29 มกราคม 2566 หัวหน้าโครงการและสมาชิกร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานงวดที่ 1 และจัดเวที ARE โครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส.โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร หัวหน้าโครงการ ได้ประชุมเพื่อติดตามผลลัพธ์ของโครงการตามตัวชี้วัด และสรุปผลที่เกิดขึ้นตามโครงการ ได้แก่ ครัวเรือนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มเฉลี่ย 500 บาท ต่อครัวเรือน ปลูกผักกินเอง ลดการซื้อผักเดือนละ 1950 บาทต่อครัวเรือน เกิดกลุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง กลุ่มเลี้ยงหอยขม กลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลาและกลุ่มทำน้ำยาเอนกประสงค์ ทุกครัวเรือนเป้าหมายทำบัญชีครัวเรือน เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคลังอาหารตำบลเขาพระบาท 1 กลุ่ม และเกิดคนต้นแบบ 5 คนดังนี้ 1.นายถาวร เกิดวัน ต้นแบบการเลี้ยงไก่ 2.นายนันทวุฒิ จันทโชติ ต้นแบบการเลี้ยงแพะและไก่ 3.นางศรีวิไล ทองใสพร ต้นแบบการเลี้ยงหอยขม 4.นางสาวรัชฎาภรณ์ นาพนัง ต้นแบบการเลี้ยงปลา 5.นางสาวสุพรรษา จันทโร ต้นแบบการทำน้ำยาเอนกประสงค์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้น

 

39 0

18. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครั้งที่ 2 ทำลูกประคบสมุนไพร

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ 4 กุมภาพันธ์ 2566  สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส.นำโดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรม เรียนรู้ทำลูกประคบจากสมุนไพรสด  วิทยากรจาก แพทย์แผนไทย รพ.สต.เขาพระบาท การทำลูกประคบสมุนไพรสด มีรายละเอียด ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ 1 หัวไพล 4กิโลกรัม
2 ขมิ้นชัน 2 กิโลกรัม 3 ตะไคร้ 2 กิโลกรัม
4 มะกรูด (ผิว) 500 กรัม 5 ใบส้มป่อย 2 กิโลกรัม
6 เกลือ 60 กรัม 7 การบูร 100 กรัม
8 พิมเสน 100 กรัม 9. เมนทอล 50 กรัม 10.ผ้าขาว หน้ากว้าง 1 หลา
11.เชือกสีขาวสำหรับมัดลูกประคง วิธีทำลูกประคบสมุนไพรสด 1.นำขมิ้นชัน หัวไพล  มาล้างทำความสะอาด  นำทั้งหมดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆขนาด ไม่เกินชิ้นละ1 เซนติเมตร 2.นำตะไคร้มาหั่นเป็น ชิ้นบางๆแล้วนำมาสับพอหยาบๆ 3.นำมะกรูดที่เตรียมมะกรูดมาล้างให้สะอาดตากให้แห้งจนสะเด็ดน้ำไว้มาฝานเอาเฉพาะผิว แล้วนำผิวมาหั่นให้ละเอียด 3.นำสมุนไพรที่เตรียมไว้แล้วมาผสมกับเกลือ การบูรและพิมเสนมาผสมคลุกรวมกันในกะละมังจนกระทั่งเป็นเนื้อเดียวกัน 4 นำสมุนไพรที่ผสมเข้าด้วยกันแล้วมาตักแล้วชั่งขนาด200กรัม ใส่ลงบนผ้าดิบที่ตัดเตรียมไว้เตรียมไว้ใช้ขนาด90 *90 เซนติเมตร ยกชายผ้าทั้งสี่มุมขึ้นแล้วใช้เชือกมัดให้แน่นเป็นลูกประคบ

วิธีประคบ นำลูกประคบ 2 ลูกไปนึ่งในหม้อนึ่ง (หม้อดินหรือหม้ออลูมิเนียมธรรมดาก็ได้) ประมาณ 15-20 นาที เมื่อลูกประคบร้อนให้นำลูกแรกไปประคบคนไข้ตามจุดหรือ ตำแหน่งที่ต้องการรักษา เมื่อลูกประคบลูกแรกเย็นลงนำลูกประคบลูกแรกกลับไปนึ่งใหม่ ระหว่างรอให้นำลูกประคบลูกที่สองมาประคบแทน ทำสลับกัน-ไปมาเพื่อให้ลูกประคบร้อนอยู่ตลอดเวลา

ผลิตได้จำนวน 40 ลูก และช่วงบ่าย ก็มากลับปุ๋ยหมัก และนำบรรจุถุง ถุงละ 5 กิโลกรัม ได้จำนวน 60 ถุง (พร้อมขายเพื่อนำรายได้เข้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนคลังอาหารตำบลเขาพระบาท)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์
1.การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคือ มีผลผลิตเกิดขึ้น คือลูกประคบ 40 ลูก ขายให้กับ รพ.สต.เขาพระบาทลูกละ 40 บาท เป็นเงิน 1600 บาท
2.เกิดมีรายได้ของกลุ่มสมาชิกอีก 1 อย่างคือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ จำนวน 60 ถุง ถุงละ 20 บาท เป็นเงิน 1200 บาท
3.เดือนนี้มีรายได้เข้ากลุ่ม เป็นเงิน 2800 บาท

 

39 0

19. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำโครงการ 10 คน ประชุมร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ในประเด็นการพัฒนาด้านสุขภาพ และการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ในการดำเนินงาน การประชุมดังกล่าว จะมีสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท เป็นผู้ดำเนินการประชุม และมีแกนนำโครงการร่วมเป็นคณะทำงาน ประเด็นการประชุมในวันนี้มีเนื้อหาดังนี้
1.ท่านนายอำเภอเชียรใหญ่ ได้ฝากเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ขอให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนขอให้เดินไปยังสถานบริการและขอฉีดวัคซีนได้เลย ทั้งเข็มแรกหรือเข็มกระตุ้น 2.ในที่ประชุมจังหวัดนครศรีฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เน้นให้ปลูกข้าวกาบดำ เป็นข้าวพื้นเมืองนครศรีฯ
3.โครงการนักปกครองปลอดยาเสพติด จะสุ่มตรวจปัสสาวะครอบครัวนักปกครอง และครอบครัวแกนนำชุมชนทุกคน ขอให้ทุกคนรับทราบและให้ความร่วมมือด้วย 4.นโยบาย สวมใส่ผ้าไทย “ใส่ผ้าไทยให้สนุก เป็นนโยบายของผู้ว่าฯ” 5.ปีนี้การยื่นภาษี ขอให้ทุกคนที่มีรายได้ควรยื่นภาษีเงินได้ทุกคน แม้จะไม่ถึงเกณฑ์ ขอให้ยื่น เพราะเป็นหน้าที่ของคนไทย โดยยื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต 6.ทาง รพ.สต.เขาพระบาท ขอความร่วมมือให้ท่านร่วมมือกับ อสม.ทุกหมู่บ้าน และช่วยกันสำรวจข้อมูลตาม จปฐ. ข้อมูลกลุ่มวัยต่างๆ เน้นกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มติดเตียง หรือครอบครัวที่สมควรช่วยเหลือขอให้ท่านได้บอกสภาพปัญหา และความต้องการช่วยเหลือ เพื่อจะได้จัดสรรงบ ให้การช่วยเหลือ 7.ทาง รพ.สต.เขาพระบาท ได้แจ้งให้ทราบว่า ปีนี้ จะมีการตรรวจตาในผู้ป่วยเบาหวาน โดยจะทำการจ้าง บริษัทมาตรวจสายตาโดยเฉพาะ มีการวัดสายตาและหาภาวะเบาหวานขึ้นตา ในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม2566 ขอฝากให้ทุกท่านประชาสัมพันธ์ด้วย
8.ทาง รพ.สต.เขาพระบาท ขอความร่วมมือช่วยในการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ แบบเอชพีวี(HPV) ข้อดีของวิธีการดังกล่าวคือ (1)ตรวจค้นหาความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกได้เร็ว (2)สามารถค้นหาเชื้อมะเร็งปากมดลูก ได้มากกว่า 14 สายพันธ์ (3)เป็นการตรวจหาเชื้อโรคมะเร็งปากมดลูกที่ระดับพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) (4)ตรวจง่ายและได้คุณภาพสูง แม่นยำถึงร้อยละ 99 โดยเริ่มตรวจตั้งแต่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 4 เมษายน 2566 กลุ่มเป้าหมาย 340 คน
9.ปี 2566 พื้นที่ตำบลเขาพระบาท ได้วางแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิต มี 3 เรื่อง คือ (1)การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน (2)การดูแลกลุ่มด้อยโอกาสและผู้ป่วยติดเตียง (3)การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 10.ในช่วงนี้มีโรคไข้เลือดออกกำลังระบาด ขอความร่วมมือทุกท่าน ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ร่วมมือกันในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก และสามารถเบิกทรายอะเบทได้ที่ รพ.สต.เขาพระบาท หรือ อบต.เขาพระบาท เนื่องจากได้ประสานไว้เรียบร้อยแล้ว
11.วันนี้ทางแกนนำ โครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (กลุ่มอาชีพหลังโควิด) ได้แจ้งให้ทราบว่า ดำเนินการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และขอสนันสนุนมาทางสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ดังนี้
11.1.ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีการปลูกผัก ผลผลิตทางการเกษตรเริ่มเก็บผลได้ จะขอให้ทุกท่านช่วยซื้อสินค้า ซึ่งเป็นสินค้าปลอดภัย และช่วยเพิ่มรายได้ให้กลุ่มเป้าหมาย
11.2.ทางสมาชิกกลุ่ม ขอสนับสนุนในการกู้เงินแบบไม่มีดอกเบี้ย เพื่อนำไปใช้ในการทำอาชีพเสริม จากเดิม ทางกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเขาพระบาท ได้สนับสนุนให้ครัวเรือนไปแล้ว ครัวเรือนละ 500 บาท และตอนนี้จะใช้เงินที่ให้ไปเป็นต้นทุน แต่เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจึงขอกู้เงินเพิ่ม รายละ 3,000 บาท โดยมีกติกาในการผ่อนส่งคือ คืนงวดเดียว หรือจะทยอยคืน เดือนละ 500 บาทเป็นเวลา 6 เดือน
สอบถาม มติที่ประชุม อนุมัติ
ประธานสอบถามเพิ่มเติม ไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการได้เข้าร่วมประชุม 10 คน และสภาองค์กรชุมชน จำนวน 60 คน

ด้านคุณภาพ 1.ได้มีการเรียนรู้สภาพปัญหาของชุมชนร่วมกัน และวางแผนการทำงานร่วมกัน
2.ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน และผลผลิตของกลุ่มเป้าหมาย ให้กับทุกหมู่บ้านได้ทราบ และขายผลผลิต ให้กับประชาชนใพื้นที่
3.ขอมติในที่ประชุม ขอสนับสนุนงบประมาณ ในการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกของโครงการ โดยไม่มีดอกเบี้ย

 

50 0

20. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครั้งที่ 3 ทำอาหารเม็ดสมุนไพร สำหรับเลี้ยงไก่

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ 8 กุมภาพันธ์ 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส.นำโดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรม เรียนรู้การทำและผลิตอาหารเม็ดสำหรับไก่ไข่ เป็ด และปลา แต่ในวันนี้จะใช้สุตรการทำอาหารไก่ไข่ มีรายละเอียด ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์สำหรับสูตรอาหารไก่ต้นทุนต่ำ
1.ข้าวโพด 50 กิโลกรัม 2.รำละเอียด 60 กิโลกรัม 3.รำโรงสีกลาง 15 กิโลกรัม 4.หัวอาหารสัตว์ 10 กิโลกรัม 5.ใบกระถินป่น 1 กิโลกรัม 6.ฟ้าทะลายโจร 0.15 กิโลกรัม 7.ขมิ้น 0.05 กิโลกรัม 8.ไพล 0.05 กิโลกรัม 9.กะละมังใบใหญ่ หรือผ้าพลาสติก วิธีการทำ 1.นำข้าวโพด มาบดและป่นให้ละเอียด และใบกระถิ่น บ่นให้ละเอียด 2.นำส่วนผสมทั้งหมด มาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน และคลุกให้เป็นเนื้อเดียวกัน
3.เติมน้ำเล็กน้อย เพื่อให้ส่วนผสมจับกันเป็นก้อน
4.นำส่วนผสม ใส่ลงในเครื่องอัดเม็ด เพื่ออัดเม็ดอาหารสัตว์ ปรับขนาดเม็ดตามความต้องการ 5.นำอาหารที่อัดเม็ด ไปตากแดดพอแห้ง แล้วเก็บใส่กระสอบ พร้อมแจกจ่ายนำไปเลี้ยงไก่

กิจกรรมในวันนี้ ผลิตอาหารไก่ ได้ประมาณ 60 กิโลกรัม และได้แจกจ่ายให้กับสมาชิกคนละ 2 กิโลกรัม เพื่อนำไปเลี้ยงไก่ที่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้น

 

39 0

21. เวที ARE ร่วมกับ Node ครั้งที่ 1

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 11 - 12 กุมภาพันธ์ 2566 เข้าร่วมเวทีประชุมกับ Node เวที ARE
วันนี้แกนนำโครงการ 2 คน ได้สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ งวดที่ 1 ดังนี้
1.ข้อตกลงร่วมของแกนนำโครงการ 1.1.แกนนำหลักประชุม อย่างน้อยเดือนละ 2ครั้ง -เพื่อพูดคุยและติดตามกิจกรรมของสมาชิกที่รับผิดชอบ 5 คน
-นำผลงาน หรือข้อมูลของสมาชิกที่รับผิดชอบมาสรุปร่วมกัน 1.2.แกนนำโครงการ ติดตามกิจกรรมของสมาชิกที่รับผิดชอบ 2 ครั้ง/เดือน (สัปดาห์ที่ 1, 3) 1.3.แกนนำโครงการ ต้องร่วมประชุมในการจัดทำ ARE ทุกครั้ง 1.4.ต้องจัดทำบัญชีครัวเรือนของตัวเอง ทุกเดือน 1.5.ร่วมกันจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของโครงการ และรายงานผลให้สมาชิกทราบทุกเดือน 1.6.ติดตามกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม โดยนำข้อมูลและกิจกรรมไปบอกกล่าว   และมอบหมายให้ทำกิจกรรม พร้อมทั้งติดตามผล และรายงานตามเวลาที่กำหนด

2.ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย โดยภาพรวมของ 39 ราย ดังนี้
2.1.ถูกพักงาน กลับมาอยู่บ้านและในที่สุดก็ตกงาน จำนวน 29 ราย
2.2.ถูกเลิกจ้างงาน และที่บ้านป่วยจากโควิด-19 ทำให้สุขภาพแย่ลง ต้องดูแล จำนวน 3 ราย 2.3.มีกลุ่มเปราะบางอยู่ในบ้าน เมื่อป่วยโควิด-19 เกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 33 ราย 2.4.เป็นผู้พิการ และเป็นครอบครัวด้อยโอกาส ช่วงโควิด-19 ไม่มีงาน ไม่มีเงิน จำนวน 1 ราย 2.5.ทำงานต่างจังหวัด เมื่อตกงาน กลับมาอยู่บ้าน มีบ้านเอง 34 คน อยู่กับพ่อแม่ 5 คน 2.6.ช่วงโควิด-19 สมาชิกไม่มีอาชีพ ไม่มีที่ดิน ขาดรายได้ ขาดเงิน จำนวน 30 ครัว 2.7.ยอมแพ้ ในการรอเรียกกลับไปทำงาน จึงตัดสินใจอยู่บ้าน แต่ไม่มีอาชีพ จำนวน 7 คน

3.ข้อตกลงร่วมของสมาชิก 3.1.ต้องเข้าร่วมประชุมตามกิจกรรมที่กำหนด ขาดได้ 3 ครั้งตลอดโครงการ 3.2.ต้องเข้าร่วมเวทีสรุปผลการดำเนินงานทุกครั้ง 3.3.ถ้าขาดเกิน 3 ครั้ง จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลจากรายได้ของกิจกรรมทั้งหมด 3.4.ถ้ามีธุระ ให้สมาชิกในบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรมแทนได้

4.ข้อตกลงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4.1.สมาชิกทุกคน จัดทำบัญชีครัวเรือน 7 เดือน ติดต่อกัน จะได้การจัดสรรแบ่งผลกำไร 4.2.สมาชิกต้องสมทบหุ้น อย่างน้อยคนละ100บาท ในการสร้างกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4.3.สมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมเดือนละ 1 ครั้ง 4.4.กลุ่มมีการปันผลให้สมาชิก 6 เดือน/ครั้ง หรือปีละ 2 ครั้ง หลังจากการขายสินค้า 4.5.การจัดสรรประโยชน์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ค่าบริหารจัดการกลุ่ม ร้อยละ 20 ส่วนที่ 2 ค่าวัสดุ ค่าแรง ปันผลคืน ร้อยละ 60
ส่วนที่ 3 ปันผลกำไรให้สมาชิก ร้อยละ 20

กิจกรรมหลักสำคัญ 1.ประชุมสมาชิกโครงการ ชี้แจงรายละเอียดโครงการ และจัดตั้งแกนนำหลัก รับผิดชอบ 1 ต่อ 4 คน
2.มีโครงสร้าง, มอบหมายหน้าที่ ของแกนนำหลัก และประชุมทุกเดือน
3.จัดเก็บข้อมูลทุกประเด็น 3 ระยะ คือ ก่อน ระหว่าง และหลัง โครงการ 4.ให้ความรู้และจัดกิจกรรมให้กับสมาชิก 4 เรื่อง (1)ยาดมสมุนไพร (2)ยานวดสมุนไพร (3)ลูกประคบ (4)อาหารสัตว์สมุนไพร
5.จดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร และจัดทำบัญชี รับ-จ่าย ต่อเนื่อง 6.การสร้างอาชีพให้แก่สมาชิกในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่ม
7.มีชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน
8.ถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มอื่นๆ ในชุมชนทุกหมู่บ้าน. 9.สมาชิกอบรมความรู้บัญชีครัวเรือนและความรอบรู้ทางสุขภาพการเงิน 10.ติดตามการทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่อง 11.จัดกิจกรรมเวที ARE เพื่อประเมินผลทุก 3 เดือน และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 12.ถอดบทเรียนการดำเนินงานตามโครงการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ 1.จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้น
1.1.มีสมาชิกกลุ่ม 39 คน (46คน)
1.2.เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จำนวน 1 กลุ่ม
1.3.มีการแปรรูปสมุนไพร 4 เรื่อง (ปัจจุบันทำได้ 3 เรื่อง คือ (1)ยาหม่องสมุนไพร (2)ลูกประคบ (3)อาหารสัตว์สมุนไพร 1.4.ครัวเรือนเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น (เฉลี่ย 500 บาท/ครัว) เฉลี่ย 200 บาทต่อคน

2.กลุ่มเป้าหมายเกิดทักษะการประกอบอาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้น 2.1.สมาชิก 39 คน เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรและได้รับการอบรมความรู้ด้านการแปรรูปสมุนไพรทุกคน ร้อยละ 100 (อบรม 46 คน มีความรู้ ร้อยละ 80)
2.2.สมาชิกทุกคน (ร้อยละ 100) มีทักษะการประกอบอาชีพด้านการแปรรูปสมุนไพร (ปฏิบัติได้ ร้อยละ 80)
2.3.เกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน จำนวน 1 ชุด ดังนี้ (1)ยาดมสมุนไพร (2)ลูกประคบ –(3)ยานวดสมุนไพร (4)อาหารสัตว์สมุนไพร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ ได้นำเสนอและสรุปผลการดำเนินงานในงวดที่ 1 ด้านคุณภาพ 1.กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบมและเกิดทักษะ ร้อยละ 100 2.เกิดผลผลิตตามโครงการคือ (1)ลูกประคบ (2)ยาหม่องสมุนไพร (3)อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงไก่ 3.จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้ว

 

2 0

22. พี่เลี้ยงติดตามผลงานระดับบุคคล และครัวเรือน

วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 วันนี้พี่เลี้ยง ได้ลงพื้นที่ เพื่อเยี่ยมติดตามครัวเรือนต้นแบบ และติดตามการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน จำนวน 10 ครัวเรือน ดังนี้
1.นายถาวร เกิดวัน เกิดผลผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 2.นายนันทวุฒิ จันทโชติ  เกิดผลผลิตในการผลิตอาหารเม็ดและเลี้ยงไก่ไข่ 3.นางจิรภรณ์ สุขแจ่ม เกิดผลผลิตในการปลูกแตงกวาและแตงโม
4.นางสุพรรษา จันทโร เกิดผลผลิตในการทำน้ำยาล้างจาน และขายในราคาต้นทุนได้กำไรเดือนละ 500 บาท
5.นางศรีวิลัย ทองใสพร เกิดผลผลิตในการเลี้ยงหอยขม และสร้างรายได้ประมาณ 500 – 1000 บาทต่อเดือน
6.นางวันดี เขียวสม เกิดผลผลิตในการเลี้ยงหอยขม และสร้างรายได้ประมาณ 500 – 1000 บาทต่อเดือน โดยเลี้ยงร่วมกับนางศรีวิลัย
7.นางสาวภิรมย์ ภิรมย์รักษ์ เกิดผลผลิตในการเลี้ยงปลาดุกและการปลูกพริก
8.นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร เกิดผลผลิตในการปลูกผักชี และรายได้กิโลกรัมละ 200 บาท
9.นายอดุลย์ ยิ้มแย้ม เกิดผลผลิตในการเลี้ยงปลาหมอ 10.นางวันดี เขียวสม เกิดผลผลิตในการเลี้ยงไก่บ้าน ไก่พื้นเมือง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ
1.เกิดคนต้นแบบครัวเรือน ต้นแบบ จำนวน 10 ครัวเรือน
ด้านคุณภาพ 1.เกิดแหล่งเรีบนรู้ในระดับหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง
2.เกิดรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นคนละ 500 - 1000 บาทต่อเดือน
3.เป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกครัวเรือน 4.ทำให้สมาชิกเห็นประโยชน์และความสำคัญของโครงการ

 

10 0

23. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วันที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่  7  มีนาคม  2566  สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  ตำบลเขาพระบาทซึ่งได้รับสนับสนุนงบ  สำนัก  6  สสส.  โดย  Node  โควิด-ภาคใต้ตอนล่าง  โดยนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  ได้มีการประชุมพูดคุยและติดตามการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกแกนนำทั้ง  10  คน  พบว่าแกนนำทั้ง  10  คน  ได้มีการทำบัญชีครัวเรือนสม่ำเสมอ  และได้นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน  และนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  ยังได้พูดคุยขอความร่วมมือกับสมาชิกทั้ง  10  คน  ว่าถึงแม้จะปิดโครงการแล้วแต่เราก็ยังจะติดตามและคอยถามข่าว  และเราต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวดี  ๆ  อีก  ก็ได้รับการตอบรับจากสมาชิกแกนนำทั้ง  10  คนเป็นอย่างดีทุกคนเต็มใจ  และมีความสุขในการมานั่งพูดคุยกันและได้และเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วั1.ด้านปริมาณ 1.1.จากการพูดคุยและจากบัญชีครัวเรือนทำให้เห็นว่าสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนมากขึ้น  ร้อยละ  80 1.2.สมาชิกสามารถเรียนรู้การปรับแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน  และเรียนรู้การนำเศรษฐกิจพอพัยงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

2.ด้านคุณภาพ 2.1.สมาชิกได้เรียนรู้  และเกิดทักษะการเพิ่มรายได้  และการออมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น  เป็นร้อยละ  80  เช่นกัน  ผักข้างบ้าน  ปลาข้างบ้านหรืออาหารอื่นๆข้างบ้านนำมาลงบัญชีครัวเรือน  ทำให้รู้รายรับ  รายจ่ายดีขึ้น

 

39 0

24. ประชุมแกนนำโครงการ

วันที่ 8 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่  8  เมษายน  2566  หัวหน้าโครงการ  คือ  นางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  และสมาชิกแกนนำโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  (รหัสโครงการ  65-10018-12)  ได้รับงงสนับสนุนจาก  สำนัก  6  สสส.  ได้เชิญสมาชิกแกนนำโครงการเพื่อมานั่งพูดคุยเกี่ยวกับ  ประเด็นการพัฒนางาน  กิจกรรมของกลุ่มไม่ว่าจะเป็นการทำปลานิล  แดดเดียว  ปลานิลส้มการทำลูกประคบสมุนไพร  การทำอาหารสัตว์ด้วยสมุนไพร  การทำปุ๋ยหมักชีวภาพว่าเราจะต้องมีวิธีการหรือแนวทางในการต่อยอดงานเหล่านี้เพื่อรองรับอาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของเรากันอย่างไรบ้าง  เพราะโครงการใกล้จะสิ้นสุดแล้ว  แต่เราจะหยุดตามโครงการไม่ได้  เพราะเรามีกลุ่มของเราที่เกิดขึ้นจริง  เราจะต้องพัฒนาต่อยอดต่อไป  เพื่อพวกเราเองและสมาชิกของพวกเรา  ให้มีอาชีพเพราะรายได้ที่มั่นคงต่อไป  ส่วนการทำบัญชีครัวเรือนเราก็ยังจะต้องทำต่อไป  เพราะจากที่เราได้พูดคุยกันสมาชิกบางคนเปลี่ยนแปลงรายรับ  –  รายจ่ายได้  เพราะการทำบัญชีครัวเรือนจริงๆ  และยังมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนครัวเรือนละ  50  บาทบ้าง  100  บาทบ้าง  สูงสุดเดือนละ  300-500  บาทต่อเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ จำนวน 10 คน เข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด 2.แกนนำโครงการ มีข้อมูลครัวเรือน เปรียบเทียบก่อนและหลังโครงการ ด้านคุณภาพ 1.เกิดกลุ่มอาชีพและจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และดำเนินงานต่อเนื่องทุกเดือน 2.สมาชิกและครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเกิดอาชีพและรายได้ เฉลี่ยคนละ 500 บาทต่อดือน และมีเงินออมเฉลี่ย 50 บาท-100 บาท

 

10 0

25. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนให้ความรู้เกี่ยกับการปรับปรุงรูปแบบการบรรจุภัณฑ์

วันที่ 22 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่  22  เมษายน  2566  หัวหน้าโครงการคือนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  และสมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  (รหัสโครงการ  65-10018-12)  ได้รับงงสนับสนุนจาก  สำนัก  6  สสส.  ได้มีการพูดคุยเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของยาดม  ยาหม่องสมุนไพร  ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร  ชุดอบสมุนไพร  ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สมุนไพรปลอดสารเคมี  บรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปปลานิลแดดเดียว  ปลาส้ม  เรียนรู้วิธีการซีนบรรจุภัณฑ์  และการออกแบบโลโก้หรือป้ายสินค้า  เพื่อให้สินค้าดูมีราคามากขึ้น  โดยในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นและระดมความคิด  ในการที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์  เพื่อที่จะคัดเลือกและเป็นแบบที่สามารถสร้างมูลค้าเพิ่มให้กับสินค้าอีกต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ด้านปริมาณ -สมาชิกโครงการได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการออกแบบจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุสินค้าแปรรูปเพื่อให้เกิดมูลค้ามากกว่าเดิม -ทำให้สมาชิกมีความคิดสร่างสรรค์ในการคิดวิเคราะห์  และสนุกสนยานในการทำกิจกรรม 2.ด้านคุณภาพ   -สมาชิกได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  และปลอดสารเคมี  ทำให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกาย  และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

 

39 0

26. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่  20  พฤษภาคม  2566  วันนี้ได้มีการนัดแกนนำหลักของโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุขตำบลเขาพระบาท  (รหัสโครงการ  65-10018-12)  ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด  19  ภาคใต้  สำนัก  6  สสส.  โดยการประชุมแกนนำโครงการ  10  คน  เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ  และประเมินผลตามบันไดผลลัพธ์และสมาชิกแกนนำโครงการทั้ง  10  คน  ได้นำข้อมูลมาพูดคุย  และได้สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั่งแต่เริ่มโครงการจนตอนนี้จะปิดโครงการแล้ว  เพื่อนำมาสรุปและเก็บข้อมูลร่วมกัน  เพื่อที่จะนำไปจัดเวที  ARE  ในครั้งต่อไป  โดยข้อมูลที่ทำการเก็บ  คือ  ข้อมูลสุขภาพกาย  สุขภาพทางการเงิน  การทำบัญชีครัวเรือน  และการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ   -แกนนำโครงการทั้ง  10  คน  ได้ทำหน้าที่ของตนเอง  ที่ได้รับมอบหมาย  คือการดูแลและช่วยเหลือสมาชิก  และมีการเก็บข้อมูลของสมาชิกที่ได้รับมอบหมายตามที่กำหนดให้เป้นอย่างดี -มีการขับเคลื่อนกิจกรรมกันตามแผนงานที่กำหนด  และเกิดผลสำเร็จตามโครงการและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี 2.ด้านคุณภาพ   -ทำให้คุณภาพไม่ว่าจะเป็นทางกาย  ทางสุขภาพทางการเงินของสมาชิกแกนนำ  และสมาชิกโครงการ  มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถบริหารจัดการได้เป็นส่วนมาก

 

10 0

27. อบรมกิจกรรมสื่อออนไลน์

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วาระที่  1  แจ้งเพื่อทราบ ผู้จัดการของ Node ได้แจ้ง ให้กับกลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อจัดทำสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าของโครงการ โดยจัดการอบรม 2 วัน รูปแบบการใช้สื่อวันแรกจะสอนเรื่องการนำเสนอผลงานในระบบออนไลน์ และติ๊กต๊อก  และวันที่ 2 การจัดทำเอกสาร แผ่นพับ เพื่อนำเสนอสินค้าโดยใช้โปรแกรม canva วาระที่ 2
วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ตัวแทนโครงการ 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีการทดสอบระบบซูม เพราะต้องเรียนผ่านทางระบบออนไลน์ และให้ตัวแทน โครงการละ 2 – 3 คน เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อพี่เลี้ยงของ Node ได้ชี้แจ้งรายละเอียด ก็มีการสอนแนะนำเกี่ยวกับการถ่ายภาพสินค้า  การจัดวางภาพสินค้า และให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพสินค้าและโชว์ในเอกสาร  ช่วงบ่าย มีการสอนเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมติ๊กต๊อก มีการสอนให้นำเสนอสินค้าลงในติ๊กต๊อก โดยใช้ข้อมูลที่สั้น กระชับ ได้ใจความ วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 วิทยากรได้สอนความรู้เกี่ยวกับ การนำภาพมาตกแต่งในโปรแกรมแคนวา และให้มีการจัดขนาดตัวอักษร ความสมดุล และความน่าสนใจ และให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติการและทำการบ้านส่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ 1.1.สมาชิกโครงการ 3 คน ได้เข้าเรียนระบบออนไลน์ โดยผ่านระบบซูม
1.2. สมาชิกได้เรียนรู้และฝึกทักษะ ในการถ่ายภาพ และการนำเสนอสินค้า

2.ด้านคุณภาพ 2.1.สมาชิกได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการนำเสนอสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้สนใจ โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้า รูปแบบสินค้าต้องน่าสนใจ และชวนให้ซื้อ 2.2.ตัวแทนโครงการ นำสินค้าที่ผลิตได้ในกลุ่ม นำมาโพสต์ขาย ทั้งในติ๊กต๊อกและเฟสบุ๊ก 2.3.เป็นการพัฒนาตัวแทนโครงการให้เรียนรู้เทคโนโลยี โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของอายุ หรือการศึกษา แต่ถ้ามีความมั่นใจ ก็สามารถพัฒนางานได้

 

2 0

28. ประชุมสรุปติดตามงานร่วมกับพี่เลี้ยง เวที ARE

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่  27  พฤษภาคม  2566  แกนนำโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  ตำบลเขาพระบาท  อำเภอเชียรใหญ่  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วนแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด  –  19  พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง  สำนัก  3  สสส.  ร่วมกับพี่เลี้ยง  โดยนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  หัวหน้าโครงการ  ได้ประชุมเพื่อติดตามผลลัพธ์ของโครงการตามตัวชี้วัดและสรุปผลที่เกิดขึ้นตามโครงการ  ได้แก่  ครัวเรือนมีอาชีพเสริมมากกว่า  1  อาชีพ  ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากครั้งก่อน  400-500  บาทต่อครัวเรือน  ครัวเรือนสามารถลดค่าการซื้อหวยได้เดือนละ  1000  บาท  เลิกซื้อสินค้าออนไลน์ได้เดือนละ  1000  บาท  ลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ  250  บาทต่อเดือน  ลดค่าซื้อผักได้เดือนละ  1500บาทต่อเดือน  โดยสิ่งเหล่านี้สามารถลดได้โดยการลงมือทำบัญชีครัวเรือน  ปลูกผักข้างบ้านไว้รับประทานเอง  ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง  ปลอดสารเคมีและยังสามารถสร้างรายได้โดยการทำอาชีพเสริมที่สามารถขายได้อยู่ตลอด  นอกเหนือจากการทำปลานิลแดดเดียว  โดยแปรรูปทำปลานิลส้ม  ไข่เค็มสมุนไพร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ   -สมาชิกได้เรียนรู้การลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  โดยเริ่มจากการทำบัญชีครัวเรือนจากเดิมสมาชิก  12  คน  ที่ยังไม่เคยทำบัญชีครัวเรือนตอนเริ่มโครงการจนกระทั้งถึงระหว่างโครงการ  แต่ตอนนี้สมาชิกทั้ง  12  คน  สามารถทำบัญชีครัวเรือนเป็นทุกคน   -จากการดำเนินโครงการมาทำให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  1  กลุ่มแล้วยังสามารถทำให้เกิดรายได้กลุ่มได้จริง  ณ  ตอนนี้ได้มีการเปิดบัญชีกลุ่มและมีรายได้เข้าบัญชีแล้ว  6000  บาท 2.ด้านคุณภาพ   -สมาชิกรู้จักออกแบบปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมโครงการและตามความเหมาะสม   -มีการขยายถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนในหมู่บ้าน  7  หมู่บ้าน  จาก  9  หมู่บ้าน   -สมาชิกมีการทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่องทุกเดือน  37  คน  จาก  39  คน สรุป  สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  จากการสรุปพูดคุยของแปกนนำในวันนี้ให้ได้รู้ว่าครัวเรือนเป้าหมายของโครงการมีความรู้ด้านสุขภาพทางการเงิน  และความสามารถ  ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ  และครัวเรือนสมาชิกโครงการที่เข้าร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้โดยการออมเงินได้ถึงครัวเรือน  400  –  500  บาท  /  เดือน

 

25 0

29. ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ

วันที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลสมาชิกหลังดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมายเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพ  และด้านการเงิน  โดยใช้แบบวัดความรู้ทางด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ  การสอบถามโรคประจำตัว  ผลความดันโลหิตสูง  ผลน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร  น้ำหนัก  รอบเอว  และแบบสำรวจสุขภาพทางการเงิน  และบัญชีครัวเรือน   ผลการสำรวจพบว่า -เดิมมีสมาชิก  39  คน  และสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มเป็น  45  คน
-กลุ่มเป้าหมายเจ็บป่วยคงเดิม  ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม -ผลความดันโลหิตสูง  พบว่า  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  6  คนเท่าเดิม  ความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง  30  คน  ลดลง  5  คน  ไม่มีกลุ่มเสี่ยง -ผลการวัดระดับน้ำตาลในเลือด  พบว่า  ผู้ป่วยเบาหวาน  1  คน  ไม่เพิ่มกลุ่มปกติ  36  คน  กลุ่มเสี่ยงลดลง  2  คน  เหลือ  4  คน -ค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน  12  คน  ปกติ  29  คน  สามารถลดได้  3  คน
-ความรู้ทางด้านการเงิน  พบว่า  คะแนนสุขภาพการเงินอยู่ในระดับดีขึ้น  จำนวน  35  คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกทุกคน  ได้มีการตรวจวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ  ก่อนที่จะเริ่มโครงการ  และเน้นทุกคนได้ปรับพฤติกรรม  และติดตามทุก  3  เดือน -สมาชิกได้รู้สถานะสุขภาพของตนเอง  มีการปรับพฤติกรรมทั้งทางสุขภาพและการเงิน -สมาชิกสามารถประเมินสถานะสุขภาพด้านการเงินของตนเอง  วางแผน  และนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินในชีวิตประจำวันได้   2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกเกิดทักษะ  ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดีขึ้น -สมาชิกเข้าใจและเกิดการวางแผนด้านการเงิน  ปรับลดค่าใช้จ่ายเพิ่มวิธีการหารายได้  และสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของตนเองและครัวเรือนได้ สรุป  สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพทางกายและสุขภาพการเงินได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

 

39 0

30. ประชุมแกนนำโครงการ

วันที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลในทุกๆ  ด้านตามกิจกรรมของโครงการไม่ว่าจะเป็น  ด้านสุขภาพทางด้านร่างกาย  สุขภาพด้านการเงิน  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริม  รายได้ที่เพิ่มขึ้น  และรายจ่ายที่สามารถลดลงได้จากการที่สมาชิกได้เรียนรู้และได้ทำกิจกรรมจากโครงการ  จะทำให้เห็นว่าโครงการได้ครัวเรือนต้นแบบ  และคนต้นแบบจากการทำกิจกรรมของโครงการจำนวน  10  คน  โดย  10  คนนี้ก็ได้รับการยอมรับจากสมาชิกที่ร่วมโครงการทุกคน  และจากผลงานของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเองด้วย   ผลที่สำรวจพบว่า   -ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง  10  ครัวเรือนนี้  จากเดิมมีการทำงานและมีรายได้ของครอบครัวจากพ่อแม่  แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการทำให้เห็นว่า  ได้มีการชวนลูก  ๆ  ทำกิจกรรมร่วมกัน  เช่น  ชวนลูก  ๆ  รดน้ำผักข้างบ้าน  ปลูกผักข้างบ้าน  บางครอบครัวจากลูกเล่นแต่เกมส์  สามารถชักชวนลูกมาช่วยปลูกผัก  เก็บผัก  ลูกเล่นเกมส์น้อยลง  หันมาช่วยพ่อแม่มากขึ้น  และทำให้ครอบครัวมีความรัก  ความอบอุ่น  และที่สำคัญมีความสุขมากขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ด้านปริมาณ   -สมาชิกทุกคนในครัวเรือนได้มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ  5  วัน  ทำให้สุขภาพแข็งแรง  ได้กินผักที่ปลูกเองที่ปลอดสารพิษ   -สมาชิกในครัวเรือนรู้จักออม  มีการช่วยทำบัญชีครัวเรือน  ลดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์  ลดการซื้อหวย  รู้จักใช้จ่าย  รู้ค่าของเงินมากขึ้นด้วย 2.ด้านคุณภาพ   -สมาชิกในครัวเรือนมีทักษะและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและของตนเองในครัวเรือน  รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   -สมาชิกในครัวเรือนเข้าใจและเกิดทักษะการวางแผนการใช้จ่ายเงินรู้จักปรับลดค่าใช้จ่าย  สิ่งไหนที่ไม่จำเป็นเปลี่ยนวิธีการเพิ่มรายได้ สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการรวมถึงสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการพฤติกรรมของตนเอง  และสามารถจัดการเงินของครัวเรือนได้ดีขึ้นจากเดิม

 

10 0

31. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่  19  มิถุนายน  2566  ทางโครงการได้มีโอกาสมาต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากจังหวัดภูเก็ต  ได้มาเรียนรู้เยี่ยมชม  ศูนย์เรียนรู้ของโครงการ  ณ  ศูนย์เรียนรู้  รพ.สต.เขาพระบาท  ได้มาดูการปลูกผักยกแคร่  การเลี้ยงไก่ไข่  เลี้ยงไก่พื้นบ้าน  การเลี้ยงแพะ  การทำอาหารสัตว์  และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  และได้มีการสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสดให้กับคณะศึกษาดูงานได้ดูด้วย   อุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสด  ประกอบด้วย 1.ปุ๋ยขี้วัว  จำนวน  10  กระสอบ 2.หญ้าสด  จำนวน  3  กระสอบ 3.ผักตบ  จำนวน  5  กระสอบ 4.ใบไม้สด+แห้ง  จำนวน  3  กระสอบ 5.แกลบ  จำนวน  2  กระสอบ 6.กากน้ำตาล  จำนวน  5  ลิตร 7.สารเร่ง  จำนวน  1  ซอง 8.พลาสติกสีฟ้า  ใช้สำหรับรองพื้นและคลุมบน 9.อุปกรณ์ในการคลุกเคล้าปุ๋ย   วิธีการทำปุ๋ยหมัก 1.ปูพลาสติกสีฟ้า  เพื่อใช้รองพื้นก่อรที่จะผสมปุ๋ย 2.นำวัสดุทั้งหมด  ได้แก่  ขี้วัว  หญ้าสดสับ  ผักตบสับ  ใบไม้แห้ง+สด  แกลบมาเทลงบนพลาสติกสีฟ้า  และคลุกเคล้าให้เข้ากัน 3.เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันดีแล้ว  ให้นำกากน้ำตาลมาผสมกับน้ำคนให้เข้ากันและนำมาราดลงบนปุ๋ย  ใส่สารเร่ง  ที่ผสมน้ำแล้วนำมาราดบนปุ๋ยอีกครั้งและคลุกเคล้าาให้เข้ากัน  คลุกเคล้ากันให้ทั่ว  และราดน้ำให้ปุ๋ยพอชุ่มน้ำ 4.คลุมปุ๋ยไว้โดยใช้พลาสติกสีฟ้า  ปิดให้แน่น 5.กลับปุ๋ยทุก  ๆ  สัปดาห์  เพิ่มเติมออกซิเจน  และเร่งการย่อยสลาย 6.กลับปุ๋ยติดต่อกันเป้นเวลา  2  เดือน  แล้วนำมาบรรจุใส่ถุงขายได้ 7.ปุ๋ยกังกล่าวเหมาะสำหรับเป็นดินเพาะดินปลูก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิด 1.ได้กองปุ๋ย  1  กอง  ที่ปลอดสารเคมี 2.ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มผู้ศึกษาดูงาน สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  ได้ปุ๋ยหมัก  1  กอง  เพื่อไว้ใช้ปลูกผักปลอดสารเคมี

 

39 0

32. อบรมทักษะ และช่องทาง การเผยแพร่สินค้าทางออนไลน์

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้วันที่  24  มิถุนายน  2566  หัวหน้าโครงการมีการนัดแกนนำกลุ่มของโครงการ  จำนวน  10  คน  เพื่อนำมาเรียนรู้การจัดทำช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์  โดยได้รับความช่วยเหลือจาก  รพ.สต.เขาพระบาท  ได้มอบหมายให้นายโชตินันท์  จันทโชติ  มาเป็นผู้สอนการจัดทำช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางออนไลน์ให้กับแกนนำทั้ง  10  คน  โดยมีการสอนการจัดทำช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์  ทางไลน์  ทางเฟส  ทางติ๊กต๊อก  เพื่อที่สมาชิกแกนนำโครงการทั้ง  10  คน  จะได้มีความรู้ความสามารถนำไปใช้ในการขายสินค้าผ่านทางช่องทางเหล่านี้ได้  และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจของโครงการ  ได้อีกช่องทางหนึ่งและจะได้นำไปถ่ายทอดความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปสอนไปแนะนำให้กับสมาชิกอีก  29  คน  ต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกแกนนำของโครงการทั้ง  10  คน  ได้เรียนรู้วิธีการจักทำสื่อช่องทางการจำหน่ายสินค้าทางระบบออนไลน์  และได้นำไปใช้ในการจำหน่ายสินต้าต่อไป 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกแกนนำของโครงการทั้ง  10  คน  สามารถนำไปถ่ายทอดใช้กับสมาชิกของโครงการต่อไป  และสามารถเพิ่มช่องทางการขายให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจอีกทางหนึ่ง -สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจ สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้  คือ  สมาชิกแกนนำโครงการทั้ง  10  คน  ได้มีความรู้และสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการขายสินค้าได้

 

39 0

33. อบรมเพิ่มและพัฒนาทักษะ การทำยานวดสมุนไพร

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับสนับสนุนงบ สำนัก 6 สสส. โดย Node โควิด – 19 ภาคใต้ตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้เชิญเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เขาพระบาท ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชน ตำบลเขาพระบาท มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบสมุนไพรเพิ่มเติมจากครัวเรือนและมีการสอนหรือแนวทางในการจัดการรูปแบบบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และชุดอบสมุนไพร เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน และได้สอนการทำสมุนไพรพอกเข่าให้กับผู้สูงอายุ และได้นำไปใช้จริงจนเกิดเห็นผลจริง โดยการนำยาพอกเข้าสมุนไพรตัวนี้ นำไปใช้กับผู้สูงอายุในชุมชน ทำให้ได้รับผลตอบรับกลับมาดีมาก คนในชุมชนพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าดีมาก ๆ อยากให้ทำอีก ดีกว่าไปกินยาทำแบบนี้รู้สึกไม่อันตรายด้วย และสมาชิกของโครงการยังได้รับความรู้เพิ่มขึ้นด้วยและสามารถนำไปใช้เองกับคนในครอบครัวได้อีกด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิด 1.ด้านปริมาณ  แกนนำ และสมาชิก 39 คน เข้ารว่มประชุม

2.ด้านคุณภาพ 1.ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการบรรจุภัณฑ์กประคบสมุนไพรที่สามารถเก็บไว้ได้นาน 2.ได้เรียนรู้วิธีการทำสมุนไพรพอกเข่าเพื่อนำไปใช้เองที่บ้านได้ด้วย 3.ทำให้เกิดรายได้กับทั้งครัวเรือน  และกลุ่มวิสาหกิจ

 

39 0

34. ติดตามและประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาทซึ่งได้รับสนับสนุนงบสำนัก 6 สสส. โดย Node โควิดตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ร่วมกับแกนนำของโครงการร่วมกันลงพื้นที่ติดตามประเมินคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นคนต้นแบบ และครัวเรือนต้นแบบของดครงการ โดยประเมินจากบัญชีครัวเรือนและกิจกรรมที่สมาชิกได้ดำเนินการ และจากการพูดคุยสอบถามกลุ่มเป้าหมายก็ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี และทำให้รู้ว่าบุคคลเหล่านี้มีการทำบัญชีครัวเรือนทุกเดือนตั้งแต่เริ่มโครงการและสามารถลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือนได้จริง และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการใช้สารเคมี โดยหันมาใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพแทน ทั้งที่ทำใช้เอง และที่เกษตรอำเภอสนับสนุนมา และบุคลเหล่านี้ยังมีความรู้ความสามารถในการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพใช้เองและสามารถแนะนำให้กับคนอื่นในชุมชนที่สนใจได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และสามารถเป็นคนต้นแบบได้อย่างถูกต้อง จำนวน 10 คน 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ ได้ครัวเรือนต้นแบบหรือคนต้นแบบ จำนวน 10 คน

 

39 0

35. อบรมเพิ่มทักษะอาชีพและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจาก สำนัก 6 สสส. โดย Node โควิด-19 ภาคใต้ตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้เชิญเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาท โดยนายโชตินันท์ จันทโชติ มาช่วยให้ความรู้ในการออกแบบ รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพที่เกิดจากโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุขตำบลเขาพระบาท และได้รับสนับสนุนงบในการจัดการอาหารจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท และในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากร สอนการทำสติกเกอร์ ออกแบบสติกเกอร์ในการติดผลิตภัณฑ์ให้ด้วย และในวันนี้เรายังได้มีการชวนสมาชิก แปรรูปผลิตภัรพ์ ปลานิลแดดเดียวเพื่อจำหน่าย เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในโครงการอีกทางหนึ่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกโครงการได้เรียนรู้การจัดรูปแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค้าของสินค้า และสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจได้มากขึ้น

2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกได้เรียนรู้ และเกิดทักษะการจัดการรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ สมาชิกโครงการสามารถออกแบบปรับปรุงแบบการจัดทำบรรจุภัณฑ์ได้ดีขึ้น และสวยมากกว่าขึ้น  สมาชิกได้เรียนรู้การแปรรูปปลานิลแดดเดียวที่ปลอดสารเคมี และมีความอร่อยเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าได้อย่างปลอดภัย

 

50 0

36. ประชุมเวที ARE ร่วมกับ Node ที่ อ.หาดใหญ่

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566 ทาง Node  ได้เชิญกลุ่มเป้าหมายทุกโครงการเข้าร่วมชี้แจงสรุปผลการดำเนินงานประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยที่โรงแรมเซาเทร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันนี้ทีมงานของโครงการจำนวน 4 คน โครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานของโครงการย่อย (การจัดนิทรรศการของแต่ละโครงการ) กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ คือ 1 Node  wได้ร่วมกับทีมงานพี่เลี้ยงเยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละโครงการและได้มีการไลน์สดเพื่อเผยแพร่ผลงานผ่านทางเฟสบุคสมาคมสร้างสุขชุมชน 2 เริ่มขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการนำผลลัพธ์ 26 ข้อ ที่ทาง Node กำหนดให้เพื่อมาแลกเปลี่ยน 3.พี่เลี้ยงนำผลการแลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มมานำเสนอในวงใหญ่ วันที่ 16 ก.ค.2566 กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ 1.กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ โดยมีหัวข้อย่อย คือ -การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการสนับสนุนควรมีแนวทางอย่างไร -แกนนำควรได้รับการพัฒนาเรื่องอะไร เพื่อให้ขับเคลื่อนงานได้บรรลุผลลัพธ์ -การจัดการข้อมูลตามบันไดผลลัพธ์ มีวิธีการเก็บ การตรวจสอบความถูกต้องและการเอาข้อมูลไปใช้ในโครงการอย่างไร -การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนวิชาการมีแนวทางอย่างไร -ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงจากหน่วยจัดการและภาคีระดับพื้นที่เป็นอย่างไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -แกนนำโครงการได้เข้าร่วมประชุม -แกนนำโครงการได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ที่ Node กำหนดให้ได้ 2.ด้านสุขภาพ -แกนนำโครงการมีการเรียนรู้การถอดบทเรียน การนำข้อมูลบันไดผลลัพธ์ไปใช้ในการทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น -แกนนำได้เพิ่มความรู้มากขึ้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากขึ้น

 

4 0

37. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 หัวหน้าโครงการ คือ นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร และสมาชิกโครงการอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส. ได้นำเสนอและสาธิตกิจกรรมรวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการ ให้กับภาคีเครือข่าย จากทีม อสม.จังหวัดพังงา 350 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ได้แก่ ไข่เค็ม ปลานิลแดดเดียว ลูกประคบสมุนไพร อาหารสัตว์สมุนไพร ผักปลอดสารพิษ โดยได้รับการสนับนสนุนงบจากภาคีต่างๆ และสามารถไปประยุกต์ให้เข้ากับการช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ในชุมชนได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ 10 คน นำเสนอผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการ ผลการดำเนินงานให้กับภาคีเครือข่าย

ด้านคุณภาพ 1.มีการสร้างเครือข่าย กับ จังหวัดพังงา ซึ่งเป็น อสม.ทั้งจังหวัดพังงา จำนวน 350 คน
2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงาน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก้ปัญหาความยากจนและหนี้สิน 3.เกิดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างจังหวัด

 

10 0

38. กิจกรรมเผยแพร่ผลงาน สู่สาธารณะโดยการถ่ายทำวีดีโอ

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 หัวหน้าโครงการ คือ นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร และสมาชิกโครงการข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส. ได้เข้าร่วมพูดคุยนำเสนอผลงานที่ได้ทำ ตั่งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ว่าได้เกิดผลอย่างไรบ้าง และมีการเปลี่ยนแปลงอยย่างไรบ้างโดยเริ่มจากลงชุมชนบ้านสมาชิก จำนวน 2 บ้าน คือ นางสาวจิราภรณ์ สุขแจ่ม และนางบุปผา ชูเมือง โดยลงถ่ายทำวิดีโอเริ่มจากบ้าน นางสาวจิราภรณ์ สุขแจ่ม และนางสาวจิราภรณ์ สุขแจ่ม ก็ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ก็เนื่องจากสาเหตุผลกระทบจากการเกิดโควิด -19 ว่าก่อนหน้านี้ครอบครัวมีงานทำกันทุกคนที่เป็นวัยทำงาน แต่พอเกิดโควิด – 19 ทำให้ทุกคนตกงาน โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวซึ่งเป็นนักดนตรี จึงมีผลกระทบอย่างมาก คือ ไม่มีงานดนตรีเลยในช่วงนั้น เลยทำให้ตัดสินใจพาครอบครัวกลับมาอยู่บ้าน มารับจ้างแทงปาล์ม แต่เนื่องจากเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ต้องใช้แรงงานหนัก ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่เพราะต้องทำร่วมกับคนอื่นเพื่อนร่วมงาน พอมีโครงการนี้เข้ามาเลยสมัครเข้าร่วมโครงการ และได้รับงบสนับสนุนมาทำอาชีพเสริมอีกทางหนึ่ง โดยในตอนแรกจะเป็นเงินให้เปล่า 500 บาท เพื่อมาซื้อเมล็ดพันธ์ผักปลูกข้างบ้านได้ขายบ้างและไว้กินเองบ้าง ก็มีเงินมาต่อยอด แต่ก็ยังได้ไม่เต็มที่ทางโครงการ ก็ประสานกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท เพื่อขอยืมเงินจากโครงการพอเพียงมาให้กับสมาชิกกู้ยืมเพื่อนำไปสร้างรายได้ครัวเรือนละ 3000 บาท ปลอดดอกเบี้ย ได้นำเงินส่วนนี้มาต่อยอดซื้อเมล็ดพันธ์ และอุปกรณ์การเกษตรเพื่อปลูกผักผสมผสานในพื้นที่ว่างข้าง ๆ บ้านเลยทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง และเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนโดยให้ลูกสาวช่วยลงบัญชีครัวเรือนให้ ทำให้สามารถประหยัดและมีเงินออมได้ ณ ทุกวันนี้ -ส่วนของนางบุปผา ชูเมือง ได้เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวของตนเองก็คล้ายๆ กัน แต่ตรอบครัวของตนเองหนักสักนิดที่ลูกตกงานเกิดความเคลียดเลยหันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ก็ยังดีมีโครงการนี้เข้ามา เลยมีคนได้ปรึกษา และมีอาชีพเสริมให้ลูกและครอบครัวทำ เลยทำให้ลูกเลิกยาเสพติดได้และหันมาช่วยทำงานทุกอย่างที่ตนเองทำ และลูกยังช่วยทำบัญชีครัวเรือน ช่วยทำงานทุกอย่าง และทำให้ครอบครัวของตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมมาก -ส่วนของนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ผู้รับผิดชอบโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาทก็ได้เล่าในส่วนของผู้รับผิดชอบว่า ตัดสินใจรับงบจาก สสส. เพราะเห็นว่าสามารถช่วยเหลือสมาชิกได้หลายครอบครัว รับงบมาแล้วก็มาประชุมค้นหา แกนนำเพื่อมาช่วยขับเคลื่อนงานจนกระทั่งตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จ เกิดกลุ่มอาชีพหลายๆ กลุ่มของโครงการและที่ประสบความสำเร็จก็คือ สามารถรวมกลุ่มกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้และทำให้สมาชิกของโครงการมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ มีการออม มีการทำบัญชีครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ 1.ด้านปริมาณ
1.กลุ่มเป้าหมาย 39 คน เข้าร่วมโครงการและร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน 2.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน มีรายได้ มีอาชีพเพิ่ม ร้อยละ 39.70

2.ด้านคุณภาพ 1.กลุ่มเป้าหมาย มีรายได้เพิ่มขึ้น น้อยที่สุด 500 บาท และมากที่สุด 3,000 บาท ต่อเดือน 2.มีภาคีเครือข่าย ให้การสนับสนุนต่อยอดในการพัฒนาอาชีพ เช่น การให้เงินกู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย 3.เกิดรูปแบบการทำงานเป็นกลุ่ม และมีการจัดสรรเงินตามหลักเกณฑ์ที่ยุติธรรม และเท่าเทียมกัน

สรุป สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ ได้มีการเผยแพร่กิจกรรมที่ทำแล้วเกิดผลสำเร็จสู่สาธารณชนได้และเกิดผลจริง

 

10 0

39. ประชุมแกนนำโครงการ ปิดเอกสารโครงการ

วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 แกนนำโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิท – 19 พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สำนัก 6 สสส. โดยนัดหมายแกนนำโครงการ 10 คน เพื่อทำการบันทึกทำกิจกรรมวาระการประชุมตามโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท (รหัสโครงการ 65-10018-12) และทำการลงรายการหลักฐานทางการเงิน เพื่อเตรียมปิดโครงการต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -แกนนำโครงการทั้ง 10 คน เข้าร่วมประชุม 2.ด้านคุณภาพ -แกนนำทุกคน ได้นำข้อมูลมาพูดคุย สรุป และร่วมกันทำรายงาน ตรวจสอบหลักฐานททางการเงินว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร 3.เพื่อเกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานซึ่งเป็นแกนนำหลักของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการแปรรูปสมุนไพร จำนวน 5 คน และแกนนำรอง 5 คน โดยมาจากการคัดเลือกและเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกกลุ่มและทุกคนยอมรับ 2.เกิดโครงสร้างคณะทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานอย่างชัดเจน 3.มีแผนการปฏิบัติงาน และมีการติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน 4.มีการจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำมาประเมินผลและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีการสรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ 5.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร มีผลิตภัณฑ์ดังนี้ 1)ยาดมสมุนไพร 2)ยานวดสมุนไพร 3)ลูกประคบ 4)อาหารสัตว์สมุนไพร โดยออกจำหน่ายเดือนละ 1 ครั้ง 6.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร มีการทำบัญชี รับ-จ่ายของกลุ่มทุกเดือน อย่างต่อเนื่อง 71สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพร มีความรู้ มีทักษะและสามารถแปรรูปวัตถุดิบได้ทุกคน รวมทั้งตัวแทนครัวเรือนสามารถแปรรูปได้ทุกครัวเรือน 8.รายได้รวมของครัวเรือนเป้าหมายเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายได้เดิม 9.สมาชิกกลุ่มมีความรู้และจัดทำเอกสารชุดความรู้ เพื่อใช้ในการถ่ายทอด 4 เรื่อง ดังนี้ -การทำยาดมสมุนไพร -ลูกประคบ -ยานวดสมุนไพ -อาหารสัตว์สมุนไพร 10.ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 (ประเมินตามเอกสารของสำนัก 6) 11.ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 39
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเ 39

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะการประกอบอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร 3.เพื่อเกิดชุดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรชุมชน 4.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาทักษะอาชีพ (2) ประชุมแกนนำโครงการ (3) การบริหารจัดการ (4) ประชุม จัดตั้งคณะทำงานติดตามครัวเรือนต้นแบบ (5) ประชุมแกนนำโครงการ (6) ติดตามผลการดำเนินงานบัญชีครัวเรือน (7) 0 (8) ประชุมเวที ARE  ร่วมกับ พี่เลี้ยง (9) ค่าป้ายไวนิล /ค่าตราปั้ม 2 ชิ้น /ค่าป้ายห้มสูบบุหรี่ (10) ปฐมนิเทศโครงการย่อย โดย node โควิดภาคใต้ (ล่าง) (11) ประชุมกลุ่มเป้าหมาย (12) ประชุมแกนนำโครงการ 10 คน (13) ถอนเงินเปิดบัญชี (14) อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการทำ  ครั้งที่ 1 ยาหม่อง ยานวดสมุนไพร (15) การอบรมแกนนำโครงการ เกี่ยวกับการรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (16) พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ (17) ครั้งที่ 1 ประชุมกลุ่มเป้าหมายเ ติดตามข้อมูลก่อนเริ่มดำเนินงาน (18) อบรมสมาชิกเรียนรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (19) พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม (20) พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย (21) การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ (1.3 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย และติดตามบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2) (22) พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย (23) อบรมความรู้ เพิ่มทักษะการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ (24) พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม (25) จัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง (26) อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครั้งที่ 2  ทำลูกประคบสมุนไพร (27) พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม (28) อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ ครรั้งที่ 3  ทำอาหารอัดเม้ดสมุนไพร สำหรับเลี้ยงไก่ (29) เวที ARE ร่วมกับ Node ครั้งที่ 1 (30) พี่เลี้ยงติดตามผลงานระดับบุคคล และครัวเรือน (31) อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน (32) อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนให้ความรู้เกี่ยกับการปรับปรุงรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ (33) พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม (34) อบรมกิจกรรมสื่อออนไลน์ (35) ประชุมสรุปติดตามงานร่วมกับพี่เลี้ยง เวที ARE (36) ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ (37) ประชุมแกนนำโครงการ (38) อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ (39) อบรมทักษะ และช่องทาง การเผยแพร่สินค้าทางออนไลน์ (40) อบรมเพิ่มและพัฒนาทักษะ การทำยานวดสมุนไพร (41) ติดตามและประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ (42) อบรมเพิ่มทักษะอาชีพและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ (43) ประชุมเวที ARE ร่วมกับ Node ที่ อ.หาดใหญ่ (44) พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ (45) กิจกรรมเผยแพร่ผลงาน สู่สาธารณะโดยการถ่ายทำวีดีโอ (46) ประชุมแกนนำโครงการ ปิดเอกสารโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 65-10018-12 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2566

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 65-10018-12

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( น.ส.จุฑาทิพย์ บริเพชร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด